Está en la página 1de 412

sf

26,
3
3
SJ
sf

2
(?
0D
Sf
eJ) H.
(3
m?u!iaa'lricj
jrieAff
mdcnitanuafl
3
S emsgamsm
2491 - 2500

mfoia'ttn
acnaxmm*
o t/ d
snmm 5
ffomn uaamy > aim1
n miliialnon 11fl11 jsmvji fuimjt)acm
2491 - S3O0 ^ inm11

=
nnilQiS 2175 in uimimiiJrjiWiJgiPifQ iiluu
^
^ ^
nuo^ m ^ vtHHuyiTloni ripJuufis
iwuiniiniulflmTHnmffmT infilid “
ni) mipmuf
" UBJ
fiitUB'iiwg
^ fnifninifvrsijiJ- js'MTS ifJ nutnau 2:> 4 ( J
tamamcu'mj ivm ufnnuD niaaimiJMet li < .
- fiijiirtjfinu
£1 %T1fl llltfta
HuijfeiriuutmJ imoibLim ipfmtffmiffTffflS na^ iiqifnfftnpSiiirc;
^mn
wiuntnjiJBijaB'uiJTTifnii ii
'
flimjirnrn 3 -
uw lift UT ^ rj 3 unflir lUfuuin
aufiaonuiouiaalu^ uuuaiJuiirtUomiiinsirii
^
YWL awniminiHUA 4nhulw y dluro nil Hidu
£i ini

*!UJ -|
n iirTi in n sifijiRqi vy m (feSKiD wfliwuoin 3 *in
T fnpnf winlliflinoti ^MFnifni unslnTtmiiB
“ijiiryiwfl 1ujTuafiUfl:iiKrL!(t 4 }fl cfaniFH ifolfi
*

nqufiiin lunisul Baling nymi^w 2490 BITU ltimRi cy’iltitinnttsflfT imtf uimnoiffn
h

^
^
nsqiJ iJia
rfi iTrmiJ wvh tfirnny
rmrtiifai aliiin" inom>¥ iirniiiiiiyiy IIQPI in
frtucfjffifmf
llliTOj [ insvprsahy .
tif Wr rnri'dn - VlaijrMHi, I .- SA ;
iir*dualjKl :W.hi>nJ »1 Asian ami African Si uril' fi ,
'
iMnOiiunl iu
1

-
I : mvi' rsrly nf Kyulo ; i .
rnrcr i! Sni4( hr-B¥l Asian
biuttortfi. Untvmkft or kywln. fitpan
rtf 11 H fl Vi lU 0 4 FI lull11if!ill ] Lrt 1JU IrfU 0 I.SuUTUlTHltjl 11
ajMnifulii lufifl inn f mutiiHf lUflUirtiusT gi
il nngm5riini4miiij04 UrtE 3 fluorminootii4lu
^ ' '
^
If J 4 lVu w 1 BUU lliU TH lll Ml S1Unli)11fl J t LlfTH 11fit
| )
T.^mmiiiswnwnnillgflniWgiSi ?47 r» rijmifltiENiii
mHUHuisjihrTsy flu w fl#UWJUIFLUFTUTTMBIIN
ft J urn iipjrGiU? • iiiiu srnun Tn / jjjrJoiJi jj JmnrPlJ
)
/
nu " flfnwui " fifhhiWoaijfljdnudnuunsmart rw fr
j1
i. vi nlCti JIW , zri5ii 'i, ni / jpu 7?i i
*
fts< jii\ nnljji1iikiifjwBmu £ 4* h ( iimiu. za &c lu
a oiJih{mtriii ?idiurnai iimiJuenummit)inTsme 4 *
.
flfHfrrtiiFMprff . dWwfJTiTJR ?3irwnwflfli.- j nijj' j
nasLLsrMBnluuQi ^mjfl^a mrmm wiiniEU ‘FfhHtJi
' ' ' "

lijfnu mnii'UVad ijiiJ fHtiuHimiiu Whiqnfcrii ffer


^ri i? ii« U 7 jmwarfnNmvU
^
'

i0vimopia MB4 pJia imaualil rmmiuTiwnu


fxivmj
iirriTf nurafl? 24 9Jf 2S 0U - aminn ,1 iki:

^ ^
ffnRUi4i iiiin tinrlVhifiuiiB 4 d 1tm tiimsmjlu
nmiminiiiinInB irttf iiiiiyqpLBfi 'IMI 4I itau
rtjl' vju
^^
il , tfijfiffitmu niri£i3L{Mfl *iBi ^
-
In n ZJil Sr iiiir
'
.
4iuii30inii)Jiia4 W ] fui lffiirtmiirini uiniolinlu
1 1 fl 11 7 UiTIBnUJ Th T 3 J -?ll H mJflfmiNlllrliliiaiJmi iJ
^ ^ ^
nnrtrini “ nnfiui" lumflLfiiCHimrnj euTHLiiuiln : lhrm ff1n \ juvf
-
saw 9 ? i - 6 iB 7 fl « 7 - eft T SL
BIW 'Ju ^^snn 4»

s.
BB I 6 7 «17 B ft 1 yr
SuYilmjilflEramjuivfttfiyynHi 2.5 flaeiaifomj waeihi fi .ff . iS48 amjeiijlfn
iSflflKStiVirifofflU ( Bald Eagle, White-Head Eagle, American Eagle) llluEityaniJCU'UQJ
itasmfftu fl .ffL 1782 Ldoflfn TOMiaSUUnTErMIJ (Great Seal of the United States) Llhlflfr
i«rn
^ uwunia uasaLaflerJuiij Snnslumiiju
wininiiwaiiuiiUBjittiflisliifliduiviimi uan^inil?inQiJuimEfiynuiilfuiif ) 4tm!]i tiai
*

uasmimbtmuiiimiwa tfiittM auHmmrm


'

iflu anymeu 0'iuvn 0 iuiti 0 tJi 4 £nifs 0 Lu1mfiiu


^ |
^
fTu lfln
mi
^.
n tfhehn uaymyniimis
m ^ LWQo'lvmmejT Rg’st'UJjTjTamjaosmgQLajfm 2491-2500

cusiAia
H
1

UMOMEffD
mjVlul 2563
%
mmo florin uasmuiSun?
4 U

2491-2500
dJjma Iwi
V
^ ^
wuwfmn l munfiuvfflitlitnfTu, 2563
lioaau iitnu 3,ooo mu nm 500 UTKI
iJmnta qiinu 500 mu 1101 600 uin

mniuiflijiumnails^bwildfo (iJnttoij) -
978 616 7667 -88 -1
*

ia iw?siumnay?srimjifto (ilmm ) 978-616 7667-89-8


-

$0 waiii
'll
iiJ ?? flii unisj?jaj0i wn?i 0034 fliiii 4 ifiH
>
<
4
<
4

mm Isifij.
mftn tfnAui uasv< qp3i4m ; m?tua<ilvitimEjl 0?cmt)ulamifi tmyj 0 iu1fn
^
2491 - 2500 ( lJneaiO.-imniji : fliiflEnmi, 2563.
416 vmh . ~ (sroiumniJ).
i . linti --ni?iufNuasm?iJnfl?94 . 2.1n0- iJ? TiSfnanl
^
320.9593

UTjanSmiimnj
^invici fbaqa
minnBfm otyim uufhim
na ^uiiontfm '
tntrqci ut|ua nssiwenniml iiwn oini RH uai^ u
Guivm ' ' '

rfonu 5ruerna
fiffimamfi ivn mimtftfiloiiVm uqua m nennieiu efanw ? 7imqa
unuTumu
^
sinwa enana
+ ^
uqua nisi^miiiWu
aanuimiln ihsm fllnutm%

nJmu mmau ? f *iuWfm ffaau kernel


u 4

(hiJnfiu'HfliLfloinu
si nmiifl 'miUufn 28 ermaunmzflra mmmuo -i
flOlimtUlSmi Ivnmil 0-2965-6430
vneivmviiil liooo
^
^ iH'uio /uqjS- tttmn : 5?in? £T4 Wunjitus im 5nrmf »

tHUfl : sameskybouks@ grnail .coTn nu'Wfl ; www . sameskybooks.net


0- 2965-6414

wumi : uliSVi mmim iiftVi


fairmhu : aiEmiififiVlino IvnffVm 0-2225 -9536-9
สารบัญ

คำ'นำสำ ,นกพิมท์ (9)


คำน่าเสนอ (14)
คำน่าผู้เขียน ( 29 )
บทที่ 1 กราวพากย์ : ตัวตนและประวัติศาสตร์นิพนธใทยในยุคสงครามเย็น 3
บทที่ 2 จากสันติภาพสู่ความขัดนย้ยัง : การฌิองไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 23
บทที่ 3 รัฐประหาร 2490 : การล่มสลายของกลุ่มปริดี 59
และการแตกร้าวของพันธมิตรใหม่
บทท 4 สู่ภาวะกึ่งอาณานิคมในยุคสงครามเย็น ะ การหันเข้าหาสหรัฐอเมริกา
J
85
กับการปราบปรามศัตรูทางการเมือง
บทที 5 ถนน,ทุกสายมุ่งสู่สหรัฐอเมริกา : การสร้างความแข็งแกร่งให้กลุ่มทหาร 127
และกลุ่มตำรวจไทย
บทที 6 ใกล้ยามเมื่อแสงทองส่อง : สหรัฐฯ กับแผนสงครามจิตวิทยา 149
ต่อต้านคอมมิวนิสต์
บทท 7 ถอยห่างจากพญาอินทรี : นโยบายเปีนกลางและการเปิดประตู 169
สู่ประชาธิปไตยในฐานะทางออกใหม่ของจอมพลป. พิบูลสงคราม
บทที 8 ยามเมื่อลมพัดหวน : ความพยายามหวนคืนของมิตรเก่า 209
-
“ จอมพล ป. ป!ดี’
บทที 9 การก่อตัวของ “ไตรภาคี” : ภาวะกึ่งอาณานิคม 237
และการล่มสลายของประชาธิปไตยไทย
บทท 10 บทสรุป 265
ประทฅผู้เขียน 273

บรรณานุกรม 275

นามานุกรม 339
ดรรชนี 365

( *)
คำนำสำนักพิมพ์

ร้'ซิประหาร 2490 เป็นจุดเปสึ่ยนของการเมืองไทยสมัยใหม่ที่หันเหออกจากการ


ปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร ดังความคดของปรดี พนมยงค์
มันสมองของคณะราษฎรที่บอกว่ายุคสมัยของคณะราษฎรนั้นสิ่นสุดเมี่อมีการรัฐประหาร
8 พฤศจิคายน 2490 ดังนั้น สิ่งที่เกิดขนหลังจากนั้นไม่ใช่ความรับผ๊ดชอบของ
คณะราษฎรอีกต่อไป 1
งานศึกษาการรัฐประหาร 2490 ชิ้นบุกเบิกของสุชิน ตันติกุล มีข้อเสนอคล้าย
กับความคิดของปรีดีศึอชี'้ ว่า “ รัฐประหาร 2490 เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อของการ
1

เปลี่ยนแปลงถ่ายทอดอำนาจทางการเมืองจากคณะราษฎรมาสู่คณะรัฐประหาร ซงก A = < £

คือกลุ่มทหารบกนั่นเอง” 2
ต่อมา งานศึกษาชิ้นสำคัญของท'กษ์ เฉลมเดียรณ การเมืองระบบพ่อชุน
อุปถัมภ์แบบเผด็จการ* เป็ดประเด็นว่ารัฐประหาร 2490 เป็นการเปิดยุคการเมือง


สัมภาษณ์พิเศบ ฯพณฯ ปรค พนมยงค์ ในโอก !๙ครบรอบ 48 ปีแห'งทารเปที่ธเนแปตงการ
ปกครอง 7 24 มืดนายน 2523 ที่เมืองอองโฅปี ชานท Jงปารี ff โดยสหภ?พเพื่อสิทธิเสรีภาพข่อง
ประชาชน (กรูงเทพฯ ะ เกษมการพิมYJ , 2523)
สุชิน คันฅืกุล , รฐประหาร พ .ศ. 2490 ( นครหลวง : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,
2515), 142.
3
ทกษ์ เฉลิมเดียรณ , การเมืองระบบฟอ yนชุปถมก์แบบเผด็จการ , แปล พรรณ ฉัตรพลรักษ์ และ
ม.ร .ว . ประกายทอง สี!สุข (กรูงเทพฯ : มหาวิทยาลยธรรมศาสตร์, 2526 ).
สามเล้า ที่แม้จอมพลป. พิบูลสงครามจะเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ( 2491-2500)
แต่ไม่มีอำนาจมากเท่าครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก ( 2481 -2487) เพราะต้องรักษา
ดุลยภาพทางอำนาจระหว่างสองขุนศึก คือค่ายสื่เสาเทเวศน์ที่นำโดยจอมพลสฤษด
ธนะรัชด์ กับค่ายราชครูที่นำโดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ และพล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
การช่วงชงอำนาจจบลงด้วยชัยชนะของสฤษดิ้ ธนะรัชด์ ในการรัฐประหาร 2500
อย่างไรก็ตาม บทความชิ้นสั้นๆ โดยสมคักดิ้ เจียมธีรสกุล ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรก
ในปิ 2539 โต้แย้งว่าเราไม่อาจสรุปทศวรรษดังกล่าวว่าเป็นเรึ่องการเมืองสามเส้าเท่านั้น
คณะรัฐประหารยังต้องขับเคี่ยวกับพลังการเมืองที่นักวิชาการทั่วไปเรียกว่า
“อนุรักษ์นิยม’' (Conservatives) หรีอ “นิยมเจ้า” ( Royalists) พลังดังกล่าวมี
รากฐานที่กว้างขวางถึกซึ้งในสังคมไทย แต่แสดงออกต่อสาธารณะในขณะนั้นที่สำคัญ
โดยผ่านบทบาทของพรรคประชาธิป๋ตย์ซึ่งคุมรัฐสภาอยู.่ ..
ความจริงการเมืองไทยปลายทศวรรษ 2490 ต้องถึอว่าเป็นการเมืองที่มีผู้เล่น
สำคัญ 5 กลุ่มครึ่ง คือ นอกจากจอมพลป. พล.ต.อ. เผ่า และจอมพลสฤษดึ๋แล้ว
ยังมีสองกลุ่มสำคัญคือ พลังอนุรักษ์นิยมที่กล่าวดึงข้างต้น และพลังฝ่ายซ้ายที่มี
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท. ) เป็นแกน ส่วนที่เรียกว่า “ ครึ่งกลุ่ม ,'
คือปรีคึ พนมยงค์ นั่นเอง ที่เป็นเพียง “ครึ่ง” เพราะมีกำลังและบทบาทไม่มากเท่า
กลุ่มอื่น และดูเหมือนจะเป็นฝ่ายถูกดึงเข้าไปเล่นด้วยมากกว่าโดดเข้าไปเอง 4
สมคักดิ1้โม่'ไต้ใชัคำว่า “สถาบันกษัตริย์ ” ตรงๆ อาจเพราะยังมิได้มีเอกสาร
1 ,

หลักฐานสนับสนุนเพียงพอ แต่ก็ได้สื่อเป็นนัยระหว่างบรรทัดให้คนอ่านฟ้าใจว่าสื่งที่
อยู่เบื้องหลังพลังอนุรักษนิยม ซึ่งถือเป็นผู้เล่นสำคัญของการเมืองไทยในทศวรรษ
2490 นั้นหมายถืง “คักดีนา" นั่นเอง
นอกจากนั้น ทักษ์ เฉลิมเดียรณ ชิ้ให้เห็นว่า เมื่อสฤษดี้ ธนะรัชฅ์ ได้รับ
ขัยชนะภายหลังรัฐประหาร 2500 สฤษดละทิ้งมรดกคณะราษฎรทั้งหมด แล้วหันไป
โปรโมทบทบาทของสถาบันกษัตริย์ดังที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ธงขัย วินิจจะทูล กลับตั้งคำถามกับพล็อตหลักของทักษ์ เฉลิม-
เดียรณ ว่าสถาบันกษัตริย์ที่หมดบทบาทไปหลัง 2475 เพิ่งถูกพินทุ) หลังรัฐประหาร

4 สมศักดึ้ เจียมธีรสกุล, "ปรืดื พนมยงค '’, จอมพลป., กรณีสวรรคต และรัฐประหาร 2500, ” ใน


ประวัตศาสตร์ที่เทง Itร้าง (กรงเทพฯ : 6 ตุลารำถึก, 2544), 31 -32. (พิมพ์ครั้งแรกใน กรุงเทพธุรกิจ
17 พฤษภาคม 2539)

( 10 )
2500 จริงหรือ โดยธงชัยนำเสนอความเห็นแย้งนี้ครั้งแรกในปาฐกถา 14 ตุลา ประจำ
ปี 2548 หั ว ข้ อ “ ข้ า มให้ พ น
้ ประชาธิ ป ไตยแบมหลั ง 14 ตุ ล า ” ไว’
ว่า
รัฐประหาร 2490 เป็นการปีดฉากคณะราษฎร นักประวัติศาสตร์มักจะให้ความ
สนใจกับบทบาทของผู้นำร์นใหม่ในกองทัพบกอย่างผิน ชุณหะวัณ และเผ่า ศรียานนท้
ข้อเท็จจริงก็คือ รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างทหารมกกับฝ่าย
กษัตริย์นิยมซึ่งมีบทบาทมากมายเดีมไปหมด
อาจจัดได้ว่าปี 2490-94 เป็นยุคฟินฟูของกษัตริย์นิยม หลักฐานชัดเจนประการ
หนึ่งคือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 ที่โปรเข้าอย่างไม่เคยมีมาก่อน เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ
แรกที่ระบุว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมีพระมหากษัดริย์เป็นประมุข และเป็น
ฉบับแรกที่ระบุว่าผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ไม่ได้ และให้อำนาจพระมหากษตรย
* ' ๙
ริ >
? '

อีกหลายประการ เช่น ในการเลือกและแต่งตั้งสมาชิกๅฒิสภา ในการประกาศ


ภาวะจุกเฉิน และในการอนุมัติเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาล เป็นด้น
vi
นักประวัติศาสตร์!ทยมักเสนอว่า การ นฟูสถาบันกษัตริย์เกิดขึ้นในยุคสฤษด
1

แต่แห้ที่จริงเรึ่มในช่วงนี้เอมั
ในปื 2552 ถ่พู้พล ใจจริง ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง “การเมืองไทยสมัย
รัฐบาลจอมพล ป . พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ .ศ. 2491 -
2500 )” b ซึ่งได้รับการพิจารณาว่าอยู่ในระดับดีมาก หนังสือ ขุนสัก ศักดินา และ
พลุ!ารนทรี: การเมืองไทยกายใต้ระเปียมโลกของลหรัรูอเมรีกา 2491 - 2500 โดย
J ว ่
” ”

5, , ริ m J "

ณัจพล ใจจริง ทอยู่ในมือผู้อ่านขณะน ณัฐพลเรียบเรียงพัฒนาให้สมบูรณขนจาก


1 ริ ร ิ
วิทยานิพนธ์เล่มดังกล่าว
หากย้อนกลับไปอ่านทัศนะของสมศักดิ้ที่ว่าทศวรรษ 2490 ของการเมืองไทย
มีผู้เล่น 5 กลุ่มครึ่ง ผู้อ่านจะพบว่า ขุนดิก ศักดินา และพญาอินทรี ชี้ให้เห็นว่าที่จริง
แล้วมี 6 กลุ่มครึ่ง แถมกลุ่มที่ 6 คือ “พญาอินทรี ” ซึ่งก็คือบทบาทของสหรัฐอเมริกา

5 ธงชัย วินิจจะถูล “ข้ามให้พ้นประชาธืปไตยแบบหลัง 14 ตุลา," ใน ประชาโ/ ปไฅพี่ปีกษดรซ์


อย่เหนือการน!อง (นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน, 2556) : 29-63.
6
ณ์ฐพล ไจจวิง, “ การเนืองไทยสมัยรีฐบาลจอมพลป. พิบุลสงคราม ภายได้ระเบยบไลกของ
สหรีฐอเมรีกา (พ.ศ. 2491-2500) " (วิทยานิพนธ์รฐศาสฅรคุษฏีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1

2552) .

(II )
หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่มีอำนาจมาเคียงคู่กับสหกาพโซทยตนั้นมีอำนาจบทบาท
ระดับพลิกผันความเป็นไปทางการเมืองไทยในช่วงดงกล่าวเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้น
อแฐพลยังฉายไห้เห็นรายละเอียดของผู'้ เล่นแต่ละกล่มอย่างมีสืสันละเอียดลออ พร้อม
อ้างอิงเอกสารหลักฐานมากมาย ;ดยเฉพาะบทบาทของสถาบันกษัตริย์และเครือข่าย
ที่ก่อนหน้านี้สมศักด็ใช้คำกว้างๆว่า “ สักดีนา,’ แด่ด้วยเอกสารหลักฐานไดยเฉพาะที่


ได้จากหอจดหมายเหตุในต่างประเทศที่บันทึกเรื่องราวซึ่งเอกสารฝ่ายไทยไม่ได้บันทึก
ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่าเป็นเรื่องที่ "พดไม่ได้" หรือเหตุผลอื่นใดก็ตาม-ทำให้
ณัฐพลสามารถระบุชื่อและพฤติกรรมทางการเมืองของฝ่ายเจ้าในทศวรรษ 2490 ได้
อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งชัดเจนว่ามืไต้อยู่ “ เหนือ” การเมืองดังวาทกรรมที่ถูกทำให้เชื่อ
สงหัวกันมาหลายทศวรรษแต่อย่างใด
4T 4
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันภูมิใจที่ได้รับเกียรติให้จัดพิมพ์หนังสือเล่มสำคัญน ซง
เป็นอีกหนึ่งเล่มในโครงการหนังสือชุด "สยามพากษ์ ที่เราคัดเสือกงานที่มีความสำคัญ
'
1

ต่อการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองไทยในอุคสมัยนั้นๆ และเป็น
งานที่ท้าทาย หักล้าง หรือเติมเต็มงานศึกษาก่อนหน้านั้นด้วยข้อมูลใหม่และ/หรอ
กรอบคิดทฤษฎีที่แตกต่างออกไป
ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มด้น เราคิดคำว่า "สยามพากษ์ " ขึ้นมาจากฐานความเชื่อ
ที่ว่าปัญญาความรูนั้นจะงอกงามไต้จากการคิดเชิงวิพากษ์ ความร้เกี่ยวกับสยาม.ไทย
ก็เช่นกัน ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ ดังที่นักวิชาการข้างต้นไม่ว่าชะเป็นสุชิน ตันติกุล
ทักษ์ เฉลิมเดียรณ สมสักดิ้ เจียมธีรสกุล ธงชัย วิน้จจะกุล และฌัฐพล ไจจริง ได้
กระทำเป็นแบบอย่าง โดยเข้าร่วมถกเถียงเกี่ยวกับการเมืองไทยในทศวรรษ 2490 ด้วย
หลักฐานข้อมูลและกรอบคิดใหม่ๆ ควรเน้นยํ้าในที่นี้ด้วยว่า การวิพากษ์ถกเถียง
แตกต่างอย่างลิบลับจากการบุ่งจับผิดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายหรือเซ็นเซอร์งานที่
มีข้อเสนอต่างจากอุดมการณ์ความเชื่อของตน
สุดท้ายนี้ หากต้องการเข้าใจสังคมการเมืองไทยในอุคปัจจุบัน งานชุด
“ สยามพากษ์ " ซึ่งหมายรวมถึงผลงานของฌัฐพล ใจจริง เล่มนี้ ท นงานที่คนไทย
“ ต้องไต้อ่าน” ไม่ว่าอ่านแล้วจะเห็นพ้องหรือเห็นต่างก็ตาม

{ 12 )
หมายเหตุค้นฉบับ

เนื้อหาของหนังสือเล่มนื้ครอบคลุมระยะเวลาตลอดทศวรรษ 2490 มีตัวแสดง


จำนวนมาก โดยเฉพาะฝ่ายทหารที่มียศตามลำดับเวลา และยศดังกล่าวส้มพ’นธ์กับ
อำนาจในช่วงเวลานั้นๆด้วย ดังนั้น ยศที่ปรากฏในหนังสือเล่มนื้จะสัมพันธ์กับช่วง
เวลานั้นๆด้วย ดังเช่น สฤษดิ้ จนะรัชต
2490 ยศพันเอก
2491 ยศพลตรื
2493 ยศพลใท
2495 ยศพลเอก
2499 ยศจอมพล
เช่นเดียวกับการเลื่อนกรม ดังเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงส์เธอ กรมพระยา
ชัยนาทนเรนทร (พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดี้)
2465-2493 กรมขุนขัยนาทนเรนทร
2493-2495 กรมพระชัยนาทนเรนทร
2495 กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ( สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์ไนปี 2494)

{ 13 )
คำนำ เสนอ
หนังสือดี ประวัติศาสตร์ใหม่ และการเซ็นเซอร์

ขนศึก ศักดินา และพญาอินทรี : การเมืองไทยภพไต้ระเป็ยบโลกของสหรัฐอเมริกา


2491-2500 เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ดีเยี่ยมเล่มหนง
อ่านเล่มนี้แล้วรู้สึกสว่าง อิ่มสมองอิ่มใจทำนองเดียวกับที่ได้อ่าน การปฏิวัติ
สยาม พ .ศ. 24751 โดยนครนทร์ เมฆไตรรัตน์ และ 2475 แตะ 1 ปีหลังการปฏิวัติ 2
โดยธำรงศักดิ้ เพชรเลิศอนันต์
หนังสือดี
ความรู้สึกอิ่มเกิดจากการได้เสพหนังสึอลึ ๆ ที่เป็นผลงานทางปัญญาที่ยากจะ
ทำไต้ แต่สร้างสรรฅ์ขนมาได้ด้วยความสามารถพิเศษบางอย่างของคนที่ทำงานทุ่มเท
อย่างอดทนเป็นเวลาหลายปี ผู้เขียนหนังสือนี้ต้องหำตัวเป็น “หนูประจำหอเอกสาร”
( archive rat) เพื่อสอบสวนเอกสารชั้นต้นจำนวนมากเหลือเกิน ต้องสร้างและปรับ
ระบบการประมวลข้อมูลที่เหมาะกับปริมาณและความซับซ้อนของข้อมูลและของเรื่อง
ที่จะเล่า สุดท้ายต้องสามารถเล่าเรื่องในแบบที่เสมือนพาผู้อ่านย้อนเวลาไปติดตามการ
ข่าวสารรายวันในอดีตด้วยตัวเองได้

1
นครินทร์ ฌฃไตรรัตน์, การปฏิวัติสยามท .ศ. 2475 (ก!งเทพฯ : มูลนิธิไครงการตำรา
สังคมศาสตร์และมบุษยศาสตร์, 2535).
2
ธำรงศักติ้ เพชรเลิศอนันต์, 2475 และ 1 ปี หลังการปฏิวัติ (ก!งเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา
จุพาลงกรฌ์มหาวิทยาสัย และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนษยศาสตร์, 2543).
นักประวัติศาสตร์ฆีหลายสไตล์หลายแบบในแง่วิธีการที่เขาถนัด แม้ทุกคนจะ
ให้ความสำคัญกับหลักฐานและความคิดที่จะต้องนำมาประกอบการวิเคราะห์ตีความ
นักประวัติศาสตร์ไทยมักให้ความสำคัญกับการทุ่มเทค้นคว้าหาหลักฐานจำนวนนาก
เข้ามาประกอบกัน งานในแบบนี้ที่ดีจะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่เป็นระบบระเบียบ
สูงและการวิเคราะห์ที่ชับซ้อน ทั้งต้องสามารถเล่าเรื่องราวในอดีตที่มีหลายมิต็ช้อนกัน
ออกมาได้ราวกับหลักฐานเผยความจริงออกมาเป็นเรื่องอย่างหมดจด (ทั้ง ๆที่ตาม
ปกติหลักฐานทุกชิ้นอยู่ท่ามกลางความสับสนยู่งนุงนังไปหมด ไม่เคยเรียงร้อยเล่าเรื่อง
ในตัวมันเอง) ผู้อ่านรู้สึกเสมือนท่องกลับไปในอดีตและได้อ่านข่าวตดตามเรื่องนั้น ๆ
ด้วยตนเอง และจะยิ่งน่าตื่นเต้นขึ้นไปอีกหากเรื่องเล่านั้นด่างจากความรู้ที่ผู้อ่านเคยมี
มาก่อน อ่านแล้วจืงรู้สึกเป็ดหูเป็ดตาสว่างโล่งโจ้งท้เดียว
นักประวัติศาสตร์ไทยโดยมากยังผลิตงานที่ใช้ได้แต่ไม่ดีขนาดที่กล่าวมาด้วย
เหตุปัจจัยสารพัด เข่น การประมวลข้อมูลไม่ซับซ้อนหลายมิติพอ โดยมากเนื่องมา
จากเรียนรู้แนวคิดต่างๆที่ข่วยการคิดวิเคราะห์'ใม่พอ ซึ่งเป็นเหตุและเป็นผลกันกับ
ระบบการจัดการข้อมูล ข้อมูลจำนวนมากที่เขามีอยู่จึงมักถูกดีความอย่างง่ายๆและ
นำมาอธิบายประเด็นที่ไม่ซับช้อนนัก แถมโดยมากยังผลิตซํ้าความรู้ในกรอบเดิมๆ
เพราะมักไม่รู้ดัวว่าตนตกอยู่ในกรอบของแนวคิดวิเคราะห์เติม ๆ (ที่ถูกสร้างมาจาก
อุดมการณ์เดิมๆ) อีกทั้งทักษะในการเล่าเรื่องก็มากน้อยต่างกัน นักประวัติศาสตร์
จำนวนมากไม่สามารถทำได้ดีนัก
ผมอ่านงานของฌัฐพล ใจจริง มาแล้วแทบทุกชิ้น เห็นได้ว่าเขาพัฒนาขึ้นอย่าง
มากจากชิ้นแรก ๆ ซึ่งมักเป็นการตอบคำถามที่ไม่ซับซ้อนนัก การวิจัยระดับปริญญา
เอกที่เรียกร้องการทำงานที่ยากกว่าปกติ เป็นระบบกว่า ซับช้อนกว่า คิดไตร่ตรอง
อย่างระมัดระวังมากกว่า น่าจะเป็นเงื่อนไขผลักดันให้เขาต้องยกระดับการทำงานขีน
£

ไปอีก ซึ่งไม่ใช่ว่านักสึกษาทุกคนจะสามารถตอบการท้าทายเช่นนั้นได้เสมอไป

ขยา!!พรมแดนความรู้ (1 )
ความรู้สึกสว่างเกิดจากการที่ผมได้ความรู้ใหม่ ๆ บางอย่างถึงขนาดเปลี่ยน
ความเข้าใจที่ผมเคยมีมาก่อนหน้าเกี่ยวกับการเมืองไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ถึง 2500
ขอเริ่มจากประเด็นสำคัญที่หนังสึอนั้เสนอชัดตลอดทั้งเล่ม ในขณะที่การสึกษา
การเมืองไทยหลัง 2475 ก่อนหน้านี้กล่าวถึงบ้าง แต่ไม่เคยเด่นซัด นั้นคืออิทธิพลและ

( 15 )
บทบาทของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาต่อการเมืองไทย ทั้งบงการ ชักใย ผลักดัน
ให้ท้าย 1ห้เงิน ให้อา รุธ แก่คู่ขัดแย้งในการเมืองไทย บางครั้งทำอย่างแอบแฝง แต่
'

บ่อยครังทำอย่างออกหน้าออกตา ประเด็นนี้มืผู้กล่าวถึงมาก่อน แต่น้อยคนนักที่ได้


ยืนยันด้วยข้อมูลอย่างจะแจ้งมากมายลังที่ปรากฎในเล่มน ภาวะเช่นนี้เองทำให้ณ์ฐพล
เรียกประเทศไทยหลังสงครามโลกถึง 2500 ว่าเป็น “กึ่งอาณานิคม” ซงเป็นข้อเสนอ
ของพวกมาร์กชิสตใทยมาก่อนก็จริง แต่ทว่ามักเป็นโวหารหรือการวิเคราะห์ตามทฤบฏี
จนแทบเป็นสูตรสำเร็จมากกว่าเป็นการสอบสวนจากหลักฐานข้อมูล3
บทบาทและอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในช่วงดังกล่าวเป็นผลจากสงคทมโลก
ครังทืสองต่อเนืองกับยุคต้นของสงครามเย็น มหาอำนาจทั้งหลายต้องพยายามวาง
รากฐานและเครือข่ายของฝ่ายตนในการต่อสู้ระดับโลก ผู้อ่านอย่างเราท่านคงอดคด
ไม่ได้ว่าแล้วประวัติศาสตร์การเมืองในช่วงอื่นๆล่ะ ? มหาอำนาจอังกฤษในยุคก่อน
สงครามโลกครั้งที่สองและมหาอำนาจอย่างจีนในปัจจุบันกระท่าการหรือมืพฤติกรรบ
ทำนองเดียวกันหรือด่างกันอย่างไรต่อการเมืองภายไนของไทย มหาอำนาจอังกฤษมี
บทบาทเป็นทีปรืภษาผู้ลูแลรัฐบาลสยามอย่างออกหน้ามาดลอดปลายศตวรรหที่ 19
บางครั้งเป็นตัวแปรสำคัญในการเมืองสยาม เช่น ในวิกฤตการณ์วังหน้าเมื่อปี 2417
การหนุนหลังของอังกฤษตลอดช่วงการเผชิญหน้ากับฝรั่งเศสก่อนวิกฤตการณ์ ร.ศ.
112 เป็นปัจจัยที่ชวนให้สยามแข็งกร้าวกับฝรั่งเศส แต่แล้วกลับบอกปัดไม่ให้ความ
ช่วยเหลือยามคับขัน จึงทำให้วิกฤตการณ์ ร.ศ . 112 จบลงอย่างเจ็บปวดสำหรับเจ้า
กรุงเทพฯ เราพอรู้อีกเช่นกันว่าอังกฤษยังมีอิทธิพลกับการเมืองภายในของไทยมา
ตลอดก่อนสงคราม ๒กครั้งที่สอง แต่ไม่มีผู้ศึกษาในประเด็นนี้หรือขุดค้นเอกสารอย่าง
หนักดังที่ณัฐพลศึกษาอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็นในหนังสือเล่มนี้
น่าดีดต่อไปอีกว่าอิทธิพลและพฤติกรรมรวมถึงวิธีการของมหาอำนาจยังคล้ายๆ
เติม หรือเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยอย่างไรในหลายทศวรรษต่อมา การทูตเพีอการเมือง
ในประเทศต่างๆในช่วงสงครามเย็นกับหลังจากนั้นเปลี่ยนไปอย่างไร เพราะการเมือง
ระดับโลกและการเมืองในประเทศทั้งของไทยและของประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น
เปลี่ยนไป เช่น ในยุคปัจจุบันอาจจะอาศัยการลงทุน สัญญาการค้า และการเช่าท่าเรือ
หรือตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษมากกว่าการชักใยการเมืองซึ่งมักได้!ม่ค้มเสีย

' อรัญญ์ พรหมชมภู, โท0กึ่งเรองกึ่น (พระนคร : อุดมธรรม, 2493) .

( 16 )
ขยายพรมแดนคาามรู้ (2)
ความรู้สึกสว่างอย่างมากมาจากความรู้ใหม่เกี่ยวกับบทบาทและปฏิบัติการ
ทางการเมืองของราชสำนักและฝ่ายเจ้าในช่วงสืบกว่าปีนับจากหลังสงครามจนถึง 2500
ซึ่งอ่านจบแล้วผมต้องขอสารภาพว่า “ไม่นึกว่าจะทำถึงขนาดนี้” !
เราลองมาทบทวนกันก่อนว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์และความรู้ว่าด้วยการเมือง
ไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึง 2500 ที่ทำกันใน 50 ปีที่ผ่านมา (คือนับจาก
ทศวรรษ 2510 ) เป็นอย่างไร จึงจะเช้าใจว่าความรู้ใหม่ในหนังสือเล่มนี้คืออะไร
ความรู้แพพี่หนี่ง ซึ่งเริ่มต้นแพร่หลายในทศวรรษ 2510 ภายใต้บรรยากาศ
การต่อต้านเผด็จการทหารที่แพร่หลายในหมู่ป้ญญาชนเสรีนิยมซึ่งนับว่าเป็นพวก
หัวก้าวหน้าในด้นทศวรรษ 2510 ควานเข้าใจอดีตในแบบนี้ถือว่า 2475 เป็นการยึด
อำนาจทำรัฐประหารครั้งแรกของพวกทหาร สอดคล้องกับประกาศสละราชสมบัติของ
พระเข้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ที่ถือว่า 2475 เป็นเพียงการเปลยนคณะบุคคลที่ครองอำนาจ
แค่นั้นเอง ทัศนะนี้จึงมักถือว่าระบอบทหารของไทยเริ่มต้นเมื่อ 2475 จากนั้นแข็งแกร่ง
ขนภายไต้รัฐบาลฟาสซสต์ของจอมพล ป. พิบูลสงครามก่อนสงครามใลกครั้งที่สอง
ตามมาด้วยการรัฐประหารโดยกองทัพอีกหลายครั้ง
ในกรอบและใครงเรื่องประวัติศาสตร์แบบนี้ การต่อสู้กับคณะราษฎรเท่ากับการ
ต่อสู้กับทหาร จึงเท่ากับเป็นฝ่ายประชาธิปไตย เช่น กบฎบวรเดชและความพยายาม
ของรัชกาลที่ 74 แต่ทว่าการรัฐประหาร 2490 กลับไม่มีความสำคัญเป็นพิเศษแต่
อย่างใด เพราะเป็นเพียงการรัฐประหารโค่นรัฐบาลพลเรือนครั้งหนึ่งในหลายครั้งทั้ง
ก่อนหน้าและหลังจากนั้น ควานเข้าใจอดีตในแบบนี้ยังเป็นบริบทสำหรับตีความ
ปรากฏการณ์หลายกรณีที่เกิดขนในช่วงนี้ เช่น หลายคนถือว่ารัฐธรรมนูญ 2492 เป็น
ฉบับที่ก้าวหน้าที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยเพราะพวกเจ้าพยายามจำกัดอำนาจทหาร
(การดีความแบบนี้มองข้ามความจริงที่ว่าเป็นรัฐธรรมนูญแรกที่สถาปนาแนวก็ดเรื่อง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นครั้งแรกที่บัญญัติ
ในรัฐธรรมนูญว่าพระมหากษัตริย์อยู่ในสถานะที่จะละเมิดมิได้5) ในประวัติศาสตร์นิพนธ์
แบบที่หนึ่งนี้ การเมืองช่วง 2490 ถึง 2500 จึงเป็นความขัดแย้งแย่งอำนาจกันระหว่าง

ชัยอมนต์ สมุทวณิช, 14 สุตา คต!รราแฏร์ทับกบฎบวร!ดช (กรุงเทพฯ ะ ชุมนุมวิชาการอักษร


;

๓ สตร์ จุพาฯ , 2517 ).


1
ื ป (นธานที่หาญพู่ : ข้รถทแๆยงว่าด้วยสถานน. พระฆหาทนัฅริย่ น
5 ลมชาย ปรีชาศิลปกุล. มี่ค&

องค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทย mแต่ พ . ศ. 2475-2550 (นนทบุรี : ‘สาเดียวกัน, 2561 ).

{ 17 )
ฝืกฝ่ายในกองทัพ จนกลายเป็นการฒืองสามเส้าระหว่างจอมพลป. ผิน+เผ่า และ
สฤษดิ'้ ’ โดยมีสหรัฐอเมริกาหนุนหลังทุกฝ่ายที่สามารถต่อต้านคอมมิวนิสต์ได้ดีที่สุด
แทบไม่มีใครกล่าวถึงบทบาททางการเมือง‘พองฝ่ายเจ้าและพระมหากษัตริย์ไนการเมือง
ช่วงนั้นเลย
ความเข้าใจประวัติศาสตร์นบบนี้แพร่หลายในหม่ปัญญาชนฝ่ายซ้ายหลัง 2516
ด้วยเช่นกัน ในขณะนั้นพวกเขาถือว่าศัตรูตัวหลักคือระบอบทหาร การวิพากษ์วิจารณ์
“ ศักดินา ” อย่างแรง ก็เพราะศักดินาหนุนขุนศึกและทั้งหมดเป็นบริวารของชักรวรรดิ-
นยมอเมริกา ฝ่ายซ้ายยังไม่เช้าใจหรือไม่ได้ให้นํ้าหนักต่อบทบาททางการเมืองโดยตรง
ของพวกเจ้าและแทบไม่เอ่ยถึงบทบาทของกลุ่มนี้ในช่วง 2490 ถึง 2500 เลยเช่นกัน
ไม่น่าแปลกใจเลยที่ความเช้าใจประวัติศาสตร์แบบนี้ยังคงอยู่ในปัจจุบัน แมวา I

จะเริ่มมาตั้งแต่ 50 ปิก่อนก็ตาม
ประวัติศาสตร์นิพนธ์และ คทมร้แพทึ่สอง เริ่มปรากฏตัวในช่วงลัดมา คือ
นับจากประมาณครึ่งหลังของทศวรรษ 2520 เป็นด้นมา ความด่างจากแบบแรกที่
สำกัญมากคือความรู้เกี่ยวกับ 2475 ที่เปลี่ยนไปอย่างมหันต์ สํงผลเปลี่ยนความเข้าใจ
ต่อรัฐประหาร 2490 แต่ทว่าความรู้การเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึง 2500 ยัง
คงเน้นว่าเป็นการเมืองสามเส้าระหว่างจอมพลป. ผิน+เผ่า และสฤษดิ้
ปัจจัยสองประการหรือสาแหรกสองสายที่ก่อไห้เกีดความเปลี่ยนแปลงของ
ความรู้ประวัติศาสตร์คือ หนึ่ง การศึกษาตีความการปฏิวัติ 2475 แบบใหม่โดยนัก
ประวัดิศาสตร์หลายคนเช่น เสกสรรค์ ประเสริฐกุล7 ชาญวิทย์ เกษตรศึร"ิ ธำรงศักดี้

' ด้นแบบในการอจบายคืองานของทักบิ เฉลิมเดียรณ จากวิทยานิพนธ์ปรญญาเอก Thak Cha-


'

loemtiarana, “The Sarit Regime, 1957-1963 : The Formative Years of Modern Thai”
( Ph. D .thesis, Cornell University, 1974). ต่อมาลีพิมพ์เป็นหนังสือ Thak Chaloemtiarana ,
Thailand : The Politics of Despotic Paternalism ( Bangkok : Social Science Associ-
ation of Thailand, 1979) แล“ แปลเป็นภาษาไทย หักษ์ เฉลมเลียรณ , ทารฌืองระบบพ่อขุน
ฤปถ้มภ์นบบพพ็พ 1ร , แปลโดย พรรณ ฉัตรพลรักษ์ และ ม ร . ว . ประกายทอง สืรธุ[ข (กรุงเทพฯ :
,

มหาวิทยาลยธรรมศาสตร์ 2526 ).
1
1
เสกสรรค์ ประเสร 5กล , “ ความจำเป็นทางประวดีศาสตร์ของการเคลื่อนไหว 24 มิธุนายน
'

2475, ” วารสารธรรมศาสฅ f ปืที่ 11 , ฉบับที่ 2 (มธุนายน 2525) : 62-68.


K
ชาญวิทย์ เกษตรศึรํ, 2475 การบ่Qimองสยาม (กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น , 2535).

{ 18 )
เพชรเลิศอนันต์" และสำคัญที่สุดคือนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 11’ ผู้สร้างความรู้ใหม่
เกี่ยวคับการปฏิวัติ 2475 ชนิดก้าวกระใดดจากเต็ม เขาชัให้เห็นว่า 2475 ไม่ใช่การ
รัฐประหาร ไม่ใช่การปฏิวัติประชาธิปไตยที่ชิงสุกก่อนห่าม มิได้เกิดจากอุดมการณ์
ทางการเมืองจากภายนอกที่แปลกปลอมกับสังคมไทย แต่ทว่ามีความคิดที่จะ
เปลี่ยนแปลงการปกครองและความไม่พอใจระบอบกษัตริย์ดำรงอยู่แล้วในสังคมไทย
ช่วงนั้น ดังนั้น การปฏิวัติ 2475 จึงไม่ใช่เป็นเพียงการลงมือของนักเรียนนอกกลุ่ม
นิดเดียว แต่เป็นการปฏิวัติที่มีการสนับสนุนของมวลชนมากพอสมควร 2475 จึงไม่ใช่
การเริ่มต้นของระบอบทหารในประเทศไทย
อีกปัจจัยหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกันและเกี่ยวพันกับปัจจัยที่หนึ่งด้วยคือ การ
ส้นฟูเกียรติคุณและภาพลักษณ์ของปรีดี พนมยงฅ์ โดยการผลักดันของชาญวิทย์
เกษตรศึริ และชาวธรรมศาสตร์หลายสํวน ในเรื่องนี้มีผู้กล่าวถืงไว้แล้ว โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในหนังสํอของมรกต เจวจินดา , 1

ปัจจัยสองประการนี้ประกอบกันทำให้เรื่องเล่าเกี่ยวกับ 2475 เปลี่ยนไปอย่าง


มาก ทั้งทำให้เข้าใจว่า ปีแรกหลัง
15 2475 นั น
้ มิ 1
ช่แค่เป็นการต่อสู้กันระหว่างปีก
พลเรือนกับปีกทหารของคณะราษฎรดังที่รู้กันอยู่ตามความรู้แบบที่หนึ่ง แต่ที่สำคัญ
กว่าคือ เป็นการต่อสู้กันระหว่างคณะราษฎรและผู้สนับสนูนทั้งหลายฝ่ายหนึ่งกับพวก
นิยมเจ้าที่พยายามส้นอำนาจกษัตริย์อีกฝ่ายหนึ่ง ชัยชนะของฝ่ายใ!!ดีหลังสงครามโลก
คเงที่สองและความพยายามสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของคณะราษฎรนับจาก
2475 จบลงด้วยการรัฐประหาร 2490
ในกรอบและเค้าโครงประวัติศาสตร์แบบนี้ การรัฐประหารใดยกองทัพที่เป็นจุด
เริมต้นของระบอบทหารที่ต่อต้านประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องต่อมานั้นมิไช่ 2475 แต่
เป็น 2490 เพราะ 2475 มิใช่การรัฐประหารต่อต้านประชาธิปไตย แต่เป็นการปฏิวัติ
เพี่อเริ่มประชาธิปไตย แต่ทว่ายังต้องล้มลุกคลุกคลานเผชิญกับฝ่ายต่อต้านปฏิวัติ

" ธำรงศักด เพชรเลิศอนันต์, 2475 และ 1 ปี ฬลังการปฏิวัติ .


111
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์1 การปฏิวัติศ(ทม พ .ศ. 2475 . งานของนครินทร์เป็นผลต่อเนื่องจาก
วิทยานิพนธ์ของเขา “ ไ)ระวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของการเปลี่ยนระบอบการปกครองสยาม ระหว่าง
พ . ศ, 2470- 2480" วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมทาบัณฑิต จุหาสงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.
เ 1 มรกต เจวขินดา , กาพลัก yfuปริติ พนพพ์ กันการเบิอาไทย พ .ศ. 2475- 2526 (กจุงเทพฯ :
ใครงการเฉลิมฉลองบุกคลสำคัญของไทยที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับไลก สำนักงานคณะ
กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต , 2543).

( 19 )
ต่อมาอีกนใน นอกจากนี้ เหตุการณ์หลายอย่างหลัง 247 ! ) เปลี่ยนความหมายไปจาก
ความรู้แบบที่หนี้ง เพราะควรจะต้องเข้าใจบริบทของความขัดแย้งระหว่างฝ่ายคณะ
ราษฎรกับพวกนิยมเจ้าหลัง 2475 ซึ่งเป็นบริบทที!่ .ม่มีอยู่ในแบบที่หนึ่ง ได้แก่ กบฏ
1

บวรเดชเป็นความพยายามต่อต้านการปฏิวัติ ต่อต้านประชาธิปไตย มิใช่ความ


พยายามสถาปนาประชาธิปไตยที่เทียบเคียงได้กับ 14 ตุลา 2516 อย่างที่มีนัทวิชาการ
บางคนเสนอ : เหตุการณ์ที่เรียกกันว่ารัฐประหารเมื่อเดือนมิสุนา 2476 'เตยพระยา
'

พหลฯ มิใช่การรัฐประหารเพื่อโค่นรัฐบาลพลเรือนโดยกองทัพ แต่เป็นการปกใ]องการ


ปฏิวัติโดยกลุ่มทหารของคณะราษฎร เพื่อตอบโต้การที่รัฐบาลพลเรือนหันไปเข้าข้าง
ฝ่ายเจ้าทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2475 ไปเมื่อเดือนเมษายนปีเดียวกัน13 พระราช
หัตถเลขาสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 ซึ่งถือกันว่าเป็น “ วรรคทอง ” ของฝ่าย
ประชาธิปไตยรวมทั้งกระบวนการ 14 ตุลาด้วย กลับเป็นความเข้าไจผิดแบบกลับหัว
กลับหาง 14 กล่าวคือวรรคทองนั้นเป็นป้จชิมกถาของกษัตริย์ผู้หนุนช่วยการต่อต้าน
ประชาธิปไตยแล้วพ่ายแพ้ รวมทั้งกรณีสมุดปกเหลืองและการกล่าวหาปรืดีอย่างผิด ๆ
ว่ามีล่วนเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8
อย่างไรก็ตาม บทบาททางการเมืองของฝ่ายเจ้าระหว่าง 2490 ถึง 2500 กลับ
ยังลื่นไหลหลุดรอดถูกมองข้ามไปได้ การเมืองสามเล้าซึ่งเป็นมรดกมาจากความรู้
ประวัติศาสตร์แบบที่หนึ่งจืงยังคงเป็นคำอธิบายหลักของประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ในช่วงนี้ ตัวอย่างสำคัญได้แก่หนังรอ แผนชิงชาฅไพ' ของสุธา'ชัย ยมประเสริฐ ซึ่ง
เขียนถึงการหเนตัวทางการเมืองของพวก “อนุรักษ์นิยม” ( หมายถึงพวกเจ้า) เป็นเพียง
ดอนเดียว ( 20 หน้า ) ของหนังสือทั้งเล่ม (300 กว่าหน้า ) เพราะเห็นว่าบทบาทหรือ
พลังอำนาจของฝ่ายเจ้ายังไม่สูงารักในการเมืองช่วงนั้น หลายเหตุการณ์ที่พวกเจ้าอยู่

1?
ชัยอนันต์ สมุทวณิช , 14 ตุ £ท fttusรพฎร์ก้ 'นกVQบวร!ตช.
" ธำรงศักค เพชรเลิศอนันต์ “ 1 เมษายน 2476 : รัรประหารครั้งแรกของไทย’’ การสัมมนาทาง
วิชาการเรี่ยง “ภาษากับประวัติศาสตร์]ทยและความเคลื่อนไหวไนวิชาปร!:วัติศาสตร์ไทย" ชัดโดย
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ร่วมกับสมาคมประวัติศาสตร์ ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
นครนายก วันที่ 16-18 คุมกาพันซ 2533
" สมสักต เปียมธีรสกุล และประชักษ์ ก้องกรติ , “พระราชหัตกเลขาสละราชย์ ร . 7 : ชีวประวัติ
^
ของเอกสารทบับหนึ่ง," ไน สมสักดิ้ เจียมธีรสกุล , ประวัติศาสต{ที่พงสร้าง (ก งเทพฯ ะ 6 ตุลา
รำลึก, 2544 ), 20-30.
' สุเทชัย ยิ้มประเสรีร, นพพชังรทติไทย (กเงเทพฯ : สมาพัน ธ, 2534).
1

( 20 )
เบื้องหลัง (ตามคำอธ๊บายของณ้ฐพถ ) จึงยังถีอว่าเป็นการต่อสู้กับเผด็จการจอมพลป.
1

(ตามคำอธิบายของ แผนชงชาตไทย ) ทั้งยังเรียกระบอบหลังการรัฐประหาร 2490 พี่


ฝ่ายเจ้ากลับคืนส่อำนาจ ( ดามคำอธิบาย'ของณัฐพล) ว่าเป็นยุคกงเผด็จการของระบอบ
พิบูลสงคราม แต่ภายหลังการรัฐประหารปลายปื 2494 ที่จอมพล ป. ลดอำนาจฝ่ายเจ้า
ได้อีกครั้ง (ตามคำอธิบายของณัฐพล ) ถือว่าเป็นยุคเผด็จการ
ผู้วิพากษ์วิจารณ์ระบอบกษัตรีย์และการเมืองของฝ่ายน้ยมเจ้ายังคงเข้าใจกัน
ว่าการสร้างกษัตริย์แบบใหม่ที่ประชาชนนิยมและเป็นกษัตริย์คักดิ้สืทธิ้ด้วยนั้น เริ่มดัน
ด้วยการสนับสนนทั้งจากสฤษดิ้และสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ส่วนหนึ่ง
เพราะเป็นอิทธิพลจากหนังสือของทักษ์ เฉลิมเดียรณ ที่ช่วยไห้เราเห็นการเติบโต
ทางการเมืองของกษัตริย์ ไนขณะที่บทบาทของกษัตริย์และฝ่ายเจ้าช่วง 2490 ถืง
2500 กลับยังไม่นีำารกล่าวถึงนัก

ราชสำนักกับการเมืองไทย
ศวามรู้แบบทึ่สาม ซึ่งเริ่มก่อตัวในวงวิชาการในปลายทศวรรษ 2540 แต่
แพร่หลายในทศวรรษ 2550 เปีดเผยไห้เห็นบทบาทความสำคัญอย่างมากของกษัตริย์
และฝ่ายเจ้าหลังสงครามโลกครั้งที่สองและเป็นพันธมิตรกับทหารก่อการรัฐประหาร
2490 เท่ากับว่าฝ่ายเจ้าพยายามต่อต้านการปฏิวัติ 2475 จนพ่ายแพ้ราบคาบไป
ประมาณ 2481 แต่เพียงชั่วระยะสั้นนิดเดียวคือประมาณ 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่
สอง พวกเจ้าก็สามารถเข้าส่วงการเมืองได้อีกครั้ง ครั้น 2490 พวกเจ้าก็ร่วมก่อการ
รัฐประหาร นับจากนั้นก็มิบทบาททางการเมืองต่อเนื่องมาโดยตลอด มอานาจขาเลง
<31 o

มากน้อย หนุนทหารหรือต่อต้านทหาร และออกหน้าหรือแอบแฝงตามแต่พลวัตของ


ดุลอำนาจ กรอบและโครงเรื่องของการเมืองหลังสงครามโลกถึง 2500 ไม่สามารถ
อธิบายได้ด้วยการเมืองสามเส้าระหว่างจอมพล ป . ผิน- เผ่า และสฤษดี้ อีกต่อไป
ป้จจัยที่ผลักตันให้ความเข้าไจเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของกษัตริย์และ
พวกนิยมเจ้านับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเปลี่ยนไปคือผลต่อเนื่องจากอาการ
“ตาสว่าง” ที่ระบาดไปทั่วทั้งสังคมไทย เรื่องบื้มีผู้ศึกษาและกล่าวถึงมากมายในระยะ
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา กล่าวคือเมื่อ “ตาสว่าง ” กับปัจจุบัน จึงย้อนกลับไปสอบสวนอต็ด ก็
พบความรู้ประวัตศาสตร์ 2475 ตามแบบที่สอง ทำให้ความเข้าใจที่อยู่แค่ในวงวิชาการ
กลายเป็นความเข้าไจอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชนผู้สนใจการเมือง จนมืผู้เรียก ว่า '

( 21 )
การเกิดใหม่ของ 2475 และคณะราษฎร 16 จึงนำไปสู่การตรวจสอบบทบาททางการเมือง
ของกษัตริย์หลัง 2475 ทุกช่วงยิ่งกว่าก่อนหน้านี้
ยิ่งทำลายประชาธิปไตยอย่างเข้มข้นขึ้นใน 10 กว่าปืหลังรัฐประหาร 2549
รวมทั้งการใช้มาตรา 112 อย่างพรรเพรื่อไร้เหตุผล จึงกลายเป็นบูมเมอแรงผลักดันไห้
ผุ้คนสงลัยต่อภาวะคลั่งไคล้หลงใหลเจ้าและการเมืองของพวกกษัตริย์น้ยม ไดยเฉพาะ
อย่างยงกำเนิดของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและหลัก
กฎหมายที่ถือว่าพระมหากษัตริย์จะถูกละเม็ดไม่ได้ ทั้งสองประการสืบย้อน'ใต้ไปถื
' ง
รัฐธรรมนูญ 2492 และการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึง 2500 นักวิชาการทม 431

บทบาทสำคัญในการสอบสวนประวัติศาสตร์ดังกส่ๅวนอกจากสมศักดิ้ เจียมธีรสกุล!
สมชาย ปรีชาศึลปกุล ' '' คนสำคัญที่เจาะถึกถึง “ขาวสีนี้าเงิน” ก็คือณัฐพล ใจจริง1,
'

นอกจากนี คงต้องกล่าวถึงหนังสือ The King Never Smiles20 (TKNS)


ของพอล แฮนด์ลีย์ (Paul Handley) ซึ่งเป็นชีวประวัติทางการเมืองของพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที 9 TKNS เผยชัดเจนว่าการฟูมฟ้กสร้างกษัตริย์ให้มืบทบาททางการเมืองเริ่ม
ขึ้นภายใต้บริบทที่ฝ่ายเจ้าปีนอำนาจและมีบทบาททางการเมืองมากเหลอเกินทลังการ
รัฐประหาร 2490 แม้ว่าฝ่ายเจ้าจะหลุดรอดจากสายตาของนักประวัติศาสตร์ที่ศึกษา
การเมืองไทยช่วง 2490- 2500 แต่ไม่รอดสายตาของแฮนด์ลีย์ และแม้ว่าเขาจะเม่ได้
อธิบายประวัติศาสตร์การเมืองอย่างเป็นระบบเพราะเพ่งเล็งที่ชีวประวัติ 'จอง
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็นหลัก แด่ผู้อ่านสามารถเห็นได้ไม่ยากว่าฝ่ายเจ้ามีบทบาท
ทางการเมืองในช่วงนันมาก ผมเป็นคนหนึ่งที่เริ่มเห็นถึงบทบาทฝ่ายเจ้าในช่วงนี้เพราะ
อ่าน TKNS จึงช่วยให้ผมตระหนักถึงอันตรายของวาทกรรม “พระราชอำนาจ” ในปี

ชาตรี ประกิตนนทการ, “ คณะราษฎรกับรัฐประหาร 19 กันยายน" ใน If ถาป็ต1เกรรมให0


หลังรัฐประไท719 กันยา 49 (กรุงเทพฯ : ท่าน, 2558 ) ; ธนาพล อิำส'กุล, “การเกิดครั้งที่ 3 ของ
คณะราษฎร 7,” theiOUworld, 4 กรกฎาคม 2560, https ะ / /พพพ.the101 , world /the-rebirth-
of-247 5-spirit.
7
สวาคักด เจียมธีรสกุล, ประวดศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง ,
สมชาย ปรีชาคิลปกุล, นี่คอปฌิธ 7นทพาญ jjง.
1ฯ
^
ณัฐพล ใจจรินี้, ขอ นไฝในฝ็นอ้นเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนโหวV องขบวนทารปฏปักบ์ปฏิวัติ
สยาม (พ.ศ. 2475-2500) (นนทบุรี : ฟิาเดียวกัน, 2556) .
I >aul M- Handley, The King Never Smiles ; A Biography of Thailand's Bhumibol
Adulyadej (New Haven : Yale University Press, 2006).

{ 22 )
2548-2549 ด้วยเพราะทารทำลายประชาธิปไตยในสองอุคเทียบเคียงกันได้หลายอย่าง
ถึงกระนั้นก็ตาน ผมก็ยังเข้าใจบทบาทความสำคัญของราชสำนักในช่วงก่อน 2500 ไม่
vi
มากนัก และเหมือนนักวิชาการคนอื่น ๆ ที่เมื่อพูดถึงการ นบทบาททางการเมืองของ
สถาบันกษัตริย์แล้วก็ต้องเน้นที่อุคสฤษที่
ความเข้าใจของผมเปลี่ยนไปเมื่อใต้อ่านวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของณัฐพล
ใจจริง ซึ่งเขาได้เขียนและแล้ไขเรียบเรียงใหม่เป็นหนังสือ ขุนดิก ศักดินา และพญา
อินทรี ในมือท่านขณะนี้ ณัฐพลเผยให้เห็นบทบาทของกลุ่มกษัตริย์นิยมและราชสำนัก
ที่แสวงอำนาจอย่างไม่หยุดหย่อนตั้งแต่หลังสงครามโลก ไม่ต่างจากฝ่ายอื่นๆ สำเร็จ
บ้างถอยบัาง แต่ไม่เคยอวดอ้างทำตัวสะอาดอยู่เหนือการเมือง ราชสำนักมืบทบาท
สำคัญทางการเมืองในหลายเหตุการณ์เพี่อพยายามโค่นรัฐบาลจอมพลป . และเพิ่ม
อำนาจกษัตริย์ ราชสำนักเป็นอำนาจที่หนุนสฤษที่ทำรัฐประหารปี 2500 ด้วย ดังนั้น
ความเชื่อว่าความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเจ้ากับคณะราษฎรยุติลงเมื่อปี 2490 ตานความ
รู้แบบที่สองนั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะยังต่อสู้กันต่อมาจนถึง 2500 เป็นอย่างน้อย
ขุนดิก ศักดินา และพญาอินทรี เป็นเรื่องเล่าที่ต่างจาก “การเมืองสามเล้า ”
อย่างมาก น่าจะทำไห้ “ การเมืองสามเล้า ” เป็นกรอบและโครงเรื่องที่ต้องสงสัยและอาจ
จะใช้ไม่ได้อีกต่อไป ผู้อ่านคงต้องใช้วิจารณญาณตัดสินเอง

ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี


เราจะถีอว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการขยายต่อประวัดศาสตร์แบบที่สามนี้ให้มี
คุณภาพสูงมาก หรือเราจะถึอว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกรอบและโครงเรื่องแบบที่สี่ คงเป็น
เรื่องต้องติดตามกันต่อ ปว่าหนังสือเล่มนี้ขิะก่อ ,ห้เกิดการสอบสวนประวัติศาสตร์
1 I

กระแสใหม่ที่เป็นผลสืบเนื่องจากหนังสือนี้มากน้อยขนาดไหน
สภาพการเมืองตามที่หนังสือเล่มนี้เสนอ เป็นบริบทช่วยให้เข้าใจปรากฎการณ์
ทางการเมืองและสังคมอีกหลายอย่างในช่วงนั้น ตัวอย่างเช่น ช่วยให้เราเข้าใจว่ากระแส
การต่อสู้กับ “ ศักดินา ” มิใช่เป็นเรื่องของฝ่ายซ้ายและพรรคคอมมิวนิสต์แต่ฝ่ายเดียว
แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองกระแสหลักในขณะนั้นด้วย การวิพากษ์วิจารณ์ “ ศักดินา’'
จึงสามารถทำได้อย่างเปีดเผยแพร่หลาย โดยไม่ถูกถือว่าเป็นการต่อสู้ของฝ่ายซ้าย
เสมอไป วาทกรรมว่าด้วยศักดินาซึ่งเราเคยเช้าใจว่าเป็นของฝ่ายซ้ายและพบในงาน

{ 23 )
วรรณกรรมของพวกมาร์กซิสต์เท่านั้น21 แท้ที่จริงเป็นวาทกรรมสกธารณะธรรมดา ๆ
คนอย่างเผ่าและจอมพล ป. ก็กล่าวถึง “ศักดินา ” ในเช้งลบด้วยเช่นกัน
ประเด็นเล็ก ๆ อีกอย่างที่เกี่ยวกันก็คือ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราท่านหลายคนคง
ลำบากใจว่าจะเรืยกพวกเจ้าในแง่การเมืองว่าอย่างไรดี เรามักใช้คำว่า “พวกกษตรย V J1

นิยม ” ซึ่งพอใช้ได้แม้เป็นคำที่ประดีดประดอยไปสักนิด ไนช่วงก่อน 2500 คำไทยๆ


ที่ใช้เรียกพวกเจ้ากันจนเป็นปกต็ ไม่ประดึดประดอย สาธารณชนรู้จักคำนี้ดี และใน
ความหมายเทมือน “พวกกษัตริย์นิยม ” คือคำว่า “ศักดินา ” บทความอย่าง “โฉมหน้า
ของศักดินาไทยในปัจจุบัน” ของสมลrมัย ศรีศูทรพรรณ นามปากกาของจีตร ภูมิศักดิ้22
จึงอาจคูล่อแหลมอันตรายน้อยกว่าที่เรามองจากบรรยากาศใน 20-30 ปีหลังจากนั้น
ภายไต้ความคลั่งไคล้หลงใหลเจ้า ( Hyper- royalism ) หนังสือ ฝรั่งศักดินา ของ
คึกฤทชิ้ ปราโมช23 ซึ่งเราเข้าใจกันว่าเป็นการตอบโต้ฝ่ายช้ายโดยเฉพาะ โฉมหน้าฯ
ของจิตร อาจจะเป็นการตอบโต้การที่คำนี้กลายเป็นศัพท์สาอารฒะในทางลบในช่วง
ก่อน 2500 ก็เป็นได้
สภาพการเมืองตามที่หนังสือเล่มนี้เสนอยังช่วยให้เราเข้าใจบริบทของกรณี
สวรรคตรัชกาลที่ 8 ได้อย่างชัดเจนขึ้นอย่างมาก จะเป็นในแง่ใดอย่างไร ขอผู้สนใจ
โปรดพิจารณากันเอง การกล่าวหาปรีดี พนมยงค์ ว่ามีสัวนในกรณีสวรรคตด้วยการ
ให้คนตะโกนในโรงหนังนั้น เป็นเพิยงปลายยอดภูเขานั้าแข็งของกระบวนการทำลาย
ปรืดีอย่างเป็นระบบกว้างขวางจริงขังกว่านั้นมาก ภาพพจน์ของจอมพลป. ที่เป็นผู้ร้าย
ในสายตาคนรุ่นผมก็เป็นมรดกของพวกศักดินา จนอดสงสัยไม่ได้ว่า มี “ ผู้ร้าย '’
คนไหนอีกที่ประสบชะตากรรมทำนองเดียวกัน มิได้หมายความว่าจอมพล ป. และ
“ผู้ร้าย ” ในสายตาของพวกศักดินาเหล่านั้น แท้ที่จริงเป็นวีรบุจุษผุดผ่องน่ายกย่อง แต่

Craig J. Reynolds, Thai Radical Discourse : The Real Race of Thai Feudalism
Today ( Ithaca, NY ะ Southeast Asia Program, Cornell University Southeast Asia
Program Publications, Cornell University , 1987 ) หรือในภาษาไทย เคร็ก เจ . เรย์ในลส์ส,
ความคดแ }1วทแนวของไทย : จิตร ทรศ้กด และโฉมหน้าของบัทดินาใทยในปัจๅเบัน , แปล อญชลื
สุสายณห์ ( พุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการดำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2534)
22
บทความชิ้นนตพิมพ์ใน วารสารนตศาสฅร์ ฉบับรับศตวรรษไหม่ 2500 แล้วหายไปหลัง
รัฐประหารของสฤษดึ้ ธนะรัชค์ ในปี 2501 แต่หลัง 14 ตุลา มีการดีพิมพ์ออกมาเป็นหนงสือเล่ม
จิตร ภูมิศกคึ
ั ้ โฉมหนาศกดินาใทซ (พุงเทพฯ ะ ชมรมหนังรอแสงตะวน* 2517 ),

5
:! คึกดุทธิ้ปราโมช
, ฝรั่วศกตินา ( พระนคร : กัาวหไท, 2511 )
,

( 24 )
หมายถึงภาพพจน์ของชุนศึกที่เลวร้ายเป็นพิเศษที่มักพ่วงไปกับชื่อ “ เผ่า ศรียานนท์ '’
หรือ "ประภาส จารุเสถียร’, นั้น เขาถูกทำไห้ร้ายกว่าที่ควรจะเป็นหรือเปล่า เพิยง
เพราะคนเหล่านี้ล้วนเข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ด้วยหรือเปล่า ใน
ทางกลับกันพวกศักดินาที่ดูราวกับเป็นเทพมือสะอาด อันที่จริงกลับเป็น “ สัตว
การเมือง ” ไม่ต่างจาก “ ผู้ร้าย " เหล่านั้น
ขุนอัก ศักดินา แตะพญาอิน m น่าจะเป็นหลักหมายของประวัติศาสตร์
การเมืองไทยเล่มสำคัญ จึงเหมาะสมแล้วที่สำนักพิมพ์ฟิาเดียวกันจะถือเป็นเล่มสำคัญ
เล่มหนึ่งในหนังสือชุดสยามพากษ์

มหาวิทยาลัย “เซ็นเซอร์” ความรู


แต่ในประเทศไทย บ่อยครั้งที่หนังสือดีๆ งานวิจัยดีๆ กลับไม่ได้รับเกียรดิที่
สมควรได้ แม้แต่จากสถาบันการศึกษาที่ถือว่าดีที่สุดในประเทศ
แวดวงวิชาการด้านสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ทั้งโลกรู้กันต็ว่า วิทยานิพนธ์
ปริญญาเอกทางต้านนี้บ่อยครั้งเป็นผลงานสร้างสรรค์อย่างสำคัญที่ท้าทายความรู้ที่เป็น
อยู่ ผลักดันพรมแดนทางความรูและคูมืป้ญญาให้ขยับออกไป แต่ทว่าในประเทศไทย
กลับถือว่าการดีพิมพ์วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกไม่สำคัญนัก เพราะถือเป็นการวิชัยชัน
เก่าที่ทำ ปแล้ว จึงนำมานับเป็นผลงานเพื่อประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการไม่ได้
ใครอยากทำเพื่อความพอใจของตนก็ทำไป ผลก็คือวิทยานิพนธ์ดี ๆ ในภาษาไทยยัง
พอได้รับการดีพิมพ์บ้างเพราะผู้วิจัยต้องการเผยแพร่ (แม้ว่าจะไม่นับคะแนนก็ตาม )
แต่ก็มักเป็นการดีพิมพ์โดยแทบไม่มีการลงแรงเพิ่มเพื่อแกไขปรับปรุง สํวนวิทยานิพนธ์
ที่ทำเป็นภาษาอังกฤษ จึงมักไม่'' ด้รับการแปลและดีพิมพ์เป็นภาษาไทยเพื่อสร้างเสริม
วิทยาการในโลกภาษาไทย เพราะต้องลงแรงอย่างหนักมากแด่มหาวิทยาลัยไทยกลับ
ไม่เห็นคุฌค่า
ที่เลวร้ายไปกว่านั้นกีคือ ประเทศนี้ใม่ถือว่าหนังสือดีศึอแสงสว่าง แต่กลับ
ถือว่าคืออันตราย จึงต้องปีดกั้นลบล้าง
วิทยานิพนธ์ที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ควรได้รับการต้อนรับชื่นชมเพื่อ
ความเรืองปัญญาของสังคม อันเป็นเกียรติที่อาจารย์ที่ปรึกษา คณะ และสถาบันควร
,
ภาคภูมใจ
ี แต่ทว่าหากไปห้าทายหรือขัดแย้งกับอุดมการณ์หลักของชาติหรือห้าทาย
ต่อสถาบันการเมืองหลัก จะกลับถูกถือว่าเป็นอันตราย วิทยานิพนธ์'ที่ดีเยี่ยมอย่างเช่น

( 25 )
ของณีฐพถ ใจจริบั 4 อันเป็นฐานของหนังสือเล่มนี้ ก็ถูกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สั่งห้ามเผยแพร่หรือ “ เซ็นเฃอร์ ” เช่นกัน
มหาวิทยาลัยจึงทำหน้าที่ทั้งผลิตความรู้และปิดกั้นทำลายความรู้ด้วย ช่างน่า
ละอายน่ารังเกียจเหลือเกินที่มหาวิทยาลัยที่อวดตัวว่าดีที่สุดของประเทศไทยสั่ง
“ เซ็นเชอร์ ” ผลงานดี ๆ ของบัฌช็เตจากสถาบันของตน
นักวิชาการบางคนจึงทำตัวเป็นตำรวจความคิด (Thought Police ) คอย
สอดส่องเซ็นเชอร์ความรู้ที่เขาเห็นว่าอันตราย ส่งให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจัดการ คังที่
ปัญญาชนฝ่ายเจ้าคนหนึ่งลงมือแข็งขันที่จะให้เซ็นเชอร์วิทขานิพนธ์ชิ้นนี้ ทั้งๆที่
วิทยานิพนธ์เล่มนี้ผ่านการสอบและอนุมัติปริญญาเรียบร้อยไปแลัว เขาตั้งข้อกล่าวหา
ว่าวิทยานิพนธ์ผิดพลาดอย่างแรง ถึงกับเสนอให้ถอดถอนปริญญา ข้อกล่าวหาของ
เขาเจาะจงลงไปที่ความบกพร่องของณัฐพลแห่งหนึ่ง แล้วอ้างว่าฏีความผิดพลาด
ทำนองเดียวกันอีกมากมายราว 30 แห่งด้วยกัน เพื่อพยายามทำลายความน่าเชื่อถือ
ชองณัฐพลและของวิทยานิพนธ์ฉบับนั้น
ผมมีโอกาสรับรู้และตรวจสอบข้อผิดพลาดที่ถูกกล่าวหา ผมพบว่ากรณีหลักที่
นักวิชาการตำรวจคนนี้กล่าวทานั้น เป็นความผิดพลาดของพ้ฐพลจริงเพราะเข้าใจ
หลักฐานผิดดีความเกินเลยไป แต่ความผิดพลาดดังกล่าว มิได้สำคัญต่อวิทยานิพนธ์
ทั้งเล่มหรือบทนั้นหรือตอนนั้นแต่อย่างใด หมายความว่าณํฐพลไต้เสนอหลักฐานชิ้น
อื่นและข้อมูลอีกจำนวนมากในบทตอนนั้นและตลอดทั้งเล่ม เพื่อยืนอันข้อเสนอและ
การวิเคราะห้สำคัญ ๆ หากข้อความที่เป็นปัญหานั้นถูกยกออกไปหมดทั้งย่อหน้า
วิทยานิพนธ์บทตอนนั้นและทั้งเล่มก็อังนำไปสํข้อวิเคราะห์และข้อสรุปเหมือนเติม
ทุกประการ ดังที่ฌัฐพลได้แสดงไห้เห็ไเไนหนังสือเล่มนี้ซึ่งไม่มีข้อความที่ผิดพลาด
ดังกล่าวแล้ว
สิ่งที่ตำรวจทางวิชาการอ้างว่าผิดพลาดอีกมากมายหลายสิบแห่งนั้น ได้ตรวจสอบ
แล้วไม่พบความผิดพลาดลักแห่งเคียว อย่างมากก็เป็นการดีความที่ด้นได้ตามแต่
อุดมการณ์และมุมมอง จนตำรวจทางวิชาการทึกทักว่าเป็นความ ผิดพลาด
ในธรรมเนียมทางวิชาการทางสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ตามปกตินั้น การ
ถทเถืยงทางวิชาการควรทำด้วยการถกเถึยง นำเสนอข้อวิเคราะห์ที่ดีกว่า และ/หรือ

ณัฐพล ไจจริง , "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพลป . พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลก‘บอง


สหรัฐอเมริกา (พ .ศ. 2491-2500)” (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2552).

( 26 )
หลักฐานที่ดีกว่าหรือการดีความที่ต่างออกไป หากมีข้อผิดพลาดก็เปีดเผยออกมา
ผู้ว๊จัยจะยอมรบหรือแย้งคำกล่าวหาก็แถลงออกมา ผู้อ่านย่อมได้ประโยชน์ไปด้วย แต่
นักวิชาการตำรวจความคิดรายนี้มีได้พยายามไช้วิธทางวิชาการแม้แต่น้อย กลับวื่งเต้น
ให้มีการใช้อำนาจของคณะหรือของมหาวิทยาลัยจัดการเซ็นเซอร์วิทยานิพนธ์เสียเลย
!
นี่มิใช่วิธของนักวิชาการ หรือตำรวจความคิด ว่าตนใช้วิธีทางวิชาการคงไม่ได้ผล แต่
!
ยังต้องการลบล้างความ ที่ตนไม่พอไจไห้ได้ จงวิ่งเข้าหาอำนาจเพื่อสั่งให้วิทยานิพนธ์
ชิ้นนี้เป็นโมฆะ แด่เนื่องจากได้สอบผ่านไปแล้วอนุมัติปริญญาไปแล้ว จึงใช้อำนาจ
สั่งห้ามเผยแพร่
พฤติกรรมเช่นนี้ทำให้นึกถึงคำกล่าวที่ว่านักวิชาการฝ่ายนิยมเจ้าไม่มีนํ้ายา
เพราะเก่งแต่เพียงใช้อำนาจกดปราบความ!ที่เขาไม่เห็นด้วยลงไป ในขณะที่ผลงานที่
พวกเขาผลิตมักเป็นงานอาคิรวาทสดุดี ( แปลว่า ประจบสอพลอเจ้า) ท้มีคุณค่าทาง
!
วิชาการตา เพราะ ว่าในระบบวิชาการของไทย ผลงานดังกล่าวย่อมได้รับการประเมิาเ
ด้วยคะแนนสูงสุดอย่างแน่นอน ความรักเจ้ากับการหากินกับเจ้าจึงมักไปด้วยกัน แยก
ไม่ออกว่าอย่างไหนคือศรัทธา อย่างไหนคือสอพลอ เพราะศรัทธาต่อกษัตริย์กับการ
สอพลอต่อกษัตริย์ดูเหมือนจะเป็นสิ่งเดียวกันในประเทศไทย
ผมเคยตรวจวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกมาแล้วหลายสิบเล่น เป็นของมหาวิทยาลัย
ระดับนำของโลกนับสิบแห่ง หากวิทยานิพนธ์มีความผิดพลาดหนักหนาสาห้สที่กระทบ
ต่อการพิสูจน์หรือวิเคราะห์ก็ไม่ควรให้สอบผ่าน แต่แทบจะไม่มีเล่มไหนเลยที่ไม่มี
ข้อบกพร่องชนิดไม่หนักหนาทำนองเดียวกับณัฐพล หมายถึงข้อผิดพลาดที่ไม่มีผล
กระทบต่อข้อเสนอหลักและวิธีการพิสูจน์ บ้างก็พลาดเล็กๆน้อยๆ ให้ถือว่าสอบผ่าน
อย่างมากก็ขอไห้แก้อึกรอบ บ้างก็น่าอับอายเพราะไม่น่าพลาดขนาดนั้นได้ แต่ก็ถือว่า
ยังไม่สาหัส ควรแก้เสียก่อนจึงจะถือว่าสอบผ่าน
ตัวอย่างวิทยานิพนธ์ที่บทพร่องเช่นนี้เกิดซ้นแม้แต่กับวิทยานิพนธ์ของอาจารย์
ระดับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งผู้มัส่วนเกี่ยวข้องไนการเซ็นเชอร์งานของ
ฌัฐพลด้วยเหตุผลว่ามีความบกพร่อง (ชงผมขอไม่เอ่ยชื่อ ) วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้เสนอ
ประเด็นที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับการควบคุมประชาชนของรัฐไทยผ่านการเก็บข้อมูลส่วน
บุคคล แต่ผู้คึกบาต้องการสอบสวนการควบคุมประชาชนนับจากสมัยต้นอยุธยา บทที่
สองและสามจึงบรรยายประวัติศาสตร์ไทยก่อนยุคสมัยใหม่ ปรากฏว่ามีความ ผิดพลาด
เต็มไปหมด ที่ผิดพลาดอย่างไม่น่าเชื่อก็มี เช่น ระบุปีที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง
จนถึงปีที่กู้อิสรภาพห่างกันถึง 100 ปีเต็ม แถมยังเขียนว่าพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ

( 27 )
และเอาดินแดนทีเสียไปคืนมา อย่างไรก็ตาม ความบกพร่องชนิดน่าอายเหล่า'น!ม่มี
ผลใด ๆ ทังสินต่อการวิเคราะห์และข้อเสนอของวิทยานิพนธ์ เพราะประวัติศาสตร์ก่อน
ยุคปัจจุบันในงานชี้นนี๋ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับการวิเคราะห์หรือข้อเสนa แด่อย่างใด เป็น
แค่เครี่องประดับให้วิทยานิพนธ์ดูดีขึ้นเท่านั้น ความบกพร่องน่าอายแบบนั้จีงไม่ควร
เป็นเหตุให้สอบตก และจะต้องไม่เป็นเหตุให้โดนกลั่นแกล้งเซ็นเซอร์อย่างเด็ดขาด
เพราะข้อเสนอของวิทยานิพนธ์ยังเป็นความเที่ฏีคุณค่า
มหาวิทยาลัยส์วน่ใหญ่'ใน่โลกส่งเสริมให้เผยแพร่1วิทยานิพนธ์ 'ที่สอบ ผ่านแล้ว
,
และการเซ็นเซอร์ห้ามเผยแพร่ไม่เป็นทางเลือกไมว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
มหาวิทยาลัยใดก็ตาม ล้าหากยินดีหรือจงใจไปร่วมมือต่อต้านประชาธิปไตย
หรือช่วยควบคุมจำกัดเสรีภาพของอาจารย์และนกศึกษา จำกัดกิจกรรมทางการเมือง
ในประชาคมมหาวิทยาลัย ย่อมไม่สมควรได้อันดับสูง
มหาวิทยาลัยใดก็ตาม ล้าหากทำการเซ็นเซอร์ความคิดและผลงานทางวิชาการ
สมควรถูกประณามและลงโทษอย่างหนัก เพราะการกระทำเช่นนั้นเท่ากับมหาวิทยาลัย
1ด้โยนทิ้งการกิจพื้นฐานทึ่สุดของสถาบันทางวิชาการ นั่นคือการสร้างสรรค์วิทยาการ
เทือแสงสว่างทางปัญญาแก่สังคม การเซ็นเซอร์และปีดกั้นทางวิชาการคือเป็นการ
ทำบาปขันมหันต์ (cardinal sin) สำหรับมหาวิทยาลัย ชุมชนวิชาการทั้งหมดไม่แด่
เพียงในประเทศไทยแด่ทั้งโลกด้วย จักต้องไม่ยอมนั่งเฉยกับการกระทำน่ารังเกียจ
ดังกล่าว สมควรร่วมมือกันทำให้มหาวิทยาลัยที่กระทำดังกล่าวร่วงลงไปอยู่ในชั้นตาสุด
ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก
หากยังต้องการอันดับทีสูงขึ้นดีขึ้น หรือแม้กระทั้งคงอันดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
จะต้องเลิกการเซ็นเซอร์ หาไม่แล้วพฤติกรรมน่ารังเกียจที่มหาวิทยาลัยไม่พงกระทำจะ
ต้องเป็นที่รู้กันไปทั้วโลกอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว

ธงชัย วินิจจะกูล

( 28 )
คำนำผู้เขียน

การเมืองไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองหรอในยุคสงครามเย็นตอนต้นเปรียบ
เสมือนยุคสมัยแห่งความคลุมเครือในประวัติศาสตร์การเมือง แม้จะมีหนังสือที่ศึกษา
ช่วงเวลาดังกล่าวอยู่บ้าง แต่มีจำนวนน้อยชิ้นและปราศจากการศึกษาอย่างเฉพาะ
เจาะจง ทั้งๆ ที่ช่วงสมัยดังกล่าวถือเป็นรอยต่อระหว่างยุครุ่งเรืองของคณะราษฎร
( 2475-2490) กับยุคการเถลิงอำนาจของกองทัพสมัยจอมพลสฤษดื้ ธนะรัชตํ ( 2500)
1

ผู้เป็นทหารกลุ่มใหม่ที่ตัคขาดจากความเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ 2475 และผูร ่นa าจาก


/

คณะราษฎร สำหรับผู้เขียนแล้วการเมืองไทยในช่วงเวลาดังกล่าวน่าพิสมัยเป็นอย่างยิ่ง
สาเหตุที่ช่วงสมัยดังกล่าวมีการศึกษาน้อยอาจเฟินผลมาจากการถูกประเมีนว่า
เป็นเพียงยุคเผด็จการทหารสมัยหนง ที่เป็นเพียงรอยต่อมาสํระบอบเผด็จการทหารของ
จอมพลสฤษดิ้เท่านั้น ประการที่สอง อาจเกิดจากความยากลำบากในการหาหลักฐาน
กล่าวถือ ในไทยมีเอกสารชั้นต้นในช่วงเวลาดังกล่าวน้อย อีกทั้งเรื่องราวสำคัญ ๆ บาง
อย่างที่จะเป็นกุญแจไขความเข้าใจปรากฎการณ์ช่วงนั้นกลับกลายเป็นความลับที่รู้กัน
ในแวดวงแคบ ๆ และไม่มีการบันทึกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารราชการไทย
เป็นต้น หรือแม้กระทั้งเรื่องราวข่าวสารทั่วไปที่เกิดชั้นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง
ท้ควรจะพบในหนังสือพิมพ์แต่ไม่สามารถเป็นไป ‘ ด้ เนื่องจากคุณภาพของกระดาษ
หนังสือพิมพ์ขณะนันเกือบทั้งหมดมีคุณภาพตำ ทำให้หนังสือพิมพ์สมัยนั้นจำนวนมาก
ไม่สามารถรักษารูปทรงเอกสารไวัได้ และมักย่อยสลายลงเป็นเยื่อกระดาษอย่างง่ายดาย
ทันทีที่นักวิจัยหยิบจับชั้นอ่าน หรือไม่ก็อาจป่นเป็นผงอยู่ในกล่องเอกสารนั่นเอง
คงเหลือแต่เพียงข่าวตัดจำนวนหนึ่งที่เป็นการสรูปข่าวตามความสนใจของกระทรวง
ทมวงกรมเท่านั้น ส่งผลให้ขาดข้อมูลในการค้นคว้าในระดับกว้างไปอย่างน่าเสียดาย
อันดึอเป็นความยากลำบากในการศึกษาการเมืองไทยในห้วงเวลานั้นเป็นอย่างยิ่ง
ไม่แต่เพียงอุปสรรคจากข้อจำกัดของเอกสารไทยเท่านั้น แต่ยังรวมดึงข้อจำกัด
ของกรอบการวิเคราะห์ของทฤษฏีความรู้ทางรัฐศาสตร์แบบสหรัฐฯในยุคสงครามเย็น
อันมีเพดานในการวิเคราะห์ที่ทำให้การศึกษาต่างๆในอดีตที่ผ่านมามองข้ามตัวแสดง
ทางการเมืองบางตัวไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น หนังสือ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี
เล่มนั้หาใช่เป็นการศึกษาการเมีองไทยโดด ๆ แต่เป็นความพยายามในการชัดวาง
การเมืองไทยลงในบริบทหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรอห้วงแห่งสงครามเย็น (Cold
War) อันมีสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจสำคัญของไลก เพื่อเข้าใจความสลับซับซ้อน
ของบทบาทมหาอำนาจที่มีต่อการดำรงอยู่ของระบอบการเมีองหนึ่ง ๆ รวมทั้งความ
รู่งเรืองและร่วงโรยของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ อีกด้วย
ะ๕
ทงน แหล่งข้อมูลที่ผู้เขียนใช้ศึกษาค้นคว้านั้นมาจากเอกสารหลายแหล่ง ทั้ง
เอกสารฝ่ายไทย เอกสารจดหมายเหตุในหอจดหมายเหตุแห่งชาติไทยที่ท่าวาสุกรื กอง
บรรณสาร กระทรวงการต่างประเทศ บันท่กความทรงจำในหนังสืองานศพบุคคลสำคัญ
หนังสือพิมห์ เป็นต้น นอกเหนือจากเอกสารฝ่ายไทยแล้ว ผู้เขียนยังใช้ข้อมูลจากหอ
จดหมายเหตุไนด่างประเทศเพื่อปะดีดปะต่อภาพให้คมชัดยิ่งขน เช่น เอกสารจากหอ
จดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ มลรัฐแมริแลนด์ ( NARA : National Archives and
Record Administration ) หอจดหมายเหตุประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ (The Dwight
D. Eisenhower Presidential Library, Museum and Boyhood Home ) มลรัฐ
แคนซัส หอสมุดแห่งรัฐสภาสหรัฐฯ (Library of Congress) วอชิงตัน ดี. ซี. และหอ
จดหมายเหตุแห่งสหราชอาณาจักร (PRO : Public Records Office) ลอนดอน หรือ
ป้จจุบันเรียก TNA : The National Archives ทั้งนึ่ เอกสารจดหมายเหตุจากต่าง
ประเทศเป็นกลุ่มเอกสารที่มีความสำคัญยิ่งในการเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปจากเอกสาร
ฝ่ายไทย โดยเฉพาะที่เอกสารฝ่ายไทยไม่สามารถบันทึกใต้ หรือไม่รับทราบข้อมูล
ดังกล่าวนั้น เอกสารในหอจดหมายเหตุต่างประเทศเหล่านั้เปีนรายงานของหน่วยงาน
ราชการ ทั้งเอกสารระดับสูงในระดับนโยบายและระดับปฎิบัดีการ เช่น เอกสารการจัด
ทำนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐฯ บันทึกการสนทนาของประธานาธิบดี รัฐมนตรี
ต่างประเทศ นักการเมืองระดับสูงกับบุคคลต่างๆ ข้อเสนอแนะจากฝ่ายการเมืองของ
ประธานาธิบดี รวมทั้งบันทึกการสนทนา รายงานทางการทูต บันทึกการสนทนากับ

( 30 )
แหล่งข่าวของสถานทูต รายงานของหน่วยสืบราชการลับ รายงานทางการทหาร ข่าวตัด
ข่าวแปล เอกสารสำคัญที่เจ้าหน้าที่สถานทูตจัดเก็บจากประเทศที่มีถิ่นพำนัก เป็นด้น
เอกสารจากหอปีดทมายเหตุในต่างประเทศนั้น บางสํวนผู้เขียนเดินทางไปเก็บรวบรวม
ข้อมูลเอง บางส่วนได้รับการอนุเคราะห์เพิ่มเติมจากนักศึกษาไทยและคณาจารย์ชาวไทย
ชาวต่างประเทศอีกหลายท่านที่สนใจประวัติศาสตร์การเมืองไทย
หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนเขียนและเรียบเรียงขนใหม่โดยอิงกับวิทยานิพนธ์ปริญญา
เอกเรื่อง “การเมือง'ใทขสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของ
สหรัฐอเมรีกา ( พ . ศ . 2491- 2500) ” ของผู้เขียนที่นำเสนอต่อคณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2552 ผู้เขียนได้ปรับปรุงแกไขข้อผิดพลาดต่างๆให้
มีความถูกต้องตามข้อห้วงติงของหลายท่าน
อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มดังกล่าวจะไม่สามารถสำเรีจลงไต้ หากปราศจาก
คณาจารย์ที่ให้ความรู้และให้ความเมตตาแนะนำผู้เขียนมาอย่างยาวนาน ได้แก่ รศ .
ดร. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ศ. ดร. ลิขิต ธีรเวคิน รศ. ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ศ. ดร.
ชาญวิทย์ เกษตรสิริ อาจารย์สุลักษณ์ สิวรักษ์ ศ. ดร. ไชยวัฒน์ คํ้าชู ศ. ดร. นครินทร์
.
เมฆไตรรัตน์ ศ. ดร. อนุสรณ์ ลิ่มมณี รศ ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ผศ. สุวิมล รุ่งเจริญ
ศ. ดร. ธงชัย วินิจจะกูล ศ. ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันห้ ศ. ดร. เกษ์ยร เตชะพีระ ศ. ดร.
เอนก เหล่าธรรมพัศน์ ศ. ดร. นิติและรศ. ดร.พวงทอง ภวัครพันธ์ รศ. ดร. วิระ สมบูรณ์
รศ. ดร. อรทัย ก๊กผล คุณเสถียร ชันทิมาธร คุณสุพจน์ แจ้งเร็ว คุณจุฬาลักษณ์ คู่เกิด
Yoshifumi Tamada Seren Ivarsson Eiji Murashima Kevin Hewison Tyrell
. . .
Haberkorn รศ ดร สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผศ ดร. ธำรงคักดิ้ เพชรเลิศอนันต์
ผศ. วันวิชต บุญโปร่ง ผศ. ร.ท. เทอดสกุล ยุญชานนท์ ผศ. ดร. เกษม เพีญภินันท์
รศ. เวียงรัฐ เนติโพธิ้ รศ . ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร ผศ. ดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
.
อาจารย์ชีรพล เกตุจุมพล รศ , วีณา เอี่ยมประไพ อาจารย์สิวพล ละอองสกุล ดร ธนาพล
ลิ่มอภิชาต คุณกชิดิศ อนันทนาธร อาจารย์สุระ พัฒนะปราชณ์ รศ. ดร. อภิชาต
.
สถิตนิรามัย อาจารย์วารุณี โอสถารมย์ ผศ. ดร ฐาปนันท์ นิพิฎฐกุล รศ. ดร. ปิยบุตร
แสงกนกกุล ผศ . ดร. พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย ผศ . ศรัญญ เทพสงเคราะห์ อาจารย์
ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล อาจารย์มารดารัตน์ สุขสง่า อาจารย์ ดร. ตฤฌ ไอยะรา คุณ
นริศ จรัสจรรยาวงศ์ คุณกมลทิพย์ จ่างกมล คุณธนาพล อิ๋วสกุล คุณเด่นดวง
วัดละเอียด พึ่จม หลา David Deitmann และคุณสื ที่ให้ความช่วยเหลอแก่ผู้เซียนใน
ด้านต่างๆมานานหลายปี ขอบคุณคุณปรัชญากรณ์ ลครพล ทื่อนุเคราะห์รูปสวยๆให้

( 31 )
ขอบพระคุณครอบครัวพิบูลสงคราม ที่ให้การต้อนรับผู้เขียนด้วยความเมตตาอย่างไม่
เหน็ดเหนื่อย ขอบคุณอย่างมากสำหรับ อญชล ม(รโรจน์ สังคม จิรชูสกุล และนฤมล
!
กระจ่างดารารัตน์ ทึมกองบรรณาธการสำนักพิมพ์สาเดียวกันที่ทุ่มเทในการทำงาน
จัดทำต้นฉบับที่ยุ่งเหยงให้อย่างประณีตด้วยความเหน็ดเหนื่อยที่สุด รวมทั้งความ
ช่วยเหลือจากบุคคลจำนวนมากที่ผู้เขียนมอาจเอ่ยนามทุกคนใต้ครบ ด้วยควาน
ขอบคุณอย่างสุดซัง

สุดท้ายที่จะลืมมิได้คือ เอ ผู้เป็นกำลังใจและได้แบ่งเบาภาระงานบ้านในหลาย
ปืที่ ผ่านมา เพลิน- ผู้เติมรอยยิ้มให้ยามอ่อนล้า และคุณค่าจากงานหนังสือเล่มนื
ขอยกให้กับพ่อและแม่ ผู้เป็นครูคนแรกของผู้เขียน

ณ์ฐพล ใจจริง

( 32 )
ขุนศึก ศึกดินา และพญาอินทรี
ปฎสัมพ้นธ์ชันไม่เท่าเทียมระหว่างไทซกับสหรัรฯในชุ คสงครามเยนทงมรดกอะไรไว้กับสังคม™กัไ ร
(ภาพจาก Life )
บทที่ 1
กราวพากย์
ตวตmละประวัตศาสตร์นิพนธ์ไทยในยุคสงครามเย็น

สำนึกเกี่ยวกับตัวตนของชาติที่ปรากฏโนประวัติศาสตร์นิพนธ์ของประเทศต่าง =1
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต็ในสมัยแห่งการปฏิสัมพันธ์กับเจ้าจักรวรรดิและภาย
หลังไต้รับเอกราชเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ไต้กลายเป็นประเด็นสำคัญใน
การศึกษาสำหรับนักวิชาการที่สนใจประวัตศาสตร์ภูมิปัญญา แต่น่าประหลาดใจที่การ
ศึกษา!ต่สวนประวัตศาสตร์นิพนธ์!ทยไนช่วงดังกล่าวกลับตกอยู่ในฅวานเงียบงันและ
1

ได้รับผลกระทบจากกระแสคำถามข้างต้นน้อย ในทางตรงกันข้าม ประวัตศาสตร์


นิพนธ์ไทยยังคงผลิตซาประวัตศาสตร์เอกราชที่เน้นยํ้าการต่อต้านการล่าอาณานิคม
ต่อไป (Sears 1993, 3-4 ; Thongchai 2003, 3-27)
ที่ผ่านมาความคลุมเครือของสภาวะกึ่งอาณานิคมของไทยไนสมัยที่เผชญหน้า
กับเจ้าจักรวรรดิส่งผลให้ชนชั้นนำไทยสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับความสามารถของพระ
มหากษัตริย!์ นการรักษาเลกราชของไทยขนในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 24 คำอธิบาย
ดังกล่าวถูกรักษาสืบเนื่องต่อมาในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยจวบจนปัจจุบัน ก่อให้เกิด
สำนึกตัวตนและความภูมิใจในลักษณะเฉพาะของไทยที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขนของใคร
อย่างไรกีตาม การศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงหลังที่ใช้กรอบการ
วิเคราะห์หลังอาณานิคมได้เผยให้เห็นถึงผลกระทบจากการมีปฏิลัมพันธ์ทางอำนาจที่
ไม่เท่าเทียมกันระหว่างไทยกับเจ้าจักรวรรดิ ซึ่งฝ่ายหลังถือครองอำนาจ ส่วนฝ่ายแรก
ตกเป็นรองทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการตีความใหม่เกึ่ยวกับผลกระทบ
ของ เจ้าจักรวรรดิที่มีต่อไทย และทำไห้เห็นว่าไทยมิได้มีฐานะเป็นข้อยกเว้น หรือมี
ชุนศึก ศักดินา และพญา £ นทรี

ลักษณะเฉพาะอันเกิดจากการไม่ได้ตกเป็นอาณานิคม แต่ไทยเป็นประเทศกึ่ง
อาณานิคม หรีอเป็นประเทศที่มีอิสรภาพแต่เพียงในนามเท่านั้น (Jackson 2011, 37)

ไเทยใต้เงาสงคราม!ย็น
การสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่สอง พร้อมกับการสถาปนาสหประชาชาติ
(United Nations : UN ) และหลักการการกำหนดการปกฅรองด้วยตนเอง กระตุ้นให้
ขบวนการกู้ชาติในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ที่เคยตกเป็นอาณานิคมเคลื่อนไหว
ต่อด้านเจ้าจักรวรรดิจนต้องทยอยถอนตัวออกไป ขณะที่ไทยแม้รอดพ้นจากการกลาย
เป็นผู้แพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่นได้เพราะขบวนการเสรีไทย แต่การสิ้นสุดลงของ
สงครามโลกครั้งที่สองนั้นก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมองภายในด้วย 1
ไม่นานหลังจากนั้น เงาของสงครามเย็นได้เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยสหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้นำใหม่เหนือประเทศโลกที่สามในลักษณะอาณานิคมแบบ
ใหม่ที่เสิ้อประโยชน์ไห้กับกลุ่มทุนภายไนและภายนอกประเทศตลอดจนชนชันนำของ
ประเทศบริวาร (Chomsky 1979, Preface)
นับดั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐฯต้องการขยายผลประโยชน์ทาง
การพองและเศรษฐกิจของตนออกไปทั้วโลก (Pax Americana ) โดยไต้เริ่มหมายตา
ไทยเพราะเห็นว่าเป็นประเทศที่ม่ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ หากมีอิทธิพลเหนือไทยได้
จะทำให้นโยบายการลดอิทธิพลของอังกฤษในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บรรลุผล
สำเร็จได้เนี่องจากไทยจะสามารถป้อนทรัพยากรธรรมชาติให้สหรัฐฯ แทนที่สหรัฐฯ จะ
ต้องซ้อวัตถุดิบจากประเทศอาณานิคมของอังกฤษ อีกทั้งการที่สถานะของไทยไม่เคย
ตกเป็นอาณานิคมของเจ้าจักรวรรดิใด จะทำให้สหรัฐฯ ไม่ถูกมองว่าเป็นจักรวรรดินิยม
ใหม่ (Aldrich 2000a, 320- 21) ในช่วงการขยายอำนาจจักรวรรดิของสหรัฐฯ นั้น
สหรัฐฯ ประเมินว่าพวกชาดินิยมสุดขั้วและคอมมิวนิสต์เป็นภัยต่อการขยายอิทธิพล
ของตน ไม่นานหลังจากนั้น โวหารการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของสหรัฐฯ ก็เริ่มด้นขั้น
จนทำให้คอมมิวนิสต์กลายเป็นภัยคุกคามโลก (Paterson 1972, 93 ; ชอมสกี 2544,
18-19 ; Neher 1980, 567)
สำหรับไทยในต้นทศวรรษ 2490 นั้น จอมพลป. พีบูลสงครามได้กลับคืนสู่
อำนาจทางการเมีองอีกครั้ง เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สหรัฐฯ กำลังขยายอิทธิพลเหนือ

ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง กลุ่มรอข้’ลลิสต์กับกลุ่มการเมืองอื่นๆในนามของขบวนการ
เสรีไทยได้ร่วมมือกันโค่นล้มรัฐบาลจอมพลป . พิบูลสงคราม และต่อด้านญี่ปุน ดู สุเนตร ( 2555, ฟ).

4
กราวพากย็

ปิเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายหลังการล่มสลายลงของรัฐบาลจีนคฒะชาติ สหรัฐฯได้


จัดประชุมคณะทูตประจำภูมิภาคตะวันออกไกลในกรุงเทพฯ ขึ้น เพี่อแสวงหาหนทาง
ในการรักษาผลประโยชน์ของตนไนระยะยาวด้วยการต่อต้านคอมมิวนิสต์และอำพราง
•าาามเปันจักรวรรดินิยมของตนเองไว้2 ครั้นเมื่อไทยได้ลงนามในข้อตกลงทางการ
ทหารกับส'หรัฐฯ แล้ว สหรัฐฯจึงไต้เริ่มเข้ามาจำกัดความเป็นอิสระในการตัดสินใจของ
ไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ( Neher 1980, 327)
เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน ( Benedict Anderson ) นักรัฐศาสตร์อเมรืกันผู้
เชี่ยวชาญเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯในยุค
สงครามเย็นนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เนองจากสหรัฐฯได้เริ่มเข้ามาครอบงำการเมือง
ำๅยผ่านการให้ความช่วยเหลือต่างๆ อันมีผลกระทบลึกซึ้งต่อการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคมของไทย เขาจึงเรียกร้องให้มืการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วง
เวลาแห่ง “ อเมริกันนุวัตร” (American Era ) (Anderson 1985, 19 ; แอนเดอร์สัน
2553)

การทื้เนคำอยมาย “ราชาชาตินิยม” ยุคล่าอาณานิคมในประวัติศาสตร์นิพนธ์


ยุคสงครามเย็น
แม้ว่าการปฏิวัติ 2475 จะปิดฉากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ลงแล้วก็ตาม
แต่ประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบราชาชาตินิยมว่าด้วยการรักษาเอกราชโดยชนชั้นนำที่ถือ
กำเนิดในสมัยสนบูรณาญาสิทธิราชย์ยังคงอยู่ โดยมิไต้ถูกท้าทายอย่างสำคัญจาก
ปัญญาชนที่ต่อต้านระบอบเก่า พวกเขาเพียงทำให้แนวคิดเรื่องชาติมีความสำคัญขึ้น
มาและกลายเป็นจุดหมายของประวัติศาสตร์เท่านั้น (ธงชัย 2559ง, 13) ด้วยเหตุที่
ใม่มีการท้าทายคำอธิบายแบบราชาชาตินิยมอย่างถึงรากถึงโคน คำอธิบายนี้จึงมีชีวิต
,
สืบต่อมาอย่างทรงพลังถึงยุคสงครามเย็นไตั คำถามคือคำอธิบายแบบราชาชาตินิยม
เดินทางจากยุคล่าอาณานิคมมาถึงยุคสงครามเย็นได้อย่างไร ด้วยบริบทแวดล้อมของ
ยุคสมัยเช่นไร รวมทั้งปฎิสัมพันธ์ทางอำนาจและปัญญาระหว่างชนชั้นนำไทยกับสหรัฐฯ
แบบใดที่ทำให้คำอธิบายดังกล่าวยังคงมีชีวิตสืบต่อมาได้

NARA, RG 84 Box 6 Top Secret General Records 1947-1958, Stanton to Secretary


of State 15 February 1950 *

J
ดูคำอชิบายทำนองดั4กล่า )'ไน Neon ( 1961 ) ; Rong ( 1963 ) ; Manich ( 1970) ; แถมสุข
'

( 2514, 1 -14 ; 2528ก ) ; เพ็ญศรี ดุก ( 2527 ) ; ประภัสสร ( 2543) เป็นต้น .

5
จุนคิก สัทดํนา และพญา[ นทา'

ควรบันทึกด้วยว่า การสันสุดลงของสงครามโลกครั้งที่สองมิได้เปลี่ยนแปลง
โครงสร้างอำนาจระดับโลกจากอังกฤห่ไนฐานะเจ้าจักรวรรดิไปสู่สหรัฐฯ เท่านั้น แคยง i

มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจภายในการเมืองไทยอีกด้วย กล่าวคือ รัฐบาล


จอมพลป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นตัวแทนอำนาจของคณะราษฎรที่มีความเข้มแข็งไนการ
ปราบปรามกลุ่มรอยัลลีสด้ที่ต่อต้านการปฏิวัติ 2475 ได้ล้มลง สภาพแวดล้อมดังกล่าว
เปิดโอกาส'ให้กลุ่มรอยัลลิสต์ ,พลิกพินกลับมามีบทบาท-ทางการเมืองอีกครั้งผ่านการ
สนับสนุนการรัฐประหาร 2490 (สุธาชัย 2550ข ; ณัฐพล 2556ก)
การกลับนาครั้งนี้ กลุ่มรอยัลลิสตเม่เพียงมีบทบาทในการช่วงชิงอำนาจทาง
การเมืองจากคณะราษฎรกลับคืนมายังพวกตนเท่านั้น แต่ยังไต้สืบทอดคำอธิบายแบบ
ราชาชาตินยมให้viนกลับคืนมาอีกครั้งในยุคสมัยที่สหรัฐฯ เป็นเจ้าจักรารรติอีกด้วย
โดยพวกเขาเริ่มช่วงชิงความชอบธรรมในเรื่องที่ไทยรอดพ้นจากการสูญเสียเอกราช
เนื่องจากดกเป็นผู้แท้สงคราม ด้วยmรอชิบายย้อนหลังกลับไปถึงพระปรีชาสามารถของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงเคยเปิดพระราชไมตรกับชาดตะวันตกรวมทั้งสหรัฐฯ ด้วย พวกเขาอ้างว่านื่คือ
สาเหตุที่ทำให้ไทยรอดท้นจาทการตกเป็นผู้แท้สงครามเมื่อสงครามไลทครั้งที่สองสิ้นสุด
ลง และโยนความผิดพลาดไนช่วงญี่ป่นอึดครองไทยไว้ที่คณะราษฎร กล่าวโดยสรุป 1
'

พวกเขามีส่วนสำคญในการฟินฟคำอธิบายว่าด้วยการรักษาเอกราชของไทยจาทสุคส่า
อาณานิคมให้มีชีวิตมาถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั่นเอง

4
ดู หลุย ( 2493) ส่วนงาณขึฃนของทล่มรอยัลรสด์ที่สร้างคำอธิบายเกี่ยวลับพระปรีชาสามารถ
ขอ 3พระจอมเกล้าฯในด้านต่างๆ เช่น เป็นนกกฎหมาย นักปกครอง นักวิทยาศาสตร์ นละนักการ
ดูด มีความคํคแบบเสรินิยมและนำไทm?J ครับฅวามทันสมัยจากม็ตรประเทศ ส่งผลใหัใทขมีความ
เป็นสรวิยใหม่ ดู Seni and Kuril ( 1961 ) ; Seni ( 1950, 32-66 ) ดัางใน Moffat (1961, x) ทั้งนั่
vi
พี่นัองปราโมชได้แปลพระราชหัตถเลขาและประชุมประกาศรัชกาล 4 เป็นภาษาดังกฤมไนช่างปิ
2491 ซึ่งแสดงถงพระปริชาสามาร mia ะmะราชคำริที่เป็นสมัยใหม่ ต่อมา ม .ร . ว . เสนิย์ ปราโมช
'

แสดงปาฐกถาส์อง “ King Mongkut as a Legislator ต่อที่ประชุมนักการทด ณ สยามสมาคม


"

1 ดขมีพระองค์เจ้าธานึนิวัตในฐานะนายกสยามสมาคมฯ กล่าวนำปารกถา ต่อมาปาฐกถาชิ้นนถูท


ดพมห์ภายใคชิ้อ คิงมงQฎในฐานะทรงเป็นนกนฅศาสฅร ( 2492) หลงจากนั่น ปาฐกถาดังกล่าวไค
ถูกฅพินท้ไนวารสาร mi มสนาฅนในปื 2493

6
ทราวพาทย์

คาามรู้แบบจักรวรรดิ ะ ทารสร้างตัวตนเทยในยุฅสงครามเย็น
ในฐานะที่สหรัฐฯ เป็นเข้าจักรวรรดิใหม่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐฯ
ไม่เพียงมุ่งขยายอำนาจทางการเมืองในระดับโลกเท่านั้น แต่ยังได้สถาปนาความรู้แบบ
จักรวรรดิขนด้วย สำหรับไทยแล้ว ตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐฯได้เริ่ม
คนหาลักษณะประจำชาติไทยเพื่อใช้ในการทำสงครามจิตวิทยาต่อไทยในฐานะที่ไทย
เป็นฝ่ายอักษะและเตรียมสำหรับการบูรฌะประเทศภายหลังสงคราม ( เก่งกีจ
25:19, 32) ไม่นานหลังจากนั้นเมอสงครามเย็นเริ่มต้นขน สหรัฐฯ ต้องการกำหนดแผน
สงครามจิตวิทยาต่อด้านคอมมิวนิสต์ในไทย จึงทุ่มเทค้นหาลักษณะประจำชาติไทยขึ้น
อีกจนได้ข้อสรุปเที่ยวกับตัวตนของคนไทยว่า คนไทยเป็นคนมืความอ่อนน้อม ไม่เอา
จริงเอาจัง ชอบความเข้าเล่ห์เพทุบาย ไม่สนใจปรัชญาที่หนักหน่วง ไม่ทะเยอทะยาน
มีความเป็นปัจเจกสูงมาก แด่กลับยอมจำนนต่อผู้มีอำนาจ มึฅวามภูมิใจในตนเองสูง
เป็นคนที่รักษาหน้าตามาก และคนไทยพ!อมที่จะแสดงการต่อต้านหันทํทากมีการทวง
บุญคุณหรือพบกับความหยิ่งยโส แม้จะมีคนไทยที่ต่อต้านชาวตะวันตกบ้าง แต่คน
ไทยส่วนใหญ่นิยมชมชอบคนอเมริกัน คนไทยมีสำนึกภูมิใจในตัวตนที่ผูกพันหยั่งลึก
กับพระมหากษัตริย์ ศาสนา และประเทศชาดี ซงความสำนึกภูมิใจในตัวตนนี้ทำให้
พวกเขาหลอมรวมเป็นปีกแผ่นสร้างความเข้มแข็งภายในชาติ ด้วยข้อสรุปเกี่ยวกับ
บุคลิกแห่งชาดีของคนไทยเช่น{ไ ทำไห้!.ทยมีความเหมาะสมมากไนการเป็นจานปฏิบัติ
การจิตวิทยาต่อต้านคอมมิวนิสต์ ดังนั้น สหรัฐฯ จำเป็นต้องพัฒนาและขยายความ
สัมพันธ์กับชนชั้นนำไทยเพื่อทำให้การต่อด้านคอมมิวนิสต์มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น3
ด้วยการวิเคราะห์เช่นนี้ผนวกกับแนวทางการรณรงค์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ของ
รัฐบาลจอมพล ป . แบบชาตินิยม ที่เคยใช้ชาติเป็นแนวคิดหลักในการต่อต้าน
คอมมิวนิสต์แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และความนิยมของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล
จอมพล ป. ไนช่วงท้ายลดน้อยลงมาก สถาบันกษัตริย์ไทยจึงมีความเหมาะสมที่สุดที่

ะ>
The Dwight D. Eisenhower Library, White House Office, Office of the Special
Assistant for National Security Affaire ; Hecord 1952- 1961 NSC Series, Briefing
Notes Subseries Box 16, File: Southeast Asia ( 1953- 1961), บ.ร, Psychological Strategy
based on Thailand, ร September 1953 ; Memorandum for Genera ] Smith -Chairman
of Operations Coordinating Board from Robert Cutler -Specia ] Assistant to the
President, 10 September 1953,

7
ขนศึก ศึกดนา และพญาอินทรี

จะเป็นศูนย์กลางเอกลักษณ์แห่งชาติเพื่อสร้างตัวตนของคนไทยในการต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ สถานการณ์สงครามเย็นเออให้ความต้องการของกลุ่มรอยลลิสต์ที่จะ
สืบทอดคำอธินายเกี่ยวกับการไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของไทยลันเนื่องมาจากพระ
ปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ใทยไนอดีต บรรจบเข้ากับความต้องการของสหรัฐฯ
ที่จะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยเพื่อทำสงครามจิตวิทยาต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ และอำพรางบทบาทครอบงำที่มีต่อไทยในฐานะเช้าจักรวรรดิได้อย่าง
ประจวบเหมาะ
นอกจากน้ เพื่อรักษาจักรวรรดิให้มั่นคง เช้าจักรวรรดิจำเป็นต้องได้มาซงความรู้
ต่อสิ่งที่เป็นเป้าหมาย สหรัฐฯจึงเริ่มสถาปนาความรู้แบบจักรวรรดิขึ๋นด้วยการขัดตั้ง
สถาบันวิจัยความรู้เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉยงไต้ท้งไนและนอกมหาวิทยาลัยใน
สหรัฐฯ ฃงมีผลต่อการสร้าง รักษา คัดสรร และผลิตฯทความรู้ที่สอดคล้องกับผล
ประโยชน์ของสหรัฐฯไนยุคสงครามเข็น''
ไทยได้กลายเป็นวัตถุแห่งความรู้ในยุคสงครามเย็น และด้วยเหตุที่ไทยมิไต้ถูก
ปกครองโดยตรงจากเช้าจักรวรรดิในยุคล่าอาณานิคม การสร้างความเว่าด้วยไทยในยุค
สงครามเย็นจึงดกอยู่ภายใต้นักวิชาการอเมริกัน ซึ่งฏีส่วนสำคัญในการสร้างพิมพ์เขียว
เกี่ยวกับความรู้ว่าด้วยลังคมต่างๆ ที่เผยแพร่ออกไปทั่วโลก (Chomsky et al. 1997 ;
Robin 2001) ในช่วงทศวรรษ 2500-2510 นักวิชาทารอฌริกันได้มีส่วนในการสร้าง
ความรู้ว่าด้วยไทยในหลายสาขาวิชา อาทิ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์

6 Bell (1982) และดูเพิ่มเติมใน เก่งกิจ (2559, 28 ) ควรบันทึกด้วยว่า หน่วยงานที่มีส่วนสำคัญ


ไนการให้การสนับสนุนการสร้างความรู้ไนยุคสงครามเย็นคือหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ เช่น
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม องค์การบริหารวิเทศกิจแท่งสหรัฐอเมริกา หรือยูชอม
(United States Operations Mission ะ USOM) และบริบัททุนเอกชนขนาด!หญ่ของสหรัฐฯ เช่น
บวรบัทคาร้เนกึ้ ( Carnegie Corporation ) บรรบัทแรนด์ ( Rand Corporation ) รวมทั้ง
มหาวิทยาลัยชั้นนำ สถาบันวิชาการ มูลนชิเอเชีย ( Asia Foundation) และมูลนิธืรอกกเฟลเลอร์
( Rockefeller Foundation ) เป็นต้น นอกจากนึ้ มีการขัดตั้งสาขาวิชาอาฌาบริเวสเศึกษา ( Area
Studies) และขัดตั้งสถาบันวิจัยเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเชียงใต้แคะไทยในมหาวิทยาลัยขนด้วย
สำหรับกรณีไทยนั้น ไนช่วงแรกของสงครามเย็นได้มีการเริ่มต้นโครงการผลิตความรู้เกี่ยวกับเอเชีย
ตะวันออกเฉียงไต้และไทยชันที่มหาวิทยาลัยคอร์แนถเป็นแท่งแรกในปื 2490 และมีการจัดตั้งโครงการ
ดังกล่าวไนมหาวิทยาลัยอิกหลายแท่งในเวลาต่อมา

8
กวาวพากย์

สังคมัวิทยาและมาบุบย วิทยา 7 กล่าวได้ว่ารัฐบาทสหรัฐฯและหน่วยงานต่างๆ มีส่วน


,

ส่>าญในการทุ่มเทงบประนาณ นการสร้างความรู้ว่าด้วยไทยไนยุคสงครามเย็นขนเพื่อ
!

.'กับสนุนนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของตน'*

กอธิบายแบบ “ ราชาชาตินิยม” กับการต่อต้านคอมมิวนิสต์


นับแต่ทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา การสร้างความรู้ว่าด้วยไทยของสหรัฐฯไต้
ขยายตัวอย่างมากในหลากหลายสาขาวิชา9 อย่างไรก็ตาม ความรู้เหล่า'นมไต้สร้างขน
มาใหม่ทั้งหมด แด่ฉวย !ช้คำอธิบายที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยด้วย ดังจะเห็นได้ว่า
กักวิชาการอเมรีกันไต้นำคำอธิบายแบบราชาชาต็นิยมของกลุ่มรอยัลลิสต์ที่รัอพื่นขน
,
บากายหลังสงครามโลกครั้งที่สองมาใช้อธิบายความเป็นไทยในยุคสงครามเย็น ตัวอย่าง
เช่น การศึกษาบทบาทของพระชอมเกลาฯ ที่นำไทยปรับตัวรับความเป็นสมัยใหม่จน
สามารถรักษาเอกราช'ของไทยใว!ด้ไนงานประวัตศาสตร์ ,นิพนธ์,ของแอ็บบ็อต ใลว์
1 1

มอพ่แฟิท และเอ. บี . กรีสโวลต์ 1' เป็นต้น งานของพวกเขาได้ยืนยันความสามารถ


1

ของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตว่าเป็นจุดเริ่มด้นของการสร้างความท้นสมัยให้กับไทย
ทยการรับความรู้สมัย ‘ หมีเข้ามาโดยเฉพาะอย่างย็งจากชาวอเมริกัน อันมีผลทำไห้

7
-
ดูรายละเอียดใน แถมสุข ( 2525ข, 57 66 ) ; อานนท์ ( 2538, 307-47 ) ; นครินทร์ ( 2542 )
สำหรับนักวิชาการอเมริกันที่ฏีบทบาทสำคัญในการสร้างความร้เกี่ยวกับไทยในยุคสงครามเยิน เช์น
เชิมส์ อินแกรม (James Ingram ) จอร์จ วิลเสียม สกินณอร์ (George William Skinner) เควิด
รัยอาจ ( David Wyatt) เฮอร์เบิร์ต พื. ฟิลสีปส์ (Herbert p. Phillips) เดวิด เอ. วิลสน (David
A. Wilson ) วิลเสียม เจ. ซิฟ่ฟิน (William J. Siffin ) แลคด์ เอ็ม. โทมัส (Ladd M. Thomas)
คลาท ดี. แนร์ (Clark D. Neher ) และเฟ่รด ดับบล. ริกส์ (Fred พ. Riggs) เป็นต้น
lS
Sears (1993, 4 ) ; งานวิจัยของนักวิชาการที่ทำงาบ่!หกับรัฐบาลสหรัฐฯและบรรษทขนาดใหญ่
ไนชีวงทควรรษ 2500 เชี่น Wilson ( ใ 962a , 1968 ) Mehden and Riggs (1967 ) Wilson,
Mehden, and Trescott (1970) เป็นต้น
9 เก่งกิจ (
2559, 27-29) และคูตัวอย่างการค้นคว้าอย่างดีเยี่ยมของเก่งกิจ (2561) ในประเด็น
mi สร้างองค์ความรูเที่ยวกับชนบทไทยของสหรัฐฯโนฐานะเจ้าจักรวรรดิผ่านงานวิชัยมานุษยวิทยา
ในไทยยุคสงคราฆเยน
1U Mofl'at (1961 , x )
มอฟแฟิทได้ค้างอิงงานเขียนของกสุ่มรอยัลลิสต้จากบทความของ Seni
{ 1950 , 32 -66 ) สํวนกริสโวลดใต้รับทุนอุดหนุนจากมูลนิธิเอเชียซี่งไต้รับการสนับสนุนจากสำนัก
ข่าวกรองกลางสหรัฐฯ ( CJA) ทั้งนี้ งานของกริสโวลดใต้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย สุภัทรดิศ
(2508 ) สำนงาน๚ องมอฟ่แฟิท ดู มอฟแฟิท (2520) .

9
ชุนคึก ศักดินา และพญาอินทรี

ไทยสามารถรักษาเอกราชเอา ใ !เใด้ และมีว่รัยถีงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับ


1
'

สหรัฐฯนับจากอดีตจวบจนยุคสงครามเย็น กล่าวโดยสรุป นักวิชาการอเมริกันในยุค


สงครามเย็นได้สืบทอดคำอธิบายแบบราชาชาตินิยม ซึ่งไต้กลายมาเป็นแม่แบบคำ
อธิบายว่าต้วยการรักบาเอกราชของไทยในงานวิชาการหลากหลายสาชาวิชา เช่น
รัฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ ' 1 กล่าวได้ว่าแทบไม่มีนักวิชาการคนใดตั้งข้อสงสัยกับ
ความรูดงกล่าว จนทำให้ความรู้ว่าด้วยบทบาทของพระมหากษัตริย์ในการรักษา
เอกราชของไทยได้กลายเป็นสัจพจน์ของความรู้ -ตัวตนไทยในยุคสงครามเย็น ซึ่งไม่
เพียงอำพรางสภาวะกี่งอาณานิคมของไทยในยุคอาณานิคมเท่านั้น แต่ยังอำพราง
สภาวะกึ่งอาณานิคมของไทยในยุคสงครามเย็นอีกด้วย 1 -
ย็งไปกว่านั้น นักวิชาการอเมริกันเหล่านึ๋ไม่เพียงยอมรับคำอธิบายแบบราชา
ชาตินิยมเท่านั้น แต่นักรัฐศาสตร์อเมริกันยังได้สร้างทฤษฎีการพัฒนาการเมือง (Polit-
icai Development) และทฤษฎีความทนสมtrmงการเมือง ( Political Modernization)
เพื่อทำให้การเมืองไทยมีความเป็นสมัยใหม่ ด้ต้วยการมุ่งเน้นการสร้างชาดี ( Nation
building) ให้เกิดความเป็นเอกภาพ และสร้างการเมืองที่มีเสถียรภาพ (stability) ที่จะ
ส่งผลต่อดุลยภาพความมั่นคงในภาพรวม และ!เดช์องไม่ให้คอมมิวนิสต์เข้าแทรกซึม

11
ดูต}ั อย่างงานวิจัยทางรัฐศาสตร์ที่อธิบายความสามารถของไทยที่ไม่เกยดกเป็นอาณานกมเจัา
-
ชักรวรรดิในอดีตจวบจนไทย สหรัฐฯโต้ร่วมมือกันในการรักษาเอกราชของไทยปีากภัยคอมมานิสต์
ในยุคสงครามเบน เช่น Chatrt (1976 ) ; Wilson (1970) ; Wiwat ( 1982 ) ; Vanida ( 1982 ) ;
Apichat (1985) ; Adulyasak (1986 ) ; Randolph ( 1986 ) ยททนงานของ Surachart
(1988) .
และลูตัวอย่างการอ้างรงสัจพจน์ลังกล่าวไปมาไนสาขารัฐศาสตร์และประาต็ศาสตร์ เช่น Hall
(1968) ; Nuecterlein (1967 ) ; Wilson (1962 b) ; Wyatt (1984 ) ; Riggs (1967) แม้งานของ
ริกส์ขิะเน้นศึกษาบทบาทของกองทัพในการเมืองไทย แส่เขาไต้ให้ภาพเปรียบเท้ยบถึงวิเทโศบายของ
ขนชันน้าระหว่างพระจอมเกล้าฯ กับพระเจ้ามีนดง โดยชี้ว่าเมอเจ้าจักรวรรคกดดัน กษตริย์สยามมี
พระ!!รีชาสามารถในการรักษาเอกราชของไทย จากนั้นชนชั้นนำไทยก็เรมต้นสร้างความเป็นสมัยไหน
ไทเกิดขน ดใน “Chapter 1 The Modernization of Siam and Burma, ” 15-64. ทั้งนั้รกล้
ใชังานของฮอลล์แสะนอฟ่แฟิทเป็นแหล่งข้อมูล โดยออลส์และมอฟ่แสท, 1ใต้อ้างรงคำอธิบายเรื่องพระ
1

ปรีชาสามารถของชนชั้นน้าไทยนาจากงานของกลุ่มรอยลลิสต์ ดูเชิงอรรถและบรรณๅบุกรมของส่ารา
เหล่านั้
แอนเดอร์สัน (2558ข, 11) แสะดูตัวอย่างการอธิบายเรองความสืบเนื่องของพระปรีชาสามารถ
ของชนชั้นนำในวิเทโศบายจากยุคล่าอาณานิคมถึงยุคสงครามเย็นใน ธานึนทร์ ( 2519, 49) .

10
กราวพาทย์

ไทยไต้ ทั้งนี้ นักรัฐศาสตร์เหล่านี้ได้เข้ามาศึกษาการเมืองไทยภายหลังการปฏิวัติ 2475


และได้สร้างความรู้ว่าความไร้เสถียรภาพทางการเมืองของไทยนั้นเกิดขนจากระแบ
ราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใเท II เทของกองทัพที่เช้าแทรกแซงการเมืองไทยมานับตั้งแต่
การปฏิวัติ 2475 จนเป็นที่มาของวงจรการรัฐประหาร (coup cycle) ที่ไม่สิ้นสุด ก่อให้
เกิดระบอบอำมาตยาธิปไตย ( bureaucratic polity) ในการเมืองไทย (Wilson 1962 b ;
Riggs 1967) กล่าวอีกอย่างคือ ความรู้ว่าด้วยการเมืองไทยในสมัยสงครามเย็นได้
อำพรางความสำคัญย็งของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยให้หายไปจากความรู้ว่าด้วย
การเมืองไทย (แอนเดอร์สัน 2558ข, 8 14) 13 -
การก่อตัว'ฃองประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบ “ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย”
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าแม้ไทยจะมึการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24
มีถุนายน 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้วก็ตาม
แต่การท้าทายประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบราชาชาติน้ยมกลับมีน้อยมาก (ธงชัย 2559ค,
13) ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมจึงถูกสืบทอดต่อมาจนถึงยุคสงครามเย็นได้
ประกอบกับประวัตศาสตร์นิพนธ์ที่เขียนโดยนักวิชาการไทยในยุคสงครามเย็นนั้นตก
อยู่ภายไต้อิทธิพลของทฤษฎีการพัฒนาการเมืองและทฤษฏีความทันสมัยทางการเมือง
ของนักรัฐศาสตร์อเมริกัน จึงฉายภาพปัญหาการเมืองไทยไปยังการปฏิวัติ 2475 ของ
คณะราษฎรว่าเป็นปฐมบทของการแทรกแซงการเมืองใดยกองทัพ (Morell and Chai -
-
anan 1981 ; Likhit 1985 ; Suchit 1987, 41 74) นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมของ
สังคมไทยในทศวรรษ 2510 ภายใต้สงครามเย็นและระบอบเผด็จการทหารของไทย
ทำให้นักศึกษาและบญญาชนเกิดความรู้สึกต่อด้านจักรวรรตินิยมสหรัฐฯ และไม่พอใจ
บรรยากาศทางการเมืองของรัฐบาลเผด็จการทหาร จนนำไปสู่การ่รอส้นคำอธิบายแบบ
ราชาชาตินิยมว่าด้วยปริชาญาณของอดีตพระมหากษัตริย์ไทยที่รักษาเอกราชและสร้าง
ความท้นสมัย'ไห Iทย สถาบันกษัตริย์กลายนาเป็นเครองยดเหนี่ยวของนิสิตนักศึกษา
และประชาชนในการต่อสู1่ กับระบอบเผด็จการทหาร ประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบราชา
ชาตินิยมว่าด้วยการต่อต้านเจ้าจักรวรรดิไนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

13 นอกจากนี้ เควิน สิววิสัน ไต้เฅยดั้ง,นอสังเกตถึงปัญหาของการไช้กรอบแนวคิดเรื่องอำม เต -


'

ยาธิปไตขในการวิเครา!:Hการเมือง !ทยที่ไม่นำบทบใทของสถาบันพระมหากษัตริย์เจ้าฆาพิจารฌา
1

ด้วย ดู Hewison ( ไ 997, 58-74).


*J นศึก ศักดินา และพญาสินทรื

เช้าอยู่หัว ผนวกเข้ากับความเข้าใจผิดในเรื่องบทบาทกษัตริย์นักประชาธิปไตยของ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเช้าอยู่หัวภายหลังการปฏิวัติ 2475 ไค้ก่อตัวเป็น
ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมประชาธิปไตยในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
1 ,1
นั่นเอง
คำอธิบายใหม่เกิดขึ้นพร้อมกับการปะทะกับความเป็นอื่นที่อยู่ภายในฐย่าง
ชัดเจน นันดือคอมมิวนิสต์ฝ่ายช้ายที่กำลังเติบโตและพาทายความเชื่อตลอดจนตัวตน
ชองไทย ท้ายที่สุดส่งผลไห้สถาบันกษัตริย!์ ด้รับการยกย่องสูงส่งยิ่งกว่าครั้งใดใน
ประวัติศาสตร์นับแต่สินรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเช้าอยู่หัว และก่อให้
เกิดลัทธิหลงใหลเช้า (Hyper-royalism) ที่ขยายตัวอย่างมากตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2510
ซึ่งเมื่อผนวกกับความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ ในที่สุดก็นำใปสู่โศกนาฏกรรม 6 ตุลา
2519 (ธงชัย 2559ก, [21])

เมื่อแยงกี้โกโฮฆ ะ ร่องรอยของบาดแผลในสังคมไทย
ความเป็นเอกราชของรัฐอธิปไตยไทยในช่วงสงครามเย็นถูกตั้งคำถามจากการ
ที่สหรัฐฯ สามารถตั้งฐานทัพขึ้นในไทย ทำใหัใทยเป็นเสมือนเรือบรรทุกเครื่องบินขนาด
ยักษั!นช่วงรัฐบาลจอมพลถนอม ( แอนเคอร์สัน 2558ก, 67 ) ทั้งนี้ ในช่วงกลาง
ทศวรรษ 2510 มีทหารอเมริกันในไทยมากถึง 48,000 คน ถึงแมัสหรัฐฯ จะเริ่มถอน
ทหารออกจากไทยตั้งแต่ปื 2514 แล้วก็ตาม แต่ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
ขบวนการนักศึกษาหัวก้าวหน้าก็เรียกร้องให้สหรัฐฯ เร่งถอนทหารออกไป โดยพวกเขา
เห็นว่าการมีกองทัพต่างด้าวในดินแดนไทยถือเป็นการสูญเสียอำนาจอธิปไตย ในขอเะ
ที่ฝ่ายอนุรักษนิยม เช่น กลุ่มกระทีงแดงและกลุ่มอึน ๆ กลับมองว่าการดำรงอยู่ของ
ฐานทัพสหรัฐฯ หรือกองกำลังต่างด้าว มิได้มีผลต่อการสูญเสียเอกราชของไทยแด่
อย่างใด (พวงทอง 2549, 116-47)
อย่างไรก็ตาม แม้สหรัฐฯ จะถอนกำลังทหารออกจากไทยไป แต่ม'ิ"เด้หมายความ
ว่าอิทธิพลของสหรัฐฯ ไนไทยจะสิ้นสุดลงทันที และเมื่อประเทศเพื่อนบ้านของไทยเกิด
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน ความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ก็แพร่ขยาย
ไปทั่วสังคมไทย พร้อมกับความหวั่นเกรงว่าไทยอาจจะเป็นโคมิ!.นตัวถัดไป ความ
แนบแน่นของปฎิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เปิดโอกาสให้สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาท

14
คูเพิ่มเตึมเกี่ยวกับความสลับซับซ้อนของเรื่องดังกล่าวไน ประจัทย์ ( 2548 ).

12
กราวพากย์

ในการเมืองไทยระหว่างตุลาคม 2516 - ตุลาคม 2519 (Chomsky and Herman


1979, 223) หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯได้ให้การสนับสนุนการขัดตั้งกลุ่มขวาจัดอนุรักษ-
นิยมขึ้นในไทย โดยมีพลเอกวัลลภ โรจนวิสุทขึ้ ผู้เคยได้รับการอบรมสงครามจิตวิทยา
จากสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มนวพล และมีพลฅรืสุตสาย หัสดิน เป็นหัวหน้า
กลุ่มกระทิงแดง สำหรับสมาชิกของกลุ่มขวาจัดทั้งสองมาจากอดีตทหารผ่านศึกใน
ลาวและเวียดนาม ทนเหล่านี้มีหน้าที่สร้างความรุนแรง ลอบสังหาร ข่มขู่คุกคามด้วย
กำลัง ขว้างระฌด และทำทุกวิถีทางเพี่อทำลายการเดินขบวนประท้วงของฝ่ายหัว
ก้าวหน้าและการรายงานข่าวสารของหนังสือพิมพ์ฝ่ายตรงข้าม โดยมีเป้าหมายเพี่อ
ขัดขวางความตื่นตัวทางการเมืองในไทยที่อาจนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึง
(ibid ., 225- 27)
ในที่สุดเมื่อความหวาดวิตกต่อภัยคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็นของไทยพุ่ง
ขึ้นถึงจุดสูงสุดในช่วงปลายทศวรรษ 2510 เบเนดีกท์ แอนเดอรสัน ได้สังเกตเห็น
อาการลงแดงทางสังคมอันเป็นอาการจิตวิทยารวมหมู่ของคนไทยที่หวาดกลัวการพัง
ทลายของตัวตนชึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สถาบันกษัตวิย์ จนระฌดอารมณ์ออกมาเป็นความ
รุนแรงที่น่าสยดสยองไนเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

เมี่อบ้านเมือง,ของเราสงแดง ะ ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยยุคหลังสงครามเย็น
เบเนดิกท์ นอนเดอร์สัน เสนอว่าอาการลงแดงทางสังคมจนก่อให้เกีด
โศกนาฎกรรมในเกตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เกิดจากความวิตกของคนไทยว่าจักรวาล
วิทยาของตนกำลังจะถ่มสลายลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างรวดเร็ว
ในประเทศเพื่อนบ้าน การถอนทหารอเมริกัน และอุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษตริย์ '

ที่เคยครอบงำสังคมไทยมาอย่างช้านาน' 'ด้ถูกท้าทายจากคำถามใหม่ๆของป๋ญญาชน
( แอนเดอร์สัน 2558ก, 57- 107) สองปีภัดมา แอนเดอร์สันได้วิจารณ์ความรู้ว่าด้วย
ไทยศึกษาของนักวิช 1 ทารอเมริกันว่าปราศจากความคิดเชิงวิพากษ์ และมีส่วนต้อง
รับผิดชอบในการสร้างมายาคติให้กับสังคมไทย อันก่อให้เกิดความลุ่มหลงในตัวตนจน
นำไปสู่ความรุนแรงในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 แอนเดอร์สันขึ้ว่าความรู้เกี่ยวกับ ' ทย
ของนักวิชาการอเมริกันมีลักษณะอนุรักษนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักรัฐศาสตร์อเมริกัน
ที่เสนอว่าไทยมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากประเทศอื่นๆ และเสนอความเข้าใจผิดๆ
เกี่ยวกับบทบาทบ r ชาตินิยมของพระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระ
1 ^ 1'
ร/ 0

13
ชุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

เนื่องจากนิเกรัฐศาสตร์อเมริกันมีความลับสนระหว่างแนวคิดเรื่องพระมหากษัตริย์ (King)
กับชาติ ( Nation) ว่าทั้งสองสิ่งคือสิ่งเดียวกัน (แอนเดอร์ลัแ 2558ข, 10-13, 46-47)
อย่างไรก็ตาม ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์
ประวัติศาสตร์ไทยทั้งในระดับแนวคิดและวิธีการศึกษา เนื่องจากระบอบเผด็จการทหาร
ที่เคยเป็นศูนย์กลางของอำนาจ'ใดล่มสลายลง ปงผลสะเทือนต่อวงวิชาการไทยอย่าง
1

กว้างขวาง นำไปปูกระแสความพยายามโต้แย้งการเขียนประวัติศาสตร์แบบจารีตประเพณี
ที่เน้นเรื่องพระราชพงศาวดารและราชอาณาจักรที่เคยถูกใช้เปืนเครื่องมือหนึ่งในการ
รักษาอำนาจและความชอบธรรมของรัฐ มาปูการเขียนประวัติศาสตร์แบบไหม่ที่ห้าทาย
และปฏิเสธความรู้เกยวกับอดีตแบบเดิม (Thongchai 1995 b, 99-114 ; ฉบับแปล
-
ภาษาไทย ดู ธงชัย 2562, 17 49) นอกจากนี้ เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลา 2519
ยังสั่นคลอนความคิดเรื่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นแก่นของคัวตนไทย
ตามขนบ ( แอนเดอร์สัน 2558ข, 10) ส่งผลสะเทือนให้เกิดกระแสภูมิปัญญาใหม่
(revisionism) ที่ดีความและตั้งคำถามกับประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบเดิม
นักวิชาการบางส่วนได้หันกลับมาศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงการปฏิวัติ 2475 ใหม่
และตีความเหตุการณ์ดังกล่าวในเชิงบวกมากขึ้น นับแต่ช่วงปลายทศวรรษ 2520
เป็นต้นมา มีงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ชิ้นสำคัญๆที่ศึกษาการปฏิวัติ 2475 เช่น สำนัก
วิจัยและพัฒนา และคณะศึลปศาสตร์ วิทยาลัยเกริก ( 2528 ) ชาญวิทย์ เกษตรศึริ
(2535) และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (2535) ตามมาด้วยการขยายการค้นคว้าเกี่ยวกับ
การปฎิวัดิ 2475 ออกไปในมิติต่าง ๆ เช่น สุพจน์ แจ้งเร็ว ( 2545, 63-80) ชาตรี
ประกิตนนทการ (2548, 2552) พอพันธ์ อุยยานนท์ ( 2549) ษัณฑต จันทร์ไรจนกิจ
(2549) กิตติคักดิ้ อุไรวงศึ ( 2552) ใเรีดี หงษัสต้น (2556) ชาติชาย มุกสง ( 2557)
ศราวุฒิ วิสาพรม ( 2559) อบุชา อชิรเสนา ( 2559) ปราการ กลิ่นพึง ( 2560 )
ศรัญญ เทพสงเคราะห์ (2556ข, 2561) ธนาวิ โชติประดิษฐ (Thanavi 2018) และ
นริศ จรัสจรรยาวงศ์ (2561) เป็นด้น ประวัติศาสตร์นิพนธ์แนวใหม่เสนอว่า ปัญหา
ของการเมืองไทยหลังการปฏิวัติ 2475 ไม่ใช่เรื่องกองทัพแทรกแซงการเมืองแต่เพียง
อย่างเดียวดังเช่นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตามแนวคิดการพัฒนาการเมืองและความ
ท้นสมัยทางการเมืองของนักวิชาการอเมริกันและไทยนำเสนอ ในทางตรงกันข้าม
งานศึกษาแนวใหม่นี้ทัาทายประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบ “ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย ”
ที่มีอีทธิพลต่อตัวตนและความเชื่อของคนไทยตลอดมา ดังเช่นงานของ สุธาชัย
ยิ้มประเสริฐ ( 2534) สมศักคิ้ เจียมธีรสกุล ( 2544ข) ธำรงศักดิ้ เพชรเลิศอนันต์

14
กราวพากย์

< 2543) ธงชัย วินิจจะทูล (Tbongchai 2008, 11-37 ; ธงชัย 2548, 2556ข) ณ้ฐพล
ใจจริง (2556ก, 2559) ศรัญณู เทพสงเคราะห์ (2555, 2556ก) if ยบุตร แสงกนกกุล
( 2559) Hewison (1997, 2015) Jory ( 2001 , 2011 ) Hanrily ( 2006 ) และ
Ferrara ( 2012) ก็1นต้น นอกจากนี้ ธงชัย วินิจจะกูล ได้ย้อนกลับไปศึกษากำเนิด
ตัวตนไทยที่ปรากฏขั้นเมื่อไทยเผชิญหน้ากับเจ้าจักรวรรดิสมัยล่าอาณานิคมด้วย เขาได้
ผยให้เห็นถึงมายาคติเกี่ยวกับตัวตนไทยที่เชื่อถือกันมานานในสองประเด็นสำคัญคือ
ประการแรก มายาคติในเรื่องแผนที่กับการเสียดินแดน ประการที่สอง ประวัติศาสตร์
นิพนธ์ว่าด้วยการรักษาเอกราชโดยชนพนำสยาม หรือราชาชาตินิยม ในประการแรกนี้น
ธงชัยขี๋ให้เห็นว่า มายาคติเรื่องภูมิกายาหรือตัวตนไทยที่ยึดโยงกับแผนที่ประเทศไทย
ชึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเทล้า"! และเหล่าชนขั้นนำของรัฐสมบูรณาญาสีทธิราชย์
ไต้สร้างขั้นไนช่วงการเผชิญหน้ากับเจ้าจักรวรรดิในยุคล่าอาณานิคมาทเ หาใช่เป็นการ
ปกป้องประเทศด้ายความรักชาติและความกล้าหาญ หรือเป็นการกระทำที่มีความ
สืบเนื่องยาวนานมาแด่โบราณแด่อย่างใด ทว่าเป็นไปเพื่อส่งเสริมอำนาจของพระองค์
เองให้มิความมั่นคง กล่าวอีกอย่างคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า"เไม่ได้ดำเนิน
วิเทโศบายในฐานะนักชาตินิยมตามความหมายของคำว่า “ชาติ ” ที่หมายถึงผลรวม
ของคนทั้งหมดแบบสมัยใหม่ดามที่เข้าใจในปัจจุบันแต่อย่างใด เนื่องจากในสมัย
ดังกล่าวไทยยังคงปกครองไนระบอบสมบูรณาญาสิทธราชย์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงปฏึสัมพันธ์กับเจ้าจักรวรรดินั้น ไทยจะไม่ถูก
ปกครองโดยตรงจากเจ้าจักรวรรดิ แต่ไทยถูกครอบงำในลักษณะกึ่งอาณานิคม อีกทั้ง
ชนขั้นนำไทยได้เลียนแบบวิธิการปกครองอาณานิคมจากเจ้าจักรวรรดิมาใช้ในการ
ปกครองดินแดนต่างๆในไทยภายหลังการผนวกดินแดนประเทศราชด้วยการเจรจา
และการใช้กำลังทางการทหาร จนทำให้ใทยมีฐานะประหนื่งเจ้าอาณานิคมภายไน
(Thongchai 1994 ดูฉบับแปลไทยไน ธงชัย 2556ก ; Herzfeld 2002, 899 926 ;
Thongchai 2006 ดูฉบับแปลไทยใน ธงชัย 2559ฉ)
-
นอกจากนี้ ในห้วงเวลาใกล้เคียงกับกำเนิดแผนที่ประเทศไทยนั้นเอง ธงชัยชไห้
เห็นว่า ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมถือกำเนิดขั้นจากคำอธิบายของชนขั้นนำไทย
ที่พยายามแย่งชิงดินแดนกับเจ้าจักรวรรดิ แด่ไม่สามารถด้านทานอำนาจของเจ้า
จักรวรรดิได้ ชนขั้นนำไทยทั้งเสียหน้าและผิดหวังจึงทำความเข้าไจกับสภาวะดังกล่าว
ด้วยการอธิบายว่า ไทยถูกคุกคามจากเจ้าจักรวรรดิจนต้องจำใจลงนามในสนธิสัญญา
เบาว็รงป็ 2398 ที่ไม่เป็นธรรม และติดคามด้วยการถูกคุกคามช่วงชิงดินแดนอีกด้วย

15
ชุนศึก ศักดนา และพญาอินทรี

ด้วยการพรรณนาให้ตัวเองเป็นเหยื่อเช่นนี้ ปฎสัมพันธ์กับเจ้าจักรวรรดีไนสมัย
อาณานิคมจึงกลายเป็นห้วงเวลาแห่งความขมขื่นของ "ชาดี ” ที่ถูกเจ้าจักรวรรดิ
เอาเปรียบแต่เพียงฝ่ายเดียว อย่าง'ไรก็ดี ปรีชาสามารถของชนชั้นนำไทยก็ทำไห้ไทย
ไม่ต้องตกเป็นอาณานิคมของเจ้าจักรวรรดิในท้ายที่สุด (ธงชัย 2559ฉ, 21- 53)
ยิ่งไปกว่านั้น ภายใต้สภาวะการจัดช่วงชั้นทางอำนาจของจักรวรรดินิยมใน
กลางพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งไทยมีสถานะตกอยู่ภายใต้อาณัติของเจ้าจักรวรรดิ ก่อให้
เกิดความเสึกด้อยเกียรติเชิงเปรียบเทียบขน ชนชั้นนำจึงแสวงหาความด้อยกว่า หรือ
ความเป็นอนที่อยู่ภายในดินแดนของตน (the others within) เพื่อเติมเต็มความ
ขาดพร่องของตนด้วยการแสดงตนเป็นผู้มีความ “กิวิไลซ์ ” กว่าคนพนเมือง ( ชิงชัย
- -
2559ข, 5 35 ; 2559จ, 37 90 ) ซีกท้งพวกเขายังพยายามแสวงหาการยอมรับจาก
ชาติตะวันตกด้วยการไปแสดงตนถึงความมี “กิวิไลซ์ " ในการเยือนประเทศต่าง ๆ ใน
ยุโรปอันเป็นศูนย์กลางของอำนาจโลกขณะนั้นเพื่อสร้างการยอมรับซีกด้วย (Peleggi
2002) ไชยันต์ รัชชกูล เสนอว่าเมี่อไทยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์กับระบบทุนนิยมโลกอัน
มีอังกฤษเป็นเจ้าจักรวรรดิ ( Pax liritanica ) ส่งผลให้รัฐสมบูรฌาญาสิทธิราชยัใทยถือ
กำเนิดขึ้น และทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ สามารถเถลิงอำนาจเหนือกลุ่ม
การเมืองอึ่นได้สำเร็จ (Chaiyan 1994 ดูฉบับแปลไทยใน ไชยันต์ 2560) กุลลดา
เกษบุญชู นี้ด เสนอเพิ่มเตมอีกว่า ชนชั้นนำไทยหาได้รู้สึกขมขื่นจากการถูกบังคับให้
เข้าไปมืปฏิส้นพันธ์กับเจ้าจักรวรรดิแด่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม พระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าฯและกลุ่มขุนนางลงนามในสนธิสัญญาเบาวึรงของเจ้าจักรวรรดิด้วยความเต็มใจ
เนื่องจากพวกเขาได้ประโยชน์จากสนธิสัญญานั้นด้วย ( Kullada 2004 ดูฉบับแปล
ไทยใน กุลลดา 2562) ถึงแม้ชนชั้นนำไทยจะสมรู้ร่วมคิดกับลัทธิล่าอาณานิคมของ
เจ้าจักรวรรดิ แต่ประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบราชาชาตินิยมกสับั พ้ทพการต่อต้านการ
ล่าอาณานิคมแทน ทั้ง ๆ ที่ไทยได้ดินแดนเพิ่มจากการยึดครองประเทศราชด้วยวิธีการ
ล่าอาณานิคมเช่นกัน ซีกทั้งประวัติศาสตร์ชนิดดังกล่าวยังให้ภาพประเทศราชที่ด้อย
กว่าอันจำเป็นต้องถูกปฏิรูปการปกครองซีกด้วย กระนั้นก็ดี ลักษณาการทั้งมวลของ
การตกอยู่ภายใต้อำนาจของเจ้าจักรวรรดิในทางอ้อม และการกระทำต่อประเทศราชกับ
ชนพนเมืองของตน มีอาจเผยตัวขึ้นมาในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยได้ (ธงชัย 2559ฉ,
53) ในทางกลับกัน ประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบราชาชาตินิยมยังคงเชิดชูชนชั้นนำ
ราวกับว่าพวกเขาเป็นผู้นำการต่อต้านเจ้าจักรวรรดิ จนถึงกับกล่าวกันว่าเอกราชของ
ไทยจะไม่สามารถดำรงอยู่ไต้หากปราศจากความเป็นผู้นำและความสามารถทางการ
ทูตโดยเฉพาะอย่างยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ( เรี่องเดียวกัน, 30)

16
กราวพากย์

กล่าวโดยสรุป การศึกษาประวัต็ศาสตร์ไทยที่เกิดขนช่วงหลังตามแนวการ
วิ ;คราะห์ ก ง
่ ี อาฌานิ ค มไต้ น ำเรากลั บ ไปตรวจสอบห้ ว งยามที ไ
่ ทยเข้ า ไปมี ป ฏิ ส ม
้ พั น ธกบ

สาจกรวรรติ จนก่อให้เกิดคำอธิบายใหม่ที่เผยให้เห็นถึงลักษณะของสังคมไทย ที่แม้น


1# 4/

มิใด้ตกเป็นอาณานิคมโดยตรงของเจ้าจักรวรรดิ แต่ก็มีสถานะเป็นรองเจาจักรวรรดิ
1

จ้อค้นพบใหม่นี้ได้ห้าทายประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบราชาชาตินิยมที่มีส่วนสำคัญในการ
ก่อสำนึกตัวตนของคนไทยด้วย (Jackson 2011, 35, 55)

มรดกตัวตนไทยจากยุคสงครามเย็น
แม้สหรัฐสได้ถอนกำลังทหารออกไปจากไทยและสงครามเย็นได้กลายเป็น
บ่ระวัติศาสตร์ไปแล้วก็ตาม แต่ความยาวนานของปฏิสัมพันธ์อันไม่เท่าเทียมระหว่าง
โทยคับสหรัฐฯ นั้น ได้ทิ้งมรดกดกค้างจากยุคสงครามเย็นไว้ในสังคมไทยปัจจุบันด้วย
) พวงทอง 2561, 4) สำนึกที่เกิดขนภายหลังสงครามเย็นได้เปีดพื้นที่ให้เกิดการตั้ง

คำถามและการดีความใหม่ต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยคับเจ้าจักรวรรดิในยุคอาณานิคม
1 , ละยุคสงครามเย็น ดังเห็นได้จากการมีนักวิชาการไทยและต่างประเทศเริ่มบุกเบิกการ
ตั้งคำถามใหม่ ๆ และเผยให้เห็นถึงมรดกของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์จากยุคอาณานิคม
( ธงชย 2556H , 2559ก , 2559ค ; Horzfold 2002 ; Harrison and Jackson 2011

เป็นต้น) นอกจากนั้ งานวิชาการที่เข้าไปศึกษาสภาวการณ์ของไทยภายใต้ยุคสงคราม


เย็นยังมีส่วนสำคัญในการตั้งคำถามต่อมรดกไนด้านต่างๆของสงครามเย็นที่ตกค้าง
ไนสังคมไทยด้วย เช่น ความเป็นมาของชนชาติ เอกลักษณ์ความเป็นไทย กรอบ
วิเคราะห์ทางการเมือง บทบาทของสถาบันการเมือง ความมีเสถียรภาพทางการเมือง
การดำรงอยู่ของระบอบเผด็จการทหาร ศัตรูที่อยู่ภายในสังคม บทบาทของรัฐและ
าลไกในการทำลายล้างศัตรู ความทรงจำบาดแผล หรือแม้กระทั่งประวัติศาสตร์นิพนธ์
ไทยสมัยใหม่ที่อำพรางสภาวะกี่งอาณานิคมของไทย
ภายใต้ยุคสงครามเย็น ความรู้ว่าด้วยไทยได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรักษาอำนาจของ
เจ้าจักรวรรดิชินมีผลต่อการก่อร่างสร้างตัวฅนอัตลักษณ์ของคนไทยอย่างกว้างขวาง
เมาริซิโอ เปเลจจี (Maurizio Peleggi) ชัให้เห็นว่า นักวิชาการอเมรภันที่เข้ามาขุดค้น
เหล่งโบราณคดีบ้านเชียงในยุคสงครามเย็นได้สร้างความรูเกี่ยวคับตัวตนของคนไทย
ที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ยาวนานถึง 5,000 ปี เคยมิได้อพยพมาจากที่ใด อีกทั้งมี
วัฒนธรรมที่เก่าแก่ตั้งเดิม มีลักษณะเฉพาะที่ปลอดจากอีทธิพลครอบงำจากจีนและ
อินเดีย ความรู้ว่าด้วยตัวตนเช่นนี้ย่อมส่งผลสร้างความภูมิใจในความเป็นชาติเก่าแก่
ที่ต้องไม่ล่มสลายจากภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ (Peleggi 2016) สหรัฐฯไม่เพียงมี

17
ขุนศึก ศักดินา และพญาอึนทรี

ส่วนในการสร้างตัวตนอ้นเก่าแก่ให้กับคนไทบเท่านั้น เก่งกิจ: กิติเรียงลาภ ยังเสนอ


อีทว่า สหรัฐฯ ไต้สถาปนาความรู้เกี่ยวกับชนบทไทยผ่านการวิจัยทางมานุษยวิทยา
และความช่วยเหลือในการสำรวจจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ทางการทหารเพื่อต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ การสถาปนาความรู้ที่สหรัฐฯ ได้สร้างขึ้นนี้มึส่วนสำคัญในการก่อตัวของ
.
สำนึกตัวตนของรัฐไทยในยุคสงครามเย็นด้วย (เก่งกิจ 2559 2561) ในทำนอง
เดียวกัน แมทธว ฟิลลิปส์ (Matthew Phillips) เผยไห้เหีนว่า เอกลักษณ์เฉพาะของ
1ทยที่ไม่เหมือนใคร ( uniqueness) ซื่งเกี่ยวโยงกับความสามารถในการรักษาเอกราช
และความรุ่มรวยของตัวตนอันเก่าแก่ยาวนานที่แพร่หลายที่วไปในปัจจุบันนั้น เกิดขึ้น
จากการสร้างความรู้ -ตัวตนไทยของสหรัฐฯในยุคสงครามเย็น ( Phillips 2017) และ
ณ์ฐพล ใจจรัง เสนอว่า แม้สถาบันกษัตริย์จะเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ทางการเมือง
ที่สำคัญในสังคมไทย แด่ความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ถูกทำให้โดดเด่นจนกลายเป็น
สัญลักษณ์สำคัญของชไดึไทยโตยสหรัฐฯในช่วงสงครามเย็น เพื่อเป็นศูนย์กลางของ
ความเชี่อทางสังคมสำหรับการทำสงครามจตวิทยาต่อต้านคอมมิวนิสต์ ( ณัฐพล
2556ข)
นอกจากนี้ ประจักษ์ ก้องกีรต็ ได้แกะรอยคติราชาชาตินิยมประชาธ์ปไตยที่ยัง
ตำรงอยู่ในสังคมไทยจนถึงทุกวันนี้ และพบว่าเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขบริบทยุคสงคราม
เย็นท่ามกลางกระแสการต่อต้านสหรัฐฯที่เข้ามาแทรกแชงกิจการในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ และความเข้าไจผิดของเหล่าบ้เญญาชนและนักศึกษาไทยต่อบทบาทของ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ภายหลังการปฏิวัติ 2475 ผนวกกับกระแสการต่อต้าน
รัฐบาลเผด็จการทหารในช่วงป็ 2516 นั้นเอง ( ประจักษ์ 2548) สหรัฐฯไม่เพียงมื
บทบาทไนการสร้างความรู้ว่าด้วยไทยจนก่อให้เกิดสำนึกตัวตนและเอกลักษณ์เฉพาะให้
กับคนไทยและรัฐไทยเท่านั้น แต่สหรัฐฯ ยังมีบทบาทต่อเสถียรภาพการดำรงอยู่และการ

.
ล่มสลายของรัฐบาลทหารด้วย ดังเช่นงานศึกษาของสุรชาติ บำรุงสุข (Surachart
1988) แดเนืยล ไฟร่นเมน ( Fineman 1997 ) และกุลลดา เกษบุญชู-นี้ด ( 2550
2552) อีกทั้งณัฐพล ใจจริง และมิดเ,ชล ตัน ( Mitchell Tan) ยังได้ชไห้เห็นว่า ความ
พยายามปรับเปลี่ยนนใยบายต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอนพล ป. พิบูลสงคราม
ให้ถอยห่างออกจากสหรัฐฯ และเป้ดไมตรีกับสาธารณรัฐประชาชนจนนั้น นำไปสู่การ
ล่มสลายของรัฐบาลในทายที่สุด (ณัฐพล 2551 ; Tan 2018)
แคทเธอริน โบวิ ( Katherine A. Bowie ) เผยให้เห็นถึงความอัปลักษณ์ของ
รัฐไทยในการปราบปรามคนไทยที่ศึดต่างด้วยการจัดตั้งลูกเสือชาวบัๅนเพื่อเป็น

18
กราวพากย์

เครื่องมือในการปราบปรามศัตรูคู่ตรงข้าม (Bowie 1997 ) ชิเน ฮยอน (Sinae Hyun)


ชี้ให้เห็นว่า ตำรวจตระเวนชายแดนที่ก่ :เนหน่วยงานหนึ่งในการปราบปรามสัตรูที่อยู่
ภายไนตลอดช่วงสงครามเย็น เป็นหน่วยงานที่ถูกสร้างขึ้นโดยสำนักข่าวกรองกลาง
สหรัฐฯ (CIA) โดยได้รับความร่วมมือจากชนชั้นนำไทย (Hyun 2014 ) ยูจน ฟอร์ด
( Bugene Ford ) เผยให้เห็นว่า บทบาท'ขององคกรสงปในการต่อต้านคอมมืวนิสต์ชน
1

นำไปสู่กำขวัญที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนึสตัเม่บาป ” นั้น เกิดขึ้นจากการที่สหรัฐฯให้การ


สนับสนุนผ่านสำนักข่าวกรองกลางและมูลนิธิเอเชย เพื่อให้องค์กรสงฟ้เป็นกลไกหนึ่ง
ในการปกป้องอุดมการณ์หลักของไทยในช่วงสงครามเย็น (Ford 2017) ใจ อึ๊งภากรณ์
และสุธา'ชัย ยมประเสริฐ ชัให้เห็นว่า ความโหดร้ายป่าเถื่อนในการสังหารนักศึกษาและ
ประชาชนในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นอาชญากรรมโดยรัฐ (ใจและคณะ 2544 )
และไทเรล ฮาเบอร์คอร้น (Tyrell Haberkorn) ชี้ให้เห็นถึงความตื่นตัวทางการเมือง
ชองชาวนาชาวไร่ผู้มาจากเนี้องล่างของสังคมไทย ซี่งรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสทธิและ
ความเป็นธรรม 'ร่นช่วง 14 ตุลา 2516 ถึง 6 ตุลา 2519 แต่เสียงของผู้ถูกกดขี่เหล่านี้
กลับถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมจากกลไกรัฐและถูกทำให้เลือนหายไปจากสังคมไทย
(ฮาเบอร์คอร้น 2560)
การศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงหลังสงครามเย็นยังได้เผยให้เห็น
ถึงการทำลายล้างศัตรูที่อยู่ภายใน ( the enemy within) จากมรดกความยึดมั่นใน
ตัวตนของไทยที่ถูกสร้างขึ้นในยุคสงครามเย็น ดังเช่นงานศึกษาของธงชัย วินิจจะกูล
ได้เผยให้เห็นว่า การสังหารหมู่ประชาชนในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ไม่เพียงก่อให้เกิด
ความทรงจำบาดแผลไนสังคมไทยเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป เหตุการณ์ครั้งนั้นยัง
สร้างความกระอักกระอ่วนให้กับกลุ่มบุคคลผู้เกี่ยวข้องในโศกนาฏกรรมครั้งนั้น ซึ่ง
เคยคดว่าตนเปิงเป็นวีรบุรุษในการทำลายล้างศัตรูด้วยเช่นกัน (ธงชัย 2550ข, 2558)
นอกจากนี้ พวงทอง ภวัครพันธุ ชั้ไห้เห็นว่า การกระทำของรัฐไทยต่อประเทศเพื่อน
บ้านและปราบปรามคนไทยผู้เป็นศัตรูที่อยู่ภายในในช่วงสงครามเย็นนั้น วางอยู่บนการ
นิยามความเป็นมิตรและศัตรูของไทยที่แปรเปลี่ยนไปตามภัยคุกคามและผลประโยชน์
ของรัฐไทยและมหาอำนาจเอง (พวงทอง 2549, 2561)
กล่าวโดยสรุป ข้อถกเถียงทางวิชาการและความสำคัญของสงครามเย็นที่
ส่งผลกระทบต่อไทยอย่างยิ่งยวด กระตุ้นให้ผู้เขียนคาดหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็น
ส่วนหนึ่งของการร่วมเปิดพรมแดนการศึกษายุคสงครามเย็นในประเทศไทย และร่วม
สนทนากับประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามเย็น ทั้งนี้ ขอบเขต

/9
ชุนศึก ศักดินา และพญายืน'ท'รี

การศึกษาของหนังสือเล่มนี้คือ ห้วงทศวรรษแรกของปฎิส้มพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ( พ.ศ.
2491 - 2500) โดยมุ่งหวังที่จะเผยไห้เห้นถึงสภาพเงื่อนไข ความขัดแย้ง และบทบาท
ของคัวแสดงทางการเมืองของไทย รวมถึงบทบาทของสหรัฐฯ ที่มีฅ่อการเมืองไทยใน
ช่วงรอยต่อของการเข้าฏีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เพื่อเข้นการโหมโรงให้เห็นภาพโดยสังเขป
ก่อนที่ไทยจะกระโจนเข้าสู่สงครามเย็นอย่างเต็มตัว อันจะสร้างผลกระทบลึกซึ้งต่อ
คัวตน ส้มพันธภาพทางอำนาจ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจน
ปฎสัมพันธ์ของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านต่อไป

20
m
แฮรี เอส. ทรูนมน สาบานดนเข้ารีบตำแหน่งประธานาธีบดสหรัรืฯ (12 เมษไขน 2488 - 20 มกราคม
2496 ) นโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยทรูแมนเปลี่ยนจากการเห็นใจขบวนการชาดึบิยมต่อด้าน
อาณานิคม'ไปสุ่การ'ให้ความสั-าคัเญกบเรื่องเศรษฐกิจและป้องกันชิให้การปฏิวัติเกิด'ขน'ไน'โลก ในต้น
ทศวรรษ 2490 โวหารการต่อต้านคอมมิวนีสต์ของสหรัฐฯเรื่มขยายคัวจนคอมมิวนิสต์กลาณปีนภัย
ต์อโสกไปไนที่สด

บทที่ 2
จากสันติภาพสู่ความขัคแย้ง
การเมืองไทยหลั) สงครามโลกครั้งที่สชง

นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย
f
เมื่อสงครามโลกค งที่สองจบสิ้นลง สหรัฐฯ เป็นผู้ชนะสงครามที่ 1 ด้รับความ
,

เสียทายน้อย ในขณะที่อังกฤษเสียหายอย่างหนัก สหรัฐฯ ไม่เพียงมศักยภาพทางการ


ทหารเท่านั้น แต่ยังมีเศรษฐกิจมั่งคั่ง ส์งผลให้มีศักยภาพที่จะผงาดซ้นเป็นเจ้าจักรวรรดิ
ใหม่ภายหลังสงครามอย่างไม่ยากเย็น ในเดือนกรกฎาคม 2488 ไม่นานก่อนสงครามใลก
ในเอเชียจะสิ้นสุดลง สหรัฐฯได้มีส่วนสำคัญในการผลักดันการจัดระเบียบโลกเพื่อให้
เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผ่านข้อตกลงเบรตดันวูคลั ( Brelton
Woods System ) และการจัดระเบียบการค้าและการเงินระหว่างประเทศ (รังสรรค์
-
2532 , 3 13) สหรัฐฯไม่ต้องการให้ลัทธิคอมมิวนิสม์เป็นอุปสรรคขัดขวางแผนการ
ดังกล่าว โดยผู้กำหนดนโยบายระดับสูงของสหรัฐฯ เห็นว่าการขยายตัวของลัทธิ
คอมมิวนิสม์และ‘ทดินิยมสุดขั้วในประเทศขากจนและอาณานิคมจะเป็นอุปสรรคต่อผล
ประโยชน์ของสหรัฐฯ (Paterson 1972, 93 ; ชอมสกี 2544, 94) ในเวลาต่อมา ความ
ต้องการชองสหรัฐฯในฐานะเย้าจักรวรรดิใหม่ได้กลายเป็นระเบียบโลกที่มีผลกระทบ
กับส่วนต่าง ๆ ของโลก รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ยัอนกลับไปในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ
จักรวรรดิอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่มีดินแดนในอาณัติกว้างขวางไนเอเชียตะวัวนออก
เฉียงใต้ เช่น อินเดีย พม่า และมลายู โดยอังกฤษมีอิทธิพลต่อไทยเป็นอย่างมาท
ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น (Fine 1965,
ชุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

65 ) และในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง นโยบายชองสหรัฐฯ ภายใต้การนำของ


ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ ( Franklin D. Roosevelt) แสดงถึงความเห็นใจ
ขบวนการชาตินิยมต่อต้านอาณานิคมของเหล่าขบวนการกู้ชาติเวียดมินห้ ลาว และ
กัมพูชาเป็นอย่างมาก สหรัฐฯ ต้องการให้อินโคจีนอยู่ภายใต้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ
โดยสหรัฐฯ สนับสนุนให้โอเอสเอส (the US Office of Strategic Services : OSS)
ให้ความช่วยเหลือขบวนการกู้ชาติเหล่านั้นในการต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสอย่าง
เต็มที่ อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวได้ยุตลงพร้อมกับอสัญกรรมของประธานาธิบดี
รูสเวลท์อย่างจับพลันในเดือนเมษายน 2488 ( Kahin 1986, 3-4 ; Hess 1972 ;
Bartholomew-Feis 2001)
หลังจากนั้น รองประธานาธิบดีแอรื เอส. ทรูแมน ( Harry ร. Truman) ได้
ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทนรูสเวลท์ และต่อมาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง
เป็นประธานาธิบดี (12 เมษายน 2488 - 20 มกราคม 2496 ) นโยบายต่างประเทศ
ของสหรัฐฯในสมัยประธานาธิบดีทรูแมนเปลี่ยนแปลงจากการต่อต้านอาณานิคมไปสู่
การพยายามแกใขปัญหาเศรษฐกิจ ขจัดอุปสรรคทางการค้าและการด้อยความเจริญ
ของโลกที่ประธานาธิบดีทรูแมนเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อสันติภาพ เขาแถลงต่อสภา
คองเกรสในต้นเดือนพฤษภาคม 2489 ว่าจะให้ความสำคัญกับเรองเศรษฐกิจเป็นลำดับ
แรกเพื่อรักษาสันติภาพให้กับโลก (Theoharis 1972, 204-5) ต่อมาในเดือนตุลาคม
2490 เขาประกาศว่าสหรัฐฯ ต้องการแสวงหา “ สันติภาพและความมั่งคั่ง ” ด้วยการ
ปัองกันการปฏิวัติมิให้เกิดขึ้นในโลก 1 คำประกาศของประธานาธิบดีทรูแมนสอดคล้อง
กับเนื้อหาในเอกสารวางแผนระดับสูงของสหรัฐฯที่มีร่องรอยของความวิตกถึงความ
เสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจโลกที่จะทำให้การดำรงอยู่ของประชาชนในสหรัฐฯ เกิดความ
วุ่นวายจากความเคลื่อนไหวของพวกคอมมิวนิสต์และพวกชาตินิยมสุดขั้วในประเทศ
ยากจน เอกสารดังกล่าวเห็นว่า พวกชาตินิยมสุดขั้วนั้นมุ่งหมายปรับปรูงมาตรฐาน
ชีวิตของมวลชนอย่างจับพลันและทำการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการภายใน
ประเทศ ดังนั้นจึงเป็นภัยคุกคามต่อระเบียบโลกของสหรัฐฯ (Paterson 1972, 9 ;

1
Thomas G . Paterson (1972, 80-82 ) คำว่า "สันติภาพของโลก’, (นความหมายของสภาที่
ปรึกษาทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (Tile Council of Economic Advisers) หมายถึง สหรัฐฯ จะ
ปกป้องมให้โลกเกิดการปฏิวัติ ส่านคำว่า “การทำให้๒กมั่งคั่ง ” หมายถึง การทำให้สหรัฐฯ เปีนผู'้ นำ
ของเศรษฐกิจทุนน้ยมของโลก ; Borden ( 1984) ; Glassman ( 2005).

24
จากสันฅัภาพส่ความขดแยง

ชอฆสกี 2544, 18-19) จากนั้นในต้นทศารรษ 2490 ใวหารการต่อต้านคอมมิวนิสต์


ของสหรัฐฯไต้เริ่มขยายตัวจนทำให้คอมมิวนิสต์กลายเป็าเกัยต่อโลกไปในที่สุด ( Neher
1980, 567)
ในช่วงปลายสงครามใลกครั้งที่สองนั้นเอง สหรัฐฯ ไต้เริ่มมองเห็นความสำคัญ
ของไทย ต้นปี 2488 เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ เริ่มรายงานความ
เห็นเกี่ยวกับไทยว่า ไทยชะมีความสำคัญต่อสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชียดะวันออกเฉียงใต้
เ'นองจากไทยสามารถเป็นตลาดรองรับสินค้าและเป็นผู้ขายวัตถุดิบ เช่น ยางและดีบุก
ให้กับสหรัฐฯโดยตรงไต้เป็นอย่างดี แทนที่สหรัฐฯจะต้องชื้อวัตถุดิบผ่านตลาดผูกขาด
1นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ อีกทั้งการที่ไทยเป็นประเทศเอกราชจะทำให้สหรัฐฯ
ไม่ถูกมองว่าเป็นจักรวรรดินิยม ( Aldrich 2000a , 320-21 ) ต่อมาปลายปี 2488
สหรัฐฯ เริ่มก่อตัวนโยบายต่อไทย โดยยอมรับอำนาจอธิปไตยและความเป็นอิสระของ
ไทย แด่ต้องการให้ไทยเปิดให้สหรัฐฯ เข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจ
นอกจากนั้ สหรัฐฯ ต้องการไห้ไทยผลิตข้าวป้อนตลาดโลก และสนับสนุนให้ไทย
ปรับปรุงเศรษฐกิจและดำเนินการค้าระหว่างประเทศบนกรอบพหุภาคี (Neher 1980,
2-3 ; Bernstein 1972 , 3-4)
ภายหลังสงครามสินสุด ความส้มพันธระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง
หลังจากยุติควานสัมพันธ์ระหว่างกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยรัฐบาลทรูแมนใต้
ส่งชาร์ลส์ ดับบลู. โยสฅ์ (Charles พ. Yost) อัครราชทูต และเคนเนท พี. แลนดอน
( Kenneth p. Landon) เจ้าหน้าที่มาเปิดสถานกงสุลสหรัฐฯขึ้นในไทยในเดือนสิงหาคม
ปี 2488 ( Neher 1980, 25- 26) ในช่วงหลังสงครามอดีตเจ้าหน้าที่โอเอสเอสหลายคน
ที่เคยร่วมงานกับขบวนการเสรไทยในช่วงสงครามยังคงปฏิบัติงานอยู่ในไทย ( Reynolds
1992) เช่น เจมส์ ทอมลัน (James Thomson) อเล็กชานเดอร์ แมคโดนัลต์ (A1ex
ander MacDonald ) วิลลิส เบร์ด (Willis Bird ) วิลเลียม พาล้มเมอร์ (William
-
Palmer ) และโฮวาร์ด พาล้มเมอเ ( Howard Palmer ) เป็นต้น โดยเอ็ดวิน เอฟ.
สแตนตัน (Edwin F. Stanton) ถูกส่งมารับตำแหน่งอัครราชทูตและเอกอัครราชทูต
ในเวลาต่อมา
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความสนใจของสหรัฐฯ ที่มีต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้และไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังที่สแตนตันไต้บันทึกว่า เจาหนาทสถานทู
. . เจ้
a/
^ ต
สหรัฐฯในไทยในช่วงก่อนสงครามโลกมีเพียง 5 คน แต่ในปื 2489 เมื่อเขามารับ
ตำแหน่งผู้แทนสหรัฐฯ ประชำประเทศไทยนั้น สถานทูตฯมีเจ้าหน้าที่ 12 คน ต่อมา

25
จุนศึก ศกคนา และพญาศึนทร

ปี 2496 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่เขาปฏิบัติหน้าที่นั้น เขามีเจ้าหน้าที่สังกัดสถานทูตฯ ภายใต้


-
ความดูแลถึงเกือบ 200 คน ( Neher 1980, 29 30 ; Stanton 1956, 265)

การเมืองไทยภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
โครงสรางอำนาจทางการเมืองของไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเป็นการ
แข่งขันกันเองกายในคณะราษฎร รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นรัฐบาลที่ได้รับ
การสนับสนุนจากกลุ่มทหารหรือ “กลุ่มจอมพลป. ” ในขณะที่กลุ่มพลเรือนหรือ “กลุ่ม
ปรืดี” ซึ่งมีปรืดี พนมยงฅ์ เป็นผู้นำ ได้ถูกกันออกจากอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป.
เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาล ต่อมาช่วงปลาย
สงครามโลกนั้นเอง ปรืดีและกลุ่มของเขาให้การสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างสับ ๆ
โดยกลุ่มปรืดีแยกตัวออกจากรัฐบาลจอมพล ป. มาดำเนินการต่อต้านรัฐบาลและ
กองทัพฌี่ปจ ่น และต่อมาได้สร้างพันธมิตรเชื่อมต่อกับ “ กลุ่มรอยลลิสต์ ” ที่อยู่ใน

ประเทศและพวกผู้ล็้ภัยที่อยู่นอกประเทศเกิดเป็น “ขบวนการเสรีไทย ” จนสามารถ


ทำให้รัฐบาลหมดอำนาจลงไต้สำเร็จ ส่งผลให้กลุ่มจอมพลป. ที่เคยมีอำนาจในช่วง
สงครามโลกถูกลดบทบาทไปในช่วงปลายสงครามโลกนั้นเอง (Sorasak 2005 ;
สรศกดึ 2535 ; Reynolds 2005)
นับแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในกลางเดือนสงหาคม 2488 จนถึงการ
รัฐประหาร 2490 นั้น ไทยมีรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศถึง 8 ชุด ดังนี้ ควง อภัยวงศ์
(1 สิงหาคม 2487 - 17 กรกฎาคม 2488 ) ทว็ บุฌยเกตุ (31 สิงหาคม - 16 กันยายน
-
2488 ) ม.ร.ว . เสนีย์ ปราโมช (17 กันยายน 2488 24 มกราคม 2489 ) ควง
อภัยวงศ์ ( 31 มกราคม - 18 มีนาคม 2489) ปรืดี พนมยงค'' ( 24 มีนาคม - 8
มิถุนายน 2489, 11 มิถุนายน - 29 สิงหาคม 2489 ) พล.ร.ต . ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ้
( 23 สิงหาคม 2489 - 30 พฤษภาคม 2490, 30 พฤษภาคม - 8 พฤศจิกายน 2490)
(วิจิตร 2516 ; สิริรัตน์ 2521 ; บุณฑริกา 2534) จะเห็นได้ว่าการเมืองไทยภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่สองจนถึงการรัฐประหาร 2490 นั้น แม้กินเวลาไม่ถึง 2 ปีครั้ง แต่
มีความผันผวนอย่างมากจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลไปถึง 8 ชุด
ไม่นานหลังจากญี่ปุ่นประกาศขอมแพ้ฝ่ายส้มพันธมิตรเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม
2488 ไทยได้แถลงคำประกาศสันตภาพ (16 สิงหาคม 2488) ซึ่งทำให้คำประกาศ
สงครามระทว่างไทยกับฝ่ายศัมพันธมิตรเป็นโมฆะ โนขณะนั้นไทยและภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงไต้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพ
อังกฤษ ซึ่งมีลอร์ดหลุยส์ เมาห้แบตเทน (Louis Mountbatten) เป็นผู้บัญชาการทหาร

26
จากสันติภาพส่ความชัดแย้ง

สุงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่นานหส้งจากนั้น
I รัฐบาลทวี บุณยเกตุ ได้ส่งผู้แทนเดินทางไปเจรจากับอังกฤษที่เมืองแคนดี้ ประเทศ
I ศรีลังกา เพื่อยกเลิกสถานะสงครามระหว่างกัน แต่อังกฤษประสงค์ที่จะลงโทษไทย
เนื่องจากไทยเคยประกาศสงครามกับอังกฤษและทำให้อังกฤษได้รับความเสียหาย
I ความตกลงสมบูรณแบบ ( Formal Agreement for the Termination of the State
of War between Siam and the United Kingdom and India ) อันมีข้อบังอับ
จำนวา} 21 ข้อ ซึ่งมีเนอหาครอบคลุมด้านกีจการทหาร การจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม
และการควบกุมการอัาข้าว ดีบุก และยางพารา จะทำให้ไทยตกอยู่ในฐานะผู้แท้
สงครามและเสียเปรียบอังกฤษอย่างมาก ความวิตกว่าอังกฤษจะลงโทษไทยทำให้
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อดีตทูตไทยประจำสหรัฐฯ ในระหว่างการเดินทางกลับมาไทย
เพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถึงกับเสนอไห้ข้าวแก่อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่าจำนวน
1.5 ล้านตัน2
อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯในฐานะแกนนำฝ่ายส้มพันธมิตรต้องการที่จะเข้ามามี
อีทธพลไนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทนอังกฤษ จึงให้ความช่วยเหลือไทยให้
ท้นจากสถานะผู้แพ้สงคราม โดยสหรัฐฯ เห็นว่าไทยมีสถานะเป็นรัฐที่ศัตรูยึดครอง (an
-
enemy occupied state) และไทยมิได้เป็นศัตรูอับสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกคเงที่
สอง ดังนั้น สหรัฐฯ จึงไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากไทย นอกจากนี้ สหรัฐฯยังได้
เข้ามาแทรกแซงความตกลงระหว่างไทยกับอังกฤษ ซึ่งทำไห้ความตกลงสมบูรณ์แบบ
ที่อังกฤษเสนอแก่ไทยถูกลดทอนความแข็งกร้าวลง เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่ต้องการให้
อังกฤษกลับเข้ามามีอีทธพลทางการเมืองและเศรษฐกิจต่อไทยอีกครั้ง3 ในช่วงปลาย
สงครามโลกนั้นเอง สหรัฐฯไต้เริ่มเห็นถึงความสำคัญของไทยในฐานะแหล่งทรัพยากร
อันอุดมสมบูรณ์ที่จะสามารถพื่นฟูความอดอยากและท้นฟูเศรษฐกิจของโลกภายหลัง
สงครามได้
ในช่วงเวลานั้น รัฐบาลไทยหลายชุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองยังคงต้องเหซีญ
หน้ากับปัญหาเศรษฐกิจและสังคม เช่น ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะขาดแคลนสินคาและ
เงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องการส่งข้าวจำนวนมหาศาลให้

2
ดูรายละเอียดสาระสำคัญของความตกลงสมบูรณ์แบบใน Coast (1953 , 30- 31 ).
3 ดูความช่วยเหลือและความสัมพันธ์ระหว่างขบวนการเส',รืไทยกับโอเอสเอสไน Reynolds

( 2005 ) ; " State Department Document-Postwar Status of Thailand , 10 January


1945, ” อ้างใน Sean ( 1986 , 7) ; วิจิตร ( 2516, 52-54) ; Coast (1953, 82).

27
ขนฟิก ศกสนา และพญาอนทรี

อังกฤษในราคาที่ตายตัวและทันเวลา ไนขณะที่ราคาข้าวไนตลาดโลกสูงกว่าราคาที่ต้อง
ส่งมอบให้อังกฤษ ยิ่งส่งผลให้รัฐบาลต้องเผชิญหน้ากับปัญหาการกักตุนข้าวและ
ลักลอบส่งออกผิดกฎหมาย อันก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนข้าวภายในประเทศและ
เกิดตลาดมืดมากยิ่งขน รวมทั้งปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุมด้วย ปัญหาต่างๆ เหล่านี้สร้าง
ความปันป่วนให้แก่ไทยภายหลังสงครามโลกเป็นอย่างยิ่ง (สมศักคี้ 2527, 96 105 ;
สุชิน 2517, 19-23) 4
-
ความร่วมมือและการแตกสลายของพันธมิตรช่วงสงครามระหว่าง
กลุ่มปรีสืกับกลุ่มรอบัลลิสต์
เมื่อความร่วมมือระหว่างกลุ่มปรีดีกับกลุ่มรอยัลลิสต์ในนามขบวนการเสรีไทย
บรรลุเป้าหมายในการกดดันให้รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามก้าวลงจากอำนาจและ
ต่อต้านกองทัพณี่ป่นสำเร็จลงแล้ว การเป็นพันธมิตรกันในช่วงสงครามโลกครังที่สอง
พ จ

ก็แตกสลายลง เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีเปีาหมายทางการเมืองที่แตกด่างกัน โดยกลุ่ม


รอยัลลิสต์ที่เป็นเสรีไทยในอังกฤษมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเพื่อปลดปล่อยพระบรม
วงศานุวงฅ์ ตลอดจนพวกรออัลลิสต์ที่เคยต่อต้านการปฏิวัติ 2475 และถูกคณะราษฎร
เนรเทศออกนอกประเทศ รวมทั้งรออัลลิสต์บางส่วนที่ลูกจองจำไห้ได้รับอิสรภาพ ไน
รายงานของนายทหารไทยผู้หนึ่งที่เสนอต่อกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า
กลุ่มรอยัลลิสต์ที่เป็นเสรีไทยในอังกฤษมีแผนเรียกร้องให้คืนทรัพย์สินของพระบาท
สมเด็จพระปกเกล้าฯที่รัจบาลยึดไป โดยแกนนำของกลุ่มดังกล่าวประกอบด้วยสมเด็จ
พระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินื อดีตสมเด็จพระราชินีของพระบาทสมเด็จพระ
ปกเกล้าฯ และกลุ่มพระราชวงฅ์ โดยเชิพาะอย่างยิ่งราชสถุลสวัสดีวัตน3
นอกจากนี้ รายงานฉบับดังกล่าวยังกล่าวอีกว่า กลุ่มรอยัลลิสต์ในอังกฤษมี
เป้าหมายที่จะv!นคืนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขนใหม่ในไทย อีกทั้งพวกเขาได้
เคยเคลื่อนไหวเจรจาขอการสนับสนุนจากอังกฤษและสหรัฐฯ ผ่านลอร์ดหลุยฅ์
เมาท์แบตเทน และน. อ. บิลตัน ไมล์ แห่งโอเอศเอส เพื่อไห้ทั้งสองประเทศให้การ

4
ดูการศึกพาปัญหาอาๅธขนาดเล็กที่แพร่หลายไนไทยหลังสงครามใน Chalong (2002, 1 -20).
;h
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945 -1949 Hox 7250, Major Arkadej Rijay -
endrayodhin to Gentleman of the Foreign Relations Washington DC- , 16 September
1945 ในราขงานเชื่อว่ากลุ้มดังกล่าวขอการสนับสนนปืากอังกฤษ และดูการฟิกงร้องคดีระหว่างรัฐบาล
กบพระปกเกล้าฯ ไน สุพจน์ ( 2545 , 63-80).

28
จากสันติภาพสู่ความข้คแย้ง

สนับสนุนอีกด้วย6 ยิ่งไปกว่านั้น รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุด้วยว่า กลุ่มรอยัลลิสต์


ในอังกฤษมีความคิดเปลี่ยนแปลงสายการสืบสันตติวงศ์จากสายสมเด็จพระศรีสวรินทรา
บรมราชเทรี พระพันวํสสาอัยยกาเจ้า ผ่านราชสกุลมหิดลให้กลับมาส่สายของสมเด็จ
พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผ่านราชสกุลจักรพงษ์
แทน ด้วยการกดดันให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงสละราชย์ และ
ผลักดันให้พระองศ์เจ้าจุลจักรพงษขึ้นครองราชย์แทน '

อย่างไรก็ตาม การกดดันรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามให้ลงจากอำนาจโน


ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองสร้างความไม่พอใจอย่างรูนแรงให้กับกลุ่มจอมพลป.
โดยเฉพาะปีกทหาร เมื่อ ผนวกกับการที่รัฐบาลพลเรือนหลังสงครามซึ่งกลุ่มปรีต็ให้การ
สนับสนุนไต้ทอดทิ้งกองทัพไทยไวในสมรภูมิที่เชียงตุง ทำให้ต้องหาทางเดินทางกลับ
กรูงเทพฯเองใดยมิได้รับความช่วยเหลือใดๆจากรัฐบาล ส่งผลให้พวกทหารรู้สืกว่า
รัฐบาลไม่เคารพเกียรติภูมิของกองทัพ นอกจากนั้ รัฐบาลยังได้ปลดทหารประจำการ
จำนวนมากและมีการประณามว่ารัฐบาลจอมพล ป. และกองทัพเป็นผู้นำพาไทยเข้าร่วม
สงครามโลกจนเกิดความเสยหายแก่ประเทศ ทั้งหมดนั้สร้างความไม่พอใจให้กับ
กองทัพเป็นอย่างมาก อีกทั้งเสรีไทยได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ถือครองอาวุธทัดเทียมกองทัพ
ในขณะที่ภาพลักษณ์ของกองทัพถูกเหยียดหยามจากเสรีไทยและนักการเมืองที่เคยเป็น
เสรีไทย (สุชิน 2517, 54-55)
เมื่อควง อภัยวงศ์ สมาชิกในกลุ่มพลเรือนของคณะราษฎรไต้รับการสนับสนุน
จาก,ปรีดึ พนมขงศ์ ให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพล ป. พิบูลสงคราม เขาได้

6 “นายฉันฑนา '’ ( 2489, 264) เสรีไทยในอังกฤษส่วนที่มาจากกลุ่มรออัลลิสต์นั้นมีสมเด็จพระนาง


เจ้ารำไพพรรณเป็นแกนนำ กลุ่มดังกล่าวประกอบด้วยพระราชวงศ์ที่หลบหนีออกขากไทยก่อนการถูก
จับกุมฐานเกี่ยวข้องดับการกบฎต่อต้านการปฏิวัติ 2475 เช่น ม.จ . ศุ:กสวัสดวงศ์สนิท สวัสดีวัตน และ
สมาชิก ,ของกลุ่มที่เป็นพระราชวงศ์ เช่น ฆ . จ . กอกษัตริย์ สวัสดิวัตน ม . จ . การวิก จักรพันธุ ม .จ .
จรดนัย กิดียากร ม.จ . กดนัดดา กิด้ยากร และม .จ . ภีศเดช รัชนี เป็นด้น ; สรศักดี้ ( 2535, 120).
7
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Major Arkadej Bijay-
endrayodhin to Gentleman of the Foreign Relations Washington D.C., 16 September
1945 ในรายงานบันหกว่า สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณ็ทรงต้องการให้พระองศ์เจ้าจุลจักรพงศ์หย่า
ดับชายาที่เป็นชาวด่างชาติ แล้วมาสมรสกับพระ,บนีษราองศ์เล็กด่างมารดาของพระองศ์เพี่อให้เกิด
ความชอบธรรมในการสืบราชบัลลังก์ของสองราชดระกูล โดยพวกเขาค้องการให้อังกฤษสนับสนุน
รา'ชบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์ไทยพระองศ์ใหม่ ชงในขณะนั้นภาพลักษณ์ของพระองศ์เจ้าจุลจักรพงษ์
นั้นทรง “นิยมอังกฤษ เต็มอังกฤษ ” ; กนต์ธืร์ ( 2537, 71 ).

29
ในศึก ศักดนา และพญาฝืนทรี

อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระหำควานผิดฐานกบฎและจลาจล พุทธศกราช
2488 ให้กับกลุ่มรอยัลลิสต์ผู้เคยต่อต้านการปฏิวัติ 2475 ตามข้อตกลงต่างตอบแทน
ที่ ม.จ. ศุภสวัสดวงค์สแท สวัสติวัตน แกนนำของกลุ่มรอยัลลิสต์!นอังกฤษไต้ทรงทำไว้
ฌี่อครั้งตกลงร่วมมือกับขบวนการเสรีไทยภายในประเทศเมื่อปลายสงครามโลกครั้ง
ที่สอง (ศุภสวัสดี๋วงศ์สนิท 2543, 517-18) ส่งผลให้กลุ่มรอยัลลิสต์ซึ่งเฟินฝ่าย
ตรงข้ามทางการเมืองกับคณะราษฎรสามารถเดินทางกลับประเทศและเข้าสู่การต่อสู้
ทางการเมืองได้อีกครั้ง
สำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) รายงานว่า การนิรโทษกรรมครั้งนี้เป็นการ
จุดชนวนความขัดแย้งในการควบคุมการเมืองไทยระทว่างคฌะราษฎรกับกลุ่มรอยัลลิสต์
ที่เคยเป็นป๋ญทาหยั่งรากถึกนับแต่การปฏิวัติ 2475 ให้กลับมาปะทุอึกครั้งภายหลัง
สงครามโลก เอกสารชิ้นดังกล่าววิเคราะหวา ๕
ด้วยเหตุที่การปลดปล่อยนักโทษกลุ่ม
*

รอยัลลิสต์กระทำในสกาพการเมืองเป็ดกว้างและพวกเขายังคงเจ็บแค้นคณะราษฎรอย่าง
ลึกซึ้ง ส่งผลให้การปลดปล่อยดังกล่าวแทนที่จะกลายเป็นการปลดปล่อยพลังของความ
ร่วมมือในการสร้างสรรค์ประเทศที่บอบชิ้าจากสงครามให้ตั้งมั่น กลับกลายเฟินขุมพลัง
ของการต่อต้าน คนเหล่านี!้ ด้ร่วมกันบ่อนทำลายกลุ่มปรีดีลงในที่สุด พวกเขาต้องการ
กำจัดคณะราษฎรทั้งหมด ทั้งนี้รายงานของอดีตเจ้าหน้าที่ไอเอสเอสคนหนี้งกล่าวว่า
ในช่วงสงครามโลกไม่มีรอยัลลิสต์ผู้ใดที่จะกล้าต่อกรทางการเมืองกับจอมพลป. คน
เหล่านี้ใด้แต่เรียกร้องให้ปรีดีช่วยเหลือพวกเขาให้รอดพ้นจากการปราบปรามของ
จอมพลป . แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป พวกเขาก็สามารถรวมกลุ่มกันจนมี
ความเข้มแข็งพอที่จะห้าทายอำนาจทางการเมืองของปรีดี ผู้ที่เคยช่วยเหลือและ
1

ปลดปล่อยพวกเขามั่นเองs
จะเห็นได้ว่าความเป็นพ้นธมีตรระหว่างกลุ่มปรืดีกับกลุ่มรอยัลลิสต์ในช่วง
สงครามโลกครั้งที่สองเป็นเพียงความร่วนมือชั่วคราวที่ทั้งสองกลุ่มต่างได้รับประโยชน์
ร่วมกัน กล่าวคอ การหมดอำนาจลงของกลุ่มจอมพล ป. ทำให้กลุ่มปรีดีสามารถกลับ
เข้าสู่อำนาจทางการเมืองได้สำเร็จ ในขณะที่กลุ่มรอยัลลิสต์คูเหมือนจะไต้ประโยชน์จาก
ความร่วมมือมากกว่า เนื่องจากไม่เพียงแต่สามารถทำลายอำนาจของจอมพล ป. และ
พวกซึ่งเป็นกลุ่มที่แข็งแกร่งในคณะราษฎรและเคยมีบทบาทในการปราบปรามพวกเขา

NARA, CIA Recurds Search Tool (CRHST), CIA- RDP 82-0045 7 ROO10005200G 3-4,
30 October 1947 , The Political Situation. "
"

30
จากสันตภาพสู่คว-ามชัคแย้ง

อย่างรุนแรงลงได้เฟานั้น แต่หวกเขายังได้รับเกียรติขศตลอดจนบรรดาสักด์กลับคืน
อีกทั้งยังได้รับสิทธิหวนศึนสู่เวทีทางการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลยังนิรโทษกรรม
ปลดปล่อยสมาชิกของกลุ่มรอยัลลิสต์ที่เป็นรรักโทษการเมือง คนเหล่านี้กลับมาเป็น
กำลังหนุนให้กับกลุ่มรอยัลลิสต์ในการต่อสู้กับคณะราษฎรภายหลังสงครามโลกอีกด้วย
ดังนั้น หลังสงคราบโลก ฅู่ขัตแข้งของกลุ่มรอยัลลิสต์คือคณะราษฎรจึงปราศจากกลุ่ม
จอมพล ป. คงเหลือแต่เพียงกลุ่มปรดีเท่านั้น
ควรกล่าวเพิ่มเดิมด้วยว่า โครงสร้างอำนาจทางการเมืองไทยภายหลังสงครามโลก
ครั้งที่สองมีกลุ่มการเมืองสำคัญสองกลุ่มคือ กลุ่มปรีดีชี่งประกอบด้วยสมาชิกบางส่วน
ในคณะราษฎร สมาชิกสภาผู้แทน") จากภาคอีสาน อดีดเสรีไทย และนักศึกษา
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง กับกลุ่มรอยัลลิสต์ซี่งประกอบด้วยพระ
ราชวงสั บุคคลผู้จงรักภักดี อดีตนักโทษการเมือง และอดีตเสรีไทย ทั้งสองกลุ่มนี้มี
เป้าหมายทางการเมืองที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มแรกให้ความสำคัญกับหลัก 6 ประการ
ของคณะราษฎร จนลึงมืความคิดทางการเมืองที่โน้มเอียงไปไนทางสังคมนิยมและ
สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย ส่วนกลุ่มหลังนั้นมีกลุ่มย่อยภายในหลาย
กลุ่มและไม่มืเอกภาพทางความคิด พวกเขามีความคิดทางการเมืองที่แตกต่างหลาก
หลาย ตั้งแต่การสนับสนุนการปกครองวะบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเปลี่ยนแปลง
การสืบสันตติวงศ์ การต่อต้านคณะราษฎร การทวงทรัพย์สินกลับคืน การพินฟู
เกียรติยศและเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับสถาบันกษัตริย์ และความต้องการกลับมา
สู่การต่อสู้ทางการเมือง นอกจากนี้ ภายในกลุ่มรอยัลลิสต์เองยังปราศจากผู้นำกลุ่มที่
ชัดเจน มีการช่วงชิงความเป็นผู้นำกลุ่มระหว่างสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ผู้
สนับสนูนราชสกุลจักรพงษ์ กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
ผู้สนับสนุนราชสกุลมหิดล จนทระทั้งกรมพระยาชัยนาทนเรนทรได้รับการสนับสนุน
จากพระราชวงศ์และกลุ่มรอยัลลิสต์จำนวนหที่งไห้เป็นผู้สำเร็จราชการ"! ภายหลังการ
สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ดังจะกล่าวต่อไปข้างทาท
หลังการปลดปล่อยนักโทษการเมืองได้ไม่นาน ม .ร.ว. ศึกฤทธิ้ ปราโมช ได้
รวมรวมอดีตนักโทษการเมืองในกลุ่มรอยัลลิสต์ เช่น ม .ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน ร.ท.
จงกล ไกรฤกษ์ และสอ เสถบุตร มาร่วมจัดตั้งพรรคก้าวหน้าในปลายปี 2488 เพื่อ
เคลื่อนไหวต่อต้านคณะราษฎรในช่วงที่ปรีดี พนมยงต์ เป็นผู้นำ โดย ม.ร.ว. คึกฤทธื้
ในฐานะแกนนำคนหนึ่งได้ประกาศตัวตนไนบทความชื่อ “ข้าพเจ้าเป็นรอชะลิสติ
,
เรียกร้องการเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้พระมหากษัตริย์และรอฟินเกียรติยศของ

31
จุนศึก ศกตนา และพญาสินทวี

ราชวงศ์กลับคืนมา (สรคักดี้ 2535, 189-90 ; ประชามิตร, 12 ธันวาคม 2488 อ้างใน


บุณฑริกา 2534, 63) ทั้งนี้สมาชิกของพรรคอ้าวหน้าหลายคนเป็น{ชื้อพระวงศ์ และ
พรรคการเมืองนี้มนโยบายสำคัญคือต่อต้านคณะราษฎร (Coast 1953, 31) ในการ
ต่อล้ทางการเมืองกับรัฐบาลกลุ่มปริดีนั้น กลุ่มรอยัลลิสตใต้ใช้แผนการสกปรกเพื่อไต้
รับชัยชนะในการเลือกตั้งผ่านวิธสร้างความเสอมเสียให้กับผู้สมัครจากพรรคการเมือง
ที่สนับสนุนรัฐบาล' '
รัฐบาลหลายขุดกายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เช่น รัฐบาลทวี บุณยเกตุ
รัฐบาลม.ร.ว. เสนึอ้ ปราโมช และรัฐบาลควง อภัยวงศ์ ลัวน'ใต้รับการสนับสนุนจาก
ปรืดี พนมยงค์ เนื่องจากปรีดีมีฐานการเมืองอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ทำให้เขามี
อิทธิพลในการสนับสบุนการขัดตั้งรัฐบาลอย่างไม่ยากนัก อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา
เมื่อปรีดีได้ตัดสินใจยุบขบวนการเสรีไทยที่เป็นฐานกำลังสนับสนุนอำนาจทางการเมือง
ของเขา สํงผลไห้เขาต้องเผชิญกับการท้าทายจากควง อภัยวงศ์ ซึ่งไม่พอใจที่ปริดีไม่
ให้การสนับสนุนเขาให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตริอีก ทั้งนี้ปริดีเห็นว่าควงมีความเป็น
อิสระในการตัดสินใจสูงและไม่ยอมทำตามคำแนะนำของเขา แต่สุดท้ายแล้วควงก็ไต้รับ
การสนับสนุนจากสภาผู้แทนฯให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง (สิริรัตน์ 2521, 215 16) -
ควงค่อย ๆ แยกตัวออกจากคณะราษฎร1" และแสางหาการสนับสนุนทางการเมือง

9 เช่น แผนการต่อสู้ทางการเมืองจองโชติ คุ้มพันธุ จากพรรคก้าวหน้า กับทองเปลว ชลคูมื จาก


พรรคแนวรัฐธรรมนูญ ไนการเลีอกตั้งซ่อมในปี 2488 พรรคก้าวทน้าใช้แผนสร้างความเร่อมเร่ยให้
กับทองเปลว ด้วยการให้สมาชิกพรรคฯนำลี'ใปขีดเขียนเรียกร้องให้ประชาชนเกือกทองเปลวตามที่
สาธารณะเช่นวัดปีนเลอะเทอรไปท้า นอกจากนี้ พวกเขายังไปตะโกนให้ประชาชนเกือกหมายเลข
คู่แข่ง ซึ่งก่อความรำคาญและทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเกลียดชังทองเปลาอย่างมาก จึงหันมา
เกือกโชติซึ่งเป็นคู่แข่งขันแทน ยิ่งไปกว่านั้น ในเช้าตรู่ของวันเกือกตั้ง พรรคก้าวหน้าได้ใช้ให้สมาชิก
พรรคฯไปตบประดูและตะโกนเรียกให้ประชาชนคามบ้านเลือกทองเปลว พฤติกรรมเหล่านี้สร้างความ
ไกรธเคืองไห้กับประชาชนมาก ประชาชนจึงลงคะแนนไห้กับไชสิ พรรคตรงกันข้ามแทน ดู นาย
ประชาธิปัตย์ (2511, 124) ; จงกล ( 2517, 124- 28) ; ปรีดึ ( 2517, ส>]-(7]) .
' NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Yost to Secretary of
State, “ Khuang Aphaiwong Cabinet,” 6 February I 94f:i. ทั้งนี้โยสต์ อุปทูตสหรัฐฯ เห็น
ว่าพฤติกรรมทางการเมืองด้งกล่าวของควงนั้นสะท้อนให้เห็นว่าเขาใด้แยกตัวออกจากคพะราบฎร
แล้ว เนื่องจากการที่ควงนำพระยาศรีวิสารวาจาและกลุ่มรอยัคลิสต์กลับเข้าร่วมคณะรัฐมนตรีเป็นการ
ท้าทายต่ออำนาจของปรืดี พนมยงต์ เป็นอย่างมาท เนื่องจากปรีดีเห็นว่าพระยาศรีวิสารวาจาเป็น
ศัตรูที่ทำให้เขาด้องถูกเนรเทศออกไปเมอปื 2476 โยสต์เห็นว่าควงปราศจากความรู้ในทางการเมือง

32
จากสันฅภาพสู่ความขัดแย้ง

จากทลุ่มรอยัลลิสต์จมสามารถจัดตั้งรัฐบาลที่ไม่ไต้รับการสนับสนุนจากกลุ่มปรีดีได้
สำเรีจเมื่อดันปื 2489 โคยผืรอยัลลิสต์ทลายคนเข้าร่วมรัฐบาล เช่น พระยาศรีวิส ไร- '

า ไจา อดีตข้าราชการในระบอบเก่าที่มีความคดอนุรักษนิยม เจ้าพระยาศรธรรมาชิฌศ


พระยาลัศวราชทรงศร และม . ร. ว . เสนึย์ ปราโมช เป็นด้น 11 เมื่อดึงคอนนี้ปรีดีเริ่ม '

คระหนักว่าการตัดสินใจจุบเลิกขบวนการเสรืไทยซงถือไต้วาเป็นกองกำลังที่มีสํวนใน
การปกป้องรัฐบาลของเขา ทำไห้กลุ่มการเมืองของเขาปราศจากฐานสนับสบุนทาง
อำนาจ ขณะที่ในเวลาต่อมากลุ่มรอยลลิสต์กลับมีพลังทางการเมืองมากขน ปรืดีและ
พวกจงดัดศนใจจัดตั้งพรรคการเมืองขน 2 พรรค คือ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ ซง
เป็นการรวมตัวก้นของสมาชิกคณะราษฎรทั้งพลเรือนและทหารที่ยึดถือหลัก 6 ประการ
ของคณะราษฎร 12 และพรรคสหชีพ เป็นการรวมตัวก้นของสมาชิกสกาผูแทนฯ จาก
ภาคอีสานและอดีดเสรีไทย ยึดถือนโยบายสังคมนิยมและต่อต้านจอมพล ป. พิบูล -
สงคราม พรรคการเมืองทั้งสองพรรคนี้ถือเป็นเครื่องมือของปรีดีและพวกในการต่อ§
ทางการเมึองก้บกลุ่มรอยัลลิสต์ที่เคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเข้มข้นภายหลัง
สงครามโลก 12

และไม่ขวนขวายในการหาความฐ้เพิ่มเลึม เป็นที่รู้กันดีว่า m เป็นคนไม่อ่านหนังสือ แม้แต่รายงาน


จากหน่วยงานราชการกึงรัฐบาล หากเลยงใต้เขาก็จะไม่อ่านรายงานนั้น แต่เขาเป็นคนทึ่มไหวพริบ
โนการโต้เถียงและการย้อนคำพค
11
Memorandum on a Certain Aspect of the Siamese Politics for His Majesty
“A
The King. 20 June 1947,” ไน ศุภสรัสด็วงฅ์สนท (2543, 543) ; ประสิทธ (2542, 156) ; รายชื่อ
คฌะรัฐมนตรีของคาง อภัยวงส์ ชุดนี้ ดู สืรรัตน์ ( 2521, 219-20) . ควงไค้ตั้งคณะรัฐมนตรีที่ไม่มี
สมาชิกกลุ่มใ]1ดีจากพรรคสหซีพและพรรคแนวรัฐธรรมนูญร่วมคณะรัฐมนตรีเลย แค่มึกลุ่มรอขัลลสต์
มากที่สุด เช่น พระยาศรีวิสารวาจาเป็นรมา. คลัง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศเป็นรมว. ยุฅืธรรม
พระยาศรีเสนาฯ เป็น รมว. มหาดไทย พระยาอัศวราชทรงดึรเป็น รมว. เกษตราธิการ ม.ร.ว. เสนีย์
ปราโมช เป็นรมว . ต่างประเทศ
12
-
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945 1949 Box 7250, Stanton to Secretary
of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period 1 15 -
April 1947 . ” ในรายงานฉบับนี้โห้ข้อมูลว่า แกนน่าของพรรคแนวรัฐธรรมนูญคือ ปรีดี พนมยงค
ใคยมี พล.ร.ด. ถวลย์ ธำรงนาวาสวัสด เป็นเลขาธิการที่วไป ส่วนทองเปลว ชลภูมิ เป็นเลขาธการ
1

พรรคฯ ทั้งนี้นโยบายของพรรคฯ คือ หลัก 6 ประการของคณะราษฎร


13 Ibid. ; หอุด ( 2494, 555 48 ) .
- รายงานของสถานทูฅสหรัฐฯให้ข้อมูลว่า เดือน บุนนาค และ
ถวิล อุดล เป็นเลขาธิการพรรคฯ และเป็นแกนนำของพรรคสทชพ ไดขฏีสมาซิกคนสัาคัญของพรรคฯ

55
ชุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

ในขณะเดียวกัน ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2489 ก่อนทึ่จะมีการชัดตั้งพรรคประชา-


ธปัตย์ใม่นาน สถานทูตสหรัฐฯได้รายงานถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่พัฒนาขน
ระหว่างควง อภัยวงศ์ กับพระราชวงศ์และกลุ่มรออัลลิสต์ โตยกลุ่มดังกลาวประกอบ
ด้วยพระองค์เจาภาณุพันธ์ยุคล เจ้าพระยาศรธรรมาธเบศ ม .ร.ว . เสนีย์ ปราโมช น .ร .ว ,
คึกฤทธิ้ ปราโมช สมบูรณ์ ศึรธร เทียม ขัยนนท์ เลียง ไชยกาล และใหญ่ ศวิตชาต
เป็นต้น ต่อมาพวกเขาได้จดประชุมเพื่อเตรียมการจัดด้งพรรคการเมืองเพื่อฅ์อด้าน
คณะราษฎรทีบ้านของพระพินิจชนคดี แล ะได้รับเงินทุนก้อนแรกในการจัดด้ง
พรรคการเมืองจากพระพินิจชนคด 14 ในที่สุดพรรคประชาธิป้ฅย์ได้ถูกขัดด้งชันในเดือน
เมษายนปิเดียวกันนั้นเอง อยางไรก็ตาม นโยบายพรรคในช่วงต้นปราศจากความ
ขัคเจน เนื่องจากสมาชิกพรรคมีอุดมการณ์การเมืองและความต้องการที่หลากหลาย
เช่น สมาชิกบางส่วนต้องการกสับส่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ บางส่วนต้องการ
รัฐบาลที่ชื่อสัตย์ บ้างก็ต้องการมีผู้นำทหารที่เข้มแข็งอย่างจอมพล ป . พิบูลสงคราม
แต่บางส่วนก็ไม่ต้องการให้จอมพล ป . กลบมามีอำนาจอีก 1 นโยบายของพรรค

เชน ทองอีนทร์ คูรืพัฒนั ได ปาณ์กบุดร จำลอง ดาวเรอง เตยง คึริขันธ์ ซึ่งเป็นสมาขิกสภาผู้แทน


ราษฎรภาคอีสาน มความใกล้ชดคณะราษฎร ที่ทำการพรรคฯ ด้งอยู่ที่บ้านของทองอินทร์ ภริหัฒน์
ผู้เป็นแกนน่าพรรคที่แท้จรืง พรรคนมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรราว 45-60 คน และสมาชิกพฤฒิสภา
ราว 9-15 คน นโยบายสำคัญของพรรคฯ คอ หลัก 6 ประการ แสะความคดลังคมนิยม ที่ไท้ความ
สำคัญกับสหกรณ์ การส่งเสรมการเกษคร มีกวามฅชิงการความรวท้เร็วไนการคำเนินการทางการเมือง
และต่อต้านจอมพล ป. พินลสงคราม ( NARA, CIA Records Search Tool [CREST], CIA
RDP82-Q0457R001000520003-4, 30 October 1947, “The Political Situation ").
-
n NARA, RG 59 Centra ] Decimal File 1945-1949 Box 7250, Yost to Secretary of
State, 26 April 1946 ; เสนข์ (2543, 84) ; อ yสรฟ้โนงานพระรวซทานiพสิงศพนายใหญ์ ศ่วฅชาด
(2526) ; 9มุสรพไนงานพระราชทานmลงศพ นายจาลอง ธนร;ใสกฌ ( 2527) ; NAHA, RG 59
Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Memorandum of Conversation Kumut
Cbandruang, K. p. Land on, “Developing Political Party in Bangkok,’* 6 February' 1946.
.
พระพินิจชนคดี (ด่าน ยกเซง หรือเชัอ อนทรทต) เป็นพี, ่เขย'ของ ม.ร.ว. เสนย์ ปราโมช และม.ร .ว
คึกฤทธ ปราโมช เคยรับราชการตำรวจ ต่อมาถูกปลดออกจากราชการ เขาเคขเป็นพ่อค้าที่แสวงหา
กำไรในช่วงสงครามโลกครงที่สอง แสะเป็นหัวหน้าคนหนึ่งของกลุ่มคนจีนที่สนับสมุนกกมินตั๋งและ
ใหัเงินสนับสมุนคนจีน ในบันทีกการสนทนาฉบับนึ่ สถานทดสหรัฐฯระบุว่า กุมท จันทร์เรือง เป็น
คัวแทนปรีดึ พนมขงค์ อย่างใม่เป็นทางการ
15
NAHA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Stanton to Secretary
of State, " Fortnightly Summary of Political Event in Siam for Ihe Period 1 -15 April
1947.11

34
จากสันติภาพส่ความฃคแยง

I: ประชไธิ{เตยํในห้วงการก่อตั้งคือค้านเพื่อค้านเท่านั้น ( Hay 1972, 119) รายงานของ


อดีตโอเอศเอสคนหนึ่งกล่าวว่า รฐบาลชุดควง อภัยวงศ์ ที่บริหารประเทศในช่วงหลัง
,

สงครามจบสิ้นลงใหม่ๆนั้นถือว่าเป็นรัฐบาลอนุรักษนิยมที่ต้องการทำลายฐานทางการ
เมองของปริค พนมยงศ์ ผู้ที่มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างมากภายหลังสงคราม ส่งผล
ให้กลุ่มปรีต็นำโดยพรรคสหชีพและสงวน ตุลารักษ์ ดำเนินการตอบโต้ด้วยการ
ลุ ก สิ ต ชั น ก่ อ ความไม่ ส งบ 1 ', ไม่นาน
สนับสบุนให้กรรมกรจีนและคนชั้นล่างในกรุงเทพฯ
จากนั้น รัฐบาลควงพ่ายแพ้เสียงสรรับสาณในสภาผู้แทนฯ ทำให้ควงจำต้องลาออกจาก
I ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากดำรงตำแหน่งไดไม่ถึงสองเดือน ความพ่ายแพ้ทางการ
เมืองครั้งนั้นน่าจะมีผลทำให้ควงเพิ่มความโม่พอใจกลุ่มปริดีมากยิ่งชัน' 7
จากนั้นปรีดี พนมยงศ์ ไต้กาวมามีบทบาททางการเมืองโดยดรงในฐานะนายก
รัฐมนตรีคนถัดมา ผลงานทางการเมืองในช่วงแรกเริ่มของพรรคประชาธิปัตย์คือการ
สอบโต้รัฐบาลปริดีทันที เริ่มจากกล่าวหารัฐบาลปรืดีและเสรีไทยว่าร่วมกันยักยอกเงืน
ข้ากงบสัน่ดีภาพของเสรีไทย แต่ผลการสอบสวนโดยคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนฯ
ปรากฏว่าข้อกล่าวหาของพรรคประชาธิปฅย์ไม่เป็นความจริง กระนั้นกตาม ข้อกล่าวทา
ลังกล่าวใต้สร้างความเสีอมเสีย'ให้รัฐบาลปริดีเป็นอย่างมาก และกลายเป็นชนวนความ
1

ขัดแย้งระหว่างกลุ่มปรีดีกับกลุ่มรอยัลลิสต์ในเวลาต่อมา 18 ยิ่งไปกว่านั้น หลังจาก


รัฐธรรมนูญฉบับ 2489 ได้ลูกประกาศใช้และนำไปสู่การเลือกตั้ง การเผชิญหน้ากัน
โดยตรงระหว่างกลุ่มปริดีถับกลุ่มรอยัลลิสต์ผ่านพรรคการเมืองที่แต่ละฝ่ายสนับสนุนก็
ทวีความรุนแรงมากยิ่งชัน

NAKA. KG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Alexander MacDonald


lh

It Campbell, 12 February 1946.


)

17 “
A Memorandum on a Certain Aspect of the Siamese Politics for His Majesty
The King, 20 June 1947/ ใน สุภสวัสดวงฅ์สนิท (2543, 543) .
18
บุณฑริกา ( 2534, 72-73) และ “ A Memorandum on a Certain Aspect of the Siamese
Politics for His Majesty The King, 20 June 1947," ไน สุกสวัสควงฅ์สนิท (2543, 544 )
บ.ร.ว . เสนย์ ปราโมช ไต้กล่าวหาว่าใ!รืดี พนมยงค และเสรีไทยทุซีริฒงินดำเนินการที่สหรัฐฯ ส่งให้
500,000 ดอลลาร์ ต่อมาคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ตรวซีสอบไดยเซีญบุคคลจำนานมาก
มาให้ปากคำ เชน เจมส์ ทอมสัน หนงโนอดีตไอเอสเอส ได้ให้ปากคำว่าการกล่าวหาของพรรค
ประชาธิป๋ตย์ทำให้เขาเจ็บปวดมาก แทนที, พรรคประชาธิ
่1
ปัดย์และกลมรอยลลสฅ์จะสำ ,แกบุญคุฒของ
เสรีไทย ทสับกล่าาหไว่าพากเสรีไทยทุจริต สดท้ายผลการสอบสวนปรากฏว่าปรีดีรับเงินมาเพียง
49,000 ดอลลาร์เพ่านั้น และไม่มีการทุจริตเงินดังกล่าว

35
ชุนศึก สักคึนา และพญาอ้นทรี

สำหรับบทบาทในการต่อล้ทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงแรกเริ่ม
ของการก่อตัวนั้น พวกเขาพยายามโฆษณาชวนเชื่อไนการหาเสียงเลือกตั้งเมอต้นปี
2489 ว่า การเสด็จนิวัดพระนครในเดือนธันวาคม 2488 และการเสด็จเธาวราชของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นผลงานของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อ
เป็นการช่วงชิงผลงานจากรัฐบาลปรืดี นอกจากนี้ พวกเขายังอ้างว่าพระมหากษัตริย์
ทรงให้การสนับสมุนพรรคประชาธิปัตย์ แต่ผลการเลือกดั้งปรากฎว่าพรรคสหชิพและ
พรรคแนวรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นพรรคที่สนับสมุนรัฐบาลปรีดียังคงได้รับชัยชนะในการ
เลือกดั้งทั่วไป จากนั้นพวกเขาจงได้เริ่มรณรงค์ต่อไปว่าการเลือกดั้งครั้งนี้ใม่บริสุทธิ้
ยุต็ธรรม พร้อมกับใจมตีปรีดว่าเปีนคอมมิวนิสต์ และเริ่มต้นแผนการโกงการเลือก
พฤฒ๊สภา จนม.จ. ศุภสวัสดั้ฯทรงบันทึกว่า ควง อกัยวงค์ หัวmทัพรรคประชา?ปัดย์
,
เป็นผู้ที่ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี '
1

การเมืองในราชสำนักและการแสวงหาการสนับสนุนปีากอังกฤษ
การหวนคึนสํการเมืองของไทยของกลุ่มรอยัลลิสต์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้ง
ที่สองไม่เพียงสร้างความอลหม่านให้กับการเมืองไทยเท่านั้น แด่นำมาซึ่งการแข่งขัน
ภายในราชสำนักด้วย เนื่องจากกลุ่มรอยัลลิสต์ขณะนั้นมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่ม
ให้การสนับสมุนราชสกุลที่แตกด่างกันให้ขนมามีอำนาจ เช่น ราชสกุลจิกรพงษั บริพัตร
และยุคล ซึ่งขณะนั้นราชสกุลเหล่านี้ยังคงมีอิทธิพลและได้รับการสนับสมุนจากกลุ่ม
รอยัลลิสต์มากกว่าราชสกุลมหิดลที่ห่างเหินจากการเมืองในราชสำนักไปอย่างยาวนาน
ท่ามกลางการแข่งขันภายในราชสำนักนั้นเอง ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อานันทมหิดลจะเสด็จนิวัตพระนคร สถานทูตสหรัฐฯ ได้รายงานในเดือนธันวาคม
2488 ว่าพระองค์อาจจะทรงสละราชสมบัต็ และมีความเป็นไปได้ที่พระองคเจาจุ

มภฏ- V

พงษับริพัตรแห่งราชสกุลบริพัดรจะขึ้นครองราชย์แทน นอกจากนื่ สถานทูตรายงาน


ต่ออีกว่า ปรีดื พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์ ได้แสดงความ
สนิทสนมกับราชสกุลอื่นที่มีโอกาสสืบสันตดีวงค์ในลำดับลัดไป เช่น การที่เขาได้
เดินทางไปพบพระองค์เจ้าจุมภฎฯ และเคยไปเที่ยวกับพระองค์เจ้าภาณุพันธุฯ แห่ง
ราชสกุลยุคลด้วย*'


A Memorandum on a Certain Aspect of the Siamese Polities for His Majesty
1 11
'

The King, 20 June 1947 ," ไน สุภสวัสทีวงฅ์ณึท ( 2543 , 547-49).


2
NAHA, RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7251 , Yost to Secretary of
(J

State, 24 November 1945 *

36
จากดันคิภาพคู่ความขัดแย้*

ในทลาต่อมาเมื่อพระบาทส'มเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลนิวัตพระนครใน
เดีอนธันวาคม 2488 แล้ว ความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับกลุ่มรอยัลลิสต์กมิไค้
ลบเลือนใป แต่กลับยิ่งปริร้าวมากขึ้น สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่า ตั้งแต่เดีอน
พฤษภาคมถึงต้นมิถุนายน 2489 เกิดความเหินห่างระหว่างพระมหากษัตริย์กับปริดี
พนมยงค์ เมื่องจาทเกิดข่าวลือภายในราชสำนักโดยพระราชวงค์บางพระองค์และพรรค
ประชาชิปัตย์ ทูตสหรัฐฯ ได้ษันทืกถึงบรรยากาศเย็นชาในช่วงเวลาดังกล่าวที่เขาได้รับ
จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระราชชนนิ
,
เมื่อเขาเอ่ยชื่อปริดี
พนมยงค์ ต่อหน้าพระพักตร์ รายงานของสถานทูตฯ ได้วิเคราะห์เบื้องหลังของ
บรรยากาศดังกล่าวว่า พระราชวงค์บางพระองค์และพรรคประชาธิป้ตย์พยายามใช้พระ
มหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในทารแบ่งแยกระหว่างคณะราษฎรกับกลุ่มรอยัลลืสต์เพอ
ทำการต่อต้านรัฐบาลปรีดี ในรายงานได้แสดงความหวังในแง่ดีว่า ปัญหาความเย็นชา
และความขัดแย้งระหว่างราชสำนักและรัฐบาลจะทุเลาลงไต้เมื่อพระองค์ทรงเสด็จต่าง
ประเทศแล้ว เต( ปัญหาดังกล่าวกลับมิใด้ทุเลาลง ในทางตรงกันข้าม ความขัดแย้ง
กลับยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลสวรรคต
เนืองจากถูกยิงด้วยพระแสงปีนอย่างมีเงื่อนงำในเช้าวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เหตุการณ์
เกิดขึ้นไม่กี่วันก่อนพระองค์จะเสด็จกลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์ การสวรรคตไต้กลาย
""

21
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Yost to Secretary of
State, 6 June 1946.
ทันทืที่พระบาทสมเด็ซิพระเจ้าอยู่หัวอานันทนหิคลเสด็จสวรรคต รัฐบาลปร็ดีได้เสนอไห้สมเด็จ
พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าท้าภูมิพลอดุลยเดช สืบสันตต็วงค์โดยรัฐสภามีมคเป็นเอกดันท้ แตดายเหตุ
I รเค์

ที่พระองค์ยังไม่บรรลุนิดภาวะ รัฐสภาจึงได้ดั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราวคือ พระ


สุธรรมวินิจดัย (ชม เย้กเกียรติ ) พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี วณิคพนธุ) และนายสงวน จฑะเตมีย้
(ประเสาฐ 2517, 535, 543) การที่รัฐบาลแต่งดั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สร้างความไม่
พอใจให้กับราชสำนัก ณี่องจากราชสำนักต้องการมีส่วนในการขัดการแต่งดั้งผู้สำเร็จราชการด้วย
ตนเอง ( NAHA, HG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Yost to Secretary
of State, 11 June 1946) ต่อมาเกิดกาท]ระนิประนอมกันระหว่างรัฐบาลปรีต็กับราชสำนักด้วย
การแต่งดั้งคณะผู้สำเร็จราชการจำนวน 2 คน ในระหว่างนั้น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสดีจกกับ
มาไทยและมีพระราชประสงค์จะเป็นคฌะผู้สำเร็จราชการต้วย ( NAHA, RG 59 Central Decimal
-
File 1945 1949 Box 7250, Stanton to Secretary of State, “ Fortnightly Summary of
Political Event in Siam for the Period 16-31 August 1946") แต่สุดท้ายราชสำนักได้เสนอ
ชื่อกรมขนชัยนาทนเรนทรเป็นตัวแทน สวนคนที่สองคือ พระยามานวราชเสวิ (ปลอด วิเชียร ณ

37
ขุนลึก ลัก 'ดืนา และพญาร:นทรี
'

เป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองสำคัญที่ทำใหัแรีดี พนมยงคั และกลุ่ม“แองเขาหมดอำนาจ


ลงอย่างรวดเร็ว และเหตุการณ์ดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้กลุ่มจอมพล ป. กลับมามีอำนาจ
ทางการเมืองอีกครั้ง และยังเป็นโอกาสชันดียิ่ง,ปองกลุ่มรอยัลลิสต์ที่ใช้ประเด็นดังกล่าว
เป็นหนทางในการกลับมารอำนาจทางการเมืองด้วย สกาพการณ์เช่นนนำ ไปสู'่ความ 1
1

ปืนป่วนทางการเมืองอย่างรุนแรงและยาวนานกว่าทศวรรษ
ไม่นานหลังการสวรรคต รัฐบาลปรีดีได้แถลงต่อสาธารณชนว่าพระบาทสมเด็จ
พระเช้าอยู่หัวทรงสวรรคตจากอุบัติเหตุ จากนั้นรัฐบาลได้สั่งให้คณะแพทย์และตำรวจ
เช้าขันสูตรพลิกศพ แต่กรมขุนขัยนาทนเรนทรผู้ทรงเป็นพระประยูรญาดี'รั้นผู้ใหญ่ที่
สนิทสนมคับราชสกุลมห้ดล และต่อนาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์
ไม่อนฌาตให้คณะแพทย์และตำรวจของรัฐบาลเช้าทำหน้าที่นั้น จากไฒปรีดึไต้แสดง
จ V
23

ความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตริ อย่างไรก็ตาม รัฐสกายัง


คงเลือกเขากลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในวันที่ It มืกุนายน 2489 การกลับมา
สู'่ อำนาจของปรีดีครั้งนี้ม.จ. ศุภสวัสดิ้ฯ พระราชวงศ์เพียงพระองค์เดียวที่เคยเป็น
1

ตัวแทนในการเจรจากับปรีดีในการปลดปล่อยกลุ่มรอยัลลิสต์ภายหลังสงครามและมี
ความเห็นไจปริคที่ต้องเผชิญหน้ากับปืญหาที่ไม่คาดดีด ทรงบันทึกความทรงจำถึง
.
พองหลังความปืนป่วนว่า พระองศ์เช้าธานีนิวัต ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช และพรรค
ประชาธิปัตย์ ได้ร่วมมือกันปล่อยข่าวลือโจมดีว่าปริติปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์
(ศุภสวัสดิ้วงศ์สนิท 2543, 550, 558 ) การปล่อยข่าวลังกล่าวทำให้สาธารณชนที่ไม่มี
โอกาสรับเช้อเท็จจริงมีความสงสัยในรัฐบาลปริดีมากยิ่งขน
ในช่วงเวลาเดียวกัน สถานทูตอังกฤษรายงานว่า พระราชวงศ์บางพระองศ์และ
กลุ่มรอยัลลิสตีใช้สถานทูตสหรัฐฯ และอังกฤษเป็นเป้าหมายของการปล่อยข่าวลือโจมดี
รัฐบาลปรีดี ภายหลังการสวรรคตได้เพียงสองวัน ทูตอังกฤษรายงานว่าเมื่อวันที่ ท
มีกุนายน 2489 พระองศ์เจ้าธานีนิวัตได้มาพบทูตอังกฤษอย่างรีบเร่งด้วยรถยนต์ของ
ทหารอังกฤษเพื่อแจ้งแก่เขาว่า พระองศ์ทรงเชื่อว่าพระนาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันท-
มหิดลถูกลอบปลงพระชนม์ ทรงแจ้งต่อเขาว่าได้ทรงเห็นพระบรมศพด้วยพระองศ์เอง
แต่รัฐบาลปรีดีกลับประกาศว่าการสวรรคตเป็นอุบัติเหตุ ทรงแสดงความกังวลว่า

สงขลา ) ตัวแทนขสงฝ่ายรัฐบาล ( NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250.


Yost to Secretary of State , 18 June 1946) ,
23 A Memorandum on a Certain Aspect

of the Siamese Politics for His Majesty
The King, 20 June 1947,” ไน ศกสวัสดึ่วงศ์สนิท ( 2543, 550).

38
รร£ f {fir giipatei พ *-
7 r

V:.;:

BES - พ' ?
'
TTH
m

:;;lสร 2^
£
Hbfe|
Ip&pifw
.3"
. ะ. ¥
ติ
J

i
*. r
. รยแจฺเส&‘:i
ะ :
SfciSSi a :

BฬBf1$ 13
หืะ

; j
ร.:: จ "
-

;: ๆ
1
ะ,

.:
- 1m
ร :. :ชิธระ
I ;

'
•ะ

f -i
; . -- \ m ฃีเ - ^ :r •

=
1 "

£ ®;

I
M1 F I*-
....
y

mL - sg&n f T, Jjf .
นิ!
fo
K. „
r.:

T? -
Si If
*a
p
Sir Jr :
น ๚t.
'

*:a
ฝ fell
53* Tr’i
”1 r
_ j
. ะ;
BSF

1

.ำ

J ะ:*
ะ-นTนิ
it
_... * .

4 น่

๏ฒ
T


; V
.ะซี 1

B3&2. tf

^


ๆ Mb
ะ' '
'

ร' จ้ ะ
, |V

&& -
teSJjL

ซีร?ร ,
.. . ะ!ะ'.
" ฟ่ 1

ะ -m ะ ะ

m

t
V T “ "iV
i พร& ะ; .-#ร r
iTTfr I l '

ท:#;!
-
Ifjt l rri

^ -
: !:
*
- - =. ะ
: .: .
I
4g
1๒
fc
- m
i ‘ Fs - 11
ะ.ะ :: ะ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ขวา ) เสดึจขนครองราชย์เมอวันที่ 2 มีนาคม 2478


(ปืปฏิทินใหม่ ) ขฒะชีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคดด้วยพระแสงปินอยางมี
1

แอนงาเมอวนท 9 มธุนายน 2489 พระอนุชาของพระองคคอพระบาทสมเดจพระเจิ


'ร่ 0/ ๙ai ๘ I
าอยูหวคูมพล
ay

อดลยเดช
จ (ซ้าย ) จึงไต้เสดจขึ๋นฅรองราชย์ด่อมา พระองค์เจ้าธานีน็วัฅ ( กลาง) มีบทบาทส์าคัญไน
ฐานะพระอาจารย์ที่ถวายการอบรมตระเดรียมยูวกษัตรีย์ทั้งสองพระองค์เพื่อขนเป็นพระมหากษตรย๙ V d
ขนศึก ศ้กดนา และพญาอินทา

พระมหากษตรยพร
^ ๙
ะองค์ใหม่จะไม่ได้ครองราชย์ เนื่องจากทรงเชื่อว่านักการเมืองที่
ครองอำนาจอยู่จะสถาปนาสาธารณรัฐขน จงทรงเรียกร้อง่ให้กองทัพอังกฤษที่กำลังจะ
ถอนกำลังออกจากไทยให้ประจำการอยู่ในประเทศต่อไป ( กนต์ธีร์ 2537 , 331 )
อย่างไรก็ดี สถานทูตอังกฤษบันทีกว่า สถานทูตฯไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับเรื่องลึกลับ
ซับซ้อนภายในราชสำนักไทย และทูตอังกฤษได้กล่าวเดือนพระองค์เจ้าธานืนิวัตว่า
พระองค์ไม่ควรปล่อยให้อารมณ์ครอบงำเหนือเหตุผล ทูตอังกฤษมีความเห็นว่า
พระองค์ทรงมาจากฝ่ายที่ต้องการให้เกิดความรุนแรงชันในสังคมไทย (เรื่องเดียวกัน,
332) 24 ในขณะเดียวกัน โยสฅ์ อุปทูตสหรัฐฯ ได้รายงานถึงช่วงเวลานั้นว่า ม.ร.ว. เสนึย์
ปราโมช ได้ส่งภรรยาและหลานของเขามายังสถานทูตฯ พร้อมข้อกล่าวทาว่าปรีดีมี 1

ความเกี่ยวซ้องกับการสวรรคต แต่เขาไม่เชื่อข่าวดังกล่าว ’5 อย่างไรก็ตาม โยสฅ์เห็น


ว่ามีความเป็นไปได้ที่กองทัพอังกฤษจะเข้าแทรกแซงหากรัฐบาลปรีดีไม่สามารถควบคุม
สถานการณ์ไต้"'’ นอกจากนี้ โยสตได้รายงานสถานการณ์การเมืองในราชสำนักภาย
หลังการสวรรคตต่อไปอีกว่า กลุ่มพระราชวงศ์หลายตระกูลเกิดความทะเยอทะยาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มรอยัลลิสฅ์ที่นำโดยราชสกุลสวัสดีวัตน อันมีสมเด็จพระนางเจ้า
รำไพพรรณ และม.จ. ศุภสวัสส์ฯ เป็นแกนนำ ทรงมีพระราชประสงค์ให้การสนับสนุน
ราชสกุลจักรพงษ์ให้ชันมีอำนาจเหนือราชสำนักแทน27
เอ็ดวิน สแตนตัน เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เห็นว่าการสวรรคตของพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอาง่เนทมห็ดลเป็นประห'นงเงาดำทะมึนที่บดบังทุกสิ่งทุกอย่าง เกิด
ข่าวลือสกปรกที่พยายามเชื่อมโยงคดีดังกล่าวไปยัง!เรีดีและพวกให้มีความเกี่ยวข้องกับ
การสวรรคต (Stanton 1956, 169) ต่อมาเขาไต้เข้าพบ'ปรีดี นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

24 ทั้ง,น “พระองค์!จ้าไทย’, ที่เอกสารอังกฤษรายงานนั้น ปรีดี พนมยงค์ เห็นว่าหมายถึง พระองค์


เชัาธานีนิวัต (ปรืดี 2544, 158-68).
25 NARA
, RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7250, Yost to secretary of
State , “ Footnotes on the King's Death, ” 14 June 1946 ; “A Memorandum on a certain
aspect of the Siamese Politics for His Majesty The King, 20 June 1947 , ” ไน ศุภสวัสดิ
วงฅ์eเน็ท ( 2543, 550). 1
20 NARA RG
59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 7250, Yost to Secretary of
]
,
State, 11 June 1946.
~ 7 NARA , RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7250 , Yost to Secretary of

State, 26 June 1946. โปรดดูเพิ่มเตmชงอรรสที่ 7

40
จาทสันตํภาพคู่ควาหัดน.ย้ร่เ

และไต้บันทึกการพบครังนั้นว่า ปริดีอยู่ในอารมณ์โกรธเนื่องจากถูกกล่าวหาจากพระ
ราชวงศ์บางพระองศ์และพรรคประชาธิปืดย์ โดยเฉพาะอย่างยงจากม.ร.ว. เสนย์ ปราโมช
ซึ่งจะทำ’ไทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์
พระองศ์ใหม่ และพระราชชนนีไม่ทรงโปรดเขา ปรีดีแจ้งทูตสหรัฐฯ ต่อไปอีกว่า ความ
สัมพันธ์ระหว่าง เขากับพระราชชนนีนั้นอยู่ในระดับไม่ดี และเขาวิตกกังวลว่าความ
สัมพันธ์ที่ยิ่าแย่นึจะเกิดกับพระมหากษัตริย์พระองศ์ใหม่ด้วย เน็องจากเขากำลังถูก
ใส่ร้ายดุจเดียวกับทเคยเกิดขึ้นในสมัยพระมหากษัตริย์ในพระบรมโกศ -8
ข่าวลือเกี่ยวกับการที่พระบาทสน เด็จพระเจ้า อยู่หัวอานันทมหิดสถูกลอบ
ปลงพระชนม์ซึ่ง แพร่สะพัดไปไนสังคมก่อให้เกิดกระ แสต่อด้านปรืดีอย่างรุนแรง
นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันและอดีตโอเอสเอสคนหนึ่งได้บันทึกถึงบทบาทของ
หนังสือพิมพ์ท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองในไทยขณะนั้นว่า หนังสือพิมพ์ไทย
จำนวน 35 ฉบับ มึเพิยงไม่กี่ฉบับเท่านั้นที่รายงานข่าวอย่างเที่ยงตรง นอกนั้นไต้รับ
การอุดหนุน'ทกกลุ่มการเมืองที่เป็นปรปักษ์ต่อกัน'ตั้งสิ้น เช่น กลุ่มรอยัลสืสฅ์ รฐบาล
^

และกลุ่มทหาร การรายงานข่าวขณะนั้นดุเดึอดและมุ่งทำลายล้างศัตรูทางการเมืองโดย
ไม่คำนึงถึงจริยธรรมใดๆทั้งสิ้น ( MacDonald 1950, 57 ) และเมี่อรัฐบาลปรีดี
ไม่สามารถสร้างความกระจ่างให้กับสาธารณชนก็ทำไห้หนังสือพิมพ์ที่ได้รับการ
สนับสนุนจากกลุ่มการเมืองต่าง ๆ เคลื่อนไหวสร้างข่าวที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐบาลมาก
ยิ่งขึ้น เพึยงไม่กี่วันภายหลังการสวรรคต เริ่มเทิดข่าวลือในสังคมว่าพระมหากษตรย ^ ๙ *=*

ทรงถูกปลงพระชนม์ -9 แม้ในเวลาต่อมารัฐบาลปรีดีจะได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน

2
MARA , RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 7250, Stanton to Secretary
*
of State , “ Death of the King of Siam , " 13 June 1946 . ข้อศวามที่สแตนดัน ทูคสหร้ฐฯ
รายงานการสนทนากันปรีด พนมยงกัใม่กี่วันหลังการสวรรคตมีว่า \ . he [ปรีด พนมยงคํ] was
1

violently angry at the accusation of foul play leveled againt himself and most
bitter at the manner in which he alleged that the Royal Family and the Opposition,
particularly Seni Pramoj , had prejudiced the King and especially the Princess
Morther againt him . . . his relations with the Princess Mother were hopelessly bad
and he feared greatly that his relations with the new King would be poisoned in
the same manner as had his relations with King Ananda. ”
29
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Yost to Secretary’ of
State, 18 June 1946 ; MacDonald (1950, 57-58 ) ; ประปีวบ ( 2543, 234), ทั้งนี้หนังสือพมพ
รทรธรรม ของชื้น โรจนวิภาด เป็นหนังสือพมพ์ฉบับแรกที่โจมต็รัฐบาลกรฌึสืวรรคด

41
ชุนดึก ศักดินา และพญาอินทรี

กรณสวรรคต'ขน (สุชน 2517, 39-40) 311 แต่การสอบสวนเป๋นไปด้วยความยากลำบาก


เมื่อเวลาผ่านไปนานวันเข้า สาธารณชนก็ยิ่งเกิดความเคลือบแคลงสงสัย แม้ปรีดจะ
สามารถรักษาดำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ท่ามกลางวิกฤตการณ์หลังการสวรรคต
แต่ประชาชนทั่วไปยังคงเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ถูกลอบปลงพระชนม์ 31
พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ เช่น พระองศ์เจ้าธานีนิวัต พระองศ์เจ้า
ชุมภฎฯ พระองศ์เจ้าภาณุพันธุฯ ได้ร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการสืบสวนกรณี
สวรรคต ไคยบางพระองศ์มีความไม่พอไจคณะราษฎรเป็นทุนเดิม ดังที่ซีไอเอรายงานว่า
พระองศ์เจ้าภาณุพันธุฯ ทรงเป็นหนึ่งในผู้ที่มีโอกาสขึ้นครองราชย์เป็นลำดับที่ 3 ต่อจาก
พระองศ์เจ้าจุมภฎฯ ทรงไม่พอพระทัยปรีดี เพราะปรีดีไม่ได้ให้การสนับสนุนการค้าส่วน
พระองศ์ และพระองศ์ทรงกล่าวว่าทรงมีพระประสงค์ต้องการเล่นการเมือง3;! จากนั้น
พระองศ์ทรงให้การสนับสนุนพรรคประชาธิบ๊ตย์และใช้หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือต่อล้
ทางการเมือง ไดยทรงว่าจ้างให้บรรณาธการใช้หนังสือพิมพ์ทำลายล้างนักการเมืองฝ่าย
คณะราษฎรด้วยการใจมดีว่าคณะราษฎรเป็นศัตรูของกลุ่มรอยัลลิสต์เนึ่องจากไม่พอ
พระทัยที่คณะราษฎรโค่นล้มระบอบเก่าลง อีกทั้งทรงเขียนบทควานหลายขึ้นด้วย
ตนเองโดยใช้นามปากกาว่า “ จันทวาทิตย์ ” (MacDonald 1950, 58) พระองศ์ทรง
เคยกล่าวกับนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันว่า กลุ ม
่ รอยั ล สิ ส ต์ ม ค
ี วามภู ม ใ
ิ จที
1
่ใต้โจมตี
รัฐบาลปรีดีและพวก (ibid , 59) 33.
30
คณะกรรมการฯ ชุดดังกล์าวมีประธานศาลฎกาเป็นประธาน ประกอบด้วยตัวแทนจาก 4 กลุ่น
คอ กลุ่มผู้พิพากษาและอัยการ ศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา และกรมอัยการ กลุ่มผู้แทนรัฐสภาจาก
ประธานพฤฒสภาและสภาผู้แทนฯ กลุ่มพระราชวงส์ เช่น พระองค์เจ้าจุฆภฎฯ พระองค์เจ้าภาพุพันธ์ฯ
๙ ร
และพระองฅเจาธานนวต
/ ค้เ
และกลุ่มสดท้ายมาปิากตัวแทน1นอง 3 เหล่าทพ ไดยคณะกรรมการชุดนี้
แร

ถูกดั้งขนเมื่อวันที่ 1 S มธุนาขน 2489


-
31 NARA, CIA Records Search Tool ( CREST ) CIA- RDP78 01617A005800020009- 4,
,
4 July 1946, “ Political Crisis Subside . "
32
NAHA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA- HDP82-00457R000100410004-5,
13 November 1946, “ Internal Politics/
33
ต่อนาพระองค์เจ้าภาพุพันธุฯ ทรงขัดดั้งบริษัทสหอุปกรณ์การพิมพ์ชันและทรงเป็นเจ้าของ
หนังรอพิมพ์หลายฉบับ เช่น ( กซรติศักดิ และ ประชาธิปไตย อีก,ดั้งทรงมีนักหนังสือพิมพ์กายใต้การ
อุปณjn เช่น ร ท . สัมพันธ์ ขันธชานะ ( “ สาเนียง ‘ดาหมอหลอ , ขันธชวนะ /, ใน ราเชนท!
,

[ม.ป.ป., 260-62]) . สำเนียง ขันธชวนะ หรือ "ตาหมอหลอ " จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4

42
จากสันดภาพสู่ความซัดแย้ง

นับแต่การสวรรคตของพระบาทฒเด็จพระเจาอยูห้วอานันทมหิดล รัฐบาลปรีดี
ไต้ฐญเสียความเชื่อมั่นและได้รับความไม่พอใจจากสาธารณชน ขาราชการ และทหาร
อึกทั้งถูกโจมดีจากหนังสือพิมพ์อย่างหนักหน่วงจนทำให้รัฐบาลเกิดควานวิตกถึงปัญหา
ความมั่นคงทางการเมือง ตอมารัฐบาลแต่งตั้ง พล .อ. อดุล อดุลเดชจรัส อดตอชิบดี
กรมดำรวจและเสรึไทยให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกในกลางเดือนมือุนาขน 2489 เพื่อ
ควบคุมสถานการณ์และป้องกันการรัฐประหารที่อาจจะเกิดขี้น;u ในปลาบเดือนเดียวกัน
รัฐบาลจบคุมนักการเมืองและบักหนังสือพิมพ์กลุ่มรอยัลลิสตหลายคนที่ได้ปล่อยข่าวลือ
โจมดีรัฐบาล ’" สถานทดสหรัฐฯ รายงานว่า เมื่อรัฐบาลประกาศภาวะอุกเฉีนเมื่อวันที่

เคยเป็นครูประชาบาลที่จังหวัดราขบุร กายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเขาได้เข้าสิ่วงการหนังรอพิมพ์
เคยดำรงตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เกยรฅศกด เขามืชี่อเสียงขนมาจากการเขียนข่าวคดี
สวรรคต ในช่วงปี 2490 เทียรฅศักดินยอคจำหน่ายสิมากจากข่าวคดึสวรรคต ส่อมาหนังสือพิมพ์
บปีอุเหาทางการฝ็นไนช่วงปื 2498 เขา จึงไปร่วมงานทบหนั
1 ,
งสือพิมพ์ ข่าวด์วน จนถึงปี 2500 เขาย้าย
'

โปทำงานกับ ม.ร.ว. คืกฤทธ ปราโมช ที่ สัย 7มริฐ นักหนังสือพิมพ์อีกคนภายใต้การอุปถัมภ์ของ


พระองค์เข้ากาญพันธุฯ คือ ไสา พรหมมิ ( อนุสรรเโเนงานฌาปนกิจศพ นายไสว พรหนม
2526, 51) . ไสว พรหมม็ (2459-2525 ) เคยทำทนทีหนั ่ งสือพีม'พำ/?ยรดสักด้นละประขารป\1ฅย
,

โขันามปากกาว่า ‘ อานนท์ , เป็นคอล้มนิสต์ที่เซียนคอลัมน์ " การเมืองนอทเวดี,, และเคยเขียน


บทความวิจารณ์รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราฆอย่างหนักในกรณีซอรถกังฌรนกิ้น โนระหว่างที่เขา
รวมงานกับ เทียรฅิศทดิ้นั้น หนังสือพิมพ์นิบับดังกล่าวถูกปีดณื่องจากไปโจมดีรัฐบาลกรณีสวรรคต
จากนนพระองคเจาภาถเพันธุฯ ได้'ทรง'ซื้อกิจการหนังสือพิมพ์ ประชาธิปไฅย เพื่อให้เขาเขียนข่าวโจมดี
๙ 1/ '
1

ปรลึ พนมยงค์ ในกรณีสวรรคตและการสถาปนามหาชนรัฐ


34
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Yosl to Secretary of
State, 28 June 1946.
.
35 NARA RG 59 Central
Decimal File 1945- 1949 Box 7250, Stanton to Secretary
of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period 31 July-
15 August 1946" ; สุวิมล (2526, 30) ; เซียบ (2501 , 478-86) ; นักการเมองและนักหนังสือพิมพ์
ที่ถูกจบกุบ เช่น เสียง เชยกาล
, ส.ส. โชติ คุ้มพันธุ , ส.ส. ทองนันท์ วงค์สังข์ ส. ส. สกลนคร ประยูร
1

อภัยวงศ, ส.ส. พิบูลสงคราม แดง างส์สุวรรณ, ผู้สมัครส.ส. สงขลา พรรคประชาธปัฅย์ เป็นต้น ส่วน
บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ของ “ กลุ่มรอยัลลิสต์ ,, เช่น ดำริภ์ ปัทมะศึริ บรรณาธิการประชาธปไตซ ,
ยอดชรรม บุญบันดาล บ ร ร ณ า ธ ิ ก า ร ส ม ั ย เรืองใกร บรรณาธิการสหภาพ , และร.ท. ล้มพันธ์ ขันช -
,

าทนะ บรรณาธิการ เกยรฅิสักด ( NARA, CIA Records Search Tool [CREST], CIA RDP78- -
-
01617A005800020001 2, 1 April 1946- 29 June 1946 , "Premier Move to Restrain
Army ” ) ; สัมพันธ์ (2493).

43
ชุนศึก ศักดีนา และพญาอินทรื

1 กรกฎาคม และมีการเชนเชอร์หนังสือพิมพ์นั้น ไม่ได้ช่วยให้ความปัน!!(วนทางการ


เมืองที่ถูกปลุกเร้าจากกลุ่มรอยัลลิสต์คลี่คลายลงไปได้เลย แต่กลับยิ่งทำให้สถานการณ์
ยํ่าแย่ลง เนองจากบุคคลบางกลุ่มยังคงเคลื่อนไหวเพื่อบ่อนทำลายรัฐบาลปรีดีโดยไม่
. .
คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ต่อมา ม ร.ว เสนึย์ ปราใมช ประกาศว่าเขาอาจจะถูก
รัฐบาลจับกุม เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์เคยได้รับการติดต่อจากบางกลุ่มในกองทัพ
ให้ต่อต้านรัฐบาล36
ต่อมารัฐบาลปรีดีได้ขับกุมสมาชิกแกนน่าของพรรคประชาธิป๋ตย์หลายคน เช่น
ควง อภัยวงต์ ม.ร.ว. เสนย์ ปราโมช และเลียง ไชยกาล รวมทั้งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์
ของกลุ่มรอยัลลิสต์อีกสองคน ด้วยข้อกล่าวหาร่วมกันขยายข่าวอันเปีนเท็จ ปรีดได้
แจ้งภับสแตนตัน ทูดสหรัฐฯในขณะนั้นว่า หากข่าวลีอเกี่ยวกับการสวรรคตไม่จบลง
เร็ววันนั้ รัฐบาลของเขาจะเกิดปัญหายุ่งยากทางการเมือง37 สแตนตันรายงานต่อไปว่า
ในการสนทนาครั้งนี้ ปรีดีอยู่ในอารมณ์โกรธและบอกกับเขาว่าข่าวลือเหล่านี้เกิดชัน
จากความร่วมมือระหว่างพรรคประชาธิป๋ตย์กับกลุ่มรอยัลลิสต์ที่หวังสร้างความเคสีอบ
แคลงใจต่อตัวเขาให้กับสาธารณชน โดยรัฐบาลปรีดืได้ตอบโต้ด้วยการเชนเซอร์
หนังสือพิมพ์เพื่อต่อด้านการปล่อยข่าวลือดังกล่าว 38

หลังการสวรรคตของพระมหากษัตริย์เพียงหนึ่งเดือน สถานทูตสหรัฐฯ รายงาน


ว่ามีความเคลื่อนไหวของกลุ่มรอยัลลิสต์ที่นำโดยพระองค์เจ้าจุมภฎฯ ผู้ทรงเป็นหนึ่งใน
กรรมการสืบสวนการสวรรคตและมีสิทธิในการชันครองราชย์ลำดับที่ 2 ต่อจากราชสกุล
มหิดล โดยทรงไห้การสนับสนุนการแจกอากุธปืนคาร์บินและกระสุนเพื่อเตรียมการ
รัฐประหารล้มรัฐบาลปรีดีที่ยังไม่ยอมให้ความกระจ่างถึงสาเหตุการสวรรคต ทั้งนี้กลุ่ม
ดังกล่าวต้องการผลักดันให้พระองค์เจ้าจุมภฎฯ ชันครองราชย์แทน พระองค์ทรงต้องการ
หมุนการเมืองไทยให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยทรงมีแผนเปีดโอกาส

, NARA , RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Yost to Secretary of


;i p

State, 3 July 1946 . ; NARA, RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7251 , “Forth-
nigtly Summary of Political Events of Siam for the Period ไ - ไ 5 April 194ft . ”
37 NARA RG
, 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7250, Stanton to Secretary
of State, 6 July 1946 .
3* NARA RG
, 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7250, Stanton to Secretary
of State, 8 July 1946 ,

44
จากดันดีภาพส่ความชัสนย้ป็

I,ท้อังกฤบกลับผามีอิทธิพลต่อไทยอีกครั้ง นอกจากนี้ ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรค


ประชาธิป๋ตย์ ก็มีท่าทีใหัการif นับสนุนการเตรียมรัฐประหารของพระองศ์เจ้าจุมภฏ!
1
"
อย่างลับๆด้วย อย่างไรก็ตาม แผนการรัฐประหารดังกล่าวถูกระงับไป เนื่องจาก
รัฐบาลล่วงรู้ความเคลื่อนไหวและเตรียมการต่อต้านการรัฐประหารดังกล่าวแล้ว351
เมี่อการรณรงศ์เลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ 2489 เริ่มต้นขน พรรคประชา-
1

ชิปัดย่ใช้ประโยชน์จากการสวรรคตเป็นประเด็นในการโจมดีทางการเมือง โดยควงได้
ร่วมมือกับกลุ่มรอยัลลิสต้กส่าวหาว่าคณะราษฎรมึแด่ความผิดพลาด และปล่อยข่าว
โจมดีปรืดีว่าอยู่เนี้องหลังการสวรรคตผ่านการกระซิบและการเขียนข้อความสนเท่ห์
แจกจ่ายไปดามหน่วยงานราชการต่าง ๆ และบุคคลทั่วไป''0 รัฐบาลปรีดีพยายามแก้ไข
สถานการณ์โดยออกคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยสั่งการให้ผ'ู้ ว่าราชการขังหวัดชี้แจง
ข้อกล่าวหาจากพรรคประชาชิป๋ตย่ให้สาธารณชนทราบ ด้วยเหตุที่พรรคประชาธิปัตย์
ได้ใช้แผนการสกปรกไนการโจมตีรัฐบาล รัฐบาลจึงมองว่าพรรคประชาธิป้ตย์คือศัตรู
ทางการเมือง" ภายในพรรคประชาชิปัตย์เองก็เกิดความขัดแย้งระหว่างไถง สุวรรณหัต
กับพระขาศรีวิสารวาจา ทั้งคู่ต้องการลงสมัครรับเลึอกตั้งในเขตเดียวกัน พรรคประชา
ธิป๋ตย้ตัดสนใจให้ไถงถอนตัวจากการแข่งขันแต่ไถงปฏิเสธ ไม่นานหลังจากนั้นเขาถูก
-
ขว้างระเบิดระหว่างการหาเสียง ทำให้เขาเสียขาช้างหนึ่งไป ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์
ไต้ใช้รถหาเสียงกล่าวหาว่าปรีดีอยู่เนี้องหลังการขว้างระเบิดใส่ไถง เนื่องจากเหตุ
ดังกล่าวเกิดก่อนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพียงสองวัน แต่บางคนเห็นว่าคนที่ได้
ประโยชน์จากเหตุการณ์นี้คือพรรคประชาชิปัตย้นั่นเอง แม้รัฐบาลจะถูกโจมดีอย่าง
รุนแรงในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง แต่ผลการเลือกตั้งในเดือนสีงหาคม 2489
ปรากฏว่า แม้ว่าพรรคประชาชิป๋ตย์จะได้รับชัยชนะในเขตกรุงเทพฯ แด่พรรคที่
สนับสนุนรัฐบาลยังคงได้รับความนิยมจากประชาชนในเขตชนบท 42

* r NARA , RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7250 , Yost to Secretary of
State, 30 July 1946 .
4"
สุขิน ( 2517, 41 ) ; "A Memorandum on a Certain Aspect of the Siamese Politics
for His Majesty The King, 20 June 1947," ใน สุภสวสคึ๋วงส์สนิท ( 2543, 549 ).
; คู คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ,” 29 กรกฎาคม 2489 ใน ณรงค์
41 ทื่องเดยวกัน 561 -62 แส ร: “
1

( 2517, 53-58 ).
42 “A Memorandum on a Certain Aspect of the Siamese Politics for His Majesty
The King, 20 June 1947 , ” ใน สุภสวัสด รงค์สนิท ( 2543, 563-64).
'

45
ขุนศ๊ก สักคนา และพญาอินทรี

กระนั้นก็ตาม กลุ่มรอยัลลิสต์และพรรคประชาธิป๋ตย์ยังไม่ล้มเลิกความพยายาม
ไนการทำลายปริดและพวก โดยมีการส่งคนลักลอบบุกรุกเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง
เพื่อโจมดีรัฐบาลปริดีว่าบกพร่องที่ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยให้พระมหากษัตริย์
จนกระทั่งพระองค์ถูกปลงพระชนม์ 43 ตำรวจสันติบาลนายหนึ่งบันทึกว่า กลุ่มรอยัลลิสต์
ใช้กรณีสวรรคตโจมดีรัฐบาล โดยพวกเขาเริ่มจากประเด็นรัฐบาลถวายการอารักขาใม่
เพียงพอ ต่อมากลายเป็นการโซมดีปริดีว่าเป็นผู้บงทารให้เกิดการสวรรคด เป็นพวก
สาขารณรัฐ และเป็นคอมมิวนิสต์ (เฉียบ 2501, 451-52 ; Coast 1953, 35) แม้ปริดี
จะถูกโจมดีอย่างรุนแรง แต่ปรากฎว่าเขามิได้ปฏิเสธข้อกล่าวทาต่างๆที่เกิดขึ้น กลับ
ตัดสินใจลาออกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม โดยให้เหตุผลอย่างเป็นทางการว่า
เขามีปัญหาสุขภาพและต้องการพักผ่อน อย่างไรก็ตาม สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่า
สาเหตุที่แห้จริงคือความสัมพันธ์อันตึงเคริยดระหว่างปริดีกับพระมหากษัตริย์พระองค์
ใหม่และเหล่าพระราชวงคํ เนึ่องจากปรืดีได้ทราบว่าเกิดความร่วมมืออย่างลับๆภายใน
ราชล้า!วักภับกลุ่มรอยัลลิสต์และพรรคประชาธิปัตย์เพื่อมุ่งทำลายล้างเขา44 แม้ปรืดีจะ
ลาออกแล้ว โดยมี พล.ร.ต . ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ้ ผู้ที่ปรีดีไว้วางไจและสนับสนุน
ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนก็ตาม แต่มิได้หมายความว่าแผนการของกลุ่ม
รอยัลลิสต์ที่มุ่งทำลายล้างอำนาจทางการเมืองของปริดีและกลุ่มของเขาจะยุติลง

43 เรี่ยงเตยวกัน. ผลการสอบสวนในทางลับนั้น ม.จ. ศุภสวัสคฯทรงบันทึกว่า บุคคลที่บุกรุกเข้าไป


ในพระบรมมทาราชวังมีความใทล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตบและกลุ่มรอลัคลิสต์ โดยบุคคลดังกล่าว
นั้นเคยทำงานกับควง อภัยวงฅ์ ส่วนน้องสาว นองเขาหำงานกับ ม.ร.ว. คึกฤทธึ้ ปราโมช ดังนั้น การ
สร้างเหตุการณ์บุกรุกด้งกล่าว ม.จ. ศุภสวัสดฯ ทรงเห็นว่าพรรคประชาชิปัตย์ต้องการทำให้สา!ารฌชน
เข้าใจว่ารัฐบาลปรืดีนั้นชั่วช้า
44
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250 , Stanton to Secretary
of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for tile Period 16-31 August
1946” ; NAHA, CIA Records Search Tool [CREST], ClA-RDP82-OO457R0O0100410004-5,
13 November 1946, " Internal Politics. " รายงานฉไฌนั้ระบุว่า กอนที่พระบาทสมเด็ ^
พระเจ้าอยู่หัวคูมพลอตุลฃเดซ พระนหากษดริย์พระองค์ใหม่ ขะเสด็จออกจากไทยในกลางเดือน
สืงหาคม 2489 นั้น ม.จ . ศุภสวัสด้ฯ ทรงเป็นพระราชวงฅ์เพียงไม่กี่พระองค์ณี่หีนนปรด พนมยงฅ์
และทรงเรมไขปริศนาสาเทตุของการสวรรคค ( NARA, CIA Records Search Tool [CREST],
- -
C1A-KDP82 00457 R 001000520003 4 , 30 October 1947, "The Political Situation ” ; “ A
Memorandum on a Certain Aspect of the Siamese Politics for His Majesty The
King, 20 June 1947/ ใน กีภสวัสดวงฅ์ฒท (2543, 564) .

46
จากสันติภาพสู่ความจัดแยป็

การก่อคัวของ “พันธมิตรใหม่”
ฒื่อสงคราฆโลกครั้ง'ที่สองสี้นสุดลง รัฐบาลปรืดและกลุ่มของเขาต้องเผชญหน้า
- Ll ศึกสองต้าน ด้านหนึ่งคือ การกลับมาสู่ทารเมืองของกลุ่มรอยัลลิสต์ และอีกด้านคือ
'

ความไม่พอใจของกลุ่มจอมพลป. ที่ต้องการกอบกู้เกียรติภูมิกองทัพกลับคืน ผนวกกับ


การสวรรคตที่รัฐบาลปรีดืและกลุ่มของเขายังไม่สามารถสร้างความกระจ่างแก่สาธารณชน
ใต้ ยิ่งทำไห้รัฐบาลสูญเสียความชอบธรรมทางการเมือง ในขณะที่การสวรรคตได้กลาย
เป็นเสมือนสิ่งดึงดูดให้เกิด "พันธมิตรไหม่” ที่ไม่น่าเป็นไปได้ระหว่างกลุ่มรอยัลลิสต์
.
ทบกลุ่มจอมพล ป ที่ไต้ร่วมมือกันเพื่อโค่นล้มอำนาจทางการเมืองของปรดีและพวกลง
ะร
ทงนสถานทูตสทรรัฐฯได้บันทึกเรื่องราวในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม
2489 เพียงหนึ่งเดือนภายหลังการสวรรคต ม.ร.ว. เสป็ย์ ปราโมช ได้ไปพบกับจอมพลป.
และชักชวนไห้กลุ่มจอมพล ป, ร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์เพื่อขับไล่ปรืดืและพวกให้
พ่นไปจากอำนาจทางการเมือง
, จากนั้นกลุ่มรอยัลลิสต์ใต้ฉวยกรณีสวรรคตมาเป็น
"

ประเด็นโจมตีรัฐบาลเพื่อบั่นทอนความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐบาล
หลังจากทึกลุ่มรอยัทลิสตได้เริ่มต้นปล่อยข่าวลือโจมตีรัฐบาลปรึสีอย่างต่อเนื่อง
ทับแต่กลางปี 2489 เป็นต้นมา ทำให้สาธารณชนเสื่อมความนิยมในตัวปรีดีและรัฐบาล
อย่างมาก จนกระทั่งในปลายปีนั้นเองหนังสือพิมพ์ของกลุ่มรอยัลลิสฅ์ที่สนับสนุนพรรค
ประชาธิปัตย์ใค้รายงานข่าวลือที่เกิดขึ้นขณะนั้นว่า จอมพล ป. พิบูลสงครามจะทำการ
. .
รัฐประหารโดยให้ม ร.ว เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี สถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่า
ข่าวลือที่ปรากฎบนหน้าหนังสือพิมพ์ในช่วงนั้นสะท้อนให้เห็นว่า จอมพลป ยังคงได้ .
รับความนิยมจากกองทัพและสังคม จากนั้นหลวงวิจิตรวาทการ หนึ่งในสมาซิกกลุ่ม
จอมพลป. ' ด้ร่วมสร้างกระแสความต้องการผู'้ นำที่เข้มแข็งให้กับสาธารณชนเพื่อแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองซงยังไม่บรรเทาลง โดยหลวงวิจิตร-
วาทการเรียกร้องให้จอมพล ป . กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่จอมพลป. ได้
กล่าวปฏิเสธการกลับสู่การเมือง 4''

15
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7251 , “ Forthmgtly Summary
of Political Events of Siam for the Period 1-15 April 1948. ”
4(1
NARA , CIA Records Search Tool (CREST), CLA-RDP82-00457 R000200150009-8,
17 December 1946, “
Alleged Responsibility for Plot to Overthrow ” ; NAHA, CIA
Records Search Tool (CREST ), CIA- RDP82-00457 R000200470008 -4, 7 January 1947 ,

47
ชุนศึก ศกติ-นา และพญาอินทรึ

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2490 พล.ท. ประยูร ภมรมนตรี สมาชิกคนหนึ่งในกลุ่ม


.
จอมพลป ได้ชื้อหนังสือพิมพ์ศรีกรุง เพื่อใช้เป็นกระบอกเสียงเรียกร้องให้จอมพลป.
กลับสู,่การเมอง (สซวมนิกร, 23 กุมภาพันธ์ 2490) จากนั้นข่าวการพยายามกลับมา
.
สู่การเมืองไทยอีกครั้งของจอมพลป ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญทางการเมืองผ่าน
หนังสือพิมพ์หลายฉบับ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม เจฟฟรีษ ทอมลัน (Geoffrey
Thompson) ทูตอังกฤษขณะนั้น ได้เข้าพบ พล.ร.ต . ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสด นายก
รัฐมนตรี และปรีดี พนมยงฅ์ เขาแสดงความกังวลต่อกิจกรรมทางการเมืองของ
จอมพลป. อดีตอาชญากรสงคราม และแจ้งต่อรัฐบาลไทยว่าอังกฤษไม่ด้องการให้
จอมพล ป. กลับเข้าสู่การเมืองอีก (Mahmud 1998, 10) ความเคลอนไหวของกลุ่ม
จอมพล ป. ที่ต้องการผลักดันให้จอมพล ป. กลับสู่การเมืองสร้างความวิตกให้กับทูต
อังกฤษและสหรัฐฯ โดยทูตของทั้งสองมหาอำนาจได้ร่วมกันทำบันทึกช่วยจำเสนอต่อ
รัฐบาล พล.ร.ต. ถวัลย์ว่าหากจอมพล ป, กลับมาสู่การเมือง จะมีผลต่อความสัมพันธ์
ไทยกับสหรัฐฯ และอังกฤษ (ibid., 12-13)
ในขณะที่ยังมีความเห็นไม่ลงรอยบนหน้าหนังสือพิมพ์ต่อการกลับมาสู่การเมือง
ของจอมพลป. พิบูลสงคราม เช่น มหาชน และ สัจจา ที่โน้มเอียงไปทางสังคมนิยม
ลงบทความโจมดีความพยายามกลับมาสู่การเมืองของจอมพลป. ( มหาชน, 10 มีนาคม
2490 ; สัจจา , 17 มีนาคม 2490) ตรงกันข้ามกับควักรุง ชื้งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ไต้รับ
การสนับสนุนจากกลุ่มจอมพล ป. ที่ลงบทความสนับสนุนการกลับมาของจอมพล ป.
( ศรีกรุง , 15 มีนาคม 2490 ) ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2490 จอมพลป. ให้
สัมภาษณ์ขนาดยาวกับ ศรีกรุง ว่าเขาอาจจะกลับมาสู่การเมืองเพื่อกอบกู้ชื่อเสียง47
นอกจากนี้ เกียรติสักลี้ ซี่งเป็นหนังสือพิมพ์ของกลุ่มรอยัลลิสต์ก็ให้การสนับสบุนการ
กลับมาของจอมพล ป. และพรรคธรรมาธิป้ตย์ซึ่งมีนโยบายอนุรักษนิยมทางการเมือง
( เกียรติสักลี,้ 22 มีนาคม 2490) ** รวมถึง แนวหน้า ที่ใต้รายงาน'ข่าว วิเคราะหวาการ
1 '๙ I

"Attack on Government by Pro-Phi bun Element” ; NAHA, RG 59 Central Decimal


File 1945-1949 Box 7251 , “Forthnigtly Summary of Political Events of Siam for the
Period 1 -15 April 1948 . ”
. ; สุชิน ( 2517 , 18 ).
47 Ibid
4*
ในการกลับสู่การเมือง*ของจอนพล ป . พบูสสงครามน์น เขาได้ชัดตั้งพรรคธรรมาช็ป้ฅย์ (Conserv-
ative Party) ขึ้นในเตือนมีนาคม 2490 โดยมีนโยบายอบุรักษนิยม เช่น การประกาศนโยบาย

48
จากสันติภาพสู่ความขัคแย้ง
1

าลับสู่การเมือง,ของจอมพล ป. จะประสบความสำเร็จหากร่วมมือกับพรรคประชาธิป๋ตย์

{ แนวหน้า , 22 มีนาคม 2490) ทั้ง'นี้ฅลอดเดือนมีนาคมนั้นเอง หนังสือพิมพ์หลาน


ถบับเริ่มรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของนักการเมืองกลุ่มรอยัลลิสต์เข้าพบจอมพลป.
ลับๆอย่างต่อเนอง ( สมุทร 2507, 377)
ปลายเดือนมีนาคม 2490 ทูตอังกฤษได้รายงานกลับไปยังลอนดอนว่า จอมพลป.
อับลสงครามพยายามกลับสู่การเมืองอีกโดยมีนักการเมืองกลุ่มรอยัลลิสต์ เช่น ควง
อกัย-วงค้ หัวหน้าพรรคประชาชิป้ตย์ และทหารชั้นผู!้ หญ่หลายคนเข้าพบเสมอ และ
ควงได้แสดงท่าทีสนับสนูนจอมพล ป. อย่างชัดเจน ทูตอังกฤษแสดงความกังวลถึง
ทรกลับมาของจอมพลป. ว่าเขาจะปกครองไทยแบบเผด็จการและละฌดสหประชาชาติ
.
'

ละมีความเห็นสำทับว่า จอมพล ป. ควรยุติการเคลื่อนไหวทางการเมือง (กนต์ธีร์


2537, 330-31)
เมี่อจอมพล ป. แสดงความต้องการกลับสู่การเมือง พรรคสหชีพซึ่งมีอุดมการณ์
การเมืองโน้มเอียงไปทางลังคมนิยมและสนับสนุนปรึดื ได้แสดงท่าทืต่อต้านการกลับ
มาของจอมพล ป. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2490 ที่ท้องสนามหลวง โดยร่วมมือกับ
นักศึกษาฝ่ายซ้ายหลายคนในมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองอภิปรายโจมตี
จอมพล ป. ด้วยiJ ระเด็นการนำไทยเข้าสู่สงครามโลกครังที่สอง ซึ่งส่งผลให้ญี่ป่นยึด
ครองไทย ทำให้คนไทยสูญเสียเสรีภาพและถูกทหารญี่ปุ่น1ข่าดายจำนวนมาก พร้อม
ทั้งมีการเขียนรูปจอมพล ป.ไนชุดทหารยืนอยู่บนกองหัวกะโหลก การต่อต้านดังกล่าว
อยู่ในสายตาของจอมพลป.โดยเขาได้นั่งรถยนต์สังเกตการณ์รอบสนามหลวงที่มีตำรวจ
ถือปีนรักษาการณ์อยู่อย่างใกล้ชิด นอกจากนั้ ไนระหว่างการปราศรัยก็เกึดการวิวาท
ระหว่างผู้สนับสนูนและดัดค้านการกลับมาของจอมพลป . อีกด้วย 1'
,

เท๊ดทูนองค์พระมหากบัตริยและเชิดซพระบุญญทภรมิ ” ให้การสนับสนุนก๊ฑมนตั่ง ต่อด้าน
ออมม๊วนิสต้ และลึยกร้องไห้สร้างความฟ้าไจที่ถูกต้องต่อจฃมพลป , ไนช่วงสงครามโลกเสียใหม่ โดย
มีพระองค์เจาวรรณไวทยากรไห้การสนับสนนด้านการต่างประเทค มิจอมพลป . เป็นหัวหน้าพรรค ส์วน
แกนนำคือ ขุนนิรันดรชัย พล .ท , ประยูร ภมรมนm และสมาซกกลมทหารในคณะราษฎร ซึ่งขฌะนั้น
เป็นสมาชิกพฤฒสทาจำนวน 30-40 คน ( หลักการแคะนโยบาย‘บจง pjyมธรรมาธิป้ฅซ์ 2490 ; NARA,
RG 59 Central Decimal File 945-1949 Box 7250, Stanton to Secretary of State,
"Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period 1 -15 April 1947 ”) *

V)
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251 , “Forthnigtly Summary*
of Political Events of Siam for the Period 1- 15 April 1948 ” ; นคร(กร, 7 เมษายน 2490 ;

49
จุนดึก ศกลินา และพญาอนทรี

การล่มสลายทางการเมืองของกลุ่มปรืดี
การเคลื่อนไหวเพื่อหยั่งกระแสทางการเมืองในช่วงเดีอนเมษายนของจอมพล
ป. พิบูลสงครามนั้น ทำให้เขามีความมั่นไจว่าจะได้รัฆการตอนรับจากสาธารณชน กลุ่ม
และพรรคประชาธิป้ตย์มากขึ้น สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่าในวินที่ 16
รอยัลลิสต์
เมษายน 2490 มีข่าวว่า ควง อภัยวงศ์ และจอมพลป . ร่วมมีอกัน50 ในกลางเดือน
เมษายนนํนเอง สหรัฐฯ เห็นว่าการกลับมาลู'่การเมืองของจอมพล ป. ครั้งนใด้รับความ
ร่วมมีอและคุ้มกันจากควงและพรรคประชาธิปัตย์ และวิเคราะห์ต่อไปว่าฏีความเป็น
ไปได้ที่จอมพล ป. จะมอบหมายให้พรรคประชาธิปัตย์จดตั้งรัฐบาล เนื่องจากเป็นพรรค
การเมืองที่นิยมสหรัฐฯ โดยความร่วมมือด้งกล่าวจะให้ผลตอนแทนที่คุ้มค่ากับจอมพลป.
ทีจะได้กลับสู่การเมืองและเป็นโอกาสทองของพรรคประชๅธิป้ตย์ที่จะได้เป็นรัฐบาล
(Mahmud 1998, 17) ด้งนัน การต่อสู้ทางการเมืองในช่วงทศวรรษ 2490 จึงเป็นการ
ต่อสู้ระหว่างกลุ่มการเมืองสำคัญ 3 กลุ่ม คอ หนึ่ง กลุ่มปริดี ซึ่งมีพรรคสหช่พและ
พรรคแนวรัฐธรรมนูญเป็นฐานการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเพิ่งก้าวเข้ามามือำนาจ
ทางการเมืองหลังสงคราม สอง กลุ่มต่อต้านรัฐบาล เช่น กลุ่มรอยัลลิสต์ ซึ่งประกอบ
ด้วยพรรคประชา!] ป๋ตย์และอดีตนักโทษการเมือง และสาม กลุ่มจอมพลป. ซึ่งมีนาย
ทหารนอกประจำการระดับสูงหลายคนที่เคยมีอำนาจในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและ
ยังคงสามารถครองใจทหารในกองทัพไต้ 'i : ในเวลาต่อมาสองกลุ่มหลังได้ร่วมมือเป็น
พันธมิตฺรใหม่เพี่อโค่นล้มปรดีและกลุ่มของเขาให้พ้นไปจากการเมือง
ควรบันทีกด้วยว่า การสวรรคตทำให้สาธารณชนมีความเห็นอกเห็นใจในความ
สูญเรยของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์มาก และกลายเป็นโอกาสสำคัญที่กลุ่ม
รอยัลลิสต์สามารถใช้เงื่อนไขด้งกล่าวกลับมามีอำนาจ'ทางการเมืองได้ แต่ปัญหาสำคัญ

กิตติศักดี้ (2529, 38-39) ; ก?งเทพวารศัพท์, 9 เมษายน 2490. กลุ่มบุคคลที่ต่อต้านการกลับมา


ของขอมพลป. พับลสงครามนมฬากสมาชิกพรรคสกชิพ เช่น พร มะลิทอง ส่วนนักศึกษามหาวิทยาลัย
วิาทธรรมศาสตร่และการเมืองที่เข้าร่วมมีอันคับ รองเดช เสนาะ พานิชเจริญ และรวม วงศ์พันธ์
เป็นค้น
NARA, RG 59 Central Decimal File ใ 945 - 1949 Box 725 ใ , “ Forthnigtly Summary
of Political Events of Siam for the Period 1 - 15 April 1948,”
51
MA Memorandum on a certain aspect of the Siamese Politics for His Majesty
The King, 20 June 1947,” ใน ศุกสวัสด้วงศ์สนิท ( 2543, 542).

50
จาทดันดิภาพศู่ความขัคแยง

สำหรับพวกเขาคือไม่มีกำลังในการยึดอำนาจ ไนขณะที่กลุ่มจอฆพล ป. มีความต้องการ


กลับสู่อำนาจทางการเมืองเช่นกัน แต่ปราศจากข้ออ้างในการสร้างความชอบธรรมต่อ
สาธารณชน ทำให้ทั้งสองกลุ่มมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือเป็นพันธมิตรเพื่อกลับคืน
สู่การเมือง
แกนนำกลุ่มจอมพลป. ซึ่งมีพล.ท. ผิน ชุณหะวัณ และ น.อ. กาจ กาจสงคราม
นายทหารนอกราชการ ได้เริ่มเคลื่อนไหวอย่างลับๆเพื่อเตรียมก่อการรัฐประหาร พวก
เขาได้ติดต่อจอมพล ป. ให้รับรู้ถึงแผนการรัฐประหารและการประสานงานกับพรรค
ประชาธิป๋ตย์ ต่อมา ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้สัมภาษณ์
สนับสนุนจอมพลป. ให้กลับมามีอำนาจอีกครั้ง (บุณฑริกา 2534, 183) 52 จากนั้น
แผนการสั่นคลอนความชอบธรรมของรัฐบาล พล .ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ้ ซึ่ง
เป็นกลุ่มปรีดีก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เปีดอภิปรายทั่วไปเป็นเวลา 9 วัน
1

ระหว่าง 19-27 พฤษภาคม 2490 โดยมีการถ่ายทอดวิทยุกระจายเสียงให้สาธารณชน


รับฟ้ง ทำให้ความนิยมที่มีต่อรัฐบาล พล.ร.ต. ถวัลย์เสีอมลงมากยงชัน แม้รัฐบาล
ขณะนั้นจะได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความไม่ไว้วางใจจาก
สาธารณชนได้ (สุชิน 2517, 18 ) 53 ทั้งนั้ปลายเดือนพฤษภาคม 2490 ในรายงานของ
คณะกรรมการประสานงานการสงครามของกองทัพเรือสหรัฐ!, (The State War Navy - -
Coordinating Committee : SWNCC) ไต้รายงานสภาพการเมืองไทยขณะนั้นว่า
รัฐบาลของกลุ่มปริดียังไม่มีความมั่นคง เนื่องจากรัฐบาลไม่เพียงต้องเผชิญกับปัญหา
เศรษฐกิจหลังสงครามที่หนักหน่วงเท่านั้น แต่ยังต้องเผชิญกับปัญหาความแตกแยก

52 เลื่อน พงษ์ไสภเฆ ส.ส. พรรคประชาชิป้ตย์ เป็นผู้ประสานงานร่วมกับกลุ่มจอมพลป. ต่อมา


เมอควง อกัยวงศ์ ประกาศให้กา :เสนับส'นนปีอมพลป . พิบูลสงคราม และดำเนินการพิองร้องให้การ
เสอกดั้งปี 2489 เป็นโมฆะ เขาจึงถูกขรูฌู สืบแสง สมาชิกกลุ่มปริดีคบหน้าที่บริเวณสภาผู้แทน
ราบฎร ( สมุทร 2507, 379 ; พียรติคักสั, 13 พฤษภาคม 2490).
'1- ทั้งนื่ประเด็นการเป็ดอภิปรายไขมดีรัฐบาล พล.ร.ต. ถวัลย์ ชำรงนาวาสวัสดิ้ จากพรรค
ประชาชิป้ดย์ คือ 1 . รัฐบาลไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยไต้ มีใขรผู้ร้ายเพิ่มมากชัน 2. รัฐบาล
ไม่สามารถรักษานไยบายการเงินของชาติไต้ 3. รัฐบาลดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจผิคพลาต
4. รัฐบาลโม่อาจสร้างความน่าเซึ่อถือขากนานาชาติได้ 5. รัฐบาลแทรกแซงข้าราชการประจำ 6. รัฐบาล
ไม่สามารถรักษาฐานะของข้าราชทาร่ให้อยู่ไนระดับที่สมควรได้ 7. รัฐบาลไม่ปรับปรุงการศึกษาของ
ชาด ร, รัฐบาลไม่สามารถด้นหาข้อเถั๋ปีขริงกรฌีสวรรคตได้ (ลๅปช้รรภิปรพชรงพรรคปรZชาธิปัดย์
ในสุ/ศติเป้ดอภปรพทั่วไป!mi hi เพชองรัฐบาต ตามรัฐรรรรเนูญ มาตร? 34 2490) .

57
ขนคิก ศกดินา และพญาอีนทรี

ระหว่างกลุ่มจอมพล ป. กับกลุ่มปรีดี ซึ่งกลุ่มแรกมือำนาจมากกว่าและมีความพยายาม


จะขึ!
้เ เฟูอำนาจทหารให้กลับคืนมาอีกครั้ง14
ดังทีกล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ความรู้สกของสาอารณชนไทยภายหลังการสวรรคต
นั้นได้กลายเป็นเงื่อนไขที่ปูทางให้กับการกลับคืนสู่อำนาจทางการเมืองของกลุ่มรอยัลลิสต์
พวกเขาไม่เพียงร่วมมือกันปล่อยข่าวโจมตกลุ่มป!ดีเท่านั้น แด่ยังใช้พรรคประชาชิปัตย์
เพื่อต่อสู้ในทางการเมืองกับพรรคที่สนับสมุนรัฐบาลด้วย อีกทั้งพระราชวงฅ์ชั้นสูงอย่าง
พระองค์เข้าภาณุพันธุฯ ทรงประกาศสนับสมุนการตั้งพรรคแนวกษัตริย์นิยมเพิ่มขนอีก
( ชาติไทซ , 17 กรกฎาคม 2490) ' นอกจากนี้ กลุ่มรอยัลลิสต์ยังมีแผนทำลายคณะ
"

ราษฎร ใตยส่งบุคคลแต่งกายคล้ายตำรวจไปติดตามทหารเรือเพี่อไห้เกิดความ
หวาดระแวงกันในคณะราษฎร (ป!ดี 2517, (5J - E6J)
เมื่อความขัดแย้งระหว่างกลุ่มปรีดีกับกลุ่มจอมพล ป. แหลมคมมากขึ้นเรื่อย ๆ
ปรีดีและกลุ่มของเขากีดัดสินใจสนับสมุนให้พล.อ. อดุล อดุลเดชจรัส ผู้ษัฌูชาการ
ทหารบกขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนพล.ร.ต . ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ้ เพื่อแก้1ใข 1

สถานการณ์ที่รัฐบาลตกเป็นรองทางการเมือง และเตรียมการต่อต้านการรัฐประหารที่
อาจจะเกิดขึ้น ด้วยการเตรียมใช้มาตรการต่อต้านที่ตรงไปยังกลุ่มจอมพล ป. และกลุ่ม
-",
รอยัลลิสต์เป็นสำคัญ ต่อนารัฐบาลได้รับรายงานความเคลื่อนไหวว่ากลุ่มรอยัลลิสต์ที่
เคยเป็นอดีตนักโทษการเมืองที่ต่อต้านการปฏิวัติ 2475 ได้มาร่วมมือกับกลุ่มจอมพล ป.
( เฉียบ 2501, 511-12) จงไต้สั่งการให้ตำรวจออกหาข่าวการโค่นล้มรัฐบาลจากกลุ่ม
รอยัลลิสต์ เช่น การติดตามโชติ คุ้มพันธุ อดีตนักโทษการเมืองและ ส.ส. พรรค
ประชาชิปัดย์ เป็นต้น (นครล'?ร, 11 สิงหาคม 2490)
ในเดือนตุลาคม 2490 หนึ่งเดือนก่อนการรัฐประหารจะเกิดขึ้นนั้น การต่อสู้
ทางการเมืองและการเมืองภายในราชสำนักยิ่งทวความเข้มข้นมากขึ้น ชีไอเอรายงานว่า

54
NARA, RG 59 Record of Division of Research 2 Far Fast 1946-1952 , Lot 58 d
245 Box 2, แรWNCC Second Phase Study on Siam , ” 29 May 1947 ,

"" พร
ะองค์ฟ้าภาณุพันธุฯ ทรงประกาศว่า ศาเหตุที่ ทรงดังพรรคการเมืองคึอต้ลงการช่วย!หลีอ
1

ประชาชนที่ "นํ้าฅาเช้ดพ้วเข่า* และรำลกถึงคุณราชวงฅ์จักรี


56 NARA
, RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 7250, Stanton to Secretary of
State, “Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period 1 - 15 August
1947 ” ; NARA , CIA Records Search Tool (CREST ), C 1A - RDP82-00457 RG 0080035
0009-0, 12 August 1947, “ Prospective Changes in Government" ; กนตธร์ ( 2537 , 333),

52
จากตันติภาพคู่ความขัดแยง

กลุ่มรอยัลลิสต์และพรรคประชาธปัตย์ภับม.ร.ว. คึกฤทธ ปราโมช มิได้ต้องการร่วมมือ


พี่นฟูประเทศร่วมกับรัฐบาล แต่ต้องการเพียงแก้แค้นคณะราษฎร โดยพวกเขาเห็นว่า
.
ชิอมพล ป พิบูลสงคราม และปรืดี พนมยงค์ คือศัตรูคนสำคัญที่ต้องทำลายดุจ
เดียวกัน เฉกเช่นที่พวกเขาได้เคยทำกับจอมพลป. ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง
มาแล้ว แต่ขณะนี้พวกเขากำลังต้องการทำลายล้างปรืดี57 ในขณะเดียวกัน สถานทูต
สหรัฐฯ และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯรายงานว่า ผลการสอบสวนคดีสวรรคต
มีความคืบหน้ามากขึ้นจนมีแนวโน้มที่รัฐบาล พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสด้ จะ
สามารถระบุผู้ต้องสงสัยในคดีสวรรคตได้ แต่รัฐบาลยังไม่ดำเนินการใด ๆ เพราะหาก
รัฐบาลประกาศผลการสอบสวนออกไปจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อันจะทำให้
พระองค์เจ้าจุมภฏฯ หรือพระองค์เจ้าภาณุพันธุฯ ขึ้นมามีความสำคัญเหนือราชสำนัก 58

ในช่วงหัวเลยวหัวต่อนี้ ซไอเอรายงานว่ากลุ่มของพระองค์เจ้าจุมภฏฯ คึกคักมากขึ้นใน


าเณะที่ผลการสอบสวนการสวรรคตมีความคืบหน้า ส์วนกลุ่มของ ม.จ. เสภฌภราไดย
สวัสดีวัตน พระเชษฐาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณ์ ทรงต้องการด้งหนังสือพิมพั
ทีสนับสนุนกลุ่มรอยัลลิสต์ขึ้น ' ต่อมาตำรวจได้จับกุมบุคคลที่ปล่อยข่าวใจมดีรัฐบาล
'1

โดยสถานทูตสหรัฐฯ และหนังสือพิมพีไทยขณะนั้นรายงานว่า พระองค์เจ้าภาณุพันธุฯ


พระราชวงฅ์หลายคน และกลุ่มรอยัลลิสต์ รวมทั้งพรรคประชาชิปัตย์มีความเกี่ยวข้อง
,"
กับเหตุการณ์ปล่อยข่าวโจมตรัฐบาลดังกล่าว 1

ควรบันทึกด้วยว่า ปรีดีรับรู้คืงความร่วมมือ'ใกล้'ชิดระหว่างควง อภัยวงฅ์ กับ


ทลุ่มรอยัลลิสต์ในการต่อด้านรัฐบาล โดยไต้เคยกล่าวเดือนควงในฐานะเพี่อนที่เคยร่วม

NAHA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA -RDl’82-00457 R001000520003-4,


30 October 1947 , “The Political Situation /
NARA , RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 7251 , Memorandum of
Conversation Thamrong Nawasawat and Edwind F . Stanton , 31 March 1948 ;
Landon to Butterworth , "Assassination of King Ananda,* 22 April 1948 ; และดูการ
อภิปรายเรื่ชิงดังกล่าวอย่างพิสดารใน สมดักด ( 2552ก1 2552ข , 2552ค ).
-
59 NARA, CIA Records Search Tool ( CREST), CIA RDP82-00457 R001000270005-0,

22 October 1947 , “ Activities of Royalist Group in Thailand ."


w NARA, RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7251 , Stanton to Secretary of
State, 10 October 1947 ; ศรีกfง, 3 ตุสาคม 2490. บุคคลที่ถูกจับคือ พ . D พระยาวิชิตฯ ภรรยา
, ,

แส ะนางละหม่อม ใน3Pนหมิ่นประมาทและไขข่าวเท็จที่โจมคร้ฐบาลพล .ร. ต . ถวัลย์ ชำรงนาวาสกสต


และปรึดี พนมยงค์ ว่าอย่เบองหล้งการส'วรรคต
'

53
จุนศึก ศักดินา และพญาอ้นท1

ปฏิวัติ 2475 ว่าให้ระวังพี่น้องตระกูลปราโมชที่ฃะยุยงไห้เขามีความทะเยอทะยานและใช้


เขาเป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลายเจตนารมณ์ของการปฏิวัติ 2475 เพื่อบรรลุเป้าหมาย
ของกลุ่มรอยัลลิสต์ 1' 1 ส่วนซีไอเอก็วิเคราะห์ว่า ควงผู้เกยพ่ายแพ้ทางการเมืองให้กับ
ปรีดีนั้นสบโอกาสที่จะใช้ความไม่กระจ่างในการสวรรคตและ ความร่วมมือกับกลุ่ม
'

จอมพล ป. เป็นเครื่องมือที่จะเปลี่ยนความพ่ายแพ้มาสู่ชัยชนะไต้''- ทั้งนี้ซีไอเอรายงาน


ในปลายเดือนตุลาคม 2490 ก่อนการรัฐประหารไม่นานว่า สถานการณ์การต่อสู้ใน
การเมืองไทยระหว่างคณะราษฎรกับกลุ่มรอยัลลิสต์ที่เคยหยั่งรากลึกมานานยังคงดำเน้น
ต่อไป แม้ว่าปรีดีจะมีเพี่อนไนกลุ่มรอยัลลิสต์อยู่บ้าง เนื่องจากเขาเคยช่วยเหลือพระ
ราชวงศ!นช่วงสงครามโลกครั้งที่สองให้รอดพ้นจากการปราบปรามโดยกลุ่มจอมพล ป .
มาได้ แต่กลุ่มรอยัลลิสต์ส่วนใหญ่กลับไม่เคยจดจำความช่วยเหลือของปรีดเลย ' '"
ซีไอเอยังวิเคราะห์สถานการณ์ต่อไปอีกว่า สถานการณ์ก่อนการรัฐประหารนั้น
กลุ่มรอยัลลิสต์และพรรคประชาธิปืดยํได้หำการบิดเบือนทุกอย่างที่ปรีดัใด้กระทำหรือ
กล่าวต่อสาธารณชน ดังนั้น ทางเดบวที่ปรีดีและกลุ่มของเขาจะสามารถรักษาอำนาจ ต้
1
'
คือการถอยไปอยู่เบื้องหลังการเมืองและผลักดันให้เกิดการแตกหักกับกลุ่มรอยัลลิสต์
ด้วยการสนับสนุนให้พล.อ. อดุล อดุลเดชจรัส ผู้ที่กล้าขับกุมเชื้อพระวงห์ชั้นสูงอย่าง
กรมขุนชัยนาทนเรนทรเมื่อครั้งที่ทรงเป็นแกนนำของกลุ่มรอยัลลิสต์ในการต่อต้านการ
ปฏิวัติ 2475 ในปี 2481 ขึ้นรับมือกับสถานการณ์แทน',4 ในช่วงที่มีความคืบหน้า
1

ในการสอบสวนการสวรรคต สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่า นักการเมืองกลุ่มปรีดีที่มี


ความคิดไปในทางสาธารณรัฐไต้มาประชุมกันในปลายเดือนตุลาคมเพี่อเตรียมการ
จัดทั้งพรรคสาธารณรัฐขึ้น65

61 NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA-RDP82-00457R001000520003-4,


30 October 1947 , “The Political Situation.”
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA-RDPS 2-00457R001000270007-8,
21 October 1947 “ Possible Political Developments . "
,

o:! NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA -RDP82-00457 R001000520003- 4 ,
30 October 1947, "The Political Situation/
64
Ibid . ; NARA CIA Records Search Tool (CREST), CIA-RDP82-00457R00100068๓05-5,
5 November 1947 , “The Political Situation—View of Nai Tieng Sirikhan ”
(นิ
NARA , RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7251, “ Forthnigdy Summary
of Political Events of Siam for the Period 1 -15 April 1948 . ” รายงานของสถานทดสหรัฐฯ

54
จากสันติภาพสํความขัดแย้ป็

ในช่วงปลายของการมีอำนาจทางการเมือ4ของปรีดีและกลุ่มของเขาเป็นช่วงที่
พวกเขาไม่มีความมั่นคงทางการเมือง เนื่องจากตกอยู่ภายใต้การท้าทายจากกลุ่ม
รีอมพล ป . และกลุ่มรอยัลลิสต์ที่ต่างต้องการทลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกครั้ง
ประกอบกับการสวรรคตอย่างมีเงื่อนงำที่รัฐบาลปรดยังไม่ยอมสร้างความกระจ่างไห้กับ
สาธารณชน ทำให้ทั้งสองกลุ่มฉวยโอกาสโจมดีและโค่นล้มปรีดีและกลุ่มของเขาลงใน
เวลาต่อมาอย่างไม่ยากนัก แมัในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2490 ก่อนการรัฐประหาร
รีะเกิดชันไม่กี่วัน พล.อ. อดุล อดุลเดชจรัส ไต้กลายเป็นบุคคลที่ปรีดีและกลุ่มของเขา
เตรียมการสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เพื่อกอบกู้สถานการณ์ก็ตาม06 และ
รัฐบาลก็เตรียมแผนการแตกหักกับกลุ่มจอมพลป. ที่เตรียมการรัฐประหารขับไล่รัฐบาล
แล้ว {วิชัย 2492, 192 ; Coast 1953, 39) แต่การชิงไหวชิงพรีบในการช่วงชิงอำนาจ
-าจบลงด้วยการที่ฝ่ายต่อต้านรัชบาลสามารถรัฐประหารโค่นล้มอำนาจของปรีดีและกลุ่ม
ของเขาลงได้อย่างง่ายดายเมอวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490
ควรบันทึกด้วยว่า ไนด้านการเมืองระหว่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
นั้น ภายหลังจากที่สหรัฐฯได้เคยช่วยเหลือปรีดีและกลุ่มของเขาในการต่อด้านกลุ่ม
รี ามพล ป. และญี่ปุน รวมถึงช่วยมิให้โทยตกเป็นผู้แพ้สงคราม ตลอดจนความร่วมมือ
!

ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยที่เคยสนับสนุนขบวนการชาตินิยมปลดแอกในอินโดจีนในช่วง
ปลายสงครามโลกนั้น ได้แปรเปลี่ยนไปอย่างสำคัญเมื่อสหรัฐฯ ภายใต้การนำของ
ประธานาธิบดีทรูแมนให้การสนับสรเนฝรั่งเศสในการกลับมาครองอินโดจีนอีกครั้ง
( Kahili 1986 , 4) ส่งผลให้ไทยจำต้องคืนดินแดนบางส่วนในอินโดจีนที่ได้มาในช่วง
สงครามโลกให้กับ ฝรั่งเศส ซึ่งนำไปส่ข้อพิพาทระหว่างไทยกับ ฝรั่งเศส ต่อมาแม้มีการ
ขีดดั้งคณะกรรมการเจรจาไกล่เกลี่ยชัน สหรัฐฯ ก็มิได้แสดงท่าทีที่จะสนับสนุนให้ไทย
โด้ประโยชน์จากข้อพิพาทดังกล่าว',7 ซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจของสหรัฐฯ

นํบับดังกล่าวบันทึกความเคลือนไหวทางการเมีองของกลุ่มปรีดีในช่วงก่อนการรัฐประหาร 2490 ว่า


ทอง!ปลา ซลภูฏิ เด่'ใVI สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพเมื่อ 29 ตุลาคม 2490 โดยกล่าวถึงการพยายาม
ด้งพรรคสาธารณรัฐว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรม'ผูญ
“ “จดหมายของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสคิ้ ถึง นายสุชิน ตันติกุล วันที่ 1 มีนาคม
2514," ใน สุชิน ( 2517 , 171 ) ; เฉยบ ( 2501, 561 ).
"7 ปรืดี mเมยงค์ ได้เดินทางไปร่วมเจรจากับฝรั่งเศสที่วอชิงตันดี . ช. ต่อมาเขาได้โทรเลขถึงคณะ
รัฐมนตรีในเดือนมิกุนายน 2490 รายงานผลการเจรจาข้อพิพาทเรื่องตินแคนกับฝรั่งเศสว่า '' อิทธิพล

55
ขุนลึก ฟิกดีนา และพญารน'ทวี

ที่มีต่อปรึดีและรัฐบาลของเขา เนื่องจากในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ปรีด'ใต้


ี เคย'ไท้การ
สนับสนุนทางอาวุธของเสรีไทยที่ไค้รับมาจากสหรัฐฯในช่วงสงครามโลกให้กับกองทัพ
เวิยดมินห้อย่างลับๆเพื่อสนับสนุนการปลดแอกจากฝรั่งเศส และเมื่อเกิดข้อพีพาท
เรื่องดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้น ปรีดีก็เห็นด้วยกับแนวคิดในการจัดตั้ง
สันนิบาตเอเชียตะวันออกเฉยงใต้ตามข้อเสนอของเวิยดมนห์ โดยรัฐบาลกลุ่มปรดี
รับอาสาเป็นแกนนำในการจัดตั้งองค์กรดังกล่าวขึ้นในไทยเพี่อเพิ่มอำนาจต่อรอง
กับมหาอำนาจในภูมิภาค เนื่องจากไทยเองก็ต้องการใช้องค์กรดังกล่าวในการต่อรอง
กับฝรั่งเศสเรื่องข้อพิพาทดินแดนอีกทางหนื่งด้วย (ดู ป!ดี 2529, 88-89 ; เฉียบ 2501,
562 ; นายเมือง 2491, 19-23 ; Keyes 1967, 31 ; Keynolds 1984, 1-18 ; Kobkua
,
1994) ต่อมาผูแทนจากขบวนการกู้ ชาต็หลายประเทศในภูมิภาคได้มาประชุมในไทย
และทำบันทึกเสนอขอจัดตั้งองค์กรส่งให้สแตนตัน ทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยใน
ขณะนั้น ใดยหวังว่าสหรัฐฯ จะส่งต่อไปยังสหประชาชาติ แต่สหรัฐฯไม่เห็นด้วยกับการ
จัดตั้งองค์กรดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯจงสั่งการให้สแตนคันส่งบันทึก
ขอจัดตั้งองค์กรคืนกลับไปยังเหล่าขบวนการชาตินิยม 6S

กระนั้นก็ดี รัฐบาลของกลุ่มปรีดียังคงดำเนินการจัดตั้งสันนิบาตเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ในไทยต่อไปจนสำเร็จเมื่อเดือนกันยายน 2490 ท่ามกลางความไม่พอใจของ
สหรัฐฯ ต่อมาต้นเดีอนพฤศจิกายน 2490 ก่อนการรัฐประหารไม่กี่วัน ซีไอเอได้รายงาน
ทัศนะของกลุ่มปรีดีที่มีต่อขบวนการชาดินิยมเพื่อปลดแอกจากฝรั่งเศสกลับไปยัง
วอชงตัน ดี. ซี. ว่า กลุ่มปรดีแสดงความคาดหวังว่าโฮจมินห้จะนำการปลดแอกใน
อินโดจีนใด้สำเร็จ ในรายงานบันทึกต่อไปด้วยนํ้าเสียงไม่พอใจที่กลุ่มปรืดีมีความเห็น
ว่าโฮจิมินห์เป็นพวกรักชาติบ้านเมือง และขีไอเอได้วิจารณ์ว่ากลุ่มปรีดีเป็นพวกไร้สำนึก
,
ที่มองไม่เห็นว่าโฮจิมินห์ศึอคอมมิวนิสต์ '
''

ในทางกไรเมืองย้งฅรอบงำอยู่ เรื่องจึงไม่สำเร็จ เฟินธรรมดาที่ประเทศใหญ่เขาจะต้องเอาใจเพื่อน


ประเทศไทญ่ด้ายกนไวก่อน เสียสละชาลิเลิกไป,’ (สี! 2521 , 613)
- -
63 NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA RDP78 G 1617A005900030003- ร, 10

January 1947, “ Request for U.N. Intervention Returned to Indochinese Nationalists" :


กนต์ธร์ ( 2537, 404) ; NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA- RDPS 2-00457R
000600330001-2, 27 May 1947, "Notes on Current Situation /’
69NARA, CIA Records Search Tool ( CREST), CIA -RDP82-00457 R 001000650008-5 .
4 November 1947, “ Free Thai View on Ho Chi Minh . ” บุคคลในรายงานคือ สุขิต หิรัญพฤกษ์

56
จากสันติภาพสู่ฟิ วามขดแย้ง
'

I ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปรีดีแระกลุ ม
่ ของเขาไม่ เ พี ย งแต่ ต อ
้ งเผชิ ญ หน้ า กั บ ปรปั ก ษ์
ทางการเมืองภายในจากกลุ่มรอยลลิสต์และกลุ่มจอมพล ป. ซึ่งเป็น “ พี'นธมิตรใหม่’’
,

เปานั้น แต่การที่พวกเขาดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ขัดขวางความต้องการของสหรัฐฯ
I ไต้ทำให้พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับศึกภายนอกด้วย ทั้งนี้ในช่วงต้นของสงครามเย็นนั้น
ในสายตาของสหรัฐฯ ปริดีและกลุ่มของเขานั้นมีนโยบายบริหารประเทศไ!ไมเอียงไปใน
ทางสังคมนิยม อีกทั้งนโยบายต่างประเทศก็ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสหรัฐฯ
อกแล้ว ความไม่พอใจของสหรัฐฯ นั้นเห็นได้จากความนิ่งเนยของสหรัฐฯ เนิ่อปรีดี
อดีตพันธมิตรผู้เคยร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการต่อด้านกลุ่มจอมพลป. และญี่ปุ่น'ใน
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกรัฐประหารโค่นล้มให้พ้นออกไปจากอำนาจการเมืองไทย
โดยสหรัฐฯปฏิเสธให้ความช่วยเหลือเขาให้กลับคืนสู่อำนาจอีก ยิ่งไปกว่านั้น เม :
สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปและสหรัฐฯให้ความสนใจปัญหาคอมมิวนิสต์มากขึ้น ทำให้
ปริดึต้องเผชิญหน้ากับความแข็งแกร่งของกลุ่มจอมพลป. ที่สหรัฐฯ 'ไห้การสนับสนุน
[ ในเวลาต่อมา (Coast 1953) ด้งที่จะกล่าวต่อไปข้างหน้า

ลขาบุการของอรรถกิตติ พนมยงฅ์ ามา . ต่างประเทศและเป็นน้องชายปรติ พนมยงค ต่อมาปรติไต้


บันทึกความทรงจำว่า เข แชยว่ามีฅวามสัมพันธ์ระหว่างการขัดตั้งสันนิบาตเอเชียดะวนถสูกเฐยงใต้
'

กบการล่มสลายของอำนาจทางการเมืองของเขา เนื่องจาก “นักล่าอาณานิคมทั้งรุ่นเกิาและใหม่ได้


^คอมมิำวหาข้ าพเจ้าว่าเป็นผู้นำเหล่ากบฎในการต่อด้านรฐบาลอาณานืฅมและเป็นศูนย์กลางของสัทธ
วนิส ตํไนภูมิกาคนี้ (ปรติ 2517, 90).
, ”

57
I
เ % .
f * .
E

การตนล้อการเป็นหันธมดรกันระหว่างจอมพล ป. พิบลสงคราม ห้วหน้าคณะรัฐประทาร กับควง


อกยางศ์ แกนนำกลุ่มรอยลลิสต์ ที่ช่วยกันโค่นล้มรัฐบาลไ]รีลึในรัฐประหาร 8 พฤศจกาขน 2490
1

โดยสหรัฐฯ หันธมดรเก่าของไ]รีดีสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมีนเฉยต่อการสนับสบุนให้ไ]รดกลับ


มามีอำนาจอกครั้ง เนื่องจากไม่พอใปืที่ปรึดีดำเนินนโยบายไม่สอดคล้องกับความต้องกไรของสหรัฐฯ
ต้วยการจัดตั้งลันนิบาตเอเช็ยตะวันออกเฉียงไต้ (ภาพจาก Bangkok Pont )
บทที่ 3
ร็ฐประหาร 2490
การล่มสลายของกลุ่มปรึดึและการแฅกร้าวของพนธมิตรใหม่

รัฐประหาร 2490
รัฐประหาร ร พฤศจิกายน 2490 ถือเป็นการปิดฉากอำนาจที่อยู่ในรอของคณะ
ษฎร และเปิดฉากการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างคณะรัฐประหารกับกลุ่มรอยัลลิสต์
ทนธมิตรใหม่ ,, ที่ชวยกันโค่นล้มปรีต็ทว่ามีเป้าหมาขทางการเมืองที่แตกต่างกัน
รัฐประหาร 2490 ถือได้ว่าเป็นจุดพลิกผันทางการเมืองล้ากัญที่ทำไห้การช่วงชิงอำนาจ
ทายในกสุ่มคณะราษฎรเองสนสุ[ดลง และเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งชันกันระหว่างกลุ่ม
ผู้ถือครองอำนาจใหม่คือ คณะรัฐประหาร1 กับสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์ ทั้งนี้
ไนการรัฐประหาร 2490 แห้คณะรัฐประหารจะเป็นผู้คำเนินการรดอำนาจด้วยกำลัง แต่

1
คณะรัฐประหารเป็นกลุ่มทหารที่สนับสนนจอมพลป. พิบลสงคราม ประกอบชันจากทหารบก
เป็นสำคญ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนคอ ส่วนหนึ่งมาจากคณะราษฎร เช่น จชฆพลป ,
พฆลสงคราม น.อ. กาจ กาซิสงคราม พ.อ. กาน จำนงทมิเวท พ.อ. นัอม เกตุนุต ร.อ. จุนปรีชารณ -
รสฏเ แต่สมาชิกสํวนไหญ์เป็นนายทหารที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของคณะราษฎร เช่น พล.ท. สน จุณหะวัณ
.
พ .อ. เผ่า ศรียานนท์ พ.อ. สวัสด สวัสด้รณชัย สวัสสิเกยรด พ.อ. สฤษสั ธนะรัชฅ์ พ.ท ถนอม กิตดี -
ฯจร พ.ท. ประภาส จารเสถียร พ.อ. ไสว ไสวแสนยากร พ,ท , กัญญัดี เทพหัสสิน ณ ออุธยา พ.ท .
ละม้าย อทยานานนท์ พ.ต. ประมาณ อดิเรกสาร เป็นด้น ส่วนใหญ์นายทหารในคณะรัฐประหารมได้
ผูกพันลับหลักการของการปฏิวัติ 2475 และ m รปฏิเสธอำนาจของสถาบันกษฅรีย์ ทนแต่นายทหาร
บางคนที่มีความไกล้ชิดกับแกนนำสำคัญโนคณะราษฎร เช่น พ. อ . เผ่า ผูเคยเป็นนายทหารดีดตาม
จอมพล ป. เขาได้ ?เห็นและเคยร่วมต่อด้านอำนาจของกลุ่มรอยลลีศคมาก่อน
ชุนศึก ศักดนา และพญาอินทริ

รัฐประหารครงนี!้ ,ม่อาจสำเร็จไต้หากปราศจากบทบาทของกรมขุนชัยนาทนเรนทร
ผู้สำเร็จราชการฯ ซึ่งมึบทบาทในการรับรองการรัฐประหารอย่างแข็งชัน (Stanton
1956, 210 ) ขณะนั้นกรมขุนชัยนาทนเรนทรทรงเป็นเพียงหนึ่งในคณะผู้สำเร็จ
ราชการฯ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 แต่ทรงลงพระนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.
2490 ที่เกิดจากการรัฐประหารแต่เพียงผู้เดียว (สุธาชัย 2550ข, 96-100) นอกจากนี้
แม้ว่าในวันยึดอำนาจนั้นจะปราศจากการต่อต้านจากรัฐบาลชุดเก่าและการรัฐประหาร
ก็สำเร็จลงได้อย่างง่ายดาย แต่คณะรัฐประหารยังต้องใด้รับการยอมรับขากสาธารณชน
กองทัพ และต่างประเทศด้วย นายทหารในคณะรัฐประหารจึงไปเชิญจอมพลป. พิบูล-
สงครามมาเป็นผู้นำของคณะรัฐประหาร (อนุส'?ธ/งานพระ?!ชทานเพลิงศพจ '
01im
สฤษดิ ธนะรัชฅ์ 2507 )
เช้าวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 9 พฤศจิกายน กลุ่มรอยัลลิสต์นำโดยควง อภัยวงศ์ และ
..
ม ,ร ว เสนอ ปราโมช ได้เข้าแสดงความยนดึกับคณะรัฐประหาร จากนั้นพวกเขาได้
รับมอบหมายจากคณะรัฐประหารให้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น ต่อมาในช่วงบ่าย บ้าน
ของควงเนืองแน่นไปด้วยสมาชิกพรรคประชาธิป๋ตย์และกลุ่มรอยัถลิสต์ เช่น ม.ร.ว.
เสนีข์ ปราโมช ม.ร.ว. ศึกฤทขึ้ ปราโมช พระองค์เจ้าภาณุพันธุฯ โชต็ คุ้มพันธุ เลื่อน
พงษโสภณ และขุนคงฤทธิศึกษากร เป็นต้น หลังจากนั้นพระองค์เจ้าภาณุพันธุฯให้
สัมภาษณ์ว่า ไม่เคยหัวเราะอย่างที่ทรงต้องการมานานแล้ว และขณะนี้พระองค์ทรง
สามารถแย้มพระสรวลไต้แล้ว ( Bangkok Post, 10 November 1947 ; มค?ควร, 10 '

พฤศจิกายน 2490 ; เสนีย้ 2543, 101) ส่วนหสุย ศึรีวัด อดีตนักโทษการเมืองกลุ่ม


รอยัลลิสต์คนหนึ่ง ได้กล่าวสนับสนุนการขึ้นมาฏีอำนาจของกลุ่มรอยัลลิสต์ว่า “ไม่มี
ใครดีกว่านายควงแล้ว” (เครี/ทพ , 15 พฤศจิกายน 2490) ขณะที่การยึดอำนาจด้วย
การใช้กำลังเป็นหน้าที่ของคณะรัฐประหาร งานร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ตกเป็น
หน้าที่ของกลุ่มรอยัลลิสต์ เนื่องจากพวกเขาต้องการแน่ใจว่าจะได้รูปแบบการเมืองที่
พวกเขาต้องการ2 ซึ่งเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้แก่สถาบันกษัตริย์มากขึ้น (ข่าว

2 ข้อมูลเรื่องกลุ่มรอบัลลิสต์ร่วมร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2490 นั้นทูตสหรัฐฯไต้รับการบอกเล่าจาก


พล .ท. ผิน ชุณหะวัณ พ .อ . เผ่า ศรียานนท์ และ ร. อ, ชาติชาย ขุ'ณทะวัณ แกนนำในคณะรัฐประหาร
โดยกลุ่มรอบัลลิสต์ที่เข้าไปร่วมร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีรายชื่อดังต่อไปนั้ ม.ร . ว . เสนย์ ปราโมช
อดีตนายกรัฐมนตรี, ม .ร .ว , คกฤทธี้ ปราโมช นักการเมืองและนักหนังสือพิมพ์, พระยาลัดพลีธรรม -
ประดัลย์ อธิบดีศาลฎีกา, พระยารักคประจิตธรรมจำรัส อดีตกรรมการศาลฎีกา , พ .อ . สุวรรณ เพ็ญ-

60
รัฐประหาร 2490

1ฆษณาการ 2490, 1063 ; อนุสรณ!นงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทกาจ กาจสงคราม


2510) ความเคลื่อนไหวของกลุ่มรอยัลลิสฅ์ในการพ็นฟูอำนาจสถาบันกษัตริย์นั้นทำให้
หนังสือพิมพ์ เช่น สัจจา ไต้วิจารณ์รัฐธรรมนูญฉบับนั้ว่าเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้
•ท'ถาบันกษัตริย์มากกว่ารัฐธรรมนูญที่ถูกล้มไป ( สัจจา , 10 พฤศจิกายน 2490 )

หนังสือพิมพ์รายงานข่าวว่า ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญคิริ จักรพันธ์ เป็นผู้แทนคณะ


ำ] ประหารเดินทางไปกราบบังคมทูลสถานการณ์ให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงทราบที่สวิตเซอร์แลนด์ ( สัจจา , 15 พฤศจิกายน 2490, 20 พฤศจิกายน 2490 )
ไม่นานจากนั้น พระองค์ได้ทรงส่งพระราชหัตถเลขาถึงคณะรัฐประหารว่า ••ฉันรู้สึก
VIอใจยิ่งนักที่ไต้ทราบว่าเหตุการณ์ที่บังเกิดขึ้นนี้มิได้เสียเลือดเนื้อและชีวิตของกนไทย
ด้วยกันเลย ” (ภูมิพลอดุลยเดช 2492, 246 ) * ในขณะที่ส’แตนตัน ทูตสหรัฐฯประจำ
ไทย วิจารณ์ว่าการรัฐประหารที่เกิดขนและสาระในรัฐธรรมร}ญ พ.ศ. 2490 เป็นการ
-
หมุนเวลาถอยหลัง (Stanton 1956, 209 10 ) ราวหนึ่งสัปดาห์หลังการรัฐประหาร
พล.ท. หิน ชุณหะวัณ แกนนำคนสำคัญในคณะรัฐประหาร กล่าวว่าเขาได้ทำรัฐประหาร
คัดหน้าเสรีไทยกลุ่มปริดีที่มีแผนการจะประกาศว่าใครคอบุคคลที่สังหารสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ และจะทำการสถาปนาสาธารณรัฐขน4
ส่วนประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และลังกฤหมีท่าทีไม่รับรองรัฐบาลใหม่
สองวันหลังการรัฐประหาร ทูตสหรัฐฯ และอังกฤษได้เข้าพบจอมพล ป . พิบูลสงคราม
โดยสแตนดัน ทูตสหรัฐฯไต้ปฏิเสธการรับรองรัฐบาลใหม่หลังการรัฐประหาร ( ไทย
ใหม่ , 16 พฤศจิกายน 2490) 3 ส่วนทูตอังกฤษให้ความเห็นว่าอังกฤษอังไม่ควรรับรอง

ขันทรั เจ้ากรมพระธรรมนญทหารบก , พระยาอรรถกา!ย์นิพนธ์ , ร อ ประเสรชิ สดบรราขัด , เลื่อน


, ,

พงบไสภณ ย้โมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรฅประชาธป้ฅย์ และเขมชาติ บุณยรัสพ้นธ์ ( NARA ,


1

I RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7250, Stanton to Secretary of State ,
“ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period 1 - 15 November

1947 ” ; Stanton to Secretary of State , 25 November 1947 ; สยามนิทร , 11 พฤศฃกายน


2490 ; ยวด 2538 ; Kobkua 2003, 223),
3 ส่อมา พึ่ง ศรจนทรั
อดีดประธานสภาผู้แทนราษฎรชุคทลูกใค่นล้มไป ให้สัมภาษณ์ถึงความ

II
เหมาะสมของพระราชหัตถเลขาดังกส่าว ( ประชาธปไดย , 2 ชันวาคม 2490 ) จากนั้น สัจจา , 6
ธันวาคม 2490 พาคหัวข่าววา " ในหลวงพอพระทัยที่ไม่ชิงอำนาจ ”
4 NARA,
RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Stanton to Secretary
I of State, 16 November 1947 ,
5 ต่อมา วิลลิส เบรัด อดีตโอเอสเอสที่อยูในไทยขณะนั้น ไต้รายงานการรัฐประหารครั้งนั้กลับไป

61
ขนศึก ศักดินา และพญาธนทรี

รัฐบาลใหม่ที่ตั้งชัน และการรัฐประหารครั้งนี!้ ด้รับการสนับสนุนจากเจ้านายชั้นผู!้ หญ่


(กนฅ์ธึร์ 2537, 335) ในบทบรรณาธิการของ นิว&ร?ก?ทมลัฉบับวันที่ 12 พฤศจิกายน
,
2490 ได้ วิจารณ์การรัฐประหารในไทยด้วยข้อความว่า “Setback in Siam” และแสดง
ความเห็นว่ารัฐประหารครั้งนี้เป็นการหมุนเวลาทางการเมืองย้อนหลัง และรัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้กำหนดให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจทางการเมือง ซึ่งเป็นการเดนออกจากเส้นทาง
ของระบอบประชาธิปเตย ( Bangkok Post , ใ 3 November 1947)
ด้วยเหตุที่คณะรัฐประหารด้องเผชิญหน้ากับปัญหาการรับรองรัฐบาลใหม่หลัง
การรัฐประหารจากนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมหาอำนาปีอย่างสหรัฐศ
อังกฤษ และจีน จีงเป็นโอกาสอีกครั้งของกลุ่มรออัลลิสต์ที่จะก้าวขนมามอานาปี
^ ร

ทางการเมืองได้สำเร็จ คณะรัฐประหารตัดสินใปีผลักดันให้ควง อภัยวงฅ์ และพรรค


ประชาธิปัตย์ที่เปีนตัวแทนของกลุ่มรออัลลิสต์จดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งสร้างความพอใจไท้
กับพระราชวงฅ์และกลุ่มรอยัลลิสต์มาก ( Mahmud 1998 , 23- 24 ; สัจจ 7, 17 j
พฤศจิกายน 2490) จากนั้นคณะรัฐประหารได้ส่งผู้แทนหลายคนไปชี้แจงความจำเป็น
ในการรัฐประหารกับสถานทูตมหาอำนาจ เช่น พ . อ. หลวงสุรณรงค์และคณะไป
พยายามโน้มน้าวสถานทูตสหรัฐ!' ควงไปทำความเข้าใจกันสถานทูตอังกฤษ ส่วน
น . ร.ว. ภาถีนัย จักรพันธุ และม.ปี. นิทัศนาธร จิรประวัติ ไปชี้แจงแก่สถานทูตจีน
( ประชาธิปไตV , 10 พฤศจิกายน 2490 ; ประชากร , 11 พฤศจิกายน 2490 ;
Mahmud 1998, 23) แต่มหาอำนาจต่างๆยังคงไม่ให้การรับรองรัฐบาลใหม่ปีนกว่า
จะมีการจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ (Stanton 1956, 211)
ความล้มเหลวในการต่อต้านรัฐประหาร และการสินสุดความช่วยเหลือ
กลุ่มปรืดีของสหรัฐฯ
การชงรัฐประหารตัดหน้าก่อนที่รัฐบาลจะเริ่มแผนการปราบปรามและต่อด้าน
การรัฐประหารนั้น ทำให้ปรีดีและกลุ่มของเขาตั้งตัวใม่ติดและแตกกระจัดกระจายอย่าง
ฉับพลัน ปรีดีในจานะหัวหน้ากลุ่มต้องหลบหนีจากกรุงเทพฯไปยังหน่วยนาวิกโยธิน
ของกองทัพเรือที่สัตหีบเพื่อตั้งหลักรวบรวมทำลังเตรียมการต่อค้านการรัฐประหาร ไม่
กี่วันหลังการรัฐประหาร ปรีดีและ พล.ร.ต. ถวัลย์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งลูกโค่นล้ม

ย้งวิลเลียม เจ. ไดโนแวน (William .


J Donovan) อดฅหัวหน้าหน่วยโอเอสเอส toss) ว่ากลุ่ม
ทหารสมัยสงครามโลกได้ทำการรัฐประหารทรั้งนี้สำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อ (Aldrich 2000b, 132 ) .

62
รัฐประหาร 2490

มีความกิคท้จะจัดตังรัฐบาลพลัดถิ่นและใช้กำลังจากนาวิกโยธินที่สัตหีบจำนวน 3,700
คนและเรือรบจำนวน 5 ลำเข้าต่อด้านการรัฐประหาร6 ต่อมาเมื่อกลุ่มของเขาเริ่มรวม
ตัวกันได้ เตียง ศรขันธ์ อดีตเสรีไทยและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคสหชีพ
ได้จัดตั้ง “ คณะพลเมืองใหม่" เพื่อต่อต้านรัฐประหารและทำการแจกใบปลิวในเขต
-
กรุงเทพง ธนบุรี ประณามการรัฐประหารว่า “คณะทหารผู้ทำการรัฐประหารทังหลาย...
การกระทำของท่านผู้อ้างว่าเป็นผู้รักชาติและกระทำการเพื่อประเทศชาติและปกปัอง
ระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งทึ่ไม่ถูกต้อง การกระทำของกรมขุนชัยนาทไม่ถูกต้อง
เพราะไม่ปฏิบัติตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ ” และได้กล่าวประณาม พล.ท. ผืน ชุณหะวัณ
ว่าทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว7 หนังสือพิมพ์ขณะนั้นรายงานว่า กลุ่มปรีดี อดีตเสรีไทย
นำโดยเตยง คิริขันธ์ จำลอง ดาวเรือง ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ได้รวมกำลังคนในภาค
อีสานเตรียมประกาศภาคอีสานให้เป็นอิสระ (ประชากร , ไ 2 พฤศจิกายน 2490 ;
Iff รี!ทพ , 12 พฤศจิกายน 2490, 25 พฤศจิกายน 2490 ; เฉียบ 2501, 73)
การเคลื่อนไหวต่อด้านรัฐประหารของกลุ่มปรืดีในอีสานนั้นสร้างความวิตกให้
กับรัฐบาลควง อภัยวงฅ์ และคณะรัฐประหาร รัฐบาลจึงออกพระราชกำหนดคุ้มครอง
กวามสงบสุข 2490 โดยรัฐบาลมอบอำนาจให้คณะรัฐประหารใช้อำนาจทางทหาร
ปราบปรามผู้ที่มีพฤติกรรมเป็นภัยต่อรัฐบาล ทำให้ทหารสามารถตรวจค้นและจับกม
,
คนในกลุ่มปรืดีได้ถึง 41 คน นอกจากนี้ คณะรัฐประหารยังขัคทำใบปลิวแจกจ่ายไป
'

ยังจังหวัดต่างๆในอีสานเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนให้ระงับการต่อต้านรัฐบาล
( ชาตไทย , 20 พฤศจิกายน 2490)
สำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่มปรีดีนอกประเทศไทยนั้น ม.จ.ศุภสวัสดี้ฯ ผู้
แทนไทยประจำสหประชาชาติขณะนั้น ทรงขอลาออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่า

6
สังวร ( 2516, 159) ; NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Stanton
to Secretary of State, IS December 1947 .
7 หจช . สบ . 9.2 . 3 / S เอกสารส่วนบุคคล นายเอก าสกล เรื่อง ภาพข่าว เหตุการณ์ สังคม

เศรษฐกิจกนเมือง, ข่าวรัฐประหารปี 2490 (พ. ศ . 2488- 2491 ).


8
ราชกิจจา yฌทษ ! เส่ม 64, คอนที่ 56 (ฉบับพิเศษ 22 พฤศจิกายน 2490) : 1 - 7 ; เสรีภาพ ,
4 ข้นวาคม 2490 ; NARA, KG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7251 , Stanton
to Secretary of State , “ Forinightly Summary of Political Event in Siam for the
Period 1 -15 December 1947 ” ; "Fortnightly Summary of Political Event in Siam for
the Period 15-31 December 1947 " ,

63
ชุนคิก ศ้กลินา แคะพญาอีนทรี

ไม่สามารถร่วมงานกับรัฐบาลใหม่ได้และทรงประกาศว่ารัฐบาลชุดเก่ายังคงดำรงอยู่
( Bangkok Post , 11 November 1947 ; ประชากร , 12 พฤศจิกายน 2490, 25
พฤศจิกายน 2490 ) ปลายเดือนพฤศจิกายน สงวน ตุลารักษ์ เอกอัครราชทูตไทย
ประจำนานกิง กล่าววิจารณ์การรัฐประหารในไทยอย่างรุนแรงและประกาศไม่ยอมรับ
คำสั่งจากคณะรัฐประหาร โดยเขายืนยันว่ารัฐบาลเก่ายังดำรงอยู่ในไทย และเขาได้
1 ' ',
ติดต่อกับปรีดชืี ่งหลบหนออกจากไทยแล้ว ในขณะที่ ม.ร.ว, คึกฤทธ ปราโมช แกนนำ
ของกลุ่มรอยัลลิสต์ กล่าวเรืยกร้องให้นานาชาติเข้าใจความจำเป็นในการรัฐประหารโค่น
ล้มรัฐบาล (ประชากร, 25 พฤศจิกายน 2490)
เมื่อใใรีดีตัดสินใจเดินทางออกจากไทยเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2490 เพือ
เตรียมการจัดดั้งรัฐบาลพลัดถิ่นและต่อด้านการรัฐประหารดามแผนการ เขาได้รับความ
ช่วยเหลือจาก ร.อ. เดนนิส (Dennis) ทูตทหารเรืออังกฤษ และน.ท. การ์เดส (Gardes)
แห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ ผู้เป็นมิตรเก่าในช่วงสงครามโลก ทั้งคูชวยพาเขาออกนอก
V V

ประเทศโดยเรือบรรทุกนํ้ามันของสหรัฐฯ เพื่อชันส่งที่มาลายา (Aldrich 2000b, 132)


จากนัน ทอมลัน ทูตอังกฤษได้แจ้งให้ควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ทราบว่า
อังกฤษได้ช่วยปรืดืออกนอกประเทศสำเร็จ โดยควงได้คอบกลับทูตอังกฤษว่า เขามิ
ความยนดีที่ปรืดีออกนอกประเทศแล้ว (Mahmud 1998, 28) ในปลายเดือนเดียวกัน
นั้น ทูตอังกฤษแสดงความ'ไม่เห็นด้วยกับแผนการต่อต้านการรัฐประหารของปรีดี จึง 1

ได้แนะนำให้เขากล่าวกับกลุ่มของเขาให้ยุติการต่อต้านผ่านวิทยุในสิงคโปร์ (ibid., 30)


สำหรับแผนการของปรีดีในการจัดดั้งรัฐบาลพลัดถิ่นนั้น เขาคาดหวังว่าจะ
ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯพันธมิตรเก่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ปรากฎ
ว่าทำทีของสหรัฐฯ คือการเมินเฉย โดยในเดือนธันวาคม 2490 ปรีดีประสานงานให้
อรรถกิตติ พนมยงศ์ อดีตรมว. ต่างประเทศ ผู้เป็นน้องชายของเขาและขณะนั้นอยู่
ในต่างประเทศ เข้าพบวิลเลียม เจ. โดโนแวน (William J. Donovan ) อดีตหัวหน้า
โอเอสเอสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อขอให้สหรัฐฯ สนับสนุนอาวุธซึ่งชะช่วยให้
ปรีดีกลับสู่อำนาจอีกครั้ง โดยปรดีมีแผนดั้งรัฐบาลพลัดถิ่นชันทางตอนเหนือของไทย
แต่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่สนับสนุนปรืดีให้กลับสู่อำนาจอีก จึง
ไต้แต่แสดงความเสียใจกับการรัฐประหารที่เกิดขนและกล่าวว่าต้องการส่งเสริมให้ไทย
มีเสถียรภาพทางการเมืองต่อไป ”1

9 หชช. สบ. 9.2 . 3/8.


" NARA, RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 725 ! , Memorandum of

64
รัฐประทาร 2490

ท่าทีของสหรัฐฯ เช่น'นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลของกลุ่มปรืดีเคย
^เอเชยตะวั
นันนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสหรัฐฯ ด้วยการจัดตั้งสันนิบาต
นออกเฉียงใต้เมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น ในปลายเดือน
ห;'ษภาคม 2491 ระหว่างการเดินทางจากสิงคโปร์ไปยังสหรัฐฯ ปรีดีได้แสดงวซ่าขอ
ข้าสหรัฐฯที่สถานกงสุลสหรัฐฯประจำเซึ่ยงไฮ้ ที่นั่นเขาได้พบกับนอร์แมน เอช, ฮันนาห์
(Norman H. Hannah ) เจ้าหน้าที่ซีไอเอซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรองกงสุลสหรัฐฯ
รุ'้ นนาห์ปฏิเสธการอนุญาตให้เขาเดินทางเข้าสหรัฐฯ ด้วยการกระชากหนังสือเดินทาง
ไปจากมือเจ้าหน้าที่กงสุลและขีดฆ่าวช่าของเขามิให้เขาเดินทางเข้าสหรัฐฯใต้อีก (ปรีดี
2529, 108-9)"
จะเห็นไต้ว่าท่าทีของสหรัฐฯ ที่มีต่อปรีดีและกลุ่มของเขานั้นมิได้เป็นไปใน
ลักษณะเห็นอกเห็นใจเหมือนดังเช่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอีกแล้ว แม้ปรีดีและ
กลุ่มของเขาจะได้รับความช่วยเหลือจากอดีตเจ้าหน้าที่โอเอสเอสหรือมิตรเก่าชาว
อเมริกันที่เคยร่วมมือกันในการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกก็ดาม แด่
เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯที่ปฏิบัติงานตามนโยบายใหม่ในสมัยประธานาธิบดีทรูแมนนั้นมื
ปฏิกิริยาต่อปรีดีและกลุ่มของเขาอย่างแข็งกร้าวและไม่เป็นมิตรอีกต่อไป จืงชัดเจนว่า
I กายใต้บริบทไหม่ไนช่วงแรกเริ่มของสงครามเย็นนั้น สหรัฐฯ มิใด้เลือกปรีดีและกลุ่ม
ของเขาเป็นพันธมิตรเฉกเช่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอีกต่อไป
การรุกคืบของกลุ่มรอยัลลิสต์ในฐานะสถาปนิกทางการเมือง
! หลังรัฐประหาร คณะรัฐประหารจำเป็นต้องสนับสนุนไห้ควง อภัยวงศ์ ซึ่งเป็น
ตัวแทนของกลุ่มรอยัลลิสต์ขนเป็นนายกรัฐมนตรีและขัดตั้งรัฐบาลรอยัลลิสต์เพื่อสร้าง
การยอมรับจากสาธารณชนแสะนานาชาติ โดยจอมพลป. พิบูลสงครามในฐานะหัวหน้า
คณะรัฐประหารได้ทำหนังสือมอบอำนาจของคณะรัจประหารให้กับรัฐบาลควงเพื่อ

Conversation Howard Palmer and Kenneth p Landon , 21 December 1947 ; Neher


-
,

1980, 55 56.
I:
ปรดี พนมยงคํ ได้มนทึกว่า ในเวลาตอมาเขาใต้ทราบว่า นอรแมน สันนาห้ หำงานให้กับชใณอ
นละต่อมาสันนาห้'ใต้ย้ายจากสถานกงสุลสหรัฐฯ ประจำส่องกงไปประจำที่ล'ถานเอกอฅรราชทูต
กรุงเทพฯ โคยสันนาห์มีบทบาทสบับสบุนไห้ตืารวขิจับภรบาและบุตรชายของ!ขาในกรณี " กบฏ
สันตึภาพ ” เพี่อปิ 2495

65
ชุนคิก ศกคึนา และพญาอีนทรี
1

บริทารประเทศ การมอบอำนาจดังกล่าวสร้างความพอใจให้กับกลุ่มรอยัลลิสต์มาก จาก


นั้นควงได้ประกาศความเป็นอิสระของรัฐบาลรออัลลิสต์จากคณะรัฐประหาร ( ศรึ ก รุ ร ,
15 พฤศจิกายน 2490 ) เขาได้จัดสรรตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีให้กับเชื้อพระวงศ์
ขุนนางในระบอบเก่า และอดีตนักโทษการเมืองกลุ่มรอยัลลิสต์ให้ดำรงตำแหน่งในคณะ
รัฐมนตรีมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่การปฏิวัติ 2475 (สุธาชัย 2550ข, 105 6) 1? -
ด้วยเหตุที่ทั้งสองกลุ่มมีเป้าหมายทางการเมืองที่แตกต่างกันและหวาดระแวง
กันอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ความแตกแยกภายในพันธมิตรใหม่นั้จึงเกิดชื้นทันทีหลังรัฐประหาร
สำเร็จลง โดยกลุ่มรอยัลลิสต์ต้องการสถาปนาระบอบการเมืองที่เพิ่มอำนาจให้กับ
สถาบันกษัตริย์และทำให้พวกเขามีอำนาจทางการเมืองอย่างยั่งยืน ในขณะที่จอมพล ป.
และคณะรัฐประหารก็ต้องการกลับสู่อำนาจทางการเมืองและไม่ต้องการให้กลุ่มรอยัลลิสต์
เข้ามาเป็นคู่แข่งทางการเมืองที่พวกเขาเสี่ยงชีวิตใช้กำลังยึดอำนาจมา เป็นธรรมดาที่
กลุ่มรอยัลลิสต์จะไม่ไวัใจจอมพล ป. เพราะเขาเป็นอดีตแกนนำของคณะราษฎรที่เคย
ปราบปรามการก่อกบฏของพวกเขาอย่างรุนแรงมาก่อน กรมขุนชัยนาทนเรนทร อดีต
แกนนำกบฏของกลุ่มรอยัลลิสฅ์ที่เคยถูกถอดอิสริยยศและถูกคุมขังจากการต่อต้าน
การปฏิวัติ 2475 และต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป . ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
ได้รับการปลดปล่อยหลังสงคราม ต่อมาพระองค์ก้าวชื้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการ”!
ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในฐานะที่ทรง
เฟินพระราชวงส์ชั้นผู้ใหญ่และสนิทสนมกับราชสกุลมหิดล พระองค์แจ้งกับทูตอังกฤษ
เป็นการส่วนตัวเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2490 ภายหลังการรัฐประหารว่าไม่เคยไว้วางใจ
จอมพลป, และปรีดี พนมยงค์ เลย ทรงเหินว่าขณะนั้นรัฐบาลควง อภัยวงศ์ ที่กลุ่ม
รอยัลลิสต์ให้การสนับสนุนนั้นถูกคณะรัฐใJ ระหารครอบงำ ทรงมีความคิดทีจะกำจัด
จอมพล ป. ( Mahmud 1998, 49)
แม้ในช่วงดังกล่าวคณะรัฐประหารจะอยู่หลังฉากการเมืองอย่างเงียบ ๆ ราวกับเป็น
ผู้คุ้มครองรัฐบาลควง แต่พวกเขาได้เริ่มรับเถึงการถูกหักหลังจากกลุ่มรอยัลลิสต์ที่
พยายามกีดกันพวกเขาออกไปจากการเมือง พวกเขาจืงได้ปลุกกระแสการต่อต้านรัฐบาล

เชื้อพระวงศ์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายคน เช่น ม.จ . วิวัฒนไชย ไชยันต" ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช


,
12

ม .ร.ว. คึกฤทธิ้ปราโมช และ ม.ล. เดช สนทวงศ์ ส่วนชุนนางในระบอบเก่า เช่น พระยาศรีวิสารวา'รท


(เทียนเลึ๋ยง สุนตระกูล ) รวมทั้งอดีตนักโทษการเมอง เช่น ม.จ . ส่ทธิพร กฤดากร และพระนาศราภัย-
พิพัฒ (เถื่อน ศราภัยวานิช) เป็นต้น

66
ทู}้ ปว!: หาว 2490

ควงด้วยการแจกจ่ายใบปลิวไปตามสถานที่ราชการและสาธารณะโจมตีควงและกลุ่ม
รอยัลลิสต์ว่าต้องการทำลายจอมพล ป. ด้วยการพยายามทำให้พ้นจากอำนาจ (สุธาชัย
255011, 124-25) แม้รัฐบาลควงจะถูกโจมตี แต่ด้วยความสามารถของควงในการพูด
หาเสียงและความช่วยเหลือทางการเงินจากพระราชวงศ์และกลุ่มรอยัลลิสต์ผู้มีความ
มั่งคั่ง ส่งผลให้การเลือกตั้งในปลายเดือนมกราคม 2491 นั้น พรรคประชาธิป๋ดย์ได้รับ
การเลือกดั้งมากที่สุด คือ 53 คน จากจำนวน 99 คน 11 จากนั้นต้นเดือนมีนาคม
สหรัฐฯ และอังกฤษใต้ให้การรับรองรัฐบาลควงที่มาจากการเลือกดั้งและประเทศอื่นๆ
ก็ทยอยให้การรับรองรัฐบาลในเวลาต่อมา ( Mahmud 1998, 60 ; Darling 1965, 63)
ชัยชนะในการเลือกดั้งด้นปี 2491 ของพรรคประชาธิป้คบอันได้ ' รับความ
ช่วยเหลือจากพระราชวงศ์และกลุ่มรอยัถลิสต์ เป็นเสมือนการประกาศอิสรภาพจากการ
ครอบงำของคณะรัฐประหารใต้สำเร็จ พวกเขามั่นไจมากขนว่าจะสามารถควบคุม
การเมืองผ่านกลไกสภาผู้แทนราษฎร ๅฒสภา และรัฐบาล จากนั้นรัฐบาลควงได้ออก
กฎหมายคืนทรัพย์สนและให้ความเป็นอิสระแก่สำนักงานทรัพย์สีนส่วนพระมหากษตรย
หลังจากที่หน่วยงานดังกล่าวเคยถูกคณะราษฎรโอนมาเป็นของรัฐบาลหลังการปฎ็วัติ
-
2475 (พอพันธ์ 2549 ; สมศักดิ้ 2549, 67 93) นอกจากนี้ พวกเขาได้เปีดการรุก
ทางการเมืองด้วยการเริ่มต้นออกแบบระบอบการเมืองตามที่พวกเขาต้องการ คือทำให้
'
พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจทางการเมือง และทำ ให้กลุ่มรอยัลล็สฅ์มีความใต้
,
1

เปรียบเหนือกลุ่มการเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำจัดคณะรัฐประหารให้พ้นไป
จากระบอบการเมืองที่พวกเขาใฝ่ฝืนผ่านการขัดดั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 14
สาระสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งต่อมาคือรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 หรอ
รัฐธรรมนูญฉบับรอยัลลิสต์ เป็นการออกแบบที่พยายามสถาปนาการเมืองที่ให้อำนาจ
แก่สถาบันกษัตริย์และสร้างความไต้เปรียบทางการเมืองให้กบกลุ่มรอยัลลิสต์และพรรค

'
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7251 , Stanton to Secretary of
State, “Fortnightly Summary' of Political Fvent in Siam for the Period 16-31 January
1948 ” ; Coast (1953, 44).
4
โปรดดูรายขอสภาร่างรัฐ'ธรรมนูญ โน หยูค ( 2495 , 224 32) ; แถมสุข ( 2539 , 51 - 52 ). คณะ
'

ผู้ร่างรัฐธรรมผูญ,นี้ประกอบค้วขสมาชิก 9 คน ลึอ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิฌศ ( จฅร ณ สงขลา )


พระยาศรีวิสารวาจา พระยาเทพวิ’ถูร พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ หลวงประกอบนิติสาร ม .ร;ว . เสนืย์
ปราโมช นายสุวิชช พันธเศรษฐ นายเพร ราชธรรมนิเทศ และนายหยูด แสงอุทัย โดยคณะผู้ร่าง
รัฐธรรมนูญส่วนใหญ์เป็นชุนนางในระบอบเท่าและนักกฎหมายที่เป็นกลุ่มรอยลลิสต์

67
ชุนศึก ศกดนา และYJ ญาธนทวิ

ประชาธิป้ตย์ เช่น เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่วาทกรรม “ การปกครองระบอบ


ประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข’’ ปรากฎในรัฐธรรมนูญ แสะมีการบัญญัติ
.ห้อำนาจพระมหากษัตริย์ในหลายทาง เช่น พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจที่จะเลือก
และแต่งตั้งประธานองคมนตรี องคมนตรี ตลอดจนสมาช่กวุฒสกาทั้งหมดได้อย่าง
อิสระ โดยมีเพียงประธานองคมนตรีเป็นผู้สนองพระบรมราชโลงการ กษัตริย์ทรงมี
พระราชอำนาจทางการทหารด้วยการกำหนดให้ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหาร
ทั้งปวง ตลอดจนให้พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจในการสกาปนาฐานันดรศักตั้ เป็นต้น
ในอีกด้านหนึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับด้งกล่าวพยายามจำกัดอำนาจของคณะรัฐประหาร
และกีดกันออกไปจากการเมืองด้วยการห้ามข้าราชการประจำเป็นสมาชิกวุฒิสกา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรี { มุกดา 2542 ) หมายความว่าจอมพล ป. และ
กลุ่มทหารของเขาไม่สามารถเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้หากยังมีสถานะข้าราชการ
ทูตสหรัฐฯ อย่างสแตนด้น ได้บันทึกความเห็นของเขาต่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เด้ท้นฟูอำนาจพระมหากษัตริย์และประสบความสำเร็จในการอำพราง
อำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ให้แทรกซีมลงอย่างลึกซึ้ง เขายังเห็นอีกว่า
แนวความคดในการเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับสถาบันกษัตริย์ไนการควบคุม
การเมืองไทยนั้น คล้ายคลึงกับสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจาอยู่หัวทรงเคยมีพระ
ราชดำริถึงการปกครองในอุดมคดีไว้เมื่อก่อนการปฏิวัติ 2475' ' นอกจากนี้ สแตนด้น
ไต้ตั้งข้อสังเกตถึงเป้าหมายทางการเมืองของกลุ่มรอบัลลิสต์ว่า พวกเขามีแผนการ
ทางกาวเมืองที่ไปไกลเกินกว่าแค่ให้การสนับสนูนคณะรัฐประหารเท่านั้น" ,
กลุ่มรอบัลลิสต์ไม่เพียงแต่เข้าครอบงำการออกแบบระบอบการเมืองที่อำนวย
ห้สถาบันพระมหากษัตริย์และกลุ่มรอบัลลิสต์เป็นตัวแสดงทางการเมืองที่สำคัญด้วย
การกีดกันคณะรัฐประหารออกจากการเมืองเท่านั้น แต่พวกเขาบังมุ่งสร้างระบอบ
การเมืองที่ไม่ประนีประนอมกับความคิดอื่นๆ นสังคมไทย เช่น เสรีนิยม โดยเฉพาะ

NARA , RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251 , Stanton to Secretary of


State, "Fortnightly Summary of Political Rvent in Siam for the Period 1 - 15 January
1948 ”
*

-
16 NARA, KG 59 Central Decimal File 1945 1949 Box
7251 , Stanton to Secretary of
State, ‘ Fortnightly Summary of Political Event เท Siam for the Period 16- 31 January
'

1948 . ”

68
สมเด็จพระเจาบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร อดีตแกนนำกบฎต่อค้านการปฏิวัติ 2475
โต้รับการปลดปล์อยหลังสงครามไลกครั้งที่สอง ทรงสนับสนุนราชสกุลมหดกิ และไต้รับแต่งด้ง!ปีน
ผู้ส์าเร็จราชการฯ หลังรัชกาลที่ 8 สวรรคต พระองค์รับรองการรัฐประหาร 2490 อย่างแข็งขัน และ
ทรงลงพระนามประกาศใชัรัฐธรรมนญ 2490 ที่เกดจากการรัฐประหารแต่เพียงผู้เดียว
ชุนศึก สักคนา และพญาอ้นทวิ

อย่างยิ่งสังคมนิยม ด้วยเหตุที่พวกเขาไม่๓.เใจปัญหาความเดีอดร้อนของประชาชนใน
ภูมิภาค ทำให้สมาชิกสภา ผู'้ แทนราษฎรจากภาคอีสานไม่พอใจร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ของกลุ่มรอยัลลิสต์อย่างมาก สแตนตันเห็นว่ากลุ่มรอยัลลิสต์สนใจแด่เพียงประโยชน์
จากการยึดภูมอำนาจทางการเมืองภายใต้กติกาที่ตนออกแบบขน และเพื่อมีอำนาจโต้
อย่างมั่นคง พวกเขาจึงจัดตั้งพรรคการเมืองชื่อ
“พรรคกษัตริย์นิยม ” ขึ้นมาเพื่อชิงชัย
ทางการเมืองร่วมกับพรรคประชาธปัดย์ โดยหวังว่าจะสามารถครองเสียงในสภาผู้แทน
ราษฎรให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 1 "

แผนการใหญ่ทางการ!มีองของกลุ่มวอยลลิสต์
สถานการณ์การเมืองหลังการรัฐประหาร 2490 ทำให้กลุ่มรอยัลลิสต์สามารถ
เข้ามามีส่วนสำคัญไนการออกแบบระบอบการเมืองที่อำนวยให้สถาบันพระมทากษตรย๙ บ รรแ

และพวกตนกลายเป็นตัวแสดงทางการเมืองหลัก อย่างใรก็ตาม กลุ่มรอยัลลิสต์ขณะ


นั้นมิได้มีความเป็นเอกภาพ อีกนั้งมิได้มุ่งให้การสนับสนุนราชสทุถมห็ดลเพียงราชสกุล
เดียว กลุ่มรอยัลลิสต์ที่นำโดยควง อภัยวงฅ์ และพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรัฐบาลนั้น
มั่นใจในอำนาจต่อรองและมีอิสระในการตัดสินใจที่จะเลือกสนับสนุนราชสกุลใดให้มี
อำนาจเหนือราชสำนักไต้ เนื่องจากขณะนั้นผลการสืบสวนกรณีสวรรคตมีแนวโน้มที่
จะสามารถตั้งสมมติซานว่าใครคือผู้ต้องสงสัยที่จะต้องรับผิดชอบต่อการสวรรคต และ
ควงในฐฺานะนายกรัฐมนตรีต้องการเป็ดเผยผลการสอบสวนนี้ออกสู่สาธารณชน ฃี่ง
ย่อมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในราชสำนักอย่างใหญ่หลวง
ด้วยเหตุนี้พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มรอยัลลิสต์จึงเป็นผู้มีอีทธพลและกลาย
เป็นตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดทิศทางการเมืองของราชสำนักในขณะนั้น สถานทูต
สหรัฐฯรายงานว่า ควง อภัยวงศ์ ม.ร.ว. เสนึย์ ปราโมช และม.ร.ว. คึกกุทธิ้ ปราโมช
มีแผนการแตกหักกับคณะรัฐประหาว โดยพวกเขามีแผนจะสนับสนุนให้พระองศ์เจ้า
จุมภฎฯ จากราชสกุลบริพัตรขึ้นครองราชย์แทนราชสกุลมหิดล และพวกเขาต้องการ


NARA, RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7251 , "Summary of Political
"

events in Siam January 1948 ” ; NARA, RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949
Box 7251 , Stanton to Secretary of State , 11 February' 1949 . ผู้ได้รบเสีอกดังเป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรปี 2491 ในนามของพรรคกษดรืบนิยมมีเพียงคนเดียว คอ ร .ท , สันพันธ์ ขันธชวนะ
ส. ส. นครราซสีมา (สุขาขัย 2550ข , 435 ).

70
รัฐประหา! 2490

ทนฟูอำรทจของพระมหากษัตริย์ที่มีอยู่ก่อนการปฏิวัติ 2475 ให้กลันมาอีกครั้งเพื่อ


สร้างอำนาจนำทางการเมืองที่ยั่งยืนให้แก่พวกเขา อันจะทำให้กลุ่มของพวกเขากลาย
เป็นแกนนำของกลุ่มรอยัถลิสต์ทั้งหมดพร้อมกับได้เป็นผู้นำประเทศ
จอมพล ป. พ้บุลสงคราม ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหารกัดค้านแผนทาง
การเมืองดังกล่าวอย่างหนัก จนต้องหันกลับไปเป็นพันธมิตรกับกลุ่มปรีดีเพื่อร่วมกัน
วับไล่ควงและยุติแผนการดังกล่าว ต่อมาแมคไดนัลด์ อดีตโอเอสเอสผู้มีความค้นเคย
กับปริดีไต้แจงข่าวต่อสแตนตันว่า จอมพลป. ได้ส่งผู้แทนมาแจ้งกับเขาว่าฏีความคิด
ที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างปรืดี พนมยงฅ์ และ พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสตั้
กับกลุ่มของเขาเพื่อขัดขวางควงที่ได้รับการสนับลนุนจากกลุ่มรอยัลลิสต์ไห้พ้นไปจาก
การชัดตั้งรัฐบาล และกัดด้านแผนการของกลุ่มรอยัลลิสฅ์ที่จะสถาปนาพระมหากษัตริย์
พระองค์ใหม่ สถานทูตสหรัฐฯ รายงานต่อไปว่า ควงต้องการจะเปิดเผยถึงบุคคลที่ปีะ
ต้องรับผิดชอบต่อการสวรรคต สแตนตันเห็นว่าการเปิดเผยดังกล่าวจะทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในราชสำนักอย่างสำคัญ ต่อมาแลนดอน เจ้าหน้าทกระทรวงการต่าง
.
ประเทศสหรัฐฯที่วอชิงตัน ดี ชี. ผู้คุ้นเคยกับการเมืองไทยเห็นว่า แมจอมพลป . และ
ปรีดีจะเป็นคู่ปรปักษ์ทางการเมืองกันภายในคณะราษฎร แต่ทั้งคู่คัดค้านการ'รอส้น
อำนาจของพระมหากษัตริย์ แลนดอนวิเคราะห์ว่า ทั้งจอมพลป . และปริดีต่างไม่มี
1

ปัญหากับพระบาทสนเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ เพราะขณะนั้นพระองค์ทรงพระ
เยาว์และ'ใม่มืฐานอำนาจทางการเมือง 1 *
สถานทูตสหรัฐฯ รายงานด้วยว่า ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2491 มีสมาชิกคณะ
.
ราษฎรจำนวนหนงได้มาปรึกษาจอมพล ป ถึงความกังวลไนการขยายอิทธิพลทาง
การเมืองของกลุ่มรออัลลสต์ที่อยู่เบื้องหลังรัฐบาลควง และพวกเขาต้องการให้จอมพลป.
,
กับปรึดีซึ่งเป็นแกนนำที่เข้มแข็งร่วมมือกันต่อต้านแผนทางการเมืองดังกล่าว ' '- ต่อมา
มีการชัดประชุมร่วมกันระหว่างคณะราษฎรกับคณะรัฐประหารหลายครั้งภายในเดือน
กุมภาพันธ์เพื่อไกล่เกลี่ยความขัดแย้งอันเกิดจากการรัฐประหาร 2490 และเพื่อผนึก
กำลังกันต่อต้านแผนการใหญ่ของควงและกลุ่มรอยลลสต์ พ. อ. เผ่า ศรียานนห์ แกนนำ

NARA, RG 59 Centra ] Decimal File 1945-1949 Box 7251 » Stanton to Secretary of


State, "Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period 16-3 ไ January
1948 ” ; Stanton to Secretary of State , 5 February 1948 ; Landon to Butterwortli,
20 February 1948 ,
19
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 7251 , Stanton to Secretary
of State, 9 February 1948 .

71
ชุนศึก ศักดินา และพญาอีนทรี

คนหนี่งของคณะรัฐประหารและนายทหารผู้ไกล้ชิดกับจอมพลป . และคณะราษฎร
เห็นว่าแผนการดังกล่าวเป็นการชิงอำนาจทางการเมืองไปจากคณะรัฐประหารและทำลาย
คุณูปการทางการเมืองที่คณะราษฎรได้สร้างมาตั้งแต่หลังการปฏิวัติ 2475 ให้มลายลง
สิ้น " แม้ว่าคณะราษฎรและคณะรัฐประหารชะร่วมมือกันพยายามกดดันควงและกลุเ ่ม
'

0^ ^ rflt ||
<5 รทน 1 4/ fj AI 'ชุ ชุ |/ 1
' i/ 1/
^
รอยลลิสต์ พไห้ จัดดังคณะรัฐมนดรได้ เพิอเปิดไอกาสไห้มการชดด้งรัฐบาลผสมระหว่าง
1
/ iSi ริ

,
จอมพลป. กันปรืดี และพล .ร .ต . ถวัลย์* ทว่าต่อมาควงก็ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง
เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2491 ท่ามกลางแรงกดดันจากคณะราษฎรและคณะ
รัฐประหาร เขายังคงได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพระมหากษัตรืย์ผ่านอภิรัฐมนตรี
(หรือองคมนตรีในเวลาต่อมา ) และจากกลุ่มรอฒัลิสต์ในวุฒิสภาแต่งตั้งทั้งหมด ซึ่ง
เมื่อรวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิป๋ตย์ ทำให้เขาสามารถจัดตั้ง
รัฐบาลได้สำเร็จ 22 ในช่วงต้นเดือนเมษายนมีความเป็นไปได้ที่จอมพลป , กับปรืดืจะ
กลับมาศึนดืกัน นี่น่าจะเป็นสาเหตุให้ท่าทีของกรมขุนชัยนาทนเรนทรไนฐานะผู้สำเร็จ
ราชการฯ “ ไม่เห็นด้วยกับการเสนอตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้จอมพล ป . ”23

20
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, Stanton to Secretary
-
of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period 1 15 Feb-
ruary 1948.” มีการประชุมคณะราษคูรและคณะรัฐประหารที่บัานของร.ท. ขนนรันดรขัยหลายครั้ง
สมาชิกที่เข้าร่วมประชุม เช่น พล .ท . พระประศาสน์พิทยายุทธ พล .ท . มังกร พรหมไยธี พส.ท .
ประยูร ภมรมนตรี และหลวงนฤเบศร์มานิต โนการประชุมครั้งหนงเที่อวันที่ 14 กุมภาพัน{ ได้มี
ความพยายามไกล่เกลี่ยฅวามขัดเฟ้งที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหาร 2490 และยืนยันหลักการของการ
ปฏิวัฅ 2475 ต่อไป ไฅยผูแทนของคณะรัฐประหารคอ พ.อ. เผ่า ศรียานนท์ พ.ท. ละม้าย อุทยานานนท์
และนายทหารระดับกสางอีก 6 คน โดย พล.ร .ต. ลังวร สุวรรณชีพ สมาชิกคณะราษฎรคนหนงที่เข้า
ประชุมได้บันทึกการประชุมที่น์าโดยพส .ท . มังกร พรหมโขธ พ.อ. เผ่า และพ,ท. สะม้าย ว่า “ แล
เสียงที่คุณเผ่า คุณละม้ายว่า นายควงไปไม่รอด เดนกับพวกเฃ้ำ 100 % ” ( อนุสรณ์ในงาน
พระราชทานพลิงศพ พณรึอตร หลวงสังวรยทธกิจ 2516, 163) .
21
NARA, HG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, Stanton to Secretary
of State, 17 February 1948 .
22
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251 , Stanton to Secretary
of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period 16-29
February 1948."
2a
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7251, Memorandum of
Conversation Prince Rangsit and Stanton , 10 March 1948.

12
รัฐประหาร 2490

จอมพล ป. กับกาวล้มแผนทางการเมืองของกลุ่มรอบัลลิสต์
การกดดันของคณะราษฎรกับคณะรัฐประหารที่มีต่อความเคลื่อน'ใหวและ
แผนทาร'บองควงทับกลุ่มรอยลลึสต!บ่'ใต้ผล เนื่องจากควงไต้เปรียบกว่าในฐานะผู้ที่
จะกำหนดอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้ได้รับการสนับสนูนจากกลุ่ม
ราชสกุลและพระราชวงค์ที่ต้องการมีอำนาจไนราชสำนักอีกครั้งหรือคงบังมีอำนาจต่อไป
ควงและกลุ่มรอบัลลิสต์เดินหน้าออกแบบระบอบการเมืองด้วยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ที่เพิ่มอำนาจให้สกาบันพระมหากษัตริย์และทำให้พวกเขาได้เปรียบในการแข่งข้นทาง
การเมือง ตลอดจนกำจัดคู่แข่งให้ออกไปจากการเมือง ในที่สุดเมื่อคณะรัฐประหารยื่น
คำขาดให้ควงในฐานะนายกรัฐมนตรีลาออกในวันที่ 6 เมษายน 2491 ทันที สถานทูต
สหรัฐฯ รายงานว่า เหตุการณ์ขับไล่ควงลงจากอำนาจสร้างความไม่พอใจให้กับกรมขุน
ชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการฯ เป็นอย่างมาก พระองค์ทรงคัดค้านอย่างเต็มกำลัง
เรื่องการแต่งตั้งจอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนควง ทรงพยายามประวิง
ทลาการลาออกของควง และคาดการณ์ว่ารัฐบาลจอมพล ป. และคณะรัฐประหารจะไม่
สามารถดำรงอยู่ได้นาน สถานทูตรายงานต่อไไเว่า พระองค์ทรงมีความเห็นว่าจากนื้ใป
มีความเป็นไปได้ว่าสมาชิกวุฒิสภาซึ่งแต่งตั้งโดยคณะผู้สำเร็จราชการและส่วนใหญ่
สนับสนุนควงจะลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลจอมพล ป. ในกระบวนการทางรัฐสภา24
การกลับเข้ามามีอำนาจของจอมพล ป. สร้างความไม่พอไจให้กับสถาบันกษัตริย์
แกะกลุ่มรอบัลลิสต์เป็นอย่างมาก แต่เหตุการณ์ดังกล่าวกลับไม'ได้รับการต่อต้านจาก
ประเทศมหาอำนาจอย่าง'}นแรงเหมือนการรัฐประหาร 2490 เนื่องจากประเทศต่าง ๆ
วิตกว่าผลประเยชน์ของประเทศของตนอาจถูกกระทบหากไม่ให้การรับรองรัฐบาก
จอมพลป. กล่าวคือ อังกฤษมีความกังวลเรื่องการส่งข้าวตามความตกลงสมบูรณ์แบบ
กับไทยว่าจะได้รับผลกระทบ ส่วนฝรั่งเศสกังวลเรื่องดินแดนในอินโดจีนที่ไทยคืนให้
กับฝรั่งเศสจะกลายเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างกัน,ขึ้นอีก ส่วนสหรัฐฯ วิตกว่าหากไม่
รับรองรัฐบาลใหม่จะทำให้สหภาพโซทยตเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับไทย ดังนั้น
สหรัฐฯ จึงเห็นว่าการไม่รับรองรัฐบาลจอมพล ป . จะสร้างปัญหาที่ไม่จำเป็นตามมา
มากกว่า ไม่กี่วันต่อมาเมื่อรัฐบาลจอมพล ป. ไต้รับภารลงมติรับรองจากรัฐสภาและ

I 24 NARA, RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7251, Stanton to Secretary
of State, 7 April 1948 ; Stanton to Secretary of State, 8 April 1948 ; Memorandum
of Conversation Prince Kangsit and Stanton, 9 April 1948 ; ประเสริฐ (2517 , 612).

73
ขุนศึก ศักดิ,นา และพญาอินทรี

ประกาศว่าจะดำเน้นการตามพันธสัญญานานาชาติดังเดิม มหาอำนาจต่างๆ ก็รับรอง


.
รัฐบาลจอนพลป ทันที ( Mahmud 1998, 67 68) -
ควรบันทึกด้วยว่านโยบาย บองวอชิงตัน ดี. ชี.ในช่วงสงครามเยีนได้เปลี่ยนแปลง
จากช่วงสงครามโลกครั้งที่สองไปแล้ว กล่าวคอ แม้ในอคีตสหรัฐฯ เฅยต่อต้านรัฐบาล
จอมพล ป. แต่ไนช่วงสงครามเย็นกลับให้ทารรับรองรัฐบาลของเขา เนื่องจากในช่วง
เวลาดังกล่าวสถานการณ์การต่อสู้ระหว่างก๊กมนตั้งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีแนวโน้ม
ที่ฝ่ายแรกกำลังเสียเปรียบ ทำให้สหรัฐฯ ต้องการมีอิทธิพลต่อไทยเพอให้ไทยร่วมมีอ
ในการต่อด้านคอมมิวนิสต์ในเอเชีย ดังจะเห็นได้ว่าสแตนตัน ทูตสหรัฐฯ ทีเคยแสดง
การต่อต้านจอมพลป.ได้เปลี่ยนทำทีที่เคยแข็งกร้าวมาเห็นการกล่าวชื่นชม ซึ่งเป็นการ
เปลี่ยนแปลงไปดามทิศทางของนโยบายใหม่ของสหรัฐฯ ที่ว่าจอมพล ป. มีความเป็าเ
ผู้น่าและให้การสนับสนุนสหรัฐฯ ต่อไป (Kullada 2003, 52 )
แม้รัฐบาลควงจะพ้นจากอำนาจไปแล้วก็ตาม แต่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
ใหม่อันประกอบไปด้วยกลุ่มรอยัลลิสต์ที่ถูกแต่งตั้งในสมัยรัฐบาลควงยังคงทำการร่าง
รัฐธรรมนูญต่อไป เนื่องจากจอมพล ป. มิได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 และมิได้
ล้มเลิกรัฐสภา รวมถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญลงเสีย จอมพลป . อาจจะเชื่อมั่น
ว่าตนจะสามารถควบคุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ และที่สำคัญอาจวิตกว่าหาก
ล้มเลิกรัฐธรรมนูญจะทำให้รัฐบาลต้องเผชิญกับการไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติอึก
ถึงแม้จอมพลป. ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะเสนอให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
ยึดถือสาระของรัฐธรรมนูญ พ.ศ . 2475 เป็นต้นแบบในการร่างก็ตาม แต่ข้อเสนอ
ดังกล่าวก็ถูกเพิกเฉยจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (นครสาร, 27 เมษายน 2491)
ในขณะที่การดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญภายใต้แนวคิดของกลุ่มรอยัลลิสต์ยังดำเนินไป
ในทิศทางที่พวกเขาต้องการ
รัฐบาลจอมพล ป. กับความล้มเหลวในการเปีดไมตรีคับกลุ่มปรีดี
การกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งของจอมพลป. ในครังนื1่ ได้รับการรับรอง
จากมหาอำนาจตะวันตก เนื่องจากเขาได้ประกาศยอมรับและทำตามหันธสัญญาต่างๆ
ที่ไทยได้เคยตกลงกับนานาชาติ ให้การสนับสนุนสหประชาชาติ และที่สำคัญรัฐบาล
ของเขาประกาศว่าต้องการที่จะมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับสหรัฐฯ-5 อย่างไรก็ตาม

25
“ Department of State Policy Statement on Indochina , 27 September 1948 , " in
Foreign Relations of the United States 1948 V0 L 6 ( 1974 , 47 ) ; แถบสุ'ข ( 2524ข , 50).

74
รัฐประหา! 2490

รัฐบาลของเขาย้งต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านจากปฏิปักษ์ทางการเมืองหลายกลุ่ม
เช่น กลุ่มรอยัลลิสต์ และกลุ่มปริดี ยิ่ง'ไปกว่า!ณยังมีความขัดแยงระหว่างกองทัพและ
ภายไนกองทัพบทอีกด้วย โดยรวมแล้วรัฐบาลของเขาในช่วงปี 2491 ถึง 2494 ถูก
ต่อต้านจากกลุ่มการเมืองต่าง ๆ อย่างมาก
การท้าทายอำนาจรัฐบาลจอมพล ป. ครั้งแรกมาจากภายไนกองทัพบกเอง ซง
ต่อนาเรียกว่า “กบฎเสนาธิการ” ได้เริ่มก่อตัวซ้นกลางปี 2491 ไม่กี่เดีอนหลังจากที่
เขาตำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การต่อต้านรัฐบาลเกิดจากความร่วมมือระหว่างกลุ่ม
ปรีดึกับกลุ่มรอยัลลิสต์ที่เคยร่วมมือกันในขบวนการเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่
สอง < ชีไอเอรายงานว่าแผนการรัฐประหารดังกล่าวมีสองแผน แผนแรกคอการใช้
2>

กำลังทหารจากกรมปีนฅ่อส้อากาศขานภายใต้การสั่งการของ พล.ท. ชิต มั่นศิลป๋


สินาดโยขารักษ์ เพื่อจบกุมนายกรัฐมนตรีและแกนนำคณะรัฐประหาร และแผนที่สอง
คือการใช้กำลังโดยตรงต่อคณะรัฐมนตรีของจอมพลป. ทั้งหมด หากแผนการสาเรจจะ
๘ 0

มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างกลุ่มปริดีกับกลุ่มรอยัลลิสต์อย่างไรก็ตาม แผนการ
ดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ เนองจากรัฐบาลรู้ความเคลื่อนไหวล่วงหน้าจึงทำการ
จับกุมผู้เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2491 ท่อนที่การรัฐประหารจะเกิดขน-" จากนั้น

26 NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA-RDP79-01082A000100010020 7, -


11- 17 May 1948, "Intelligence Highlights."
27
- -
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA RDP82 00457R 002100340008 7, -
l December 1948, “ Operational Plans of the Abortive Countercoup d ’Etat Group. ’
1

รายงานฉบับนี้ระบุว่า 1นรัฐบาลชุดใหม่ พล,ท, พ มั่นศ้ลป็ สินาดโยธารกษ จะดำรงตำแหน่งนายก


รัฐมนดรี โดยมีควง อภัยวงศ์ เป็นรองนายทฯ ทวิ บุถAยเกตุ เป็น รนว. เกษตร ดึเรก ชัยนาม เป็น
รมา, ด่างประเทศ นสะประภาศ วัฒนสาร เป็นรมช . มหาดใทย แคเมื่อแผนรัฐประหารล้มเหลว ควง
,
ก็ถูกจฆฅามองจากรัฐบาลเป็นอย่างมาก
28
ในทางเปิดเผขนั้น นายทหารสำค้ญที่เกี่ยวข้องคือ พล.ต. สมบูรณ์ ศราบุชีค และ พล.ต. เนตร
เขมะโยธิน แต่รายงานขฃงสถานทตสทรัฐฯ ระบุว่า การพยายามรัฐประหารครงนี้มึกสุ่มทเกี่ยวของ
คือ กสุ่มรอบัลลิสต์นำโดยพล.ท . ขต
ชด มั่นสิลป็ สินาดโยธารักษ์ เป็นแกนนำ และมีควง อภัยวงศ์
พ ,ท. ราย อภัยวงศ์ และพระองค์เจ้ากาถฺเพันธุฯ เช้ารืาม กสุ่มที่สองคือ กสุ่มปรีสี มี พล.ร .ต. ถวัลย์
.
ธำรงนาวาสวัสด พล 0 . อดุล อดุลเดชจรัส ดึเรก ชัยนาม หลางอรรถทดคทาจร พล.ร.ต. สังวร
สุวรรณชีพ หลวงนฤฌศร์มานิด พล.ร .ท. ทหาร ขำหรัญ พ. ต.อ , บรรจงศักด ชีพเป็นสุข พ.ต. ต.
จํไเนิยร วาสนะสมรทธ พ.ต.ด. ทลวงสัม่ฤทใ) สุขุมวาท พล.ต. เนตร เขมะโยธิน โดยมี ปรด พนมยงค์
1

อยู่ฟ้องหลัง ( NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, Bangkok to


Secretary of State, 7 October 1948) จากบันทกของตำรวจนายหนี่งเชื่อว่า กลุ่มปรืดีฅดต่อภับ

75
ขุนศึก สักดินา และพญาอินใ' รึ
"

รัฐบาลไต้นำกำลังทหารไปเฝ็าที่หน้าสถานทูตอังกฤษและสหรั้รฯ เพื่อป้องกันไม่ให้ทลุ่ม
ผู้เกี่ยวข้องหลบหนึเข้าไปในสถานทูต - ' สถานทูตสหรัฐฯประเมินว่าเสถียรภาพทางการ
เมืองของจอมพล ป . ในฐานะนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ห่างไกลจากในช่วงสงครามโลกครั้ง
ที่สองมาก 30

ท่ามกลางความขัคแย้งหลายด้านที่รัฐบาลจอมพล ป . ต้องเผชิญ จอมพล ป .


ได้เลือกที่จะทใดไมตรีกับปริดี พนมยงค์ อดีตมิตรเก่าเมื่อครั้งปฏิวัติ 2475 เพื่อ
ร่วมมือในการต่อต้านการขยายอำนาจของกลุ่มรอยัลลิสต์ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2492
จอมพล ป. ไต้แถลงข้อความผ่านวิทยุที่สื่อถึงกลุ่มปรีดีว่า ปรืดีคือสมาชิกแรกเริ่มของ
คฒะราษฎรและเป็นเพื่อนเขา เขาต้องการให้ปรีดีกลับมาร่วมงานกับรัฐบาลเพื่อให้การ
,
เมืองมีความเป็นเอกภาพ * ในขณะที่คณะรัฐประหารไม่สามารถควบคุมกลไกทางการ
เมืองตามรัฐธรรมนูญได้ เนื่องจากกลุ่มรอย้ลลิสต์ยึดกุมกลไกเหล่านั้นไว้แล้ว และกำลัง
,
ออกแบบระบอบการเมืองที่ขิะเอื้อประโยชน์ให้แก่สถาบันกษัตริย์และพวกเขาให้ ใด้
เปรียบทางการเมืองอย่างถาวรเหน็อกลุ่มต่างๆผ่านการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในอีกด้าน
หนง
<4
กลุ่มปรีดีก็ยังคงท้าทายอำนาจรัฐบาลจอมพล ป . ต่อไป ท่ามกลางศึกสองด้าน
จอมพล ป . ตัดสินใจที่จะขอความร่วมมือจากปรีดีและกลุ่มของเขาเพื่อต่อสู้กับกลุ่ม

พล.ด. หลวงศราบุชิต และพล.ต. เนตร ผ่านร.ต.ต. สุจิตร สุพรรณวัฒน์ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัย


วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ภายหลังพ่ายแพ้ ร.ค.ด. สุจดรหนีกลับไปหาปรดีที่จิน (โปรดคู อำขุง
2526, 52-53) สอดคล้องกับบันทกของปรีดีถึงm ตุการฉ่ฒว่า “ฅนที่หลบหนีการจับกฆ [กรณี ‘กบฏ
เสนาธการๆ มาได้ ได้ส่งตัวแทนมาหาข้าพเข้าเพื่อวางแผนกอการอโกฒษ์ไค่นล้มรัฐบาลปฏิกิรยาอิก
ครั้งหนึ่ง [กรณี กบฎวังหลวงT (ปรีคี 2529, 112 -16) โดยพล .ท. ชิต มั่นคิลป๋ สีนาดโยธารักษ์
4

นั้นมีฅวามสนิทกับควงมานาน เมื่อพ.ท. รวยถูกรัฐบาลจอมพลป. จับกุมในเหตุการณครั้งนั้ พระชิงค


เจ้าภาณุพ้นธ์ฯ ได้ออกนากัดด้านการจับกุมดังกล่าว ( NARA, RG 59 Central Decimal
-
File 1945 1949 Box 7251 , Stanton to Secretary of State, “ Political Survey of the
-
First Six Months of the Phibun Regime May October 1948," 22 November 1948).
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, Bangkok to Secretary
of State, 7 October 1948,
30
-
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945 1949 Box 7251, Stanton to Secretary of
State , “ Political Survey of the First Six Months of the Phibun Regime May-October
1948," 22 November 1948.
31
NARA, RCJ 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 72511 Stanton to Secretary
of State, 8 February 1949.

76
รัฐประหาา 2490

รอลัลลิสต์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากร]รีดึและพวกมีแผนการตรงกันข้ามกับ


,
ควานต้องการของจอมพล ป 2 ด้นเดือนกุมภาพันธ์ 2492 กระทรวงการต่างประเทศ
,
,
สหรัฐฯ รายงานว่า ปรดีไต้เดีนทางกลับเข้ามา ในไทยเป็นครั้งแรกหลังการรัฐประหาร
2490 แต่มิไต้มุ่งมาเพื่อเจรจากับจอมพล ป. แต่เพื่อทวงอำนาจคนจากจอมพล ป.33 ไม่
กี่วันหลังจากนั้น เนื่อรัฐบาลล่วงรู้ควานเคลื่อนไหวที่จะต่อต้านรัฐบาลของปรืดีและ
พวก จอมพล ป . ก็ออกแถลงการณ์ทางวิทยุเพื่อเดือนขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าว 34

พี่อการเจรจาไม่เป็นผลและมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงขน รัฐบาลจอมพลป .
ไต้ขออนุมัติจากกรมขุนชัยนาทนเรรเทร ผู้สำเร็จราชการฯ เพื่อประกาศภาวะฉุกเฉิน
แต่พระองค์ไม่เห็นด้วย 35 ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเชินจะมี ผลทำไห้รัฐบาลมีอำนาจ
เบ็ดเสร็จ แต่ในที่สุดรัฐบาลสามารถประกาศภาวะฉุกเชินได้สำเร็จ และนำไปสู่การ
จับกุมกลุ่มปรีดี 3'' กระนั้นปรีดีลังคงเดีนหน้าแผนการกลับสู่อำนาจต่อไปด้วยการ

32
-
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA RDP79-01082A000100020022-4,
9-15 February 1949, "Intelligence Highlights No.39" ; NARA, KG 59 Central Decimal
File 1945-1949 Box 7251, Stanton to Secretary of State, 9 February 1949. สถานทด
สหรัฐฯ แสะซ็ไอเอรายงานตรงกันว่า แกนนำคนหนื่งของกลุ่มปรีดแข้งว่าจอมพล ป.ได้ส่งผูแทนไป
พบกับแกนนำของกลุ่มเพื่อขอให้พวกเขากลับมาร่วมมือกับจอมพล ป. โดยพวกเขาดีความว่า การ
ส่งสัญญาณของจอมพส ป. ผ่านวิทยุในด้นเดีอนกุมภาพันธ์ 2492 คือควานพยายามสื่อกับพวกเขา
1

ถึงความตงใจของจอมพล ป , ที่มีค่อปรีดีและกลุ่ม อยางไรก็ตาม มติของกลุ่มปรืดีคือไม่สามารถตกลง


รับข้อเสนอจากจอมพลป ได้ .
33
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, Reed to Butterworth,
"Siam Politics, ” 9 February 1949.
34
จอมพลป. ได้แถลงผ่านวิทยุเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2492 1นหัวข้0 “ประเทศจะมีจลาจลหรีอไม่ n
ใดขแถลงการณ์ดังกส่าวได้เปรียบเทียบไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทื่มีเหตุการณ์จลาจลและใน
ประเทศไทยก็กำลังจะเกิดขึ้น1 และเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2492 เรื่อง ‘‘สถานการณ์ของโลกเกี่ยวกับ
การจลาจลไนประเทศอย่างไร ” ฟ้อหากด่าวถึงดันตราย นองคอมมวนิสต์ที่เข้ามาแทรกข็ม ( สมุทร
6

2507, 447) .
3:‘ NA, FO 371 /76281, Thompson to Foreign Office. 21 February 1949,
36 NA, FO 371/ 76281, Thompson to Foreign Office, 25 February 1949 ; NARA, CIA

- -
Records Search Tool (CREST ), ClA RDP82 00457 r002600450006-2, 25 April 1949,
"Additional Information Concerning the 26 February 1949. ” พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท
ได้เข้าจบกุมสมาชิกกลุ่มปรดี เช่น พ .อ. ทาน วิชัยข้ทคะ และนายทหารระดับกลางรก 2 3 คน -
เนื่องจากเคลื่อนไหวเครียมการรัฐประทาร

77
ชุนดึก ศกคินา และพญาอนทร

ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลก๊กมีนตั๋ง 17 ซีไอเอยังบันทึกด้วยว่ารองนายกรัฐมนตรีจีน
กล่าวเป็นนัยว่ายินดีหากมีโอกาสดำเนินการให้เกิดการโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป.3*
นอกจากรัฐบาลก๊กมีนต'งแล้ว '
ชุมชนชาวอเมริกันอดีตโอเอสเอสที่เคยร่วมงานกับ
เสรีไทยในช่วงสงครามโลกครังที่สองก็ไม่พอใจที่จอมพล ป. กลับมามีอำนาจเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิลลิส เบรด
^๙
(Willis Bird )3" ในขณะที่ในระดับนโยบายนั้น สหรัฐฯ
'

นอกจากจะไม่ให้การสนับสนุนการโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป. แล้ว ยังต้องการสนับสนุน


ให้รัฐบาลจอมพล ป. มีความเข้มแข็งอีกด้วย 40
เที่อปรีดและพวกเดินทางจากจีนมาไทยเพื่อปฏิบัติการทวงคืนอำนาจใน
เหตุการณ์ที่เรียกกันต่อมาว่า ‘‘กบฎวังหลวง ” ด้วยการโดยสารเรือปราบเรือดำนั้า
(Submarine Chaser) ชื่อ เอส. เอส. บลูเบิร์ด (ร. ร. Bluebird ) ชี่งมีกัปตันเรือชื่อ
จอร์จ เนลสิส (George Nellis)และลูกเรือทั้งหมดเป็นชาวอเมริกัน เรือดังกล่าวได้
แล่นออกจากฮ่องกงมารับปรีดีและคณะจำนวน 8-9 คนที่มณฑลกวางตุ้งประเทศจน
พร้อมลำเลียงอาวุธหลายชนิด เช่น ปืนบาซูกา ปีนสะเต็น ปีนคาร์บน ลูกระเบิดมือ
และกระสุนจำนวน 40 ทึบที่ไต้รับการสนับสนนจากโอเอสเอสในจีน จากนั้นเรือก็ม่ง
ตรงมายังสัตทึบ41

NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251 , Reed to Rutterworth ,


" Political Intervention of Pridi Banomyong, " 30 September 1948 . สำหรับเงินทุนในการ
ดำเนินการนั้น ไนเอกสารดังกล่าวรายงานว่า ปรดึ พนมองค์ ได้รมเงินจาณค ชี. เส่ห์ ( K . c . Yeh)
,

ผู้ช่วยรัขิมนฅรืฝ่ายการเมืองของกิจการระหว่างประเทศขชิงรัฐบาลก๊กรนตั่ง จำนวน 50 , 000


ดอลลาร์และซากสงวน ตุลารักฟ้ ที่ฝากไว้ที่ National City Bank of New York จำนวน 40,000
ดอลลาร์เพื่อซื้อเรือซากส่องกง กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่รัฐบาลจน
ให้การสนับสนุนเนื่องจากต้องการมีอึทธิพลเหน็อไทย โดยาใรืดึมีแผนการที่จะทลับกรุงเทพฯ ด้ายการ
กอการรัฐประหาร
as
NAHA , CIA Records Search Tool (CREST), CIA-RDP79-01090 A()005000 ไ 0009-7 ,
7 - 13 September 1948 , “ The Chinese National Government Regards Siam with
Increasing Disfavor , "
NA, FO 371 / 84348 , Thompson to Mr. Bevin , "Siam : Annual Review for
1949, ” 10 May 1950 ; Anusorn (1992 , 51).
40 NARA CIA
, Records Search Tool (CREST ), CIA-RDP79-01090A000500010009-7 ,
7 ~ 13 September 1948 , “ The Chinese National Government Regards Siam with
Increasing Disfavor /*
41
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA-RDP82-00457 R002700370010-5,

78
รัฐประหาร 2490

สำหรับการเตรียมแผนเคลื่อนไหวในประเทศนั้น ปรีดีตดต่อกับกลุ่มของเขา
เง นภจิตร ลุลิตา,นนท์ อย่างต่อเนื่องนละมีการประชุมวางแผนกันภายในกลุ่ม เขามอบ
หมายให้ทวิ ตะเวท์กล ทาบทามขอความสนับสนุนจากเผ่าและสฤบดิ้ แต่ได้รับการ
ปฏิเสธ นั้งนี้ทวิไม่เห็นด้วยกับแผนการใช้กำลังในการกลับคืนลู'่อำนาจของปรีดีครั้งนี้
..สะพยายามโน้มน้าวให้ปรีดีล้มเลิกแผนดังกล่าวเพี่อให้เขาสามารถกลับมาไทยต่อไปได้
แต่ปรีดืยังคงรนยันที่จะดำเนินแผนการชิงอำนาจคืนต่อไป (ประสิทธิ้ 2542, 150,
161-62 ; อนุสรพในงานพระราชทานเพลิงศพ พสเรือตรี หลวงสังวรยุทธกจ 2516,
180) นมเป็นที่รับรู้กันว่ากองกำลังหลักของการพยายามรัฐประหารดังกล่าวคือทหาร
เรือจากหน่วยนาวิกโยธิน ชลบุรี ของพล.ร.ต. ทหาร ขำหิรัญ และเหล่าสมาชิกเสรีไทย
j ชื่งประกอบด้วยทหารบก ตำรวจ และนักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และ
[ การเมือง (สุเพ็ญ 2518, 54-55) แต่จากหลักฐานการสนทนาระหว่างปรืดีกับ พล.ร.ต.
สังวร สุวรรณซีพ ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกับหลักฐานของซีไอเอว่าการพยายาม
1
รัชประหารครั้งนีใต้
้ รับความช่วยเหลือจากก๊กมีนตั้งและอดีตโอเอสเอส4 อย่างไรก็ตาน '

รัฐบาลจอมพล ป. สามารถปราบปรามการต่อต้านรัฐบาลหรือ “กบฎวังหลวง ” ( 26


กุมภาพันธ์ 2492 ) ลงได้ ' ไม่กี่วันจากนั้น คณะรัฐประหารตัดสินใจปราบปรามแกนนำ
'

ของกลุ่มปรืดีด้วยการสังหารอดีตรัฐมนตรี 4 คนที่ย่านบางเขนอย่างเหี้ยมโหด รวมทั้ง

May 1949 , “ Participation of Former United States Navy Ship เท the Attempted
n
4
-6 February Coup " ; อนุ&รล นงานพระราชทานเพลิงศพ พสเรือตรี หลวงสังวรอุทธกิจ ( 2516,
173-74) ; ประสิทธ์ ( 2542, 162-63); อำรุง ( 2526, 53 ). เอกสารซึไอเอให้ข้อมูลว่า ภายหลังคาาม
พ่ายแท้ กัปต้นณสลสใต้ทลบช่อนที่บ้านของประสิทธ์ ถูลิตานนท์ จากนั้นเขาไต้รับการช่วยเหลือให้
เดินทางกลับไปฮ่องกงและกลับสู่สหรัฐ'! ส่วนเรือเอส. เอส. บลูฌิร์ดนั้นไต้เข้าสู่น่าน•นาไทยเมื่อรันที่
7 กุมภาพันธ์ 2492 (พอส่งปรืดี พนมยงค และลำเลียงอาวุชชันส่งเมื่อวันที่ 24 กุมกาพันธ์ จากนั้น
ออกจากส่งไทยเมื่อวันที่ 2 มีนาคม มุ่งหน้าสู่ไช่ง่อน ยินโดจีน ภายหลังเรือดังกล่าวถูกขายให้กองเรือ
ลาดตระทนของฝรั่งเศส
VI
โปรดดู คำบอกเล่าขอความช่วยเหลือของปรดี พนมขงคํ เกี่ยวกับความช่วยเหลือจากก๊กมีนตั้ง
.เละอดีตไอเอสเอสใน อนุสรพ!นงวนพรร:ราชทานเพลิงศพ พลเรือดรี หลวงสังวรอุทรกิจ (2516,
175 , 181 ),
4.รื
NAHA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA -RDPS2-00457 R 002600450003-5,
25 April 1949, "Political Activities Resultant on the 26 February Coup. " การประชุม
กลุ่มเล็กภายในคณะรัฐประหารมี พล .ร .ต , หลวงพลสินธวาณัตกํ พล .ท . ผิน และ น .อ . ม.'ปี . รังบิอากร
อาภากร ใคย ม.จ . รังข้ยากรเห็นว่าการเมองไทยจะไม่สงบจนกว่าปรีดึและแกนนำจะถูกกำชัด

79
%

«4
Cs

.

- M
1;, - &
ะ'
/
( เ •AUTfuR ^ ENDA *
If
, 1
#T SON EVASION )

LEGEWDE ะ
•" TBAtAiK^
«Al r DCFTBANGKOK A L'lLt
SINGAPOUft
TRAIfiT OE SlMGA ^OtlR A
MOWG HOwC
'AArAlftajFr £ HONG HONG A

4=»
FSIRC ?TAO
CMALuTl E ท

“ ^
0 601
ydlig CARGO
^ พ *.* TOftPILLEUR

. -
I F CHAVUTItfl JAuGE t> E ร
TUNNCS SUR tEOi f i fAii’Pyn
AvOrAGE CORธ oc SON
EVASION Do SI A V 1
c A ^ONMfCRE

CROISCUR

เส้นทางที่ปรดีไช้เคินทางออกจากประเทศไทย (รงหาคม-กันขายน 2492) หลังเหตุการณ์กบฎวังหลวง


( 26กุมภาพันธ์ 2492 ) ซงเป็นความร่วมมอกันของพันธมิตรทางการเมึองของปรืดีทั้งกถูมทหารเรือ
อดีตไอเอสเอส และอดีตศมาชกขบวนการเลัรไทย ที่หวังยึดอำนาจคืนหลังรัฐประหาร 2490 (ภาพ
จาก Ma vie mouvementee et mcs 21 ons d'exil en Chine populaire , Unescon et Bangkok
Post 1974)
รัฐประหาร 2490

สังหารทวี ตะเวทิกุล และพ.ด.อ. บรรจงสักด ชีพเป็นสุข ด้วย (ชาญวิทย์และธำรงลักด


2544ห้ 1 แม้สหรัฐฯ จะมีนโยบายสนับสนูนรัฐบาลจอมพล ป. แต่ความช่วยเหลือของ
อดีตโอเอล'เอสที่ไห้แก่ป1ดีและะกลุ่มของเขาในการต่อด้านรัธบาลนั้นทำให้จอมพลป ,
“ อความไม่ไว้วางใจสหรัฐฯเป็นอย่างมาก
ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าว สหรัฐฯได้
ส่งทูตทหารเดินทางเข้ามาประจำการในไทยจำนวนมากชัน ยิ่งสร้างความกังวลให้กับ
จอมพลป. ว่าสหรัฐฯสนับสนูนปรีดีและทันหลังให้กับรัฐบาลของเขา

กลุ่มรอบัลลิสต์กับการสถาปนารัฐธรรมนูญที่ปฏิเสธกองทัพ
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอลัลลิสตํในช่วงเวลา
ดังกล่าวไต้สร้างความไม่พอใจให้กับจอมพลป. เป็นอย่างมาก เป็นไปได้ว่าจอมพลป.
มองทะลุแผนทางการเมืองของกลุ่มรอบัลลิสต์ในการร่างรัฐธรรมนูญ เขาจึงเสนอให้ตั้ง
•าณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ หรืออย่างน้อยขอให้รัฐสภาชุดดังกล่าวทำการ
แก่ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กลุ่มรอบัลลิสต์ร่างชันในชั้นการพิจารณา แต่ลูเหมือนว่า
ความต้องการของเขาไม่เป็นผลแต่อย่างใด เนื่องจากแมวาเขาจะสามารถควบคุม
V f

กองทัพไว้ไต้ แด่กลับมีได้มีอิทธิพลเหนือรัฐสภาชุดดังกล่าว ทั้งนั้ในช่วงของการ


ขับเคี่ยวในการสร้างกดิกาทางการเมืองใหม่นั้ รัฐบาลสั่งให้มีการสอดส่องความ
เกลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มรอบัลลิสต์ด้วย (เกียรติสักด , 20 กุมภาพันธ์ 2492)
ในระหว่างที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งถูกร่างโดยกลุ่มรอบัลลิสต์ถูกเสนอเข้าลู’่การ
พิจารณาในรัฐสภาที่ดารดาษไปด้วยกลุ่มรอบัลลิสต์ทั้งไนวุฒสภาและสภาผู้แทนรานฎร
บัน จอมพลป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี บังคงรนยันกับทูตสหรัฐฯว่าเขาน้ยม
รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 มากกว่า เพราะมีความเป็นประชาธิปไตยมาทกว่า
ฉบับของกลุ่มรอบัลลิสต์ เขาเห็นว่าสาระในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นการลดอำนาจ
ของประชาชนลง แด่กลับขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์ให้มากชัน เขาเห็นว่าทิศทาง


ซึไอเอรายงานว่า ผู้ลงมือสังหาร 4 รัฐมนตรี คือ พล .ต .ข . ทน จิตรวิมล โดยมื พ . ค .อ. หลวง
พิชิตธุรการเป็นผู้สั่งการให้พล .ต . จ . ทมลงมือสังหาร ( NARA, CIA Records Search Tool
-
[CREST], C1A RDP82-00457 R002600450004-4, 25 April 1949, “ Added Information
Concerning the Murder of the Rx- Minister."
4&
NA, CO 54462 / 3, Thompson to Foreign Office , 29 November 1949 ; NA,
FO 371 /84348 , Thompson to Mr, Bevin , "Siam : Annual Review for 1949, " 10 May
1950.

SI
ขนคิก ศกดีนา และพญาฏินทว

การเมืองที่ปรากฏในร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและมีมืความหมายซ่อนเร้น
บางประการอยู่ในรัฐธรรมนูญ และเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะนำไปส่ป้ญหา
ทางการเมืองในไม่ช้า46
ในที่สุดรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว หรือรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 ที่เพิ่มอำนาจให้
สถาบันกษัตริย์ในทางการเมือง แต่กีดกันคณะรัฐประหารออกไปจากการเมืองก็ถูก
ประกาศใช้ในเดือนมีนาคม 2 4 9 2 1 แม้ในระหว่างการพิจารณาจะมีการดัดค้านจากนาย
'

ทหารจำนวนหที่งไนคณะรัฐประหารและจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีสานที่นำโดย
เกียง ไชยกาล ฟอง สิทธธรรม ซ็ชี่ น ระวิวรรณ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนอื่นๆ
จากภาคอีสานก็ตาม 1'1 แด่ก็ไม่อาจต้านทานเสียงให้การสนับสนุนจากกลุ่มรอยัทถิสฅท
ท่วมท้นรัฐสภาไต้ ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มรอยัลสีสต์ยังได้เกคืบทางการเมืองด้วยการเตรียม
จัดศั้งพรรคการเมืองทื่มีแนวทางแบบกษั
,
ต ริ ย น
์ ย
ิ มเพิ ม
่ นี น
้ อี ก จากเดิมที่ฏีเพียงพรรค
4,,
ประชาธิบีตย์และพรรคกษัตริย์นิยม
ชไอเอวิเคราะห์ว่าเมือรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวผ่านการพิจารณาของรัฐสภา
กลุ่มรอยัลลิสต์, มีความมั่นใจมากขึ้นว่าจะคุมกลไกทางการเมืองที่สำคัญไว้ไต้ ส่งผล
ให้'พวกเขาเริ่มใช้อำนาจที่เหนือกว่าคณะรัฐประหารด้วยการเสนอแนวคิดจัดตั้งรัฐบาล
ผสมระหว่างพรรคประชาธิป๋ตย์กับคณะรัฐประหาร โดยมีแผนผลักดันให้เจ้าพระยา
ศรีธรรมาธิฌศ แกนนำสำคัญในกลุ่มรอยัลลิสต์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพลป.
และลดตำแหน่งจอมพล ป. ลงเป็นเพียง รมว. กลาโหม โดยจอมพล ป. ต้องลาออกจาก
ตำแหน่งผู'บั้ ญชาการทหารบกซงเป็นตำแหน่งช้าราชการ ส่วนตำแหน่งรัฐมนตรีอื่นๆ

NAHA, RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7250, Memorandum of


4l '

Conversation Phibun and Stanton, 1 March 1949.


47
รพ่? 997เ3แ1/กษ1 เล่ม 66 , ดอนที 17 {ชิะบับพิเศษ 23 มีนาคม 2492) : 1 - 80 .
4t
ในการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณารับรัฐธรรมนูญ 2492 น ชื่น ระวิวรรณ และเล็นง ไชยกาล ไต้
อภิปรายวิจารณ์รัฐธรรมนูญที่ใหอำนาจในทางการเฏืองแท่พร£มทๅทษัตริย์ว่า “ร่างรัฐธรรมนูญนะบับนี้
โม่ใช่ประชาธิปไตยอันแห้จริง แต่มีลัทธิการปกครองแปลกปลาดแทรกซ่อนอยู่ ลัทธินี้ทอ ลัทธินิยม
กษัตริย์" และ '‘ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนไว้โดยปรารถนาจะเหนี่ยวรั้งพระมหากษัตริย์เข้ามาพัวพัน
กับการเมีองมากเกิน!ป โดยการถวายอำนาจมากกว่าเดม . . . อังงีไม่ใช่รัฐธรรมนูญประชาธิปไดย บัน
เป็นรัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์อย่างชัดๆทีเดียว ” (ธงชัย 2548 , 21 ).
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251 , Stanton to Secretary
of State, 11 February 1949.

82
รัฐปวะหา! 2490

จะ: คกเปีนของพรรคประชาธิปัตย์ทงหนด5" ความสำเร็จในการสถาปรกระบอบการเมือง


"
ไยใต้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้สร้างความพอใจให้กับพระราชวงศ์และกลุ่มรอยัลลิสต์
เป็นอย่างมาก51
กล่าวโดยสรุป นับแต่หลังการรัฐประหาร 2490 กลุ่มรอยัลลิสต์มีความได้เปรียบ
r ไงการเมืองเหนือคณะรัฐประหาร เนื่องจากพวกเขาสามารถเข้าคุมกลไกทางการเมือง
และการออกแบบระบอบการเมืองผ่านรัฐธรรมนูญ 2492 ทำให้พวกเขาได้เปรียบใน
การแข่งขันและมือำนาจที่ยํ่งสิน การรุกคืบของกลุ่มรอยัลลิสต์ทำให้จอมพลป. ไนฐานะ
บัวหน้าคณะรัฐประหารและนายกรัฐมนตรีจำต้องแสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มปรีดี
แต่ไม่ประสบความสำเร็จ การรัฐประหารที่ล้มเหลวของกลุ่มปรีดีเพื่อต่อต้านรัฐบาล
.
จอมพลป ไม่เพียงทำให้กลุ่มใ ]รีดืด้องบอบชํ้าจากการต่อสู้และเสียแกนนำที่สำคัญไป
หลายคนเท่านั้น แต่ยังได้ทำลายโอทาสในการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มคณะราบฎร
เดิมเพื่อยุติแผนการขยายอำนาจของกลุ่มรอยัลลิสต์ และเปิดทางให้กลุ่มรอยัลลิสต์เดิน
แผนการทางการเมืองของตนเองต่อไปได้

5(1NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA -RDP82-00457R002500140001 -2,


15 March 1949, " Faction Involved in Political Maneuvering ill Connection with the
Draft Constitution and the Amnesty Bill ," อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวประกาศ
ใชัสำเร็จเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492
51 พิทยสาภพฤฒยากร (
2512, 118 ) พระองค์ทรงเรียกขานการเมองหลังการรัฐประหาร 2490 ว่า
“ วันใหม่ของชาดึ *

83
-
tmwm
*
.

* พ fir'
Jir <4 . ซี-iธ:*ฺร
K.-V
'ร;

- $ ทุ3เ*ร
1

k ri

T >

*&
-«RS
. ' 1 . . J r ,71
> |
j M

พร#
- >HV
*:

. ฒ
v2.+A- -.*
' , *HrJ £ฒ*ฒ-
ชร
^
.๚- .

-
'

** SXJHWww '
ระ S£:
iT
PA k; '1 J .
.
พ::
* i*- r. -:ร,,
> T»;
f* SB ชุ(*I ๆ i
fM;SUK
-
»
• 1

Jf .
'

ปี D
'rI
ร่ 'MJL
'
;
ย้รเ*
'' ,
I

^
fr

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกขับเป็นตัวประกันไนพิธิรับมอบเรือ เตจาก 0 เมรีกันชื่อ " แมนฮดคน '' แร

เมื่อวันที่ 29 รถนายน 2494 เทตุการณ์นรู้จักกันต่อมาโนชื่อ “กบฏแมนฮตตัน" เป็นความพยายาม


ก่อรัฐประทารบนความร่วมมือของคนหลายกลุ่มที่ต่างโม่ใวั[จกัน ได้แก่ กลุ่มปรีดี กลุ่มรอยลลสด้
กลุ่มพล.ท.กาจ และกองทัพเรือ มีกไรเตรียมแผนจะตลบหวังซึ่งกันและกัน จนกลายเป็นการ
รัฐประหารที่ล้มเหลว นำไปลุ่ความบอบชาของกองทัพเรือ และปีดจากหนทางที่ปรืดึจะกลับสู
การเมืองไทย
บทที่ 4
สู่ภาวะกึ่งอาณานิคมในยุคสงครามเย็น
การหัพเข้าหาสหรัฐอเมริกากับการปราบปรามคัตฐทางการเมือง

รัญญาณจากวอชิงตัน ดี. ซี. ถึงไทย


สหรัฐฯ ไนฐานะเจ้าจักรวรรดิใหม่ต้องการสนับสนูนการขยายตัวของระบบ
เฯว่ษฐกิจแบบทุนนิยมไปทั่วโลก ประธานาธิบดีทรูแมนไต้เริ่มด้นแผนกระตุ้นการขยาย
ตัวของเศรษฐกิจโลกผ่านโครงการข้อที่สี่ สหรัฐฯ ต้องการสนับสนูนให้โลกก้าวเข้าสู่ยุค
แห่งภารพัฒนาไดยมีโครงการโยกย้ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายทุน เกษตรกร
และชาวนาสหรัฐฯไปยังภูมิภาฅต่างๆเพื่อขยายการลงทุนของสหรัฐฯออฑไปข่าวโลก
ผ่านการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาให้สามารลใชัประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาต็ที่มีอยู่ในประเทศนั้นๆ ขณะเดียวกันก็ขยายอิทธิพลของทารใช้สกุล
เงินดอลลาร์ออกไปยังส่วนต่าง ๆ ทั่วโลก โครงการของประธานาธบดีทรูแมนเป็นการ
ผสมผสานกิจกรรมระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดการขยายตัวของการค้าและลดอุปสรรค
การลงทุนของภาคเอกชนสหรัฐฯ ที่จะเคลื่อนย้ายการลงทุนไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกให้
-
โต้รับความสะดวกมากยิ่งขน (Rist 1999, 71 77 ; Hayes 1950b, 27-35, 263-72 )
สำหรับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯต่อไทยภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น
:'หรัฐฯต้องการให้!ทยยอมรับระเบียบการเงินระหว่างประเทศที่มีสกุลดอลลาร์เป็นหลัก
: ที่อลดอิทธิพลของอังกฤษและสกุลเงินปอนดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลง
1

และพยายามผลักตันให้ไทยกลายเป็นแหล่งทรัพยากรและเป็นตลาดรองรับสินค้าจาก
ประเทศอุตสาหกรรม เมื่อไทยต้องเผชิญหน้ากับป้ญหาการรักษาค่าเงินบาทภายหลัง
สงครามโลก รัฐบาลควง อภัยวงฅ์ หลังการรัฐประหาร 2490 ได้ขอคำปรึกษาการแก้
ชุนลึก ศกดีนา และพญาอินทรื

ป้ญหไค่าเงินจากสถานทูตส,Mรัฐฯ ด้วยเหตุที่สหรัฐฯ มึนโยบายส่งเสรมการขยายตัวทาง


เศรษฐกิจของโลกทุนนิยมที่มีสหรัฐฯเปีนผู้นำ สถานทูตสหรัฐฯจึงสนับสนุนให้ไทย
เปลี่ยนการผูกค่าเงินบาทจากเงินปอนด์ไปสู่สกุลดอลลาร์ได้สำเร็จในปี 2492 ( Neher
1980, 328-29, 391 ) จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ซีไอเอรายงานว่า สหรัฐฯ สามารถเข้ามา
มึอิทชิพลต่อไทยแทนที่อังกฤษไต้สำเร็จ 1
ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2490 สหรัฐฯ ได้เริ่มเข้ามาครอบงำระบบการเงินและ
การค้าของไทย ทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งทรัพยากรและเป็นตลาดรองรับสินค้าของ
สหรัฐฯ และญึ่ป่น จากนั้นสหรัฐฯ เริ่มเข้ามากรอบงำการทหารของไทยด้วยการให้ควาน
ช่วยเหลือทางการทหารและข้อตกลงทางการทหารเพื่อทำให้เทยกลๅยเป็นป็อมปรๅภๅร
สำคัญของสหรัฐฯในการต่อด้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอด
ช่วงสงครามเย็น ส่งผลให้ไทยฏีความเป็นอิสระในการตัดสินใจลดน้อยลงเรืเรื่ อยๆ แม้
สหรัฐฯจะมิได้ใช้รูปแบบการเข้ายึดครองดินแดนเพื่อบงการการปกครองอย่างเบ็ดเสร็จ
เฉกเช่นทีเจ้าจักรวรรดิกระทำในยุคอาณานิคม แต่นโยบายและบทบาทของสหรัฐฯ ที่มิ
ต่อไทยในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามระหว่าง พ.ศ . 2491-2500 มีส่วนสำคัญ
ในฐานะปัจจัยชขาดชัยชนะของกคู่มการเมืองไทยที่จะต้องดำเนินการตามความ
ต้องการของสหรัฐฯ เท่านั้นถึงจะสามารถมีอำนาจทางการเมืองต่อไปได้ นี้สะท้อนให้
เห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าวไทยได้เคลื่อนเข้าสู่ภาวะกี่งอาณานิคมภายใต้ระเบียบโลก
ของสหรัฐฯที่จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในการเมืองไทยสมัยต่อมา
สำหรับบริบทการเมืองระหว่างประเทศในช่วงต้นทศวรรษ 2490 สถานการณ์
ในจีนเริ่มเข้าสู่ภาวะคับขัน เนื่องจากกองทัพก๊กมินตั๋งที่สหรัฐฯให้การสนับสนุนนั้นเริ่ม
สูญเสียพนทีในการครอบครองให้คับกองทัพเหมาเจอตงของพรรคคอมมิวนิสฅ์จึนมาก
ขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้สหรัฐฯ วิตกว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะได้รับขัยชนะ ซึ่งย่อมหมายถึง
อุปสรรคต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมตามที่สหรัฐฯ ต้องการ ด้วย
.
เหตุนี้ไนเดือนกุมภาพันธ์ 2492 ดีน จี อัชเชอสัน ( Dean G . Acheson) รมว. ต่าง
ประเทศสหรัฐฯได้สั่งการถึงสถานทูตสหรัฐฯในไทยว่า สถานการณ์ในเอเชียมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เขาต้องการให้มีการประชุมคณะทูตสหรัฐฯ ประจำภูมิภาค
เอเชียที่กรุงเทพฯ ต่อนาการประชุมดังกล่าวที่นำโดยฟิลลิป ซี. เจสสัป ( Phillip C.
1
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA-RDP67-00059A000500080009-9,
17 May 1948 , “Review of the World Situation ."

86
ซึ่ภาวะ;กึ่งอาณานิคมในอุคเพครามเย็น

,
1 ' )
Jessup) ได้เกิดขึ้นในกลางเดือนกุมภาพันท ถัดมาเพี่อระดมควานคิดเห็นในการต่อสู้
กับคอมมิวนิสต์และต่อต้านการปฏิรูปที่ดินทุกรูปแบบในภูมิภาค ธัชเชอลันต้องการ
ให้คอมมิวนิสต์กลายเป็นภัยคุกคามอย่างแท้จริงต่อภูมิภาคเอเชีย ’

นอกจากนี้ ใครงการ‘บอที่ศี่ทำให้สหรัฐ'1 เริ่มต้นให้ความสนไจที่จะปรับปรุง


เศรษฐกิจของไทย ไนเตือนมิถุนายน 2492 ทูตพาณิชย์ของสหรัฐฯ ในกรุงเทพ ! ได้
ทล่าวถึงแนวทางการดำเนินการตามโครงการข้อที่สี่ในไทยว่า สหรัฐฯ ต้องการให้ไทย
-
มิความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ ตลอดจนฏีการส่งเสริมการซื้อขายวัตถุดิบใน
การผลิตสินค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ด้วย ความช่วยเหลือแก่ไทยนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
นโยบายเศรษฐกิจระดับโลกของสหรัฐฯ เพึ่อส่งเสริมการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ
โลก ( Neher 1980, 159-60) ในช่วงต้นทศวรรษ 2490 สหรัฐฯยังคงเห็นว่าไทยเป็น
เพียงแหล่งทรัพยากรและตลาดรองรับสินค้าที่สำคัญสำหรับสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ด้าน
ความมั่นคงนั้น สหรัฐฯ ยังมองว่าไทยไม่มีนโยบายต่างประเทศที่อยู่เกียงข้างสหรัฐฯ
อย่างชัดเจน3
โครงการข้อที่สี่นี้ทำให้สหรัฐฯ มีนโยบายต่อไทย 4 ประการ คือ ทำให้ไทยมี
การพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้11ทยเป็นมิตรที่ซื่อสัตย์ ทำให้ไทยร่วมมือในการต่อต้าน
กอมมิวนิสต์ และทำให้ไทยเป็นข้อต่อทางการค้าที่สำคัญระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น
' ibid., 171 ) สหรัฐฯได้สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตการเกษตรด้วยเทคโนโลยีชลประทาน
ปรับปรุงระบบขนส่ง ผลักดันให้ไทยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนในแหล่งทรัพยากร
ธรรมชาติ ขจัดการผูกขาดทางการค้าที่เป็นอุปสรรคด่อผูประกอบการเอกชนของ
สหรัฐฯและทำให้ไทยร่วนมือกับสหรัฐฯ ไนการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้สหรัฐฯ ได้
กำหนดเงื่อนไขในการให้ควานช่วยเหลือต่อไทยว่า ไทยจะได้รับความช่วยเหลือจาก
สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง “ ตราบเท่าที่รัฐบาลไทยยังยอมรับและหลีกเลี่ยงที่จะขัดแยังอย่าง
สำคัญต่อประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ ต่อมาไทยเป็นประเทศแรกที่ได้รับความ

2 NARA, RG 84 Box 6 Top Secret General Records 1947-1958, Acheson to American


Embassy Bangkok , 4 February 1949.
3 H
Basic บ.ร. Security Resource Assumptions, 1 June 1949, ” in Foreign Relations
of the United States 1949 Voi 1 ( 1976a , 339- 40 ) .
? “
Policy Statement Prepared in the Department of State, 15 October 1950 , ” in
Foreign Relations of the United States J 950 Voi 6 ( 1976 b , 1533 - 34 ) ,

87
ขุนสืก ศักดินา และพญาอินทร็

ช่วยเหลือในโครงการเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อสร้างระบบชลประทานและทางรกไพ่
เพื่อปรับปรุงเศรษฐกิจ (กุลลดา 2517)
เมื่อกองทัพของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเด้รับชัยชนะอย่างต่อเนื่องเหนือกองทัพ
ก๊กมินตั้ง กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ'ง ทวอชิงตัน ดี . ชี. ฏีคำสั่งถึงสถานทูตและ
กงสุลสหรัฐฯในเอเชียตะวันออกไกลว่า สหรัฐฯมีนโยบายเศรษฐกิจที่คาดหวังกับเอเชีย
ใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสหรัฐฯมีแผนที่มิใช่เป็นเพียงการช่วยเหลือเท่านั้น
แด่เป็นการเตรียมความพร้อมไห้กับสหรัฐฯในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศ
ต่างๆในภูมิภาคนต่อ1โป ( Neher 1980, 166) ในที่สุดเมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีน
สถาปนาขนเมื่อเดือนตุลาคม 2492 ในปลายเดือนธันวาคมปีนั้นเอง ประธานาธิบดี
ทรูแมนได้อ14มัต็ให้สภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ( National Security Council :
NSC) เริ่มต้นการศึกษาการวางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคเอเชีย ซง
มีผลทำให้นโยบายปีองกันการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเอเชียของสหรัฐฯ มีความ
ชัดเจนมากยิงขน ( The Pentagon Papers 1971, 9)

การถูกต่อต้านกับการก้าวเข้าทาสหรัฐฯ ของรัฐบาลข้อมพล ป.
การก้าวขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองของจอมพล ป . พิบูลสงครามด้วยการ
รัฐประหารรัฐบาลของกลุ่มปรีดีและล้มรัฐบาลควง อภัยวงศั ที่ไต้รับการสนับสนนจาก
.
กลุ่มรอยัลลิสต์นั้น ทำให้รัฐบาลจอนพล ป ต้องเผชิญหน้ากับการถูกท้าทายจากกลุ่ม
การเมืองหลายกลุ่ม มีผลทำให้ตั้งแต่ปี 2491 รัฐบาลจอมพลป. มีความจำเป็นที่จะต้อง
แสวงหาอาวุธที่ท้นสมัยเพื่อเสรีมสร้างศักยภาพทางการทหารเพื่อปราบปรามกลุ่ม
ต่อต้านรัฐบาลด้วยหลายวิธการ เช่น การจัดขึ้ออาวุธจากต่างประเทศ 5 และการส่ง
ผู้แทนรัฐบาลเดินทางไปขอความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2491 แต่การขอความ
ช่วยเหลือทางอาวุธจากสหรัฐฯในช่วงแรกไม่ได้รับการตอบฝันอง เนื่องจากสหรัฐฯยัง
ไม่เห่นความจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือ และรัฐบาลไทยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนใน

' เริมมีหลักฐานกาวแสวงหาอารุธให้กับกองทัพเพี่อป้องกันการต่อต้านรัฐมาคตั้งแต่(ดือนมิอุนายน
2491 ต่อมาต้นปึ 2492 ชอมพล ป . พิบูลสงครามไต้ส่งนายทหารไปฅดด่อริลคส เป็ร์ด เพี่อให้ช่วย
ซึ้ออารุรมูลค่า 1 ล้านดอลลาร์ให้กองทัพไทย ( NARA, CIA Records Search Tooi [CREST],
CIA-RDP82-00457R001600460010-7, 28 June 1948, "Colonel Phao Sriyanon Possible —
Trip to the United States for Arms Purchases" ; C1A- RDP82 -00457 R 002400490004-2.
4 March 1949 , “Siamese Requests for Arms through Willis H . Bird")

88
สู่ภาว?. กื่งอาพานิคมไนยุคสงครามเย็น

การขอการสนับสนุนทางอาวุธ จนกระทั่งกองทัพก๊กมิ'นตั้งถอยร่นจากการรุกรบของ
1

กองทัพพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างต่อเนื่อง สหรัฐฯ จงไค้เปลี่ยนแปลงการสนับสนุน


ทางการทหารมูลค่า 75 ล้านดอลลาร์ที่เคยไห้กับกองทัพก๊กมินตั้งไปสู่การให้ความช่วย
เหลือแก่ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพี่อต่อต้านคอมมิวนิสต์แทน
ต่วขเหตุนี้รัฐบาลจอมพล ป. ซึงสบโอกาสที่จะได้รับอาวุธสมัยใหม่ตามที่คาดหวัง ใน
J ลายเดือนกันยายน 2492 รัฐบาลได้รับรายงานจากสถานทูตไทยในสหรัฐฯ ว่า สหรัฐฯ
จะให้ความช่วยเหลือทางอาวุธแก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ประเทศนั้นๆจะ
ต่องมีภัยคอมมิวนิสต์คุกคามและต้องมิการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับสหรัฐฯ
เสียก่อน กรมหมื่นนราชิปพงคํประพันธ์ (พระองฅ์เจ้าวรรณไวทยากร) เอกอัครราชทูต
โทยประจำสหรัฐฯได้แจ้งเรื่องดังกล่าวให้รัฐบาลทราบ ไม่นานจากนั้นจอมพล ป. ให้
กวามเห็นชอบท้จะขอความช่วยเหลือทางอาวุธจากสหรัฐฯโดยอ้างกัยคอมมิวนิสต์
คุกคาม7
ด้วยเหตุที่สหรัฐฯ มีนโยบายสนับสนนให้ฝรั่งเศสคงอำนาจเหนืออาณานิคมไาเ
อินโดจีนต่อไป โดยสหรัฐฯ ส่งสัญญาณในปลายปี 2492 ให้การสนับสนุนรัฐบาล
จักรพรรดิเบาได๋ที่ฝรั่งเศสตั้งขึ้น จากนั้นสหรัฐฯไดให้การสนับสนุนทางการทหารแก’
ฝรั่งเศสเพื่อต่อด้านเวืยตมินห์ เนื่องจากสหรัฐฯ เห็นว่าเวียดมินห์เป็นพวกคอมมิวนิสต์
มากยิงขึ้น ( Kahin 1955, 35 ; The Pentagon Papers 1971 , 5) เดือนตุลาคมปี
เดียวกัน สหรัฐฯได้หยั่งท่าทีไทยผ่านพจน์ สารสิน รมว. ต่างประเทศขณะนันว่ารัฐบาล
ไทยจะให้การสนับสนุนรัฐบาลเบาไต่ตามสหรัฐฯหรอไม่'' อย่างไรก็ตาม ในเมื่อสหรัฐฯ

6
รัฐบาถจอมพล ป . เคยส่ง พล .ต . หลวงสุรฌรงค์ ท .ต . ม .จ. นิทัศนาธร ขิรประวัต และพ . ต .
รทติชาย ชุณหะวัณ เดินทางไปขอความช่วยเหลือด้านอาวุธจากสหรัฐฯในต้นเดีอนเมษายน 2491
.ฑ์ไม่ฏีความลืบหน้าใดๆ (หจช. 131 สร 0201.13. 1 / 2 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เ'รอง ขออาๅธ
จากอเมริกา หรือเรื่องอเมริกาให้อาวุธแก่ประเทศไทย [21 พฤษภาคม 2492 - 20 เมษายน 2497]
‘' นงสีอกระทรวงการต่างประเทศ พจน์ สารสิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกรรทรวงการค่างประเทศ ถึง
'

นายกรัฐมนตรี 21 พฤษทาคม 2492).


7
กองบรรณสาร กระทรวงการต่างประเทศ ] 1102- 344- 301 -401 -9301 ไทยขอความช่วยเหลือ
ต้านอาวุธยุทธภัณฑ์จากสหรัฐฯ 2493-2494, พจน์ สารสิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่าง
ประเทศ 1 สิงหาคม 2492 : หชช. (3 ) สร 0201.13 . 1 / 2 โทรเลขจาก เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุง
วอร้งตัน ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 30 กันยายน 2492. จอมพลป. ตอบ
รับความคิดนี้เมื่อ 5 ตุลาคม 2492
14
หจช . ( 3 ) สร 0201.13.1 /2 หนังสือกรรทรวงการต่างประเทศ พจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการด่างประเทศ ถึง นายกรัฐมนตรี 15 ตุลาคม 2492 .

89
ชุนลึก ศ้กดนา และพญาอนทรี

ยังไม่อนูมัติความช่วยเหลือทางอาวุธที่รัฐบาลไทยร้องขอ จอมพล ป. ในฐานะนายก


รัฐมนตรีจึงยังคงสงวนท่าทีไม่ตอบสนองต่อความต้องการของสหรัฐฯในเรื่องดังกล่าว
การรับรองรัฐบาลเบาไต้ของรัฐบาลจอมพล ป. เกิตขึ้นท่ามกลางการประชุมทูต
สหรัฐฯในเอเชียที่มีฟิลลิป ซี. เจสสัป เอกอัครราชทูตผู้ฏีอำนาจเต็ม เป็นหัวท,น้าการ
ประชุมในเดือนกุมกาพันธ์ 2493 และกลายเป็นประเด็นการต่อรองระหว่างสหรัฐฯ กับ
รัฐบาลจอมพล ป. เนื่องจากเมื่อรัฐบาลโฮจีนันท์ได้รับการรับรองจากจีนและสหภาพ
โซเวียต แต่สหรัฐฯ กลับให้การรับรองรัฐบาลเบาไส์ที่ฝรั่งเศสไห้การสนับสนุนในด้น
เดือนกุมภาพันธ์ 2493 ทันที พร้อมให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่
ฝรั่งเศสจำนวน 10 ล้านดอลลาร์เพื่อปราบปราม'ขบวนการของโอจีมินห์ ( The Pen-
tagon Papers 1971, 9-10) ในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่สหรัฐฯ รับรองรัฐบาลเบาไต้แล้ว
สแตนตัน ทูตสหรัฐฯได้เข้าพบจอมพลป. และพจน์ สารสน เพื่อโน้มน้าวให้ใทยรับรอง
รัฐบาลเบาไต้ตามสหรัฐฯ ไดยจอมพล ป. ไต้ประกาศว่ารัฐบาลไทยจะรับรองรัฐบาล
เบาไต้ แต่พจน์ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเขาเห็นว่ารัฐบาลเบาได้จะพ่ายแพัแก่โฮจิมินห้ '
ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อประธานาธิบดีทรูแมนดำเนินนโยบายตามโครงการข้อ
ที่สี่และเรื่มต้นสกัดกั้นการแพร่ขยายของคอมมิวนิสต์ที่ขัดขวางการขยายตัวของ
ทุนนิยมของโลก เขาไต้ส่งคณะทูตที่นำโดยเจสลัป ที่ปรึกษาด้านนโยบายด่างประเทศ
ของเขาและเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม มาสำรวจสภาพทั่วไปของภูมิภาคเอเชียและ
จัดประชุมคณะทูตสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียดะวันออกไกลที่กวุงเทพฯ ระหว่างวันที่
13-15 กุมภาพันธ์ 2493 ° เมื่อเจสสัปมาถึงไทยเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เขาแจงแก่
จอมพล ป. พิบูลสงครามว่า สหรัฐฯได้ให้การรับรองรัฐบาลเบาได้แล้ว และสหรัฐฯ

The Ambassador in Thailand (Stanton) to the Secretary of State, 8 February


iJ “

1950, ” in Foreign Relations of the United States 1950 VoL 6 (1976b, 724) .
10
หจช กต 73.7 1 / 77 เอกสา1กระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การประชุมหวห นาคณะทูต
, ,

อเมรีกันในตะวันออกไกลที่กรุงเทพฯ ( DR . JESSUP) มีการไปเที่ยวบางปะรน ทมอยู่ด้วย (พ . ศ.


'

2492-2493) ไปรษณีย์อากาศจากพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร เอกอัครราชทูต ณ


สง
กรุงวอชิงตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2492 . ในด้นเดึอน
มกราคม 2493 พล . ร .ท . รักเซลล์ เอส. เบอรกืย์ ผู้บัญชาการกองเรีอพิเศษที่ 7 แห่งคาบสมุทร
แปซิฟิกได้เคนทางมาไทยเพื่อสำรวจปากนํ้าเจ้าพระยาและได้แจ้งกับจอมพลป. พิบูลสงครามว่า ปาก
แม่นํ้าเจ้าmsยาดนเกินไปสำหรับเรือ1 เดินสมุทร1 สหรัฐฯ จะไห้ความชืวชเหสีอทางเทคนิคในการชุด
!
ลอกกันคอนปากแม่ใ ไ จากนั้นเขา ได้เคนทาง ใปพบเจสกัม่ที่ส่องกง ( ไทยประเทศ, 1 1 มกราคม
2493 ; ประชาธิปไตย . 14 มกราคม 2493) และคูทยชื่อคณะทูตจำนวน 14 ฅน ในเอเซียตะวันออก
ออสเตรเลีย และนีวซีแลนคใด้ไน หจช . กต 73.7 . 1/ 77 .

90
ซี่ภาวะกึ่งธาณาแคมในยูคสงคทมเอ็น

ส้องการให้ไทยรับรธงตามสหรัฐฯ แต่จอมพล ป . ได้ยื่นข้อแลกเปลี่ยนกับสหรัฐฯ ว่า


รัฐบาลของเขาต้องการความช่วยเหลือด้านอาวุธจากสหรัฐฯให้กับกองทัพและตำรวจ
ขธงไทยเพื่อ'ใชัในการป้องกันการแทรกซืมของคอมมิวนิสต์ 11
ทั้งน ประเด็นหลักในการประชุมคณะทูตสหรัฐฯ ที่นำโดยเจสสัปครั้งสำคัญน
คือปัญหาจีนคอมมิวนิสต์และขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านเจ้าอาณานิคม พวกเขาเห็น
ว่าขบวนการชาตินิยมในอินโดจีนได้รับการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์ i :' และเห็นร่วน
ทันถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้สงครามจิตวิทยาไนภูมิภาค ความช่วยเหลือที่
สหรัฐฯ จะให้กับประเทศในภูมิภาคจะต้องตอบสนองต่อผลประโยชน์ทางภารเมืองของ
สหรัฐฯในระยะยาว สํวนปัญหาเฉพาะหน้านั้นให้สหรัฐฯใช้ปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อสร้าง
กวามชอบธรรมโนการต่อด้านคอมมิวนิสต์ โดยสหรัฐฯ จะต้องรักษาผลประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจในภูมิภาคและสร้างแบบแผนการค้ากับภูมิภาคตะวันออกไกลขนใหม่ ' 3
นอกจากนั้ ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าสหรัฐฯ ควรให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจผ่าร)
องค์การระหว่างประเทศเพื่อเบี่ยงเบนไม่ให้เห็นวัตถุประสงค์ทางการเมืองของสหรัฐฯ14
สแตนดัน ทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมบันทึกว่า การ
ประชุมคณะทูตครั้งนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการกำหนดนโยบายระยะยาวต่อ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง'ได้ของสหรัฐฯ (Stanton 1956, 235)
ทันทีที่จอมพล ป. เสนอข้อแลกเปลี่ยนในการได้รับความช่วยเหลือทางอาวุธ
จากสหรัฐฯ แลกกับการรับรองรัฐบาลเบาไต๋ เจสสัปได้ยอมรับข้อแลกเปลี่ยนจากไทย
จากนินร้ฐบาลจอมพลป. เดจดไห้มการประะชุมคณะรัฐมนตรีขึ้นฌื่อานที 13 กุมภาพันธ์
LS พ I L] <±J 71I

11
The Ambassador เท Thailand (Stanton ) to the Secretary of State, 17 February
"
1950 " เท Foreign Relations of the United States 1950 Vol 6 (1976b, 739 ) ; NARA,
, .

RG 84 Box 6 Top Secret General Records 1947-195 S, Stanton to Secretary of State,


27 February 1950 ; Stanton ( 1956 , 238 )*
13
234-35 .
Ibid. ,
13
NARA, RG 84 Box 6 Top Secret General Records 1947 - 1958, Stanton to Secre-
tary of State, 13 February' 1950 ; 15 February 1950.
14
NARA , RG 84 Box 6 Top Secret General Records 1947-1958, Stanton to Secretary 7

of State 15 February 1950, ความเห็นของคณะทดส่วนใหญ่ที่เสนอไห้สหรัฐฯ อำพรางดนเองอยู่


เบื้องหส้งองค์การระหว่างประเทศนั้น มผลทำให้คณะทดบางส่วนเห็นว่าแผนด้งกล่าวคื 9การที่สหรัฐฯ
พยายามเป็น "จักรวรรดินิยม ”

91
ขนดึก คักดีนา และพญาอนทรี

2493 ซึ่งมืผู้บัญชาการสามเหล่าทัพของไทยเช้าร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมคณะ


รัฐมนตรีเห็นพ้องกับการรับรองรัฐบาลเบาไดเพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยเข้าร่วมต่อต้าน
คอมมิวนิสต์กับสหรัฐฯ ( แนวหน้า , 15 กุมภาพันธ์ 2493) 1:' อย่างไรก็ตาม คณะ
รัฐมนตรียังไม่ประกาศมต็ดังกล่าว ในขณะเดียวภันมีข่าวรั่วไหลออกมาสู่สาธารณะว่า
รัฐบาลจอมพล ป. จะให้การรับรองรัฐบาลเบาได เสียง?ทย ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่มี
จุดรนไปในทางต่อด้านสหรัฐฯได้วิจารณ์ว่า “กอดเบาได้ เพื่อเงินก้อนใหญ่” (เสียงไทย ,
23 กุมภาพันธ์ 2493) แม้ต่อมารัฐบาลจะออกแถลงการณ์ปฏิเสธก็ตาม ( ธรรมาธิปีตย์ ,
24 กุมภาพันธ์ 2493) แต่สุดท้ายแล้วรัฐบาลไทยก็ประกาศรับรองรัฐบาลเบาได้
อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์’0 ต่อมาอีกไม่กี่วันในต้นเดือนมินาคม
ประธานาธิบคทรูแมนได้อนุมัติความช่วยเหลือทางการทหารในรูปอาวุธให้กับกองทัพ
ไทยมูลค่า 10 ล้านดอลลาร์ไนทางลับทันที 1 อัชเชอสัน รมว. ต่างประเทศ ได้บอก
เหตุผลแก่สแตนตัน ทูตสหรัฐฯประจำไทยว่าสาเหตุที่สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือทาง
อาวุธแก่ไทยนั้นเพื่อเป็นการจูงใจไทยให้มิความมั่นใจที่จะดำเนินนโยบายตอบสนองต่อ
ความต้องการของสหรัฐฯ ต่อไป18 ทั้งนี้ความช่วยเหลือทางอาวุธแก่ไทยนั้ สหรัฐฯ
ต้องการให้เป็นความลับ 1 ’ แต่ปรากฏว่าหนังสือพิมพ์!ฑยหลายฉบับได้นำข่าวดังกล่าว
,

ไปตีพิมพ์อย่างครึกโครมจนกระทั้งรัฐบาลขอร้องให้หนังสือพิมพ์งดลงข่าวดังกล่าว 0 '

15
ผู้บัญชาการ 3 เหล่าห้พที่เข้าร่วม ลึอ พล , อ . ผิน ชุณหะวัณ พล . ร. อ . สีนธุ กมลนาวิน และ
พล.อ.อ . ชุนรณนภากาศ (ข้น ฤทธาคนี)
ไ 6
Stanton ( 1956 , 23S ) ; Caldwell ( 1974 , 4) ; กนฅ์ธร์ ( 2537 , 410). ต่อมา พจน์ สารรน
ได้ขอลาออกไนวันที่ 1 มีนาคม 2493
17
NARA , RG 84 Box 6 Top Secret General Records 1947 -1958, Webb to American
Embassy Bangkok , 7 March 1950.
-
18 NARA RG 59 Central Decimal File 1950 1954 Box 4190 , Acheson to Bangkok ,
,
12 April 1950.
หชิช . ( 3) สร 0201.13 . 1 / 2 หนังสือกระทรวงการต่างไเระเทศ นายารการบัญชา รัฐมนตรี
1 IJ

ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึง นายกรัฐมนตรี วันที่ 11 เมษายน 2493 .


20
หจ ช . ( 2 ) ศร 0201.96 / 3 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแพร่ข้าวเกี่ยวด้วยการที่
1

อเมรกาช่วmหดือทางการทหารแก่ไทย ( 21 เมษายน - 9 พฤษภาคม 2493). เช่น เกียรฅคํfกดิ้ฉบับ


22 เมษายน 2493 พาดบัวข้าวว่า “กองหัพไทยจะข้นด้วยอาวุธ 10 ลานดอกลารี” เสียงไทย ฉบับ
26 เมษายน มีบทความเรื่อง "การช่วยเหดือของโจร” และหลัทไชย ฉบับ 23 เมษายน พาดบัวข้าว
ว่า “ ไทยจะเป็นฐานท้พช่วยเบาได๋ " เป็นต้น

92
ส่ภาวะกึ่งกาณานิดมในยุฟิสงครามเย้น

หลังการจัดประชุมคณะทูตของพิลลป ซี. เจสสัป เพื่อกำหนดน!ยบๅยทางการ


เมืองและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเนียงใต้แล้ว
สหรัฐฯ ได้สั่งคณะกรรมการพิเศษทางเศรษฐกิจพื่มีนายอาร์. อัลเลน กริพ์ฟิน ( R.
Men Griffin ) นักธุรกิจด้านสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์และวิทยุในแคลิพ์อร์เนียผู้ม'งกั้ง
เป็นหัวหนัาเดินทางมาสำรวจสภาพเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเนียงใต้ โดยเขามา
-
สำรวจไทยในช่วงวันที่ 4 12 เมษายน 249321 เขาได้เสนอให้สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือ
. ำ'โทยโดยมีเใ]าหมายทางการทหารและการเมือง ด้วยการทำ'ไห้ไทยกลายเป็นพนที่
V างยุทธศาสตร์โนการต่อต้านการ'ขยายอิทธิพลของจีนที่จะแผ่ลงมา'ในเอเชียตะ’วันออก
เอียงใต้ และสหรัฐฯ จะต้องทำให้ไทยคงการต่อต้านคอมมิวนิสต์เอาไว้เพื่อทำให้ความ
สมพันธ์ไทยและสหรัฐฯ แนบแน่นยิ่งขน นิวยอร์กไทมลํ: หนังสือพิมพ์ชั้นนำในสหรัฐฯ
'’

ใต้รายงานว่า รมว. ต่างประเทศสหรัฐฯให้การยกย่องข้อเสนอของทริพ์พ์นเป็นอย่าง


มาก ( New York Times, 15 September 1950)

สหรัฐฯ กับความช่วยเหลือทางการทหารแก่ไทย
เมื่อสงครามเกาหสืปะทุชั้นในเดือนมิอุนายน 2493 ประธานาธิบดีทรูแมนได้
วางแผนปฎบัต็การลับด้วยการขัดตั้งกองกำลังกึ่งทหารเพื่อสกัดกั้นการแผ่ขยายของ
คอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชีย (Rositzke 1988, 174) โดยให้เจ้าหน้าที่การทหารและ
ซีไอเอเดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อพบวิลลิส เบิรํด อดตโอเอสเอส เพื่อประสานงานสืบ
ความเคลื่อนไหวของกองทัพโธจิมินห์ในอีนไดจีนร่วมกับกองทัพฝรั่งเศส ในการพบ
กันครังนี เบิร์ดได้แจ้งกับตัวแทนชีไอเอว่า รัฐบาลไทยพร้อมจะร่วมมือกับสหรัฐฯ แต่
ขาดประสบการณ์และอุปกรณ์ แต่ ผู้แทนจากสหรัฐฯ ชุดนี้ยังไม่ตอบรับข้อเสนอดังกล่าว
ต่อมาเบิร์ดได้ขัดการให้ผู้แทนชีไอเอพบกับตัวแทนจาทตำรวจและทหารไทยเป็นการ
ส่วนตัว แต่ขณะนั้นไทยกับสหรัฐฯยังไม่ผืข้อตกลงทางการทหาร ชีไอเอจึงหลบเลี่ยง
ป้ญหาดังกล่าวด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่ไทยในทางลับเป็นเงินจำนวน

21 “The Ambassador in Thailand (Stanton ) to the Secretary of State, 12 April


1950," in Foreign Relations of the United States 1950 Vol. 6 ( 1976b, 79) ; Stanton
( 1956, 249-50).
22
NARA, KG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4190, Lacy to Husk, “Thailand
Military Aid Program,” 25 July 1950.

93
ชุนศึก ศึกดีนา และพญารนทรี

35 ล้านดอลลาร์ ผ่านการจัดตั้งบริษัทเอกชนชี่อ เช้าท์ปึสต์ เอเชีย ชัพพลาย (South


East Asia Supplies) หรือซีช้พพลาย ที่เมืองไมอามี ฟลอริดา (Lobe and Morell
1978, 156) ต่อมาในปลายปื 2493 กรมตำรวจไทยได้เสนอให้กระทรวงการต่างประเทศ
แต่งตั้งพอล ไล่ใอเนล เอ็ดวาร์ด เฮลล้เวล (Paul Lionel Edward HelliweD)23 เป็น
กงสุลกิตติมศักดิ้ของไทย ณ เมืองไมอามี เพื่อเป็นผู้ประสานงานระหว่างชีไอเอกับ
กรมตำรวจ^ จากนั้นด้นใเ 2494 เบิร์ดได้ตั้งบริษัทชื่อเดียวกันซ้นไนไทยโดยจดทะเบียน
เป็นบริษัทการค้าพี่นำเช้าและส่งออกสึนค้าเพื่อปกปิดภารกิจลับ ในทางเปิดเผยแล้ว
ซีซัพพลายทำงานตามสัญญาที่ให้กับรัฐบาลไทย แต่ภารกิจที่แท้จริงคือทำหน้าที่รับ
ขนส่งอาวุธของสหรัฐฯ รายใหญ่ที่สุดมายังไทยต้วฃเครื่องบินขนาดสี่เครื่องยนต์เพื่อส่ง
ต่อให้แก่กองทัพก๊กบินตั้งในจีนตอนไค้ และไห้การสนบสนุนตำรวจไทยในทางลับด้วย
การจัดตั้ง การฟิก และสนับสนุนอาวุธให้กับตำรวจพลร่มและตำรวจตระเวนชายแดน
'

(Scott 1972, 194 ; Tarling 2005, 159)


ตั้งนี้ชีซัพพลายมีภารกิจคู่ขนานในไทยสองประการ ประการแรกคือ การให้
ความช่วยเหลือกองพล 93 ของก๊กมินดั๋งภายได้การนำของนายพลหลีมี่ในฅ้นปื 2494
ไห้ทำหน้าที่โจมตีและก่อกวนกองทัพของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในแถบตอนใต้ของจีน
โดยซีซัพพลายร่วมรอกับตำรวจไทยส่งอาวุธและกำลังบำรุงไห้กองพล 93 ผ่านบริษัท
แคท แอร์ (Civil Air Transport : CAT หรือ Air America) ที่รับจ้างทำงานให้กับ

23 พอล ไลโอเนล เอ็ดวาร์ค ลิเวล อสิตโอเอสเอสในจึน เป็นคนกว้างขวางแสะมีอีทธิพลใน


การกำหนคนใยบาขของสหรัฐฯ เขามีลึอบบี้ยสฅ์ที่ใกล้ชิดกับรองประธานาธิบดีจอห์นสน ( Lyndon
Baines Johnson ) เชน ทอมมี คอร์ใครัน (Tommy Corcoran ) แสะเซมส์ 1รว้ (James Rowe )
ที่ปรึกษาของรองประธานาธิบดีจอห์นสีน (Scott 1972. 211 ) เขามีเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างซีไอเอ
และซีซัพพลายกับองค์กรอาชญากรรมค้าฟิน และะเคยเป็นกงสุลไทยประจำโมอามี ดั้งแค่ปี 2494
ะX
เขามีบทบาทส่าลัญไนการประสานงานระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ทงนระหว่างร์นํ่ขาเป็นกงสุลไทยช่วงปี
2498- 2499 เขาได้เป็นเลขานการบริษัท American Banker ’s Insurance Company โนรัฐ
ฟลอริดา ทำหน้าที่ส่งฝานเงินจำนวน 30,000 ดอลลาร์ในการจัดหาบริษัทล็อบบยิสคในวอชิงตันดี . ซี ,

เพื่อค้าร่น (ibid . 1 211 ).


24
กองบรรณสาร คระทรวงการต่างประเทศ 1 1102 - 344- 202- 522 - 9401 กรมอเมริกาและ
แปซิฟิกใต้ กองอเมริกาเหนือ การแต่งตงกงสุ[ลใหญ่กิตดีมค้กด ณ เมีองไมอามี สหรัฐอเมริกา
2494- 2522 , นายวรการบัญชา รัฐมนตริว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึง เลขาธิการคฌร
รัฐมนตริ 16 ธนวาคม 2493.

94
เชิดวัน สแตนต้น เอกอัครราชทูศสหรัฐอเมรกาประจำประเทศไทย ( 2488-2496 ) ในงานพิธึฉลอง
วนบรรจบครบ 2 ใเของความศกลงว่าด้วยควานช่วยเหลีอทางการทหารระหว่างไทยกับสหรัฐฯ
ธนวาคม 2495 (ภาพปิาก Thailand Illustrated )
ขุนศึก ศึกตินา และพญาอินทรี

ชีไอเอ โดยมีตำรวจพลร่มและตำรวจตระเวนชายแดนที่ซีซัพพลายให้การ,ฟิกการรบ
แบบกองโจรเข้าปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองพล 93 ในการแทรกชึนตามชายแดนของไทย
กับเพื่อนบ้าน เช่น หน่วยก๊กรนตั้งที่รัฐฉานมีกำลังพล 400 คนทำหน้าที่หาข่าวใน
ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและกัมพูชา ซึ่งดำเนินการด้วยเงินราชการลับของสหรัฐค
จำนวน 300,000 บาทต่อเดือน (กาญจนะ 2546, 39-40 ; ทุต) 2532, 169)
สำหรับภารกิจประการที่สองของชีขัพพลายคือการสนับสนุนตำรวจไทยนั้น

เบรด อดีตโอเอสเอส เป็นผู้รับผิดชอบการฟิกปฏิบัติการตำรวจพลร่ม ( Parachute
^

Battalion) รุ่นแรก ซึ่งเกิดขนที่ค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี ในเดือนเมษายน 249425


ต่อมาช!อเอได้ส่ง ร .อ . เจมส์ แลร์ ( James William Lair ) และ ร . อ. เออรเนส ชีค
(Ernest Jefferson Cheek) เข้ามาเป็นครูฟิก ทั้งคู่มีฐานะเป็นข้าราชการตำรวจ ทำ
หน้าที่ฟิกตำรวจพลร่มตามหลักสูตรการรบแบบกองโจร มีการฟิกการใช้อาวุธพิเศษ
การวางระเบิดทำลาย การก่อวินาศกรรม ยุทธวิธึต่าง ๆ และการกระโดดร่ม 2', ต่อมา
มีการขยายโครงการฟิกตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 7 , 000 คนอย่างเร่งด่วนในค่าย
ฟิกที่อำเภอจอทอ จังหวัดนครราชสีมา เพื่อป้องกันการแทรกซืมของคอมมิวนิสต์ทาง
อีสานและทางใต้ของไทย ( Lobe 1977, 20)27 ตั้งแต่นั้นมากรมตำรวจและที่ ปรึกษาชาว '

? -
นคร ( 2530, 10 ) ; Lobe (1977, 19, fn. l 3 129) ; พันลักด (2517, 17 18 ) . เดือนคุลาคม
2493 มีรายงานของฝรั่งเศสว่า ฝรั่งเศสได้ส่งปฏิบัติการลับเข้าไปในภาคอสานของไทยเพื่อติดตาม
กิจกรรมของพากเวิยดมินห์ (Goscha 1999, 324 ; Tarlmg 1996, 159) .
1

26
หจช - (3) สร 0201,14/14 เอกสารสีานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง จ้างชาาค่างประเทศเป็นครู
ฟิกหัคตำรวจรีม ( 21 ชันวาคม 2496 - 18 มกราคม 2502) หนังสือจากพล. ต.อ. เผ่า ศรียานนVI
'

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี รันที่ 15 ตุลาคม 2496 ; 40 ปี


ฅชด. 6 พฤษภาคม 2536 (2536, 68 ) , เจ้าหนัาที่ที่ขีไอเอหรือซีซัพพลายส่งเข้ามาปฎนัดงานในไทย
เช่น เจมส์ วิลเลียม แลร์ (James William Lair) สอนการใช้อาวธ, จอห์น แอล, สืาร์ท ( John
L, Hart), ปีเดอร โยสท์ ( Peter Joost), เออร์เนส เจฟเฟ่อรด้น ซีค ( Ernest Jefferson Cheek),
วอล์เตอร์ พี . คูซบุค (Walter p. Kuzmuk ) สอนการกระโดดร่ม, นายแพทย์จอห์นด้น ( Dr ,
Johnson ), พอล (Paul), โรว ร็อกเกอร์ ( Rheu Kocker) สอนกระโดดร่ม, กิน (Gene), โชารัด
ฟาน วินกี ( Richard Van Winkee) และชาร์ล สทีน (Charle Steen ) บุคลากรเหล่านี้เคยทำงาน
กับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มาก่อน พวกเขามีประสบการณ์ไนปฏิบัติการกึ่งทหาร การใช้อาๅธ
การข้าว การบำรูงรักษาวิทยุสื่อสารและพาหนะ การกระโดดรีม แต่พวกเขาไม่มีประสบการณ์ด้าน
งานตำรวจเลย นอกจากนี้ เจ้าทนัาที่ของซีซัพพลายนาจากสายลับและเจ้าทนัๅที่ของกระทรวง
กลาโหมสหรัฐฯ ( นคร 2530, 209 ; Lobe 1977, 23) .
7
ต่อมาได้จ้คฅั้งตำรวจตระเวนชายแคนขนคามมดีคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2495 เพื่อ

96
สู่ภาวะกึ่งอาถเานิคมในยคสงครามเย็น

อเมริกันที่หลั่งไหลเข้ามาในฐานะเจ้าหน้าที่ของซีซัพพลายได้ร่วมมือขยายค่ายฟิกในอีก
หลายพนที่ เช่น อุบลราชธานี อุดรธานี และเชียงใหม่ {สิทธิ 2536, 39) นอกจากนี
ชีชัพพลายยังช่วยเหลือในการฟิกกองกำลังพลเรือนกึ่งทหารในการรบนอกแบบแผน
การแทรกซึม และให้อาๅธแก่ตำรวจตระทนชายแดน เช่น ปืนคาร์บิน มอร์ตา บาชูกา
ระเบิดมือ อุปกรณ์การแพทย์ ต่อมาพัฒนาเป็นรถเกราะ รถถัง และแเถิคอปเตอร์
157) ทั้งนี้ความช่วยเหลือของซีไอเอที่ไห้กับตำรวจนั้น
( Lobe and Moreil 1978,
ปืนความลับมาก แม้แต่สแตนตัน ทูตสหรัฐฯ ก็ไม่รู้เรื่องความช่วยเหลือดังกล่าว
ต่อมาเมื่อเขารู้แด่ก็ไม่มีอำนาจแทรกแซงกิจกรรมต่างๆ ความช่วยเหลือในทางลับนี้
สร้างความไม่พอใจให้กับเขามาก (Tarling 1996, 158 )
สำหรับความช่วยเหลือทางการทหารของสหรัฐฯ แก่กองทัพไทยนั้น เมื่อกองทัพ
เกาหลืเหนือบุกเกาหลืใด้ในเดือนมิอุนายน 2493 กระทรวงการต่างประเทศและ
กลาโหมของสหรัฐฯ ได้ตกลงกันในต้นเดือนกรกฎาคมปีเดียวกันนั้น ที่จะสํงคณะ
-ารรมาธิการร่วนระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับกระทรวงกลาโหม (United States
Military Survey Team ) เต็นทางมาสำรวจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจอห์น
เอฟ . เมลบี ( John F. Melby) ผู้ช่วยพิเศษของ รมช . ต่างประเทศฝ่ายกิจการ
คะวันออกไกล และพล.ร.อ , กราฟฅ์ บี. เออร์สกิน (Graves H. Erskine) ผู้บังคับการ
กองพลนาวิกโยธินที่ 1 ค่ายเพลเดลตัน แคลิฟอร์เนีย ทำหน้าที่สำรวจสถานะทางทหาร
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ที่จะถู
ะ กคอมมิวนิสต์คุกคาม โดยสหรัฐฯ มีแผนการ
'
ห้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่กองทัพบกไทยโดยไห้อาวุธสำหรับ 9 กองพล ส่วน
กองทัพเรือและกองทัพอากาศให้อาวุธและการฟิกการทหาร2'* จากนั้นรัฐบาลจอมพลป.
ได้ตอบสนองท่าทีของสหรัฐฯ ต้วยการตัดสินใจเสนอที่จะส่งทหารไทย 4,000 นาย
บัาร่วมสงครามเกาหลี ( เดลิเมล์, 21 กรกฎาคม 2493) ทำทีคังกล่าวของรัฐบาล
จอมพล ป. สร้างความประทับใจให้ประธานาธิบดีทรูแมนเป็นอย่างมาก (Truman
1965, 423)

ทำหน้าถีตรวจตราและระวังรักษาชายแดน (หขช. มท. 0201.7/17 เอกสารสำนักงานปลัดกระทรวง


.. หาดไทย เรื่อง กรมตำรวจแจ้งว่า เนื่องจากกรมตำรวจได้ดั้งกองตำรวจรักษาดินแดนชันใหม่อึงขอ
ให้นำเรื่องเสนอรัฐมนตรีว่าการด้วย [พ.ศ. 2495]).
" s
Library of Congress, Declassified CK 3100360771 , Memorandum For President,
10 July 1950 ; กองบรรฌสาร กระทรวงการด่างประเทศ I 1105- 344- 301-401 -9301 ไทยขอความ
ช่วยเหลือต้านธาๅธยุทขภัณฑ์จากสหรัฐฯ เพื่อร่วมรบในสงครามเกาหลี 2493-2494, วรการบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการด่างประเทศ ถึง เลขาเการคณะรัฐมนตรี 26 กรกฎาคม 2493 .

97
ขนดึก ศักสินา และพญาอินทรี

เมือคณะกรรมาธิการร่วมระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับกระทรวงกลาโทม
ของสหรัฐฯ เดินทางเข้ามาสำรวจฐานทัพอากาศคอนเมือง กรฆคู่ทหารเรือ และกรม
-
ทหารปืนใหญ่ ฯลฯ ในช่วงวันที่ 21 สิงหาคม 28 สิงหาคม 2493 คณะกรรมาธิการฯ
,
ประเมินว่ากองทัพไทยเหมาะสมที่จะเข้าร่วมสงครามเกาหลี ' ต่อมาสหรัฐฯ ได้ส่งคณะ
'

ที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือทางการทหารแห่งสหรัฐฯหรือแมค (United States Military


Assistance Advisory Group ะ MAAG ):,il เดินทางมาถึงไทยไนเดือนตุลาคม เพึ่อ
เตรียมการทำข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการทหารระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ซึ่ง
ต่อมาสหรัฐฯ และไทยได้ลงนามในข้อตกลงดังกล่าวเมื่อวันที่ ใ 7 ตุลาคมปืเดียวกัน
(จันทราและปืยนาถ 2521, 152 ) สาระสำคัญในข้อตกลงคือ สหรัฐฯ จะให้ความ
ช่วยเหลือทางการทหาร โดยอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหมดจะโอนกรรมสิทธิ้ไม่ได้หากไม่
ได้รับความยนยอมจากสหรัฐฯ 11 ข้อตกลงทางการทหารระหว่างไทยกับสหรัฐฯฉบับนี้
มีความสำคัญมากในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการที่ไทยได้ตกเข้าสู่อำนาจของสหรัฐฯ
ในช่วงเวลานั้น สหรัฐฯ เห็นว่านโยบายต่างประเทศของรัฐบาลจอมพลป. พิบูล-
สงครามที่ได้ให้การรับรองรัฐบาลเบาได้ ไม่รับรองจีนแดง และกระดือรือร้นในการส่ง
ทหารเข้าสู่สงครามเกาหลีนั้น แสดงว่ารัฐบาลได้ผูกพันตนเข้ากับการต่อต้านคอมมิวนิสต์
และแสดงความเป็นมิตรกับสหรัฐฯ อย่างชัดเจน ขณะที่สหรัฐฯ เองก็ต้องการสร้างความ
แนบแน่นกับรัฐบาลจอมพล ป. เพื่อให้สนับสนุนนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ไนเอเชย
ตะวันออกไกลต่อไป ทั้งนี้การเมืองไทยที่ผ่านมาภายใต้รัฐบาลจอนพล ป. นั้น'โม่มิ 1

เสถียรภาพ เนื่องจากรัฐบาลต้องเผชิญหน้ากับการพยายามรัฐประหารบ่อยครั้ง เป็น


เหตุให้!ม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายตามสหรัฐฯ ดังนั้น สหรัฐฯจีงต้องการ

29 หขช. กต 73.7 . 1 /87 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรือง คณะสำรวจอเมริกันเดินทางมา


ประเทศไทย (พ.ศ. 2493 ) หนังสือเลขที่ 84 Stanton เอกอัครราชทูตอเมริกัน ถึง นายวรการบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 9 สิงหาคม 2493 ; หจช. ( 3) สร 0201.13 . 1 /2
1

หนังสือกระทรวงการต่างประเทศ นายเขมชาติ บุฌยรัตพ่น่ฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่าง


ประเทศ ถึง นายกรัฐมนตรี วันที่ 26 กันยายน 2493.
ต่อมาแมค ( MAAG ) ได้เปลยนชี่อเป็นคณะที่ปรก!ภทางการทหารลหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
หรือขัสแมคไทย ( joint United States Military Advisory Group, Thailand : JUSMAGTHAO
ในเดีอนกันยายน 2497
91 หจช. (2) สร 0201.96/8 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรือง
ข้อตกลงเกี่ยวด้วยการช่วยเหลอ
ทางการทหารแก่ประเทศไทยของสหรัฐอเมริกา ( 6 กันยายน 2493 - 28 กรกฎาคม 2498).

98
ส่ภาวะกึ่งทาณาพิฌไนยุศสงครามเธ็น

ทีจะทำไห้รัฐบาลมีเสถียรภาพทางการเมืองและมีเศรบชิกิจที่เข้มแข็ง ไทมลั { Times )


'

รึงเป็นนิตยสารชั้นนำวิเคราะห์ว่า รัฐบาลของจอมพลป. ได้แสดงท่าทือย่างขัดเจนไน


ทรต่อสู้กับคอมมิวนิสต์โดยหวังที่จะไต้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ '' 1 ส่วนสแตนตัน
ทูตสหรัฐฯ เห็นว่าตราบไดที่รัฐบาลจอมพล ป. ยังคงสนับสนุนสหรัฐฯ สหรัฐฯ ก็จะยังให้
ความช่วยเหลือต่อไป 1 '

ความขัดแย้งในคณะรัฐประหารท่ามกลางการรุกของกลุ่มรอย้ลลิสต์
โครงสร้างอำนาจไนคณะรัฐประหารช่วงปี 2490-2493 ตั้งอยู่บนฐานอำนาจ
ของพล.ท . ผิน ชุณหะวัณ ในฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารบกและผู้นำของค่ายราชครู
กับค่ายของพล.ท. กาจ กาจสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบก ชึ่งมีนายทหารบก
ร่ำนวนหนึ่งไห้การสนับสนุน โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นแกนกถางของความ
สัมพันธ์ทางอำนาจ ความขัดแย้งระหว่างพล .ท. ฝ็นกับพล.ท. กาจเพิ่มชั้นเนื่องจาก
. ..
พล .ท กาจต้องการช่วงชิงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกจาก พล ท ผิน โดยใต้เริ่ม
ขยายอำนาจทางการเมืองด้วยการ'ให้การสนับสนุนพรรคประชาธิป๋ตย์เพิ่อห้าทายค่าย
ราชครู ทำให้จอมพล ป. ต้องเล่นบทประสานความขัดแย้งระหว่างพล.ท. ผินกับพล.ท.
-
กาจเสมอ (ฟรีเพรสส์ 2493, 42 45, 60) ต่อมา พล.ท. กาจพยายามโจมดี พล.ท. สน
ด้วยการเขียนหนังสือชุด สารคดีตึกลับ เรื่อง ff กานะการณ์ชองกู้ตึมตน เพื่อกล่าวหา
ภพล.ท. สนฉ้อราษฎรบังหลวง ทำให้พล.ท. สนไม่พอใจที่ถูกเปีดโปง (กาจ 2492ง,

54 ; ฟรีเพรสส์ 2493 ; เตึยงไทบ, 1 พฤศจิกายน 2492 ) ปลายเดือนสิงหาคม 2492


จอมพลป. ต้องการไห้พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ้ อดีตนายกรัฐมนตรีกลุ่มปรืดื
เข้าร่วมคณะรัฐมนตรี โดยหวังว่าจะทำไห้สหรัฐฯ พึงพอไจและให้ความช่วยเหลือ
ทางการทหาร นอกจากนี้ เขายังต้องการนำนักการเมืองกลุ่มปรีดีกลับมาสู่การเมือง
เพื่อบั่นทอนอำนาจของพรรคประชาธํป้ตยั แต่ช้อเสนอดังกล่าวถูกขัดขวางโดยพล.ท.
กาจและเขมชาติ บุณยรัตพันธ์ เนื่องจากกลุ่ม'ของเขาสนับสนุนพรรคประชาธิป๋ตย์ จึง

32 "PolicyStatement Prepared in the Department of State, 15 October 1950, ” in


Foreign Relations of the United States 1950 Vol. 6 ( 1976b, 1529-30),

ทจช . กด 80/ 29 เอกสารกระทรวงการฅืางประเทศ เรื่อง บทความเกี่ยวกับประทาศไทยใน


.3.3

หนังรอพิมพ์ THE TIMES (พ , ศ. 2493).


Stanton to Ti e Secretary of States, 19 March 1951 ,” in Foreign Relations of
34 “

the United States J 950 Vole (1976b , 1599-1601) ; Coast ( 1953, 51 ).

99
ชุนศึก ศักดนา และพญาอึนทรี

ไม่ต้องการให้พล.ร.ต. ถวัลย์กลับมาฟ้นฟูพรรคสหชีพและพรรคแนวรัฐธรรมนูญขนมา
เป็นคู่แข่งทางการเมืองอีก เหตุการณ์นั้ใต้กลายเป็นชนวนความแตกแยกภายในคณะ
รัฐประหาร หรือในกองทัพบกระหว่างจอมพลป. พล.ท. ผืน และพล.ท. กาจ515
ไม่เพียงแต่ความแตกแยกในกองทัพบกเท่านั้น แต่การทีคณะรัฐประทารกลับ
ขนมามีอำนาจอีกครั้งภายหลังการรัฐประหาร 2490 ทำให้กองทัพเรือซึ่งเคยไต้รับการ
สนับสนุนจากรัฐบาลกลุ่มปรีดีให้ขึ้นมามีอำนาจแทนกองทัพบกตกจากรำนาจลงไปอีท
ซงสร้างความไม่พอใจให้กับกองทัพเรือเป็นอย่างยิ่ง และพวกเขาต้องการที่จะท้าทาย
อำนาจของกองทัพบก นอกจากนั้ในห้วงเวลาดังกล่าวรัฐบาลจอมพล ป. ยังต้องเผชิญ
หน้ากับปัญหาความขัดแย้งภายในกองทัพบกซึ่งเป็นฐานกำลังที่ให้การสนับลนูนรัฐ, บาล
มิพักต้องกล่าวถึงการต่อต้านจากกลุ่มรอยัลลิสต์ภายในวะบบราชการ เช่น กรณีที ม.จ.
ปรืดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ไต้พยายามขับไล่นายวรการ-
บญชา รมว. ต่างประเทศ ผู้เป็นคนสนิทของจอมพล ป. ออกไป โดยกล่าวหาว่านาย
วรการบัญชาใม่มีความสามารถในด้านการต่างประเทศเทียบเท่าพระองค์36
1

ท่ามกลางอีกภายนอกหลายด้านของรัฐบาลจอมพล ป. ที่มาจากการท้าทาย‘บอง
กลุ่มรอย้ลลิสต์และกลุ่มปริดี 17 ชีไอเอรายงานว่า จอมพลป. เลือกที่จะร่วมมือกับกลุ่ม
ปรืดึผู้เป็นมิตรเก่าของเขามากกว่ากลุ่มรอยัลลิสต์ เขาได้ประกาศทางวิทยุด้วยนํ้าเสียง
ที่ชให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะขอคืนดีกับปริดี สาเหตุอาจมาจากการทีเขาตระหนัก
ถึงพลังทางการเมืองของกลุ่มรอยัลลิสต์ที่เข้มแข็งขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในรัฐบาล รัฐสภา
และสังคมภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 ที่ให้อำนาจทางการเมืองแก่พระมหากษัตริย์
และสร้างความได้เปรียบแก่กลุ่มรอยัลลืสต์มากกว่ากลุ่มการเมืองอื่น38

1
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA-RDP82-00457 R003300290006-5,
22 September 1949, “Communist Strategy and Tactics in Thailand.”
-
NARA, CIA Records Search Tool (CREST ), CIA RDP82-00457 R 002800780003-7,
20 June 1949, “Opposition to M.c. Pridithepong Devakul. ”
37
-
NARA, RG 59 Central Decimal File 1945 1949 Box 7251, Hannah to Secretary
of State, "View of a Pridi Supporter on Political Event in Thailand -Summary of
Paper on Thai Political Development Written by a Supporter of Pridi Phanomyong,”
30 December 1949.
, !<
1
-
NARA, CIA Records Search Tool (CREST ), ClA-RDP79 Ol 082A( M )0100020022-4,
12 December 1949, “ Phibul Paves Way for Pridi Reconciliation ."

100
ส่ภาวะทงอาณาน็คมใ,นยุคสงครามเย็ ,น

I ในขณะที่ศึกภาบในคณะรัฐประหารนั้นยังคงคุกรุ่นต่อไป โดย พล.ท. กาจ กาจ-


สงคราม ประกาศเป็นปฏิป๋กท์กับจอมพลป. พิบูลสงคราม พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ และ
พล.ต.ต. เผ่า ศรียานนท์ อช่างเปิดเผย จากนั้นเขาได้ร่วมมอกับกลุ่มรอยัลล็ศต์และ

I[
พรรคประชาธิป้ตย์เสนอญัตติอภิปรายเพื่อล้มรัฐบาล39 ดอมาสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาก
การแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ใด้เคลื่อนโหวขดขวางการบริหารงานของรัฐบาลด้วย
การยับยั้งร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2493 ทำให้สมาชิกคณะรัฐประหารและ
อดีตคณะราษฎรบางคน เช่น พล.ต.ต. เผ่า และพล.ท. มังกร พรหมใยธี ไปเจรจากับ
ท์ยง คิริขันธ์ อดีตเสรีไทยและแกนนำสำคัญคนหนึ่งในกลุ่มปรีดี เพื่อขอการสนับสนุน
รัฐบาลจอมพลป. จากสภาผู้แทนราษฎร โดยเตียงตัดสินใจให้ส.ส. ในกลุ่มของเขามีมติ
ยีนยันการประกาศใช้งบประมาณเพื่อล้มล้างมติของสมาชิกวุฒิสภาแต่งตั้งได้สำเร็จ
,
เนึ่องจากเขาไม่ต้องการให้พล.ท. กาจขึ๋นมานีอำนาจ ' '

สำหรับความขัดแย้งระหว่างกองทัพนั้น กลางเดือนธันวาคม 2492 ซีไอเอ


รายงานว่า กองทัพเรือและกองทัพอากาศมีแผนการรัฐประหาร แต่แผนการรั่วไหลเสีย
-
ก่อน โดยพล.ต สฤษดี้ ชนะรัชฅ์ ได้รายงานเรื่องดังกล่าวให้กับจอมพล ป . รับทราบ
ทำให้รัฐบาลประกาศปลดพล.อ.ท. หลวงเทวฤทธิ้พันลึกจากตำแหน่งผู้มัญขาการทหาร
อากาศ สาเหตุของการพยายามรัฐประหารครั้งนี้มาจากปัญหาการคอร์รัปชั่นของพล.ท.
..
สนและพล ด สฤ'ษดิ้ในการจัดซื้ออาวุธให้กองทัพหลายกรณี เช่น รถถังเบรนกิ้นที่
อื้อฉาว ทำให้นายทหารในกองทัพบกจำนวนหนึ่งไม่พอใจ ซีไอเอเห็นว่าในการ
พยายามรัฐประหารครั้งนี้มีความแตกแยกในกองทัพบกและระหว่างกองทัพด้วย41 แม้

35 น?)รสาร , 1 พฤศจิกายน 2492 ; NA, F0 371 /76277 , Thompson to Foreign Office ,


6 December 1949-
40 NARA RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251 , Memorandum of
,
Conversation James Thompson and R . H . Bushner, 12 August 1949 ; Hannah to
Secretary of State, 14 December 1949 .
41 NARA, CIA Records Search Tool (CREST ), CIA - RDP 82-00457 R004000600004- 1 ,

27 December 1949 » “Current Political Crisis in Thailand.” ไนรายงานฉบับนี้ระบุว่าพล .อ .


อดุล อดุลเคชจรัส มีความเกี่ยวข้องกับการพยายามรัฐประหารครั้งนี้ต้าย นอกจากนี้ จอบพลป .
พิบูลสงครามได้แจ้งกับสนตนคัน ทดสหรัฐฯว่าพล . ต . สฤษค ธนะรัฬ์ มีความเกี่ยวข้องกับการ
คอร์รัปชั่นของกองทัพบกในการชัดซ้mถกังณรนกิ้นจำนวน 250 กัน และเขามีธุรกิจค้าฟินจากรัฐ
ฉานส่งไปขายย้งส์องกง INARA, RG 59 General Records of Department of State, Central

101
ชุนลึก คักดนา และพญาอินท1

รัฐบาลจอมพล ป. จะรอดพ้นจากการพยายามรัฐประหารที่เกิดข'นจากความร่วมมือ

.
ระหว่างกองห้พได้ก็ตาม แต่ป้ญหาที่เขาต้องดำเน้นกๅรแกไขออ่ๅงเร่งด่วนคือควๅบ
แตกแยกภายในคณะรัฐประหารซึ่งเป็นฐานกำลังที่คํ้าจุนรัฐบาล1เองเๆๅ จอมพล ป.
ตัดสนใจทีปึะสนับสนุนพล.ท. ผิน ชุฌหะวัณ ผู้บัญชาการทหารบก มากกว่าพล.ท.
กาจ กาจสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบก เขาสั่งการให้พล.ท . กาจยุติการให้
• ลึกสับ 1รรงสถานะการก่ร่ขรงผู้ลึมตน ที่ทำลาย
ส้มภาษณ เขียน และดีพิมพ์ สารคดี
ความน่าเชีอถึอของคณะรัฐประหาร แต่ พล.ท. กาจปฏิเสธ ( พิมพ์ 1!ทย , 10 มกราคม
2492 ; พ่รืเพรสฅ์ 2493, 74-75) และยังคงเคลื่อนไหวท้าทายอำนาจของ พล.ท. ผิน
ต่อไป จากนั้นกลางดึกของวันที่ 26 มกราคม 2493 พล.ท. ผินและ พล.ต.ต. เผ่าได้
รายงานแผนการรัฐประหารของ พล.ท. กาจต่อจอมพล ป. ในวันรุ่งขึ้น พล.ท. กาจถูก
จับกุมฐานกบฏ โดย พล. ต. สฤษดี๋และะ พล.ต.ต . เผ่าร่วมมือกันจับกุมเขา จากนั้น
จอมพลป. ไต้สังปลดพล.ท. กาจจากรองผู้บัญชาการทหารบกและให้เขาเดนทางออก
นอกประเทศทันที ความพ่ายแพ้ของ พล.ท. กาจทำให้ความแตกแยกภายในคณะ
รัฐประหารบรรเทาลงชั่วคราว42
ภายใต้ระบอบการเมืองที่กลุ่มรอยัลลิสต์ออกแบบผ่านรัฐธรรบบูญป็บับ 2492
ทำให้จอมพล ป. ต้องหันมาสร้างความแข็งแกร่งให้กับรัฐบาลของเขาผ่านสภาผู้แทน
ราษฎรด้วยการพยายามจัดตั้งกลุ่มการเมืองฝ่ายรัฐบาลชื่อ “พรรคประชาธิปไตย ” เพื่
ต่อสู้กับพรรคประชาธิป้ตย์ ( เกียรดีศักดี้, 12 มกราคม 2493 ; สายกลาง, 14 มกราคม
2493) ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้กลุ่มรอยัลลิสฅ์ที่เป็นสมาชิกวุฒิสภานำโดย
พระยาอรรถการียันิพนธ์ หลวงประกอบน้ดีสาร และพระยาศรธรรมราช วิจารณ์รัฐบาล

Decimal File 1950- 1954 Box 4184, Memorandum of Conversation p. Phibunsong-


gram and Stanton , “ Corruption in Army and Government service, ” 16 June 1950 ;
NA , FO 371 / 84348 , Thompson to Mr. Bevin , “ Siam : Annua ) Review for 1949, ”
10 May 1950 ; FO 371 /92952 Whittington to Foreign Office ( Morrison ), 16 April
1951 ) . สถานทูตองกฤษในไทย 1ด้รายงานว่า รถถังญรนกิ้นเป็นยุทโธปกรณ์ตกไเนจาทสงครามโลก
4
ฅรังทีสอง ทบริษัทสายฟ้าแลบ นปีนบริษัทของสนและสฤษดเป็นนายทน้ๅสั่งนาร) ากคัรทังกาว่านๅน
250 คัน แต่รถมังmล่านี้ใช้ก! าร1ไม่ 1 ได้ถึง 210 คัน
NARA , RG 319 Entry 57, Sgd . Cowen Military Attache Bangkok to CSGID
Washington D.c 28 January 1950 ; “รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 12/ 2493
(วิสามัญ ) ชุดที 1 10 กุมภาพันธ์ 2493, ” ไน รายงานการปรZชมล[ภาผู้แทนรา yฎร สมัยวลทมัญ
พ . ศ. 2493 เล์ม I ( 2497, 1624-27 ) ; ฟรเพรสส์ ( 2493, 78-82 ).

102
ซึ่ภาวะกึ่งอาณานิคมใน!jคสงค ฑพเย็น

ว่าจอมพลป . ควรลาอฮกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ'ให้มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่


มีพรรคประชาธิปัดย์เข้าร่วมรัฐบาลแทน รวมถึงให้คณะรัฐประหารต้องออกไปจาก
-
การเมือง ( ‘หลักเมือ } , 17 มกราคม 2493) ความเคลื่อนไหวของสมาชิกวุฒิสภา
ดังกล่าวทำให้ประเทือง ธรรมสาลี ส.ส. จังหวัดศรีสะเกม วิจารณ์บทบาทของสมาชิก
เฒิสภาว่า “ไม่มีความจำเป็น ไม่ได้เป็นตัวแทนประชาชน ไม่มีประโยชน์ และการ
2493)
^
ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ 2492 นี!้ ม่เป็นประชาธิปไตย ” น ยงไทย , 19 มกราคม
หนังสึอพิมพไทยขณะนั้นรายงานว่า ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของสถาบัน
.
พระมหากษตรยและกลุ
'' = ๙

่มรอยัลลิสต์ในหลายทางเพื่อโค่นล้มรัฐบาลนั้น ทำให้พล. ต.ต .
เผ่า ศรียานนท์ สั่งการให้ตำรวจสันติบาลสะกดรอยความเคลื่อนไหวของกรมขุน
ชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการค และนักการเมืองกลุ่มรอยัลลิสต์อย่างใกล้ชิด
(ประชาธิปไตย , 20 มกราคม 2493)
แม้สถาบันพระมหากษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์จะประสบความพ่ายแพ 1นการ
รักษาอำนาจให้กับรัฐบาลควง อภัยวงคํ ซึ่งเป็นตัวแทนของพวกเขาที่คูกบังคับให้ลง
จากอำนาจโดยคณะรัฐประหารก็ตาม แต่พวกเขายังคงประสบความสำเร็จในฐานะ
สถาปนิกทางการเมืองที่ออกแบบระบอบการเมืองที่ทำให้พวกเขาได้เปรียบภายใต้
รัฐธรรมนูญ 2492 ต่อไป ซึ่งน่าไปสู'่ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้สำเร็จราชการฯ
สมาชิกวุฒิสภา กับรัฐบาลจอมพลป. ในเรื่องการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาทดแทนเข้ามา
ใหม่ นอกจากนี้ สถานทูตสหรัฐฯรายงานว่า ความยากลำบากที่รัฐบาลต้องทำงาน
กับวุฒิสมาชิกแต่งตั้งนั้นส่งผลให้นายกรัฐมนตรีต้องการโต้กลับด้วยการเสนอขอเข้า
,
ร่วมประชุมคณะองคมนตรีด้วย 3

กลุ่มรอบัลลิสต์กับกบฏแมนฮัตตัน ะ แผนซ้อนแผนไนการโค่นล้มรัฐบาล
ในช่วงด้นทศวรรษ 2490 อำนาจทางการเมืองของจอมพล ป. ที่ตั้งอยู่ท่ามกลาง
กลุ่มรอยัลลิสต์และกลุ่มปรืดีเป็นความสัมพ้นใ?ในลักษณะบางครั้งก็ร่วมมือกันเพื่อด่อล้
กับอีกกลุ่มหนึ่ง ในกลางปี 2493 ขีไอเอรายงานกวะแสข่าวการพยายามรัฐประหาร

Bangkok Post 18 December 1950 ; NARA, RG 59 General Records of Depart


, *

ment of State , Central Decimal File 1950 1954 Box 4184, William T, Turner to
*

Secretary of State, “ Political Report for November 1950, ” 26 December 1950 ;


“ Political Report for December 1950 and January 1951 , ” 21 February 1951 .

103
ขุนศึก ศักดินา และพญาอนทรี

รัฐบาลจอมพลป. โดยกสุ่มปรีดีและกลุ่มรอยัลลิล,ต ’' 1 อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกลุ่มล้วน


ปราศจากกำลังทางการทหารที่จะใช้อึดอำนาจ45
ปลายปี 2493 การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างรัฐบาลจอมพลป. กับกลุ่มปรีดึและ
กลุ่มรอยัลลิสต์ยังคงดำเนินไปอย่างแหลมคม มีกระแสข่าวว่าจะเกิดการรัฐประหาวโค่น
ล้นรัฐบาล4' ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว หนังสือพิมพ์ที่สนับส,นูนรัฐบาลตั้งแต่ปลาย
1

ปี 2493 ถึงต้นปี 2494 เช่น ธรรมาธิป้ตV และ บางกอกทรบูน ( Bangkok Tribune )


ได้ลงข่าวประณามบทบาททางการเมืองของกลุ่มรอยัลลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์ และ
สมาชิกวุฒิสภาอย่างหนัก แม้กระทั้งหนังสือพิมพ์ที่มีจุดยืนทางการเมืองแบบกลาง ๆ
ก็มีความเห็นใจรัฐบาลที่ถกกลุ่มรอยัลลิสต์โจมดีอย่างไม่มีเหตุผล ในขณะที่หนังสือพิมพ์
ฝ่ายซ้ายได้ประณามสมาชิกวุฒิสภาว่าเป็นเครื่องมือที่ไม่ใช่วิถีประซาธิปไตยของชนชั้น
ปกครอง กล่าวได้ว่าการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ 2492 หรือรัฐธรรมนูญรอยัลลิสต์ซึ่ง
ถวายอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด การแต่งตั้ง
องคมนตรืให้เป็นพระราชอำาทจ รวมทั้งบทบาททางการเมืองของผู้สำเร็จราชการฯ ได้

4 -1
NARA, RG 59 General Records of Department of State , Centra ] Decimal
-
File 1950 1954 Box 4184, William T. Turner to Secretary of State, Monthly Political
Report for May 1950, 15 June 1950.
4"
- -
NAM, CIA Records Search Tool (CREST), CIA RDP82 D0457 R 006100010001-6,
17 October 1950, “ Coup Plans by Thai Navy Group/
4
" NAHA, RG 469 Mission to Thailand 1950-1954, Entry’ 1385 Box 7, “ Brief Political
รนrvey of Thailand," 20 November 1950. ในรายงานฉบับนี้ระบุว่าฝ่ายค้านขณะ,แนมี 2 กสุม
ทอ พรรกประชาธิปัตย์ ซึ่งมีส.ส. จำนวน 30-35 คน มีนโยบายสนับสบุนผลประโยชน์ชองกลุ่ม
รอยลลิสต์และเจาที่ดิน ต่อต้านคอมมิวนิสต์ แสะนิยมตะวันตก แต่พรรคฯ ไม่เข้าใจสถานการณ์โลก
พรรคฯรับการสนับสนุนจากกลุ่มรอย้ลลิสต์ เช่น พระยาศรีวิสารวาจาผู้มีบทบาทอย่างมากในการรีาง
รัฐธรรมนญ 2492 สมาชิกส่วนใหญ่ของพรรคฯมาจากพระราชวงฅ์ที่มีบทบาทสงในขุฒสภา ส่วน
กลุ่มปรืดึเป็นกลุ่มที่กระจัดท1ะจายจนไม่ป็ประรทชิกาพในสภาผู้แทนฯ พวณขาให้การสนับสนุนปรืดี
แส่ต่อต้านจอมพลป. มีความคิดเสรนยม หรือเรียกว่าความคิดก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและปฏิรูปสงคม
ซี่งเปีนผลมาจากแนวคิดในเค้าโครงการเศรษฐกจของปรืลึ สมาชิทส่วนใหญ่จบมาจากมหาวิทยาล้ย
วิชาธรรมศาสตร์และการเมีอง เคยเป็นเสรีไทยมาก์อนส่อมาได้เคยให้ความช่วยเหลือพากเวิยคมินห
อย่างใกล้ชิด กลุ่มนี้ใต้รับการสนับสบุนจากกองทัพเรือ โดยเฉพาะอย์ไงยิ่งพรรคนาวิกไยชิน มีสมาชิก
ที่เป็นส.ส. จำนวน 12-15 คนในสกาผู'้ แทนฯ ; NARA, CIA Records Search Tool (CRFST),
CIA- RDP78-01617A006100020023-4, 4 December 1950, “ Reported Plan for Coup.”

104
สู่ภาวะทึ่งอาณานิคม,ในอุคสงคราพเย็น

สร้างปัญหาให้กับการบริหารงานของรัฐบาลเป็นอย่างมาก
,
รัฐบาลจงต้องการยุติ
' 7

อำนาจของสมาชิกวุฒิสภาและบทบาททางการเมืองของผู้สำเร็จราชการฯ ด้วยการ
แกัเขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว แต่ความต้องการของรัฐบาลไม่อาจสำเร็จไต้เนื่องจาก
-าลุ่มรอยัลลิสฅ์จำนวนมากที่อยู่ในรัฐสภานั้นขัดขวางการทำงานของรัฐบาล ฏิให้รัฐบาล
แกัไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจของพวกเขาลง
ทั้งกลุ่มปริดีและกลุ่มรอยัลลืสต้ต่างไม่พอใจรัฐบาลจอมพล ป. แต่ทั้งสองกลุ่ม
ซาดกำลังทางการทหารที่เพียงพอในการรัฐประหาร สำหรับกลุ่มปริดีแลัวแกนนำสำคัญ
เข่น เตียง คิริขันธ์ ไม่เห็นด้วยกับแผนการใช้กำลังในการรัฐประหารของปรีต็ เนื่องจาก
เตียงและพวกมีความเห็นว่าการรัฐประหารจะนำไปสู่สถานการณ์ทางการเมืองที่แย่ยิ่ง
กว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้น พวกเขาจึงพยายามหาหนทางสร้างความปรองดองระหว่าง
ขอมพลป. กับปรีดีเพื่อประโยชน์ของประเทศมากกว่าแผนการใช้กำลัง48 การพยายาม
สร้างความปรองดองระหว่างกันโดยรัฐบาลดำเนินการผ่านพล.ต.ท. เผ่า ศรียานนท์ โดย
เขาไต้ให้ความช่วยเหลือทางการเมืองแก่ม!'กการเมืองกลุ่มของเตียง41, อย่างไรก็ตาม การ
เจรจาระหว่างเตียงกับใเรืดีไม่สำเร็จ ปรืดียังคงดำเนินแผนการดังกล่าวต่อไป สถานทูต
อังกฤษและซีไอเอรายงานว่า ปริดีได้ลักลอบเดินทางกลับมาไทยในเดือนกุมภาพันธ์
2494 เพื่อเตรียมแผนการรัฐประหาร โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจมส์ ฑอมสัน
เพีอนสนิท'ของเตียง และอเล็กซานเดอร์ แมคโดนัลด์ อดีตโอเอสเอสและบรรณาธิการ
บางกอกโพสพ: ," โดยปริดีพยายามโน้มน้าวไห้พล.ร.ต. ทหาร ขำหิรัญ อดีตผู้บังคับการ

4'
NAHA, RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal
File 1950- 1954 Box 4184, William T. Turner to Secretary of State, “Political Report
for December 1950 and January 1951 ,” 21 February 1951 .
43
NA , FO 371 / 84352 , Far Eastern Department to U . K . High Commissioner in
Canada, Australia, New Zealand, India , Pakistan, Ceylon, 14 December 1950.
4'
,
-
พล . ต ท. เผ่า ศรืยานนท์ ได้!ห้การสนับสนุนจา3นคร เ1องอุPรรฌ นกการเมืองกลุ่มเตียง สรขนช์
ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนฯ ( NARA , RG 59 General Records of Department of State,
Central Decimal File 1950-1954 Box 4184 , William T. Turner to Secretary of State,
"Political Report for December 1950 and January 1951 , " 21 February' 1951 ). สถานหูด

อังกฤษรายงานว่า เลียงกำลังหาหนทางไห้เกิดการเจรจาคนคกันระหว่างจอมหสป. พิบูลสงครามกับ


ปรค พนมขงค์ ( NA, C0 537/7115 , Whittington to Foreign Office, 27 February 1951 ;
NA, FO 371 / 92954, Whittington เอ Foreign Office , 28 February 1951 ).
50
NA, CO 537 /7115 , Whittington to Foreign Office, 26 February 1951 . หูดอังกฤษได้

105
ธุนคิก ศักดินา และพญาอน^รี

พรรคนาวิกโยธินที่เคยให้การสนับสนุนเขาในการก่อกบฎวังหลวงให้เช้าร่วมแผนการ
รัฐประหารอีกครั้ง ' 1 ทั้งนั้เนปลายเดือนเมบายน 2494 พล.ท. กา1) กาจสงคราม ผู้เป็น
คู่แข่งข้นในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและตำแหน่งทางการเมืองของพล อ. ผิน •

ชุฌหะวัณ และพล.ต.ท. เผ่า ศรียานนท์ หรือค่ายราชครู แต่พ่ายแพ้และถูกบังคับให้


ออกนอกประเทศ ไต้ลักลอบกลับมาไทยเพื่อรวบรวมก่ำลังทหารบกที่ภักดีเพื่อก่อการ
รัฐประหาร ด้วยเหดุที่กลุ่มปรีดีมกำลังไม่เพียงพอจึงได้เขรจาขอร่วมมือกับเขา แต่การ
ตกลงไม่!!ระสบความสำเร็จ52 จะเห็นไต้ว่าความพยายามในการก่อการรัฐประหารของ
กลุ่มปรีดี กลุ่มรอยัลลิสต์ และค่ายของ พล.ท. กาจ กาขิสงคราม แม้ทั้งหมดจะมี
เป้าหมายร่วมกันคือโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะรัฐประะหาร แต่
ปัญหาหลักของทั้งสามกลุ่มคือพวกเขามีกำลังไม่นากพอในการรัฐประหาร ดังนั้น
กองทัพเรือในฐานะคู่แข่งขันของคณะรัฐประหารและกองทัพบกจึงเป็นต้วแปรสำคัญที่
จะทำให้แผนการรัฐประหารสำเร็จไต้ ควรกล่าวด้วยว่าภายในกองทัพเรือก็มีความ
แตกแยกภายในเช่นกัน กล่าวคือ พรรคนาวิกโยธินนำโดยพล.ร.ต. ทหาร ขำห็รัญ
1ห้การสนับสนุนกลุ่มปรีดี แต่พรรคนาวินนำโดยพล.ร.อ. ลินธุ กมลนาวิน ผู้บัญชาการ
กองทัพเรือไม่นิยมทั้งจอมพลป . พิบูลสงคราม ปรีดี พนมยงค์ และ พล.ท. กาจ
กาจสงคราม แต่เขาต้องการให้กองทัพเรือขนมามีอำนาจแทนคณะรัฐประหารหรือ
ทหารบกซึ่งเป็นคู่แข่งขัน ด้วยเหตุนั้กองทัพเรือจึงโน้มเอียงไปให้การสนับสนุนกลุ่ม
รอยัลลิสต์และพรรคประชาธิปัตย์มากกว่า
การจับกุมตัวจอมพล ป. พิบูลสงครามในพิธีมอบเรือขุดสันดอนซึ่อ “ แมนฮัตตัน"
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2494 โดยนายทหารเรือกลุ่มหนง ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า “กบฎ
แมนรัตตัน” นั้น โดยทั้วไปมักรับรู้กันว่าเป็นความพยายามก่อรัฐประหารโดยนาย

ราขงานว่า ร.อ . เดนิส ( ร. H . Denis) อดีตทูตทหารเรืออังกฤษ ได้พบสนทนากับม่รีดี พนมยงค ไน


ก งเทพฯ ปรีด'ี ได้กล่าวกับเดนิสร่า เขามีความหางว่าจะกลับมาสู่การเมืองในเรีว ๆ บ ต่อมาทูตอังกฤษ
!
ได้แจ้งข่าวลับเรื่องการมาถึงไท[ทเองปรืดีให้ทูตสหรัรฯทราบด้วย ! NAHA, CIA Records Search
Tool fCHESTl , CIA- RDP79T01146A0001 00040001 - 7 , 5 Mart' ll 1951 . “ Pridi - Phibul
Negotiations").
51 N.AR.A, CIA Records Search Tool (
CREST), C1A-RDP79T01146A000100080001-3,
9 March 195( 1, “Coup Attempt Possibly in Progress.”
-
52 NAHA, CIA Records Search Tool (CREST ), CIA RDP79T01146A000200010001 9,
-
28 April 1951, “General Kach’s Return Rumored ."

106
สู่ภาวะกึ่งอาณานิคมในอุคสงครามเย็น

เทฑรเรือสองคน คือ น.อ. อานนท์ ปุณ6ทริกาภา และน.ต. มนัส จารุภา จนนำไปสู่


ความบอบชาของกองทัพเรือ แต่หลักฐานในรายงานของสถานทูตสหรัฐฯในช่วง
ลังกล่าวนั้นวิเคราะห์ว่า รัฐประหารครั้งนี้เป็นการพยายามก่อการที่มีความสลับซับช้อน
มากจนถูกเรียกว่า “ แผนสมคบคิดที่ลึกลับซับซ้อน” (Machiavellian Conspiracy) 53

จากรายงานของหลายหน่วยงานของสหรัฐฯ ทั้งสถานทูตและชีไอเอ ตลอดจนบันทึก


การสนทนากับบุคคลสำคัญของไทย สรุปได้ว่า "กบฎแมนรัตตัน” เป็นแผนการร่วม
- น !ที่อโค่นล้มรัฐบาลจอมพลป. ของกสุ่มปรีดี กลุ่มรอยัลลิสต์ ค่ายของพล ท. กาจ .
มสะกองทัพเรือ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่แต่ละกลุ่มก็มีความขัดแย้งและหวาดระแวง
กันและกัน จึงมีแผนที่จะรัฐประหารตลบหลังซี่งกันและกัน และเมื่อไม่มีกลุ่มไดมีกำลัง
เพยงพอ'ในปฎบัต็การรดอำนาจ ทำให้กองทัพเรือกลายเป็นตัวแปรสำคัญ ด้วยเหตุที่
ผู้บัญชาการทหารเรือขณะนั้นไม่พอใจความเป็นอิสระของพรรคนาวิกโยธินที่ไม่อยู่
กายใต้การบังคับบัญชาของเขา อีกทั้งยัง'ให้การสนับสนุนปรืดี พนมยงค์ และเขาเอง
ก็ต้องการัให้กองทัพเรือมีอำนาจแทนคณะรัฐประหาร เขาจึงให้การสนับสนุนกลุ่ม
รอยลลิสต์ไห้มีอำนาจทางการเมืองแทน โดยเขาใต้นำแผนการที่ทุกกลุ่มมาขอความ
ขวยเหลือจากกองทัพเรือแจ้งให้ควง อภัยวงฅ์ หัวหน้าพรรคประชาธิป็ตย็'และแกนนำ
‘ นหนึ่งไนกลุ่มรอยัลลิสต์รับทราบ ต่อมาควงได้เล่าแผนการทั้งหมดให้พระองคเจา ^ ๔*
'

รานีนิวัต ผู้สำเร็จราชการฯ ชึ่งไม่ใปรดทั้งจอมพลป . และปรีดี รับทราบ จากนนแผน


ร์อนแผนของกลุ่มรอยัลลิสต์ก็ถูกเตรียมการขึ้น
ตามแผนช้อนแผนของกลุ่มรอยัลลิสต์นั้น สถานทูตสหรัฐฯรายงานว่า กองทัพ
เรือจะแสดงท่าทีให้ความช่วยเหลือแก่ทุกกลุ่ม แต่ไม่ให้แต่ละกลุ่มรู้ความเคลื่อนไหว
ซึ่งกันและกัน โดยขั้นแรกกำหนดให้ค่ายของ พล.ท. กาจ กาจสงคราม เข้าจับกุมตัว
จอมพลป.พิบูลสงคราม พล.อ. ผิน ชุฌหะวัฌ และ พล.ต.ท. เผ่า ศรียานนท์ ที่เรือ
แมนรัตตันก่อน จากนั้นจะให้กลุ่มปรืดียึดอำนาจช้อนกลุ่มของพล.ท. กาจ และสุดท้าย

NARA RG 59 General Records of Department of State, Centra ] Decimal File


;

r>50-1954 Box 4184, R . H . Bushner to Secretary of State, “Current Thai Political


Potting," 26 April 1951. ทั้งนั้ทยชื่อว่าที่ฅณะรัฐมนตรีที่ถูกประกาสในวันนั้นมาจากหลายกลุ่ม
ท่าให้สามารถวิเคราะห์ไดว่า การพยายามรัขิประหารนี้มีความรวมฏีอของหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มปรีตื
มีพอ .ร . ต . ทหาร ขำหิรัญ เป็นรองนายกฯ กลุ่มรอยลสิสต์มี ม . ร . ว . เสนีย์ ปราโมช เป็นรมว . ค่าง
ประเทศ พล .ท . ชิต มั่นศิลป็ สินาดโยธารักษ์ เป็นรมว . มหาดไทย ส่วนนายกรัฐมนตรีคอ
พระสารสาสน์ประพันธ์ ชื่งเปันอดีตข้าราชการอาๅโสที่ไม่สิงกัดกลุ่มใด ( ไท (เน้อข 2494 , 54- 55 ).

107
ชุนคิก ศกดนา น,ระพญาอินทรี

กลุ่มรอยัลลิสต์และกองทัพเรือฝ่ายพรรคนาวินจะยดอำนาจตลบหลังกลุ่มปรืดีอีกทีหนึ่ง
แต่ปรากฎว่าในเหตุการณ์ที่เกิดขนจริงนั้น กลุ่มที่ลงมือจับกุมตัวจอมพลป , ไม่เป็นไป
ตามแผน เนี่องจากกลุ่มที่ลงมือกลับกลายเป็นทหารเรือของกลุ่มปริดี 54 สถานทูต
สหรัฐฯ ตั้งข้อลังเกดที่น่าสนใจถึงบทบาทของพระองค์เจ้าธานีนิวัต ผู้สำเร็จราชการฯ
ว่าท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตของรัฐบาล แทนที่พระองค์จะติดต่อกับรัฐบาล กลับ
โทรศัพท์ติดต่อกับควง อภัยวงค์ ผู้นำฝ่ายค้าน เพื่อสอบถามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า
พระองค์ควรให้การสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายก่อการรัฐประหาร ควงได้กราบทูล
พระองค์ว่า เขา “กำลังรอบางสิ่งบางอย่างอยู่ ” และจะติดต่อกลับไปว่าพระองค์ควร
สนับสทุนฝ่ายใด5 '

ทั้ง11 ในรายงานทางการทูตระบุว่า ควง 1 ด้ดิดต่อกับพล . ร . ต . สงวน รุจราภา


แกนนำในกองทัพเรือที่ไม่พอใจรัฐบาล ผู้ที่ตกลงกับควงว่าจะแจ้งข่าวแผนการโค่นล้ม
รัฐบาลหันท่ที่แผนการได้เริ่มต้นขึ้น ในระหว่างการรัฐประหารด้วยการจับกุมตัวนายก
รัฐมนตรีนั้น ฝ่ายรัฐบาลได้กราบทูลเชิญพระองค์เจ้าธานีนิวัตจากวังมายังกอง
บัญชาการต่อต้านการรัฐประหารถึงสามครั้ง แต่พระองค์ทรงปฏิเสธคำขอจากรัฐบาล

M
สาเหตุที่นายทหารเรือกลุ่มที่ลงมึอน็นถุกพิจารณาว่าเป็นกลุ่มๅเร็ดีเนึ่องจาก รุ[ภัทร รุ[คนธากิรมย์
อดีตนักศึกทามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง อดีตเสรีไทยผู้มืความใกล้ชิดโ ]ริดี พนมยงค์
เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ฟ้องหลังกบฎแมนรัตตัน เขามึความส้มพันธ์อันดีกับน.ค. มนัส จารุภา หนึ่งในทหาร
เรือผู้ลงมึอจัฆดัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม (Somsak 1993, 341 ) ; วิวัฒน์ 2539, 229) ทั้งน น.ต.
มนัสเป็นนายทหารเรือคนสนิทของพล.ร.ต. ผัน นาวาวิจต ผู้ให้การสนับสนุนปริดี พนมยงฅ์ ( สุธาชัย
2550ข, 36, 206 ) ไปรดคูรายละเอียดเหตุการณ์ดังกล่าวโดยละเอยดใน ไทยนัอย (2494 ) ; รุ[ดา
( 2516) .
5S NARA ,
RG 59 General Records of Department of State, Central Decimal
File 1950- 1954 Box 41 H 4, Memorandum of Conversation Nai Tula Bunnag and
Hannah , “Current Thai Political Potting,” 26 April 1951. ตุลย์ บุนนาค เป็นบุคคลที่ให้
จ่าวนึ้ เขาเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศและเลขานุการของควง อภัยวงฅ์ หัวหน้าพรรค
- -
ประชาธิป๋ตย์ ะ NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA RDP82 00457R0080007
20001-7, 6 July 1951, “Seizure of Premier Phibul by the Thai Navy ” ; NARA, RG 59
-
Central Decimal File 1950 1954 Box 4185, Memorandum of Conversation General
Phao, Majur Thana Posayanon and N. B, Hannah , “Recent Attempted Coup d ' Rtat,”
16 July 1951 ; Memorandum of Conversation Luang Sukhum Naipradit, Nai Charoon
Suepsaeng and N. B. Hannah, "Recent Attempted Coup," 7 August 1951.

108
สู่ภาวะกึ่งอาณาน้คมในยุคสงครามเย็น

อย่างไรกีตาม ในเวลาต่อมาควงได้กราบทูa พระองค์ว่า “มันไม่ใช่ ” สิ่งที่เขาคาดหวัง


หรือรับรู้มา จากนั้นพระองค์ได้ประกาศสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลทันทีด้วยการลงพระนาม
r,f’ ภายหลังความล้มเหลวของแผนการ
ประกาศกฎอัยการศึกตามคำขอของรัฐบาล
รัฐประหารล้มรัฐบาล ควงทักล่าวอย่างหัวเสียและกล่าวประฌามการเคลื่อนไหวของ
นายทหารเรือสองคนนั้นว่า “โง่เขลาและปัญญาอ่อน” เป็นการลงมือรัฐประหารอย่าง
ไร้หลักการโ'7 ควรบันทึกด้วยว่า ในการปราบปรามการพยายามก่อการรัฐประหารครั้งนี้
กองกำลังทีเข้าปฏิบัติการปราบปรามกบฏแมนอัตตันมาจากกองทัพผสมกับตำรวจ
โดยตำรวจพลร่มและตำรวจตระเวนชายแดนมืบทบาทอย่างมากในการเช้าปราบปราม
ทั้งนี้ตำรวจชุดดังกล่าวได้รับการแกจากซีไอเอและได้ใช้อาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจาก
จากซีไอเอผ่านวิถลิส เบิร์ด เช่น ปืนบาชุกา ปืนคาร์บิน จำนวน 500 กระบอก และ
กระสุนจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลสามารถปราบความพยายามรัฐประหารครั้งนี้ลงไต้
,
อย่างง่ายดาย สถานทูตอังกฤษรายงานว่า หน่วยงานของสหรัฐฯได้ให้ความช่วยเหลือ
5'

รัฐบาลในการปราบปรามการพยายามรัฐประหารครั้งนี5้ 'J ภายหลังความสำเร็จในการ


ปราบปราม พล.ท. ผิน ชุณหะวัณได้แสดงความประทับใจอย่างมากต่อความช่วยเหลือ
ล้านอาวุธจากสหรัฐฯ เขาเห็นว่าความช่วยเหลือด้านอาวุธจากสหรัฐฯ มีส่วนสำคัญใน
ความสำเร็จของการปราบปรามดังกล่าว
," ,

56
NARA , RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal
File 1950-1954 Box 4184, Memorandum of Conversation Nai Khuang and Hannah ,
" Attempted Coup d ’ Etat 29 - 31 June 1951 , " 9 July 1951 ; NARA , R ( i 59 Central Dec-

imal File 1950- 1954 Box 4185 , Rushner to Secretary of State , "Attempted Coup
d ’ Etat of 22 -30 June and its Aftermath," 19 September 1951 .
77
NARA, RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal
File 1950- 1954 Box 4184, Memorandum of Conversation Nai Khuang and Hannah ,
“ Attempted Coup d ’ Etat 29- 31 June 1951 , " 9 July 1951 .
'

“Turner The Charge in Thailand to Mr . Robertson p. Joyce Policy Planning


Staff , 7 November 1951 , ” เท Foreign Relations of the United States 1950 VoL 6
( 1976b, 1634) ; อำรง ( 2526, 73-74, 92).
59 NA,
FO 628 / 79, Minutes, 1 July 1951 .
60
NARA , RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 5625 , Memorandum of
Conversation Phin , E . O’Connor and R . H . Rushner, 24 July 1951 .

109
ขุนลึก ฟิกตินา และพญาอินทรี

ความล้มเหลวของการพยายามก่อรัฐประหารครั้งนี้กอเป็นการรูดม่านปิดฉาก
หนทางที่ปรืดี พนมยงค์ จะกลับสู่การเมือง อีกทั้งกองทัพเรือในฐานะคู่แข่งของคณะ
รัฐประหารก็คูกถดความเข้มแข็งลงอย่างรวดเร็ว อาวุธของกองทัพเรือที่หันสมัยได้ถูก
กองทัพบกและตำรวจยึดไป แม้รัฐบาลจะปราบปรามปรปักษ์ทางการเมืองลงไต้ แต่
ปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นภายในคณะรัฐประหารก็เด่นชดขึ้น นั่นคือการแข่งขันทางการเมือง
ระหว่างพล.ท. สฤษดี้ ธนะรัชต์ กับ พล.ต.ท. เผ่า ศรียานนท์ สถานพูดอังกฤษรายงาน
ว่า ความเข้มแข็งของทั้งสองคนทำให้จอมพลป. พิบูลสงครามต้องประสบปัญหาการ
รักษาอำนาจของเขาเองด้วยเช่นกัน''1
ต้นเดือนกรกฎาคม 2494 หนังสือพิมพํในไทยรายงานข่าวอย่างต่อเนื่องหลาย
วันว่า สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธแก่รัฐบาลในการปราบกบฏแมนฮัตตัน
เกิดกระแสวิพากวิจารณ์ในสังคมว่า “อาวุธอเมริกันฆ่าเรา ,, ( New York Times , 5
July 1951) ท่ามกลางข่าวในทางลบต่อสหรัฐฯ ที่แพร่สะพัด วิลเลียม เทอร์เนอร์
(William Turner) อุปพูตสหรัฐฯ ได้เข้าพบจอมพล ป. และแสดงความกังวลต่อข่าว
',
ตังกล่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ไทย '' ไนวันเดียวกันนั้น กองทัพบกปฏิเสธว่าไม่ได้ใช้
อาวุธที่ได้รับความช่วยเหลอจากสหรัฐฯในการปราบ'แรามกบฎแมนฮัดดัน (ไทยน้อย
2494, 168-69 ) ต่อมาสถานทูตสหรัฐฯไต้รับโทรศัพท์วิพากษ์วิจารณ์การให้การ
สนับสนุนทางการทหารแก่กองทัพและตำรวจไทยจากชายไทยคนหนึ่งที่พูดด้วยเสียง
สะอื้นว่า “ทำไมอเมริกาจึงให้อาวุธทำให้คนไทยต้องต่อสู้กัน"', * หลังกบฏแมนรัตตัน
แม้สแตนตันและแมค ( MAAG) ได้เสนอให้สหรัฐฯ ระงับความช่วยเหลอทางการทหาร
แก่ไทย"4 แต่รัฐบาลที่วอชิงตัน ดี. ซี. ยังคงยืนยันว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการทหาร

NA, F0 371/92956, Whittington to Foreign Office* “Siam : Political Summary , ”


13 July 1951 .
62 “
Turner The Charge in Thailand to The Secretary of States, 2 July 1951 , ” in
Foreign Relations of the United States 1950 Vol 6 ( 1976 b, 1616 ).
.

63 NAHA , KG 84 General Records, Thailand 1945 1953 , Entry UD 3267


- Box 93,
R . H. Bushner to Political Section, “Thai Reaction to Coup d ' Etat, ” 11 July 195 ไ .
ชายไทยคนดังกส่าวที่ได้โทรศพทไปตอว่าสถานทูตฯ ชื่อนายสุวรรณ มารก ฟืนครูสอนในโรงเรึยน
แฟงหนึ่งโนกรูงเทพฯ
๖4“Turner The Charge in Thailand to The Secretary of States, 12 July 1951,” in

Foreign Relations of the United States 1950 Void ( 1976 b, 1620- 21 )

110
สูภาาะทึ่งอาณานิคมในยคสงครามเย็น

.
I ละเศรบฐกิจแก่ไทยต่อไป เดยให้เหตุผลว่าสหรัฐ'1 ต้องการให้ไทยมีเสถียรภาพ
V ' งการเมืองเพื่อที่จะทำให้ไทยเป็นพันธมิตรที่มีความเข้มแข็งในการรักษาเสถียรภาพ
ในเอเชียตะวันออกเฉียง'ใต้ต่อ11ใ j165
ภายหลงกบฏแมนสัตตัน ขณะที่ปรีดี พนมยงค์ ประสมความพ่ายแพ้และหมด
โอกาสที่จะกลับสู่อำนาจทางการเมือง แต่สำหรับกลุ่มรอยัลลิสต์นั้น แม้จะถูกจับตา
มองจากรัฐบาลจอมพล ป. พินูลสงคราม แต่โอกาสทางการเมืองภายไต้รัฐธรรมนูญฉบับ
2492 ยังคงอยู่ช้างพวกเขา และพวกเขายังรอเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่หัวจะ
สด็จน้วัตพระนครในเร็ววัน กล่าวได้ว่าในช่วงเวลานั้นเหลือตัวละครทางการเมืองที
สำคัญสองกลุ่มคือ รัฐบาลกับกลุ่มรอยัลลิสฅ์ที่รอเวลาชิงชัยทางการเมืองกันต่อไป

การรัฐประหาร 2494 กับการยุติบทบาททางการเมืองของกลุ่มรอยัลลิสต์


ควรกล่าวด้วยว่าความพยายามโค่นล้มรัฐบาลที่ประสบความล้มเหลวใน
เตุการณ์กบฎแมนสัตตันมิได้ทำให้กลุ่มรอยัลลิสฅ์ที่ไม่พอใจรัฐบาลจอมพล ป . พบูล-
สงครามยุติบทบาททางการเมือง พวกเขายังคงพยายามรักษาฐานอำนาจในกลไก
ทางการเมืองที่พวกเขาสามารถควบคุมได้ต่อไปเพื่อขัดขวางการทำงานของรัฐบาลจน
น่าไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลอีก สถานทูตสหรัฐฯรายงานว่า กายหลังจากทีรัฐบาล
ม่ราบกบฎแมนสัตคันลงแล้ว เกิดความขัดแย้งระหว่างวุฒสภาจากการแต่งตั้งกับ
รัฐบาล โดยวุฒสภาเข้าขัดขวางการทำงานของรัฐบาลด้วยการยับยั้งกฎหมายที่เสนอ
จากรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร' ’'' ด้วยเหตุที่วุฒิสภาไม่พอใจที่ความพยายามก่อการ
รัฐประหารที่พวกเขาคาดหวังล้มเหลว พวกเขาจึงอภิปรายวิจารณ์รัฐบาลที่ปราบปราม
การพยายามรัฐประหารดังกล่าว และโจมดีความผิดพลาดในการปฏิวัติ 2475 ที่ผ่าน

65
Analysis and Appreciation of Foreign Military and Economic Assistance

Programs for Thailand , 17 July 1951 , ” in Foreign Relations of the United States
1950 VoL 6 ( 1976 b , 1623- 25 ) .
NAHA, KG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4185 , Memorandum of
Conversation Nai Sang Pathanotai and N . B . Hannah , "29 November 1951 Coup
d’ Htat,” 11 December 1951 . การขัคขวางการทำงานของรัฐบาลไคยกลุ่มรชิอลสิสค์ เช์น บทบาท
ของๅฒสภาที่ยับยั้งร์างกฎหมายของรัฐบาลจอมพเน] . ถึง 31 ฉบับจาก 57 ฉบบ และได้ยับยั้ง
กฎหมายที่สกาผ้แท'นราษฎรเสนอ 10 ฉบับจาก 16 ฉบับ รวมทั้งการตั้งกระทถามรัฐบาลกง 67
กระทู้ ( ตุ[ร้น 2517 , 150- 53).

111
ชุนค็ก สักค้นา นละพญาอินr: '

,
มาอย่างรุนแรง ทำให้จอมพลป. พิบูลสงคราม นายกรฐมนตรี15 ไม่พอใจอย่างยิ่งและได้
กล่าวตอบโต้ว่า วุฒิสภานุ่ง “ ด่า” รัฐบาลแต่ฝ่ายเดียว และหากสมาซิกวุฒิสภาเห็น
ว่าประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับการปกครองของไทย ก็ให้สมาชิกวุฒิสภาดำเนินการ
ถวายอำนาจการปกครองคืนพระมหากษัตรียืไป'’7
สถานการณ์ทางการเมืองไนปี 2494 ภายได้รัฐธรรมใ;}ญ 2492 นั้น กลุ่มรอยัถลิสต์
ยังคงหาโอกาสห้าทายอำนาจรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่า
รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 เป็นผลงานของกลุ่มรอยัลลิสต์ที่ออกแบบระบอบการเมืองเพื่อ
จำกัดอำนาจของคณะรัฐประหารด้วยการสร้างกติกาการเมืองที่ทำให้สถาบันกษัตริย์
และกลุ่มรอยัลลิสต1ต้เปรียบทางการเมืองเหนือกลุ่มการเมืองอื่นๆ68 ดังนั้น บทบาท
ของกลุ่มรอยัลลิสต์ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นเสมือนหอกข้างแคร่ของรัฐบาล
จอมพลป. ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งหนึ่งในกลางเดือนสิงหาคม 2494 ได้มีการ
หาริอถึงปัญหาทางการเมืองดังกล่าว ที่ประชุมเห็นว่าควรรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญ
ฉบับดังกล่าวเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ (เสวดร 2522, 597)
สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่า ในเดือนสิงหาคม 2494 รัฐบาลจอมพล ป ต้องการ .
แก้ปัญหาความส้มพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับผู้สำเร็จราชการฯ และกลุ่มรอยัลลิสต์ รัฐบาลส่ง
พล.ต.ท. เผ่า ศรียานนท์ ตัวแทนรัฐบาล ไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัว
ที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถึงปัญหาที่เกิดขนจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2492
รวมถึงบทบาทของผู้สำเร็จราชการฯ และ “ กลุ่มรอยัลลิสต์ ” ให้ทรงทราบเพื่อหาทาง
,
แกั!ขปัญหาความขัคแย้งร่วมกัน ’ ' ทั้งนี้หนังสือพิมพ์ เอกสารฝ่ายไทย และสถานทูต
',

67 “
รายงานการปรรชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 3/2494 วันที่ 27 ตุลาคน 2494,” ไน รพ ]านการประชุม
วุฒิสก ? สมัยส'?มัญ ชุดที่ 2 พ. ศ. 2494 ( 2495, 412- ! 5). วุฒิสภาได้วิจารณ์การปฏิวัติ 2475 ว่า
เป็นการกบฎอันเป็นเหตุให้ส.ส. มีคุณภาพต์า เนื่องจากประ5ราชนไม่มีคุณภาพ ไม่มีการศึกนาจึงเสือก
ส.ส. ที่ไม่ดี ; “Turner The Charge in Thailand to The Secretary of States, 24 August
1951 ,” in Foreign Relations of the United States 1950 Vol . 6 ( 1976b, 1632).
,' NARA , RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal
J

Fite 1950-1954 Box 4184, William T. Turner to Secretary of State, "Political Report
for November 1950," 26 December 1950 ,
69 NAHA , CIA Records Search Tool (CREST) 1A-
, C RDP82-00457 R008300700010-6.
16 August 1951 , “Departure of Lt. Gen . Phao Sriyanon for Europe and England " :
-
NARA, RG 59 Central Decimal File 1950 1954 Box 4185 , Memorandum of Conver-

112
ส่ภาวะกึ่งอาณานคมในอุคสงคราผเย็น

สหรัฐฯ รายงานเรื่องนี้สรุปความได้ว่า ในเดือนตุลาคมรัฐบาล'ได้ส์งพล.ต -ท. เผ่าและ


สุมตำรวจของเขาไปเข้าเฝ็าพระองค์เพื่อรับทราบพระบรมราชวินิจฉัย แต่ปรากฎว่า
หระองค์ทรงไม่เห็นด้วยกับความเห็นของรัฐบาลที่ว่าปัญหาการเมืองเกิดจาก
รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวและจากบทบาทของผู้สำเร็จราชการฯ และกลุ่มรอยัลลิสต์
นอกจากนั้น พระองค์ทรงวิจารณ์คณะรัฐประหารและนายกรัฐมนตรี อีกทั้งรพระ
ราชดำริที่จะจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ภายหลังเสด็จนิวัตพระนครในปลายปี 2494 โดยมื
พระราชประสงค์ให้พระองค์เจ้าธานีนึวัต เจ้าพระยาศรีธรรมาธเบศ พล.ท. ชิต มั่นศิลป้
สินาดโยธารักษ์ ผู้เป็นแกนนำสำคัญของกลุ่มรอยัลลิสต์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่
.
„ทนจอมพล ป 70 ในช่วงเดือนพฤศจิกายนสถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่า กลุ่มรอยัลลิสต์
มีการเกลอนไหวทางการเมืองที่คกคักมาก มืความเป็นไปได้ว่าพวกเขาหวังจะใช้การ
.“ ด็ปีนิวัตพระนครของพระมหากษัตริย์เป็นพลังสนับสนูนบทบาททางการเมืองของ
พวกเขาให้มืความเข้มแข็งในการห้าทายรัฐบาลมากยิ่งขึ้น7 '
ปลายเดือนพฤศจกายน 2494 สถานทูตสหรัฐฯ รายงานกระแสข่าวการพยายาม
รัฐประหารโดยผ่ายรัฐบาลก่อนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัตพระนคร เพื่อ
ป๋องกันมิให้กลุ่มรอยัลลิสต์ใช้โอกาสที่พระองค์เสด็จประทับพระนครต่อด้านการยุตการ
ใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 ของรัฐบาล โดยเปัาหมายของการรัฐประหารครั้งนี้คือการแกัใข

nation Nai Sang Pathanotai and N . B . Hannah, “ 29 November 1951 Coup d ’ Etat,”
11 December 1951 .
7n
ชาวไทย , 20 ตุลาคม 2494 ; พุฒ (ม .ป.ป. , 150-51 ) กลุ่มคำรวซีที่เดินทางไปกับ พล . ฅ .ท . เผ่า
ศรยานนท์ ในเดือนตุลาคม 2494 มี พ . ด . ท. เยื้อน ประกาว้ฅ พ . ค .ด . ทุฒ บูรณสมภพ พ . ต . ต.
,

อรรณพ ทุกประยูร พ.ตต. วิชิด รัดนภา,น พ .ต . ค . ชนา ไปษยานนท์ และพ. ต . ต . พจน์ เภกะน์นทไ!;
NARA, RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4185, Memorandum of Conver-
sation Nai Sang Pathanotai and N . R. Hannah, “ 29 November 1951 Coup d ' Htat,”
11 December 1951 . รายงานการทุคฉบับนี้ระบุว่าสังข์ พธโนห้ย บุคคลใกล้ชิดจอมพล ป .
พิบูลสงครามใด้เห้ข่าวกับฮันนาห์ว่า บุคคลที่อยู่เนี้ป็งหสังการให้กำเฌะนำต่อพระมหากบัฅรีย์ให้มี
ใททึไม่พอใจรัฐบาลคือม . จ . นักขัตรมงคล กดยากร ฮนนไห้!ด้บันทึกในรายงานว่า ข้อมูลจากสังข์นี้
ได้ตรวจสอบกับแหส่งข่าวอน ๆ ของเขาแล้วพบว่ามีความแม่นยำ
Turner The Charge เท Thailand to The Secretary of States , 29 November
'1 “

1951 ," in Foreign Relations of the United States 1950 Vol . 6 ( 1976 b , 1638) ; NA ,
FO 371 /92957, Murray to Foreign Office, “ Coup d’Etat in Siam, 3 December 1951 ;
11

Scott to Foreign Office, 4 December 1951 .

113
จุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

รัฐธรรมนูญท้ป็ะลดอำนาจพระมหากษัตริย์และวุฒิสภาลง และจอมพลป . มีความคด


ที่จะนำรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 กลับมาใช้ใหม่แต่ภายในคณะรัฐประหารยังไม่เห็นพ้อง
ต้องกันถึงทิศทางในอนาคต จวบจนกระทั่งช่วงบ่ายของวันที่ 29 พฤศจิกายน สมาชิก
คณะรัฐประหารทั่งหมดจึงเห็นพ้องกับความคิดของจอมพล ป . จากนั้นการรัฐประหาร
ก็เริ่มต้นขึ้นในเย็นวันนั้นเองด้วยการที่ พล.อ . ผืน ชุณหะวัณ ในฐานะหัวหน้าคณะ
รัฐประหารที่เรียกตนเองว่า “คณะผู้บริหารประเทศชั่วคราว ” ไปเข้าเฝืาพระองค์เจ้า
ธานึนิวัต ผู้สำเร็จราชการฯ ในเวลา 18.00 น , ขอให้ทรงลงนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ฉบับ 2475 และยุบสภา แด่พระองค์เจ้าธานีนิวัดกริ้วมากที่คณะรัฐประหารต้องการล้ม
รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 และตรัสถามพล . อ . ผืนว่าจอมพล ป . พิบูลสงครามในฐานะ
นายกรัฐมนตรีทราบการดำเนินการนี้หรือไม่ พล.อ . ผินมิได้ตอบคำถามพระองคเจา ๙ ร /

ธานีนิวัด แต่ต่อมาจอมพล ป . พล .อ , ผืน และพล .ท . บัญญัติ เทพหัสดินณอยุธยา


ได้เดินทางกลับมาพร้อมกันเพื่อแสดงความพร้อมเพรียงไนความเห็นชอบของรัฐบาล
ต่อหน้าพระพักตร์ และโน้มน้าวให้พระองค์ทรงยอมรับการเป็นผู้สำเร็จราชการฯ ต่อไป
แต่ทรงปฏิเสธ73

72
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA- RDP82-00457 R009400250011-3,
27 November 1951, " Possible Coup d ’ Etat ” ; NARA, RG 59 Central Decimal File

1950-1954 Box 41 K 5, Memorandum of Conversation Nai Sang Pathanotai and N. B.


Hannah , “ 29 November 1951 Coup d’Etat,” 11 December 1951 . ในเอกสารรายงานว่า
พล.ท. สฤษด ธนะรัชด์ นละพล.ต.ท. เผ่า ศรย!นนท์ ยังไม่พรอมที่ปีะเช้าร่ามการรัฐประหาร อย่างไร
ก็ตาม ฏีรายงานว่าในกลางเดือนพฤศจิกายน ก่อนการรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 พล.ท.
สฤษตั้ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลไห้เป็นประธานกองสลากคนใหม่ ( NARA, CIA Records Search
Tool [CREST], CIA-RDP79T01146A000500260001-9, 16 November 1951, "Sarit’s
Position Enhanced. ”) I
' ! NARA , RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4185, Memorandum of

Conversation Nai Sang Pathanotai and N. B. Hannah , “ 29 November 1951 Coup


cTEtaC 11 December 1951. พล. 0 . ผิน ชุณหะวณ ไต้บันทึกคาามทรงจำกีงสาเหตุของการ
รัฐประหารครั้งนว่า เก็ดจากปัญหาการเบืองที่เกิดจากรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยกลุ่มรอยัลลิสต์ที่กีดกัน
ทหารออกาทกการเมือง แด่กลับให้อำนาจมากกับพระมหากบครัย์ ทำให้รัฐบาลจอมพล ป. พิมล-
สงคราม บรืหารงานได้ยากลำบาก จนทำให้ “ เกึอบตั้งตัวไม่คด* คณะรัฐประหารเหีนว่าหากปลํปิย
ให้การเมืองเป็นเช่นนคอไป รัฐบาลจะไม่สามารถทำงานได้ จึงทำการรัฐประหาร ( ผิน 2513, 95 ) .

114
สู่ /ทว:กึ่ '3 อา ทเานึค พในยุค สงครามเย็น

ความขัดแย้งระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับรัฐบาลจอบพลบ่ -
ในที่สุดการรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 กีมีผลให้
รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 หรือรัฐธรรมนูญรอบัลลิสต์ถูกยกเลิกไป และมีการประกาศใช้
รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 แทน ซงมีผลให้รัฐบาลจอมพลป . พิบูลสงคราม
,]
ชุดเดิมและรั ฐ สภาที ถ
่ ก
ู กลุ ม
่ รอยั ล ลิ ส ต์ ค รอบงำลั น สุ ด ลง ใดย “ คณะผู บ
้ รื ห าร! ระเทศ
ข้าคราว” ไนฐานะะองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดได้ประกาศคงนโยบายต่างประเทศ และอ้าง
n เหตุของการรัฐประหารครั้งนี้ว่าเพี่อเป็นการต่อต้านคอมมิวนิสต์ แต่ในรายงานของ
สถานทูตสหรัฐ,1ใ และอังกฤษวิเคราะห์ว่า เบื้องหลังที่แท้จริงของการรัฐประหารครั้งนี้
ดือการต่อต้านกลุ่มรอบัลลิสต์นั่นเอง ด้วยเหตุนี้การรัฐประหารครั้งนี้จิงเป็นการชิงไหว
ชิงพริบดัดหน้าแผนการขยายอำนาจของกลุ่มรอบัลลิสต์ที่จะเข้มแข็งมากขึ้นจากการ

อับมาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ' 4

N “Turner The Charge in Thailand to The Secretary of Slates, 29 November


19511” in Foreign delations of the United States 1950 Vol 6 (1976b, 1638) ; NA, FQ
371 92957, Murray to Foreign Office, "Coup d’Ftat in Siam;* 3 December 1951 ; Scott
to Foreign Office, 4 December เ 951. สำหรับความเห็นของประซาชนต่อตทระในรัฐธรรมนูญ
ฉบับ 2475 ที่ถูกประกาศใช้ใหม่หลังการรัรประหารนั้น เจ้าหน้าที่สถานทูดสหรัฐฯได้รายงานว่า นรฅ
^ พาล*กรณ์'มหาวิทยาลัย 2 คนที่มีความเห็นไปในทางฝ่ายซ้าย ให้การสนับสนูนรัฐธรรมนูญฉบับ
รงกล่าาว่าดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2492 มาก แต่นายทหารที่มความฒัหันชกับกลุ่มรอยัลล๊สฅ์นละ
หรรกประชา!] ปัฅย์กลับเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่คูกล้มไปนั้นดีกว่า ( NARA, RG 84 General
Records, Thailand 1945-1953. Entry บท 3267 Box 93, R. H. Bushner to Political
Section , “ Public Opinion regarding 29 November Coup, ” 11 December 1951 ; NA,
FO 371 /92957, Wallinger to Foreign Office , "Coup d 'Etat in Siam /' 5 December
1951 ; NARA, RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4185, Turner to Secretary
of State, 30 November 1951 ; NARA, RG 84 General Records, Thailand 1945-1953,
entry บD 3267 Box 99, Colonel D, พ. Stonecliffe to Secretary of Defense , “ Thai-
.and - Military Significance 29 November 1951 Coup d Etat /' 4 January 1952 ; NA,
'

FO 371/92957, Foreign Office to Bangkok, 4 December 1951 ; Stanton 1956, 270).


ลังข หัธในหัย คนใกล้ชิดชิอมพถ ป. พินูลสงคราม เห็นว่าเหตุผลสํวนหที่งของรัฐประหารครั้งนั้ดีป็
จอมพล ป. ด้ชงการเยียวยาความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับคณะรัฐประหาร ( NARA, RG 59
-
Central Decimal File 1950 1954 Box 4185, Memorandum of Conversation Nai Sang
Pathanotai arid N. B. Hannah, “ 29 November 1951 Coup d’Etat," 11 December 1951),

115
ขนคิก ศกคินา และพญาฏีนท?

เมื่อการรัฐประหารเกีดขึ้น สถานทูตอังกฤษรายงานว่า พระองค์เจ้าธานีนิวัต


ผู้สำเร็จราชทารฯพยายามติดต่อแจ้งข่าวการรัฐประหารให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงทราบ โดยพระองค์เจ้าธานีนิวัตได้แจ้งต่อสถานทูตสหรัฐฯ ว่า พระมหากษัตริย์ทรง
ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 และพระองค์อาจจะสละราชสมบัติ โดยพระองค์เจ้า
ธานีนิวัดจะให้คำปรึกษาทางการเมืองแก่พระองค์ภายหลังจากทึ่เสด็จนิวัตพระนคร
^ สำหรับท่าที'จองฝ่ายรัฐประหารนั้น หากพระมหากษัตริย'์ !ม่รับรองรัฐธรรมนูญ
แลว 75

,
ไหม และสละราชย์ ไทยก็อาจจะกลายเป็นสาธารณรัฐ76
สถานทูตอังกฤษรายงานว่า เมือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัต
พระนครเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2494 ด้วยเรือพระที่นั่ง พระองค์เจ้าธานีนิวัตมิได้ขึ้น
ไปเข้าเสาเพื่อรับเสด็จ แต่จอมพล ป. พิบูลสงครามในฐานะนายกรัฐมนตรีชั่วคราวและ
รักษาการผู้สำเร็จราชการตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 นั้นได้ไปรอรับเสด็จและเข้าเสา
แทน แต่พระองค์ไม่ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับจอมพล ป . ต่อมาจอมพล ป. ได้ไป
เข้าเสาพระองค์เป็นเวลาสน ๆ เพื่อขอให้ทรงรับรองรัฐบาลใหม่ แต่พระองค์ไม่ตอบรับ
ข้อเสนอของรัฐบาล ในวันรุ่งขึ้นพระองค์เจ้าธานีนีวัตได้เข้าเฝ่าให้คำปรึกษาเป็นการ
สํวนพระองค์ จากนั้นพระองค์เจ้าธานีนิวัตแจ้งแก่สถานทูตสหรัฐฯ และอังกฤษว่า
พระบาทสมเด็จพระะเจ้าอยู่หัวกำลังหาหนทางที่จะควํ๋าบาตรการรัฐประหารครั้งนั้ลัวย
การไม่ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2475 ทีจำกัดอำนาจทางการเมือง
ของพระองค์ลง อย่างไรก็ตาม พระองค์เจ้าธานีนิวัตเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการ
ประนีประนอมรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับเข้าหากัน7 "

สถานทูตสหรัฐฯ ซีไอเอ และสถานทูตอังกฤษรายงานสถานการก่เไนช่วงเวลา


ดังกล่าวว่า จอมพลป. และพล.อ. ผิน ชุณหะวัณ ได้เข้าเสาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

73
NA, F0 371/ 92957, Wallinger to Foreign Office, 30 November 1951 ; NARA,
RG 59 Central Decimal File 1950 1954 Box 4185, Turner to Secretary of State,
*

30 November 1951.
, (>
NARA, RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4185, Memorandum of
Conversation Nai Sang Pathanotai and N. B. Hannah, “ 29 November 1951 Coup
d ’ Etat," 11 December 1951,
NARA, RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4190, Turner to Secretary of
State, 3 December 1951 ; NA, FO 371/92957, Wallinger to Foreign Office, 5 December
1951*

116
*-

หลังการรั5ประหารวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 ซึ่งส่งผลไห้รัฐธรรมนูญ 2492 หรอฉบับรอย้ลลึลโฅ์


ถูกซกเ3กไป เพืยงไม่กี่วัน ในวันที่ 2 ธันวาคม พระบาทศมเต็จพระเจ้าอยู่หัวกมพลอคุลยเดช และ
ฒเต็จพระนางเจ้าสืริกิคี้ พระบรมราชบี เศด็จนีวัตพระนครด้วยเรือพระที่นั่ง ทรงฆพระราชประศงฅ์
ให้น่ารัฐธรรมนูญ 2492 กลับมาไช!หม่ แต่จอมพลป . ไม่เสนด้วย พระองค์จงปฏิเส,ธ ,แจะลง
พระปรมาภิไธยรับรองรับบาลใหม่และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2475 (ภาพจาก New York
Times )
ขุ่นศึก ศักดินา และ;พญาอินทรี

เพื่อขอให้ทรงลงพระปรมาภิไธยรับรองรัฐบาลใหม่และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่ทรง
ปฏิเสธ ทรงมีพระราชประสงค์ไห้นำรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 ที่ถูกล้มไปกลับมาใช้เหม่
แต่จอมพลป. ไม่เห็นด้วย เมื่อการเจรจาไม่สำเร็จ มีข่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่พระองค์
จะทรงใช้การสละราชย์เป็นเงื่อนไขเพื่อต่อรองกับจอมพล ป . อันจะนำไปสู่การร่าง
รัฐธรรมนูญใหม่ในเวลาต่อมา78
ในช่วงเวลาดังกล่าวรัฐบาลมีแผนเตรืยมรับมือการต่อต้านจากกสุ่มรอยัลลิสต์
โดย พล .ต .ท . เผ่า ศรียานนท์ ได้สํงตำรวจไปควบคุมและต็ดตามความเคลื่อนไหวของ
กลุ่มรอบัลลิสต์และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ที่บ้านพักของพวกเขา เช่น พระองค์เจ้า
ธานีนิวัต ควง อภัยวงศ์ และ ม .ร.ว . เส'น็ย์ ปราโมช7 , ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หิว
,

ทรงยินยอมประกาศรับรองรัฐบาลใหม่และรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 ให้ใช้ชั่วคราวใน


ระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับร่างใหม่หรือ
รัฐธรรมนูญ 2475 แกไข 2495 ที่รัฐบาลจอนพล ป . มีสํวนสำกัญในการร่างนั้น ขนยอม
ผ่อนปรนตามพระราชประสงค์แต่เพียงบางประการเท่านั้น เช่น การให้มีอำนาจใน
กิจการส่วนพระองค์ เช่น การแต่งดังองคมนตรี แต่รัฐบาลไม่อนุญาตให้ทรงมีอำนาจ
ในการแต่งตั้งวุฒิสภา ซงจะสร้
ซี่ างป้ญหาทางการเมืองให้กับรัฐบาลดังที่ผ่านมาอก 80

7S
NA, FO 371/92957, Wailinger to Foreign Office, 7 December ! 951 ; NAHA, RG 59
-
General Records of Department of State, Central Decimal File 1950 1954 Box 4188,
Turner to Secretary of State, 8 December 1951 ; NARA, CIA Records Search Tool
(CREST), CIA-RDP79T01146A000600190001-6, IS December 1951, “ King Reported
Prepared to Abdicated.”
7‘? NA,
FO 371/92957, Wailinger to Foreign Office, “Coup d’Ftat เท Siam,” 5 Deceni -
ber 1951. ในรายงานขรงซีไอเอระบุว่า เพียงหนึ่งเดือนหลังการรัฐประหาร มีข้าราชการระดับสูงกลุ่ม
รอยลถิสฅ์หลายคนเตรียมแผนก่อการรัฐประหารช้อน'ชัน โดยอาจร่วมมือกับพล.ท. สฤษดี้ ธนะรัชต์
-
( NARA, CIA Records Search Tool [CREST] , CIA RDP 79T01146A000700010001-4,
2 January 1952 , “ Split in Ruling Clique Presages Early Coup in Thailand. ” )
S (J
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศโช้ฌื่อ 8 มีนาคม 2495 ด้วยเหตุที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเดิมจาก
รัฐธรรมนูญฉบับ 2475 ที่ลงพระปรมาภิไธยโดยพระบาทสมเดึจพระปกเกล้าฯ แสะไม่เคยถูกยกเถิก
ดังนั้น การแกั!ขรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงเข้นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรเป็นสำกญ ในคำปรารภมี
ข้อความว่า ‘‘สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมปรึกษารางรัฐธรรมนูญสนองพระเดชพรร;คุณสํนร็จสงด้วยดื
จึงนำขนทูลเกล้าทูลกระหม่อมกวายคำปรึกษานนะนำด้วยค ;ทมขนยอม พร้อมที่จร; ฅราเป็น
รัฐธรรมนูญแทงราชอาณาจกรใทข พุทธศกราช 2475 แก้ไขเพิ่มเดิม พุทธศกราช 2495 ไต้ และ

118
สู่ภาวะกึ่งอาณานิคม'ในร.! คสงคทมเยึน

สถานทูตสหรัฐฯรายงานว่า ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2475 แก่ไข


2495 และงานเฉลิมจลองรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเพียงหนึ่งวัน ราชสำนักได้แจ้งทับ
รัฐบาลว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชวินิจฉัยไม่เห็นด้วยกับถูกษัยาม
โนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ',1 มีความเป็นไปไต้ว่าพระองค์ต้องการประวิงเวลาเพื่อ
ต่อรองกับรัฐบาลใหม่ แต่รัฐบาลจอมพล ป . และคณะรัฐประหารตัดสินใจยืนยันการ
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ 8 มีนาคมต่อไป ทั้งนี้ในตอนบ่ายของวันที่ 7 มีนาคม
วิเอรัฐบาลทราบว่าพระองค์จะไม่เสด็จเข้าร่วมงาน รัฐบาลไต้ส่งผู้แทนเดินทางไปวัง
"

ไกลกังวล หัวหิน เพื่อกราบบังคมทูลเชญพระองค์มาร่วมงานประกาศใช้รัฐธรรมนูญ


สามหมายกำหนดการที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งพระองค์ก็ทรงยืนขอมทำตามรัฐบาล ,2 ,

สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่าพระองค์ทรงล้มเหลวในการปฏิเสธเข้าร่วมงานตามหมาย
ว่าหนดการ'0 ในสายตาของพระองค์เจ้าธานืนิวัต ประธานองคมนตรี ทรงประเมีน
เรื่องดังกล่าวว่า เหตุการณ์นแสดงถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับ
รัฐบาล ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงผ่อนดามความต้องการของรัฐบาลก็ตาม แต่พระองค์
เจ้าธานืนิวัดทรงให้ความเห็นว่าการโอนอ่อนผ่อนตามของพระมหากษัตริย์เป็นสิงที่
ถูกต้อง เนึ่องจากเวลาที่สมควรในการแตกหักกับคณะรัฐประหารยังไม่มาถึงร4

เมื่อทรงพระราชวิจารฟ้ถี่ถ้วนทั่วกระบวนความแลัว ทรงพระราชดำรีเห็นฒควรพระราชทานพระบรม
ราชานุมัด’* ( ราชกิจอาใ jtบทษ7 เล่ม 66, ดอนที่ 15 [ฉบับพิเศษ 8 มีนาคม 2495] : 2-3) ดังนั้น
รายงานทางการทูตหลายชันที่ชัวิา พระองค์ทรงไม่พ0พระราชหฤทัยรฐธรรมนูญฉบับไหม่อยไง
มาทนั้น อาจมาจากสาเหตุที่ทรงไม่สามารถใช้การลงพระปรมาภิไธยเป็นเครื่องมือในการคาบคุม
ทศทางโนการร่างให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ได้
E1
NARA, HG 59 Central Decimal File ใ 950- 1954 Box 4185 , Memorandum of
Conversation Nai Sang Pathanotai and N. B. Hannah, “ King, Constitution, Phibun
and Coup Group, ” 7 March 1951.
82
NARA, RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4185 , Memorandum of
Conversation, Nai Sang Pathanotai, N. B. Hannah, 8 March 1951. คณะผู้แทนดังกล่าวมี
พล.ต.ท. เผ่า ศรียานนท์ , จอมพลเรีอหลวงยูทธศาสตร์ไกศล พล.อ.อ. ต็น รณนภาทาศ ฤทธาคน
7

ผู้บัญชาการทหารอากาศ, น. 0 . ทวิ จุลละทร่'พย ; NARA, RG 59 Central Decimal File 1950-


1954 Box 4185, Bangkok to Secretary of State, “ Monthly Political Report for March
1952," 21 April 1952.
*3 Ibid.
ส 4 NA, FO 371/101166, Wallinger to
Foreign Office, 10 March 1952.

119
ชุนสืก ศักดินา และพญาอืนทรี

ในช่วงเวลานั้นสหรัฐฯยังไม่มีปฏิกิริยาอันใดต่อการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในปลาย
.
ปี 2494 เพราะภายหลังการรัฐประหารรัฐบาลจอมพลป ได้พยายามให้ความสำคัญกับ
นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์มากขึ้นเพื่อสรัางความไว้วางใจจากสหรัฐฯ85 สถานทูต
อังกฤษได้ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลจอมพล ป. สามารถปราบ
ปรามกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทั้งกลุ่มปรีดี กลุ่มรอยัลลิสต์ และกองทัพเรือลงได้ แต่การ
ปราบปรามดังกล่าวกลับทำให้จอมพลป. ต้องพึ่งพิงอำนาจจากพล.ท. สฤษดิ้ ธนะรัชต์
..
และพล ต ท , เผ่า ศรียานนท์ ที่ควบคุมการสังการกองทัพบกและตำรวจมากยิ่งขึ้น
(Tarling 1992, 206)

การแข่งชันนละสร้างหันธมิตรทางการแมืองของกลุ่มตำรวช!เละกลุ่มทหาร
อาจกล่าวใต้ว่า แม้การรัฐประหาร 2494 จะเป็นการจำกัดอำนาจของสถาบัน
กษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสฅ์ที่ท้าทายอำนาจรัฐบาลจอมพล ป. และคณะรัฐประหารลง
กิตาม แต่ความขัดแย้งภายในระหว่างค่ายราชครูที่มี พล . อ. ผืน ชุณหะวัณ และ
พล.ต.ท. เผ่า ศรียานนท์ เป็นแกนนำ กับค่ายสี่เสาเทเวศน์ที่มีพล.ท . สฤษดิ้ ธนะรัชต์
เป็นผู้นำ กลับยิ่งมีความเข้มข้นมากขึ้น ซีไอเอรายงานว่า พล,ท, สฤบดี๋ได้พยายาม
แสวงหาการสนับสนุนจากสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์ 86 ในขณะที่ พล.ต.ท. เผ่า
ในฐานะทายาททางการเมืองคนสำคัญได้พยายามขยายฐานอำนาจทางการเมืองออก
ไปด้วยการผูกมิตรและแลกเปลี่ยนผลประโยชร่เกับกลุ่มปรีตีผ่านเตียง คิริขันธ์ โดย
พล.ต.ท. เผ่าให้การสนับสนุนกลุ่มของเตียงในการเลือกตั้งปี 2495 ทำให้ส.ส ภาค .
อีสานกลุ่มของเตียงมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่1 งผลให้
JH & A iM ก พบ
รัฐบาลมีเสถี4 ยรภาพมากขึA้น จากนน
d

รัฐบาลสนับสนุนให้เตียงเข้าไปมีบทบาทในการจัดสรรงบประมาณให้กับภาคอีสาน
อย่างไรก็ตาม สถานทูตสหรัฐฯวิเคราะห์ว่า ความสัมพันธ์วะหว่างเตียงกับพล.ต .ท.
เผ่านั้นวางอยู่บนความไม่วางใจกันและกัน'- 7

85
NARA, CIA Records Search Tool ( CREST), CIA-RDP79T01146AQ00600200001-4,
19 December 1951, “ 1947 Coup Group Gains Complete Dominance of Government ” ;
NARA, RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4185 , Bangkok to Secretary of
State , “ Monthly Political Report for March 1952, 21 April 1952 .
"

S6
NARA , CIA Records Search Tool ( CREST), CIA-RDP79T01146A000700010001 - 4,
2 January 1952, “Split in Ruling Clique presages Early Coup in Thailand " ; NARA,
CIA Records Search Tool ( CREST ), CIA-KDP79T00975A000500340001-8 , 23 January
1952, “ Reports of Political Unrest in Thailand Continue "
87
NARA , RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4185 , Memorandum of

120
สู่ภาวะกึ่งอาณานคมในยคสงครามเย็น

หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2475 แก้ 2495 แล้ว ทำให้คณะเข


1'

รัฐมนตรีชุดเก่าต้องพ้นจากตำแหน่ง นำไปสู่การช่วงชิงอำนาจทางการเมองไนการจัด
.
รั้งรัฐบาลอีกครั้ง มีรายงานข่าวว่า พล.อ ผิน ชุณหะวัณ ไนฐานะแกนนำของค่าย
.
ราชครูได้รับการผลักดันจาก พล . ด,ท เผ่า ศรียานนท์ ให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ใน
ขผะที่พล.ท, สฤษดิ้ ธนะรัชต กลับไห้การสนับสนุน ม.ร.ว , เสนีย์ ปราโมช แกนนำ
ค วสำคัญของกลุ่มรอยัลสิสฅ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อน
ไห้เห็นว่าดุลอำนาจภายในคณะรัฐประหารยังมิไต้ตกเป็นของค่ายราชครูเสยทั้งหมต
ทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมิอาจตกเป็นของพล.อ. ผินได้ เนื่องจากแกนนำบางคน
(ช่น พล.ท. สฤษด้ และพล.ท. บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ไม่ต้องการให้ค่ายราชครู

มิอำนาจทางการเมืองมากกว่านี้ สุดท้ายแล้วตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจงตกเป็นของ
จอมพล ป. พิบูลสงครามอีกครั้ง จะเห็นได้ว่าการกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีของ
38

จอมพล ป. หลังการรัฐประหาร 2494 นั้น เขามีอำนาจทางการเมืองลดลง อำนาจของ


{ขาวางอยู่บนความสามารถในการรักษาดลอำนาจภายในคณะรัฐประหารเป็นสัาคัญ
ในช์วงเวลาดังกล่าว พล.ต.ท. เผ่าไม่เพียงพยายามผลักดันให้ตนเองก้าวชันไป
มืฆทบาททางการเมืองอย่างโดดเด่นด้วยการเป็นมิตรกัมกล่มปรีดีผ่านเดียง สืริขันธ์
เท่านั้น แด่เขายังใดพยายามเข้าไปฏีอิทธิพลในกองทัพอีกครั้งหลังจากที่เขาได้ห้นมาทำ
>1 นาที่ตำรวจเป็นเวลานาน89 อีกทั้งเขายังได้พยายามขยายเครือข่ายอำนาจทางการเมือง

Conversation Nai Tiang Sirikhan and Robert Anderson, “Interna] Political Situation,”
31 March 1952 . ในรายงานฉบับนี๋ให้ข้อมูลวำ ส. ล'. ในกล่มของเตยง ศรขันธ์ ได้รันการเสีอกทั้ง
ถึง 25 คน มากเป็นสองเหานับแด่การรัฐประหาร 2490 เป็นต้นมา เนื่องจากพวกเขาได้รับการ
สนับสมูนจากพล . ต .ท. เผ่า ศรียานนห์ ไคยเตยงได้แจ้งว่านบัพล . ด .ท . เผ่าจะร้ลึเสมอว่าเขาสนับสมูน
ม่รสี พนมยงค์ แต่กปีำต้องเฟินพนธฏิดรกับเ,บาเพื่อหวังจำนวนส , ส . ที่จะสนับสนุนรัฐบาลให้ฏีความ
มั่นคง โดยเดียงไห้เหตุผลถึงการที่เขาร์วมงานกับรัฐบาลว่า เพราะเขารู้ดีว่าไม่สามารถเปลี่ยนนปลง
รัฐ่บาล ได้ จนกว่าตุลอำนาจชิะเปลี่ยน'ไป
1
1

68
NARA, CIA Records Search Tool ( CREST), CIA-RDP79T00975A000600110001-2,
7 March 1952, "Political Showdown in Thailand Reportedly Imminent” ; NAHA,
RCi 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4185 , Bangkok to Secretary of State,
" Monthly Political Report for
March 1952, ” 21 April 1952 .
@ lt
NARA, CIA Records Search Tool (CRKST), CIA-RDP79TO1146A001200230001- 4,
HI September 1952, General Phao Reportedly Negotiating with Former Thai Army

121
าเนดิเก ศักดินา และพญาอินทรี

ออกไปนอกประเทศด้วยการตดต่อกับกลุ่มฝ่ายซ้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น
การอนุญาตให้ชัน หงอก ท้น ผู้นำฝ่ายซ้ายในกัมพูชาเข้ามาในไทย และร่วมมือกับ
อารีย์ ลีวีระ บุคคลที่ถ,หรัฐฯ เห็นว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ทั้งนการขยายเครือข่ายไปยังกลุ่ม
การเมืองต่างๆของเขาเป็นการสร้างฐานอำนาจที่มั่นคงซึ่งยากแก่การโค่นล้มในอนาคต',"
ไม่แต่เพียง พล.ต.อ. เผ่าเท่านั้นที่พยายามเป็นมิตรกับเตียง พล.อ. สฤษดิ้ก็ฆี
ความพยายามเช่นเดียวกัน นอกจากพยายามสร้างพันธมิตรกับกลุ่มรอยัลลิสต์แล้ว
พล.อ. สฤษดึ่ยงพยายามผูกมิตรกับสมาชิกสภาผู้แทนภาคอีสานกลุ่มของเตียงด้วยการ
ประกาศแก่ไขปัญหาของภาคอีสานและเรียกร้องให้เตียงช่วยเหลือเขาในทางการเมือง
,
จนนำไปสู่การประชุมระหว่าง พล.อ. สฤษดึ่กบเตียงสองครั้ง อย่าง !1รก็ตาม ไนทาง
เป็ดเผยนั้น เตียงปฏิเสธความช่วยเหลือของ พล .อ. ศฤษดี้ เนื่องจากเขาร่วมมือกับ
พล.ต . อ. เผ่าแล้ว แต่ในทางลับนั้น เขาได้ส่งพวกของเขาไปช่วย พล.อ. สฤหด '1 ใน
ที่สุดพันธมิตรทางการเมืองระหว่างเตียงกับ พล.ต.อ. เผ่าก็หักสะบั้นลง โดยเตียงหันมา
สนับสนุนพล.อ. สฤษดิ้เพี่อท้าทายอำนาจค่ายราชครูอย่างเต็มที'่ - ดังนั้นจึงมีความเป็น
ไปได้ว่าท่ามกลางการแข่งขันระหว่าง พล.ต.อ . เผ่ากับ พล.อ. สฤนตอย่างเข้มข้น โดย
เฉพาะอย่างยิ่งการผูกไมตรีของพล.อ. สฤษดกับเตียงและพวก รวมทั้งการตอบรับ
ไมตรีดังกล่าว ได้สร้างความไม่ไวัวางใจให้กับพล.ต.อ. เผ่าและพวก จนมีผลทำให้เตียง
ด้องจบชีวิตลงในปลายปี 2495

Leaders. ” mต . อ . เผ่า ศรียานนท้ พยายามเจรฃากับอดีตนายทหารที่เกี่ยวข้สงกับกบฎเสนาธิการ


โคยเขาสัญญาว่าจะผลักดันใหอดีตนายทหารเหส่านั้นกลับเข้าศู่ราชการอีกค ?ง แต่นายทหารหนึ่งโน
นั้นปฏิเสธ ส์วนอีกคนหนึ่งด้อรการกลับเข้ารับราชการเมื่อไดรับการนิรโทษกรรม
!h
" NA, F0 371 /101168 , Chancery to Foreign Office, 21 Ju]y 1952,
NARA , RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4185 , Memorandum of
Conversation Nai Tiang Sirikhan and Robert Anderson , " Internal Political Situa -
tion," 9 October 1952 ; KARA, RG 59 Central Decimal File 1950 - 1954 Box 4185 ,

Bangkok to Secretary of State , “ Monthly Political Report for August-September


1952,” 27 October 1952, M
NARA, RG 59 Central Decimal File 1950 - 1954 Box 4185 , Memorandum of
Conversation Nai Tiang Sirikhan and Robert Anderson , “ Internal Political Situa
I
-

tion,” 9 October 1952 .

122
สู่ภาวะกงอาณานิคมในยุคสงครามเย็น

การปราบปรามขบวนการต่อต้านสหรัฐฯ ของรัฐบาลจอมพล ป.
I ตั้งแต่สงครามเกาหลีเริ่มต้นชันและรัฐบาลจอมพล ป. ได้ส่งทหารเขาร่วมใน

I
สงครามดังกล่าวนั้น ปัญญาชนฝ่ายช้ายหลายกลุ่มไต้เคลื่อนไหวต่อต้านสงครามเกาหลี
9,
สหรัฐฯ และรัฐบาลภายใต้ชื่อ “ขบวนการสันดึภาพ และ ขบวนการกู้ชาติ แต่
" “ ”
•"• วามเคลื่อนไหวดังกล่าวกลับมีได้ถูกปราบปรามจากรัฐบาลจอมพล ป. ทำไห้สหรัฐฯ
II สหรัเกิดความไม่
ฐฯ ' !
ไว้วางใจต่อความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอมมิวนึสต์ของไทย ณองจาก
พล . ต อ.
. เผ่ามีการติดต่อลับๆ กับกลุ่มปรืดั M รันนาห์
ด้รับรายงานเสมอว่า
เ เลขานุการโทประจำสถานทูตสหรัฐฯ ' ' ใต้พบพล.ต.อ. เผ่าในเดือนสงหาคม 2495 เพึ่อ
'

สอบถามถึงท่าทีของรัฐบาลไทยในการต่อต้าน “ขบวนการสันติภาพ" และ ‘ ขบวนการ


, ที่มีฅอมมิวนิสต์อยู่เบื้องหลัง
กุชาติ’ เขาได้ถามพล.ต.อ. เผ่าว่า “หากมีการคุกคามใดๆ
หรือการลุกเอใดๆในไทย ตำรวจไทยจะทำอย่างไรกับภัยร้ายแรงที่เกิดชัน” อีกทั้งได้
.ช้งว่า “ ผู้มีอำนาจในวอชิงตันดี. ชี . คาฅหวังว่าตำรวจจะสามารถรักษาเสถียรกาพทาง
การพองภายในของไทยได้” พล.ต.อ. เผ่าได้ตอบเขาว่า “ขบวนการสันติภาพ” เป็น
เพืยง “เสือกระดาษ,, การรักษาเสถียรภาพการเมืองภายในชองไทยเกิดชันจาก “ เพื่อน
=
อเมรกนและไทยที
๕ เ tu
่จะร่วมมือกันในการป้องกันภัยคุกคามน’, นอกจากนี้พล.ต.อ . เผ่า
บอกต่อไปว่า สิ่งสำกัญสำหรับนไยบายของเขาคือความจริงใจระหว่างเขากับรันนาห์
และสหรัฐฯ และขอให้การสนทนานี้เป็นความลับสุดยอด รันนาห์ตอบเขาว่ไความ
ทมมืออันใกล้ชิดระหว่างกันนี้จะต่อเนื่องและขยายตัวต่อไป '''

^ดูความเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์และกลุ่มฝ่ายซ้ายไนช่างเวลาดังกล่าวเพิ่มเฅมใน
Somsak ( ไ 993) ,

-
94 NARA CIA Records Search Tool (CREST), CIA RDP79T01146A001300150001 - 2 ,
,
13 October 1952, 'Thao Denies Thai Police Knew of Departure of Pciping Delegates."
นอร์แมน อันนาห้ ทำงานให้กบซีไ 0 เอ มิบทบาทไนการสนบสนุนให้ตำรวจจับภริยาและบุตร
จร

ชายของปรดีไนกรณีภบฎล้นติภาพในช 2495 ( ปริดี 2529, 108- 9) พูนสุข พนมยงค์ ภริยาของปริดี


ได้บันทึกว่าไนระหว่างที่เธอถูกคุม,บงที่ล้นคบาล เธอได้เห็นพล . ต . อ . เฝา ศรียานนห์ ต้อนรับชาว
อเมริกันสองคนไนยามดึก คนแรกเป็นชาวอเมริกันที่เคยเป็นอดีดไอเอสเอสที่ฟ้ามาไทยหลง
สงครามโลกครั้งที่สอง คนที่สองคอ อันนาห์ เจาทน้าที่สถานทูตสทรัฐฯ ซี่งทำหน้าที่ภารขาว และ
เคยเป็นกงสุลสหรัฐฯ ผู้ขีดฆ่ารีซ่าปริดีที่เซียงไส้ (พูนสุข 2545 , 125 ).
%
NARA, RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal
File 1950- 1954 Box 4186, Memorandum of Conversation General Phao and Hannah,
“ Current Politics,” 16 August 1952.

123
ขุนศึก ศโกตินา
,
และพญารนทร

จากการที่สหรัฐฯ เริ่มจับตาความเคลื่อนไหวของ พล.ต.อ. เผ่าที่ติดต่อกับเตียง


ซึ่งเป็นกลุ่มปริดี ทำให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เกิด
สื'เข้'นธ์ และสุ่รย์ ทองวานิช
ความสงสัยต่อท่าทีของรัฐบาลไทบว่ากำลังจะเปลี่ยนจากฝ่ายตะวันตกไปตะวันออก
อันจะมีผลต่อความช่วยเหลอทางการทหารที่สหรัฐฯ จะให้แก่ไทย ในต้นเดือน
พฤศจกายน 2495 จอนพลป. สั่งให้ทูตทหารที่วอชิงตันดี. ชี . ไปชี้แจงต่อกระทรวง
,7
กลาโหมสหรัฐฯให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไทย ’ ในที่สุดต้นเดือนพฤศจิกายนนั้นเอง
รัฐบาลจำเป็นต้องแสดงความชัดเจนในการดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ให้
ประจักษ์แก่สหรัฐฯ ซึ่งนำไปสู่การแตกหักกับ “ขบวนการสันติภาพ” และ "ขบวนการ
กู้ชาติ" ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (Somsak 1993,
-
335 40 ) 98 จากนั้นเมอวันที่ 12 พฤศจิกายน พล.ต.อ. เผ่าได้เสนอพระราชบัญญัติ
ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เข้าสู่สภา และผ่านสามวาระรวดในวันเดียวอย่าง
ไม่เคยปรากฎมาก่อน สแตนดัน ทูตสหรัฐฯ เห็นว่าการจับกุมนายทหาร ปัญญาชน
และนักหนังสือพิมพ็ไทยฝ่ายซ้ายจำนวนมาก รวมถึงการออกกฎหมายนี้ เป็นการแสดง
ความจริงใจครั้งแรกของรัฐบาลจอมพลป.ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์หลังจากที่รัฐบาล
,'
เข้าร่วมต่อต้านคอมมิวนิสต์กับสหรัฐฯ หนังสือพิมพ์ฉบับเช้าวันที่
มานานหลายปี 9

13 พฤศจิกายน ลงบทสันภาษณ์พล.ต.อ. เผ่าว่าการจับกุมครั้งนี้ใด้รับแรงกดดันจาก

NA, FO 371/101168, Wallinger to Foreign Office, 27 November 1952 ; Wallinger


147

to Foreign Office, 28 November 1952. I


98
ความเคลื่อนไหวของทั้งสชิงขบวนการนี่เป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มุ่งโจมดีสหรัฐ'!
และรัฐบาล มีการอชิกไบปลิวที่โชมดีสหรัฐฯ ว่าเป็น " จักรวรรดินิยม ” “ นกบุญที่มือถีชิสากปาก
ถือศีล ' โจมดีรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงครามว่า "ทำตัวเป็นสบุนรับใขจักรวรรดินิยมอเมรกา ” "ทำตัว
1

ไปอยู่ใต้เนี่องบาทาของจักรวรรดินิยม ,, ต้ป็งการ'ใช้ 1 ใทขเป็นฐานท้พในเอเชียและตองการ “ สูบ ,'


ทรัพยากรธรรมชาติ และ'ไชVทยเป็นฐาน "ทำสงครามประสาท ” ต่อด้านคอมมิวนิสต์ ใบปลิวเหลานี่
สถานทูตสหรัฐฯ ได้ส่งกลับไปยังวอชิงตัน ดี . ซี . ( NARA , RG 59 Central Decimal File 1950 -

1954 Box 4189, “ แถลงการณ์ขบวนการกชาดี นะบับที่ 7,” 24 มิถุนายน 2495 )*


99 “
Stanton to The Secretary of States, 14 November 1952,” in Foreign iterations
of the United States ใ 952- 1954 VoL 12 ( 1987 , 657 ) ; NARA, CIA Records Search
Tool (CREST), ClA-RDP79T00975A0009004700014), 6 December 1952, “Thai Premier
Concerned over Communist Activities” ; หจช. บท สูงสูด 1/668 เอกสารกองบัญชาการทหาร
1

สูงสุด เรื่อง พ .ร .บ มืองกันการกระทาชินเป็นคอมมิวนิสต์พ . ศ. 2495 ( 13- 21 พฤศจกายน 2495 ) .


,

124
ส่ภาวะกึ่งอาณานิคม ในอุคสงฅรามเย็น
,

,
สทรัฐฯ และอังกฤษ ให้'ปราบปรามคอมมีวน้สฅ์ ต่อมาสแตนตันได้นำคำให้สัมภาษณ์
ของพล . ต .อ . เผ่าที่กล่าวว่าสหรัฐฯ อยู่เบื้องหลังการจับกุม “ขบวนการสันติภาพ ,’
.. ซีงไห้จอมพลป . ทราบ แต่จอมพลป. 1ม่ได้ปฏิเสธข้อเท็จจริงดังกล่าว เขากล่าวว่าคำ
'.ห้สัมภาษณ์ของพล . ต .อ . เผ่า “ ไม่เป็นการดี ” 1 ' ,' 1 ไนขณะที่วิทยุปักกิ่งไต้กล่าวโจมดี
'ารจับกุม “ ขบวนการสันติภาพ ” ว่าการจับกุมครังน เด้รับคาลังจากจักรวรรดนิยม

คะวันตก 101
ภายหลังการจับกุนผูมส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการต่อต้านสหรัฐฯ และรัฐบาล
^ รั้งใหญ่ ไนช่วงต้นปี 24% สแตนดันได้เรียกร้องให้สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือทาง
.ศร๒ฐกิจและการทหารแก่รัฐบาลจอมพล ป. ต่อไป เขารายงานว่าจอมพล ป. ไม่เพียง
มีท่าท็ที่เป็นมิตรและ'ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังสามารถถ่วงดุลอำนาจ
ระหว่างกลุ่มทหารไต้ ดังนั้น การท่างานร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัฐบาลจอมพล ป .
จะทำให้นโยบายของสหรัฐฯ สำเร็จได้ อย่างไรก็ตาม สแตนตันไต้เสนอแนะกลับไปยัง
กระทรวงการต่างประเทศว่า สหรัฐฯ ควรลดการแทรกแซงทางการเมืองภายในของไทย
VI ราะขฌะบื้คนไทยมีความรู้สึกชาตินิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากพวกเขามองว่ารัฐบาลไทย
ไต้กลายเป็นทุ่นเชิดของสหรัฐฯ ไปแล้ว 102

1ฒ «
Stanton to The Secretary of States, 14 November 1952,” in Foreign Relations
of the United States 1952- 1954 Vol 12 ( 1987, 656) ; NA, FO 371 / 101168, Whittington
to Foreign Office , 13 November 1952 .
101
หจช. ( 2 ) สร 0201.89 / 10 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี ส์อง การสนับmiนสันติภาพของคอม -
1

นนสต์ (23 พฤศจิกาขน 2493 - 13 มีนาคม 2496 ) ทนังสํโอกระท™การคางประเทศ นายวรการบัญชา


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถงเลขาธการmนะรัฐมนตรี วันที่ 29 พฤศจิกายน 2495 .
102
Stanton to The Department of States-Summary of Thai Political and Eco-
i *

nomic Situation as of January 1953-23 January 1953," in Foreign Relations of the


United States 1952- 1954 Vol 12 ( 1987 , 659-60 ).

125
r , ะ'

-ะพ

SB

พส.อ. สฤษด ธนะรัชต ผบ.ทบ . (ยศในขณะนั้น) ปีบมืออวยพรพล.ด.อ. เผ่า ศรัยานนท์ คู่แข่งข้า


หางกา™องของเขา ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองใน*ดือนฅลาคม 2497 โดยเผ่ากำลังจะออกเดินหา
ไปถ"I หรฺฐฯ เทือขอความช่วยเหลอทางเศรษฐกิจและอาวุธให้นกไทย ก่อนหน้านั้นในเดือนมธุนายน,
เดยากัน สสุษดืเองก็เพิ่งเดินทางไปๅอชิงตน ดี. ซี. เพื่อขอความช่วยเหลอทางการทหารเพิ่มเติม ไ
ช่วงเวลานั้นสหรัฐฯ ต้องการสถาปนาอำนาจให้กับทั้งกลุ่มทหารและกลุ่มตำรๅขิใทย (ภาพจา
Thailand Illustrated )
บทที่ 5
ถนนทุกสายมุ่งสู่สหรัฐอเมริกา
การสรัางความแข็งแกร่งให้กลุ่มทหารและกลุ่มตำรวจไทย

นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แตะไทย
สหรัฐฯ ภาย'ใต้การนำ ซองประธานาธิบต็ด'ใวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ( Dwight D.
1

-
Eisenhower) ( 20 มกราคม 2496 20 มกราคม 2504) เป็นช่วงเวลาที่ถีอได้ว่าเป็น
จุด!เปสื่ยนส๊าคัญ,ของนโยบาย ต่างปร!ะเทศ!สหรัรฯ ต่อภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1

.นิองจากประธานาธิบดีไอเชนฮาวร์มีน่ใยบายที่เข้มขันและมุ่งตรงต่อภูมิภาคนี้และ'ไทย
1

น่านความช่วยเหลือทางการทหาวและการตำเนินสงครามจีตวิทยาในการต่อต้าน
คอมมิวน้สต์ นับตั้งแต่การล่มสลายของจีนคณะชาติ และสงครามเกาหลื สหรัฐฯ
-ำเนินนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์ในอินใดจีนอย่างรุนแรงเนื่องจากวิตกถึงการ
สมสลายของภูมิภาคนี้ตามทฤษฎีโดมิโน ซึ่งจะส่งผลทำให้สหรัฐฯในฐานะเจ้าจักรวรรต็
สณเสียอิทธิพลเหนือเอเชียตะวันออกไกล สหรัฐฯ จีงชำเป็นต้องทุ่มงบประมาณลงใน
พุ

ภูมิภาคนี้เพื่อรอเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่ชะไหลกลับคืนมาสู่สหรัฐฯในเวลาต่อไป ( The
Pentagon Papers 1971, 6) และเมื่อสถานการณ์ในอินโดจีนตึงเครียดมากขึ้น โดย
เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทยดมินห์มีแนวโน้มที่จะชนะฝรั่งเศส สหรัฐฯ ประเมินว่าเว็ยดมินห์
ปะบุกเข้าไทยทางอีสานด้วยการสนับสนุนจากจีน เป็นเหตุให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ
สหรัฐฯ มีนใยบายทำให้การเมีองของไทยมีเสถียรภาพ หาไม่แล้วไทยอาจไม่สามารถ
ด้านทานการรุกรานจากคอมมิวนิสต์ใต้ '

1
-
The Dwight D . Eisenhower Library, Paper as President of United States 1953
ชุนศึก ศักดินา แสะพญา 0นทรื

ด้วยเหตุน วอลเฅอร เบนเดล สมธ (Walter Bertdell Smith) ปลัดกระทรวง


การด่างประเทศสหรัฐฯ จึงลังการให้สถานทูตสหรัฐฯในไทยดำเนินการตามนโยบาย
ดงนฅอ ทำให้รัฐบาลไทยและการส่อต้านคอมมิวนิสต์ในไทยมีความเข้มแข็ง เพิ่มการ
รับแกี่ยวกับสหรัฐฯ ในทางบวกให้กับคนไทย และ(พิ่มโอกาสให้นโยบายต่างประเทศ
ของสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในไทยแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรัจบๅสก็ตาม1' ทั้งนั้นับ
ตั้งแต่ไทยได้ลงนามในข้อตกลงทางการทหารกับสหรัฐฯในปื 2493 สหรัฐฯ ก็ได้เริ่ม
เข้ามาจำกัดความเป็นอิสระในการตัดสินใจของไทยมากขึ้นเรื่อยๆ (Neher 1980, 327)
สหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีไอเชนอาวร์จึงเป็นช่วงที่'ชีไอเอฏี
บทบาทอย่างมากในการดำเนินสงครามจิตวิทยา การปฏิบัติการลับ การจัดตังกอง
กำลังกึ่งทหารเพื่อทำสงครามกองโจร การโฆษณาชวนเชื่อ การดำเนินการทางการเมือง
ทั่วโลกเพื่อป้องกันมิให้เกีดทฤษฎีใดมิในตามที่สหรัฐฯวิตก ( Hogan and Patterson
1991, 155) สำหรับไทยนั้น สหรัฐฯ' ให้ความสนใจไทยในฐานะเป็นพื้นที่ฤทธศาสตร์
ที่สำคัญในภูมิภาค ชันสะท้อนให้เห็นจากการที่สหรัฐฯ มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในไทยทั้ง
ประจำสถานทูต การข่าว และการทหารในกลางป็ 2496 จำนวนถึง 245 คน3
ต้นเดือนพฤษภาคม 2496 สถานการณ์การสู้รบระหว่างเวียดมินห์กับฝรั่งเศส
มีแนวโน้มที่ฝรั่งเศสจะปราชัย สแตนตัน ทูตสหรัฐฯ และหัวหน้าหน่วยแมค (MAAG)
ได้เรยกร้องให้สหรัฐฯให้การสนับสนุนทางการทหารแก่ไทยเพิ่มขึ้น ต่อมาจอห์น เอฟ.
ดัลเลส (John F. Dulles) รมว. ต่างประเทศสหรัฐฯ ไต้เสนอความเห็นต่อ รมว.
กลาโหมให้เพิ่มการสนับสนุนทางการทหารแก่ไทย เขาให้เหตุผลว่าไทยเป็นจต

1961 (Ann Whitman File ) Box 4 NSC Summary of Discussion , National Intelligence
Estimate Resistance of Thailand, Burma, and Malaya to Communist Pressures in
the Event of a Communist Victory in Indochina in 1951 , 15 March 1951 .
2
NARA , RG 469 Mission to Thailand 1950-1954, Entry 1385 Box 7, บ. ร. Policy
I
in Thailand, 7 August 195 บ
3 า he Dwight D . Eisenhower Library , White House Office , National Security
Council Staff : Papers, 1953-1961 , Psychological Strategy Board Central Files Series
Box 16, Summary of Department of State Revision of PSB- D 23, 24 July 1953. อดีส
ตำรวจระดับสู4ของใทขคนหนี่งบันทึกว่า เปป็รึรี๋ ฟิลลิปส์ เป็นเจ้าหน้าที่ซีไณอแฝงใข้ามาไนตำแหน่:.
เจ้าหนาที่สถานทูต ทำหน้าที่จารกรรมข่าวจากสถานทูตสหภาพโซทยตใน !ทย โตยเจ้าหน้าที่คน
ดังกล่าวปฎบัสิการหาข่าวไนไทขควยการดัก'สงโทรสัพท์ของสถานทูตสหภาพโซทยคในกเงเทพ''
(พฒ 2532, 226, 157 - 165).

128
ถนนทุกสายมุ่งสู่สหร้ฐอเผร้ทา

วุทธศาสตร์สำคัญในการต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใดั และไทยกำลังถูกคุกคามจากพวกคอมมิวนิสต์ตามพรมแคนในภาคอีสาน4
!
การรุกคืบของคอมมิวนิสต์ นเอเชียทำให้!อเชนฮาวร์อนุมัดีแผนการสนับสนุนทางการ
'

ทหารอย่างเร่งด่วนแก่'ใทยด้วยการส่งเสนาธิการทหารมาสนับสนุนการt '
ใช้อาวุธ
'
เกการ
!
และเร่งให้การสนับสบุนอาวุธยุทโธปกรณ์แก ทนั จากนั้นคัลเลสได้แจ'งต่อพจน์ สารสน
'วกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐฯ ว่า สหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือในหลายรูปแบบแก่
ไทย เช่น อาวุธ การส่งนายทหารระดับสูงเข้ามาให้ความช่วยเหลือ การส่งเจ้าหน้าที่
นํสังเกตการณ์ชายแดนไทยถึงความเคลื่อนไหวของพวกคอมมิวนิสต์ และสหรัฐฯ จะ
ส่งอาวุธและกระสุนไห้แก่ไทยอย่างเร่งด่วนที่สุด'’
รายงานการข่าวระดับสูงของสหรัฐฯ ขณะนั้นประเมินสถานการณ์ว่า หาก
ทียดมินห์บุกเข้าลาวจะทำให้ความสามารถในการต้านทานของไทยสนสุดลง เนื่องจาก
กองทัพบทไทยแม้จะมีกำลังพลประมาณ 50,000 คน แต่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ตากว่า
มาตรฐานของสหรัฐฯ ส่วนตำรวจมีกำลังพล 38,000 คน แด่มีภารกิจหน้าทีกว้างขวาง
ตั้งแต่การรักษาความสงบภายในจนถึงการรักษาชายแคน แต่ขาดแคลนอาวุธหนัก
โม่มีหน่วยฟิกเฉพาะ ขาดแคลนพาหนะ กล่าวโดยสรุป สหรัฐฯ เห็นว่ากองทัพและ
ตำรวจของไทยไม่สามารถปราบปรามคอมมิวนิสต์ที่จะแทรกซึมเข้ามาได้ 7 ดังนั้น
เหตุการณ์ที่แปรผันอย่างรวดเร็วในอนโดจนทำไห้ประธานาธบคไอเซนฮาวร์อนุมัติ
แผนการของกระทรวงกลาโหมที่มีการคาดการณ์ตามทฤษฏีโดมิโนว่า การสูญเสีย
ประเทศใดๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะนำไปสู่การสูญเสียทั้งภูมิภาค และย่อมส่ง

4 “
Dulles to Wilson - The Secretary of Defense * 5 May 1953 , " in Foreign Relations
of the United States 1950 VolO ( 1976 b, 666 ),
The Dwight D Bisenhower Library , Paper as President of United States 1953-

,

1961 (Ann Whitman File ) Box 4 NSC Summary of Discussion, Minutes of the 143rd
Meeting of the National Security Council, 6 May 1953 .
h
“ Memorandum of Conversation by the Officer in Charge of Thai and Malayan
Affaires ( Landon ), May 6, 1953 , ” in Foreign Relations of the United Slates 1950
Voi 6 (1976 b , 672) .
7
NARA, CIA Records Search Tool (CREST ) , CIA-RDP79S01011A001000070010-1,
19 May 1953 , “ NIE-96 : Thailand ’s Ability to Withstand Communist Pressure or
Attacks. ”

129
จุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

ผลกระทบทีร้ายแรงต่อเสถียรภาพและความมันคงของยุโรปด้วย ( The Pentagon


Papers 1971, 7 )
ต่อมาประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์มอบหมายให้ ซี. ดี. แจคสัน (c. D. Jackson )
ที่ปรึกษาประธานาธิบดี เตรียมเสนอแผนการใช้ไทยเป็นฐานปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อ
ต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเขียงใต้' เขาใต้สอบถามโรเบิรีต
คัตเลอร์ (Robert Cutler ) ผู้ช่วยพิเศษของเขา ถึงบุคคลที่เหมาะสมในการดำเนินงาน
แผนสงครามจิตวิทยาในไทย คัตเลอร์เสนอชื่อ วิลเลียม เจ . ไดโนแวน (William J .
Donovan) -1 เป็นทูตสหรัฐฯ คนใหม่แทนสแตนตัน เนื่องจากโดโนแวนมประสบการณ์
และมีความคุ้นเคยกับบุคคลสำคัญต่างๆในไทยมากกว่า จึงมีความเหมาะสมที่จะ
ประสานแผนการที่มีความหลากหลายระหว่างสหรัฐฯ กับไทยให้สำเร็จได้ 1 '’
กระแสข่าวการแต่งตั้งไดไนแวนมาเป็นทูตสหรัฐฯ คนใหม่ประจำประเทศไทย
สร้างความวิตกให้กับรัฐบาลจอมพล ป. มาก เนื่องจากโดโนแวนเคยให้การสนับสนุน
กลุ่มปรีดีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้รัฐบาลไทยระแวงว่าโดโนแวนจะสนับสนุน
ปรืดีให้กลับมารอำนาจทางการเมืองไทยอีกหรือไม่ ด้วยเหตุนี้โดโนแวนฃึงแสดงออก
ต่อรัฐบาลว่าเขาไม่สนใจความขัดแย้งทางการเมืองภายในและเขาไม่ใช่พวกปรีดี และ


The Dwight D. Eisenhower Library, Paper as President of United States 1953-
1961 (Ann Whitman File) Box 4 NSC Summary of Discussion, Minutes of the 143rd
Meeting of the National Security Council, 6 May 1953.
!
วิลเถยม เจ. ไดในแวน ( 2426- 2502) เป็น'คูคส'ทรัฐฯประจำประเทศ1 ทขระหว่างเดือน!fa หาคม
2496 - สิ'งทาคม 2497 เขาเป็นคนนิวยอร์ก จบกฎหมายจากมหาวิทยาอัยโคอัมเบข เคยเป็นอัยการ
ต่อมาเสนทางมาตะวันออกไกลในปี 2463 เคยเป็นที่ปรึกษาเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประนาศ
ญปุ่น เคยเข้าไปสืบราชการอับโนรัสเซียหอัาการปฏิวัต็ ประธานาธบดีรูสเวถท์สืงเขาไป (เโรปเพื่อสืบ
ราชการอับจากนาซ็ และเขาทำหน้าที่สืบราชการอับตงแต่ปี 2483 ( Brown 1982, 824) .
1ก
The Dwight D. Eisenhower Library, White House Office, Office of the Special
Assistant for National Security Affaire : Record 1952 -1961 NSC Series, Briefing
Notes Subseries Box 16, Pile : Southeast Asia (1953-1961), Memorandum for General
Smith-Chairman of Operations Coordinating Board from Robert Cutler Special
Assistant to the President, 10 September 1953 ; “ Memorandum by Robert Cutler.
-
Special Assistant to The President for National Security Affaires to The Chairman of
The Operations Coordination Board (Smith ), 10 August 1953,” in Foreign Relations
of the United States 1950 Vol.6 ( 1976 b, 686-87) ; Brown (1982 , 824).

130
r นนทุกสา F มุ่งสู่สทรัฐย เมริทา
.

‘ ด้แสดงให้รัฐบาลรูว่าความเคลอนไหวของอดีตโอเอสเอสที่พยาขามโค่นล้มรัฐบาล
จอมพลป. นั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาให้การสนับสมุนเลย11 ต่อมาสมิธ ปลัดกระทรวงการต่าง
ประเทศสหรัฐฯ ได้เรียกพจน์ สารสิน ทูตไทยประจำสหรัฐฯมาพบเพี่อหยั่งท่าทใทข
ต่อการที่สหรัฐฯ จะแต่งตั้งโดในแวนอีกครั้งหนึ่ง พจน์ได้โทรเลขด่วนกลับกรุงเทพฯ
ใม่กี่วัไเหลังจากนั้นรัฐบาลไทยก็ตอบรับทูตสหรัฐฯ คนใหม่ 12
ตั้งนี้ภารกิจสำคัญที่ประธานาธิบดีไอเชนฮาวร์มอบหมายให้ใดโนแวนปฎิบัดิ
การในเอเชียตะวันลอกเฉียงไตโดยเฉพาะในไทยคึอการสร้าง “ป้อมปราการ” (Bastion
of resistance) การต่อต้านคอมมิวนิสต์ของสหรัฐฯ ประจำภูมิภาคข-นไนไทย โดยให้
เขาดำเนินงานร่วมกับหลายหน่วยงานของสหรัฐฯ ดังนัน เขาจะต้องประสานหลาย
หน่วยงานทางลับในปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาเพี่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความ
.
ป็นไปได้ที่จะราำให้สหรัฐฯ เข้ามาปฏิบัติการหลายรูปแบบในไทยและใช้ประโยชน์จาก
คนไทยให้ได้มากที่สุดเพี่อรองรับภารกิจอื่นๆของสหรัฐฯในภูมิภาคที่จะมีต่อไป
โดโนแวนเห็นว่าภารกิจใหม่ของเขาในไทยคือ “ เอกอัครราชทูตนักรบ” (Warrior-Am-
bassador ) ( Brown 1982, 822-23)

The Dwight D . Eisenhower Library , John Foster Dulles Paper 1951 -1959,
J1

Personnel Series Box 1, Robertson to Secretary of State, Possible designation of


General William Donovan as Ambassador to Thailand, 2 June 1953.
12
*
-
กองบรรณสาร ทระทรวงการต์างประเทศ 1 0402-344-202 511 0005 ขอความเห็นชอบใน
การแต่งดั้งนาฃวิ!นลยม เจ. โดโนแวน เป็นเอกอัครฑชทูตสนรัฐอฌรกาประจำประเทศไทย พจน์
สารสิน ถึง รัฐมนตรีrmารกระทรวงการต่างประเทศ 28 มิถุนายน 2496 และ วรรณไวทยากร ถึง
เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชงดัน 2 มิถุนายน 2496 ถวายสาส์น 4 กันยายน 2496 ; “ Memorandum
of Conversation by the Oflieer in Charge of Thailand and Malayan Affaires (LandonX
29 July 1953,” in Foreign Relations of the United States 1950 VoL 6 (1976b, 679-80).
13 The Dwight D. Eisenhower Library, White House Office, Office of the Special

Assistant for National Security Affaire ะ Record 1952 - 1961 NSC Series, Briefing
Notes Subsenes Box 16, File : Southeast Asia (1953-1961), Memorandum for General
.
Cutler from พ B. Smith, 11 September 1953 ; Brown (1982, 824).

131
ชุนลึก ศักดินา และพญาอินทรี

“ เอกอดรราชทูตนักรบ” กับการสร้าง “ป้อมปราการ” ทางการทหารในไทย


สาเหตุสำคัญที่สหรัฐฯ เลลกไทยเพื่อสร้าง “ป้อมปราการ” ในการต่อต้าน
คอมมิ }นิสต์นั้นโม่ใช่แค่ภูมิศาสตร์เหมาะสมเท่านั้น แต่ซีไอเอเคยรายงานมุมมองของ
'

สภาความนั้นคงแห่งชาดีสหรัฐฯ ต่อไทยว่า ที่ผ่านมาไทยดำเนินนโยบายต่างประเทศ


ตามสหรัฐฯ โดยไทยไต้ยอมรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารจากสหรัฐฯ
และไทยไม่พยายามฟ้าไปมีอิทธิพลเหนือประเทศเพื่อนบ้านมากเกินไปจนกระทั่งถูก
มองจากประเทศอื่นๆว่าไทยเป็นรัฐบร็วารของสหรัฐฯ ดังนั้น ไทยจึงมีฅวามเหมาะสม
ที่สุดในภูมิภาคที่สหรัฐฯ จะดำเนินการสร้างป้อมปราการต่อต้านคอมมิวนิสต์ให้เกิด
ชัน14 ต่อมาต้นเดือนสงหาคม 2496 สภาความมั่นคงแท่งชาติสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ใช้
แผนสงครามจิตวิทยาในประเทศเทย ( บ . ร . Psychological Strategy based on
,
Thailand) โดยโดโนแวนเป็นผู้ ริเริ่มสำคัญในการเสนอแผนสงครามจิตวิทยาต่อไทย
แผนสงครามจิตวิทยานั้ใด้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2497 จำนวน 1.5 ล้าน
ดอa ลาร เดยมีหลายหน่วยงานที่เที่ยวข้อง เช่น กระทรวงการด่างประเทศ กระทรวง
กลาโหม สำไรักสารสนเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Information Agency :
USIA) และซีไอเอ 17

14

13 August 1953, “ NSC Briefing Thailand . ”


-
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA RDP80R0144-3R000100300007-2,
15
Memorandum of Conversation at the 16 ไ St Meeting of the National Security,
«

9 August 1953,“ in Foreign Relations of the United States 1950 Vol. 6, 685 ; The
Dwight D. Eisenhower Library , White House Office , National Security Council
Staff : Papers, 1948-1961, Operations Coordinating Board Central File Service
Box 2, Memorandum for James ร. Lay, Jr.- Executive Secretary National Security
Council, Special Report on Thailand, 12 July 1954.
16 The Dwight D.
Eisenhower Library, White House Office, Office of the Special
Assistant for National Security Affaire : Record, 1952-1961 NSC Series, Briefing
Notes Subsenes Box 16, File : Southeast Asia (1953-1961), บ.ร. Psychological Strategy
based on Thailand, 8 September 1953.
ไ: The Dwight D. Eisenhower Library, White House Office, Office of the Special
Assistant for National Security Affaire : Record , 1952-1961 NSC Series, Briefing
Notes Subsenes Box 16, File : Southeast Asia (1953-1961), Memorandum for General
Smith - Chairman of Operations Coordinating Board from Robert Cutler -Special
Assistant to the President, 10 September 1953, *

132
ทนนทุกสายมุ่งสู่สหรัฐอเมรํกา
,

ภารกิจสำคัญของแผนสงครามชิตวิทยาในไทยคอ สหรัฐฯ ต้องการทำให้


รงทัพแสะประชาชนไทยให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ด้วย
^ ารลดทอนโอกาสที่ไทยจะถูกคุกคามจากคอมมิวนิสต์ การให้ความช่วยเหลือทางการ
ทหารและขยายปฏิบัติกาวกองกำลังกึ่งทหาร (paramilitary) เพี่อหำให้ไทยกลายเป็น
ป้อมปราการ” ทางการทหาร เน้นการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจระยะยาวที่มุ่ง
.น นไปยังภาคอีสานเพื่อลดทอนการต่อต้านสหรัฐฯ การใช้โครงการจิตวิทยาทำให้คน
'

โรายมีความผูกพันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้ความร่วนมือและสนับสนุนในสิ่งที่สหรัฐฯ
ต้องการ อีกทั้งการขยายกิจกรรมของสหรัฐฯ ในไทย ผ่านแผนสงครามจิตวิทยา และ
การกระตุ้นให้ไทยขยายโครงการสงครามกองโจรและกองกำลังกึ่งทหาร ตลอดจนการ
ทำให้ไทยเป็นฐานปฏิบัติการสงครามชิตวิทยาทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพี่อขยาย
อิทธิพลของสหรัฐฯ ต่อไป18
ในรายงานของพล.ต. วิลเลืยน เอน. กิลมอร์ (Maj. Gen William N. Gillmore)
หัวหน้าแมค ได้ประเมินว่าความสามารถในการรักษาความมั่นคงภายในและภายนอก
ของไทยมีไม่เพียงพอ ดังนั้น สหรัฐฯ จะต้องให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธและที่ปรึกษา
ทางการทหารแกเรัฐบาลไทยให้ผูกพันกับการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ใคยทั่วไปแล้ว
คนไทยนิยมและนับถือคนอเมริกัน สังคมไทยไม่มีปัญหาความยากจนและความรู้ลืก
ต่อต้านอาณานิคม สํวนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีก็มีความนิยมสหรัฐฯ ด้วย
เหตุนี้ ไทยสามารถที่จะเป็นแหล่งทรัพยากรและฐานปฏิบัติการจิตวิทยาที่ตอบสนอง
ผลประโยชน์ของสหรัฐฯไนภูมิภาคได้เป็นอย่างดี ' ต่อนาโดโนแวน ทูตสหรัฐฯ ประเมิน
1,

ว่ารัฐบาลไทยมีทัศนคติที่เป็นมิตรกับสหรัฐฯ และยอมรับคำแนะนำและข้อเสนอแนะ
จากสหรัฐฯ รัฐบาลไทยยังคงต้องการความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและอาวุธจากสหรัฐฯ2"
ส่วนรายงานของคณะกรรมาธิการพิเศษของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯประเมินว่าไทย
ยังคงมีเสถียรภาพทางการเมืองมากกว่าประเทศเพี่อนบ้าน แม้!ทยจะมิได้เป็น
1

เ* H
บ ร. Psychological Strategy Based on Thailand (PSB - D 23 ) , 14 August 1953/
-
,

in Foreign Relations of the United States 1952 1954 VoL ไ 2 ( 1987 , 688-91 ).
1เ * “ Gilhnore -The Chief of the Joint Military Mission to Thailand to The Joint

Chief Staff, 30 September 1953," in Foreign Relations of the United States 1952-
1954 VoL 12 ( 1987, 695-97).
20
NARA, RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4187 , Donovan to Secretary
of State, 17 October 1953.

133
ชุนศึก ศักดินา และพญาอินV รี

ประชาธิปไตย แต่ไทยมีองค์ประกอบที่เข้มแข็งจากการมีเอทราชที่ยาวนาน ทำให้เทย


มีความเหมาะสมที่สหรัฐ'!จะใช้เป็นพันธมิตรที่มีประสิทธิภาพได้ ในขณะที่ประเทศใน
แถบนส่วนใหญ่มีนโยบายต่างประเทศเป็นกลาง สำหรับทำทืของไทยนั้นรแนวโน้มที่
จะเข้าร่วมกับประเทศที่มีความเข้มแข็งทางการทหารมากกว่า ในรายงานเสนอให้
สหรัฐฯ เพิ่มความช่วยเหลือทางการทหารแก่ไทยให้มากขึ้น และยํ้าให้ใทยตระหนัก
ว่าการให้ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ จะให้กับประเทศที่อยู่ช้างสหรัฐฯ มากกว่าไห้
ประเทศที่เป็นกลาง ( Special Study Mission to Southeast Asia and The Pacific
1954, 56-59)
การประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ครั้งหนงในปี 2497 เห็นว่า หาก
สหรัฐฯ สูญเสียเอเชียตะวันออกเฉียงได้จะมีผลกระทบต่อหลายประเทศในโลกเสรี
เนื่องจากภูมิภาคดังกล่าวเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ เช่น ยาง ดีบุก ข้าว
การผลิตนำมันและสีนคัายุทชิป้จจัย รวมทั้งศักยภาพการเป็นตลาดให้กับสินค้า
อุตสาหกรรมจากประเทศโลกเสรี ดังนั้น วัตถุประสงค์ของสหรัฐฯ คือการปกป้องและ
โน้มน้าวให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมมือกับประเทศโลกเสรี
สำหรับ!นัยบายของสหรัฐฯ ต่อไทยคือ การทำให้การเมืองใทยมีเสถียรภาพและทำให้
ไทยยังคงผูกพันกับสหรัฐฯ ต่อไปด้วยการควบคุมท้ศทางการทหาร เศรษฐกิจ ความ
ช่วยเหลือทางเทคนิค และการสนับสนุนโครงการโฆษณาชวนเชื่อและกิจกรรมทาง
วัฒนธรรม รวมทั้งปฏิบัติการลับต่อไป21
ด้วยเหตุที่การตัดสินใจด้านการทหารของสหรัฐฯ ขณะนั้นตังอยู่บนข้อมลและ
คำแนะนำจากแวดวงข่าวกรองของสหรัฐฯ ( The Pentagon Papers 1971, 6) ทำให้
ตลอดระยะเวลาที่โดโนแวนดำรงตำแหน่งทูตสหรัฐฯ ประจำไทย เขาดำเนินการตอบ
สนองต่อความต้องการของสหรัฐฯ ได้เป็นอย่างดี เขาเรียกรัองให้สหรัฐฯ ให้การสนับสนุน
ทางการทหารแก่ไทยมากขึ้น ควบคู่ไปกับการผลักดันให้ชีไอเอขยายกลไกในไทยอย่าง
กว้างขวาง โดยเขาเริ่มจากการประสานกับอดีตโอเอสเอสกลุ่มเล็ก ๆ และทำการขยาย
, จากนั้นเขาได้ใช้วิธิสมัยใหม่ทางการเมืองและ
เครีอข่ายปฏิบัติการของชี ไอเอออกไป
การทหารไนการปราบปรานการก่อกบฏและการต่อต้านคอมมิวนิสด้กายในและคาม

21
NARA, RG 84 Box 2, Top Secret General Record 1947-1958, Statement of Policy
by the National Security Council on United States Objectives and Courses of Action
with Respect to Southeast Asia , 1954.

134
ถนนทุกสายมุ่งสู้สหรัฐอเมริกา

ชายแดนของไทย ( ibid ., 825) ในช่วงที่เขาปฏิบัติหน้าที่ทูตสหรัฐฯ เขาได้ริเริ่มงาน


หลายอย่าง เช่น การจัดตงหมู่บ้านการทหาร การใช้สื่อสารมวลชนสมัยใหม่ทำสงคราม
จิตวิทยา การให้การสนับสนุนอาวุธสมัยใหม่ เครื่องบินไอพ่น และเริอเร็วให้กับกองทัพ
และตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกๆรัฟิกอบรมให้กับตำรวจ และการจัดตั้งการข่าวทางการ
ทหารชันในประเทศไทย (ibid .) ขณะเดียวกันทูตอังกฤษไต้ประเมินอิทธิพลของสหรัฐฯ
ต่อไทยในช่วงเวลานั้นว่า สหรัฐฯ มีอิทธิพลต่อไทยทางเศรษฐกิจและการทหารมากขน *
เห็นได้จากการที่สหรัฐฯ ส่งบุคคลสำคัญเดินทางมาไทยหลายคน เช่น รองประธานาธิบดี
ริชารัด นิกสัน (Richard Nixon) วุฒสมาชิกวิลเลียม โนว์แลนด์ (William Known-
land) รวมทั้งการส่งโดโนแวนมนปีนทูตประจำประเทศไทยนั้นย่อมสะท้อร!ไห้เห็นว่า
สหรัฐฯ ต้องการมีอิทธิพลโดยตรงต่อไทย เดยสหรัฐฯ ต้องการเปลี่ยนให้ไทยเป็น '‘ป้อม
ปราการ” ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ทูตอังกฤษสรุปว่าการดำเนินการต่างๆ
ของสหรัฐฯในไทยเป็นนโยบายต่างประเทศที่สำคัญของวอชิงตันดี. ซี. '1 '

เพนตากอนกับการสถาปนาอำนาจไห้กลุ่มทหาร
ประธานาธิบดีไอเซน?ทวร์ไต้ส่งสัญญาณสองครั้งในต้นปี 2497 ให้ฝรั่งเศสทราบ
ว่าสหรัฐฯพร้อมทีที่จะช่วยเหลือฝรั่งเศสด้วยการเข้าแทรกแซงอินโดจนด้วยกำลัง นมวา
1/ I

ขณะนั้นกองทัพฝรั่งเศสในอินเดจีนจะอ่อนกำลังลงแล้วก็ตาม การส่งสัญญาณจาก
สหรัฐฯให้แก่ฝรั่งเศสช่วงแรกเริ่มต้นในเดือนมีนาคมชี่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่เคียนเบียนฟู
จะแตก เนองจากสหรัฐฯไม่ต้องการให้ฝรั่งเศสแพ้เพื่อให้ฝรั่งเศสสามารถรักษาสถานภาพ
ของการเป็นหนึ่งในสามมหาอำนาจต่อไป ( Kahin 1986, 3 ; The Pentagon Papers
1971, 5-7 ) ต่อมาสหรัฐฯ ส่งสัญญาณอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมเนื่องจากไม่เห็นด้วย
กับการเปิดการเจรจาสงบศึกของฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ แต่ฝรั่งเศสขณะนั้นไม่สามารถ
ด้านทานการโจมดีของกองทัพเวิยดมีนห้ได้อีกต่อไป จึงนำไปสู่การเจรจาสงบศึก ณ
กรุงเจนีวาที่เกิดชันในปลายเดือนเมษายน และสุดท้ายแล้วฝรั่งเศสจำต้องลงนามยุติ
การรบกับเวียคมินห์จนไปสู่การแบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วนคือ เวียดนามเหนือกับ
เวียดนามใด้ทื่เส้นขนานที่ 17 เหตุการณ์นั้ทำไห้รัฐบาลของประธานาธิบดีไอเซนฮาวรั
สร้างทฤษฏีโดมิโนที่จะส่งผลให้สหรัฐฯมีนโยบายที่จะเข้ามามีบทบาทต่อเอเชิยตะวันออก

22
NA, FO 371' 112261, Wallinger to Foreign Office, Annual Report on Thailand
for 1953, 18 January 1954.

135
ชุนลึก ศกคนา แสะพญารนทรี

เสียงใต้ (Anders อฑ 1991, 73) ประธานาธิบดีไอเชนเทวร์มีควานคดว่า หากสหรัฐฯ


สูญเสียอินไดจนจะนำไปสู่การสูญเสียไทย พม่า มาเลเซีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งหมด (Eisenhower 1963, 333) ด้วยเหตุนี้ สหรัฐฯจึงให้ความช่วยเหลือทางการ
ทหารเพิ่มแก่กลุ่มทหารไทยตั้งแต่ปี 2495, 2496 และ 2497 มีมูลค่า 12 ล้านดอลลาร์
55.8 ล้านดอลลาร์ และ 38.9 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ (Suraehart 1988, 57 ) อีกทั้ง
กลุ่มทหารไทยขอนรับให้จัสแมคไทย (JUSMAGTHAI ) มีจานะเป็นที่ปรึกษาทางการ
ทหาร และสามารถส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปร่วมงานในหน่วยงานต่าง ๆ ของกองทพไทยได้
จากรณกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และกลุ่มทหารไทยร่วมกันก่อตั้งกองบินยุทธศาสตร์
สำหรับชายแคนไทยขน23
ไนต้นเดือนเมษายน 2497 พล.ร.อ. กราฟส์ บี. เออร์สกิน ผู้ช่วยปลัดกระทรวง
กลาโหมฝ่ายปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ เรียกร้องไห้ซีไอเอขยายบทบาทที่อยู่เนี้องหลัง
ปฏิบัติทารลับในไทยให้มากขน เนื่องจากกระทรวงกถาโหมสหรัฐฯ เห็นว่าที่ผ่านมา
บทบาทของชีไอเอจำกัดอยู่เพียงปฏิบัติการสงครามกองโจรต่อต้านคอมมิวนิสต์เท่านั้น-4
ต่อมาสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ มีนโยบายสนับสนุนให้รัฐบาลจอมพลป. บี
เสถียรภาพทางการเนืองเพึ่อไห้ความร่วมมือกับสหรัฐฯในการทำให้เกิดเสถียรภาพใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงโต้ ทำให้!ทยผูกพันกับการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค
และเป็นมิตรกับโลกเสรีต่อไป โดยสหรัฐฯให้การสนับสนูนทางการทหาร เศรษฐกิจ และ
เทคนิคอย่างเหมาะสม รวมถึงให้ความสำคัญกับการโฆษณาชวนเชื่อในการต่อต้าน
คอมมิวนิสต์และปฏิบัติการลับของไทยในประเทศเพื่อนบ้านต่อไป23 อย่างไรก็ตาม
รายงานสำหรับประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ได้ประเมินความสามารถทางการทหารของไทย

จืระ ( 2497ก 76) ; หซช. บก สูงสุด 7 / 5 เอกสารกองบัญชากาวทหารสูงสุด เรื่อง รามเรื่อง


1

เกี่ยวกับยศทหาร เช่น กฎหมาย ขอบังคบการแต่งตัว ข่าวเกี่ยวกับการแต่งตั้งทหาร ฯลฯ (5


กุมภาพันธ์ 2495 - 5 เมษายน 2500) บันทึกย่อรายงานการปร?ชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 3 วันที่ 27
เมษายน 2497 ; Brown ( 1982 , 826 ).
4
NARA, HG 84 Box 1, Top Secret General Records 1947-1958, Memorandum G. R .
Erskine to Donovan, 6 April 1954.
25
The Dwight D . Eisenhower Library , White House Office , National Security
Council Staff : Papers 1948-1961 , Operations Coordinating Board Centra] File Service
Box 2, Memorandum for James ร. Lay, Jr. -Executive Secretary National Security
Council, Special Report on Thailand, 12 July โ 954.

136
ถนนทุกสายมุ่งสู่สหรัฐอเมวทา

ในขณะนั้นว่ายังคงอยู่ในระดับศูนย์ แม้ว่าที่ผ่านมาสหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือทางการ


ทหารแก่กลุ่มทหารมาหลายปีแล้วก็ตาม แต่กลุ่มทหารสร้างแต่เ'รองออสาว26

ซีไอเอลับการสถาปนาอำนาจให้กลุ่มตำรวจ
สาเหตุที่สหรัฐฯให้การสนับส,แนกลุ่มตำรวจเพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติการลับและ
รักษาชายแดนที่ประชิดกับอินโดจีน เนื่องจากสนธิสัญญาระหว่างโทย-ฝรั่งเศสที่ทั้ง
สองฝ่ายลงนามทั้งแต่ปี 2436 นั้นมีข้อตกลงห้ามทั้งสองประเทศมีกำลังทหารตาม
ชายแดนในรัศมี 25 กิ [ลเมตร กองทัพจึงไม่สามารถทำหน้าที่รักษาดินแดนในบริเวณ
ดังกล่าวได้ สภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ จึงเห็นว่ากลุ่มตำรวจของ พล.ต.อ , เผ่า
ศรียานนท์ มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติการลับและเปีดรับภารกิจใหม่ในการจารกรรม
และการรบแบบกองโจรมากกว่าทหารที่ถนัดการรบไาแเบบ จึงมอบหมายให้ซีไอเอ
ปรับปรุงกำลังตำรวจด้วยการผลักดันให้จัดทั้งหน่วยงานใหม่ขน เช่น ตำรวจพลร่ม
เพื่อให้ตำรวจมีกำลังที่เปียมด้วยสมรรถนะทั้งการรุกและการรับ มีความสามารถ
แทรกชึมใปจารกรรมแนวหลังของข้าศึกไต้ รวมทั้งการสนับสนุนขัดทั้งตำรวจตระเวน
ชายแดนเพื่อดูแลชายแดนของไทยแทนทหาร (Lobe and Morell 1978, 158 ; Lobe
1977, 20-23 ; นคร 2530, 3 ; สิทธิ 2536, 39) 27
ด้วยเหตุที่ปฏิบัติการของซีไอเอในไทยและภูมิภาคเปีนการหาข่าวเพื่อช่วย
,
กำหนดนโยบายของสหรัฐฯ ส่งผลให้หน่วยสีบราชการลับของสหรัฐฯที่อยู่ในไทยทั้ง
ในสถานทูตฯ และนอกสถานทูตฯ ในรูปกิจกรรมต่างๆมีมากมายจนกระทั่ง “ เกลี่อน
ไปหมด” (พุฒ ม,ป.ป., 207) ปฏิบัติการของซีไอเอมีทั้งการหาข่าว การส่งอารุธ การ
ใช่ไทยเปีนฐานปฏิบัติการลับ การสนับสนุนกลุ่มการเมืองต่างๆ การโฆษณาชวนเชื่อ
าดยภารกิจเหล่านั้เป็นความลับมาก (ประดาป 2517, 334) ในปี 2495 ซีไอเอได้ล่ง
เจ้าหน้าที่จำนวน 76 คนแฝงเข้ามาในเทนะพนักงานของซีซ้พพลายเพื่อ'ฝืกการรบให้
ตำรวจ และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลับอีกกว่า 200 คนนำโดยจอห์น ฮาร์ท ( John
Hart )28 หัวหน้าเจ้าหน้าที่ซีไอเอ ซึ่งมีความสนิทสนมกับ พล .ต.อ. เผ่า จึงให้การ

Library of Congress, CK 3100297663, October 1954, Thailand ะ An American


Dilemma ,
-
ต่อมาเมื่อกลงบัญชาการดำรวจคระเวนชายแดน (ตชด. ) ย้ายไปหัวหนในปี 2496 ความฒพ้นธ
- 1

ระหว่างพระมหากษัตริย์กับ ตชค , ไต้เริ่มซ้น ( Lobe 1977 , 24).


^ จอห์น สารท เคยร่วนงานกับใดโนแวน ทุตสหรัฐฯ เมื่อครั้งที่โดโนแวนเป็นหัวหนาหน่วยสืบ

137
ชุนลึก ศทดีนา และพญาอินทวิ

สนบ £1นุนกลุ่มตำรวจอย์างเต็มที่ เนื่องจากสหรัฐฯ กำหนดให้ตำรวจพลร่มรับผิดชอบ


ปฏิบัติการลับและสงครามนอกแบบ ( unconventional warfare ) โดไนแวน ทูต
สหรัฐฯ จึงแนะน่าให้รัฐบาลจอมพล ป . ตั้งคณะกรรมการขนชุดหนึ่งชื่อว่า "คณะ
กรรมการนเรศวร” เป็นเสมือนผู้ว่าจ้างชีชัพพลายให้ทำงานตามไครงการที่ซ็ไอเอให้
ความช่วยเหลือแก่กลุ่มตำรวจเพื่อเป็นการอำพรางบทบาทของซีไอเอ ดังนั้น การฟิก '

และความช่วยเหลือของชีไอเอจึงเป็นความลับ อาวธที่ซีเอเอส่งมาให้กลุ่มดำรวจมีปีน
1

คารับิน ปีนมอร์ฅา ปืนตอต้านรถลัง ระเบิดมือ อุปกรณ์เสนารักษ์ ร่มชูชพ อุปกรณ์


ตั้งค่ายที่หัก ตลอดจนปีนใหญ่ รถลัง และเฮลิคอปเตอร์^
ต่อมาสหรัฐฯได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนมาตรวจค่ายปฏิบัติการนเรศวร
ที่ฟิกตำราจพสร่มและตำรวจตระเวนชายแดน เช่น ลัลเลน เวลช์ ดัลเลส (Allen
1

Welsh Dulles) ผู้อำนวยการซีไอเอ แมกซ์ บิชอป (Max Bishop) ทูตสหรัฐฯประจำ


ประเทศไทยคนลัดมา และพล.ร.อ. กราฟส์ บี. เออร์สกิน ผู้แทนประธานาธิบดีฝ่าย
กิจการทหาร เป็นดั๙" ความช่วยเหลือของซีไอเอมีผลทำให้กลุ่มตำรวจของพล . ต.อ.

ราชการลบของสหรฐ'( หรอโอเอสเอสไนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาในช่วงปี 2495 หน่วยงาน


1

ของซีซพพลายได้ขยายคัว รวมทั้งความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่าง พล . ต อ . เผ่ากับเขา นฟิกจากน


,

ทั้งคูมีผลประโยชน์ร่วนทางการเงินและธุรกิจนอกกฎหมาย เช่น การล้าประเวณึในก 3 งเพพ า 1

( I .obe 1977 , 24 ; Flood 1976, 1 ).


“ นคร ( 2530, 2 , 8, 76-77 ) คณะะกรรมการนเรศวรมีสมาซกในกณะรัฐประหารหลายคนเข้าร่วม

เช่น พล . อ . สฤษด ธนะรัชฅ์ พล . ต . ถนอม กิตฅขจร พล . ต . อ . เผ่า ศรืยานนท์ พล .อ .อ . ชิน รณ -


นภากาศ ฤทธาคน็ พล , ร , ต . หลวงชำนาญอรรถยูทชิf สำหรับวิชาที่ซีไอเอฟิกให้ตำรวจ เช่น ความ !
เกี่ยวกับอา }ชิ การไช้อาๅชิ การรบนอกแบบ การหาข่าว การกระไดคร่ม แผนที่ การปฐมพบาบาล
'

อาวชิที่ไชํประจำกายและประจำหน่วยพลร่มและตำรวจตระเวนชายแดน เช่น ปีน M 3-A คาร์บิน


บราวนิ่ง ปีโน่ทหนักเบา มาชุกา มอร์ตา ระฌดมีอ และวดถูระเบิดอื่นๆ ; l .obe ( 1977 , 23 ).
30
นคร ( 2530, 225 - 26 ). คัลเลน ด้ลเลส ผู้อำนวยการชีใอเอได้กล่าวชมค่ายนเรศวรว่า “ ผลงาน
ที่ข้าพเจ้าได้เห้นนี้เป็นความชำนาญที่ขากจะทาเสมอเหมีอน และยังเป็นการดำณินกิจการที่นับว่า
เป็นเอก ข้าพเจ้าภูมิใจที่มีส่วนร่วมไนกิจการนี’้ , ส่วนบุคคลสำคัญอื่นๆที่มาเยยมชม เช่น วอลเฅอร
พี คูซมุค ( Walter p . Kuzmuk ) ผู้จัดการบวิษทชชพพลายสาขาซีไอเอ คัลเฟ่รด ชี. อูลฌอร์
,

จูเนียร์ (Alfred c. Ulmer Jr ) เจ้าหน้าที่ซีไอเอ พ .อ . แฮฑ เนามฌร์ต ( Harry Lambert) ห้วหน้า


,

คณะเสนาธิการทหารประจำฮาวาบ พ . อ . อีเบน เอฟ . สวิฟ่ท์ ( Eben F. Swift) กองทหารพลร่ฆที่ 3


พ .อ . ใรเบร์ศ เอช . ซีมฌนน้ ( Robert H . Zimmemn ) ที่ปรึกษาทางการทหารประจำประเทศใพย ;
หจ'ช . ( 3 ) สร 0201.21 . 3/ 101 เอก eกรสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง นายคัลแลน คับเท คัลเลส ผู้
อำนวยการองค์การชี . ไอ . เอ . (8- 11 คันยายน 2499 ).

138
เไนนทุกสายมุรสู่สหรัฐทเม'รืกา

เนามีอำนาจทางการเมืองมากชัน ( Flood 1976, 1 ) กำลังพลของ พล .ต.อ. เผ่าไนปี


2496 นั้นประกอบด้วยตำรวจพลร่มจำนวน 300 คไเ และตำรวจตระเวนชายแดน
จำนวน 4,500 คน โดยกองกำลังตำรวจที่สหรัฐฯให้การสนับสนุนนี้ติดอาวุธประจำ
กายและประจำหน่วยทีทันสมัย ฆีวิฑยุสนาม ทำให้ตำรวจหน่วยนี้มีความสามารถไน
การปราบปรามความไม่สงบ ทาข่าว ปฏิบัติการต่อสู้ และลาดตระเวนตลอดแนว
ชายแดนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ31 ต่อมาในช่วงปี 2498-2499 พล.ต.อ. เผ่ามีกำลัง
ตำรวจทั่วประเทศถึง 48,000 คน เป็นตำรวจในกรุงเทพฯ จำนวน 10,000 คน ตำรวจ
ของพล.ต.อ. เผ่ามีอาวุธประจำกายและอาวุธหนัก รวมทั้งรถลังที่สหรัฐฯให้การสนับสนุน
( ibid., 1) ตรงข้ามกับกลุ่มทหารของ พล.อ. สฤษดิ้ ธนะรัชต์ ในขณะนั้นที่มีเพียง
45,000 คน และมีอาวุธที่ล้าสมัยกว่า เนื่องจากที่ผ่านมาที่ปรึกษาการทหารของสหรัฐฯ
ปฏิเสธที่จะให้อาวุธแก่กลุ่มทหารแต่ให้การสนับสนุนกลุ่มตำรวจ ( McCoy 1973,
138) 32 นอกจากนี้ ในปี 2497 สหรัฐฯ มอบอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์ในการสืบราชการ
ลับเพื่อหาข่าวให้แก่กลุ่มตำรวจเพิ่มเต็ม ตลอดจนสนับสนุนการตั้งกรมประมวลราชการ
แผ่นดินซึ่งเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ข่าวกรองเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการหาข่าว ยิ่งทำให้
กลุ่มตำรวจมีศักยภาพเหนือกว่ากลุ่มทหารและมีส่วนทำให้กลุ่มทหารเริ่มหวาดระแวง
กลุ่มตำรวจมากยิ่งขน ( Lobe 1977, 23 ; พุฒ 2532, 171 ; ขัยยงฅ์ 2522, 79)
ความช่วยเหตอ งากสหรัฐฯ และการแช่งข้นระหว่างกล่มตำราชิกับกลุ่มทหาร
ความช่วยเหลือของสหรัฐฯมีส่วนหำให้การแข่งขันระหว่างกลุ่มตำรวจที่นำโดย
พล. ต.อ. เผ่า ศรึยานนท์ กับกลุ่มทหารที่นำโดย พล.อ. สฤบด ธนะรัชต์ มีความรุนแรง
มากชัน เช่น กรณีการจัดตั้งหน่วยพลร่ม ( Parachute Battalion) ในเนี้องแรก พล.อ.
สฤษดให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี เนื่องจากเขาหวังว่าหน่วยดังกล่าวจะกลายเป็นจาน

3า “
Lansdale Memo for TayJor on Unconventional Warfare, July 196 น” in The
Pentagon Papers ( 1971, 133- 34) ; "Thailand ร Border Patrol Police : Paramilitary
1

Political Power, ” in Lobe and Morell ( 1978 , ใ 57 ) ,


3"
ตำรวจนายหนี่งได้บันทึกความก้าวหน้าของตำรวจไทยขณะนั้นว่า “ กำด้งตำรวจของเราเป็น
หน่วยแรกและหน่ายเดียวในขณะนั้นที่มีเครื่องแต่งกาย มีเครื่องใช้ประจำกายดเทากำด้งพลสหรฐและ
มีเครื่องใช้ประจำหน่วยก็เหมาะเทJ กับภูมีประเทศและเหตุการณ์ ตลอดจนอาวุธยุทธภัณฑ์ที่สมบูรณ์
หันสมัยกว่าหน่วยอื่นๆไนสมัยนั้น ,, (หักฟ้ 2536, 75).

139
ขุนคึก ศักดินา และพญาอินท';

กำลังของกลุ่มทหารต่อไป แต่ปรากฏว่าต่อมาหน่วยพลร่มได้กสายเฟินฐานกำลังให้กับ
กลุ่มตำรวจแทน อีกทั้งการสรรหาบุคลากรในการฟิกที่เคยมาจากหลายหน่วยงาน เช่น
กองทัพบก กองทัพเรือ และตำรวจได้เปลี่ยนแปลงใป ต่อมาหลังปี 2496 เมื่อกองทัพ
ถูกกันออกจากการฟิกตามหลักสูตรพลร่มทั้งหมดกีสร้างฅวามไม่พอใจให้กับพล . อ.
สฤบดิ้และกลุ่มทหารเป็นอย่างมาก ”
ทั้งนี๋ใม่แต่เพียงความจำเป็นอันเมื่องมาจากข้อสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศสเท่าไเน
ที่ทำให้สหรัฐฯให้การสนับสนุนกลุ่มตำรวจอย่างมาก สาเหตุอีกประการมาจากความ
สัมพันธ์’ส่วนตัวระหว่างพล.ต.อ. เผ่า พล.อ. สฤษที่ และเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯด้วย โดย
ว่ลเลียม โดโนแวน ทูตสหรัฐฯ มีส่วนสำคัญไนการทำให้เกิดการเผชิญหน้าทางการเมือง
'

ระหว่างกลุ่มทหารกับกลุ่มตำรวจ เนื่องจากในระหว่างที่เขาเป็นทูตสหรัฐฯประจำประเทศ
ไทย เขาให้ความสนิทสนมกับกลุ่มตำรวจของ พล.ต .อ. เผ่ามากกว่ากลุ่มทหารของ
พล.อ. สฤบที่ นอกจากใดโนแวนแล้ว จอห์น ฮาร์ท หัวหน้าซีไอเอ กับบรรดาเจ้าหน้าที่
ซีไอเอในไทยกีให้การสนับสนุนกลุ่มตำรวจมาทกว่า ทำให้ในที่สุดกลุ่มตำรวจของ
. .
พล ต , อ เผ่าสามารถมีกองกำลังที่เข้มแซ็งทัดเทียนกับกลุ่มทหาร ( Flood 1976, 2,
129 ; Lobe 1977, 23-24 )
อย่างไรก็ตาม การที่ชีไอเอเล่นบทสำคัญในปฏิบัติการลับและทุ่มความช่วย
เหลือให้กับกลุ่มตำรวจทั้งอาวุธเบาและอาวุธหนักทั้นสร้างความไม่พอใจไห้กับกระทรวง
กลาโหมสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน กระทรวงกลาโหมได้เริ่มท้าทายบทบาทของชีไอเอที่มี
อิทธิพลเหนือไทยด้วยการให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มทหารของ พล.อ. สฤบดี๋อย่างมาก
ในเวลาต่อมา (Flood 1976, 1) แม้ว่าอดีตที่ปรึกษาประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์คน
หนื่งเคยแนะนำโดโนแวนว่าอย่าให้ความสำคัญเฉพาะกลุ่มตำรวจของ พล.ต.อ. เผ่า
เท่านั้น แต่ต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มทหารของ พล.อ. สฤบดต้วย และแม้ในเวลา
ต่อมาโดโนแวนจะพยายามกระจายความช่วยเหลือทางการทหารและสมานไมตรีกับ
กลุ่มทหารของ พล. อ. สฤษที่แล้วก็ตาม แต่การแช่งขันทางการเมืองระหว่างกลุ่มตำรวจ
. .
ของ พล ต .อ เผ่ากับกลุ่มทหารของ พล.อ . สฤษด้ก็บาตหมางเกินกว่าที่โดโนแวนจะ

NARA, RG 469 Entry Thailand Subject Files 1950- 1957 Box 7 , Charles N .
33

Spinks to Secretary of State, 6 October 1952 ; Conversation with General Sarit


Thanarat ; Memorandum of Conversation with General Sarit, General Thanom and
Colonel Gerald พ. David-MAAG, 4 October 1952 ; พันสักค ( 2517 s 17 -18).

140
r นนทุกสายมุงสู่สหร้ฐอเมวิกา

ชายเยยวยาความขัดแย้งได้ อีกทั้งมีความเป็นไปไต้ว่ายิ่งซัใอเอช่วยเหลือกลุ่มตำรวจ
บากเท่าใด กลุ่มทหารกียิ่งใกล้ชิดคณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯประจำประเทศ
ำายหรือจัสแมคไทยมากขึ้นเท่านั้น (พันคักด 2517, 19):u
ถนนทุกสายมุ่งสู่วอชิงตัน ดี. ซี.
เมื่อแหล่งทรัพยากรสำคัญในการก้าวขึ้นมามีอำนาจมาจากสหรัฐฯ คู่แข่งขัน
ทางทารเมืองทั้ง พล.อ. สถุษดิ้ ธนะรัชฅ์ และ พล.ด .อ. เผ่า ศรีขานนท์ ต่างแข่งกัน
เข้าหาสหรัฐฯ มากขึ้น ในปี 2497 ทั้งสองได้เดึนทางไปเจรจาขอความช่วยเหลือจาก
สหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯได้ลดความช่วยเหลือทางการทหารแก่ไทยลง จากเดิมปี 2496
เคยให้ 55.8 ล้านดอลลาร์ ลดเหลือเพียง 38.9 ล้านดอลลาร์ (Surachart 1988, 57)
เนื่องจากสหรัฐฯ เห็นว่าการให้ความช่วยเหลือแก่มีตรประเทศไม่เพียงแต่ทำให้ประเทศ
เหล่านั้นไม่สามารถต่อต้านภัยคอมมีวนิสตใด้ด้วยตนเองเท่านั้น ยังทำให้งบประมาณ
สหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นด้วย (จิระ 2497ข, 29-30) ดังนั้น คณะเสนา!การทหารของไทย
นำโดยพล.อ. สฤษดี้และพล . ต. วิลเลียม กิลมอร์ หัวหน้าจัสแมคไทย จึงเดินทางไป
วอชิงตันดี.ชี. ( 27 มิถุนายน - 9 กรกฎาคม 2497) ด้วยเครื่องบินของสหรัฐฯเพื่อขอ
ความช่วยเหลือทางการทหารเพิ่มเฅม โดยพล.อ. สฤษดและคณะของเขาได้ประชุมที่
ตึกเพนตากอนซึ่งเป็นที่ทำกาวของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ร่วมกับ พล.ร.อ. อาเธอร์
แรดฟอร์ด (Arthur Radford) ประธานคณะเสนา!การผสมของสหรัฐฯ เอช . สตรูฟ
เอนเชล ( H. Struve Hensel) ผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมฝ่ายกิจการความมั่นคงระหว่าง
ประเทศ นายพลแมทธิว บิ . ริดข์เวย์ (Matthew B. Ridgway) เสนาธิการทหารบก
และประชุมหารือกับคณะเสนา!การผสม พบกับสมิธ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
รวมถึงได้เข้าพบสนทนากับประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ด้วย35 พล.อ. สฤษดให้สัมภาษณ์

34 ต่อมาจัสแมคไทยได้แน!;นำให้กองทัพไทยจัดตั้งหน่วยงานเพื่อต่อต้านข่าวกรอง (Counterin-
telligence Agency ) และ,ทำสงครามปีตวิทยา ( Psychological Warfare) ด้วยการตั้งชื่อว่าโรงเรียน
รักษาความปลอดภัยเพื่ออำพรางปฏิบัติการให้กับทั้ง 3 เหล่าทัพและใรงเรียนเสนาธิการ การจัดตั้ง
ใรงเรียนดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อป้องกันและรักษาความลับทางการททารให้พ้นจากการจารกรรม และ
ต่อต้านการก่อวินาศกรรม (หขิช. บก สูงสุ[ด 7/6 เอกสารกองบัญชาการทหารสูงสุด เรื่อง รวมเรื่อง
เกี่ยวกับการประชาสัมพ้นธให้ข่าวและการสื่อสารต่างๆ [ 19 ตุลาคม 2497 - 18 เมษายน 25001
รายงานการประชุมส}ทกลาโหม ครั้งที่ 6/ 2499 13 มิถุนายน 2499) .
35 หจช. ( 3) สร 0201.15/ 5 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การจัดคณะทูตทหารไปวอชิงตัน

141
ขุนศึก ศกดินา และ-พญาอ้นทรี
1

เป็นภาษาไทยผ่านวิทยุเสียงอเมริกา (Voice of America ) มายังไทยว่า ขณะนี้สหรัฐฯ


ได้ตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ไทยในการปีองกันภัยคอมมิวนิสต์ ด้วยการทำให้
ไทยเป็น “ ป้อมก่าย ” ที่แข็งแกร่งของโลกเสรี โดยสหรัฐฯ จะส่งเจ้าหน้าท้การทหาร
จำนวน 400 นายมาฟิกหัดการทหารให้กับกองทัพไทยเพื่อขยายกำลังรบใหม่เพิ่มอีก
,
4 กองพล และจะส่งเครองบินฟิกมาให้อีก 30 ลำ ส่วนกองทัพเรือจะได้รับเรือรบใหม่
3 ลำ นทอดไทV , 13 กรกฎาคม 2497 ; ข่าวพาฌิชย์ , 20 กรกฎาคม 2497) ต่อมา
โรเบิร์ต บี. นอนเดอร์สัน (Robert B . Anderson ) รมช. กลาไหมสหรัฐฯ ผลักสัน
ความช่วยเหลือทางการทหารแก่รัฐบาลไทยเพิ่มอีก 25 ล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างความ
แข็งแกร่งให้กองทัพในการปรับปรุงการฟิกใช้ยุทโธปกรณ์และการเสริมความเข้มแข็งให้
หน่วยรบ: !(>

ต่อมาเมื่อโดโนแวน ทูตสหรัฐฯ ขอลาออกจากตำแหน่งหลังฝรั่งเศสพ่ายแพ้ที่


สมรภูมิเตียนเบียนฟู สหรัฐฯได้ส่งจอห์น อี. พิวริพ่อย (John E . Peurifoy) 17 มา
ตำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตแทน พิวริฟอย ทูตสหรัฐฯ คนใหม่ มีประวัติการทำงาน
โชกโชนร่วมกับซีไอเอในการสนับสนุนนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯไห้บรรลุเป้าหมาย
ผ่านการสนับสบุน'ให้พ.อ. คาร์ทอส คาสดิลโล-อามาส (Carlos Castillo-Armas) ทำ
รัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลฝ่ายซ้ายของประธานาธิบดีจาโคใบ อาร้เบนช์ ภูซแมน (Jacob0
Arhenz Guzman ) แห่งกัวเตมาลา ( Wise and Ross ไ 974 , 170) ดังนัน การที

( 30 มิคุนายน - 10 สิงหาคม 2497 ) ; สยามมกร , 4 กรกฎาคม 2497 ; ฒ, 26 นคุนาขน 2497 .


คณะเสfนาธการท!ปด้วยมีพถ .'ท , สูทจี้ สุเทธ (ทรรณกร พล .ร ต . หลวงวิเชียรนาวา น-ท. ทวิ จุลถะทวัพย้
1
,

พ . อ . ชาดีชาย ชุณหะวัณ และ พ .ท . อนันต์ พิบูลสงคราม


,


NARA, HG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4190, K . B . Anderson to
j
(1

Sarit , 19 July 1954. "


37
จอห่น ร- พิววิฟอย (John E. Peurifoy) ( 2440- 2498 ) มีฉายาว่า "Smiling Jack ” จบการ
ศึกษาด้านการบริหารจุรกิจจากมหาวิทยาลัยอเมริกัน และกฎหมายระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัย
จอร์จวอชิงตัน วับราชการในกระทรวงการต่างประเทศตงแฅปี 2471 เคยเป็นเอกลัครราชทูตประจำกริซ
( 2493 ) กัวเตมาลา ( 2496 ) เป็นนักการทูตสายเหยี่ยวผู้ที่มืบทบาทส์ากัญในการปฏิบดงานร่วมกับ
ซีไอเอในการโค๋นล้มรฐบาลถูฃแมนในกัวเตมาลา ต่อมาได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเอกอครราชทูตประจำ
ประเทศไทย แสะเสียชิวิคจากจุบรเหตุ ( 15 สิงหาคม 2497 - 12 สิงหาคม 2498 ) (หจช. [3 ] สร
0201.16 / 9 เอกสารสืาบักนายกร5 มนต ริ เรื่อง ทูตอเมริกันประจำประเทศไทย 130 ธันวาคม
,

2496 - 14 คุมภาพันธ์ 2501 ]) ; Wise and Koss 1974, 170).


1

142
ร:;
'

WEI?. ii
^ ะ :":

!
รุ

: ะ:

MSI _
Pfc เสเ
m

BEfipi

- d

วลเลยม เจ. โคในแวน เอกอัครราชทุตสทรัฐ‘'เประขำประเทศไทย (สิงหาคม 2496 - รงหาคม 2497 )


£ =1

ได้รับมอบหมายภารกิจจากประขานา?บดีไอเซนอาวร์ไท้สว้าง “ป้อมปราการ" ต่อต้านคอมมิวนิสต์


ขึ้นในไทย ใคยเาทเป็นผู้ริเริ่มสำคัญไนการเสนอแผนสงครามจิตวิทยาต่อไทย
ขุนลึก ศักดินา และพญาอินทวี

สหรัฐฯ ตัดสินใจเลือกนักการทูตสายเหยี่ยวตั้งแต่ใดโนแวน อดีตหัวหน้าโอเอสเอส ต่อ


ต้วยพีวริฟ่อยเข้ามาประจำการในไทยนั้น ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯ ด้องการบรรลุ
ภารกิจที่สำคัญยิ่งในภูมิภาคและในไทย
เมื่อสหรัฐฯ เป็นดั่งแหล่งชุมทรัพย์ในการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง พล.ต.อ.
เผ่า ศรียานนท์ และคณะของเ‘พาก็ได้ออกเดินทางไปยุโรปและมืเป้าหมายที่สหรัฐอ ( 20
ตุลาคม - 12 ธันวาคม 2497 ) เช่นกัน^ พล.ต.อ. เผ่าเดินทางไปพบนอนไฑนึ อีเดน
( Anthony Eden ) รมว. ต่างประเทศอังกฤษ จากนั้นเดินทางต่อไปยังสหรัฐฯ เพื่อ
พบประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ จอห์น ดัลเลส รมว . ต่างประเทศ อัลเลน ดัลเลส
ผู้อำนวยการซีไอเอ วอสเตอร์ โรเบิร์ตสัน (Walter Robertson) รมช. ต่างประเทศ
ฝ่ายตะวันออก!กล แอนเดอร์สัน รมช. กลาโหม โดโนแวน อดีตทูตสหรัฐฯ ประจำ
ประเทศไทย และฮาโรลด์ อี. สแตสเสน ( Harold E . Stassen) ผู้อำนวยการ FOA
(United States Foreign Operations Administration ) เพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่ม
ให้แก่ไทย
ในการสนทนากับพล.ต.อ. เผ่านั้น ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์กล่าวว่า ไทยเป็น
มิตรทีดีกับสหรัฐฯ ดังนั้น สหรัฐฯ จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือไทยด้วยความเห็นอก
เห็นใจยิ่ง และกล่าวเสรีมว่าการปฏิบตงานระหว่
ั างไทยกับสหรัฐฯในประเทศไทยนั้น
เขาไต้รับทราบจากโดโนแวน อดีตทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยเสมอ3" ส์วนจอห์น
ดัลเลส รมว. ต่างประเทศ ไต้แจ้งว่าสหรัฐฯ ต้องการช่วยเหลืออินโดจีนโดยตรงไม่ต้อง
ผ่านฝรั่งเศสอีก และโน้มน้าวให้ไทยเข้าร่วมสนธิสัญญาร่วมป้องกันเอเชียตะวันออก
เจียงใด้ที่จะลงนามที่กรุงมะนิลา โดยสหรัฐฯ พร้อมจะให้ความช่วยเหลือทางการทหาร
การเมือง และเศรษฐกิจแก่ประเทศไทยต่อไป4" หสังจากนั้นพล.ต . อ. เผ่าได้เข้าพบ

'
คณะของพล.ต .อ . เผ่า ศรียานนท์ ประกอบด้วย พ .ต.ท . ธนา ใปษยานนท์ พ .ต .ต. สุนิตย์ ปัฌย-
าณิช ร.ต.ท. พิชิต วิชัยธนพัฒน์ ส.ต.อ. สามารถ ชลานุเคราะห์ ปัวย องภากร(น และประพนธ บุนนาค
ทชิช. ( 2 ) กต 14.3/ 26 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์
เข้าพบบุคคลสำคัญของสหรัฐอเมริกา (4-14 พฤศจิกายน 2497) รายงานการสนทนาของพล .ต.อ. เผ่า
ศรียานนท์ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2497 ; หจช. กค 0301.9/8 เอกสารกระทรวงการคลัง เรื่อง ขอ
ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา (9 พฤศจิกายน 2497 - 14 ธันวาคม 2498).
11
หจช. ( 3) สร 0201.20. 1.1/8 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเดินทางไปต่างประเทศ
ของ นายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ( เพื่อเยี่ยมเยึยนบุคคลสำคัญของประเทศต่างๆ ฏีอาท
อังกฤษ อฌรีกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก อิตาลี ) เพื่อติดต่อเจรจาเกี่ยวคับภาระกิจสำคัญอันเป็นประโยชน์

144
ถนนทุกสายม่งสู่สหรัฐอเมวกา

ดัลเลน คัลเลส ผู้อำนวยการชีไอเอ และร้องขอให้สหรัฐฯ เพิ่มความช่วยเหลือตามที่


ร้องขอ คัลเถสกล่าวว่า “ สหรัฐฯ จะสนับลา.ณทุกอย่างและพอใจในผลงานที่ไทย
ล้ปฎบัตมา และไม่มีประเทศใดแข็งแกร่งเท่ากับไทย '' สุดท้าย พล . ต .อ . เผ่าเข้าพบ
J
41

โดโนแวน อดีตทูตสหรัฐฯ เพื่อทาบทาฆให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจให้


รัฐบาลไทย 4-' ใดโนแวนไต้แนะน่าให้เขารู้จักบุคคลสำคัญทางการเมือง เช่น พล .ร . อ .
เบอร์เกน (Bergen ) เพื่อนสนิทของ รมช. กลาโหมและสมาชีกสภาคองเกรสอีกหลาย

แก่ประเทศชาดิบางประการ ( 29 ตุลาคม 2497 - 7 เมษายน 2498 ) บันทกการพบและสนทนากับ


นายดัลเลส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประททศอเมรีกัน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2497 ;
รายงานเดินทางฉบับที่ 5 พล.ต.อ. เผ่า ศรีขานนท์ ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง วันที่
16 พฤศจิกายน 2497 ; หพ. กค 0301.9/8 .
11 หจช. (3) กต 0201.20.1.1/8
1
รายงานเดินทางฉบับที่ 3 พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ถึง เลขาชิการ
คณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 7 พฤศจิกายน 2497 ; หจช, ทค 0301.9/8.
เมื่อโดโนแวนพนจากดำแหน่งทูตสหรัฐฯ แล้ว รัฐบาลไทยได้ด้งโคโนแวนเป็นที่ปรกษาทั่วไป
12

ของรัฐบาลในทางกฎหมายและเศรษฐกิจให้ปฏินัต็ทนัาที่ในสหรัฐฯ เขารับตำแหน่งนื้ด้วยความเต็มใจ
แต่ไม่รับค่าดอบแทนประจำคำแหน์ง นอกจากค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ( สยามนกร, 19 ธันวาคม
2497 ) ในบทบรรณาธิการพฆฟ้กิไต้เซียนประชดประชันว่า ส์านักงานที่ปรึกษาของไทยนี้มิได้ด้ง
ไนไทย แต่ด้งที่สำนักงานของโตโนแวนในสหรัฐฯ และทลาย!) ที่ผ่านมาสหรัฐฯได้ให้ความช้วยเหลือ
ไทยทุกอย่างด้งแต่การทหาร อาวุธ ทางด้านเศรษฐกิจไทยสํงวัตธุต็บไปขายสหรัฐฯ แต่ต้องซื้อสินคา
อุตสาหกรรมของสหรัฐฯกลับมา ตลอดจนการทำสงครามจิตวิทยาผ่านยูซ็ส ( USIS) ทางสื่อต่างๆ
เช่น หนังสือ ภาพขนตรี ( ทนห !ทย , 19 ธันวาคม 2487) ด้ายเหตุที่โคไนแวนรับตำแหน่งที่ปรึกษา
ทเงเศรษฐกิจให้กับไทย พวรีฟอย ทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยคนใหม่ ไม่เหินด้วยที่เขารันตำแหน่ง
กังกล่าว ส่อมา จอห์น ดัลเลส รมว . ต่างประเทศ [ด้นจ้งให้ประธานาธิบดีไอเซนสาวรีทราบว่า
ไดโนแวนยอนเป็นคัวแทนให้รัฐบาลไทยด้วยค่าจ้าง 100,000 ดอลลาร์ต์อปื โดยประธานาธิบดี
ไอเชนอาวรีแสคงความไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของโดโนแวน (NARA, RG 59 Central Decimal
-
File 1950 1954 Box 5625, Peurifov to Secretary of State, 22 December 1954 ; The
Dwight D. Eisenhower Library, Paper of John Foster Dulles 1951 -1959, Wbite Flouse
Memorandum Series Box 1, Memorandum of Conversation with The President,
4 April 1955 ; หจช , กฅ 81.35/50 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง ด้งนายพลใดโนแวน
เป็นที่ปรกษาสภาเศรษฐกิจแห่งชาดี [พ.ศ.2497-2498] หนังสือกระทรวงการคลังจาก เภา บรีภัณฑ์-
อุทธกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 21
มกราคม 2498 ) . รัฐบาลได้โอนงบประมาณให้กับสถานทูตไทยประจำวอชงคันดี . ซี. จำนวน
500,000 ดอลลาร์ เอกสารระบุว่า ค่าใช้จ่ายไนราชการลับ (หจช. กต 81.35/50) .

145
ขนศึก ศักดินา และพญาอินทวี

คน โดโนแวนแจ้งว่าเขาได้ประสานงานให้ประธานาธิบดีไอเซนอาวร์ทราบความต้องการ
ของรัฐบาลไทยแล้ว สำหรับความช่วยเหลือทางการทหารนั้น รมช. กลาโหมจะให้ความ
ช่วยเหลือรัฐบาลไทยไห้!ด้มากที่สุด 11
'

ต่อมา คอ!ค!นนสด์ ฉบับต้นเดือนพฤศจกายน 2497 ไต้รายงานข่าวการ


เดินทางเยอนต่างประเทศและพบปะคณะผู้บริหารของหลายประเทศของ พล.ต.อ. เผ่า
ศรียานนท์ ว่าเป็นการเปีดตัวของผู้ปกครองที่แท้จริงของไทย ( The Economist , 6
November 1954 ) ต้นเดือนธันวาคมในระหว่างที่ พล.ต.อ. เผ่าอยู่ที่สหรัฐฯ เขาได้
กล่าวปราศรัยผ่านวิทยุเสียงอเมริกา (VOA) มายัน่ทยเพื่อรายงานถึงการเข้าพบบุคคล
สำคัญของสหรัฐฯ หลายคน เช่น ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ โดไนแวน และนักธุรกิจ
ที่เคยเกี่ยวข้องกับไทย และกล่าวว่าประธานาธิบดีไอเซนฮาวรั!ด้แนะนำให้เขารู้จัก
^
บุคคลสำคัญทลายคน ( ศรีท ง , 11 ธันวาคม 2497 ; เช้า , 13 ธันวาคม 2497) เมื่อ
พล.ต.อ. เผ่าเดินทางถึงไทย เขาประกาศถึงความสำเร็จในการเดินทางไปขอความช่วย
เหลือจากสหรัฐฯ ว่าสหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือทางเศรบฐกิจแก่ไทยจำนวน 28 ล้าน
ดอลลาร์ภายใน 6 เดือน และสหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธแก่กองอาสารักษา
ดินแคนเป็นจำนวนมาก โดยสหรัฐฯ มีเป้าหมายว่าจะแกอาสาสมัครป้องกันตนเองให้
ได้ 120,000 คน ใน 40,000 หมู่บ้านต่อไป'*4 1
อย่างไรก็ตาม ปัญหาจากการที่พล.ด.อ. เผ่า ศรียานนท์ และ พล. อ. สฤษดิ้
ธนะรัชต์ แข่งขํนักํนเพื่อช่วงชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ยังโค่นล้มคันไม่ได้ยังคงถูท
รายงานต่อประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ไม่สามารถควบคุมกลุ่มตำรวจและกล’มทหารได้ ในรายงานเห็นว่า กลุ่มตำรวจของ
พล.ต.อ. เผ่าจะต้านทานความแข่งแกร่งของกลุ่มทหารของพล.อ. สฤษด้ใด้ยาก และแม้
ทั้งคู่จะขึ้นมามีอำนาจด้วยการวางตัวกักขฬะ แต่พวกเขาก็ยังสนับสนุนรัฐบาลจอมพล ป.

48 หจช. ( 3) สร 0201.20.1.1 /8 รายงานเดินทางฉบับที 3 พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ถึง เลขาธิการ


คฌะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 7 พฤศขิกายน 2497 . I
44
ข่าวพ78?V0 , 12 จัน ทคม 2497 ; NARA, RG 469 Entry Thailand Subject Files 1950-
1954 Box 35, Donovan to Secretary of State, 22 July 1954 ; The Dwight 1). F.isen-
hower Library* Paper as President of United States I 953-1%1 (Ann Whitman File 1
Box 4, NSC Summary of Discussion, Potential Political Difficulties for the United
States Inherent in Supplying Arms to the Thai National Police and Army , 2d
December 1954. j

146
ถนนทุกสายมุ่งสู่ศหรฐอเมวกา

ส่อไป โดยสหรัฐฯมีแผนให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่กลุ่มทหารและกลุ่มตำรวจ
จำนวน 80,000 คน โดยแยกความช่วยเหลือแก่กลุ่มตำรวจจำนวน 43,000 คน ให้
?ามารถปฏิบัติหน้าที่ตามแนวชายแดนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้
.เละสำหรับกลุ่มทหารจำนวน 37 ,000 คน จะเห็นได้ว่าสหรัฐฯ ยังคงให้การสนับสนุน
ทั้งสองคนให้มีบทบาทสำคัญในการเมืองไทยต่อไป4 ๆ

4 โ:
NAFtA, HG 469 Entry Thailand Subject Files 1950-1954 Box 35 , Donovan to
Secretary of State , 22 July ไ 954 ; The Dwight D. Eisenhower Library, Paper as
President of United States 1953- 1961 ( Ann Whitman File) Box 4, NSC Summary of
Discussion , Potential Political Difficulties for the United States Inherent in Supplying
.Arms to the Thai National Police and Army, 20 December 1954 ; Library of Congress,
CK 3100007533, 20 December 1954, Potential Political Difficulties for the United
States Inherent in Supplying Arms to the Thai National Police and Army .

147
- -

ร mt อยท) ตองส์ทค) อมมนส์


‘ย ต ่
ตัวอย่างโปสเตอร์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ พ. ศ, 2497 ซี่งเป็นวัตสุทางอุดมการฟ้ที่tmรัรฯใช้ในการทำ
สงคฑมซิฅวิทยาต่อต้านคอมมิวนิล,ดในไทย (ภาพจาก หชิจดหมายเหตุแฟงชาดี)
บทที 6
ใกล้ยามเมื่อแสงทองส่อ'0
สหรัฐฯ ฑบแผนสงครามจิฅวิทยาต่อต้านคอมมิวนิสต์

สหรัฐฯ กับการต่อต้านคอมมิวนิสตในไทย
นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของประธานาธิบดีไอเซนราวร!ม่เพียาให้ความ
1

สำกัญกับความช่วยเหลือทางการทหารเท่านั้น แต่ยังให้ความสำกัญอย่างมากกับการ
ใช้ยุทธศาสตร์โฆษณา 'ชวนเชื่อ ( Psychological Strategy ) คู่ขนานกันไปด้วย
เนองจากคณ
A
ะที่ปรึกษาของเขาตระหนักว่าสงครามเย็นเป็นดั่งการแข่งขันท่าสงคราม
จิตวิ Vเยาและสงครามอุดมการณ์๙ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการต่อลัจ ดจ จเดียวกับการใช้กำลัง
!

ทางการทหารและเศรษฐกิจ ต่อมาคณะกรรมการประสานปฏิบัติการ (Operations


Coordinating Board : OCB) ก็ถูกจัดตั้งขึ้น หน่วยงานนี้รับผิดชอบแผนปฏิบัติการ
โฆษณาชวนเชื่อและปฏิบัติการทางการเมืองอย่างลับ ๆ กว่า 50 แผนการในยุโรปและ
ประเทศโลกที่สามซึ่งเป็นพันธมิตรกับโลกเสรี ส่งผลให้ในช่วงเวลาดังกล่าวสหรัฐฯได้เช้า
แทรกแซงการเมืองภายในประเทศต่าง ๆ อย่างมาก รวมทั้งการขยายงานด้านปฏิบัติการ
ลับด้วยการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสร้างความรับรู้เรื่องภัยคอมมิวนิสต์คุกคามโลก 1

1 Osgood (2001 ) ; McCoy ( 2006, 24- 25 ) . ในปี 2494 ประธานาธิบดทรูแมนได้ตงคณะ


กรรมการยูทธศาสตร์ด้านจิตวิทยา (The Psychological Strategy Board : PSB ) มีหน้าที่
ประสานงาน วางแผน แสะชัดทำขาวโฆษณาชวนเชื่อให้กับรัฐบาล หน่วยงานนอยูภายไตการดูแล
ของผู้อำนวยการซีไอเอ ไนยุคประธานาธิบดีทฐแมนนั้น ลาธารณชนแทบไม่ได้ล่วง!ปฏิบัติการลับ
ของสหรัฐฯ เชน การที่ชีใอเอได้ชัดอบรมบัภจิตวิทยาสหรัฐคชิานาน 200 คน เพื่อส่งไปปฏิบัติการ
ฑั๋วโลก (พบาร์เกอร์ 2507, 397-400; Rositzke 1988, 154-56)*
ชุนคิก ศกคนา และพญาอินทรี

นโยบายของประธานาธิบดีไอเซนยืาวร์ทำให้อ้ณลน ลัลเลล' ผู้อำนวยการซีไอเอ


ไนฐานะหน่วยงานสำคัญที่รับผิดชอบปฏิบัติการลับของสหรัฐฯ ประกาศว่าสหรัฐฯ มี
นโยบายต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ด้วยสงครามจิตวิทขทํ คณะกรรมการประสานปฏิบัติการ
(OCB) ไต้วางแผนให้ใช้ผู้นำของประเทศเป้าหมายที่มีฐานะเป็นศูนย์กลางของความ
เชื่อเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการทำสงครามจิตวิทยาผ่านวัตถุทางอุดมการณ์ เช่น ส่งพิมพ์
หนังสือ และภาพยนตร์ เป็นต้น ( Osgood 2001, 289- 307 ; ไลน์บาร์เกอร์ 2507,
301-15 ) ทั้งนี้ที่ผ่านมากลไกของซีไอเอในสํวนที่ทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ได้
พยายามสร้างกระแสการรัฆเในสังคมให้หวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์ผ่านวรรณกรรมที่
เป็นวัตถุทางอุดมการณ์ เช่น เอ็ดวาร์ด สันเตอร์ ( Edward Hunter ) นักหนังสือพิมพ์
ไมอาปีเดลินิวส์ ( Miami Daily News) ได้เขียนบทความที่ต่อมาพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ
Brain Washing in Red China เขาเห็นว่างานเขียนของเขาคอปฏิบัติการสำคัญต่อ
จนเมื่อคอมมิวนิสต์เข้ายึดครองจีนได้สำเร็จ เพื่อหำให้ประชากรทั้วใลกเกลียดชัง
คอมมิวนิสต์ เขาเรียกปฏิบัติการนี้ว่า "สงครามจิตวิทยา ” ที่จะมีผลเหลือคณานับเสืย
ยิ่งกว่าปฏิบัติการทางทหารในอดีตที่ผ่านมา ต่อมางานชึ้นนี้ถูกดีพิมพ์เป็นภาษาไทยใน
ชื่อ ล้างสมองไนจืนแคง โดยพิมพ์จากนิวยอร์กแล้วนำเข้ามาเผยแพร่ไนไทย (Hunter
1951 ; ลันเตอร์ 2494) ต่อมาไนปี 2496 ในสมัยประธานาธิบดีไอเชนอาวร์ งานด้าน
โฆษณาชวนเชื่อไต้ถูกผนวกเป็นงานของคณะกรรมการประสานปฏิบัติการ โดยคณะ
กรรมการชุดนี้ปฏิบัติงานกายใต้สภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ National Security
Council ะ NSC) มีปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เป็นประธานฯ และกรรมการ
คนอื่นๆ เช่น ผู้อำนวยการซีไอเอ ปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้อำนวยการยูซีส
(United States Information Service ะ USIS) (ไลน์บาร์เกอร์ 2507, 397-400 :
Rositzke 1988, 154-56)
เมื่อสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ อนุมัติให้ใช้แผนสงครามจิตวิทยาสำหรับ
-
ประเทศไทย (PSB D23) ในต้นเดีอนสืงหาคม 24963 ในปลายปีนั้นเองโครงการ

2 ความทมายของคำว่า สงคราม ชิ1 ต7ทยา ในปี 2497 กอ สงครามขีดวิทยาประกอบด้วยการไช


การโฆษณาชวนเชี่อที่ได้วางแผนไว้แลว รวมนั้งกระบวนการการไชขาวสารที่สัมพันธ์กับการ
โฆษณาชวนเชอในเรองนั้น ใดยมวัคถประสงค์ที่จะจูงใจความฅดเทน อารมณ์ ทัศนวิสัย และ
พฤคกรรมของข้าศึกทรอกลุ่มต่างด้าวอื่นๆในแนวทางสนับสนนให้เกิดสืมฤทธิผลแกิประโยชน์นฟ่ง
ชาต็ ฅ่อเป็าทมายหรอภารกิจทางการทหารของสทวัฐฯ ( ไลน์บาร์เกอร์ 2507 , 400).
,

:: คเอกสารฉบับแปลเป็นภาษาไทยไน คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านชิตวิทยา ( 2554, 135-66 ) ;


'

150
ใกล้ยามเมี่อแสงทองส่อง

ศึกษาลักษณะทางสังคมไทบอย่างเปีนระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบาย
ส่อด้านคอมมิวนิสต์ไนใทยของสหรัฐฯ ก็เริ่มดันขึ้น โดยสหรัฐฯ ส่งสูเซียน เอ็ม . แฮงส์
( Lucian M . Hanks) ผู้อำนวยการสดาบันวิจัยฯ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนลเข้ามาทำ
วิจัยเกี่ยวกับทัศนคติและความเชื่อของชุมชนเกษตรกรบางชัน มีนบุรี เป็นด้น4 รวม
ทังการเช้ามาสำรวจทัศนคติของคนไทยเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์โดยมหาวิทยาลัยจอร์ปี
วอชิงตันในพื้นที่กรุงเทพฯ ภูมิภาค และเขตชายแดน โดยร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัยและกระทรวงวัฒนธรรม นทอดไทย , 1 กันยายน 2497 ) ต่อมาโดโนแวน
ทูตสหรัฐฯ แนะนำให้รัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงครามจัดตั้งคณะกรรมการขนมาชุดหนี่ง
ทำหน้าที่พัฒนาสงครามจิตวิทยาร่วมกับสหรัฐฯเพื่อดำเนินการต่อต้านคอมมิวนิสต์ใน
ไทยผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ และการอบรมความรู้ โดยให้วัด มหาวิทยาลัย กลุ่ม
เยาวชน กลุ่มวัฒนธรรม ข้าราชการ และกองทัพเป็นกลุ่มเป๋าหมายร่วมมือกับสหรัฐฯ
ในการต่อด้านและหาข่าวเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ในไทย 5
ในสายตาของสหรัฐฯ ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสที่สมรภูมิเคียนเบียนฟูเป็น
ความอับอายที่จะมีผลทำให้ประเทศโนเอเชียหันไปมีนโยบายให้การสนับสรทเ
คอมมิวนิสต์แทน สหรัฐฯจึงมีนโยบายสกัดกั้นแนว โน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทุก
,

วิถึทาง ต่อมาสหรัฐฯ ผลักดันให้มีการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชีย

I
I “ Memorandum of Conversation at the 161 รใ Meeting of the National Security,
9 August 1953/ in Foreign Relations of the United States 1950 Vol. 6 (1976b, 685) ;
The Dwight D. Eisenhower Library, White House Office, Office of the Special As-
sistant for National Security Affaire : Record 1952-1961 NSC Series, Briefing Notes
Subseries Box 16, File : Southeast Asia (1953-1961), บ.ร, Psychological Strategy
based on Thailand , ร September 1953 ; Memorandum for General Smith-Chairman
of Operations Coordinating Board from Robert Cutler -Special Assistant to the
President, 10 September 1953.
5
หจช . มท. 0201.2.1/375 เอกcm สำนักงานปลัคกระทรวงมหาดไทย เรอ 4 ไครงการศึกษา
0บรมระเบียบวิธีและการปฏิบดีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม (พ.ศ. 2496) ส์าเนาคำเชญชวน ใบ
สมัครไครงการศึกษาอบรมระเบียบวิธี และการปฎบัดีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม จากนายลูเข็ขน
เอม แรงค์ ผู้อำนวยการสถานวิจับ ม. คอรณล กรุงเทพฯ ถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย จันท 30
-
พฤศจกายน 2496 ; ดูรายสะเอียดใน นกมธุ[ข (2528ข , 57 66) และ อานนท์ (2538, 308-47) .
5 «
Parson to The Secretary of States, the Charge in Thailand , 7 December 1953, ”
in Foreign Relations of the United States 1952- 1954 Vol 12 (1987, 698 ) .

151
ขุนศึก ศักดินา แลรพญารนทรี

ฅะวํนออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty SEATO) หรือซีโตั'


Organization :
เพือสร้างความมันไจให้เกิดขึ้นโนภูมิภาคอีกครั้ง ลย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ เห็นว่าช่วง
เวลาดังกล่าวเป็นสุญญากาศของอีทธิพลทางการเมืองระหว่างประ[ทศ ซึ่งจะมีผลทำให้
คอมมิวนิสต์มีโอกาสสร้างบรรยากาศของความรู้สึกเป็นกลางขึ้นเพื่อสกัดกั้นการขยาย
อิทธิพลของสหรัฐฯ ในภูมิภาค และสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้ไทยเปลี่ยนนโยบาย
จากการสนับสนุนสหรัฐฯ ไปสู่นโยบายที่เป็นกลางด้วยเช่นกัน7
ต่อมาสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ รายงานว่า อิทธิพลของคอมมิวนิสต์ใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใด้มีความเข้มแข็งมากขึ้น สหรัฐฯ จึงตัดลิ'น'ใจ'ให้การ
สมบสนุนทางการทหารและเศรษฐกิจแก่ไทยต่อไป เพื่อไห้ ! ทยมีความเข้มแข็งและมิ
เสถียรภาพทางการเมือง และทำให้นโยบายที่ต้องการทำให้ไทยเป็นจุดเน้นพิเศษใน
ปฏิบัติการลับและปฏิบัติการสงครามจิตวิทยา'ในเอเชียตะวันออกเฉียง'ใต้ของสหรัฐฯ
ดำเนินต่อไปได้s ทั้งนื!้ นช่วงเวลาดังกล่าวมีรายงานลับหลายฉบับเสนอไห้ประธานาธิบดี
ไอเฃนฮาวร์มีท่าทีที่แข็งกร้าวในปฎิบับตั ิการลับทางจตวิทยา รวนทั้งการสนับสมุนให้
สหรัฐฯ เข้าไปจัดตั้งองค์กรทางการเมืองและกองกำลังกึ่งทหารเพื่อทำลายศัตรูของ
สหรัฐฯ (Rositzke 1988, 155)

จากความล้มฌสวสู่โอกาสใหม่ในยุคสงครามเย็น
ควรบันทึกด้วยว่า สถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์ได้เข้ามามีบทบาท
ทางการเมืองตังแต่ต้นทศวรรษ 2490 แม้พวกเขาจะมีความได้เปรียบในการทำหน้าที่
สถาปนิกทางการเมืองด้วยการร่วมร่างรัฐธรรมนูญถึง 2 ฉบับ คือ ฉบับ 2490 และ
2492 ซึ่งพวกเขาหวังว่าผลจากรัฐธรรมนูญ 2492 หรือรัฐธรรมนูญรอยัลลิสต์ที่ถูกสร้าง
ขึ้นใหม่นั้นจะสร้างความมั่นคงทางการเมืองให้กับพวกเขา แต่สถานการณ์การเมืองก็

ซีโค้เป็นองค์การที่ก่อตังขึ้นคามสนธิสัญญามะนิลา ลงนามเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2497 เน กรูง


fl

มะนิลา ฟิลิปปินส์ และมีผลบังคับใช้เมื่อ 19 กุมภาพ้นธ์ 2498 ในช่วงสงครามเย็นมีประเทศสมาชิก


จำนวน 8 ประเทศ คือ สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ไทย และ
โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรูงเทพฯ มีพจน์ สารสิน ดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปคนแรก
ฟิลิปปินส์
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), ClA- RDP80R01443H0003000100 U)-8.
4 August ใ 954, “ Probable Post-Geneva Communist Policy /
8
NARA, RG 84 Box 2 , Top Secret General Record 1947 - 1958 , National Policy
I
Approved on 20 August 1954 in Connection with a Review of บ . ร. Policy toward
the Far East.

152
ใกล้ยามเมื่อแสงทองส่อง

มิโต้เป็นอย่างที่พวกเขาหวัง เมื่อรัฐบาลควง อภัยวงค์ ที่พวกเขาไห้การสนับสนุนถูก


คณะรัฐประหารบังคับให้ลงจากอำนาจ (ปี 2491) ตามด้วยการเข้าไปเกี่ยวข้องกับกบฏ
แมนรัตดัน (มิถุนายน 2494) ที่ล้มเหลว และรัฐธรรมนูญที่พวกเขาฝากความหวังไว้
ก็ถูกรัฐประหารโค่นล้มลง (ปลายปี 2494 ) ทั้งหมดนี้มีผลทำให้พวกเขาต้องหันกลับ
;.|าทบทวนวิธีการต่อสู้ใหม่แทนการปะทะโดยตรงกับรัฐบาล ดังที่พระองค์เจ้าธานีน็วัต
ประธานองคมนตรีและแกนนำสำคัญ'ของสถาบันกษัตริย์ เคยเปิดเผยต่อทูตอังกฤษ
เมื่อปี 2495 ว่าพวกเขากำลังแสวงหาหนทางในการต่อสู้ทางการเมืองแบบใหม่''
กระ,นั้นก็ดี ในกลางปี 2496 สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่า ในช่วงดังกล่าวเกิด
กระแสข่าวความเคลี่อนไหวของกลุ่มรอยัลลิสต์ที่เตรียมก่อการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาล
จ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯจึงสอบถามเรื่องดังกล่าวจากพระยาศรีวิสารวาจา องคมนตรี
เกนน่าสำคัญอีกคนหนึ่งของสถาบันกษัตริย์ รายงานฉบับนี้ระบุว่า พระยาศรีวิสารวาจา
แสดงอารมณ์โกรธและปฏิเสธแผนการดังกล่าว พร้อมกล่าวว่าการพยายามก่อการ
รัฐประหารนี้เป็นข้อกล่าวหาจากรัฐบาลจอมพล ป.10 อีกไม่กี่วันต่อมา ซีไอเอรายงาน
กระแสข่าวที่พวกเขาไต้รับรู้นี้กลับไปยังวอชิงตัน ดี. ซี. ว่าสถาบันกษัตริย์ไห้การ
สนับสนุนการเตรียมการก่อการรัฐประหาร และไนรายงานวิเคราะห์ว่า หากข่าวนี้เป็น
ความจริง จอมพลป. อาจจะขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแสดงความรับผดชอบ
อย่างใดอย่างหนึ่ง , ' อย่างไรก็ตาน สุดท้ายแล้วการเตรียมรัฐประหารของกลุ่มรอยัลลิสต์
ที่รัฐบาลล่วงรู้ฆานี้มิได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด
อาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลจอมพล ป. กับสถาบันกษัตริย์และ
กลุ่มรอยัลลิสต์ไนช่วงทศวรรษ 2490 าณมืลักษณะไม่ราบรื่น เดยทั้งสองฝ่ายต่าง
หวาดระแวงซี่งกันและกัน นอกจากนี้ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ
นิวัตพระนครเป็นการถาวรในปลายปิ 2494 พระองค์มืบทบาทในการคัดค้านการ
ดำเนินงานของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ จนอาจกล่าวได้ว่าพระองค์กลายเป็นผู้น่าที่มึ
บทบาทสำคัญในฐานะแกนกลางของพลังต่อต้านรัฐบาล เช่น ทรงไม่รับรองการ
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่หลังการรัฐประหาร 2494 ทวงไม่เสด็จเข้าร่วมการเฉลิม

° NA, F0 371/ 101168, Chancery to Foreign Office, 21 July 1952 *

10
NAHA , HG 59 Central Decimal File 1950 - 1954 Box 4187 , Memorandum of
Conversation, Phya Srivisarn, George M . Widney , 1 September 1953 .
11
NARA, CIA Records Search Tool ( CREST), CIA-RDP79R0089GA0001000S0021 - 5,
9 September 1953, 'Thailand . ' ’

153
ชุนศึก สักคนา และพญาอนทรื

ฉลองการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 แก้ไข 2495 (มีนาคม 2495) และทรงไม่ยอมลง


พระปรมาภิไธยประกาศไช้พระราชบัญญัตที่มุ่งปฏิรูปที่ดินของรัฐบาล (TJ 2496 ) ซึง
จะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของสกาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์ ทั้งนี้จาก
หลักฐานบันทึกการสนทนาระหว่างพระยาศรีวิสารวาจา องคมนตรี ในฐานะที่ปรกษา
ของพระมหากษัตริย์ กับเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ เขาได้แสดงความเห็นคัดคานว่า
ประเทศไทยไม่จำเปืนต้องมีกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพราะไทยไม่มีปัญหาการขาดแคลน
ทดน การแสดงทัศนะดังกล่าวของที่ปรึกษาส่วนพระองค์อาจสะท้อนให้เห็นถึงทัศนะ
12

ของสถาบันพระมหากษัตริย์และกลุ่มรอบัลลิสต์โดยรวมที่มีท่าทีคัดด้านการดำเนินการ
ของรัฐบาลจอมพลป. ในการปฏิรูปที่ดินได้เป็นอย่างดี ความพยายามต่อต้านรัฐบาล
ดังกล่าวส่งผลไห้รัฐบาลไม่ไว้วางใจและมีการควบคุมกิจกรรมของพระมหากษัตริย์
สถานทูตอังกฤษรายงานสถานการณ์ว่า ในช่วงเวลานั้นพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวปรากฏพระองค์ต่อสาธารณะน้อยครั้ง ทรงเคร่งขรึมและพยายามควบคุม
บุคลิกภาพให้เป็นไปตามจารีตประเพณีเพื่อให้เกิดควานเคารพจากประชาชน ’ สถาบัน '

กษัตริย์และกลุ่มรอบัลลิสต์เริ่มเปลี่ยนวิธีการต่อสู้กับรัฐบาลด้วยการหันไปสรัางพันธมิตร
กับสหรัฐฯ เพื่อแสวงหาการสนับสนุนทางการเมือง ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีใครปฏิเสธ
ได้ว่าสหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเมืองระหว่างประเทศ อีกทั้งแกนนำสำคัญหลาย
คนในสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอบัลลิสต์เป็นบุคคลที่เคยมีตำแหน่งสูงในทางการเมือง
และระบบราชการ และเคยมืสํวนร่วมกำหนดวิเทโศบายของไทย รวมถึงมีทักษะในการ
วิเคราะห์และมีความเข้าใจสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศเปืนอย่างดี จึงมีความ
เป็นไปไต้ที่พวกเขาจะเห็นช่องทางในสถานการณ์ระหว่างประเทศที่จะเอื้อประโยชน์ให้
กับพวกเขาไต้ เช่น พระยาศรีวิสารวาจา องคมนตรี อดีตปลัดทูลฉลอง และรมว.
ต่างประเทศ และม.ร.-ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำวอชิงตันดี. ชี.
'

อดีตนายกรัฐมนตรี รมว. ต่างประเทศ และรองหัวหน้าพรรคประชาธป้ตย์ ทั้งนี้คนแรก


มีฐานะเป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์ ส่วนคนหลังเป็นแกนนำ

NARA, RCi 59 Central Decimal File 1950 - 1954 Box 4187 , Memorandum of
Conversation ; Phya Srivisarn , George M. Widney, 1 September 1953. คูการศึกษา111
ประเด็นบทบาทของพระมทากษัตริย์ในช่วงเวลาลังกล่าวเที่มเต็มใน Kobkua (2003, 137- 55).
1

11 NA, F0 371 /112262, Wallinger to Foreign Office, “ Annual Report on Thailand

for 1953 , ” 4 November 1952. 1

154
ใกล้ยามเมื่อแสงทองส่อง

? นสำคัญของกลุ่มรอยัลลิสต์ จึงไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดที่พวกเขาจะสามารถคิด
ไก!โศบายของพวกตนต่อมหาอำนาจอย่างเช่นสหรัฐฯเพื่อไห้ได้ประโยชน์ทางการเมือง

I ด้ษังเห็ตรินย์กไต้ับจสหรัากในเวลาต่
'

อมาพวกเขาได้พยายามสร้างความสนิทสนมระหว่างสถาบัน
ฐฯ ขึ้น สถานทูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ รายงานเรองดังกล่าวว่า ในกลาง
I ปี 2496 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้จัดเลี้ยงอำลาตำแหน่งทูต์ให้กับสแตนตันเป็น
การส่วนพระองค์ โดยสแตนตันเล่าด้วยว่า พระองค์ทรงสนพระทยในความช่วยเหลือ
รากสหรัฐฯที่ให้กับไทยมาก ที่สำคัญสถานทูตอังกฤษได้ตั้งข้อสังเกตว่า ความใกล้ชิด
' ะหว่างพระองค์กับสหรัฐฯ ครั้งนี้ถือเป็นเรื่องไม่ปกติ "

I
I ฟ้เรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ต่อมาเมอสหรัฐฯ ประกาศแผนสงครามจิตวิทยาในไทยแล้ว โดโนแวน ทูต
สหรัฐฯคนใหม่ ผู้มืความคุ้นเคยกับการเมืองไทยเป็นอย่างดีเนื่องจากเคยร่วมมือกับ
ได้มีส่วนในการร่างแผนสงครามจิตวิทยาที่สหรัฐฯ
จะดำเนินการเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในไทย โดยเขาได้รับความไว้วางใจจากพระมหา
กษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง ได้รับโอกาสให้เข้าเฟิาเป็นการส่วนพระองค์หลายครั้งในช่วงเวลาที่
เขาดำรงตำแหน่งทูตสหรัฐฯ เพียงปีเดียว|:' เขาได้บันทกการเช้าเฝืาครั้งหนึ่งในเดือน
ตุลาคม 2496 ว่า พระองค์กระดือรือร้นที่จะมีบทบาททางภารเมือง แต่รัฐบาลจอมพล ป .
ใม่อนุญาตให้พระองค์มีบทบาททางการเมืองตามที่มีพระราชประสงค์ และเมึ่อเขาได้
เล่าถึงความช่วยเหลือทางการทหารแก่ไทยและการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของสหรัฐฯให้
พระองค์ทราบ พระองค์ทรงให้ความสนพระทัยในเรื่องดังกล่าวอย่างมาก ",
เกือบทุกครั้งที่โดโนแวนเดินทางกลับไปรายงานและรับทราบนโยบายของ
สหรัฐฯ ต่อไทยที่วอชิงตัน ดี . ซี. เขามักจะเข้าพบสนทนากับพระองค์เสมอ ทั้งนี้การ
เดินทางกลับไปสหรัฐฯ ครั้งหนึ่งในเดือนธันวาคม 2496 เขาได้เข้าเสาเป็นการส่วน
พระองค์ก่อนออกเดินทาง และที่วอชิงตัน ดี. ซี . เขาได้เสนอแนวคิดให้สหรัฐฯใช้การ

14NA, F0 37 ใ /106890, พhitteridge to Foreign Office , 10 July 1953 .


15 กองบรรณสาร กระทรวงการต่างประเทศ I 0402 - 344 202 511 0002 ขอความ mนชอบใน
- - -
การแต่งด้งนายจอห์น อี . เพอรฟอย เป็นเอกอัครราชทูตสfหรัฐณมรักาประจำประเทศไ™ วรรณไว -
ทยากร ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนฅ ร 31 มกราคม 2498 . โคโนนวนเข้าเสาครั้งแรกในเดือนตุสาคม

2496 ครั้งที่สองเมื่อวนที่ 3 ธนวาคม 2496 ครั้งที่สามเมื่อวันที่ 30 มกราคม ครั้งที่สี่เมื่อวันที่ 13


มีนาคม และครั้งที่ห้าเมื่อวันที่ 14 สงหาคม 2497
16
NARA, RG 59 Central Decimal Fite 1950-1954 Box 4187, Donovan to Secretary
of State, 17 October 1953.

155
ขนลึก ศทดินา และพญาอันทวึ

คุกคามสถาบันกษัตริย์เป็นประเด็นสำคัญของปฏิบัติทารสงครามจิตวิทยาในไทย
วอลเตอร์ สมิธ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเห็นด้วยกับข้อเสนอของเขา17 ต่อมา
เขาได้เสนอความคดต่อประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ว่า สถาบันกษัตริย์จะทำให้สหรัฐฯ
บรรลุแผนสงครามจิตวิทยาในการทำให้คนไทยต่อด้านคอมมิวนิสต์ได้ ซึ่งประธานาธิบดี
ไอเชนอาวร์เห็นด้วยกับแนวติดดังกล่าว และสั่งการให้เขาประสานแผนดำเนินการกับ
รมว. ต่างประเทศ 1 ในการกลับไปวอชิงตัน ดี. ซี. ครั้งนี้ เขาได้ผลักดันให้สหรัฐฯ ทุ่ม
'

งบประมาณจำนวน 150 ล้านดอลลาร์ในการทำสงครามจิตวิทยาผ่านสื่อต่างๆไนสังคม


,
ไทยเพื่อสร้างความมุ่งมั่นให้คนไทยร่วมในการต่อต้านคอมมิวนิสต์กับสหรัฐฯ ทันที,1

ที่เขาเดีนทางกลับมาถึงกรูงเทพฯ เขาไต้เช้าเสาพระองค์อีกครั้งเพื่อรายงานควานคืบหน้า
ของแผนสงครามจิตวิทยาต่อด้านคอมมิวนิสต์ไห้ทรงทราบ 20
การที่โดโนแวนในฐานะทูตสหรัฐฯ เสนอแนวคิดให้สหรัฐฯ ผลักดันให้สถาบัน
กษัตริย์เป็นแกนกลางในการดำเนินการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในไทยนั้นมิความ
สอดคล้องกับนโยบายของสหรัฐฯ เป็นอย่างยง เนี้องจากในขณะนั้นกรรมาธิการพิเศษ
ว่าด้วยภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เสนอชุดปฏิบัติการ
ทางการเมืองและการทหารที่กำหนดให้กระทรวงการด่างประเทศและซีไอเอดำเนินการ
สร้างแนวคิดทำให้คอมมิวนิสต์กลายเป็นภัยคุกคามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพื่อสร้างความหวาดวิตกให้กับประชาชนในประเทศเป้าหมายที่สหรัฐฯ จะทำสงคราม
จิตวิทยาต่อต้านคอมมิวนิสต์ ( The Pentagon Papers 1971, 37)

17 “Smith to Donovan , 7 December 1953, ” in Foreign Relations of the United


States 1952- 1954 Vol. 12 { ใ 987 , 704-5 ).
IS
NARA , RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4190, Memorandum of
Conversation , General Donovan Philip พ. Bonsai Director PSA Lieut . William
Vanderheuvel Aid ๒ Ambassador Donovan K . p. landon Officer in Charge Thai and
Malayan Affaires PSA , 4 January 1954 ; Donovan to Secretary of State, 8 January
1954 .
Parson to The Secretary of States, the Charge in Thailand , 8 December
I <f “

1953, ” เท Foreign Relations of the United States 1952- 1954 Vol. 12 ( 1987, 699 )-
^ l กองบรรณสาร ทระทรวงการต่างประเทศ I 0402 -344- 202- 511 -0002 ขอความเห็นชอบใน
[

ทารแต่งตั้งนายจอห์น ชิ เพอรฟ่อย เป็นเอกอครราชทดสหรฐอเมรกาประจำประเทศไทย วรรณไว -


*

ทยากร ถึง เลขาชิการคณะรัซมนดรึ 31 มกราคม 2498 , ฒ

156
r >

-
.ะ:

ไคร -3การเสด็จเยี่ยมประชาชนในชนบทในปิ 2498 ของพระบาทสมเด็จพร เจาอขหวภูมพลอดุลยเดช



1» 1 V

ทกธุ่มรอย้ลสิสดพยายามผลกต้น สอดคล้องกันพอลึกบนไขบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของสหรัฐฯที่
ต้องการกระตุ้นให้ชาวไฑยเห็นว่าคอมมิวนสณ์ป็นภัยคุกคามสถาบนพระมหากษัฅรัย์ จารึตประ!พณึ
และความมี!อกราชของไทย (ภาพจาก ราช mrmwm , สำนักงานเสํ!มลร้างเอกลักษณ์ของชาฅ 2547)
ขนดึก ศักดินา และพญาอินทวี
,

ภายใต้การนำของโดโนแวน ปฏิบัดิการสับและสงครามจิตวิทยาของสหรัฐฯ ใน
ไทยได้ถูกเชื่อมไยงเข้าหากัน รนปลายปี 2496 เขาและซีโอเอพยายามสร้างความคิด
แบบเทิดทูนสถาบันกษัตริย!์ ห้กลายเป็นอุดมการณ์สำคัญของตำรวจตระเวนชายแดน
และตำรวจพลร่มที่สหรัฐฯ สนับสนูนให้จัดตั้งขึ้น ไม่นานจากนั้นกองบัญชาการตำรวจ
ตระเวนชายแดนได้ถูกย้ายไปตั้งที่หัวหินใกล้วังไกลกังวล โดยสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์ที่
จะทำไห้ตำรวจตระเวนชายแดนและตำรวจพลร่มมีความสัมพันธ์ใกล้ช้ดกับสถาบัน
.
กษัตริย์ ( Lobe 1977, 24- 29, fn 16) การเดินหน้าแผนสงครามจิตวิทยาในไทยของ
สหรัฐฯ เริ่มต้นขึ้นในต้นปื 2497 นั้นเอง โดโนแวนสั่งการให้ปรับปรุงภารกิจของยูซิส
ไนไทยจากเต็มที่เคยทำหน้าที่แค่เพียงเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสหรัฐฯให้กลายเป็นกลไก
ใหม่ที่ปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาเชิงรุกด้วยการโฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อต่างๆ และ
ขยายเครือข่ายปฏิบัติการของยูซีสออกไปยังภูมิภาคต่างๆของไทย พร้อมการมีหน่วย
! ฆษณาชวนเชื่อย่อยๆที่เคลื่อนที่เข้าไปในเขตชนบทโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสานของ
ไทยในเวลาต่อมา
ไม่กี่เดือนหลังจากที่โดโนแวนได้นำเสนอแนวคิดในการสนับสนุนสถาบัน
กษัตริย์เพื่อทำสงครามจิตวิทยาให้คนไทยตระหนักในการเข้าร่วมต่อต้านคอมมิวนิสต์
กับสหรัฐฯ ในกลางเดือนพฤษภาคม 2497 พระยาศรีวิสารวาจา องคมนตรี เดินทางไป
พบประธานาธิบดีไอเชนฮาวร์ที่วอชิงตัน ดี, ซี. เพื่อมอบพระบรมฉายาลักษณ์แก่ผู้นำ
สหรัฐฯ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้บันทึกเหตุการณ์ตังกล่าวว่า พระยาศร-
วิสารวาจาได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่ทำเนียบขาวว่า เขาเป็นผู้แทนของพระมหากษัตริย!์ ทย
มีความต้องการเข้าพบประธานาธิบดีเพื่อนำพระบรมฉายาลักษณ์มาให้ และมขอความ Si V

ที่ทรงฝากถึงประธานาธิบดีบางประการด้วย ทีแรกเจ้าหน้าที่หำเนยบขาวไม่อรเญาต
ไห้เข้าพบ ฒี่องจากไม่มีการนัดหมายประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทย
อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้สั่งการให้พระยาศรี
วิสารวาจาเข้าพบประธานาธิบดีได้ โดย หัเหตุผลว่าไทยมีความสำคัญทางการเมืองใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยจะมีความสำคัญต่อนโยบายต่างประเทศของ
- ,
สหรัฐฯ ต่อไปในอนาคต หลักฐานของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฉบับดังกล่าว
ทำไห้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า การส่งพระยาศรีวิสารวาจา องคมนตรี เป็นผู้แทนเดนทาง

NARA, RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4190, Everett F . Drumrigtat


to Murphy , “ Presentation of the King of Thailand ‘ร Photograph to the President "
21 May 1954 . อย่าง ใรก็ดไม ผู้เขียนยงไม่พบมนท้กการสนทนาระหว่างพระยาศรีวิศารวาจากบ
1

เอเซนอาวร
ประธานาธิบดี' I

158
ใกล้ยามเมื่อแสงทองส่อ'a

'ปพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯที่วอชิงตันดี. ซี. โดยรัฐบาลจอมพรป. พิบูลสงคราม


นฐานะฝ่ายบริหารที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญไม่รับร้นี้ เป็นเหตุการณ์
สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงวิเทโศบายด้านการต่างประเทศของสถาบันพระมหากษัตริย์เป็น
?
ค งแรกหลังการปฏิวัติ 2475 ทั้งนี้ความพยายามแสวงหาการสนับสนูนจากสหรัฐ"!
ยองสถาบันพระมหาทบัตรืย์อาจชะเป็นหนทางใหม่ของการต่อสู้ทางการเนืองในช่วง
สงครามเย็น ตังที่พระองค์เจ้าธานีนิวัต ประธานองคมนตรี แกนนำสำคัญของสถาบัน
กษัตริย์ใต้เคยกล่าวไว้กับสถานทูตอังกฤษก็เป็นได้ ต่อมาการสนับสนูนของสหรัฐฯ
"

ที่มีต่อสถาบันกษัตริยเจะกลายมาเป๋
์จ นป๋จขัยสำคัญในการชี้ขาดชัยชนะของการต่อสู้
ทางการเนืองภายในระหว่างสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์ กับรัฐบาลจอมพล ป.
พิบูลสงคราม

ผูซิสกบสงฅรามจิตวิทยา
โดในแวนต้องการให้ยูซิสทำหน้าที่ปฏิบัติการสงครามจตวิทยาเชิงรูกในเขต
พนที่ชายแดนของไทยและปฏิบัติการผ่านสื่อต่างๆ เพื่อทำให้คนไทยเห็นภาพกัยจาก
การคุกคามของคอมมิวนิสต์ โดยเขาต้องการจัดตั้งหน่วยงานโฆษณาชวนเชื่อเคลื่อนที่
ของยูซีสในภาคอีสานและภาคเหนือเช่นที่ชังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา
และลำปาง 23 แต่รัฐบาลจอมพล ป , ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ไห้ยูซิสตั้งหน่วยเคลื่อนที่
อีสระในภูมิภาคโดยปราศจากการควบคุมของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะจัดตั้ง
หน่วยงานของกรมประชาสัมพันธ์ในภูมิภาคขนและให้ยูซิสเข้าร่วมงานด้วย โดยยูซส
จะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ ตลอดชนการดูแลเนื้อหาสาระใน
การกระจายเสียงต่อต้านคอมมิวนิสต์24 ข้อเสนอของรัฐบาลสร้างความพอใจให้กับยูชิส
มากเพราะรัฐบาลให้กรมประชาสัมพันธ์ออกหน้าแทนยูซิส25

22
NA, F0 371/101168, Chancery to Foreign Office, 21 July 1952.
E3 หชิช. กต 81.35 /42 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง สำนักข่าวอเมริกันขอดั้งสาขาที่

อุบล อุดร โกราช และลำปาง (พ . ศ . 2497 ) สำเนาบันทึกชืวยจำ (Aide Memoire ) ของใดในแวน


เอกสัครราชทูตอเมริกัน วนที่ 29 มกราคม 2497 ; หนังสือกระทรวงการต่างประเทศ กรมหมื่นนราธิป -
รง
พงฅ์ประพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการด่างประเทศ นายกรัฐมนตรี วันที 30 มกราคม 2497 .
24 หจช , กต 81.35 /42 หนังสือสับจากหลวงช็านาญดักษร เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร

ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2497 .


^ หจช. กฅ 81.35/42 บันทึกจากหม่อมเจาดิลกฤทธ กฤดากร อธิบดีกรมอุไรปและอฌริกา ถึง
รัฐมนตรีว่าการฯ ด่างประเทศ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2497 .

159
ขุนศึก ศักดินา และพญารนทวี

ต่อมากลางปี 2497 ยูซีสไต้ตั้งหน่วยงานประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ขึ้นโดยมี


ไรเบิร์ต ลาชเชอร์ และเจมส์ เฮนเดอร์ ( James Mender ) รับผิดชอบดำเนินการ
โ‘นษณาชวนเชื่อตามหมู่บ้านในภาคอีสานด้วยกองคาราวานรถจปที่มีคณะผู้เชี่ยวชาณ
ในการทำสงครามจิตวิทยาออกเดินทางไปทั่วเขตชนบทเพื่อแจกโปสเตอร์ และสมุดคูฆอ y I๘

การต่อต้านคอมนีวนิสตํให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในเวลากลางวัน สิ่วน


กิจกรรมในเวลากลางคืนมีการฉายภาพยนตร์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ให้ประชาชนในชนบท
รับชม ทั้งนี้งานโฆษณาชวนเชื่อของยูซิสผ่านการกระจายเสึยงทางวิทยุโนภูมิภาคของ
ไทยนั้นประสบความสำเร็จมาก อดีตเจ้าหน้าที่ของยูซิสคนหนึ่งบันทึกว่า รายการต่างๆ
ทึออกอากาศเป็นการโฆษณาชวนเชื่ออ่อนๆ แต่ไม่มีคนไทยคนใดรู้สึกว่าเป็นโฆษณา
ชวนเชือแต่อย่างใด เนื่องจากยูซีสสามารถดำเนินการได้อย่างแนบเนียน ทำให้ผู้ฟ้ง
คนไทยสิ่วนมากไม่รู้ว่าเป็นรายการที่สหรัฐฯให้การสนับสนุนอยู่เบองหลัง2'’
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการฉายภาพยนตร์ของยูซิสในภูมิภาคนั้นนำไปสู่การ
ตั้งกระทู้ต่อรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎรครั้งหนึ่ง แต่รัฐบาลขึ้แจงอย่างเลี่ยง ๆ ว่า รัฐบาล
มีนโยบาขบำเงครัวเรือน สิ่งเสริมการศึกษา อบรมและสงเคราะห์หัวหน้าครอบครัว จึง
ให้ดำเนินการสร้างสถานที่ฟิกอบรมหัวหน้าครอบครัวในจังหวัดและอำเภอต่างๆ และมี
^
การนำภาพยนตร์เรื่อง เสีย สาปจากใลก้นต์ ออกไปฉายในภูมิภาค27 ต่อมารัฐบาลได้
อนุมัติให้นำวิชาสงครามจิตวิทยาเข้ามาสอนในระดับมหาวิทยาลัย โดยมีกรมประมวล
ราชการแผ่นดินรับผิดชอบการสอนที่คณะรัฐศาสตร์และอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงเรียน
นายร้อย นายเรือ นายเรืออากาศและตำรวจ ((ท?เส'รี, 28 กรกฎาคม 2497) ไม่เพียง
เท่านั้น ยูชิสได้จัดทำภาพยนตร์สงครามจิตวิทยาเรื่อง From Mao to Mekong มีกา1

อนสรณ์ไนงานพรรราชทาน1พ 3งศพ เฉลิม สทร0 าวร ( 2512, 26- 27 ) . พล.ร;ก . ฒมได้


แปสบทความของเมนาร์ด ปาร์คเทรร์ ใท้ขปารคเกอร์มีถูมิหลังเคย!ปืนนายทหารฝ่ายประชาสัมพันธ์
ในไทย ร้บเการปฐบัตงานสงครามชิตวิทยาในภาคอีสาน ต่อมาเขา ผ้นตัวเองมาเป็นนกหนังสือพิมพ์
?
ปิตยสาร สฟ้ และ!ด้เขึยนบทคาามลง Atlantic ว่าการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภาคอีส,านเป็นทน้าที่
ของหน่วยงานพลเรือนสองหน่วย คอ สัานักข่าวสารอฌร้กัน ( United States Information
Service : USIS) กับสัานักงานพัฒนาระหว่างชาต (Agency for International Development :
AID ) และลง ในนิคยสาร นาวิทศ 7สาทร์ ประจำเดือนมีนาคม 2510 ต่อมาจงนำมาพิมพ์ในหนังสือ
1

งานศพเล่มด้งกล่าว I
27 "
รายงานการประชุมสกาดันทนราษฎร ครั้งที่ 11 / 2496 ( สามัญ ) ชุดที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 10 I
กันยายน 2496," ไน รพงานการประชุมสกาผู้แทนราษฎร สมยสาบ้ญ พ . ศ. 2496 ( 2499, 860-63).

160
ใกล้ยามเพี่อแสงทองส่อง

. ำเสนอเรื่องปริดี พนมยงค์ กับพวกคอมมิวนิสต์ไปฉายในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร


'
ต์าย ( นายกรัฐมนตรืให้ลัมกานอาแก่ผู้แทนหนังสีอพิมพ์และผู้สื่อข่าวต่างประเทศ
2498, 197-98)
การดำเนินการสงครามจิตวิทยาของยูซิสในไทยช่วงปี 2496-2497 นั้น ยู'ชิส
' ค้จัดพิมพ์หนังสือต่อต้านคอมมิวนิสต์ฉบับกระเป๋าแจกจ่ายให้วัดนั้วประเทศจำนวน

ใ 9,000 แห่ง กายในมีบฑความที่เขียนกระตุ้นให้คนไทยตระหนักว่าคอมมิวนิสต์เป็น


ทรูที่อยู่ภายในและภายนอกที่จะมาคุกคามไทย โดยยูซิสได้กัดสรรหนังสือที่จะแปลซี่ง
สอดคล้องกับการทำสงครามจิตวิทยาในไทยตามที่สหรัฐฯ ต้องการเพี่อ'ให้คน'ใทยเห็น
รัญหาทางสองแพร่ง สื่อสารกับมวลชนด้วยหนังสือราคาถูกที่ไม่ได้เน้นกำไรและแจกจ่าย
ให้กับคนไทยทั่วประเทศ (Bogart 1976, X111, 61-62 ) ควรบันทืกด้วยว่า ในช่วงปี
I *I

2496-2500 ปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาด้วยการใช้สื่อในฐานะเป็นอาวุชทางอุดมการณ์
ของยูซิสในไทยนั้นจำแนกสื่อออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มแรกเป็นสิ่งพิมพ์ต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ที่ยูซีสสนับสนุนการขัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนและข้าราชการทัว
ประเทศ ส่วนกลุ่มที่สองสำหรับแจกจ่ายให้กับห้องสมุดต่อต้านคอมมิวนิสต์iit! เช่น
หนังสือโฆษณาชวนเชื่อความก้าวหน้าและยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯ สมุดภาพ โปสเตอร์
ใบปลิว และภาพยนตร์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้การนำเสนอภาพภัยคุกคามจาก
คอมมิวนิสต์ไนช่วงการนำแผนสงครามจิตวิทยามาปฏิบัตินี้ได้เริ่มเห็นร่องรอยของการ
พยายามทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็นศูนย์กลางของการต่อด้านคอมมิวนิสต์
เช่น หนังสือเล่มเล็กเรื่อง ชะตากรรม’นองราชะ โปสเตอร์และใบปลิวเรื่อง ลัทธิ
คอมป็วนิสคำเกคามพระมหากษัตริย์ เป็นภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระ
1

แก้วมรกต และภาพยนตร์ชุด เพื่อไทยเป็นไท มีการนำเสนอเรื่องราวพระราชกรณียกิจ


ของพระมหากษัตริย์ที่เสด็จไปทรงเปิดงานวันเกษตรแห่งชาติในปื 2497 (ดูรายละเอียด
ใน ณัฐพล 2556ข) ทั้งนี้มีการรายงานประธานาธบดีไอเชนธาวร์ในปลายปี 2498 ว่า

28
(3) สร 0201.23/ 10 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้องสมุดหนังสือสำหรันต่อด้าน
ทปีช.
คอมมิวนิสต์ ( 26 กันยายน - 22 พฤศจิกายน 2498 ) บันทึกข้อความ นายบุณย์ เจริญไชย รักษา
การในตำแหน่งรองอธิบดี กรมประมวสราชการแผ่นดิน ฝ่ายต่างประเทศ ถึง เลขาธิการคณะ
รัฐมนตรีฝ่ายการเมือง วันที่ 26 กันยายน 2498 . รัฐบาลสั่งการให้มืการตั้งห้องสมุดหนังสือต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ซ้นในภเงเทพฯ ที่ห้องสมุดประชาชนของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ;
หไรังสือจากหลวงวิเชียรแพทยาคม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ฝ่าย
การเมือง วันที่ 22 พฤศจิกายน 2498

/ 67
ชุนศึก ศ้เกดีนา และพ nr อินทรี

ยูซิสได้สนับสนูนให้รัฐบาลไทยทำสงครามจิตวิทยาเพื่อครอบงำลึกลงไปถึงในระดับ
หมู่บ้านแล้ว ''
'

สงครามจิตวิทยากับการสถาปนาอำนาจในการเมืองไพย
ภารดำเนินการตามแผนสงครามจิตวิทยาในไทยของสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์ที่
จะครอบงำการรับเของคนไทยในเขตชนบทจนถึงระดับหมู่บ้านไนภาคเหนือและอีสาน
ของไทย ด้วยการสร้างภาพภัยจากคอมมิวนิสฅ์ที่จะคุกคามสกาบันกษัตริย์ จารีต
ประเพณี และเอกราชของไทยที่เคยมีมาอย่างยาวนานไห้ล่มสลายลง 30 อย่างไรก็ตาม
ความมุ่งหวังของสหรัฐฯที่ฃะทำให้คนไทยเห็นภัยคอมมิวนิสต์ที่คุกคามสถาบันกบัตริย์
ไนขณะนั้นไม่ล้มฤทธิผลนัก เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลจอมพลป. มิได้ให้การสนับสนุน
ให้สถาบันกษัตริย์มีความสำคัญ เห็นได้จากการสำรวจความรับรู้ของคนไทยไนชนบท
ภาคอีสาน'ในปี 2497 ของสหรัฐฯ ปรากฏว่าคนไทยในภาคอีสานไม่รู้ถึงความหมาย
ของสถาบันกษัตริย์ถึงร้อยละ 61 (Bowie 1997, 87)
ด้วยเหตุที่สหรัฐฯ ต้องการสนับสimสถาบันกษัตริย์ไห้เป็นส่วนหนึ่งในการทำ
สงครามจิตวิทยาในไทย จึงเป็นจังหวะสำคัญที่เปิดโอกาสทางการเมองไห้กับสถาบัน
..
กษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์อีกครั้ง ดังเช์นความคิดของ ม ร ว , คึกฤทธิ้ ปราโมช
สมาชกสำคัญคนหนึ่งของกลุ่มรอขัลลิสต์ ที่เปิดเผยกับเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ ใน
เดือนเมษายน 2497 ก่อนที่พระยาศรีวิสารวาจา องคมนตรี จะเดินทางไปพบ
ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ ว่าราชสำนักต้องการการสนับสนูนจากประชาชน เนื่องจาก

The Dwight D. Eisenhower Library, White House Office, National Secnritv


Council Staff : Papers, ไ 948-1961 , Operations Coordinating Board Central File Service
Box 80, Memorandum for The Operations Coordinating Board Assistants, “ Progress
r
Report on Southeast Asia ( NSC 5405 AND portion of NSC 5429/ 5 ) 2 December
1955.
The Dwight D . Eisenhower Library, White House Office , National Security
Council Staff : Papers 1948 - 1961 , Operations Coordinating Board Central File
Service Box 2, Special Report to The National Security Council 1954 ; “ Parson to
The Secretary of States, the Charge in Thailand , 9 December 1953 / in Foreign
Relations of the United States 1952- 1954 Vol 12 ( 1987 , 700) ; Library of Congress.
.

CK3100288451 , 28 December 1953, Memorandum of Meeting-Operations Cooperating


Board Working Group on PSB D- 23 - Thailand ; NA, FO 371 / 117338 , Cage to Foreign
Office, 2 August 1955 . j

162
ใกล้ยามเมื่อแสงทองส่อง

ลุมรอยัลลิสต์เห็นว่าอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลจอมพล ป. กำลังอ่อนตัวลง 51
นอกจากนี้ ควง อภัยวงศ์ แกนนำคนหนึ่งไนกลุ่มรอยัลลิสต์และหัวหน้าพรรค
บระชาธิป้ตย์ ได้เล่าให้เจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯฟ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
r รงมีพระปรีชาใส่ใจกิจการบ้านเมืองด้วยการทรงขอให้เขาเป็นที่ปรึกษาทางการเมือง
ทนพระองค์
{ จากนั้นพระองค์ได้เริ่มต้นท้าทายอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. ด้วยการ
• อค้านและชะลอการลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายปฎรูปที่ดินเพี่อช่วยเหลือคนยากจน

•.องรัฐบาล เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวไม่มีความจำเป็นเพราะที่ดิน
ในประเทศมีราคาถูกและมีมากมายในชนบท ควงได้เล่าต่ออีกว่าพระองค์ทรงมี
พระบรมราชวินิจฉัยว่าการควบคุมการกอครองที่ดินตามกฎหมายของรัฐบาลจะสร้าง
ความไม่พอใจให้กับเจาที่ดิน12
สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เพียงเริ่มด้นห้าทายอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป ,
เท่านั้น กลุ่มรอยัลลิสต์เองยังมีแผนการสร้างกระแสความนิยมในองค์พระมหากษัตริย์
ให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนเพี่อท้าทายอำนาจของรัฐบาลจอมพลป. ในอีกทางหนึ่งด้วย
' ๆรจัดไครงการให้พระองค์เสด็จเยี่ยมประชาชนในชนบท
•'
ในเดือนเมษายน 2497
สถานทูตสหรัฐฯรายงานว่า ม.ร.ว. คึกฤทชิ ปราโมช ไต้กล่าวชื่นชมพระบาทสมเด็จ
ทระเจ้าอยู่หัวและสื่อสารไปยังเจ้าหน้าการทูตสหรัฐฯ ว่า แบ้พระองค์จะทรงพระเยาว์
แต่ทรงมีพระปรีชาเป็นเอก ทรงดำรงพระราชจริยวัตรไลัออ่างเหมาะสมตามระบอบ
ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ และจะทรงไต้รับความชื่นชมจาก
สาธารณชนเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แต่น่าเสียดายที่พระองค์ยังมิเคยเสด็จเยี่ยมประชาชน
,
ในชนบทเลย 3 ท่าทิของคึกฤทธสอดคล้องกับควง อภัยวงศ์ ที่ปรึกษาทางการเมือง
ส่วนพระองค์ ที่ประเมินแผนเสด็จเยี่ยมประชาชนซึ่งกลุ่มรอยัลลิสต์ต้องการผลักดัน

NARA, RG 59 Central Decimal File 1950 - 1954 Box 4187 , Memorandum of


31

Conversation, Kukrit Pramote, George M . Widney , 29 April 1954 .


32
NAHA, RG 59 Central Decimal File 1950 - 1954 Box 4187 , Memorandum of
Conversation, Nai Kwaung, Pierson M . Hall, 12 May 1954 ; NARA, RG 59 General
Records of Department of State, Central Decimal File 1950-1954 Box 4188, Bangkok
to Secretary of Stat, 4 December 1954 . อย่างไรก็ตาม cfภาผู้แทนราษฎรไต้ยืนยันการใช้
กฎหมายด้งกล่าวจนศามารถประกาศใช้ได้สำเร็จ .
33
NARA , RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4187 , Memorandum of
Conversation, Kukrit Pramote, George M . Widney, 29 April 1954.

163
ชุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

ให้กับเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ ฟ้งในเวลาต่อมาว่า การเสด็จเยี่ยมประชาชนจะสร้าง


ความนิยมให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก ควงวิเคราะห์ว่าโครงการ
เสด็จชนบทของพระมหากษัตริย์จะเป็นเสมือนการห้าทายอำนาจรัฐบาล '4 ไม่นานหลัง
'

จากนั้น ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน พระยาศรีวิสารวาจา องคมนตรี ได้เดินทางไป


พบประขานาธิบดีไอเซนฮาวร์เปีนการส่วนตัวที่วอชิงตัน ดี . ซี. เพื่อมอบพระบรม-
ฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย:์ w
ไม่นานหลังจากที่พระยาศรีวิสารวาจาเดินทางไปพบประธานาธบดีไอเซนฮาวรัแล้ว
ราชสำนักได้จัดงานเลี้ยงอำลาตำแหน่งเอกอัครราชทูตให้กับโดโนแวนเป็นการส่วน
พระองค์ โดโนแวนไต้แจ้งให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทราบว่าสหรัฐฯ มีนโยบาย
สนับสนุนแผนสงครามจิตวิทยาต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภาคอีสานของไทย โดโนแวน
เล่าว่าพระองค์ทรงไห้ความสนใจแผนสงครามจิตวิทยาในภาคอีสานนี้นากและทรงกล่าว
ว่าพระองค์ทรงมิพระราชประสงค์เสด็จเยี่ยมประชาชนในภาคอีสาน สำหรับโครงการ
เสด็จเยี่ยมประชาขนในชนบทดังกล่าว ทูตอังกฤษประเมินว่า หากพระองค์เข้าร่วม
แผนการต่อต้านคอมมิวนิสต์กับสหรัฐฯ จะเกิดผลบวกแก่สหรัฐฯ เป็นอย่างมาก อีกทั้ง
จะเป็นสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลจอมพล ป. ไม่สามารถที่จะควบคุมพระราชกรณียกิจของ
พระองค์ให้ปลอดจากสายตาประชาชนได้ และการร่วมโครงการต่อต้านคอมมิวนิสต์
กับสหรัฐฯ จะทำให้พระองค์มีโอกาสปรากฎคัวต่อสาธารณะได้บ่อยครั้งอีกด้วย36
หลักฐานร่วมสมัยของคณะทูตประเทศมหาอำนาจบันทึกพัฒนาการบุคสิกภาพขอ ;
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ดังต่อไปนี้ ในต้นทศวรรษ 2490 ทูตสหรัฐฯ บันทึกว่า
พระองค์ทรงเป็นคนขี้อาย 37 แต่ต่อมาในปลายทศวรรษ 2490 ทูตอังกฤษได้บันทึกใน
ทางกลับกันว่าพระองค์ทรงสามารถเอาชนะความขี้อายและเริ่มกล้าปรากฎตัวต่อ
สาธารณชนมากขี้น อีกทั้งกลุ่มราชวงค์และกลุ่มรอยัลลิสต์ร่วมมือกันในการผลักดัน

NARA, RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4187 , Memorandum of


I
!“

Conversation, Nai Kwaung, Pierson M Hall, 12 May 1954.


,

:! NARA RG 59 Central
l
, Decimal File 1950- 1954 Box 4190, Everett F. Drunirighi
to Murphy , “ Presentation of the King of Thailand’s Photograph to the President/
21 May 1954.
:แเ NA, FO 271 /112262 , Gage to Foreign Office , 21 August 1954.
I
NARA, RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4190, Stanton to Secretary
I
'

of State, 4 May 1950.

164
ใกล้ยามเมื่อแสงทองส่อง

แผนประชาสัมพันธ์ ,ที่จะสร้างกระแสควานนิยมของพระมหากษัตริย์ให้!เกิดกับคน'ใทย
1

ไนชนบท ทูตอังกฤษประเมินว่าแผนการของกลุ่มรออัลลิสต์ซึ่งเป็นเสมือนการหว่าน
เมลิดพันธุใพื่อสร้างอิทธิพลที่มั่นคงให้กับพระองค์นี้จะประสบความสำเริจอย่างมาก3*
ต่อมารายงานถึงประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ในปลายปี 2497 ได้ประเมินการเมือง
ใทยว่าอังฅงไม่มีเสถียรภาพต่อไป ดังนั้น สหรัฐฯ ควรให้การสนับสนุนบทบาทสถาบัน
กษัตริย์ ในรายงานเสนอแนะว่าแม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยจะอังทรงไร้
พระราชอำนาจและอังไม่มีความเด่นซัดในทางสัญลักษณ์ทางการเมืองของไทย แต่
พระองค์ทรงมิความกระดือรีอร้นอย่างยิ่ง:1< > ต้นเดือนกุมกาพันธ์ 2498 เอช. สตรูฟ่
เฮนเซล ( H. Struve Hensel) ผู้ช่วย รนว . กลาโหม ไต้เสนอความคดต่อกระทรวง
ทารด่างประเทศว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีป้ญหาช่องว่างทางลุดมการณ์ ดัง'นั้น
สหรัฐฯ ควรจะต้องใช้ประโยชน์จากผู้นำและความเชื่อในผู้น์าซักนำให้พวกเขาร่วมต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ แต่จำต้องอำพรางมิให้พวกเขาระแวงถึงบทบาทของสหรัฐฯ อาณานิคม
และคนขาวในภูมิภาค 4" ต่อมากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้สั่งการ'ให้ยูซิส่ใน
ไทยเร่งปฏิบัติการครอบงำความคิดคนไทยให้มากขึ้น โดยใช้ความเชื่อตามจารีต
ประเพณและความมีเอกราชของชาติเป็นประเด็นสำคัญในการปลุกเร้าให้คนไทยเห็น
ภาพร่วมกันถึงความชั่วร้ายของคอมมิวนิสต์ที่กำลังคุกคามไทย 41

การที่สหรัฐฯ มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันกษัตริย์
มิความสำคัญนั้น มีส่วนทำให้แผนการเสด็จเยี่ยมประชาชนในชนบทของพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กลุ่มรออัลลิสต์พยายามผลักดันมีความซัดเจนยิ่งขึ้น ในเวลา
ต่อมารัฐบาลจอมพล ป. ยอมเปลี่ยนท่าท้จากที่เคยคัดด้านโครงการเสด็จเยี่ยมประชาชน
มาเป็นยินยอมให้พระองค์เสด็จเยี่ยมประชาชนได้ในที่สุด กลางปี 2498 ทูตอังกฤษ
รายงานว่าโครงการเสด็จเยี่ยมประชาชนในชนบทของพระองค์เป็นแผนประชาสัมพันธ์

38 NA, FO 371 /106884, Waliinger to Foreign Office, 19 December 1954.


The Dwight D. Eisenhower Library, White House Office, National Security
Council Staff : Papers, 1948-1961, Operations Coordinating Board Central File Ser-
vice Box 2, "Thailand : An American Dilemma,* October 1954.
40
NARA, RG 84 Top Secret General Records 1947-1958 Box 3. Hensel to Dulles,
4 February 1955.
41 ^
บ.ร, Assistance in the Development of Force Adequate to Provide Security
in Countries Vulnerable to Communist Subversion (Thailand) 1955, ” in Foreign
Belations of the United States 1955- 1957 Vot. 22 ( 1989, 820).

165
ขุนคึก ศักดินา และพญาอินทวี

ที่จะประสบความสำเร็จอย่างมาก4- จากนั้นโครงการเสต็จเยี่ยมประชาชนได้เริ่มต้นใน
ช่วงปลายเดือนกันยายนจนถึงปลายพฤศจิกายน 2498 โดยในช่วงแรกพระองค์ได้เสด็จ
เยี่ยมประชาชนในภาคกลางเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ครั้งละ 1-2 วัน ต่อมาการเสด็จครั้ง
สำคัญคือการเสด็จภาคอีสานในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2498 (ปราการ 2551, 121)
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มด้นโครงการเสด็จเยี่ยมประชาชน
ในเขตภาคกลางของไทยเมื่อปลายเดือนกันยายน 2498 ทำให้พระองค์เริ่มกลายเป็น
จุดสนใจและเป็นแกนกลางของจารีตประเพณีไทย พระขาศรีวิสารวาจา องคมนตรี ได้
บอกต่อสถานทูตสหรัฐคในเดือนตุลาคมว่า กลุ่มรอยัลลิสต์กำลังวางแผนไห้พระองค์
เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนในทั่วทุกภาคเพื่อสนับสนุนการต่อต้านคอมมิวนิสต์ตาม
ความต้องการของสหรัฐฯ^ ทั้งนั้ความนิยมของประชาชนที่จะมีต่อพระองค์ทำให้รัฐบาล
พยายามคัดค้านแผนการเสด็จเยี่ยมประชาชนด้วยการตัดลดงบประมาณและการรับรอง
ความปลอดภัยลงทำไห้พระองค์ไม่พอพระทัยรัฐบาล 44 อย่างไรก็ตาม แผนการเสด็จ
ภาคอีสานไนเดือนพฤศจิกายนก็ดำเนินต่อไป ทำให้พระองค์ได้กลายเป็นศูนย์กลาง
ความสนใจของคนไทยอย่างท่วมท้นเสียแล้ว4 ’ '

ในเดือนธันวาคม 2498 สภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯประเมินว่ากิจกรรม


สงครามจิตวิทยาในไทยที่สหรัฐฯ ผลักดันนั้นสามารถกระดุ้นให้ชาวบ้านในระดับ
หมู่บ้านตระหนักถึงภัยที่จะนาคุกคามสถาบันพระมหากษัตริย์ จารีตประเพณี และ
ความมีเอกราชของไทยได้ 4'’ ต่อมาเมื่อดัลเลส รมว. ด่างประเทศเดินทางมาไทยใน

4~
NA, F0 371 /117360 , Gage to Tomlinson, 29 April 1955 .
4 '
NARA, RG 59 Central Decimal File ไ 955 -1959 Box 3908 , Memorandum of
Conversation, Phya Srivisarn Vacha, Robert N . Magill, “The Current Political
Situation,” 12 October 1955 .
44
NA, FO 371 /117360, Gage to Tomlinson, 29 April 1955 ; NARA , RG 59 Central
Decimal File 1955- 1959 Box 3908 , Memorandum of Conversation , Phya Srivisarn
Vacha, Robert N. Magill , "The Current Political Situation ," 12 October 1955 .
4:> ดภาพทารเสด็ซฯ
^
ด้งกล่าาท่ามกลางประชาชนใน เ ด็จฯเยี่ซมรา*เฎร ( 2532 ).
The Dwight D. Eisenhower Library , White House Office , National Security
I

Council Staff : Papers, 1948-1961 , Operations Coordinating Board Central Pile Service
Box 80, Memorandum for The Operations Coordinating Board Assistants, “ Progress
Report ori Southeast Asia ( NSC 5405 AND portion of NSC 5429/ 5 ), ” 2 December
1955. fl

166
ใกล้อามเมื่อแสงทองส่อง

เหธนมีนาคม 2499 เขาได้เข้าเฝืาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและกราบบังคมทูลให้


พระองค์'ทรงตระหนักถึงกวามสำคัญของบทบาทพระมหากษัต่ริย์ไนการต่อรู(่ กับ
1

ตอนมิวนิสฅ์ว่า พระองค์จะด้องทรงมีความแข็งแกร่ง กระฉับกระเฉง และมีกิจกรรม


เำป่ยมใปด้วยจิตวิญญาณของการต่อด้านคอมมิวนิสต์ต่อไป47
ในขณะที่สหรัฐฯขื่นชมและให้ความสำคัญกับการร่วมต่อต้านคอมมิวนิสต์ชอง
สถาบันกษัตริย์ ในทางกลับกันรัฐบาลจอมพลป. เริ่มถอยห่างออกจากสหรัฐฯโดยเริ่ม
ด้นมีนโยบายต่างประเทศ'ทเป็นกลางและกระบวนการประชาธิปไตยที่มีการแข่ง'ชัน
บางการเมืองอันนำไปสู,่ การวิจารณ์สหรัฐฯ และรัฐบาลจอมพล ป. เองอย่างหนัก อีกท้ง
กระบวนการทางการเมืองในการเตรียมการเลือกตั้งที่จะเกิดขันในต้นปี 2500 นันทำให้
รัฐบาลต้องหันไปประนิประนอมกับกลุ่มการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยงกลุ่มปรืดี
และกลุ่มฝายช้ายไนสังคมไทยเพื่อชัยชนะในการเลือกตั้ง ทำให้สหรัฐฯ เริ่มมองเห็น
ความย่อหย่อนของรัฐบาลในฐานะVรันธมิตรที่ร่วมต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทั้งนื้ในบันทึก
ของรักษาการรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศถึงสถานทูตสหรัฐฯในกรุงเทพฯ ใน
ปลายปี 2499 ได้แสดงความกังวลใจถึงความย่อหย่อนของรัฐบาลไทยในการต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ 4"'

47 “
Memorandum of a Conversation at Government House - Bangkok , 13 March
1956 ," in Foreign Relations of the United States 1955- 1957 Vol 22 ( 1989, 862)
,

NARA , RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal File


1955 -1959 Box 3908 , Hoover ( Acting of Secretary of State ) to Bangkok , 4 August
1956 .

167
a
-
:: ร! i .ะ: m

ในขณะที่จอมพล ป. พิบูลล'งคราม เดนทางไปกระชมไมตรีกับสหรัฐฯ ในปิ 2498 และได้รบมอบ


อสรขาภรณ region of Merit จากประธานาธิบดีไอเซนสาวรฺนน เขาเริ่มคดถอยห่างจากสทรัฐฯ และ
ดำเนินนโยบายการทตสองทาง (ภาพจาก Thailand Illustrated )
บทที่ 7
ถอ ยห่างจากพญาอินทรี
นโยบายเข้นกลางน.ละการเปิคประคูสู่ประชาธิปไตยในฐานะทางออกใหม่
ของปีอมพล ป. พิบูลสงคราม

นโยบายเป็นกลางของรัฐบาลจอมพล ป.
การยุติการยิงในสงครามเกาหลี (ปี 2496) ที'ไม่
่ ปรากฎผู้ชนะ ตามด้วยความ
J
'ก่ายแพ้ของฝรั่งเศสที่เตียนเบียน? (ปี 2497) ส่งผลใท้รัฐบาลจอมพล ป. เกิดความ
ลังเลในความสนับสมุนที่สหรัฐฯ จะให้แก่ไทยเพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพพรรค
คอมมิวนิสต์จีน1 ในปลายปีนั้นสหรัฐฯได้ตั้งข้อสังเกตถึงท่าทีของรัฐบาลไทยว่า แม้
โนค้านที่เปีนทางการไทยยิงประกาศดำเนินการตามนโยบายของสหรัฐฯ ต่อไป แต่ผู้นำ
สายบางคนเริ่มตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯจะให้การคุ้มครองความมั่นคงของ
เทยหลังข้อตกลงที่เจนีวา สหรัฐฯ เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลไทยจะแสวงหาทาง
เลือกใหม่2
เมี่อฝรั่งเศส หันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯ ต้องถอนดัาออกไปจากอินใดจีน ส่งผล
ให้สหรัฐฯ เกิดความวิดทว่าอาจเกิดสุญญากาศทางอำนาจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ ซึ่งจะทำให้สหรัฐฯ สูญเสํยบิทธพลในภูมิภาคนี!้ ปเนื่องจากอาจถูกคอมมิวนิสต์
ยึดครองตามทฤษฎีโดมิโน ความวิตกเช่นนี้ทำให้สหรัฐฯ เสนอการจัดตั้งองฅ์การสนธิ
สัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือซีโด้ (SEATO) เพื่อสร้างความมั่นใจ

1
NA, F0 371/117338, Gage to Foreign Office, 2 August 1955.
2
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA-RDP79R00890A000300050008-1,
5 August 1954, “ Peiping Sponcers Thailand Ex-Premier,"
ชุนสึก ฟิกหนา และพญาอินทรี

ให้เทดขึ้น'ในภูมิภาคอีกครัง ( Busynki 1983, 6) ขณะที่รัฐบาลไทยได้แสดงให้สหรัฐฯ


'

เห็นว่าไทยยังคงมิความสัมพันธ์ยันเณบแน่นกับสหรัฐฯต่อไป ด้วยการประกาศตัวเห็น
ประเทศแรกที่ให้สัตยาบันไนสนธสัญญาก่อตั้งซีโต้ ซึ่งทำให้สหรัฐฯ พอใจมาก (สยามรัฐ ,
24 กันยายน 2497)
ในขฌะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับภาวะสุญญากาศของอำนาจใน
ทางการเมืองระหว่างประเทศ จีนได้เริ่มด้นชักชวนให้ประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ให้
ความสำคัญกับลันติภาพ 5 รูปธรรมของการรณรงค์สันติภาพเริ่มต้นชันเมื่อชวาหะร์ลาล
เนห์รู (Jawaharlal Nehru ) นายกรัฐมนตรีอินเดีย และอูนุ (บ Nu) นายกรัฐมนตรี
พม่า เดนทางมาเยือนไทยก่อนไปประชุมกลุ่มประเทศไม่ฟิกใฝ่ฝ่ายได ( Non Aligneel -
Movement : NAM)4 ที่กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา จอมพลป. ให้การต้อนรับผู้นำ
ทั้งสอง ซึ่งได้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อโน้มน้าวไห้ไทยเห็นด้วยกับการรักษาสันติภาพ
ท่ามกลางความขัดแย้งของโลก ( ศรีกรุง , 26 ธันวาคม 2497 ) 3 หนังสือพิมพ์ขณะนั้น
เช่น { ทอดไทย เห็นว่าการมาเยือนของผู้นำทั้งสองเป็นการมาหยั่งท่าทีไทยให้โน้มเอียง
ไปทางกลุ่มประเทศไม่ฟิกไฝ่ฝ่ายใด ( {ทอดไทย, 28 ธันวาคม 2497)

3
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA-RDP79T00975A00160G530001-5,
25 July 1954 , "Communists Pleased with 'Neutralization’ Campaign ill Southeast
Asia. ”
4 กสุ่มประเทศไม่สกใฝ่ฝ่ายใด ( N
on-Aligned Movement : NAM) ไต้รับการก่อตงขนเมื่อปื
2497 เริ่มต้นจากการที่ผู้นำขยิงประเทศตำงๆในเอเชีย 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย พม่า อินเดีย
ปากีสถาน และศรลังกา ไต้มาประชุมกันที่กรงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด
เห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศไนขณะนั้น และเห็นว่าควรมีการขยายกรอบการประชุมให้
กว้างออกไป ตอมาในปื 2498 มีการประชุมกลุ่มประเทศเอเชีย- แอฟรกาที่เมองบันตุง ประเทศ
อินโดนีเซีย (Bundling Conference) ไคยฏีผู้เข้าร่วมการประชุมเพิ่มขนเป็น 29 ประเทศ ประเทศ
ที่เขาร่วมการประชุมเห็นพ้องกันว่า ประเทศ โนเอเชียและแอฟ่ ริกาควรรวมตัวกันเพื่อ'ไม่ต้องถก
1 1

ครอบงำจากสหรัฐฯ และสหภาพไซทยตในชุคสงครามเย็น และเพื่อเป็นพลังร่วมในการต่อต้านการ


เป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ ที่ประชุมได้ยอมรับหลักการร่วม 5 ประการ (หลักปัญจรส )
ที่สมาชีกยดถือกันดังนี้ การเคารพในบูรณภาพและอปีปไตยซงกันและกัน การไม่รุกรานซึ่งกันและ
กัน การไม่แทรกแซงซึ่งกันและกันทั้งด้านการเมีอง เศรษฐกิจ และความเชื่อ การให้ความเสมอภาค
และผลประโยชน์ยันเฟาเท้ยมกัน และการอยูร่วมกันอยางลันต
5
ดูสุนทรพจน์ของลูบุ นายกรัฐมนตรีพม่า และเนห้รู นายกรัฐมนตรีอินเดีย ไนงานเลี้ยงต้อนรับ
ครั้งนั้ใน ข่าวพาฌขย์ , 29 ชันวาคม 2497 ; ประชาธิปไตย , 30 ชันวาคม 2497 ; ประชาธิปไฅ&,
31 ชันวาคม 2497.

170
ทอยห่างจากพญาอนทวิ

ในสายตาของสทรัฐฯ แม้การเมืองไทยในช่วงปลายปี 2497 จะปลอดจากการ


ท้าทายจากกลุ่มภายนอกรัฐบาลก็ตาม แต่ภายในรัฐบาลกลับมืฅวามขัดแย้งทีเข้มข้น
;ะหว่างพล.อ. สฤษดิ้ ธนะรัชต์ กับ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ซงเป็นผู้มือำนาจทาง
.
การเมืองอย่างแท้จริง ในรายงานวิเคราะห์ว่า ถึงแม้ว่าจอมพล ป จะเฟินนายกรัฐมนตรี
1ด่เขาไม่มือำนาจทางการเมือง และแม้เขาจะมืยศจอมพล แต่กลับไม่มืกำลังทหาร
สลับสนุน ท่ามกลางความขัคแย้งภายในเช่นนี้ สหรัฐฯ เห็นว่าไทยกำลังตกอยู่ไนความ
เสี่ยงที่คอมมิวนิสต์จะคุกคามไต้ง่าย และหากสหรัฐฯ สูญเสียไทย ย่อมหมายถึงสหรัฐฯ
ร- ูญเสียทั้งภูมิภาคดามทฤษฏีโดมิโน อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นสหรัฐฯ ยังไม่ตัดสินใจ
ว่าจะสนับสนุนผู้ใดระหว่าง พล .อ. สฤษดกบ พล.ต.อ. เผ่า'ให้ ขึ้นมาเป็นผู้มีอำนาจ
A QJ"
1

•านใหม่ เนื่องจากสหรัฐฯ ยังคงมองว่าทั้งคู่ล้วนแสดงตนเป็น “เด็กดี" ของสหรัฐฯ ใน


ขณะที่กองทัพไทยดกอยู่ในการควบคุมของเหล่านายพลที่เลื่อยชาและไม่เช้าใจนโยบาย
ของสหรัฐฯ แม้สหรัฐฯยังคงสนับสทุนทั้งสองคนต่อไป แต่สหรัฐฯต้องการผลักดันให้
มีการปลดระวางนายทหารระดับสูงของไทยหลายคนที่ตายซากออกไปจากกองทัพ,,
ต้นเดือนมกราคม 2498 เมื่อจีนเริ่มรณรงค์เชิญชวนให้ประเทศต่างๆ เช้า
ประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝ็กใฝ่ฝ่ายใดที่เมืองบันตุง ประเทศอินโดนิเชียนั้น รัฐบาล
จอมพลป. ยังมีท่าทีเป็นปรปักษ์กับการเชิญชวนดังกล่าว 7 แม้ว่ารัฐบาลชะลังเลต่อ
สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาค แต่ไนระดับทางการแล้ว รัฐบาลยัง
พยายามสร้างความมั่นไจให้กับสหรัฐฯ ถึงความสัมพันธ์ลันแนบแน่นต่อไปด้วยการ
แสดงความต้องการที่จะไปเยือนสหรัฐฯ และพบปะสนทนากับประธานาธิบดีไอเซนราวร์
โดยจอมพล ป. ไห้เหตุผลว่า เขาไม่ได้เดินทางไปด่างประเทศนานกว่า 27 ปีแล้วทั้งแต่
ปบการศึกษาด้านการทหารปืนใหญ่จาก ฝรั่งเศส ตอนนี้เขาต้องการทำความคุ้นเคยกับ
รัฐบาลในเอเชียและคุโรปที่ร่วมเป็นมิตรกันในสหประชาชาติและร่วมกันต่อต้าน
คอมมิวนิสต์15

6
The Dwight D . Eisenhower Library * White House Office , National Security
Council Staff ะ Papers 1948 -196, Operations Coordinating Board Central File Service
Box 2 , “Thailand ; An American Dilemma, ” October 1954 .
7
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), c1A-RDp79T00975AOO 1800560001 0, -
5 January 1955 , “ Invitees Initially Wary of Asian -African Conference. ”
* “ Memorandum from the Deputy Under Secretary of State for Political Affaires

171
ขนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

เมี่อความผันผวนของสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศพุ่งสูงขึ้น จอมพสป.
ก็เริ่มเกิดความไม่มั่นใจในความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ จึงตัดสินใจส่งสัญญาณการ
เปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยไนการประชุมข้าราชการครั้งหนงในต้นเดึอนมกราคม
2498 เขาแนะนำช้าราชการว่าอย่าห่วงเรื่องการอนุรักษ์สิ่งเดิม ๆ เพราะเม่มีทางรักษา
..
ไวใต้ แต่ให้คิดและมองไปข้างหน้า ส่วน พล ต อ. เผ่า ศรียานนท์ ก็กล่าวว่าโลก
เปลี่ยนไป ข้าราชการต้องหมุนให้ทันโลก และควรมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ให้
ประชาชนมีอำนาจในการปกครองมากขึ้น หนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเห็นว่าทัศนะ
ทางการเมืองที่สำคัญของผู้นำทั้งสองคือการไปสู่ ยุคประชาชน
“ ” ',
ต่อมาจอมพลป. ประกาศไนการประชุมสมาชกสภาผู้แทนราษฎรที่สารับสนุน
รัฐบาลว่า เขาจะเร่งรัดแผนการปกครองใหม่ที่จะกระจายอำนาจไปสู่ประชาชน
เลิกระบบราชการที่เป็น “ขุนนํ้าชุนนาง ” แต่ข้าราชการจะต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชน
(สยามรัฐ , 22 มกราคม 2498) จากนั้นเขาได้วิจารณ์สาเหตุแห่งความล้าหลังของการ
ปกครองของไทยว่าเกิดจาก "ระบบศักดินา ” ทำให้ข้าราชการเหินห่างจากประชาชน
ด้วยเหตุน็รัฐบาลของเขาจึงต้องการทำลายระบบดังกล่าวให้หายไปอย่างเด็ดขาด
( ประชาธปไตย , 15 กุมภาพันธ์ 2498 ) ทั้งนึ้แผนการปรับปรุงการปกครองใหม่ภายใต้
รัฐบาลของเขาคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ยังคงมีความคิดดามแบบระบบ
ศักดินาไปสู่การปกครองที่มีความเสมอภาคเท่าเท้ยมและมุ่งไปสู่ความเจริญ (ไทยใหม่.
16 มกราคม 2498) ดย พล.ต.อ . เผ่าเห็นว่า “ระบบศักดินา ” หรือ “ระบบขุนนาง’ '

เป็นอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลง เขาเห็นว่าหลังการปฏิวัติ 2475 ประชาชนต้องการมี


ส่วนร่วมในการปกครอง ( ชาวไทย , 18 มกราคม 2498) จากนั้นพล.ต.อ. เผ่าได้เสนอ
แผนที่เรียกว่า “แผนปฏิรูปการปกครอง” ตามความต้องการของรัฐบาลที่ต้องการให้
กระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาค ผ่านรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น
และกระบวนการเลือกตั้ง 1"

(Murphy) to The Secretary of States, 5 January 1955 , ” in Foreign Relations of the


United States 1955- 1957 Vol 22 ( 1989, 807). 1
“บทบรรณาธิการ , ” ใน สซพนิกร , 19 มกราคม 2498 ,

1แ
หจช, มท . 0201 , 2.1 / 571 เอกสารสำบักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เรอง แผนปฏีรูปก TS
ปกครอง (พ , ศ, 2498 ),

172
ถอElห่างจากพญาอินทรี

นโยบายการทูตสองทางของรัฐบาลชอมพลป.
แม้ว่าสหรัฐฯ จะต้องการทำไห้ไทยกลายเป็นแหล่งทรัพยากรและตลาดรองรับ
รนคา และการผลักดันให้ไทยเปิดรับการลงทุนจากสหรัฐฯ จะประสบความสำเร็จ
บางส่วนด้วยการที่รัฐบาลจอมพล ป. ยอมออกกฎหมายส่งเสริมการลงทุนตามที่สหรัฐฯ
ผลักดันก็ตาม แต่รัฐบาลยังคงควบคุมการลงทุนอยู่ เนื่องจากรัฐบาลต้องการรักษา
^ ารประกอบการทางเศรษฐกิจของรัฐในรูปรัฐวิสาหกิจต่อไป (กุลลดา 2550, 6-8 ;
อุกฤษฏ์ 2526 ) ส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องการผลักดันให้ไทยเปิดการลงทุนให้มากขึ้นอีก
จอห์น ดัลเลส รมว. ต่างประเทศ เข้าพบจอมพลป. เพื่อผลักดันแนวคิดในการพัฒนา
,
: ศรษฐกิจให้กับ'ใทยอีกครั้ง หลังจากที่เขาเข้าร่วมการเปิดประชุมซีใต้ครั้งแรกในไทย

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เขาแจ้งต่อจอมพล ป. ว่าสหรัฐฯต้องการให้รัฐบาล


วายทบทวนกฎระเบียบเพื่อดึงดูดการลงทุนจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก แต่จอมพล ป. ไม่
แสดงท่าหืดอบรับความต้องการดังกล่าวของสหรัฐฯ แด่อย่างใด ,, แม้จอห์น พิว่ริฟ่อข
‘อกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยไต้พยายามเสนอให้รัฐบาลไทยพัฒนาระนบ
การคลัง การตั้งสำนักงบประมาณ การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันทางการค้า
และอุตสาหกรรมด้วยการลดอุปสรรคในการค้าและการลงทุนเพื่อส่งเสริมการลงทุนจาก
.
จากสหรัฐฯในไทยอีกก็ตาม แต่จอมพลป มิได้ตอบรับข้อเสนอดังกล่าวเช่นเดิม12
ดงนนจะเห็นได้ว่าแม้รัฐบาลจอมพล ป. ยอมรับการเช้าร่วมซ็โต้ แต่กลับไม่ตอบสนอง
V its

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเปิดการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากจะมี
ผลกระทบต่อฐานทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้นำชองรัฐบาล เช่น ค่ายราชฅรูที่มีจอมพล
สน ชุณหะวัณ กับ พล.ต.อ , เผ่า ศรียานนท์ ที่ไห้การคาชุนรัฐบาลอยู่
การเดินทางไปเยือนสหรัฐฯ และประเทศต่าง ๆ (เมษายน-มิถุนายน 2498) ของ
จอมพล ป. นัน เขาต้องการขอบคุณความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ ไค้ให้แก่ไทยและดูงานการ

]
'
" Memorandum
of Conversation between The Secretary of States and Field
Marshal p. Pibuisonggram at Government House- Bangkok, 22 February 1955,” in
Foreign Relations of the United States 1955 - 1957 Vol . 22 ( 1989, 809)
,

12
NARA, RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 3913 , Peurifoy to Secretary'
of State, 21 March 1955 ; Pibulsonggram to Peurifoy , 13 April 1955 ; ‘Teurifoy to
Prime Minister Pibulsonggram , 21 March 1955 , " in Foreign Relations of the United
States 1955- 1957 V0 I 22 ( 1989, 813- 14).

173
ชุนลึก ศักดินา และพญาอินทรี

บริหารและระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯรวมถึงพบปะ๓Jเทนากับประธานาธิบดีและบุคคล
สำคัญของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อาเรึกษาปัญหาความไม่เพียงพอของงบประมาณของไทย
เนื่องจากไทยใช้งบประมาณในทางการทหารถึงร้อยละ 40 เขาจงต้องการขอให้สหรัฐฯ
เพิ่มความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจมากกว่าการทหาร1 ทั้งนี้ก่อนที่เขาจะออกเดินทาง
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ พยายามโน้มน้าวเขาให้ดำเนินการปรับปรุงระบบการบริหารและ
นโยบายทางเศรษฐกิจตามที่สหรัฐฯต้องการอีกครั้ง ' 4
แม้ในด้านหนื่งจอมพล ป. จะพยายามกระชับไมตรีกับสหรัฐฯ ด้วยการเดินทาง
ไปเยือนสหรัฐฯก็ตาม แต่ในอีกด้านเขามิได้ยอมรับข้อเสนอจากสหรัฐฯให้!ทยปรับปรุง
การบริหารและนโยบายเศรษฐกิจตามที่สหรัฐฯต้องการ อีกทั้งเขาได้เริ่มต้นถอยห่างออก
จากสหรัฐฯ ด้วยการส่งกรมหมื่นนราธิปพงศีประพันธ์ รมว. ต่างประเทศ เป็นตัวแทน
ไปประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝืกใฝ่ฝ่ายใดที่เมืองบันตุง ประเทศอินโดนึเชีย (18-24
เมษายน 2498) อันเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เขาเดินทางไปเยอนสหรัฐฯ ' อย่างไร
ก็ตาม ก่อนที่คณะผู้แทนไทยจะเดินทางไปประชุมที่เมืองบันตุง สหรัฐฯ ได้พยายามยับยั้ง
การเช้าร่วมประชุมของไทย เดยสั่งการให้ฟิวริฟอยเข้าพบกรมหมื่นนราธิปพงศีประพันธ์
ในเย็นวันที่ 9 เมษายน 2498 ที่สนามบินดอนเมือง ก่อนคณะผู้แทนฯ ทั้งหมดจะออก
เดินทางไปยังเมืองบันตุง แต่การยับยั้งของสหรัฐฯไม่เป็นผล {สซานนิกร, 11 มิถุนายน
2498 )
ในการประชุมที่เมืองบันตุง ประเทศอินโดนีเซียทั้น ตัวแทนจาก 29 ประเทศ
ได้ร่วมรับรอง ‘'หลักปัญจศีล” อันมีสาระสำคัญคือการยิย่ร่วมกันอย่างสันติและการไม่
แทรกแซงกิจการภายในระหว่างกัน อีกทั้งที่ประชุมไต้ร่วมกันประณามลัทธิอาณานิคม

13 เข้า , 22 ธันวาคม 2497 ; หจช. (3 ) สร 0201.20.1.1/16 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อว


นายกฯ (จอมพลป . ) ไปเยือนอเมริกา พ .ศ. 2498 (ข่าวตอนเยี่ยมอเมริกา ) ( 11 เมษายน - 15
พฤษภาคม 2498 ) ; Evening News , 22 April 1955 .
14 NARA, RG 59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3913 , Anschutz to Secretary

of State, 29 April 1955 . 1


15
หจ ช. สบ. 5.1 . 1.2/1 เอกสารส่วนบุคคล ม . ล . ปีน มาลากล ส์ชิง รายงานการประชุมกคู!่ :
1

ประเทศเอเชีย -ชิฟ่รกา (พ . ศ. 2495- 2504) ภาคผนวก ลคุปผลการประชุม อัฟ่โฟ่ร- เอเชี่ยน ครั้งพี่


1 ที่เมืองบันดง ประเทศรนโดน็เชีย วันที่ 18 เมษายน 2498 . ประกอบด้วยคณะผูนทนฝ่าย ใ VI
1

มีกรมหมื่นนราธปพงศ์ประพ้นธ์ ม . จ , ดิลกฤทชี่ กฤดากร หลวงรัตนธิป หลวงวิเชียรนพทยาคม มน


-

อมาคขกุล ป๋วย ชิงภากรฟ้ สุาทย์ บวรวัฒนา วัฒนา อิศรกักด และเสวิ โกมลภูมิ

174
ถอยห่างจากพญาอีนทรี
1

ในทุกรูปแบบ ในวันสุดท้ายของการประชุบ กรมหมี่นนราธิปพงศ์ประพันธ์บันทึกว่า


ไจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีจีน ไม่มีท่าทึคัดค้านกาวชัดตั้งซีโต้แต่อย่างใด พระองศ์
เห็นว่าค้าปราศรัยของใจวเอินไหลกลับทำให้บรรยากาศการเมืองระหว่างประเทศใน
.อเชียผ่อนคลายลง พระองศ์ได้หาโอกาสสนทนาส่วนตัวกับใจวเอินไหลเพื่อซักถามถึง
ความข้องใจของไทยที่มีต่อจีนบางประการ เช่น ข่าวที่จีนให้การสนับสนุนทางการเมือง
•วับปรีดี พนมยงศ์ ใจวเอินไหลกล่าวปฏิเสธใดยบอกว่าปรีดีเป็นเพียงผู้พำนักอาศัยคน

ทนึ่งในจีนเท่านั้น พระองศ์ถามต่อไปอีกว่าจีนให้การสนับสนุนให้เกิดรัฐของชนเผ่า
ำาอิสระทางตอนใต้ของจีนหริอไม่ ใจวเอินไหลดอบว่าจีนไม่มีนโยบายที่จะสนับส'นน
ชนเผ่าไทอิสระให้แพร่ออกไปนอกจีนแต่อย่างใด จากนั้นเขาได้เช่ญคฌะผู้แทนไทยไป
เยีอฺนซีน ( Selected Documents of The Bandung Conference 1955 ; ฐ,
28 เมษายน 2498 ; นราธิปพงศ์ประพันธ์ 2518, 4 ; Kahin 1955, 26- 27) “’ ท่าที
ของจีนที่มีต่อไทยไนครั้งนั้นสร้างความอัศจรรย์ไจไห้กับพระองศ์มาก ทรงบันทึกว่า
'
โจวเอินไหลแสดงอัธยาศัยไมตรีอันดีแก่ข้าพเจ้า... มีการกระจายข่าวดังกล่าวมาไทย
ต่อมาเมื่อจอมพลป. ไต้ยินข่าวกระจายเสียงแล้วรีบโทรศัพท์มาถานข้าพเจ้า ให้ข้าพเจ้า
รายงานให้ทราบ’, (นราธิปพงศ์ประพันธ์ 2518, 5)
แม้จอมพล ป. จะรับรู้ถึงท่าหีทึ่เป็นมิตรของจีนแล้วก็ตาม แต่ท่าทีของจอมพล ป.
ในอีกฟากหนึ่งของโลกขณะอยู่ในสหรัฐฯก็ยังคงให้สัมภาษณ์ว่าไทยยังคงต้องการความ
ช่วยเหลือจากสหรัฐฯ เพื่อต่อต้านคอมมิวน้สศ์ต่อไป และสำหรับการประชุมที่เมือง
บันดุงนั้น เขา ’‘ไม่หวังผลอย่างจริงชังนัก” ( (พพนิกร, 26 เมษายน 2498) ในขณะ
ที่ซีไอเอประเมินว่า ท่าทีของไทยหลังการประชุมที่เมืองบันคุงคือไทยมีแนวโน้มที่จะ
มีนโยบายเป็นกลาง 17 จอมพล ป . อังคงอินยันนโยบายที่แนบแน่นต่อสหรัฐฯ ต่อไป 1"
เขาให้สัมภาษณ์ที่วอชิงตันดี. ซี. ผ่านวิทยุเสียงอเมริกาว่า "ข้าพเจ้ามาให้คำประกันแก่

16
เรื่ยิงเดียวกัน.
17
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA- RDP79T00975A002000150001-2,
26 April 1955 , ‘‘Thai Foreign Minister Reported to Have Become More Neutralist
at Bandung. "
The Dwight D . Eisenhower Library, Papers as President 1953 - 1961 ( Ann
Whitman File ), International Series Box 4N , File Thailand ( 3), Dulles’ s Memoran -
dum for The President, Visit of p. Phibulsonggram, 2 May 1955.

175
ชุนคิก คักดนา และพญาอ็นทวี

ท่านอีกครั้งว่า ประเทศไทยจะอยู่เคียงข้างสหรัฐฯ เสมอไป ” (เรท้, 4 พฤษภาคม 2498)


และยังได้กล่าวให้ความมั่นใจกับสภาคองเกรสว่า “ประเทศ ใ) องเราจะอยู่กับท่านเสมอ
1 »19

ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่วอชิงตันดี. ซี. ได้ตั้งข้อ


สังเกตว่า การที่จอมพล ป. มาเยอนสหรัฐฯ แต่กลับส่งกรมหมื่นนราซิปพงศ์ประพันธ์ !
เข้าประชุมที่เมืองบันตุงนั้น แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยกำลังพยายามอย่ๅงยิ่งที่จะอาศัย
สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศเป็นเหตุในการบ่ายเที่ยงการมความสัมพันธ์กับ
สหรัฐฯ และสหรัฐฯ สงสัยว่าอาจมีการตกลงกันบางอย่างระหว่างจอมพล ป . กับ
กรมหมื่นนราซิปพงศ์ประพันธ์เกี่ยวกับการประชุมที่บันตุง ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหา
การเมืองภายในไทย สหรัฐฯ เห็นว่าการดำเนินนโยบายของไทยในลักษณะนี้เกิดจาก
ความไม่มั่นใจของไทยว่าซ็โต้จะสามารถปกปัองไทยให้รอดพ้นหากเกิดปัญหาการ
รุกรานได้1" สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของทูตอังกฤษว่า ท่าทีของโจวเอินไหลที่บันตุง
ทำให้รัฐบาลไทยคลายความเชื่อมั่นที่มีต่อซีโต้ลง (Tarling 1992, 108)
ทันทีที่จอมพล ป. กลับถึงไทย เขาสอบกามรายละเอียดถึงความเป็นมิตรของ
ใจวเอินไหลที่มีต่อไทยจากกรมหมื่นนราซิปพงศ์ประพันธ์ และพระองศ์แจ้งว่าจีนยินดี
ต้อนรับผู้แทนไทยไปเยือนจีน (นราซิปพงศ์ประพันธ์ 2518, 5 ; อารี 2524, 6) จาก!ณ
จอมพลป. ได้นำเรื่องดังกล่าวมา!!รึกษาสังข์ พัธโนทัย คนสนิทของเขา สังข์ให้ความ
เห็นว่าไทยไม่ควรเป็นศัตรูกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจีน ดังนั้น เมอจนแสดง
A ^

ท่าทีเปิดกว้าง ไทยควรลองเชื่อมไมตรีกับจีน จากนั้นจอมพลป. ได้กล่าวว่า “โลก


กำลังเปลี่ยนแปลงใหม่อีกแล้ว” (สังข์ 2525, 258-60 อ้างใน กรุณา 2532, 258-60)2 '

หจช. ( 3) สร 0201.20 . 1.1/ 16 ; United Press , 5 May 1955 .


“ the Acting Officer in Charge of Thailand and Malayan Affaires ( Foster) to
The Ambassador in Thailand ( Peurifoy ), 22 June 1955," in Foreign Relations of
the United States 1955- 1957 Vol 22 (1989, 825 27).
?]
-
สังข้เห็นว่าความชวยเหลอทางการทหารของสหรัฐฯ สร้างความเข้มแข็งให้กับคณะรัฐประหาร
I
มเช่รัฐบาลจอมพล ป . พิมูลสงคราม ( NARA, KG 59 Central Decimal File 1950-1954
Box 4190, Memorandum of Conversation Nai Sang Pathanotai and N . n . Hannah,
24 March 1952). สงข์ยอมรับว่าเขาเคยร่วมมือกับสหรัฐฯในการต่อต้านคอมมืวนิสตออ่าง “ลกซัง'
ต่อมาเขาเห็นว่าการคำเนินการตามสหรัฐฯฏิได้เกิดประโยชน์กับไทย ในขณะที่สทรัฐฯมื ‘‘แผนขีดครอง -
ไทย โดยเขารับทราบเรื่องตังกอ่าวจากเจ้าหน้าที่ซีไอเอคนหนึ่ง ต่อมาเขาไต้นำเรื่องดังกอ่าวเอ่าให้
จอมพลป ฟ้ง และสนบสบุนให้จอนพลป. ต่อส้กับสหรัฐฯ (ทองใบ 2517, 271 72) .
,
-

176
ถอยห่างจากพญาอินทรี

าสัยทัศน์ใหม่ของจอมพล ป. ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่าง “ขุนศึก ”


นับตั้งแต่กลางปี 2498 พล.ต.อ. เผ่าได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจเหนือ พล.อ . สฤบด
,
,
อย่างรวดเร็วเนื่องจากความสามารถในการบริหารของเขาและการส'นับเสมุนจากช'ไอเอ
'
,
-
เขามีแผนทจะขจัดคู่แข่งขันทางการเมืองด้วยการรัฐประหารและจับตัว พล.อ. สฤบสี้
1

ก่อนที่จอมพล ป. จะเดินทางกลับจากสหรัฐฯ เพื่อยุติโอกาสของ พล.อ. สฤษสี้ในการ


เป็นก้นำทางการเมืองคนถัดไป ในคืนวันที่ 13 กรกฎาคม 2498 เขาเปทืสถานทูต
'”

สหรัฐฯ เพื่อขอการสนับสนุนการรัฐประหารจากพิวริปอย ทูตสหรัฐฯ แด่พิวริปอย


ปฏิเสธที่จะให้การสนับสบุนและได้บอกกับพล .ต.อ. เผ่าว่า สหรัฐฯยังคงสนับสนุน
รัฐบาลจอมพลป. ต่อไป เขาเห็นว่าพล.ต . อ. เผ่ายังไม่เหมาะสมกับตำแหน่งนายก
รัฐมนตร แต่เหมาะที่จะอยู่หลังฉากมากทว่า21 และเขาได้แจ้งต่อ พล.ต.อ, เผ่าเพิ่มเติม
ว่า ทากกลุ่มตำรวจรัฐประหารเพื่อกำจัดพล . อ- สฤษสี้และกลุ่มทหารได้สำเร็จก็ยากที่
จะได้รับการยอมรับจากจัสแมคไทย เนื่องจากจัสแมคไทยสนับสนุน พล.อ. สฤษดิและ
กลุ่มทหาร24 เมื่อจอมพล ป. เดินทางกลับนาไทย พิวริปอยได้นำเรื่องความพยายาม
รัฐประหารของ พล.ต.อ. เผ่าแจ้งให้เขาทราบ 2
เมื่อด้ลเลส รมว. ต่างประเทศ ไต้รับรายงานจากไทยถึงความพยายามก่อการ
รัฐประหารของ พล.ต.อ. เผ่า เขาไต้แจ้งกับพิวริปอย ทูตสหรัฐฯ ว่าสหรัฐฯไม่ต้องการให้
มีการโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป.21s พิวริปอยไต้แสดงความเห็นกลับไปยังวอชิงตัน ดี. ซ็.
ว่า เขาเห็นด้วยถับตัลเลสว่าสหรัฐฯควรให้การสนับสนุนรัฐบาลจอมพล ป . ต่อไป และ
สหรัฐฯ จะะยังคง 1,ด้รับประโยชน์ทากสนับสนุนให้ทั้งพล.ต.อ. เผ่าและพล.อ. สฤบติ
ร่วนมีอกันต่อไป อย่างไรก็ตาม เขาเสนอแนะต่อดัลเลสว่า หากสหรัฐฯ จำเป็นต้อง

22 .
NA, F0 371/106890, Whitteridge to Foreign Office, Annual Review : Report on
the general situation in Thailand for ใ 955, 3 January 1956.
n “ Peurifoy to the Department of States, 14 July 1955," in Foreign Relations of

the United States 1955-1957 Voi 22 (1989 , 827 - 28) ; NA, FO 371/117346, Gage to
Tomlinson, 27 July 1955.
24
Ibid ,
25
Ibid .
26
NARA, RG 59 General Records of Department of State, Central Decimal
File 1955-1959 Box 3908, Dulles to Peurifoy, 28 July 1955.

177
ขุนศัก ศักดินา แล r¥< ญาอินทรี

เลือก?ท่รับ?กรุนคนใดคนหนื่งไห้ขนมามีอำนาจแล้วนั้น "จะต้องเป็นไปเพื่อผลประโยชน์
ระยะยาวของสหรัฐฯ เท่านั้น”-7
ไม่แต่เพียงโลกทัศน์ที่เปลี่ยนไปของจอมพลป . อันเป็นผลมาจากการเดินทาง
ไปเห็นความเปลี่ยนแปลงของโลกในสหรัฐฯ และประเทศต่าง ๆ เท่านั้น แต่ปัญหาการ
แข่งขันระหว่าง พล.ต.อ. เผ่ากับ พล.อ. สฤษดี้ โดยทั้งคู่ได้รับการสนับสนุนจากซไอเอ
และเพนตากอนก็มีความแหลมคมมากซ้น ส่งผลให้จอมพลป , ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
ตระหนักถึงเสถียรภาพรัฐบาลของเขาที่วางอยู่บนความสัมพันธ์อันเปราะบางภายไน
คณะรัฐประหารระหว่างกลุ่มตำรวจกับกสุ่มทหาร เขาคิดว่าจำเป็นต้องแสวงหาทางออก
ทางการเมืองที่จะทำให้เขาได้รับการ?กรับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง จึงตัดสิน
ใจเป็ดกว้างทางการเมือง ปล่อยให้เกิดบรรยากาศประชาธิปไตย และให้เสรีภาพใน
การนำเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อนำไทยเข้าสู่วิถีทางประชาธิปไตย
โดยไห้ประชาชนมี?ทนร่วมทางการเมือง ( ล‘ยพนกร , 24 มิถุนายน 2498) การเปลี่ยน
ท่าทีของจอมพล ป. ครั้งนี้ทำให้หนังสือพิมพ์ขณะนั้น เช่น (ท?m ประเมินว่าการ
เดินทางไปต่างประเทศของจอมพล ป. ทำให้เขามีความคดไหม่ที่มีความเป็นมิตรและ
เห็นความสำคัญของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย โดยเขาไต้กล่าวใน
วันชาติประจำปี 2498 ว่า “ไม่มีใครอยู่คํ้าพีา’, และเคยกล่าวในที่ประชุมคณะรัฐประหาร
I
ว่าประเทศไทยยังล้าหลังอยู่มาก เขาต้องการให้สมาชิกคณะรัฐประหารช่วยสร้างความ
เจริญไห้กับประเทศและนองไปข้างหน้า ((ท?เส?, 30 มิถุนายน 2498) ส่วน พิมพ์?ท?/
ได้ให้ฉายาจอมพลป. ว่า “จอมพลคนใหม่ ” และเห็นว่า “นายก'ฯของเรามีซีวทัศน์และ
โลกทัศน์ที่เปลี่ยนไปจากเดีมมาก” ( พิมพ์?ทส , 3 กรกฎาคม 2498)
ในขณะที่การแข่งขันระหว่างกลุ่มตำรวจกับกลุ่มทหารยังไม่มีฝ่ายไดมีชยอย่าง
เดดขาด พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนพ์ ก็พยายามที่ป็ะขอความช่วยเหลือจากส[หรัฐฯให้มาก
ซ้นอีก แต่พิวริฟอย ทูตสหรัฐฯ ไม่สนับสารุนไห้พล.ต. อ. เผ่าเดินทางไปสหรัฐฯเพื่อขร:
เงินสนับสนุนเพิมเต็มอีก-* เนื่องจากพิวริฟอยเห็นว่าสหรัฐฯไต้ให้ความช่วยเทลือแก่
'

ทั้งกลุ่มทหารและกลุ่มตำรวจตามข้อตกลงที่เรียกว่า “ Sarit and Phao ” ที่มีมูลค่า

21
NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Peunfoy to Secretarv
of State, 4 August 1955 .
u
ทจช. ( 2) กฅ 1.1 /48 เอกสารกระทรวงการด่างประเทศ เรื่อง การเจรจาขอเพิ่มการไท้ควาน
ช่ว mหลอจากสหรัฐอเมรกา ( 25 กรกฎาคม - ร รงหาคม 2498 ) บันทึกเอกอัครราชทุตอเมรกันได้
นาเฟิาเสด็จในกรมฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการด่างประเทศ รันที่ 28 กรกฎาคม 2498 .

178
ถอยห่างรีาทพญาอินทรี

i มถึง 53 ล้านดอลลาร์เป็นพิเศษแล้วนอกเหนือจากความช่วยเหลือทางการเงินและ
I

อาวุธตามปกติ อีกทั้งเงินพิเศษก้อนนึ่กยังไม่ถูกใช้-' อย่างใรก็ตาม หล.ต.อ. เผ่ายังคง


1

,
รนยันแผนการเดินทางไปสหรัฐฯ ในด้นเดือนสิงหาคม 2498 เพื่อ‘บอความช่วยเหลือ
1นาสหรัฐฯ อยู่ด3ี ' ไนที่สุดเขาได้เดนทางไปขอความช่วยเหลอจากลหรัฐฯ สำเร็จ ใน
,

T 'รเยือนสหรัฐฯ ครั้งนี้ เขาได้พบบุคคลสำคัญหลายกน เช่น ด้ลเลส รมว. ต่างประเทศ

บายพลแมกซ์เวลล์ เทย์เลอร์ (Maxwell Taylor) เสนาธิการทหารบก พล.ร.อ. กราฟส์


เออร์สกิน รมช. กลาโหมฝ่ายช่วยเหลือทางอาวุธ กอร์ดอน เกรย์ (Gordon Grey)
รมช. กลาโหมฝ่ายการป้องกัน เฟินต้น:แ
ไนระหว่างที่ พล .ต.อ. เผ่าอยู่ในสหรัฐฯ พิวริฟอย ทูตสหรัฐฯ ผู้ไม่สนับสนุน
พล .ต.อ. เผ่า ใต้ถึงแก่อสัญกรรมอย่างฉับพลัน (12 สิงหาคม 2498) จากอุบัติเหตุจาก
ารขับรถด้วยความเร็วสูงชนกับรถบรรทุก หลังกลับจากชมการกระโดดร่มของตำรวจ
คลร่มที่ก่ายนเรศวร หัวหิน ทำไห้เขาและบุตรชายคนหนึ่งเสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที 32

แม้ความตายของเขาจะสร้างความตกตะลึงและสนเท่ห์ให้กับสหรัฐฯ ก็ตาม แต่เจ้าหน้าที


ชีช้พพลายที่ช่วยงานกลุ่มตำรวจอย่างฮว แมคคาฟฟรี่ (Hugh McCaffrey) แชืค เชอร์ลี่

29
หจช. กค 0301.9/8 เอกสารกระทรวงการคล้ง เรื่อง ขอความช่วยเหอือทางการเงินจากรัฐบาล
สหรัฐอเมริกา ( 9 พฤศจิกายน 2497 - 14 ธนวาคม 2498 ) จดทมายจาก จอห์น อี, เพืยวริฟอย
เอกอัครราชทูตอเมริกันประจำประเทศไทย ถึง จอมพลอากาศข้น รณนภากาศ ฤทธาคนี วันที่ 30
มธุนายน 2498.
3ก
หจช. กค 0301.9/8 หนังสือจาก พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นคน
เำ นายกรัฐมนตรี วันที่ 22 ตุลาคม 2498. การเดินทางไปของพล.ต.อ. เผ่า ครั้งนี้ไทยได้รับเงิน
ช่วยเหอือพิเศษจำนวน 2.2 ล้านดอลลาร์ เงินช่วยเหอือจากงบประมาณด้านวิชาการ (Technology
Cooperation ) จำนวน 4.8 ลานดอลลาร์ ด้านการป้องกัน (Defense Support) 29.5 ล้านดอลลาร์
เงินช่วยเหอือกองท้พใดยฅรง ( Direct Forces Support) จำนวน 10.4 ล้านดอลลาร์ และกรม
ประมวลฯได็ให้สายงาน‘นองพอล เอสลเาล ดำเป็นการประชาสัฃษันธ์ใคขชัางวิลเอืยม คอสเตถไล
ประธานกรรมการบริษัท Television and Radio Correspondent 's Association ประชาสิมพนธ
ประเทศไทยในสหรัฐฯ
31
หจช. ( 3) สร 0201.17/16 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การพบปะสนทนาทางราชการ
ในสหรัฐฯ ของนายพลดำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ (19-30 สิงหาคม 249S ): บันทึกการสนทนา
ระหว่างรัฐมนตรี เผ่า ศรียานนท์ กับนาย Hollister ห้าmn 1CA วันที่ 12 สิงหาคม 2498 เวลา
10.00-10.30.
32
หจช. (3) สร 0201.21/10 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง เอกอัครราชทูตอเมริกันและบุตร
-
ชายคนเล็กถงแก่กรรมใคยอุป๋ทวเหตุ (12 สิงหาคม 28 ตุลาคม 2498) .

179
ชุนคึก ศักดินา แธะพญาอินหา

(Jack Shirley) ที่โดยสารรถไปกับพวริฟอยด้วย ได้รายงานว่าความตายของพิวรีฟอย


เป็นอุบัติเหตุกระนั้นก็ดี ความตายของพิวรีฟอยที่กรุงเทพฯได้สร้างความกดดัน
ให้แก่พล.ต.อ. เผ่าที่วอชิงตันสี. ซี. มาก เขาไต้บันทึกถึงเรี่องดังกล่าวว่า “ในตอนด้น
มีผู้สงสัยระแวงอยู่บ้าง แต่เมอสถานีวิทยุและโทรทัศน์ได้ประกาศอย่างละเอียด ทำให้
เจ้าหน้าที่ หายสงสัย และเมื่อมีรายงานยืนยันจากเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่ปฏิบัติงาน
CIA
ในหน่วยพลร่ม ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์อย่าง ร.ต.อ. แจ้ค เชอร์ถี่ และนายแมคคาvJรี่ เป็นผู้
ลงนามแล้ว ความคลี่คลายจงเกิดขึ้น”34 อย่างไรก็ตาม การข่าวทางการทหารของสหรัฐฯ
ให้'นั้าหนักความตายของพิวริฟ่อย ทูตสหรัฐฯ ว่าเกิดจากอุบัติเหตุโดยมีความเป็นไปได้
1

เพียงห้าสับเปอร์เซ็นต์เท่านั้น35 ไม่นานหลังจากนั้นสหรัฐฯได้ล่งแมกซ์วอลโด บชอป


( Max Waldo Bishop) 11' เข้ามาเป็นเอกอัครราชทูต ( ธันวาคม 2498 - ธันวาคม
2500) คนใหม่ต่อไป
สถานทูตอังกฤษวิเคราะห์ว่า ในสายตาของจอมพล ป. ค่ายราชครูที่นำใดย
จอมพลผินและ พล.ต.อ. เผ่าเป็นกลุ่มที่แสดงการท้าทายอำนาจของเขาอย่างเปิดเผย
ทำให้เขาต้องการลดทอนอำนาจของกลุ่มดังกล่าวลงด้วยการปรับคณะรัฐมนตรีในเดือน
สิงหาคม 2498 โดยการย้ายพล.ต.อ . เผ่าจากรมช. คลัง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ พล.ต.อ,
เผ่าหาประโยชน์จากการด้าทองและฟิน และใช้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นช่องทางในการ
ติดต่อรับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯให้ไปเป็นรมช. มหาดไทยแทน และปรับจอมพล

“ หจช. (2) กต 1.1 .6/ 21 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรือง คำตอบกระทู้ถามของนาย


อารีย์ ดันตเวชกุล สมาซิกสภาผู้แทนราษฎร เรื่องการมรณะกรรมนาย ๆอห์น ปึ . ฟ่วรีฟ่อย เอกอัคร-
ราชทูตสหรัฐอเมรีกา ประจำประเทศไทย ( 23 - 31 สงทาคม 2498 ) . J
34
หจช. ( 3 ) สร 0201.20. 1.1 / 20 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รายงานการเสินทางไป
ปฏิบัดีราชการต่างประเทศของนายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ( 25 สืงหาคม - 17 กันยายน 249 ร
หนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรี พล . ต .อ . เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นคน
^
ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง รันที่ 17 กันยายน 2498 . j
35
NARA, CIA Records Search Tool (CREST ), CTA - RDP75-00149R 000600300030- 3,
15 August 1955, “ Probe Envoy's Death Ride. ”
36
แมก1ซี าอล 1ค บชอป ( Max Waldo Bishop ) ( 2451 - 2537 ) จบการศึกษาด้านปรัชญาจาก
มหาวิทยาลัยชิคาโก ปฏิบัติงานในกระทรวงการต่างประเทศที่ญปุ่นในฐานะส่าน ( 2478 -2481 ) กงสุร!
โคลัมโบ-ซีลอน ( 2488 ) หัวหน้ากิจการเอเชียฅะรันออกเฉียงเหนือ ( 2491 - 2492) เอกอัครราชr ติ
ประจำประเทศไทย ( ชันวาคม 2498 - ธันวาคม 2500) (หจช. [ 3] สร 0201.16 /9 เอกสารสำนัก
นายกรัฐมนตรี เรื่อง ทูตณมริกันประจำประเทศไทย [30 ชันวาคม 2496 - 14 กุมภาพ้นธ 250111

180
ถธยห่างจากพญาอิน'กรี

พินจากการควบตำแหน่งรอ/!นายกรัฐมนตรีและ‘งิมช. กลาโหมเปนรองนายกรัฐมนตรี
เพียงตำแหน่งเดียว ในขณะทีเขาเปิดโอกาสให้พล.อ. สฤษติ หัวหน้าค่ายสีเสาเทเวศน
เข้าไปดำรงตำแหน่ง รมช. กลาโหมแทนจอมพลผิน ทำให้ค่ายราชครูเสีย1ชกับการปรับ
คณะรัฐมนตรีครังดังกล่าว37 อย่างไรก็ตาม แม้การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้จะเป็น
ความพยายามลดอำนาจของค่ายราชครูลง แต่ดัลเลส รมว. ต่างประเทศสหรัฐฯ เห็น
ว่าพล.ต.อ. เผ่าเป็นคนที่ไม่ธรรมดา เขามีความสามารถทั้งการบริหารและศักยกาพใน
การทำงาน พล.ต.อ . เผ่ า ยั ง สามารถเป็ น คู แ
่ ข่ ง ขั น ทางการเมื
,
อ งของ พล. อ . สฤษดต่ อ'
ใ ป 3'
'

จอมพล ป. ดำเนินแผนการจัดดุลอำนาจในรัฐบาลต่อ1ปด้วยการ'ปรับปรุงการควบคุม
'
กลุ่มทหารและกลุ่มตำรวจใหม่ โดยปฏิเสธแรงกดดันจากค่ายราชครูที่ต้องการกำจัด
พล.อ. สฤษดิ้ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและให้พล. ต .อ . เผ่าเข้าดำรง
ตำแหน่งแทน นอกจากนี้ จอมพลป. ยังดำรงดำแหน่,,งรมว. มหาดไทยเพื่อควบคุม
กรมตำรวจซึ่งเป็นฐานอำนาจของ พล.ต.อ. เผ่าโดยตรง ' จากบันเขาได้ลดทอนอำนาจ
'

ของพล.ต.อ. เผ่าในกรมประมวลราชการแผ่นสินที่สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนชัดตั้งขึ้น


ด้วยการสั่งให้ข้าราชการที่เคยถูกยมตัวไปช่วยราชการที่กรมบ่ระนวส'1 กลับไปปฏิบัติ
งานที่ต้นสังกัดเดิม แม้จอมพล ป. จะพยายามปรับดุลอำนาจทางการเมืองระหว่างสอง
กลุ่มแล้วก็ดาม แต่เขาก็ยังไม่ไววางใจฐานอำนาจทางเศรบฐกิจของทังสองกลุ่ม จึง
ดำเนินการลดทอนฐานอำนาจทางเศรบฐกิจของทั้งสองกลุ่มลาอีกต้วยมดีคณะรัรมนตรี
14 สิงหาคม 2498 ที่กำหนดให้สมาชกคณะรัฐมนตรีต้องไม่ดำรงตำแหน่งในธุรกิจของ
รัฐและเอกชน40 ยิ่งไปกว่านั้น จอมพล ป. พยายามเปิดกว้างทางการเมืองด้วยการ

NA, F0 371 / 117346, whitteridge to Foreign Office , 6 August 1955 ; NA, F O


'
37

371 /117338, Whitteridge to Foreign Office, 11 August 1955 .


38
NAHA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Dulles to Bangkok ,
Relationship between General Phao and Prime Minister Phibun, 20 October 1955.
39 แจช . มท . 0201.2 . 1.23/ 41 เอกสารสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คำสั่งของ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป . พิบูลสงคราม ) เรื่องอำนาจไนการออกข้อบังคับของ


กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการไชกำลังตำรวจเคลื่อนย้ายและเครีอมพร้0 ม (พ .ศ. 2498). จอมพล ป .
พิบูลสงครามได้ออกคำสั่งให้อำนาจในการสั่งการไข้กำลัง เคลื่อนย้ายกำลัง และการเตรียมพร้อมของ
ตำรวจ ที่เคยเป็นอำนาจของ รมช. มหาดไทยให้เปึนของ รมว . มหาดไทยแทน
40 ‘แขช. ( 3 ) สร 0201.45/ 51 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การควบคุมองค์การของรัฐ และ

บวิบัทในความควบคุมของรัฐ (20 ตุลาคม 2498 - 15 สิงหาคม 2500) หนังรอจากสุนทร หงส์ลดารมภ์


เลขาธิการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ถีงเลขาธิการคฌะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง วันที่ 20 ตุลาคม 2498 .

181
จุนคีท ศกฅนา และพญาอินทรี

อนุญาตไห้ตั้งพรรคการเมือง ให้เสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์ พยายามใกล้ชิดประชาชน


และสร่เบสนุนการต่อต้านการผูกขาดอำนาจเศรษฐกิจและการคอร์รัปชั่น คลอดจน
ปฏิเสธข้อเรียกร้องของกลุ่มรอยัถลิสต์ที่ต้องการพื่นฟูรัฐธรรมมุ}ญฉบับ 2492 หรือ
รัฐธรรมนูญรอยัลลิสต์ขึ้นมาใหม่ สถานทดสหรัฐก เรียกนโยบายการเปลี่ยนแปลงข้าง
ต้นของจอมพลป. ว่า วิสัยทัศน์ใหม่4 '
ด้วยเหตุที่การแข่งขันระหว่างขุนศึกทั้งสองนั้นยากแก่การเข้าไจ ดัลเลส รมว.
ต่างประเทศ จึงมีบันทึกถึงบิชอป ทูตสหรัฐ1 คนใหม่ ใดยให้ข้อมูลว่า พล.ต.อ. เผ่า
และพล.0 . สฤษดิ้เป็นเพื่อนร่วมรุ่นที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกและมีธุรกิจบางอย่างร่วม
กัน แต่ก็แข่งขันกันอย่างเข้มข้นเพื่อหาความสนับสนุนจากจอมพลป. แม้พวกเขาสูก*น
av 4L

.
แต่ไม่ได้เป็นศัตรูกัน ทั้งสองคนยังคงสนับสนุนจอมพล ป แต่พล.อ. สฤษคิ้มักเยาะเย้ย
ความภักดีของพล.ต.อ. เผ่าที่มีต่อจอมพล ป. อย่างแน่นแฟ้น อย่างไรก็ตาม จอนพลป
1
.
กสับมีความระแวงพล.ต, อ. เผ่ามากกว่าพล.อ. สฤษคิ้ จอมพลป. ต้องการผนึกอำนาจ
ทางการเมืองของเขาโดยไม่ต้องการองกับอำนาจของสองขุนศึกอีกต่อไป ด้วยการใช้
หนทางประชาธิปไตยเป็นแนวทางเสริมสร้างอำนาจและความชอบธรรมให้กับตนเอง
อย่างไรก็ตาม ดัลเลสตั้งข้อสังเกตว่า ท่ามกลางการต่อส้ระหว่างพล.ต.อ. เผ่ากับพล.อ.
สฤษดดี้ เมื่อใดจอมพลป. ไม่มีอำนาจ เมื่อนั้นเขายังรักษาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้
แต่หากเมื่อใดเขาต้องการอำนาจมากขึ้น เมื่อนั้นเขาจะเสียทั้งตำแหน่งและอำนาจไป 1 '

เมื่อพล.ต.อ . เผ่าเดินทางกลับจากวอชิงตัน ดี. ชี. และภายหลังการมรณกรรม


ของทูตสหรัฐห แล้ว เขาร้สีกได้ถงความเหินห่างระหว่างเขากับสหรัฐฯ เขาเคยกล่าว
กับนอร์แมน แอนชูทส์ ( Norman Anschuetz) อุปทูตรักษาการฯ ในเดือนกันยายน
249S ว่า เขาต้องการใกล้ชิดกับ ผู้แทนของสหรัฐฯ ต่อไป แต่เขาคิดว่าคงไม่ได้รับความ
สนิทสนมแนบแน่นจากตัวแทนสหรัฐฯ เหมือนเช่นในอดีตอีก 43 แอนชูทส์รายงานใน

41 NARA, RG 59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3908, Magill to Secretary of
State, Phibun-The New Look , 24 August 1955 ; NARA, RG 59 General Records of
The Department of State, Central Decimal File 1955-1959 Entry Thailand 1955-1959
Box 3910, Anschuetz to Secretary of State, 17 September ไ 955 . i
42
NARA , RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Dulles to Bangkok .
Relationship between General Phao and Prime Minister Phibun, 20 October 1955.
43
NARA, RG 59 Central Decimal File 1955 -1959 Box 3908 , Anschuetz to Secre-
tary of State, 8 September 1955 ,

182
ถอยห่างจากพญาอินทา

รบับต่อมาว่า เมื่อใดที่เขามีโอกาสสนทนากับ พล.ต.อ. เผ่านั้น พล.ต.อ. เผ่ามักจะ


'
•ล่าวชื่นชมความสัมพันธ์อันยาวนานของตนกับสหรัฐฯ อยู่เสนอ แอนชูทส์เห็นว่า
พล.ด.อ. เผ่าแสดงท่าท้ดังกล่าวเพื่อต้องการได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯต่อไป4'1
ปลายเดือนพฤศจิกายน 2498 สถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่า การท้าทายของ
พล.ต.อ. เผ่าต่อจอมพลป. ดูเหมือนใกล้จมสิ้นลง พล .ด.อ. เผ่าถูกหนังสือพิมพ์ของ
รอมพลป. วิจารณ์อย่างหมัก ทำให้การเมืองไทยตกอยู่ในสภาพตึงเครียด เห็นได้จาก
.
ขันักงานตำรวจที่วังปารุสกัของ พล.ต.อ. เผ่าที่ได้รันการคุ้มกันอย่างแน่นหนาโดยกลุ่ม
ตำรวจหรีอพวกอัศวินแหวนเพชร เนื่องจากขณะนั้นจอมพลป. ให้การสนับล'นุนพล.อ.
ล;าษดิ้เพื่อจำกัดอำนาจของพล.ต.อ. เผ่า45 ต่อมาจอมพลป. บอกกับแอนชูทสัว่า กลุ่ม
ตำรวจพยายามสร้างความตึงเครียดทางการเมืองขน เนื่องจากพวกเขาอาจจะถูกจับกุม
ฐานเกยวข้องกับการ,มาตกรรมทลายคดี รวมทั้งการทำธุรกิจผิดกฎหมาย เช่น การ
ๆฌสืนคาเถื่อน การปลอมแปลงธนบัตรและการค้าริ่เน นอกจากนั้ พวกเขาได้ส่ง
จดหมายคุกคาม อ สฤบด ทำให้กลุ่มทหารเริ่มเตรียมความพร้อม แอนชูทส์แจ้ง
พล . . X

.
กับจอมพล ป ว่า สหรัฐฯ ไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรงอันเนื่องมาจากการต่อสู้กัน
นั้อช่วงชิงอำนาจทางการเมือง เนื่องจากการต่อสู้ของกลุ่มผู้นำในรัฐบาลไทยจะทำให้
สหรัฐฯ และไทยสูญเสียความน่าเชื่อถือในซีโต้ และความขัดแย้งจะนำไปสู่การแทรกซีม
ของคอมมิวนิสตได้"’ อย่างไรก็ตาม การแข่งขันระหว่างกลุ่มทหารกับกลุ่มตำรวจยัง
ดำเนินต่อไป เช่น ในปลายเดือนธันวาคม 2498 กองทัพบกภายใต้การนำของพล.อ.
สฤษดใต้เคลื่อนโเใลังอย่างไม่มีสาเหตุเข้าคุมสถานที่สำคัญในกรุงเทพฯ โดยมีการตั้ง
กำลังหน้าหน่วยทหาร การแข่งขันดังกล่าวส่งผลให้จอมพล ป. ต้องระมัดระวังตัวมาก
ชัน โดยเขาไต้เปลี่ยนที่หักในเวลากลางคืนอยู่เสมอ (พิมพ์โพย, 30 ธันวาคม 2498 :
สารเสรี, 30 ธันวาคม 2498)
ด้วยเหตุที่ พล.ต.อ, เผ่าพยายามขอการสนับสนุนจากสหรัฐฯ บ่อยครั้ง และการ
ที่เขามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับซีใอเอ ทำให้จอมพลป. ไม่ไว้วางใจ ทั้งนั้พจน์ สารสีน

. NARA, RG 59 Central Decimal File 1955 - 1959 Box 3908, Anschuetz to Secretary
\ of State, 20 September 1955 -
45
-
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA RDP79T00975A002300130001- 1 ,
29 November 1955, “ Political Showdown in Bangkok May Be Near . "
Itj
NARA RCi 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908 , Anschuetz to Secretary
of State, 1 December 1955 .

183
ชุนศึก ศักดินา และพญารนทรื

ทูตไทยประจำสหรัฐฯ ได้เคยบอกกับแลนดอน เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ


แผนกกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่วอชิงตัน ดี. ซี. ถึงการขยายบทบาททางการเมือง
ของพล.ต.อ. เผ่าผ่านการขอการสนับสนุนจากสหรัฐฯว่า จอบพลป. ไต้เคยบอกโดย
อ้อมกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่กรุงเทพฯ ว่าเขาคือหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการ
ของความสัฆพันธ์ระหว่างกัน ดังนั้น สหรัฐฯควรติดต่อผ่านเขามากกว่าผ่านพล .ต.อ.
เผ่า จอมพลป. ได้ยกตัวอย่างตำแหน่งของโดโนแวน อดีตทูตสหรัฐฯประจำไทยและ
ที่ปรึกษาของรัฐบาลไทย ที่มักติดต่อโดยตรงกับ พล.ต.อ. เผ่ามากกว่าเขา พจน์เห็น
ว่าจอมพลป. หวาดระแวงความทะเยอทะยานทางการเมืองของพล . ต.อ , เผ่าที่อาจคิด
ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปจากเขา นอกจากนี้ พจน์เห็นว่าการที่ พล .ต อ เผ่า ..
เดนทางไปเยือนต่างประเทศเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ไดยเฉพาะ
อย่างยิ่งสหรัฐฯ เป็นการเตรียมตัวเป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ แลนดอนได้ตั้งข้อ
สังเกตในการสนทนากับพจน์ว่า พจน์!ม่พอใจที่ พล.ต.อ. เผ่าขยายอำนาจมายังกิจกรรม
,

ด้านการต่างประเทศ โดยพจน์เองก็ระแวงว่า พล.ต.อ. เผ่าต้องการเป็นทูตไทยประจำ


สหรัฐฯ แทนเขา,7
'

การสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยไนฐานะทางออกทางการเมือง
ควรบันทึกด้วยว่า เป็นเวลาหลายปืที่รัฐบาลจอมพลป . ต้องเผชิญกับปัญหา
ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองต่าง ๆ แม้ต่อมาเขาจะสามารถปราบ
ปรามกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ลงไต้ก็ตาม แต่เขาย่อมตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงของ
ปัญหาการเมืองจากความขัดแย้งภายนอกคณะรัฐประหารมาสัความขัดแย้งภายใบ
ระหว่างขุนศึกสำคัญสองคนที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และล่อแหลมต่อความมั่นคง
ของรัฐบาลของเขา จอมพล ป. ตระหนักดีถึงการรักบาเสถียรภาพยันเปราะบางของ
รัฐบาล เมื่อได้เดินทางไปต่างประเทศ เขาทได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของโลกและ
หนทางใหม่ในการแกัไขปัญหาการเมืองด้วยการแสวงหาการสนับสนุนจากประชาขบ
อย่างกว้างขวางเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเขาในฐานะผู้นำรัฐบาล มากกว่าการ
พึ่งพิงอำนาจจากสองขุนศึกในการคํ้าปีนรัฐบาล ซึ่งทำไห้เขาเป็นเสมือนหุ่นเชิดของสอง

The Dwight D. Eisenhower Library, OCB Central File Series, OCB 091 Thailand.
เ'

Landon to Kenneth T. Young, Conversation with Thai Ambassador Sarasin and


Kenneth p. Landon, 9 February 1956. I

184
I

I.

ในช่วงปลายปื 2498 หลังเดินทางไปต่างประ:เทศและเห้นความเปลี่ยนแปลงของโลก จอมพลป. พิบูล -


สงคราม ตัดสินไจสรางบรรยากาศประชาธิปไตยขึ้นเพื่อแสวงทาการสนับสบุนจากประชาชนและแก้
ปัญหาการที่เขาเปีนเสมืชินทุ่นเชิดของสองขนศึก สนามหลวงกลายเป็นเวทีไ!) ต์ปาร์คที่ทุกกลุ่ม
การเมืองไชั!นการปราศรัยไจมดีคูแข์ง โดยตัวจอมพล ป , เองนละคณะรัฐประหารโดยเฉพาะ พล.ต.อ.
เผ่านั้นถูกโจมดีอย่างหนัก (ภาพจาก Thailand Illustrated )
ชุนศึก ศักดินา น,ละพญาอินทวื

ขุนศึก สำหรับจอมพล ป. อดีตแกนนำของคณะราษฎรและอดีตนายกรัฐมนตรีในช่วง


การสร้างกระแสชาตินิยมในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองนั้น เขามีความคุ้นเคยกัน
การแสวงหาภารสนับสทูนจากประชาชนอยู่ก่อนแล้ว เหตุผลเหล่านี้อาจทำให้เขาตัดสิน
ใจเปิดกว้างทางการเมือง ให้เสรีภาพในการนำเสนอข่าวของหนังสือพิมพอย่างเต็มที่
สร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพด้วยการเปลี่ยนสนามหลวงให้กลายเป็นเวทีพปาร์คแบบ
ในลอนดอนในปลายปี 2498 (Newsweek , 21 November 1955) เพื่อนำประเทศไทย
ไปลู'่วิถีทางประชาชิปไตยและให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง จอมพลป. หวังว่า
บรรยากาศดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลได้รับการสนับสทูนจากประชาชนจนมีสถานะเข้มแข็ง
ขน อย่างไรก็ตาม การเปิดปราศรัยในครั้งแรก ๆ ที่เริ่มต้นด้วยการวิจารณ์นโยบายรัฐบาล
เช่น การศึกษาและการประกันสังคม ต่อมากลับเปลี่ยนไปสู่การโจมดีจอมพลป. สลับ
กับ พล.ต.อ. เผ่าและการโจมดีค่ายราชครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งพล.ด.อ. เผ่านั้นถูกใจมดี
จากประเด็นการฆาตกรรมรัฐมนตรี 4 คน หลังจากนั้นการไฮต์ปาร์คเปลี่ยนเป็นการ
ปราศรัยวิจารณ์นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลจอนพลป. และเรียกร้องให้ไทยมีนโยบาย
ที่เป็นอิสระจากสหรัฐฯ’*
เวทีไฮฅ์ปาร์คที่จอมพล ป. พยายามผลักดันให้เกิดขึ้นทั่วประเทศเพื่อสร้าง
บรรยากาศประชาธิปไตย กลับกลายเป็นเวทีที่กลุ่มการเมืองต่างๆใช้เป็นโอกาสในการ
เปิดสงครามโจมดีคู่แข่งทางการเมือง เช่น จอมพล ป. และ พล.อ. สฤษด้ร่วมมือกัน
โจมดี พล.ต.อ. เผ่าและค่ายราชครู ส่วนพล.ต.อ . เผ่าก็ใช้เวที ฮต์ปาร์คโจมดีคู่แข่งใน
คณะรัฐมนตรี ในขณะที่กลุ่มฝ่ายซ้ายใช้เป็นเวทีในการโจมดีรัฐบาลจอมพลป, พล.ด.อ.
เผ่า และสหรัฐฯ ส่วนกลุ่มรอยัลลิสต์ก็ใช้เป็นเวทีโจมต็รัฐบาล รายงานจากสถานทูต
สหรัฐฯ เห็นว่า จอมพล ป.ไม่สามารถควบคุมการไฮต์ปาร์คได้41'
การปราศรัยทางการเมืองภายใต้บรรยากาศที่มีเสรีภาพอย่างที่ไม่เคยปรากฏม '

ก่อนไนการเมืองไทยนั้นทำให้มีคนมาร่วมฟ้งจำนวนมาก ตั้งแต่หลักพันคนเพิ่มขึ้น

^ NARA. RG 59 Central Decimal File ไ 955-1959 Box 3908, Bangkok to Secretary

I
of State, Thailand 's Hyde Park-The Phramane Ground Orations, 4 January ไ 956 ;
ประจวบ (2543, 390),
^ พมพ lm , 5 ตุลาคม 2498 ลงข่าวการเริ่มด้นจดไอดปาร์คทึ่ลำปาง ; NARA, RG 59 Central
Decimal File 1955-1959 Box 3908, Bangkok to Secretary of State, Thailand 's Hyde
Park-The Phramane Ground Orations, 4 January 1956. ]

186
ถอยห่างจากพญารนทรี

“ เป็นหมี่นและกว่าแสนคน” ในเาลาต่อมา50 บรรยากาศทางการเมืองเช่นนี้นำมาสู'่


ความตื่นตัวทางการเมืองของนิสิตนกศึกษาด้วยเช่นก้น สถานทูตสหรัฐ''! รายงานว่า
นิสิตนักศึกษาเริ่มมืความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น พวกเขารวนกลุ่มเคลื่อนไหวแม้
จะเป็นประเดินเกี่ยวกับการศึกษา แต่สหรัฐฯ เห็นว่าการรวมตัวเช่นนี้มืศักยภาพที่จะ
นำไปสู่การก่อตัวของความเห็นสาธารณชนและการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อไปได้
ทั้งนี้นิสิตนักศึกษาตระหนักถึงอำนาจในการต่อรองมากขึ้น จากเดิมที่เคยเป็นแต่เพียง
ผู้ยอมรับคำสั่งไปสู่การเรียกร้องและแสดงให้เห็นถึงความไม่พอไจ ตังเช่นเหตุการณ์
ประท้วง ม.ร.ว . สลับ ลดาวัลย์ เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 11
สิงหาคม 2498 ของเหล่านิสิต และเหตุการณ์นักศึกษาธรรมศาสตร์ประท้วง
ขุนประเส'รีฐศุภมาตรา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม รวมถึงกรณี
นักศึกษาธรรมศาสตร์กว่าหนึ่งพันคนได้รวมตัวประห้วงที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 24
สิงหาคม เรียกร้องให้จอมพล ป , พีบลสงครามลาออกจากการเป็นอธิการบดี โดย
ต่อมาจอมพล ป. ยอมลาออกและให้เหตุผลว่าเขาไม่สามารถอุทิศเวลาให้กับหน้าที่
อธิการบดีได้อย่างเพียงพอในการบริหารงานมหาวิทยาลัย ยิ่งไปกว่าทั้น จอมพลป,
ยังกล่าวด้วยว่าความเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษาเป็นการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย ’ 1 ’

จะเห็นได้ว่าภายใต้การสร้างบรรยากาศที่ให้เสรีภาพในการแสดงออกทำให้นิสิตนักศึกษา
ได้เริ่มแสดงออกถึงความคิดเห็นของพวกเขาที่พร้อมจะกลายเป็นพลังการเมืองที่สำคัญ
ต่อไป
แม้บรรยากาศการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนและนิสิตนักศึกษาได้ขยาย
ตัวอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ความตื่นตัวดังกล่าวได้ถูกชี้นำโดยกลุ่มทางการเมืองที่
ขัดแย้งแข่งขันกัน แกนนำไฮด์ปาร์คหลายคนได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจาก

;, t
Ibid , สำหรับข้อมูลจำนวน " เป็นหมนและกว่าแสนคน,, ดู ประจวบ ( 2543, 390).
51
NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Magill to Secretary of
State, Thai Students He-emerge as a Significant Political Force ?, 5 October 1955 ;
NAHA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Anschuetz to Secretary of
State, 37 August 1955 . เทตุการณ์การประท้วงของนิสิดจุฬาลงกรณ์บทาริทยาลัยเกิดจาก
เลขาธิการมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่เข้มงวดกับนิสิตมาณกินไป สํวนการประท้วงของนกศึกษา
ธรรมศาสตร์เกิดจากคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์มีนโยบายที่จะรับนักเรียนจากวิทยาลัยการพาข้ชย์
ชัสลัม ชัญเข้ามาศึกษาต่อในมทาวิทยาลัย ซึ่งนักศึกษาไม่เห็นด้วย เนื่องจาทพวกเขาเห็นว่านักเรียน
'

!
พาณชย์เทล่านั้นมีระดับความ ตํ่ากว่ามาตรฐาน

187
ขุนค็ก ศกรนา และพqneum
'

if
บุคคลในรัฐบาลที่ขัดแย้งกันในขณะ น รวมทั้งกลุ่มรอยัลลิสต์ที่ได้เข้ามามีบทบาท
ทางการเมืองในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย สถานทูตสหรัฐฯรายงานว่า จอมพลป.ให้การ
สนับสนุนนักการเมืองหลายคนให้ขึ้นเวทีไยต์ปา!’ค เช่น พิร์ บุนนาค และทองอยู่
พุฒพัฒน์4 รวมทั้งนักหนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายหลายคน พวกเขาได้พยายามเรียกร้องให้
ไทยมีนโยบายต่างประเทศที่เป็นกลางและมีการปราศรัยโจมตีพล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
ผู้ที่กำลังขึ้นมาท้าทายอำนาจทางการเมืองของจอมพลป. ส่วนพล.อ. สถษดี"ได้ให้การ
สนับสนุนนักการเมืองฝ่ายซ้ายหลายคน เช่น เทพ โชตินุชิต เพทาย โชตินุชิต และ
ชวน รัตนวราหะ เป้าหมายของพล.อ. สฤษดี้เน้นการวิจารณ์พล.ต.อ. เผ่า ผู้เป็นคู่แข่ง
ทางการเมืองของเขาเป็นสำคัญ ในขณะที่กลุ่มรอยัลลิสต์และพรรคประชาธิปัตย้ให้การ
สนับสนุน'ใถง สุวรรณทัด กิตติศักด ศรีอำไพ และเพิ่ม วงศ์ทองเหลือ โดยเน้นการ
โจมตีทั้งรัฐบาลและตัวบุคคล เช่น จอมพล ป, และ พล.ต. อ. เผ่า แต่หลีกเลี่ยงการโจมตี
พล.อ. สฤษดิ้ และเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 หรือรัฐธรรมนูญรอยัลลิสต์
กลับมาไซ้ใหม่ 1

ในขณะเดียวกันประชาชนที่เริ่มตื่นตัวทางการเมืองและไม่พอใจที่ถูกปกครอง
ภายใต้คณะรัฐประหารมานานหลายปีได้มารวมตัวกันหลายพ้นคนเพื่อท้าทายอำนาจ
ของคณะรัฐประหารที่บริเวณท้องสนามหลวง พวกเขาเรียกร้องให้คณะรัฐประหาร
สลายตัว และมีการปราศรัยโจมตีไปที่กลุ่มตำรวจของ พล.ต.อ. เผ่าที่เคยปราบปราม
ศัตรูทางการเมืองอย่างน่าสะพรึงกลัวและแสวงหาประโยชน์จากธุรกิจนอกกฎหมาย
จากนันพวกเขาได้เดนขบวนไปวางพวงหรีดที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและตะโกนว่า
“ประชาธิปไตยจงเจริญ คณะรัฐประหารไม่เอา คณะรัฐประหารออกไป เราไม่ต้องการ
” ",
คณะรัฐประหาร ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม เพิ่ม วงศ์ทองเหลือ นักไฮต์ปาร์คที่
ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มรอยัลลิสต์และพรรคประชาธิปัตย์ ได้นำการชุมนุมของ
ประชาชนที่ห้องสนามหลวง ซึ่งมีการถือป้ายข้อความหลายข้อความ เช่น " เรา

' NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Bangkok to Secretary
of State, Thailand ร Hyde Park -The Phramane Ground Orations, 4 January 1956 ;
1

พิมทึไทย , 6 พฤศจิกายน 2498.


33 acnuนิกร , 10 พฤศจิกายน
2498 ; NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959
I
Box 3908 , Bangkok to Secretary of State , Thailand ’ ร Hyde Park -The Phramanf
Ground Orations, 4 January 1956 .

188
ถอยห่างจากพญาธนm
' ' ,

ต้องการประชาธิปไตย” “เลิกลัทธิโจรครองเมือง” “ประชาธิปไตยด้วยปืนจงฉิบหาย ”


และมีการกล่าวโจนตึงบประมาณด้านการทหารของรัฐบาล จากนั้นเขาพาฝูงชนเดินไป
ยังลานพระบรมรูปทรงม้า ที่ซึ่งตำรวจได้เข้าสกัดการชุมมุมและเกิดความๅนวายชิ้นเมื่อ
ทหารนอกเครื่องแบบหลายคนให้ความคุ้มครองการชุมมุมที่นำโดยแกนนำที่กลุ่มรอยัล-
ลิสต์ให้การสนับสมุน โดยทหารนอกเครื่องแบบจะใช้ขวานจามตำรวจนอกเครื่องแบบ
(สารเสรี, 12 ธันวาคม 2498)
ในบรรดาผู้มีอำนาจทั้งหมด กล่าวได้ว่า พล.ต.อ. เผ่าตกเปืแเป๋าหมายการโจมตี
จากทุกฝ่าย กล่าวคือ จอมพล ป. พล.อ. สฤษดิใ และกลุ่มรอยัลลิสต์ ทั้งนื้เนื่องจาก
เขาพยายามท้าทายอำนาจทางการเมืองของจอมพลป . ทำให้จอมพลป.ไม่ไว้วางไจและ
ด้องการทำให้เขาเสื่อมอำนาจลงด้วยการหันไปแสวงหาการสนับสมุนจากพล.อ. สฤษดิ
ส่งผลให้ทั้งคู่ร่วมมือกันในการโจมตี พล.ต.อ. เผ่า ในขณะที่กลุ่มรอฒัลิสต์กีไม่ชอบ
พล.ต.อ. เผ่าเช่นกัน เนองจากเขาแสดงตนเป็นปรปักษ์กับกลุ่มรอยัลลิสต์อย่างต่อเนื่อง
ยิ่งไปกว่านั้น บทบาทของกลุ่มตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมประชาชนโดยตรง
มากกว่าทหาร ก็ทำให้ประชาชนไม่พอใจ พล.ต- อ. เผ่ามากกว่า พล .อ. สฤษดิ้ เขาจึง
ดกเป็นเป้าการโจมดีและเกลียดซังจากรอบทิศ ดังเช่นในการปราศรัยครั้งหนื่งมีการ
เรืยกร้องให้จับพล.ต.อ , เผ่ามาแขวนคอที่ต้นมะขามสนามหลวงและให้เอามีดเชือดเนื้อ
ออกทีละชิ้นจนขาดไจตาย ' 4 นักหนังสือพิมพ์บันทึกว่า การไฮต์ปาร์คไต้ทำลายความ
'

ชอบธรรมของพล . ต.อ. เผ่าลง จนกระทั่งครั้งหนึ่งพล.ต.อ. เผ่าได้กล่าวถึงการไฮฅ์ปาร์ค


ว่า “จอมพล ป. ทำอะไรไม่รู้ทำให้ตำรวจเสียหาย " (สมบูรณ์ 2500, 98 ; ประจวบ
2543, 391 ; อนุสรฌ็ไนงานพระราชทานเพลิงศพ นายศัทดิ้ ไทยวัฒน์ 2544, 152)
พล.ต.อ . เผ่าฅระหนักดีว่าเขากำลังตกอยู่ไนวงล้อมของการไฮด์ปาร์คที่จะหำให้เขาเสื่อม
อำนาจลง เขาจึงต้องตอบโต้การโจมตีดังกล่าว ดังเช่นในการไฮฅ์ปาร์คครังหนึ่งใน
เดือนธันวาคม 2498 ชวน รัตนวราหะ แกนนำไสืด์ปาร์คที่สนับสมุน พล. อ. สฤษต็
. .
ใต้ไจมดีการทำงานของตำรวจโดยมืผู้ฟ้งราว 30,000 คน พล ต.อ เผ่าจึงได้ตอบโต้
ด้วยการใช้กำลังในระหว่างการปราศรัย โดยใช้กลุ่มชายฉกรรจ์สวมชุดสีนั้าเงินซึ่งเป็น
เครื่องแบบของคนงานองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุกัณฑ์ (ร.ส.พ.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ

54 สารเสรึ , 14 ธันวาคฆ 2498 ; NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box


3908, Magill to Secretary of State, Indication of Relaxation in Political Tensions,
10 February 1956,

189
ชุนลึก ศ้กคินา และพญาอินท1

ที่อยู่ภายไต้การดูแลของค่ายราชครู ทำให้บุญขัง ลันธนะวิทย์ นักพูดคนหนึ่งถูกแทง


บาดเจ็บ (สารเตรี , 18 ธันวาคม 2498 ; พิมพ์ !ทย , 19 ธันวาคม 2498 ; สารเสรี , 19
ธันวาคม 2498) ต่อผาชวนได้ทำหนังสือเรียกร้องให้พล.อ. สฤบดล'งทหารมาคุ้มครอง
การปราศรัยโจมลึกลุ่มตำรวจ (สารเสรี, 20 ธันวาคม 2498)
สำหรับกลุ่มรอยัลลีสต์ การเข้าร่วมสงครามทำลายความชอบธรรมของรัฐบาล
ครั้งนี้ พวกเขามีเป้าประสงค์เป็นของตนเอง ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธป้ตย์
และแกนนำคนหนึ่งของกลุ่มรอขัลลิสต์ ประกาศชัดเจนว่าพรรคฯไม่เคยห้ามสมาชิก
สภาผู้แทนฯ และสมาชิกพรรคประชาธิป้ตย์ร่วมไอต์ปาร์ค (ลมูล 2499, 170) ต่อมา
กิตติศักดึ๋ ศรีอำไพ นัก'ใฮต์ปาร์คที่กลุ่มรอขัลลิสต์ให้การสนับสนุน'ใต้'ขึ้นปราศรัยเรียก
ร้องไห้ประชาชนสนั'บสมุนรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 มากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2475
(สยามปีกร, 31 มกราคม 2499) เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 นั้นพวกเขาเองเป็น
คนออกแบบ ต่อมาประเด็นการรอvhjรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 ได้กลายมาเป็นนโยบาย
-
หาเสียงเลือกตั้งของพรรคประ'ชาธิปัตย์ ไม่นานหลังจากนั้น กิตดศกดทาทาย พล.ต.อ.
ร/ a,
1

เผ่าให้ขึ้นปราศรัยแข่งกับเขา เมื่อพล . ต.อ. เผ่าตกลงขนปราศรัยแข่ง เขาได้ทำไห


พล.ต.อ. เผ่ากลายเป็นตัวตลกบนเวทีไอต์ปาร์คด้วยการสาบานบนเวทีเมื่อต้นเดือน
มกราคม 2499 (ประจวบ 2543, 392 ; สยามนิกร, 4 มกราคม 2499 ; ชาวไทย , 10
มกราคม 2499) การต่อสู้ทางการเมืองในบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยซึ่งเกิดขึ้น
ตั้งแต่ปลายปี 2498 นั้น สภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ประเมินว่า การต่อสู้ใน
ลักษณะดังกล่าวจะทำให้การเมืองไทยอ่อนแอลงมาเนั’ กล่าวโดยสรูป การไฮต์ปาร์ค
เป็นเสมือนเวทีในการหำลายความชอบธรรมของ พล.ต.อ. เผ่า ซึ่งเป็นผู้ท้าทายอำนพ
ทางการเมืองของจอมพล ป. โดยส่งผลให้จอมพล ป, กลายเป็นผู้มีความชอบธรรมและ
ปลดปล่อยพันธนาการการพึ่งพิงทางการเมืองของเขาจากค่ายราชครูไปส่การไต้รับการ
สนับสนุนจากประชาชนแทน อีกทั้งขังก่อให้เกิดกระแสต่อต้านสหรัฐฯ ขึ้นไนสังคมไร :' '

ซึ่งจะกลายเป็นข้ออ้างที่รัฐบาลจอมพล ป. จะใช้ในการถอยห่างออกจากสหรัฐฯ ต่อไป

55 "
Staff Study Prepared by an Interdepartmenl Working Group for the Ope
tions Coordinating Board , 4 January 1956, .Analysis of internal Security in Thaila
( Pursuant to NSC Action 1290-d ) and Recommend Action, ” in Foreign Helatic
of the United States 1955- 1957 Vol 22 (1989, 845).

190
ทอยห่างจากพญาอินทวี

การพยายามเปีดไมตรีกับชีนของรัฐบาลจอมพลป -
ควรกล่าวด้วยว่า บริบทการเมืองระหว่างประเทศนับตั้งแต่การหยุดยิงใน
สงครามเกาหลีทำให้จีนเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น เมื่อติดตามด้วยความพ่ายแพ้ของฝรังเศส
ตี่สมรภูมิเคียนเบียนพ่ในอินโดจีน ส่งผลให้สหรัฐฯ เริ่มสูญเสยอิทธิพลทางการเมือง
ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเนียงใต้ และทำให้จอมพลป. วิตก
อึงความเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาค ประกอบกับท่าทีที่เป็น
ย้ตรของโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีของจีน ที่มืต่อไทยในการประชุมที่เมืองบันตุง
( เมษายน 2498 ) และปลายปี 2498 าวั้นเอง สหรัฐฯ และจีนมีการประชุมร่วมกันที่กรุง
เจบีวาเพื่อตกลงแลกเปลี่ยนพลเรือนของตั้งสองประเทศที่ตกค้างอยู่ในประเทศทั้งสอง
ฝ่ายจีนเรียกร้องให้มีการประชุมในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศระหว่างกันต่อไปเพื่อให้
มีการยกเลิกมาตรการควบคุมสินค้าที่สหรัฐ'ฯใชักับจีนตั้งแต่สงครามเกาหลี โดยสหรัฐฯ
ยินดีประชุมในระดับรัฐมนตรี แต่สหรัฐฯ ยังคงต้องการควบคุมการค้ากับจีนเช่นเดิม
เสร้อยบุก,บ 2544 , 84 -100 ) บริบทการเมืองระหว่างประเทศที่ความขัดแย้งเริ่ม
คลี่คลายลงนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อการค้าของไทยในฐานะผูสํงออกข้าวรายสำคัญด้วย
กล่าวคือนับตั้งแต่สงครามอินโดจีนยุติลง ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยก็ลดลงตาม
ใปด้วย รัฐบาลจอมพล ป. เริ่มมองเห้นว่าจีนจะเป็นตลาดที่ช่วยในการระบายข้าวที่ล้น
ตลาดของไทยได้ จึงมีความคิดที่จะส่งออกสนค้าที่ใม่ใช่ยุทธบีจจัยโดยเกพาะอย่างยิ่ง
ข้าวไปยังกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ซึ่งสหรัฐฯก็สังเกตเห็นว่าไทยเริ่มต้องการค้าขาย
กับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ที่สหรัฐฯไม่อนุญาต ''’
ในปลายปี 2498 ทอการค้าจีนในไทยได้รับจดหมายจากรัฐบาลจีนเรียกร้องให้
มีการเปิดการค้าระหว่างกัน ตั้งหนังสือพิมพ์จีนและไทยได้ดึพิมพ์จดหมายฉบับ
ดังกล่าวอย่างครึกโครม สถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการค้าระหว่าง
.
ไทยกับจีน57 แมจอมพล ป จะประกาศคัดค้านการเปิดการค้าระหว่างกัน แต่
I หนังสือพิมพ์ ช 1ฉียนยดเปี 7 ( Shih Chien Jih Pao ) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของ
พล .ต.อ. เผ่า ตลอดจนหนังสือพิมพ์จีนฉบับอื่น ๆ ให้การสนับสนุนการเปิดการค้า

56
NAHA, CIA Records Search Tool (CREST), Cl A- RDP79T00975A001600530001 -5,
25 July 1954, "Thailand May Look to Communist China as Market for Surplus Rice.
"

57
NARA, RG 59 Central Decimal File 1955 - 1959 Entry Thailand 1955 - 1959 Box
3910, Harry Conover to Secretary of State , 20 September 1955 ; 23 September 1955.

191
ขุนคืก ศักดินา และพญาธนทวี

ระหว่างกันโดยให้เหตุผลว่า แม้ไทยกับจีนจะไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูต แต่ไทย


สามารถค้าขายกับจีนได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีการค้าอย่างกับ ๆ ระหว่างกันด้วยการ
ชำระเงินผ่านธนาคารไนลอนดอนและนิวยอร์ก และใช้เรือของประเทศที่สามขนสินค้า
ผ่านทางอ่องกงและสิงคโปร์ก่อนจะเช้าลู'ไทยได้
่ ทั้งนี้ปริมาณสินค้าจากจีนที่เช้าลู่ตลาด
ของไทยในปี 2497 มีมูลค่าดึง 70 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีราคาถูกทำให้
พ่อค้าจีนในไทยสามารถขายสินค้าไต้อย่างรวดเร็วและมีกำไรถี58 ความเปลี่ยนแปลงที่
เกิดขึ้นในการเมืองระหว่างประเทศนี้เป็นเหตุให้รัฐบาลจอมพล ป, ตัดสินใจเปลี่ยนแปลง
นโยบายต่างประเทศของไทยใหม่ นอกจากนี้ รัฐบาลจอมพล ป. ดีความการเจรจา
ระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่เกิดขึ้นว่าเป็นสัญญาณของการผ่อนคลายความขัดแย้งระหว่าง
ประเทศในภูมิภาค จึงเริ่มหันมาเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศจากที่เคยเป็นปรปักษ์
กับจีนมาเป็นมิตร ทั้งนี้ในเดือนตุลาคม 2498 จอมพล ป. ได้หยั่งหำทืของแอนชูทส์
อุปทูตรักษาการฯ ถึงการปรับเปลี่ยนท่าท้ของสหรัฐฯ ต่อจีน แต่นอนชุทล้ยืนยันว่า
สหรัฐฯมีนโยบายต่อต้านจีนเช่นเดิม กระนั้นก็ดี การยืนยันของแอนชูทสัใม่ได้มีผล
ต่อจอมพล ป. ที่ดีความบริบทการเมืองระหว่างประเทศไนช่วงเวลานั้นว่าเป็นโอกาสที่
ไทยควรปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศเสืยใหม่ แอนชูทสัใต้รายงานเรื่องดังกล่าวกลับ
ไปยังกระทรวงการต่างประเทศว่า รัฐบาลไทยดีความว่าการเจรจาระหว่างสหรัฐฯกับ
จนเป็นความปรองดองระหว่างกัน และรัฐบาลไทยเกรงว่าหากไทยยังคงมีนโยบายที่ใม่
เป็นมิตรกับจีนต่อไป ไทยอาจเป็นประเทศเดียวที่ถูกกันออกจากความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศแบบใหม่ที่กํอตัวขึ้นในภูมิภาค (สร้อยมุกช้ 2544, 103-6)
ที่วอชิงตัน ดี. ซี , ในเดือนพฤศจิกายน 2498 อัลเลน คัลเลส (Allen Dulles )
ผู้อำนวยการซีไอเอไต้รายงานต่อประธานคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐฯ ว่า สถานทูต

NAKA , RG 59 Central Decimal File ใ 955 -1959 Entry Thailand 1955-1959 Box
3910, Hairy Conover to Secretary of State, 30 September 1955 ; ไทยใหม่ , 27 พฤศจิกายน
^
2498 . มี{รัแค้าจากจีนหเทยประเภทเข้ามาขายในก เทพฯ เช่น ปากกา หมึก ดินสอ สิ่งทอ
แปรงสืฟ้น กระดิกนํ้าร้อน ปากกาหมีกข็ม จกรยาน จักรเย็บผ้า ลวดโลหะ กระดาษ ขาจีน อาหาร
1
ทรระป้อง อาหารแห้ง ทั้งนึ้เหตุผลที่สหรัฐฯไม่ด้องการใท ทยค้าขายกับจีนนั้น นอกจากไม่ต้องการ
ให้จีนมึเงินตราต่างประเทศแล้ว ยังไม่ตองการให้รนค้าด่างๆของจีนมีผลกระทบต่อจิตวิทยาของ
ฟ่อค้าจีนโพ้นทะเล ที่จะทำไห้ชินอางใด้ว่าเนองจากอำนาจอุตสาหกรรมของจีนใหม่ ( NARA* RG 84
Box 1 , Top Secret General Records 1947 - 1958 * Memorandum from Norbert L
Anschuetz to John Jarman, Chinese Communist Trade with Thailand* 26 April 1954 ).

192
1|อยหางจากพญาอีนทวิ
'

สหรัฐ"! ประจำประเทศไทยและแหล่งข่าวของสหรัฐฯ สรุปว่ารัฐบาลจอมพล ป. กำลัง


ทบทวนนโยบายการต่อต้านคอมมิวนิสต์ แม้กระทั่งกรมหมี่นนราธปฯ รมว. ต่าง
ประเทศ ก็มีทัศนคติในทางบวกต่อการผ่อนคลายความสัมพันธ์กับจีน อีกทัง

ข้าราชการไทยได้เริ่มเรียกร้องให้ไทยมีนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ นอกจากน การ
ควบคุมหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลจอมพล ป . ที่ผ่อนคลายลงทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์
สหรัฐฯมากซ้น พร้อมกับเสียงเรียกร้องให้ใทยสานความสัมพันธ์กับจีน ในสายตาของ
สหรัฐฯ รัฐบาลไทยย่อหย่อนไนการต่อต้านคอมมิวนิสต์ อีกทั่งยังเปิดโอกาสให้จัดตั้ง
พรรคการเมืองที่เรียกร้องให้ไทยมีนใยบายถอยห่างออกจากความแนบแน่นกับสหรัฐฯ
ปิสู่นโยบายต่างประเทศที่เป็นกลาง สหรัฐฯ เห็นว่าจอมพล ป. และผู้นำหลายคนใน
รัฐบาลต้องการแสดงให้คนไทยเห็นว่าพวกเขามีความเป็นอิสระตามหลัก “จิตวิญญาณ
แห่งบันคุง ” 59 ยิ่งไปกว่านั้น สหรัฐฯ ยังสังเกตเห็นการขยายการติดต่อทางการค้า
ระหว่างจีนกับไทยด้วย แม้การค้าดังกล่าวจะไม่ใช่สินค้ายุทธปัจจัยและเป็นการค้าทาง
อ้อมก็ดาม นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์ ) อดีตรมว. ต่างประเทศได้เคย
กล่าวให้การสนับสนุนการเปิดการค้ากับจีนว่า การค้าทางตรงกับจีนจะได้กำไรมากกว่า
. . ..
การค้าทางอ้อม ทั่งนั้ หนังสือพิมพ์ของพล ต.อ เผ่าและพล อ สฤษดิ้ลัวนให้การ
6,
^
สนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวของรัฐบาล ’ ต่อมา นายอร์กใทน ฉบับวันที่ 19
VI ฤศ่จกายน 2498 ได้ลงข่าววิจารณ์รัฐบาลไทยว่า ไทยกำลังเปลี่ยนแปลงนโยบายต่าง

ประเทศไปสู่ความเป็นกลาง เนื่องจาก “ประเทศไทยกลัวจะกลายเป็นประเทศเดียวที่


ถูกทอดทั่งไวัแต่ลำพังในเอเชีย และรู้สึกไม่แน่ใจว่าใครจะชนะ จีงค่อย ๆ เปลี่ยนท่าทิ
วย่างเรียบๆ” ( New York Times , 19 November 1955) การเริ่มเปลี่ยนแปลง
นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลจอมพล ป. ครั้งทั่นำมาสู่ความเคลื่อนไหวในทางลับที่
เป็นรูปธรรมด้วยการส่งทูตลับของรัฐบาลไปยังจีน โดยสถานทูตอังกฤษที่ฮ่องกงได้
รายงานว่า ดังแต่เดือนธันวาคม 2498 มีกลุ่มคนไทยข้ามฝืงจากฮ่องกงไปจีนทลายคณะ
เช่น กลุ่มสอิ้ง นารังกูล และอัมพร สุวรรณบล ส.ส. ร้อยเอ็ด กลุ่มเทพ โชตินุชิต
บัวหน้าพรรคเศรษฐทร กับคณะคนไทยจำนวน 10 คนได้เข้าพบเหมาเจีอตง พวกเขา

59 «
Memorandum From the Director of Central Intelligence ( Dulles) to the Chair-
man of the Joint Chiefs Staff ( Radford ), 18 November 1955," in Foreigii Relations
of the United States 1955- 1957 Vol 22 ( 1989, 840- 41 ).
60
Ibid ,

193

พF

ะ:-.

พ=
n.

กา!ประชุมกสุมประเทศไม่สกใฝ่ฝ่ายใคที่พองบันดุง รนโคณซีย ในปิ 2498 ซึ่งเป็นการประชุ


จีนผลักคนให้เกิดขน กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นตัวแทนรัฐบาลจอมพล ป. ร่วมประชุม
ต่อมารัฐบาลพยายามเป็ดความส้มพันธ์กับจีน สร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐฯที่ยืนยันว่าขังมีนโยบ
ต่อด้านจีนเช่นเต็ม ในกาพ ใจวเอนไหลพบปะสนทนากับกรมหมื่นนราชิปพงศ์ประพันธ์ (ภาพชิ
โจว I รนไหล ?'ฐ yjmน , มดึชน 255 ร )
; ปิยห่าง จากพญาอีนทรี

ใต้ปราศรัยผ่านวิทยุปักกิ่งเล่าถึงสิ่งที่พบเห็น และได้ติดต่อชักชวนปรีดึ พนมยงค์


^ละกลุ้มผู้ลี้กัยทางการเมืองให้เดนทางกลับไทย เนี่องจากรัฐบาลไทยจะนิรโทษกรรม
กวามผิดให้พวกเขา สถานทูตอังกฤษเห็นว่าทูตลับเหล่านี้ได้รับการสนับสนนจาก
จอมพล ป. และพล.ต.อ. เผ่า61
อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวดังกล่าวก็มิอาจเล็ดลอดสายตาของสหรัฐก
ไปได้ บิชอป ทูตสหรัฐฯ ไต้รายงานข่าวดังกล่าวกลับไปยังวอชิงตันดี. ซี. ว่ารัฐบาล
โทยอยู่เนี้องหลังการติดต่อกับจีน ทูตลับเหล่านั้นได้รับการสนับสนุนจากจอมพถผิน
\ ณหะวัณ และพล.ต.อ. เผ่า ศรยานนท์ ไนรายงานตั้งข้อสังเกตว่า เมืเมื่ อทูตลับเดินทาง
กลับจากจีนมาไทย พวกเขามีได้ถูกจับกุมในทันที แม้ต่อมาจะถูกจับกุมด้วยข้อหา
ะ, ะเมิดพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ 2495 แต่ก็ถูกปล่อยตัว
โนเวลาต่อมา โดยทูตลับทั้งสองชุดให้สัมภาษณ์ที่สร้างความพอใจให้กับชุมชนชาวจีน
ในไทยเฟินอย่างมาก6;
การถอยห่างออกจากความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับสหรัฐฯไปสู’่ การเปิดไมต1กับ
จืนทาใช่เกิดจากบริบทการเมืองระหว่างประเทศแต่เพียงประการเดียว แต่การตัดสินใจ
เนื่องจากอำนาจของกลุ่มการเมือง
ลังกล่าวเกิดจากปัญหาภายในของไทยด้วยเช่นกัน
ไทยในขณะนั้นวางอยู่บนความสัมพันธ์และผลประโยชน์กับพ่อค้าจีนไาเไทย ดังนั้น
าารเปิดไมตรีกับจีนจะกลายเป็นแหล่งผลประโยชน์ทางการค้าใหม่ให้กับค่ายราชครู
เช่น ประโยชน์จากค่าพรีเมี่ยนข้าวและการแลกเปลี่ยนเงินตราในการค้ากับจีน (ดู
Hewison 1989 ; สังคิต 2526 ) ‘>3 นอกจากนี้ สถานทูตสหรัฐฯ วิเคราะห์ว่า การเปิด
ไมตรีกับจีนของรัฐบาลไทยภายใต้การสนับสนุนของจอมพล ป. และพล.ต.อ เผ่า นั้น .
จะทำให้รัฐบาลได้ประโยชน์ อีกทั้งรัฐบาลกำลังแสวงหาการสนับสนุนทางการเมืองจาก

61
NA, F0 371 / 123645, Thai Nationals Visiting China, 22 February 1956 ; ดู ณ้ป็พล

( 2551).
fi 2
" the Embassy in Thailand ( Bishop) to the Department of State, 23 May 1956 ,*

in Foreign Relations of the United States 1955- 1957 Vol 22 (1989, 875-76). นอกจาก
พล . ต .อ. เผ่า ศรียานนท์ และจอมพลผิน สุณหะวัณ ที่อยู่เบื่องหลังแล้ว ยังมีเลื่อน บัวสุวรรณ ผู้เป็น
นายทุนและผู้จดการทางการฒึองใาใกบค่าขราชครู เป็นคนออกเงินทุนในการเดืนทางครั้งนควย
63 Ibid. , 878.

195
ขนลึก ศักต็นา และพญาธนทรื
'

กลุ่มปรีดีในการเลือกฅั้งที่จะมาถึงในต้นปี 2500 ด้วย ''4 ส่วนสภาความมันคงแห่งชาติ


สหรัฐฯ ประเมนว่าจอมพล ป. ตีความบริบทการเมืองระหว่างประเทศผิดที่คิดไปว่า
สหรัฐฯให้ความสนใจการสกัดกั้นคอมมีๅนิสต์ไห้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย
น้อยลงจึงหันไปติดต่อกับซีน'" ต่อมาในด้นปี 2499 สถานทูตสหรัฐฯ ยังคงรายงานว่า
มีสัญญาณหลายอย่างในไทยทำให้สหรัฐฯ เชื่อว่ารัฐบาลจอมพล ป. กำลังปรับนโยบาย
ต่างประเทศไปทางซ้ายและกำลังเพิ่มระดับความสัมพันธ์กับจีน โดย พล.ต . อ. เผ่าจะ
ได้รับประโยชน์จากการมีความสัมพันธ์กับจีนในทางการเมือง สถานทูตสหรัฐฯ เห็น
ว่าการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยเป็นการแสดงไห้สหรัฐฯ เห็นว่ารัฐบาลไทย
ไม่ยอมผูกมัดกับอำนาจของโลกเสรือึกต่อไป'’,’

การค้ากับชินและความไม่พอใจๆเองสหรัฐฯ
ดังที่ใด้กล่าวมาแล้วว่า นโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีไอเฯฌสืาวรีใต้
ให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งทางเศรษฐกิจและการทหารให้
ผสมผสานเข้ากันอย่างแนบแน่นมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากในปลายปี 2498 สภา
ความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯได้เสนอแผนการคัาและการลงทุนของสหรัฐฯ ที่ม่งตรงต่อ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสหรัฐฯ เห็นว่าอัตราการเติบใดทางเศรษฐกิจใน
ภาพรวมของภูมิภาคอยู่ในระดับตา ดังนั้น แผนระยะสันของสหรัฐฯ จะส่งเสริมสภาท
แวดล้อมที่เอื้ออำนวยการลงทุนของเอกชน การประกันการลงทุน และส่งเสริมการล้า
กันสหรัฐฯโดยให้สถานทูตสหรัฐฯในภูมิภาคเป็นผู้ดำเนินการ สหรัฐฯ ต้องการให้ความ

NARA, RG 59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3908, Magill to Secretary of
State , Report of Thai Contracts with The Chinese Communist, 21 March 195 r .

รายงานฉบับนื้ให้ข้อมูรทา อัมพร สุารรณบล สนาชิทสภาผู้แทนฯภาครสาน ที่รับหน'าที่เดินทาง1ไป


จีนนั้นเป็นเพื่อนของพล ร ท . ทหาร ขำท้รัญ ที่สังกัดกลู่มบัรืดื พนมยงค
, ,

The Dwight โ). Eisenhower Library, White House Office, National Security
Council Staff : Paper 1948-1961 , OCB Central File Series Box 55, National Security
Council : Progress Report on United States Objective and Courses of Action with
Respect to Southeast Asia by The Operations Coordinating Board ( No . 5405 ), 21
December 1955,
66 the Embassy in Thailand ( Magill ) to the Department
J

of State, February X
1956." in Foreign Relations of the United States 1955 - 1957 Vol 22 ( 1989, 855-561

196
[ใอยห่างจากพญาอินทา

ร่’ ายเหลือทางการทหารมี
,
ควานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจตาม!แผน'ระ!ยะยาว8!J0 ง
1

สหรัฐฯ และให้หน่วยงานต่าง ๆ ของสหรัฐฯ รักษาความสมดุลระหว่างนโยบายทางการ


ทหารและโครงการพัฒนาเศรษฐกิจกับทุนท้องถิ่น และรักษาความเป็นไปได้ในการ
ลงทุนของสหรัฐฯ โนภูมิภาค'’7 '

ในขณะที่สหรัฐฯ ต้องการเดินหน้าแผนการลัา การลงทุน และการพัฒนา


เศรษฐกิจกับไทย แต่รัฐบาลจอมพล ป. กลับมีนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ
ฯองสหรัฐฯ ด้วยการเดินหน้าเโเดการค้ากับจีนแทนที่จะทำตามความต้องการของสหรัฐฯ
ตดตามด้วยการที่รัฐบาลจอมพลป . สั่งให้พจน์ สารสิน ทูตไทย เข้าพบวิลเลึขม เจ.
ชีบัถด้ (William J. Sebald) ผู้ช่วยรองรัฐมนตรต่างประเทศฝ่ายกิจการตะวันออกไกล
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2499 เพื่อชี้แจงให้สหรัฐฯทราบถึงความจำเป็นของไทยที่ต้องขาย
ข้าวให้กับจีน โดยให้เหตุผลว่าข้าวมิไช่สินค้ายุทธปัจจัยและไทยมีสิทจีที่จะขอถอนตัว
ออกจากบัญชีรายชื่อประเทศที่ไม่ค้ากับจีนของสทประชาชาติเมื่อใดกีได้ แต่'ชีบัลดให้
เหตุผลกับพจน์ว่า สหรัฐฯ ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของไทย เพราะการค้ากับจีนจะ
เป็นการสนับสนุนให้จีนมีความสามารถในการคุกคามไทยนั่นเอง พจน์แจ้งต่อสหรัฐฯ
ว่าไทยตระหนักไนสิ่งที่สหรัฐฯ เตึอน แต่ไทยไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีไปกว่านี้'* ในวัน
รุงชี้นที่กรุงเทพฯ นั้นเอง รัฐบาลจอมพล ป. ไต้ตัดสินใจว่าไทยจะค้ากับจีน''''

67 The Dwight D. Eisenhower Library, White House Office, National Security


Council Staff : Paper 1948-1961, OCB Central File Series Box 55, National Security
Council : Progress Report on Future United States Economic Assistance For Asia
by The Operations Coordinating Board ( No.5506), 7 December 1955.
68 " Memorandum of a Conversation Between the Thai Ambassador ( Pote ) and

the Deputy Assistant Secretary of State for Far Eastern Affaire (Sebald), 6 March
-
1956,” in Foreign Relations of the United States 1955 1957 Vol. 22 { 1989 , 858).
t9 หจช . ( 2) กต 14.3 , 3/8 เจกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การกักตัวดิบค้าไปยงคนแคน

คอมมีวนิ, ๗ใ ( 22 เมษายน 2497- 17 พฤษภาคม 2499 ) ปุ่า4 จาตกวณิช เลขาธิการคณะรัรมนตรี


ฝ่ายการเมือง ถึง รัขิมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร มีนาคม 2499. ความเห็นกระทรวง
การต่างประเทศที่เสนจรายงานเข้าสูการประชุมคณะรัฐมนฅรืคอ การค้ากับจนมได้นำมาซึ่งการรับรจง
,

และการค้าระหว่างกันที่เกิด
จีน เช่น ไนอดีตไทขก็เคยค้ากันจีน แต่ไม่ได้มีความสมพันธ์ทางการทูต
ชันกระทำในนามเอกชนมีใชี่รัฐ ในรายงามเห็นว่ารนค้าจากจีนถูกกว่าดินค้าจากญี่ปุ่นมากซึ่งเป็น
ประโยชน์กับคนไทยมากกว่า เพราะฉะนั้นกระทรวงฯเห็นว่าการค้ากับจีนพิงทำได้ตานระเบียบของ

197
ขุนลึก ศักดินา แคะพญาอินทรี
1

การตัดสินใจของรัฐบาลจอมพลป.ในการเปิดการค้ากับจีนนั้นได้สร้างความไม่
พอใจให้กับสหรัฐฯ มาก ไม่กี่วันหลังจากนั้น ดัลเลส รมว. ต่างประเทศ ได้ถือโอกาส
-
ที่เดินทางมาเยือนไทยระหว่างวันที่ ใ 3 14 มีนาคม 2499 ภายหลังเสรีจสิ้นการประชุม
ซีโต้ที่กรุงการาจี ประเทศปากีสถาน ขอพบจอมพลป. เป็นการส่วนตัว หลังจากพบปะ
กันแลัว จอมพลป . ไต้กล่าวสุนทรพจน์ยืนยันการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ ต่อไป แม้
ขณะนั้นจะมีข่าวใจมดีไทยว่าไทยกำลังโน้มเอียงไปส่ความเป็นกลางเนื่องจากไม่พอใจ
ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ และไทยมีความต้องการค้าขายกับจีนก็ตาม โดยดัลเลสได้
กล่าวตอบจอมพล ป. เปรียบเทียบว่าไทยเป็นเสมือนประเทศที่อยู่กี่งกลางระหว่าง
สหรัฐฯ กับภูมิภาคเอเชยและยาว่า “เราเป็นพันธมิตรกัน และการเป็นพันธมิตรกันมิใช่
เพียงเพราะว่าเราได้ร่วมลงนามกันในกระดาษแผ่นหนึ่งเท่านั้น หากเราได้ลงนามไน
กระดาษแผ่นนั้นด้วยเหตุที่เรามีความรู้สึกร่วมกัน และด้วยเหตุที่เราเชื่อมั่นว่ามี
ภยันตรายอยู่ในโถก ” 7" ในวันรุ่งขึ้น ดัลเลสรายงานการสนทนากับนายกรัฐมนตรีไทย
กลับไปยังประธานาธิบดีไอฅณทวร์ว่า จอมพลป. ได้ปฏิเสธการมีนโยบายด่างประเทศ
ที่เป็นกลางและไม่ต้องการดำเนินนโยบายออกไปจาก “ไต้ปีก” ของสหรัฐฯ แม้ขณะน้
ไทยจะมีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์กับจีน แต่ก็ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล71
แม้จอมพล ป. จะแสดงไห้สหรัฐฯ มั่นใจว่าไทยจะดำเนินนโยบายต่างประเทศ
ตามสหรัฐฯต่อไปก็ตาม ในเดือนมิถุนายน 2499 รัฐบาลจอมพล ป. ประกาศถอนการ
ควบคุมสินค้าที่ไม่ใช่ยุทธปัจจัยกับจีนเพื่อเต้นหน้านโยบายการปิดการค้ากับจีนอย่าง
เต็มตัว หลังจากนั้นเจัาหน้าที่จากสถานทูตสหรัฐฯ ได้เข้าพบกรมหมื่นนราธิปฯ รมว .
ต่างประเทศ เพื่อแสดงความเสียใจอย่างสุดซังต่อนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลไทย

ไทยเอง ไม่ขัคกับข้อห้ามของสทประชาชาติและสหรัฐฯ โดยไทยสามารถส่งลอกสินค้าที่ไม่ใช่ยุทธ


ปัจจัยใต้ เนื่องจากไม่ฏีข้อห้ามกำหนดไว้ แต่ส่งออกยางไม่ได้ (หขช . [3] สร 0201.45/ 42 เอกสาร
สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การลดรายการสินค้าที่ไทยห้ามส่งไปประเทศจีนคอมมิวน้สฅ์ แยะ
แถลงการณ์เรื่องนโยบายการค้าระหว่างประเทศ [15 กุมทาพันธ์ 2499 - 26 กุมภาพันธ์ 2500]).
" “ Memorandum of a Conversational Government House-Bangkok , 13 March
1956," in Foreign Relations of the United Slates 1955- 1957 Vol. 22 ( 1989, 861 ) ; หจช.
( 3) สร 0201.21. 3/58 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง นายจอห์น ฟ่อสเตอร์ คัลเลส รัฐมนตรี
ว่าการต่างใเระเทศอเมริกันเดินทางมาเยยมประเทศไทย ( 20 มกราคม - 15 มีนาคม 2499) วิทยุสาร
ประจำวันของกรมประชาส้มพันธ์ วันที่ 15 มีนาคม 2499
71 “
the Secretary of State to the Department of State to Mr. President, 14 March
1956,” in Foreign Relations of the United States 1955 - 1957 Vol . 22 ( 1989, 865).

198
ถอยห่างจากพญาธนทว
,
1

นอกจากนี้ เขาได้แจ้งกับฝ่ายไทยว่า เมื่อคัลเลส รมว . ต่างปวะเทศสหรัฐฯ ไต้ทราบ


ข่าาการเปีดการค้ากับจีนนั้น ดัลเลสเกอบจะโทรเลขมาเพื่อขอให้ยับยั้งการดำเนินการ
ของไทยในทันที^ ต่อมาจอมพล ป . ไห้เหตุผลถีงการเปิดการค้ากับจีนแท่นัทข่ ทไทย •

นละต่างประเทศว่า ไทยจำเป็นต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของโลกเพราะ “ไนยุโรป


และเอเชียมีแต่ไทยเท่านั้นที่ห้ามการค้ากับจีน ดังนั้นเราไม่อาจฟินโลกได้ ,’ (สยพปีกร ,
16 มิถุนายน 2499 ) สุดท้ายรัฐบาลจอมพล ป . ได้แกลงการณ์เรื่องนโยบายการค้า
ระหว่างประเทศเมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน 2499 เพื่อเปิดการค้ากับจีน 3 ทนททรฐบาล
'
ง่ พ fit 4/

;J อมพลป .
ประกาศเปิดการค้ากับจีน ดัลเลส รมว . ต่างประเทศสหรัฐฯก็ออกมาแถลง

72
หจช . กฅ 87/46 เอกสารกระทรวงการตำงประเทศ เรื่อง บันท็กการสนทนา ( พ , ศ. 2499 )
บันที่กการสนทนาระหว่างเสด็จในกรมฯ รัฐมนดรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับนายแอนชฅส์
ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตอเมริกัน วันที่ 13 มิถุนายน 2499 ; “the Embassy in Thailand
tBishop) to the Department oi State, June 13,1956 ,* in Foreign Relations of the
'

United States 1955- 1957 Voi 22 ( 1989, 889-90).


3 "
Memorandum of a Conversation Between the Thai Ambassador (Pote ) and
the Deputy Assistant Secretary of State for Far Eastern Affaire (Sebald ), 6 March
/

1956,” in Foreign Relations of the United States 1955- 1957 VoL 22 ( 1989, 858 ). ก่อน
รัฐบาลไทยออกแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว จอมพล ป . พบุลสงครามได้สั่งการไห้กระทรวงการต่าง
ประเทศจัดรวบรวมปัญหาข้อเท็จจริงแสะข้อดข้อเสืยเกี่ยวกับรายการสินค้าที่ไทยจะล้ากับจีน
กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้เสนอต่อคณะรัฐมนดรืโดยอ้างอีงกับข้อผูกพ้นของสหประชาชาติ
ฅามมติสมัชชาที่ 500 (สมัยที่ 5) 18 พฤษภาคม 2494 สาระสำกัญของข้อผูกพ้นนั้นห้ามส่งยุทจ
ปัจจัยรวมทั้งยางและดีบุกไปคากับประเทศคอมมิวน้สต์ แต่มิได้ห้ามข้าวและไมั อีกทั้งสหประชาชาติ
ใดัให้แต่ละประเทศกำหนดเอาเองว่าสินค้าใดเป็น “ ข้อยกเว้น ,, ส่วนขอผูกพันของสหรัฐฯ ดามรัฐ
บัญญัติแบดเลิล 2494 ได้กำหนดว่ายุทธปัจจัยที่ห้ามคือ ยางและดีบุก แต่ไม่ได้ห้ามข้าวและโม้
ตลอดจนสินค้าอี่นที่ไม่ใช่ธPุ ๆธปัจจัยแส่อยางใด ทั้งนี้แถลงการณ์เรื่องนโยบายการล้าระหว่างประเทศ
ของสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2499 ได้ประกาศยณลิกการควบธุมสินค้าที่ไม่ใช่
ยุทธปัจจัย โดยให้เหตุผลว่าสงครามเกาหลึไต้สงบศึกแล้ว ดังนั้น การห้ามสินค้ำที่ไม่ใช่ยุทธปัจจัยจีง
ไม่มีความจำเป็น ฉะนั้นเพี่อประใยพ์ทางการค้าทั่วไปสำหรับประชาชนไทย รัฐบาลเห็นว่าการส่ง
สนค้าไปจำหน่ายต่างประเทศควรยึดหลักปฏิบัติทางการล้าทั่วไป กล่าวคือ การเปิดเสรืทางการล้าที่
อบุใลมดามนานาประเทศ {หจช. [2J กต 1.1 . 5 / 19 เอกสารกระทรวงการด่างประเทศ เรื่อง สาส์น
ของรัฐมนครึกระทรวงการต่างประเทศอเมริกันเกี่ยวกับการค้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีน [9
มิถุนายน - 3 สิงหาคม 2499] แถลงการณ์เรื่องนโยบายการล้าระหว่างประเทศ สำนักนายกรัฐมนตรี
21 มิถุนายน 2499).

199
ขุนศึก ศักดินา และหคุทอ้นทวี

ว่า เขา “รู้สืกผิดหวัง ” และเห็นว่าการกระทำของรัฐบาลไทยแสดงให้เห็นถึงความ


อ่อนแอของโลกเสรี74 ไม่กี่วันหลังจากนั้น เขาได้โทรเลขถึงบิชอป ทูตสหรัฐฯประจำ
ประเทศไทขว่า สหรัฐฯ ไม่เคยร้องขอให้ประเทศพันธมิตรป็นใจทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
แต่สหรัฐฯ “ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของไทยอย่างมาก ” และได้ฝากจดหมายถึง
จอมพลป. ว่าสหรัฐฯไม่เห็นด้วยกับไทยที่มีการค้าระดับปกต็กับจีน7 ' หลังจากที่
จอมพลป, ทิ้งช่วงการตอบจดหมายกลับคัลเลสเป็นเวลา 2 เดือน ในที่สุดเขาตอบกลับ
คัลเลสว่า ไทยยังคงยืนยันการเป็ดการค้ากับจีนเนื่องจากสถานการณ์การเมืองระหว่าง
ประเทศในภูมิภาคไต้เริ่มมีนโยบายเป็นกลาง และคนไทยมีความต้องการให้ไทยค้ากับ
จีนเพราะปริมาณการส่'งออกของไทยลดน้อยลง รัฐบาลจึงต้องทำตามความต้องการ
ของประชาชน การค้าระหว่างกันนี้เป็นการค้าตามหลักสากลที่ไม่มียุทธป๋จขัย ไม่มี
การสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน และไทยยืนยันว่าไทยยังคงรักษาความสัมพันธ์
กับสหรัฐฯ ตามเต็มและยืนยันว่า “หากจีนมุ่งนาทางใต้ มิใช่ประเทศไทยเป็นผู้จูงให้มา
เด็ดขาด ” 76 ทลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้สหรัฐฯ เริ่มไม่แน่ใจไนนโยบายการเป็น
พันธมิตรกับสหรัฐฯของรัฐบาลจอมพลป. มากยิ่งขน อีกทิ้งเมื่อรองประธานาธิบดี
ริชาร์ด นิกลัน ไต้เดินทางมาเยือนไทยในช่วงเวลานั้นและพบกับจอมพลป. หลังจาก
นั้นเขาได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ว่า “ไทยจะเป็นกลางไม่ได้ ” -7

74
เรื่ชิงเดียวก้น. m
7;f “the Department of State to the Embassy in Thailand (Bishop), 23 June 1956 , ” m
Foreign Relations of the United States 1955 - 1957 Vol 22
กด 1.1 . 5/19 ไทรเสขลับเฉพาะจากแมก1ช ดับสิว บ้ชอป เอกอัครราชทูตอเมริกัน ถึง จอมพลป
d
(1989, 892 -94) ; หจช. (
,

นายกรัฐมนตรี วันที่ 25 มิธุนายน 2499 .


หชช . ( 2) กด 1.1 . 5 /19 หนังรอจาก ปุ่น จาตกวใ)ช เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมื M
ถง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการด่างประเทศ วันที่ 2 สงหาคม 2499. m
ทจช . ( 3 ) สร 0201.21 . 3/ 89 เอกสารลำนักนายกรัฐมนตรี เร์อง รองประชานาธิบต็แพ
สหรัฐอเมรีกาจะมากรุงเทพฯ ( 4 - 10 กรกฎาคม 2499) วิทยุสารประจำวัน ของกรมประชาลัมห์นร
ฉบับที่ 154 วันองคารที่ 10 กรกฎาคม 2499 ; หชช. (2) กฅ 1 2/ 24 เอกสารกระทรวงการต แ
' , '

ประเทศ เรื่อง สรุปข่าวในประเทศประชาสัปดาห์ของกรมประชาสัมพ้นชั ระหว่างวันที่ 4 ชันว " *!


2498 - 2 กันยายน 2499 ( 11 ชันวาคม 2498 - 2 กันยายน 2499 ). 1

200
ถอยห่างจากพญาอํนทริ

พนังสีอพิมพ์กับการต่อสู้ทางการเมืองและการต่อต้านสหรัฐฯ
ภายใต้บริบทความผันผวนของการเมืองระหว่างประเทศ ไทยเริ่มแสดงท่าที
ลอยห่างออกจากฅวๅมต้องการของสหรัฐฯในขณะที่การต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่ม
ต่างๆทั้งจอมพลป . พล ต อ , เผ่า พล .อ . สฤษดิ้ กลุ่มรอยัลลิสต์ และกลุ่มฝ่ายซ้าย
. .

ขังคงดำเนินไปอย่างเข้มข้น พวกเขาไม่เพียงต่อสู้ทางการเมืองในบรรยากาศที่เป็น
ประชาธิปไตยด้วยการโจมดีกันและกันบนเวทีไสืต์ปาร์คเท่านั้น แต่พวกเขาขังมื
หนังสือพืมห์เป็I!กระบอกเสียงของกลุ่มตนเองด้วย กล่าวคือ จอมพลป . ให้การ
สนับสนุนหนังสือพิมพ์หลายฉบับเพื่อสนับสนุนรัฐบาลและวิจารณ์พล . ต , อ , เผ่ากับ
พล .อ , สฤษดิ้ เช่น ธรพาธป้ตย์เสถยรภาพ บางกอกทรีบูน ( Bangkok Tribune)
ประชาศัเทด
'
และไฮด่ปาร์ศรายปักษ์78 พล , ต.อ . เผ่าให้การสนับสนุนหนังสือพิมพ์หลาย
ฉบับด้วยงบราชการลับเพื่อไซ้เป็นเครื่องมือในการโจมดีพล .อ . สฤษดี้ เช่น ชาวไทย
{ ฝาไทย เสรีไทย ไทยเสรี ช่าวด่วน เช้า 2500 และชิเนียนรดเย้ ? 79 ส่วนพล . อ .

NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Bangkok to Secretary


of State, Thailand’s Hyde Park-The Phramane Ground Orations, 4 January 1956 ;
สุวิมล ( 2526, 51). สุพจน์ ด่านตระกูล ( 2466-2552 ) เป็นคนนครศรีธรรมราช เขาเคยเข้าร่วม
ขบวนการเสรีใทย หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมากกจบฌอวันที่ 10 พฤศจกายน 2495 โนข้อหา
1

กบฎในและนอทราชอาณาจักรกรข้ “ กบฎลันดีภาพ, จากนั้นเขาได้รับการนิรโทษกรรมโดยรัฐบาล


, 1

จอมพลป. ทั้งนี้เขาเคยทำงานหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เชน เกึยรติศกค ส'ยามรัฐ สยามใหม่ และ


กงหว d ปอ หลังนิรโทษกรรมเขากลับไปอยู่ที่นครศรีธรรมราชและออกหนังสือพิมพ์ ชาวใด
ต่อมาททมาร่วมงานกับหนังสือพิมพ์ ประชาศักค ที่จอมพล ป. สนับสบุนทารจัคตั้งขนโนตำแหน่ง
-
คอล้มนสต (สุพจน์ 2546, 25 » 59 60) .
7*
NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908 ? Reurifoy to Secretary
of State, 6 August 1955, พล. ค.อ , เผ่า ศรียานนท์เดรียมออกหนังสือพิมพ์ซีนชนื ขเฉยนรดเป้า
ตั้งแต่กลางปี 2497 เพื่อให้เป็นกรรบอกเสียงของรัฐบาลในทม่คนซีน ( NARA, RG 59 Central
Decimal File 1950-1954 Box 4188, Donovan to Secretary of State, 8 May 1954) ;
NARA, RG 84 General Record, Thailand 1956-1958 Entry' UD 3267 Box 112, D, H.
Rochlen to The Ambassador , Change in Ownership of Sri Krung and Liberty
Newspapers, 4 January 1957. สำหรับ ไทยเปรึ นั้นกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่บรีหารหนังสือพิมพ์
มีทั้งกลุ่มปรีดีและกลุ่มตำรวจของ พล.ด.อ. เผ่า เข่น พ.ต.อ. ชมพู อรรถจินดา ผู้อำนวยการ พ.ค.อ.
พันศทด วิเศษภักดี ผู้ชายผู้อำนวยการ กุมุท จันทร์เรือง หัวหน้าบรรณาธิการ ( กลุ่มปรีดี ) แสวง
ตุงคะบรรหาร บรรณาธิการ ( อดีตบรรณาธิการ เข้า ) ตั้งนั้ ร็อกเลน ผู้เขียนรายงานฉบับนี้เป็น
เจาหน้าที่ชีใอเอ ; หจช บก สูงสุด 7/6 เอกสารกองบัญชาการทหารสุงสุด iรอง รวมเรื่องเกี่ยวกับ
1

201
ชุนลึก ศักดินา และพญาอินทรี

สฤษด็ให้การสนับสนุนหนังสือพิมพ์หลายฉบับเพื่อสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของ
ตนด้วยการทำลาย พล.ต.อ. เผ่า โดยใช้เงินปีาทสำนักงานกองสลาทจำนาน 30 ล้าน
บาทสนับสนุนหนังสือพิมพ์ เช่น สารเสรี ไทรายวัน และ ไทรายสัปดาห์ (สมบูรณ์
- “
2527, 35 36) " ควรบันทึกด้ายว่า หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆที่ทั้งจอมพลป. พล.ต.อ.
..
เผ่า และพล อ สฤษดิ้ให้การสนับสณุณั้นมืท่าทีต่อต้านสหรัฐฯ เนื่องจากพวกเขาล้วน
ต้องการแสวงหาการสารับสนุนจากประชาชนในทางการเมือง
ด้วยเหตุที่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง พล.ต.อ. เผ่ากับ พล.อ. สฤษดี้มีสูง
ทำให้หนังสือพิมพ์กลายเป็นส่วนหนึ่งของการต่อล้ทางการเมือง เช่น ส'? รเส? ของ
พล.อ. สฤษดโด้เริ่มวิจารณ์พล. ต . อ . เผ่าตั้งแต่ปลายปี 2498 และต่อมาก็ได้โจมตี
พล.ต.อ. เผ่าอย่างหนัก รวมถึงวิพากษ์รัฐบาลและเริ่มลงข่าวโน้มเอียงไปทางสังคมนิยม
(ประจวบ 2543, 412 ; สุกัญญา 2526, %) แห้พล.ต.อ. เผ่าจะมืหนังสือพิมพ์ที่ใช้
ตอบใต้หลายฉบับ แต่ส'??เส? ได้รับความนิยมจากผู้อ่านมากกว่าเนื่องจากกล้าขุดคุ้ย
พล.ต.อ. เผ่า แห้บางคเงค’??เส? ก็ลงข่าวบดเบอน อย่างใรกีตาม ด้วยเหตุที่สาชารณชน
1

ให้ความเชื่อถือส'??เส?มากกว่าหนังสือพิมพ์ของ พล.ต.อ. เผ่า ทำไห้หนังสือพิมพ์ของ


พล.อ. สฤษดเป็นเสมือนหัวหอกในการสร้างความเกลียดขัง พล.ต.อ. เผ่าให้กับประชาชน
และในขณะเดียวกันกึได้สร้างกระแสความนิยมในหมู่ประชาชนให้กับ พล.อ . สฤษดี้
(ประจวบ 2543, 413, 459-60)
สำหรับกระบอกเสียงของกลุ่มรอยัลลีสต้ เช่น สยามรัฐ และ ประชาธิปไตย
นั้นมืเป้าหมายเพี่อต่อต้านทั้งรัฐบาลจอมพลป. และตัวบุคคลในรัฐบาล เช่น จอมพล ป.
กับ พล.ต.อ. เผ่า แต่ไม่ต่อด้าน พล . อ. สฤษด และไม่ต่อต้านสหรัฐฯ (เริ่องเดียวกัน.
413) หนังสือพิมพ์สยามรัฐนั้นมี ม.ร.ว. คึกฤทธี้ ปราโมช แกนนำคนหนึ่งของกลุ่ม
รอยัลลิสต์ เป็นเจ้าของ โดยมีนักหนังสือพิมพ์ที่มืความคิดคล้ายคลึงกันในสังกัด เช่น
สละ ลิขตกุล และประหยัด ศ. นาคะนาท'' 1 ส่วนหนังสือพิมพ์ของกลุ่มฝ่ายซ้าย เช่น

การประชาสัมพันธ์ ให้ข่าวและการสื่อสารต่างๆ ( า 9 ตุลาคม 2497 - 18 เมษายน 2500) ; สมบูรต้


1

(2527, 35-36) ; โชติ (2526) . พล:ต.อ. เผ่าตั้งหนังสือพิมพ์ชาวไทยไว้ต่อสู้กับสารเสรีและ ?พร ?B


วํฆ ของพล.อ. สฤษดิ้ ธนะรัชฅ์ ทั้งนี้ พ. ต.อ.พุฒ บูร{แสมภพ ตำรวจที่ใกล้ชด พล . ด .อ. เผ่าเคธ
รับผิดชอบหนังสือพิมพ์ ช?ว ho และเคยร่วมเขียนบทความใจมดีจอมพล ป. มากกว่า พล.อ. สฤษดึ้
พำให้พล.ด.อ. เผ่าเรียกเขามาตักเตือน (พุฒ ม.ป.ป., 234-35) .
1!
มีบวินัทธนะการพิมพ์เป็นเจ้าชอง พล.ต. เนตร เขมะโยธิน เป็นผู้จัดการ ( เสถียรและขรรคชธ
๔ **

2526, 83) . a
* ' ‘นายรำคาญ" หรีอประหยัด ศ. นาครนาท (2457-2545) เคยเรียนกฎหมายแต่ไม่จบการศึกษ-

202
ถอยห่าทพญาถึนทรี

สจามนิกร และ: พมพเทย มึนโยบายต่อต้านการดำเนินนโยบายตามสหรัฐฯ เรียกร้อง


นโยบายที่เป็นกลาง และคัดต้านการเป็นพนธมิตรทางการทหารชองไทยกับสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นการคัดค้านการดำเนินนโยบายต่างประเทศตามสหรัฐฯ นั้น
หนังสือพิมพ์ลี่นอกหลายฉบับก็'ให้การสนับสนุนด้วย เช่น สารเสรี ไทราฆาน และ
เสถียรกาพ เป็นต้น (เรื่องเดียวกัน, 412 ; สุวิมล 2526, 126 28) -
การต่อสืทางการเมืองที่เกิดซ้นได้กลายมาเป็นประเด็นการต่อต้านสหรัฐฯอย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากหนังสือพิมพ์และปัญญาชนฝ่ายซ้ายของไทยไม่พอใจรัฐบาล
จอมพลป. ที่มีความสนิทแนบแน่นกับสหรัฐฯ พวกเขาเรียกร้องไห!ทยมึนโยบายต่าง
ประเทศที่เป็นอิสระและวิจารณ์บทบาทสหรัฐฯ มากยิ่งซ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความ
ช่วยเหลือทางการทหารของสหรัฐฯ*2 การวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของสหรัฐฯ บน
หน้าหนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายทวีความรุนแรงมากซ้น เห็นได้จาก สยามนิกร ได้ไช้คำ ,ว่า
'
จกวรรดีนิยมดอลลาร์ ” ในการวิพากษ์วิจารณ์ความช่วยเหลือของสหรัฐฯว่ามึผลทำให้
นายถูกควบคุมทางเศรษฐกิจและต้องพึ่งพาสหรัฐฯ และพวกเขาได้เรียกร้องให้!ทยเป็น
อิสระจากสหรัฐฯ (สยามนิกร, 15 มกราคม 2499) กลางเดือนมิถุนายน 2499 กรม
ดำรวจไต้ประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามหนังสือพิมพ์วิจารณ์การเมืองระหว่างประเทศ 's:‘
สถานทูตสหรัฐฯ ใต้รายงานบรรยากาศของหนังสือพิมพ์ใทยขณะนั้นว่ามีการโจมดี
สหรัฐฯอย่างหนัก เนื่องมาจากการผ่อนฅถายการควบคุมหนังสือพิมพ์ของรัฐบาล โดย
มีหนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายเป็นหัวหอกของการต่อต้านสหรัฐฯ และมีพวกฉวยโอกาสกับ

เรํ่มต้นทำงานหนังสีอพิมYJ ตั้งแต่ปี 2477 เ,ขาถนัดงานเขียนเรี่องแนวลิเก เฒวขบชัน (สีธคสี ล้อเสียน


แอมพลป . ไตยเขียนลงในหนังสีรพิฆห์ทลายฉบับ เช่น บางกอกราซวัน ( 2490) สโทนสมัย (2491)
พิมพ์ไทยวันวันทร์ ( 2493) เขาร่วมงานกับ ม.ร . ว . คึกฤทธึ๋ ปราโมช สละ ลิขิตกล อบ ไชยวสุ
ที่ สยานรัฐสัปดาห597 รฌ์ตั้งแต่ปี 2497 { อ แสรณ }นงานพรยราชทานเพสิงศพ นายประหยัด ศ.
,
1

นาคะนาท 2545) ; ประจวบ (2543, 412).


82 The Dwight D . Eisenhower library , White
House Office , National Security
Council Staff : Papers 1948- 196 i , Operations Coordinating Board Central File Service
Box 2, Analysis of International Security in Thailand and Hecommcnded Action,
4 January 1956 ; NAHA. KG 59 Central Decimal File 1955 -1959 Box 3913, Robert
N . Magill to Secretary of State, Press Criticism of บ.ร. Aid Program, 11 January
1956 ; Rockwood H . Foster to Young, 23 January 1956.
83 หจช . ( 2) กต 1.2/24 .

203
ชุนคิก ลักด้นา แสะพญาอึนทรื
'

พวกนิยมคอมมิวนิสต์เข้าร่วมการต่อต้านสหรัฐฯ ด้วย กระแสการโจมตีสหรัฐฯ ผ่าน


หนังสือพิมพ์ประกอบขนจากหลายกลุ่มย่อยที่มีลักษณะเป็นอิสระ อิกทั้งห1รังสือพิมพ์
บางฉบับก็ไต้รับการสนับสนุนจากบุคคลหลายคนในรัฐบาลรวมทั้งนายกรัฐมนตรีด้วย84
ท่ามกลางบรรยากาศการโจมตีกันทางการเมืองและการต่อด้านสหรัฐฯ ของ
หนังสือพิมพ์ไทยนั้น นิวยอร์กไทมศั ฉบับปลายเดือนสืงหาคม 2499 ได้พาดหัวข่าว
ว่าหนังสือพิมพ์ไทยเป็นปรปักษ์กับสหรัฐฯ และรายงานว่าหนังสือพิมพ์ที่ต่อต้านสหรัฐฯ
ส่วนใหญ่อกู่ใต้อิทธิพลของจอมพล ป. พล.ต . อ. เผ่า และ พล.อ. สฤษด โดยตั้งข้อ
สังเกตว่า แม้ทั้งสามคนจะประกาศอย่างเป็นทางการว่าให้การสนับสนุนตะวันตกอย่าง
แข็งขัน แต่หนังสือพิมพ์ของพวกเขานั้นกลับทำในสิ่งตรงกันข้าม โดยเฉพาะอย่างรง
ทารต่อต้านสหรัฐฯ บัวยอรํกไทนต์ วิเคราะห์ว่า หนังสือพิมพ์ขณะนั้นแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
'

กลุ่มแรกเป็นหารังสีอพิมพ์แบบกลางๆ กลุ่มที่สองเป็นปรปักษ์กับสหรัฐฯ ในระดับปาน


กลาง กลุ่มที่สามเป็นปรปักษ์กับสหรัฐฯ อย่างรุนแรง เช่น สารเสรีของ พล.อ. สฤษดิ้
,
มีการใช้คำว่า “ขุนศึกอเมริกัน ส่วนหนังสือพิมพ์เสถีบรภาพของจอมพล ป. ก็โจมตี
"
สหรัฐฯ ชิ!ฉีซนรณปีา หนังสือพิมพ์จีนของพล.ต.อ. เผ่าก็โน้มเอียงไปทางการต่อต้าน
สหรัฐฯ และนิยมคอมมิวนิสต์เช่นกัน { New York Times, 26 August 1956 )
สำหรับสาเหตุที่จอมพลป. ให้การสนับสนุนหนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายให้โจมต
สหรัฐฯนั้น สุพจน์ ด่านตระกูล ปัญญาชนฝ่ายซ้าย อดีตนักเคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาล
จอมพล ป. ผู้เคยถูกจับในกรณ “กบฏสันติภาพ ” หลังได้รับนิรโทษกรรมแล้ว เขาได้
ร่วมงานกับหนังสือพิมพ์ที่จอมพล ป. ให้การสนับสนุน เขาไต้บันทึกว่า หลังจากที่
จอมพล ป.ได้เห็นบรรยากาศของประชาธิปไตยไนที่ต่าง ๆ ของโลก จอมพล ป. ตระหนัก
ถึงปัญหาเอกราชของไทยภายใต้อำนาจสหรัฐฯ จึงเกิดแนวคิดที่พยายามสร้างการ
เปลื่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ จอมพล ป. ไม่พอใจการที่สหรัฐฯ ครอบงำไทย
มากเกินไป จึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศให้ถอยห่างออกจากสหรัฐฯ
อย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการสร้างกระแสประชามติผ่านการใช้หนังสือพิมพ์ปลุกเร้า
ต่อมา'ในปี 2499 จอมพล ป. ให้การสนับสนุนทุนจัดตั้งหนังสือพิมพ์และตั้งชื่อให้ว่า
ประชาศักดิ โดยจอมพล ป. ได้รับอดีตมักโทษการเมืองกรณี “ กบฎสันติภาพ’’ หลาย
คนมาร่วมงานรวมทังตัวเขา เพีอร่วมกันสร้างกระแสประชามติให้ประชาชนคล้อยตาม

81
" the Embassy in Thailand (Bishop) to the Department of State, 23 May 23.
-
1956,” in Foreign Relations of the United States 1955 1957 Vol. 22 (1989, 878).

204
ถอยห่างจากพญาธนทา

จากนนรัฐบาลจะใช้มดีมหาชนดังกล่าวเป็นข้ออ้างกับสหรัฐฯในการถอยห่างออกจาก
-
การดำเนินนโยบายตามที่สหรัฐฯ ต้องการ (สุพจน์ 2516, 16 18, 22 27 ) *5 -
ทั้งนี้ นิวยอร์กไทมศ์ รายงานข่าวว่า คนไทยส่วนมากไม่พอใจความช่วยเหลือ
ทางการทหารจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชนและกลุ่มคนทำงาน พวกเขา
เห็นว่าสหรัฐฯ ทำให้กลุ่มตำรวจและกลุ่มทหารมีอำนาจมากจนทำให้เกิดการลิดรอน
เสรีภาพของประชาชน และเห็นว่าสหรัฐฯ ทำผิดพลาดที่ให้ความช่วยเหลือทางการ
ทหารมากกว่าการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังได้แทรกแซง
เสรีภาพของไทยด้วยการมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในไทยจำนวนมาก ( New York
Times, 21 September 1956)

ความไม่พอใจของสหรัฐฯ ต่อการเปิดรับวัฒนธรรมจีนของไทย
สหรัฐฯ ประเมินว่า แผนสงครามจิตวิทยาในไทยไม่ประสบผลสำเร็จตามที่
สหรัฐฯคาดหวังไว้ เนื่องจากรัฐบาลจอมพลป. ย่อหย่อนในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ด้วย
การพยายามเปิดไมตรีกับจีนผ่านการค้าและรับวัฒนธรรมจีนเข้ามาในไทย ทำให้ในต้น
ปี 2499 สหรัฐฯได้ส่ง ดร. ไลเดคเกอร์ (Kurt F. Leidecker) นักสังคมวิทยาที่เชี่ยวชาญ
ศาสนาพุทธ เข้ามาศึกษาทัศนคฅของคนไทยต่อความเชื่อที่ยึคเหนี่ยวเพื่อใช้ในการ
วางแผนสงครามจิตวิทยาต่อต้านคอมมิวนิสต์ต่อไป เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อยูซิสดำเนิน
สงครามจิตวิทยามักจะถูกคัดค้านจากประชาชนผู้เข้ารับฟ้งเสมอ ( สยามนิกร, 18
กุมภาพันธ์ 2499) เช่น ในการอบรมสงครามจิตวิทยาครั้งหนึ่งในไทย นิวยอร์กไทมสั
รายงานว่า ชาวนาไทยส่วนใหญ่ไม่เคยได้ยินเรื่องคอมมิวนิสต์มาก่อน การอบรมไม่มี
ผลครอบงำคนทั้งหมดได้ เนื่องจากยังคงมีคนไทยบางส่วนไม่เห็นด้วย ทำให้ผู้เข้า
อบรมคนไทยบางคนถามเจ้าหน้าที่ยูฃสว่า “ถ้าคอมมิวนิสต์ไม่ดีแล้วจะอบรมให้คน
,
ไทยรูทำไม ทำไมไม่อบรมในสิ่งที่ดึซึ่งชาติเสรีมีมากกว่า แต่กลับมาอบรมเรื่อง
คอมมิวนิสต์ และหากคอมมิวนิสตไม่ดี ทำไมคอมมิวนิสต์จึงขยายตัวมาก อะไรเป็น
จุดอ่อนของเสรีประชาธิปไตย และทำไมชาติเสรีจึงกลัวคอมมิวนิสต์จนตัวสั่น ทำไม
สหรัฐฯไม่ทั้งระเบิดในประเทศคอมมิวนิสต์ไปเลย ทำไมไม่แจกอาวุธให้คนไทยปัองกัน

83
.
สุพจน์เห็นว่าจอมพล ป. ไม่สามารถออกหน้าในการต่อต้านสหรัฐฯได้ เนื่องจากจอมพลป เป็น
.
นายกรัฐมนตรีที่ต้องรักษาความไวรางไจจากสหรัฐฯ แต่จอมพลป ไต้ดำเนินการพางลับด้วยการให้
^๘
ข้อมูลแก่หนังสือพิมพ์และนักไอดํปาร์คเพื่อเปิดเคยความไม่เป็นธรรมที่สหรัฐฯทำลับไทย สุพจนเหน
ว่าเป๋าหมายของจอมพล ป. และเขาฅรงกัน เขาจึงร่วมงานคุมทิศทางหนังสือพิมพ์ให้ลับจอมพล ป .

205
ขุนศึก สักดินว และพญาอินทรี

ตนเอง และบางคนถามว่า สหรัฐฯ ต้องการอะไรจากประเทศไทย หรือต้องการครอบ


ครองประเทศไทยหรือ’' ( New York Times , 18 May 1956) นอกจากนี้ ในการ
อบรมสงครามจิตวิทยาให้กับประชาชนของยูซิสคเงหนึ่งที่อำเภอราษฎร์บูรณะ
กรุงเทพฯในปี 2499 เมธการอบรมเสร็จสิ้นลง ชาวสวนคนหนึ่งไต้ถามเจ้าหน้าที่ยูซิส
ว่า การที่สหรัฐฯ ส่งอารุธและเจ้าหน้าที่เข้ามาในใทยนั้นมุ่งจะยึดครองไทยหรือ
( ประชาธิปใตซ , 5 พฤษภาคม 2499) นอกจากนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว สถานทูต
สหรัฐฯ แจ้งต่อรัฐบาลว่า กลุ่มฝ่ายซ้ายได้เช้าแทรกซึมขัดขวางการทำงานของยูซิสS( l

นอกจากพยายามเปีดไมตรีและทำการค้ากับจนแล้ว รัฐบาลจอมพล ป, ยังยอม'ให้มิ


การนำเช้าวัฒนธรรมจีนด้วยการนำภาพยนตร์จากจีนเข้ามานายในกรุงเทพฯหลาย
.
เรื่อง*7 ทำให้เสอร์เบิร์ต สูเวอร์ (Herbert Hoover Jr.) รักษาการ รมว ต่างประเทศ
สหรัฐฯ แสดงความกังวลใจถึงความย่อหย่อนในการต่อด้านคอมมิวนิสต์ของรัฐบาล
ไทย*8 ถึงตอนนี้สหรัฐฯ เกิดความวิตกต่อผลกระทบที่จะมีฅ่อความสำเร็จของการ
ดำเนินการตามแผนสงครามจิตวิทยาที่กำหนดไว้ ต่อมาในวันที่ 16 พฤษภาคม 2500
โรเบิร์ตสัน (Walter ร. Robertson ) รองอธิบดีกรมการเมืองตะวันออก ได้เรียก
พจน์ สารสิน ทูตไทยประจำสหรัฐฯ เช้าพบเพื่อแจ้งความกังวลของสหรัฐฯ ต่อความ
เปลี่ยนแปลงของไทยที่เริ่มเหินห่างลอกจากความต้องการของสหรัฐฯ และดั้งคำถาม
ต่อไทย 4 ประการ ได้แก่ เหตุใดรัฐบาลจอมพล ป. จึงอนุญาตให้คณะคนไทยเดีนทาง
ไปจีน เหตุใดหนังสือพิมพ์ไทยจึงเป็นปฏิปักษ์ต่อสหรัฐฯ และซีโต้มาก เหตุใดบุคคล
ชั้นนำในรัฐบาลจึงให้การสผับสนุนหนังสือพิมพ์ที่โจมตีสหรัฐฯ และเหตุใดไทยจึงยนยอม
ให้มีการฉายภาพยนตร์จีนที่มุ่งโ,ฆษณาชวนเชื่อในกรุงเทพฯ8" พจน์รายงานคำถามของ

86 ห,รช. (2) กต 14.3/76 เจกถารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่ลง หนังสือพิมพ์กล่าวหาว่ายูซ๊ส


ช่วยหาเสียงให้พรรคฝ่ายค้าน (13 ธันวาคม 2499 - 13 กุมภาพันช์ 2500) หนังรอจากแมกซ์ ดับสิว.
ป็ชอป ถึง นายวรการบัญชา รัซูมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 12 ธันวาคม 2499 .
ในกลางเดีอนตุลาคม 2499 สถานทูตสหรัฐฯรายงานว่า มหาหัด ดาวเรือง สมาชิกของกลุ่มฝ่ายซาย
ไค้แทรกซมเข้าสู่กระบวนการทำงาน‘แองยูซิสไนกาคดะวันออกเฉียงเหนือในฐานะล่าม จากนั้นเข
ทำการเปลี่ยนแปลงข้อความที่เจ้าหน้าที่ยูชิสบรรยายแก่คนไทยไปในทางดรงกนข้าม
87 ดูรายชื่อภาพยนตร์จีนที่รทยในกรุงเทพฯ ใน ณ้ฐพล ( 2556ข ) .
:
-
58 NARA , RG 59 Central Decimal File 1955 1959 Box 390S , Hoover ( Acting of

Secretary of State) to Bangkok , 4 August 1956 ,


หจช. ( 3 ) สร 0201.23/ 21 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกายภาพยนตร์เกี่ยวกับ
'

คอมมิวนิสต์ หรือนโยบายควบกุมหนังสีอพิมพ์และภาพยนตร์จีนแคง ( การสนทนาระหว่า •ะ

206
ถอยห่างจากพญาอินทรี

สหรัฐฯ เหล่านั้นกลับมายังไทย ในทารประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤบภาคม ที่


ประชุมได้มีมติให้พจน์แจ้งยืนยันต่อสหรัฐ'1 ว่าไทยยังคงมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์
," 1
และจะดำเนินการควบคุมการฉายภาพยนตร์จีนต่อไป
อย่างไรก็ตาม การฉายภาพยนตร์จากจีนไจกลางกรุงเทพฯ ยังคงดำเนินไปอย่าง
ต่อเนื่อง ทำให้สถานทูตสหรัฐฯ ประท้วงการที่รัฐบาลย่อหย่อนให้มีการฉายภาพยนตร์
ด้งกล่าว และกล่าวประณามภาพยนตร์เริ่องหนื่งที่กำลังฉายที่โรงภไพยนตร์บรอดเวย์
แถบเยาวราช'ใเณะนั้นว่าเป็นภาพยนตร์ที่โฆษณาชวนเชื่อใ) ลุกป่นคนจีนให้มีความเชื่อว่า
,
"
ระบบเก่าทำให้คนเป็นผี ระบบใหม่ทำให้ผีเป็นคน " จากนั้น รักษ์ ปันยารชุน รมช.
’’
ต่างประเทศมีบันทึกถึงจอมพล ป. รายงานเรื่องการประท้วงจากสถานทูตสหรัฐฯ แม้
ต่อมากระทรวงมหาดไทยสั่งการให้ควบคุมการฉายภาพยนตร์จากจีนแดงตามคำประท้วง
จากสถานทูตสหรัฐฯ แล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีการลักลอบนำเข้าและฉายภาพยนตร์จาก
จีนในพื้นที่นอกกรุงเทพฯ ต่อไป จนกระทั่งเดือนสิงหาคม 2500 จอมพล ป. จึงสั่งการ
ห้ามฉายภาพยนตร์จากจีนทั้งหมด''2
สแตนตัน อดีตทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ได้บันทึกถึงรอยต่อของการ
เปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลจอมพล ป. ไนช่วงดังกล่าวว่า ตั้งแต่ไทยเข้าร่วมการ
ประชุมที่เมืองบันตุง ประเทศอินโดนีเซีย ไทยกีมีท่าทีไน้มเอียงไปทางจีน ประกอบ
กับการเดนทางกลับมาจากต่างประเทศของจอมพล ป. ทำให้เกิดการผ่อนคลายทาง
การเมือง การให้เสรีภาพแท่หนังสือพิมพ์ รวมทั้งการผ่อนคลายการล้ากับจีนส่งผลให้
สินล้าจีนท่วมตลาดในไทย อดีตทูตสหรัฐฯเห้นว่ารัฐบาลจอมพล ป. มีความข่อหย่อน
ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ (สแดนดัน 2504, 14) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใน
ไทยท่ามกลางบรรยากาศที่เริ่มเป็นประชาธปไตยนั้นเป็นไปทางตรงข้ามกับความ
ต้องการของสหรัฐฯ นั่นคือเกิดกระแสการต่อด้านสหรัฐฯ ขึ้นแทน

เอกอัครราชทูต ฌ กรุงวอชงดัน กํบัผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ) ( 24 พฤษภาคม - 14


สิงหาคม 2500) โทรเลขที่ 51/ 2500 พจน์ สารสิน เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ถึง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงค่างประเทศ วันที่ 16 พฤษภาคม 2500.
90
หจ'ช. คค 0202.1 . 1 /5 เอกสารกระทรวงคมนาคม เรื่อง บันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้ง
ที่ 8/2500 (พ.ศ. 2500).
91 หจช . ( 3 ) สร 0201.23/ 21 หนังสือลับจาก Max พ. Bishop ถึง รักษ์ ป๋นยารชุน 29

พฤษภาคม 2500.
92 หจช. ( 3) สร 0201.23/ 21 หนังสือจากรักษ์ ปนยารชุน รัฐมนตรีช่วยว่าทารกระทรวงภารด่าง

ประเทศ ถึง จอมพลป. นายกรัฐมนตรี วันที่ 3 มธุนายน 2500.

207
การเคนทางกลับถึงไทยของพูนศุข พนมยงฅ์ ภรรยาของปรืดึ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2500 เป็นเสมี 014
สัญญาณเตอนภัยให้กบสถาบันกษัตริย์และกสุมรอยัลลิสต์ที่เป็นพ้นธมิตรภับจอมพลสฤษดว่า จอมพล lL
ได้คนลึกบปรืดีแล้ไ) และปรืดีกำลังจะกลับมาสคดสวรรคตไนไม่ช้า ในภาพ ปาส พนมยงฅ์ บุดรr'ร
ไปต้อนรับที่สนามบินดอนเมือง (ภาพจาก 7 รอบ พูนค'*V พนมยงค 2 นกราทน 2539 )
บทที 8
ยาม เมื่อลมพัคหวน
ความพยายามหวนคืนของมิตรเก่า “จอมพล ป.-ปรีดี”

การต่อต้านกลุ่มรอยัลลิสต์ของรัฐบาลจอมพลบ.
แม้การเมืองไทยในช่วงต้นปื 2499 จะมืการแข่งขันทางการเมืองระหว่างกลุ่ม
คำรวจของพล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ กับกลุ่มทหารของจอมพลสฤษดิ้ ธนะรัชต์ อย่าง
เข้มข้น แต่จอมพล ป. พิบูลสงครามยังคงต้องการให้มีการเปลี่ยนผ่านอำนาจทางการ
เมืองอย่างสันติด้วยการเสือกตั้งที่จะมีขึ้นในช่วงต้นปี 2500 ในสายดาของสหรัฐฯนั้น
พล.ต.อ. เผ่าคาดหวังที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ในขณะที่พล.อ. สฤษดตองการ
รักษาอำนาจในกองทัพต่อไป แม้ว่าเสถียรภาพทางการเมืองของไทยจะขึ้นอยู่กับ
สับพันธภาพของกลุ่มการเมืองต่างๆก็ตาม แต่สหรัฐฯยังคงยืนยันว่า ไม่ว่าจะเกิดการ
ฝลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างไร ผู้นาคนใหม่ของไทยจะต้องผูกพันกับสหรัฐฯต่อไป 1
ท่ามกลางการแข่งขันทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่นั้น รัฐบาลจอมพล ป.
สนับสนุนให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น, อย่างเสรี ทำให้ไนขณะนั้นไทยมีพรรค
การเมืองมากถึง 25 พรรค ซี่งสามารถแน่งใต้เป็น 3 กลุ่ม คือ หนึ่ง พรรคการเมือง
ที่สนับสมุนรัฐบาล เช่น พรรคเสรีมนังคศึลา มีนโยบายเสรีนิยม ให้ความสำคัญกับการ

1
Staff Study Prepared by an Interdepartment. Working Group for the Opera-

tions Coordinating Board -Analysis of Internal Security in Thailand ( Pursuant to


NSC 1290- D) and Kecommend Action, 4 January 1956 ," in Foreign Relations of the
United States 1955- 1957 Vol 22 ( 1989 , 850- 51 ).
ชุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

สร้างสวัสดีการสังคม สอง พรรคฝ่ายค้านอนุรักษนิยม เช่น พรรคประชาธิปัดย์ มี


นโยบายสนับสนุนผลประโยชน์ขธงชนชั้นสูงและผูกตนเองเข้ากับสถาบันพระมหากษตรย
^ เ ๙

สาม พรรคฝ่ายค้านที่เป็นฝ่ายซ้าย เช่น พรรคเสรีประชาธิปไตย และพรรคเศรษฐกร


สมาชิกมาจากภาคอีสาน ต่อมารวมตัวเป็นพรรคแนวร่วมสังคมนิยม รเโยบายสำคัญ
คือต้องการให้ไทยมีนโยบายเป็นกลาง ( ข้อบังคับว่าด้วยการจัดการพรรณสรีมนังคนิสา
2499 ; Wilson 1962b, 31, 241) ที่น่าสนใจคือความเคลี่ปินไหวของพรรคประชาธิปัตย์
ในเดือนพฤษภาคม 2499 จอห์น คัลเลส (John Dulles) รมว. ต่างประเทศ แจ้งให้
สถานทูตสหรัฐฯ ที่กรุงเทพฯ ทราบถึงสถานการณ์การเมืองไทยว่า สถาบันกษัตริย์อาจ
จะมีสํวนเกี่ยวช้องกับการเสือกตั้งของไทยที่จะมาถึง2 ไม่กี่เดือนต่อมาหนังสือพิมพ์
ไทยขณะนั้นรายงานข่าวการหาเสียงของพรรคประชาธิป๋ตย์เ,นขณะนั้นว่า พรรคฯได้
นำพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ใปใช้ในการหาเสียงเสือกตั้ง'ไนภาคอีสาน และ
รายงานข่าวต่อไปอีกว่า ราชสำนักให้การสนับสนุนทางการเมืองและเงึนทุนแก่พรรค
ประชาธิป๋ตย์ผ่านกิจกรรมการเสด็จเยี่ยมประชาชนในภาคอีสาน จากป้ญหาดังกล่าว
.
จอมพล ป ได้ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลกำลังสืบสวนข้อเท็จจริงอยู่ หากไต้ความจริง จะ
กราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ แด่เขามั่นใจว่าพระองค์ใฆ่มี
พระราชประสงค์ที่จะเข้าเกี่ยวข้องทางการเมืองแต่อย่างได (คชีก 2 ง , 21 กรกฎาคม
2499) อย่างไรก็ตาม โนระหว่างการรณรงค์หาเสียงเสือกตั้งในปลายเดือนกรกฎาคม
สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่า มีข่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์รณรงค์หาเสียงในภาคอีสาน
ด้วยการประกาศว่า “พรรคประชาธิปืตย์เป็นพรรคของพระเจ้าอยู่หัว’’ ( King’s Party )'
ควรบันทึกด้วยว่า เมื่อจอมพลป. ประกาศเริ่มต้นกระบวนการประชาธิปไตยใน
ไทยและต้องการลาออกจากตำแหน่งจอนพลเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง สยามรัฐ ซึ่งเป็น
หนังสือพิมพ์ของม.ร.ว. คึกฤทธ ปราโมช ได้โจมตีคำประกาศของจอมพลป. ว่าเป็น
สิ่งที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากตำแหน่งจอมพลเป็นตำแหน่งพระราชทาน และจอมพล ป.
จะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ไต้ หากไม'ได้รับความยินยอมจากพระมหากษัตริย์ ( สยามรัฐ .

16 กรกฎาคม 2498) เมื่อกลุ่มรอยัลลิสต์เริ่มต้นพยายามขัดขวางและโจมตรัฐบาล


จอมพลป. อีกครั้ง พล.ต.อ. เผ่าก็!
เ ไดฉากตอบโต้กลุ่มรอยัลลิสต์ทันที สยามนิกรฉใlb

2
NAHA, RG 59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3908, Dulles to Bangkok. 2:
May 1956.
!
NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3910, Bangkok to Secretars
of State, 30 July 1956. ร

210
ยามเมี่ผึลมพตหวน

4ธันวาคม 2498 พาดหัวข่าวบทสัมภาษณ์ของ พล . ต.อ. เผ่าว่า "ไทยไม่เจริญเท่า


สหรัฐฯ เพราะสักดีนา ” โดยพล .ต.อ, เผ่าได้กล่าวเปรียบเทียบการดั้งกรุงเทพฯ กับ
,
สหรัฐฯในช่วงเวลาที่ไกล เคียงกัน แต่เขาเห็นว่าไทยมีความเจริญไม่มาก ในขณะที่
สหรัฐฯ มีควานเจริญมากกว่ามากมาย เขาเห็นว่าป้ญหาหลักที่ถ่วงความเจริญคือไทย
มีพวกศักดินาเป็นผู้ปกครอง คนเหล่านี้แสวงหาแต่ความมั่งคั่งและเอาแต่ประโยชน์
สวนดน (ส'ยามนิภร, 4 ธันวาคม 2498 ) สถานทูตสหรัฐฯได้รายงานท่าทีของกลุ่ม
รอยัลลิสตีทมีต่อรัฐบาสว่า พระยาศ่รีวิสารวาจา องคมนตรีและแกนนำคนหนึ่งในกลุ่ม
รอยัลลิสต์ผู้ให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความรู้สักที่มีต่อรัฐบาลว่าเขา
ไม่ชอบจอมพลป . และพล.ต.อ. เผ่า เขาวิจารณ์ว่าจอมพลป. เป็นคนโง่เง่าเหมือนกับ
เหล่าสมาชิกสภาผู้แทนฯ ส่วนพล.ต.อ. เผ่านั้นเป็นคนกักขฬะและเป็นเผด็จการ4 ด้วย
.
เหตุที่ พล . ต.อ เผ่ามักจะเป็นหัวหอกในการตอบโต้กลุ่มรอยัลลิสต์เสมอ ทำให้คน
..
เหล่านี้เกลียดชัง พล ต อ. เผ่ามาก (พุฒ ม.ป.ป., 156 57) -
การรุกคืบทางการเมืองของกลุ่มรอยัลลิสต์และพรรคประชาธิปัตย์ทำให้รัฐบาล
จอมพล ป. จำเป็นต้องแสวงหาการสนับสนุนมากขึ้นด้วยการหันไปหาปริดี พนมยงค์
เพื่อชัยชนะในการเลือกตั้งที่จะมาถึง ในเดือนกุมกาพันธ์ 2499 พล.ด.อ. เผ่าส่ง
ตัวแทนไปพบกับปรีดึที่จน สถานทูตสหรัฐฯ และซ็ไอเอเห็นว่า แกนนำสำคัญในรัฐบาล
คือจอมพล ป. และ พล.ต-อ. เผ่าร่วมมือกันไนการส่งผู้แทนลับหลายชุดไปเยือนจีนเพื่อ
ผลประโยชน์ทางการเมือง 2 ประการ คือ ประการแรก รัฐบาลต้องการนำปรีดีกลับ
มาไทยเพื่อต่อด้านกลุ่มรอยัลลิสต์ และประการที่สอง รัฐบาลต้องการปูทางลู'่การเปิด
ไมตรีกับจีนเพื่อถอยห่างออกจากอิทธิพลของสหรัฐฯ ' อย่างไรก็ตาม ต่อกระแสข่าว
การจะกลับมาของปรีดีนั้น ควง อภัยวงศ์ แกนนำคนหนึ่งของกลุ่มรอยัลลิสต์และ
1

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตขึไห้สัมภาษณ์ว่า เขาไม่เชื่อว่าจอมพล ป- จะสามารถคืนดีกับ


ปรีดีได้ (ประชาธิปไตย, 22 เมษายน 2499)

4
NAKA, RG 59 Central Decimal File ) 955- 1959 Box 3908 , Memorandum of Con -
versation Phya Srivisarn Vacha and Robert N . Magi 1.1, The Current Political Situation ,
12 October 1955 .
’ “ the Embassy in Thailand ( Magill) to the Department of State , 8 February
1956 , ” in Foreign Relations of the United States 1955 - 1957 Vol . 22 ( 1989, 854- 55 ) ;
NARA , CIA Records Search Tool ( CREST ) , CIA- RDP 79T00975 A002400330001 -8 ,
28 Feb 1956 , “.Arrested Thai MP Reportedly to be Charge with Treason . ”

211
ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

ต่อมาพล .ต . อ. เผ่าและกลุ่มตำรวจของเขา เช่น พ.ต.อ.พันสักด วิเศษภักดี


และพ.ต.อ.พุฒ บูรฌสมภพ ได้เริ่มต้นโครงการนำปรีดีกลับไทยด้วยการใช้หนังสือพิมพ์
ของกลุ่มตำรวจ เช่น ไทย1สรี สร้างกระแสข่าวเพื่อทำไห้ปรืดีกลับมาสู่ความสนใจของ
สาธารณชนโดยดีพิมพ์ผลงานของปรีดีเรื่อง เค้าใครงการเศรษฐกิจ อีกครั้ง* ควบคู่ไป
กับการใช้หนังสือพิมพ์ [ ต'รีไทย ชี่งเป็นสังคมนิยมมาทกว่า ลงข่าวให้การสนับสนุน
การคาระหว่างไทยกับจนโดยตรง และการเรียกร้องให้คนไทยเปิดพิงวิทยุจากปักกิ่ง
สถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่า หนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับที่ พล.ต.อ. เผ่าให้การสนับสนุนมี
ความโน้มเอียงไปทางสังคมนิยม ในรายงานของสถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่า มีความเป็น
ไปได้ที่รัฐบาลจอมพล ป. จะเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศด้วยการแสวงหากวาม
มั่นคงใหม่โดยเปิดความสัมพันธ์กับจีน อีกทั้งจะได้ประโยชน์จากการนำปรีดีกลับมา
เพื่อประโยชน์ทางการเมีองทายโน7
ท่ามกลางการแข่งขันทางการเมืองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนการเลือกดั้งจะมาถึง
กลุ่มรอย้’ลลิสต์และพรรคประชาธปัตย์เคลื่อนไหวร่วมมือกันวิจารณ์รัฐบาลอย่างหนัก
โดยพรรคประชาธิปัตย์กล่าวปราศรัยที่พิษณุโลกโจมดีรัฐบาลว่าเป็น “ เผด็จการรัฐสภา"
ล้มเหลวในการแกั!ขปัญหาค่าครองชีพและการคอร์รัปชั่น {ประชาธิปไตย , 15 ธันวาคม
2498) ต่อมา ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศนโยบายหาเสียง
สำคัญคือ การเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 หรือรัฐธรรมนูญรอยัลลิสต์กลับ
มาใช้ใหม่ ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ที่ธุด เขาไห้เหตุผลว่า “รัฐธรรมนูญ
2492 เป็นประชาธปไตย ไม่ใช่รัฐธรรมนูญเจ้า ประชาชนเป็นผู้ร่าง ที่ให้อำนาจพระ
มหากษัตริย์มากเป็นเพราะความปรารถนาของประชาชน (สภาร่างรัฐธรรมนูญ) ส่วน
การมีวุฒิสภาที่ดั้งโดยพระมหากษัตริย์นั้นเป็นเพียงที่ปรึกษาไม่ฏีอำนาจอย่างใด ส่วน
เศรษฐกิจนั้น ปัจจุบันสู้สมัยค่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่ได้ สมัยเจ้าตึกว่า’’ ใน

NARA , RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Magill to Secretary of


State , 7 December 1956 ; “ the Department of State to the Embassy in Thailand
( Bishop), 3 May 1957 ," in Foreign Relations of the United States 1955- 1957 Vol 22
-
.

(1989, 917 18 ).
NARA, RG 59 Central Decimal File 1955 - 1959 Box 3908, Magill to Secretary of
State , Possible Contracts between The Thai Government and Communist China.
8 February 1956 . เจ้าของหนังสือพิมพ์และบรรณาธิการ 1๙รีไทB คือ สนท ธนะจันทร์ เขา(ชิน
ข้าราชการของบริษัทไทยไทรทัศน์ที่ พล.ต.อ . เผ่า ศริยานนพ์ ควบคุมอยู่ และมีสมุทร สุรัก ขกะ อผีเ
'

กบฎ (ณติภาพเป็นผุ้ช่วยบรรณาธิการ

212
^
ยา เมือลมพ้สหวน

บันน : ขบายด่างประเทศของพรรคฯ จะยึดตามกลุ่มโลกเสรีและการไม่ยอมรับจีน { {ช้า ,


: กุมภาพันธ์ 2499 ; สยามนกร, 12 รงหาคม 2499)
ต่อมาพรรคประชาชิปัตย็ได้เปิดเวทีปราศรัยที่สนามหลวงโจมตีรัฐบาลและ
จอมพลป. เช่น เรื่องการเข้าร่วมสงครามโลกคเงที่สองทับญี่ปุ่น การทำให้ประชาชน
เสียชีวิตจากการสร้างเมืองใหม่ที่เพชรบูรณ์ การทำให้ประเทศเป็นหนี้เงินกู'้ สหรัฐฯ
7.000 ล้านบาท การเรียกร้องให้รัฐบาลคีนพระที่นั่งอนันดสมาคมให้กับพระมหา-
^ บตรย และกล่าวหาว่ารัฐบาลทรยศต่อประชาธิปไตยบิดเบึอนสัจจะที่ให้กับพระมหา-
-ามฅรย {พมฟไทย , 5 กุมภาพันธ์ 2499) หนังสือพิมพ์ ชาวไทย วิจารณ์นโยบายและ
ข้อเรียกร้องของพรรคประชาธิปืตย์ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสถาบันกษัตริย์และกลุ่ม
รอยัลลิสต์ อีกทั้งสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์คนหนี่งเปิดเผยว่า หากพรรคฯได้รับ
ชัยชนะในการเลือกตั้ง ควง อภัยวงศ์ มีแผนที่จะเชิญพระราชวงศ์และกลุ่มรอยัลลิสต์
เช่น พระองศ์เจ้าวิวัฒนไชย และพระยาศรีวิสารวาจา ซึ่งดำรงตำแหน่งองคมนตรีอยู่
ในขณะาณให้มีตำแหน่งไนคณะรัฐมนตรี { ชาวไทย , 14 กรกฎาคม 2499 ) ต้นเดือน
กรกฎาคม 2499 จอมพล ป. วิจารณ์แนวทางการรณรงค์หาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์
ที่ให้การสนับสกุนผลประโยชน์ของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์ว่า ควงเป็นนัก
ฉวยโอกาสที่นักจะเข้ากับฝายตรงข้ามรัฐบาลเสมอ {สยามนกร, 9 กรกฎาคม 2499 )
ต่อมาปลายเดือนนั้นเอง ข่าวพาณิชย์ ได้รายงานว่า ควงและพรรคประชาธิป้ตย์ยังคง
อ้างพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ไปใช้ในการทาเสียงเลือกตั้งต่อไป { ข่าวพาณิชย์ ,
25 กรกฎาคม 2499) สซ น/ นิกรรายงานว่าสมาชิกพรรคประชาชิปัตย์คนหนึ่งไต้เคย
'

วิจารณ์แนวทางการเมืองของพรรคฯ ที่ร่วมมือกับสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์
ว่า “พอได้เป็นรัฐบาลก็จะไปเอาพวกเจ้าศักดีนาเข้ามาเป็นใหญ่ ดูหมิ่นลูกพรรคตัวเอง
ขออะไรก็ไม่ให้นั้น” ควงตอบข้อวิจารณ์จากสมาชิกพรรคฯ คนดังกล่าวว่า "เป็นความ
จริง เพราะผู้ใหญ่เหล่านั้นมีคุณกุฒิดี เป็นที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศ " {สยามนิกร ,
27 กันยายน 2499)
จอมพล ป. นายกรัฐมนตรีหลายสมัยและผู้นำการต่อสู้ทับกลุ่มรอยัลลิสต์มา
ยาวนาน ได้วิเคราะห์ภาพกลุ่มการเมืองไทยในขณะนั้นไห้บิชอป ทูตสหรัฐฯ ฟ้งว่า
การเมืองไทยมีกลุ่มการเมือง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มรอยัลลิสต์อยู่ปีกขวา กลุ่มฝ่ายซ้าย
อยู่อีกฟากหนึ่ง โดยรัฐบาลตั้งอยู่ตรงกลาง เขาค่อนข้างกังวลกับบทบาทของกลุ่ม
รอยัลลิสต์มากกว่ากลุ่มฝ่ายซ้าย เนื่องจากเขาเคยต่อสู้ทับกลุ่มรอยัลลิสต์ที่ต่อต้านการ
ปฏิวัติ 2475 มาตลอด แม้กลุ่มรอยัลลิสต์จะถูกปราบปรานลงแล้วก็ตาม แต่เขาไม่เคย

213
ชุนลึก ศักดินา แลร:พญาอินทรี

วางไจ เขายังคงจับตามองความเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง เขาเห็นว่าแม้กลุ่ม


รอยัถลิสต์จะยังไม่สามารถครอบงำการเมืองได้ แต่กลุ่มรอยัลลิสต์และพระราชวงศ์ก็
สามารถเข้าครอบงำระบบราชการได้ เนื่องจากพวกเขาดำรงตำแหน่งสูงทั้งฝ่ายพลเรือน
และทหาร ดังนั้น รัฐบาลของเขาได้วางยุทธวิธีในการต่อสู้ทางการเมืองใหม่ โดยรัฐบาล
ต้องการถอยห่างออกจากกลุ่มรอยัลลิสต์ ’
,
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่จอมพล ป. และ พล.ต อ. .
เผ่าอนุญาตไห้าJรืดีเดินทางกลับจากจีนมาไทยได้ เนื่องจากรัฐบาลต้องการ ' ด้ร้บการ
สนับสนุนทางการเมืองจากกลุ่มาไรีดึในการเลิอกตั้งที่จะมาถึงในปลายเดือนกุมภาพันธ์
2500 เพึ่อตรองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรและมีขัยเหนือพรรคประชาธีป้ตย์ที่
ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันกษัตรีย์และกลุ่มรอยัลลิสต์ ทั้งนื่ในขณะนั้นกระแสความ
นิยมของสถาบันพระมหากษัตริย์ในชนบทได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากการที่พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมประชาชนตามแผนสงครามจิตวิทยาของสหรัฐฯจนทำใท่
อำนาจของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์สามารถท้าทายอำนาจของรัฐบาลได้
รายงานของสถานทูตสหรัฐฯ ระบุว่า ทั้งจอมพลป. และพล.ต . อ. เผ่าไม่นิยมสถาบัน
กษัตริย์ สำหรับ พล.ต.อ. เผ่านั้น เขาถึงกับอ้างว่า “ เขามีปรืดีเป็นอาวุธที่ใชั!นการ
ต่อต้านกลุ่มรอบัลลิสต์"" รายงานฉบับนี้วิเคราะห์ต่อไปว่า ป้ญหาความขัดแย้งทาง
การเมืองระหว่างรัฐบาลจอมพลป. กับกลุ่มรอยักลิสต์นั้น มืความเป็นไปได้ที่จอมพก ป.
และพล.ต.อ. เผ่าอาจเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญ'ใหม่เพื่อยกเลิกรูปแบบการปกครองที
ดำรงอยู่ ด้วยเหตุนี้ปรืดีจึงไต้รับการรับรองความปลอดภัยจากรัฐบาลโนการเดินทางกลับ
ไทย ความร่วมมือระหว่างจอมพลป. กับ พล.ต.อ. เผ่าในการต่อต้านกลุ่มรอยัลลิสต์นั้น
เดลเพ ฉบับเดือนธันวาคม 2499 ได้พาดหัวข่าวการปราศรัยหาเสียงของพล.ต.อ. เผ่า
ครั้งหนึ่งในช่วงนั้นว่า “ เผ่าเปิดหาเสียง ประกาศตัวขับไล่พวกชุนนาง " ( เดติท)ต์ .
3 ธันวาคม 2499) I
นับตั้งแต่สหรัฐฯ หันมาให้ความสำคัญกับสงครามจิตวิทยาในไทยด้วยการ
สนับสนุนให้สถาบันกษัตริย์มีความสำคัญเพึ่อการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทำให้สหรัฐฯ

NARA, RG 59 Central Decimal File 1955 1959 Box 3908, Bishop to Secretary of
*

State, Prime Minister Pibul’s Remarks บท the Internal Political situation, 1 August
1956.
,J
NARA, RG 59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3912, Bushner to Young, 11
Ifl
September 1956. ข้อความดังกล่าวมีว่า " Pridi is my weapon against the Royalist"

214
ยามเมือลนหัคหวน

ไม่!ห็นด้วยกับแผนการสาธารณรัฐของจอมพลป. และพล.ต.อ. เผ่า กระทรวงการต่าง


ประเทศสหรัฐฯ เห็นว่าสถาบันกษัตริย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเสถียรภาพทาง
าารเมืองของไทยตามควานด้องการของ?{หรัฐฯ ทากมีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครอง
สหรัฐฯเห็นว่าการเมืองไทยอาจจะเดินไปลู'ภาวะยุ
่ ่งเทยงทำให้คอมมิวนิสต์เข้าแทรกแชง
ได้ 111 นอกจากนี้ ความพยายามมีไมตรีกับจีนและการพยายามนำปริดีกลับไทยของ
รัฐบาลจอมพลป. ก็สร้างความไม่พอใจให้กับดัลเลส รมว. ต่างประเทศสหรัฐฯ เป็นอย่าง
ยิ่ง เนื่องจากเขาเชื่อว่าจีนอยู่เนี้องหลังการสผับสนุนให้ปริดีเดินทางกลับไทย : 1
พันธมิตรทางการเมืองระหว่างรัฐบาลปึอมพล ป. และกลุ่มตำรวจ
กบกลุ่มปรืดี
เนื่อจอมพลป. ในฐานะนายกรัฐมนตรี และพล.ต.อ. เผ่า แกนนำกสุ่มตำรวจ
ตัดลันใจดึงกลุ่มปรืดีกลับมาเป็นพันธมิตรเพื่อต่อต้านกลุ่มรอยัลลิสต์ พวกเขาได้
อนุญาตให้ร.ต.อ. เทียบ ชัยสงค์ {อัมพุนันทน์ ) และชม แสงเงิน ชี่งดิดตามปรีดีออก
ไปจีนหลังกบฎวังหลวง เป็นตัวแทนปริดกลับเข้ามาไทยเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2499
โดยพล.ต.อ. เผ่าในฐานะอธบดึกรมตำรวจเป็นผู้ดำเนินการให้พวกเขากลับเข้าไทยได้ 1*
ต่อมา ร.ต.อ. เทียบให้สัมภาษณ์ว่า เขาต้องการนำข่าวจากปริดีมาส่งถึงจอมพล ป. โดย
จอนพล ป. ให้สัมภาษณ์โนประเด็นดังกล่าวว่า เขาได้รับจดหมายขนาดยาวจากปรีดี
และไต้มอบจดหมายนี้ให้แก่ พล.ต.อ. เผ่าแล้ว สาระสำคัญของจดหมายจากปริดีคีอ
ปรีดีปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับคดีสวรรคตและหวังว่ารัฐบาลจะนิรโทษกรรมให้แก่
นักโทษการเมืองทั้งหมด รวมทั้งผู้ที่หลบหนีออกนอกประเทศเพื่อฉลอง 25
พุทธศตวรรษ11
การกลับมาของ ร.ต.อ. เทียบ ตัวแทนของปรีดีทั้น สหรัฐฯ เห็นว่ามีความเป็น
1

ไปได้ที่รัฐบาลจอมพลป. กับปรืดีอาจจะมีข้อตกลงลับระหว่างกัน เนื่องจากหลัง ร.ต.อ.

10
Ibid .
11
NARA , RG 59 Central Decimal Fite 1955 - 1959 Box 3908 , Dulles to Bangkok ,
18 October 1956 .
12 หจช
1
.
กด 81.16 /1 เอกสารกระทรวงการตางประเทศ เรื่อง นายเฉียบ ชัยสงค์ และนายชน
แสงเงิน ขอกลับประเทศไทย ( 2498-2499 ) . เฉียบไต้ทำเรื่องขอกลับเข้าไทยตั้งแต่ 10 พฤศจิกายน
2498 และสาเทรถกลับถึงเมี่อ 10 เมษายน 2499
:!
NARA , RG 59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3908, Magi 11 to Secretary of
State, 7 December 1956.

215
ชุนคิท ศัทดินา และพญาอินทรี

เฉียบกลับใทยใดัเม่นาน กรมตำรวจก็แจ้งว่า'ไม่มีหลักฐานเพียงพอในการฟ้องร้องเขา
1 1

ในฐานร่วมก่อกบฎวังหลวง อีกทั้งจอมพลป. และพล.ต.อ. เผ่าเคยส่งตัวแทนไปติดต่อ


กับปรีดีที่จีนหลายครั้ง และครั้งหนึ่งพล.ต.อ. เผ่าเฅยกล่าวเป็นการส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่
สถานทูตสหรัฐฯ ว่า รัฐบาลจอมพล ป . จะไม่ฟ้องปรีดึในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการ
สวรรคต14
การสร้างพันธมิตรทางการเมืองระหว่าง พล.ต.อ. เผ่ากับกลุ่มปรีดีปรากฎขัดเจน
ชันในปลายปี 2499 โดยพล.ต.อ. เผ่าให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มปรีดี เช่น
การให้ความช่วยเหลือแก่พรรคเสรีประชาธิปไตยของจารุบุตร เรืองสุวรรณ พรรค
ชาตินิยมของแช่ม พรหมขงค์ ซึ่งเป็นสมาชิกคณะราษฎรและอดีตจุฬาราชมนตรี
ต่อมาแช่มได้ไห้สัมภาษณ์ว่า เขาได้เจรจากับ พล .ต.อ . เผ่า โดยยิ่นเงื่อนไขว่าเขา
จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาซึ่งเป็นพรรครัฐบาลก็ต่อเมื่อรัฐบาลต้อง
อนุญาตให้ปรีดีกลับมาไทยได้ 1ดยพล.ต.อ. เผ่าได้ยอมรับข้อเสนอของแช่ม สถานทูต
สหรัฐฯ วิเคราะห์ว่า รัฐบาลจอมพล ป. ต้องการการสนับสนุนทางการเมืองจากกลุ่มปรีดี
เนึ่องจากรัฐบาลต้องการมืเสียงสนับสบุนในสภาผู้แทนฯ มากพอในการแกไขรัฐธรรมนูญ
หลังการเลือกตั้งเพื่อสร้างความเป็นประชาธิปไตยให้มากยิ่งชัน เช่น การยกเลิกสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 และการกำหนดให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง
เพื่อเป็นการต่อต้านอำนาจของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์ รวมถึงการพยายาม
สถาปนาสาธารณรัฐ สถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่า ความร่วมมือระหว่างจอมพล ป. กับ
.
พล.ต.อ เผ่าในการนำปรีดีกลับจากจีนเพื่อรื้อฟ้นคดีสวรรคตอาจส่งผลต่อรูปแบบทา';
ปกครอง และวิเคราะห์ต่อไปว่า หากแผนการนี้สำเร็จจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
อำนาจทางการเมืองไทยใหม่15

“ Memorandum From the Deputy Director of the Office of southeast Asia


Affaire ( Kocher ) to the Assistant Secretary of State for Far Eastern Affairs
( Robertson), 2 January 1957,” in Foreign Relations of the United States 1955-1957
VoL 22 ( 1989, 911 ). J
15 NARA, RG
59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3908, Magill to Secretary of
State, 7 December 1956 ; สาร!สรึ, 10 ธนวาคม 2499 ; “Memorandum From the Deputy
Director of the Office of southeast Asia Affaire ( Kocher) to the Assistant Secretary
of State for Far Eastern Affaire ( Robertson), 2 January 1957 , ” in Foreign Relations
of the United States 1955- 1957 VoL 22 (1989, 911 ). 1

216
ยามเมือลมพดหวน

.
ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลจอมพล ป กับกลุ่มรอบัลลิสต์ดำเนิน
มาอย่างต์อเนื่อง กลุ่มรอบัลลิสต์เคยร่วมมือกับกลุ่มอื่นๆ เพื่อโค่นล้มรัฐบาลด้วย
จอมพลป, เคยเผยความในใจกับเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯทลายครั้งว่า เขาไม่พอใจ
กลุ่มรอบัลลิสต์อย่างมาก และต้องการ “ แก้เผ็ด” (retaliation) ด้วยการอนุญาตให้ปรีดี
กลับมาไทยเพื่อขึ้เนฟูคดีสวรรคตขึ้นใหม่ สถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่าหากแผนการนี้สำเร็จ
จอมพล ป. จะเป็นประมุขของรัฐ สํวนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะมาจากการเลือกตั้ง
ทางตรง กลุ่มปรีดีและกลุ่มรอบัลลิสต์จะต่อสู้กัน โดยมีจอมพล ป. เป็นผู้รักษาเสถียรภาพ
ทางการเมือง สถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่าแผนการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพ
ทางการเมืองของไทย ' 6 นอกจากนี้ สหรัฐฯ เห็นว่าการกลับมาไทยของปรีดีไม่เป็น
'

ประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯในอนาคตอันใกล้เลย จึงแจ้ง
ต่อพจน์ สารสิน ทูตไทยประจำสหรัฐฯ ว่าสหรัฐฯ กังวลว่าการกลับมาไทยของปรืดีนั้น
จะสร้างอุปสรรคในการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารของสหรัฐฯ แก่
ไทย และขอให้พจน์แจ้งความกังวลนี้แก่จอมพล ป. ว่า “นายกรัฐมนตรีของไทยจะต้อง
ไม่เป็นปรป๋ก'ย์กับปฏิกิริยาสหรัฐฯ [ ที่ไม่ต้องการให้ปรีดีกลับมาไทย ] ด้วยการดำเนิน
ทารกูชื่อเสืยงให้ปรีดี” 1 7 ไม่กี่วันหลังจากที่จอมพล ป. รับทราบสัญญาณเดีอนจาก
.
วอชิงตัน สิ ซี. เขาปฏิเสธกับบิชอป ทูตสหรัฐฯ ว่าข่าวลือที่รัฐบาลจะเชิญปรีดีกลับมา
ไทยนั้นไม่มีมูลความจริง1 ,s
อย่างไรก็ตาม แผนการกลับ!มาไทยของปรีต็บังคงคืบหน้าต่อไป ต้นปี 2500
ในบันทึกภายในของกระทรวงการต่างประเทศที่วอชิงตัน ดี. ซี. รายงานว่า มีความ
rfl *1 1*1 3* _ 1
เบนเปเดฑรฐบาลจอมพล iL __ __ __^ 4จ ุ ่ %/ เา จุ
จะอนุญาตไหปรดเดนทางกลบฌยไดยเขาจะ
1
[ดรบการ
In
'

16 NARA, HG 59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3908, Magitl to Secretary of
!
State, 7 December 1956 . รายงานฉบับใ ได้รบการชื่นชมจากดัลเลสว่าเป็นการวิเคราะห์ที่ให้กาพ
"
สมจรง ” เป็นทารวิเคราะห์อย่างระมัดระวังทื่ฏืคุณภาพ ( NARA, RG 59 Central Decimal File
1955-1959 Box 3908, Dulles to Bangkok , 15 January 1957 ) .
: 7 “ Memorandum From the Deputy Director of the Office of southeast Asia
Affaire ( Kocher ) to the Assistant Secretary of State for Far Eastern Affaire
( Robertson ), January 2 , 1957 , ” in Foreign Relations of the Untied States 1955 *

1957 Vol 22 ( 1989, 912 ) .


18 “
tile Embassy in Thailand ( Bishop ) to the Department of State , January
8 , 1957 , in Foreign Relations of the United States 1955- 1957 Vol 22 ( 1989, 911 ).
M

217
ชุนศึก ศกดึนา และพญาอินทรึ

ปลดปล่อยให้เป็นอิสระ รายงานฉบับดังกล่าววิเคราะห์ว่า ปัญหาการเมืองภายในของ


ไทยมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของไทยด้วย สหรัฐฯ เห็น
ว่าปรีดีเป็นตัวแทนของจีนที่จะส่งเสริมกิจกรรมของคอมมิวนิสต์ไนไทย และหาก
สหรัฐฯ ยอมไห้รัฐบาลจอมพล ป . นำปรีดีกลับมาได้ จะเป็นแรงกระเพึ่อมทำให้ไทยปรับ
นโยบายต่างประเทศหันไปสู่จีน ดังนั้น สหรัฐฯ จำต้องตอบใต้การกระทำของรัฐบาล
ไทย 1 " ความคืบหน้าของการเดินทางกลับมาไทยชอง,ปรีตีได้กลายเป็นประเด็นต่อสู้
ทางการเมืองพไทยก่อนการเสือกตั้งที่กำลังจะเกิดขนในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2500
เรื่องนี้ทำให้กลุ่มรอยัลสืสต์มืความตระหนกตกใจมาก และทำให้พรรคประชาชิปัตย็ไซ้
ประเด็นดังกล่าวต่อต้านรัฐบาลอย่างหน้กเพื่อยับยั้งแผนการดังกล่าวของรัฐบาล2"
ความเคลี่อน ไหวทางการเมือง'ของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลสิสต์,ทำ ' ไห้เกิด
1

การก่อตัวของพันธมิตรที่น่าตื่นเต้นระหว่างรัฐบาลจอมพล ป. กับกลุ่มปรีดื เพื่อนำปรืดี


กลับมาและรื้อ,พื่นคดีสวรรคตขึ้นมาใหม่ ' ' นอกจากนี้ จอมพลป . อังพยายามแสวงหา
การสนับสนุนจากนักศึกษาฝ่ายซ้ายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยกล่าวปราศรัยต่อ
นักศึกษาด้วยการชูนโยบายอันโน้มเอียงไปในทางสังคมนิยมในช่วงด้นเดือนกุมภาพันธ์
2500 ก่อนการเสือกตั้งจะเกิดขึ้นไม่นาน เขาเรยกร้องให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วม
ทางการเมืองในการรักษาระบอบประชาธิปไตย รักษาหลักวิชาและหลักเหตุผลเป็น
สำคัญ มิใช่โจมดีรัฐบาลอย่างปราศจากหลักวิชาและไร้เหตุผลดังเช่นพรรคประชาชิป๋ตย์
กระทำ เขาไต้กล่าวสนับสนุนให้ยกเสืกพระราชบัญญัต็ป้องกันการกระทำอันเป็น
คอมมิวนิสต์ พ .ศ. 2495 และกล่าวแก่นักศึกษาถึงอนาคตทางการเมืองของไทยว่า “ เรา
ไม่ควรไปถึงขึ้นคอมมิวนิสต์ หากไปในรูปสังคมนิยมก็พอ ” ( แปลก 2505, 466-76 :
สยามรัฐ , 6 กุมภาพันธ์ 2500) ต่อมาจอมพลป . ได้มอบเงีนจำนวน 300,000 บาท
ผ่านสังข์ พัธโนทัย คนสนิทของเขา เพื่อสนับสมุนการจัดพ็มพ์วารสารของนักศึกษ
ที่ชื่อ นิติศาสตร์ รับศตวรรษใหม่ (Kasian 2001, 135) 1
NAHA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Korher to Robertson,
Courses of Action in anticipation of possible return to Thailand of Pridi Phanom-
yong, 2 January 1957. m
20
NARA, HG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908 , Bishop to Secretary
of State, 8 January 1957.
l
NA, FO 371/129610, Chancery' to Foreign Office, 12 January 1957.

218
ยามเมือลมพัดหาน

ในขณะที่การต่อล้ทางการเมืองในไทยทวีความเข้มข้นขึ้น สหรัฐฯ กจบตาดู แร

อย่างใกล้ชิด ดัลเลส รมว. ต่างประเทศ สั่งการให้สถานทูตสหรัฐฯในไทยรายงานความ


เกลื่อนใหวของกลุ่มการเมืองในไทยไห้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มปรีดี กลุ่มทหารของ
จอมพลสฤษด และทลุ่มตำรวจของพล.ต.อ. เผ่า ซึ่งเป็นกลุ่มภายในคณะรัฐประหาร
รามทั้งสถาบันกษัตริย์กับกลุ่มรอยัลลิสต์^ สถานทูตอังกฤบรายงานว่า กลุ่มรอยัลลิสต์
และควง อภัยวงศ์ ไม่ต้องการให้จอมพล ป. และ พล, ต.อ, เผ่าบรรลุแผนการนำปรีดี
' ,
กลับมาไทยเพื่อรัอัพื่นคดีสวรรคด2ร '

การเลือกตั้งและการทำลายการเลือกตั้งในปื 2500 ของกลุ่มรอบัลลิสต์และ


กลุ่มทหาร
บับทั้งแต่รัฐบาลจอมพลป. ส่งผู้แทนเข้าประชุมกลุ่มประเทศไม่สกใฝ่ฝ่ายใดที่
เมืองบันตุง ประเทศอินโดนีเซีย ตามด้วยความพยายามเปิดไมตรีและเปืดการค้ากัน
จีน จนถึงการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นในช่วงการหาเสิ,ยงเลือกตั้ง ทั้งหมดนี้สํงผลให้
เกิดกระแสโจมตีสหรัฐฯ และเรียกร้องไห้ไทยมีนโยบายที่เป็นกลาง ซึ่งทำให้ควาน
ลัมพันธ!' ทยกับสหรัฐฯ เริ่มเสื่อมลง ในขณะที่รัฐบาลยังไม่มีแนวทางที่จะปรับปรุงความ
ล้มพันรระหว่างกันอย่างจริงจัง เสียงวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ บนหน้าหนังสีอพิมพั!ทย
ก็ไต้สร้างมติมหาชนที่ไม่พอใจสหรัฐฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ-4 เมื่อการเลือกตั้งในเคอน
กุมภาพันธ์ 2500 ใกล้จะมาถึง การรณรงค์หาเสียงด้วยการโจมตีสหรัฐฯ ก็ทวีความ
รุนแรงมากขนอก หนังสือพมพ์ นวยอร์กไทมสั รายงานสถานการณ์การเมืองไทยขณะ
นั้นว่า พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายไต้ร่วมกันประณามสหรัฐฯ ว่าเป็นจักรวรรดนิยมทำให้
คนไทยกลายเป็นทาส ( New York Times , 29 January 1957) และวิจารณ์ว่าความ
ช่วยเหลือของสหรัฐฯ เป็นการทำให้ไทยเป็นหุ่นกระบอก ทำให้คนรวยมั่งคั่งยิ่งขึ้นแต่
คนจนยิ่งจนลง อีกทั้งความช่วยเหลือของสหรัฐฯ นั้นเป็นไปเพื่อสูบทรัพยากรและ
ล้างสมอง เป็นการแทรกแซงกิจการภายในและขัดขวางความสัมพันธ์ไทยกับจน25

22 NARA, RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 3903 , Dulles to Bangkok ,
Political reporting from Thailand, 24 January 1957.
23 NA, FO 371 /129610,
Nai Pridi and his Followers, 27 March 1957 .
NA, FO 371 / ไ 12261 , Gage to Selwyn Lloyd, Thailand : Annual Review for 1956,
11 February 1957 .
* NARA , RG 84 General Record , Thailand 1956 - 1958 Entry UD 3267
'

Box 112,
USIS Bangkok to USIA Washington, The Press in Thailand, 13 February 1957.

219
พู่
'

1
vL ,
J-
Ji

4U
y.f
f 4ร
% - -jibt:

-
'

_
j

L เห่ ะ-: ; '^ J ~ '

|
|i dpl :
4r -

ftvilfi
- ~ พู a
3 พm V *ฒ
'
'
p ‘ร
u_ t*
V
ข้ริ

£ r f
ร jSf$r
:

f <4»
*
4
I
IP
- *
f? ,
$3

*
V

1 111!

¥ pW’ii
Nk
1

1 T tv 1
p*
f |

ry* r

I ะ. ft
.ซี
'"
safe
ะเ
พู่
.. . ะ"

is>
*

f
1

SfHt

E ะ:.1.
” .. '
gfc If !ะ

.

V
*L

;:
ะ. -:ข้ซืฟ. ้ร& ใ
+ .
.
± i
V* ss 1
m
- -
tf

Ji
-> 1® «
รุ่

Ij
m
. ะ:: 3 -
‘ร ุ : &

*
i !. ะ
VavV
ระ?

J พ

‘ .. i l l
T
ะ: :
-

ASPE รี*

การเลอกตั้งกุมภาพันธ์ 2500 พรรคเสรืมน้งคสลาซึ่งเป็นพรรครัฐบาลชนะการเลือกตั้งถึง 82 คน


จาก 160 คน สร้างความใม่พอใจไห้กับกลุ่มรอยัลลืสฅ์ พรรฅประชาธิปัตย์ และกลุ่มทหารของสฤษ
ที่พยายามทำให้การเลอกตั้งครั้งนเป็นโมฆะโดยอ้างว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก จอมพล ป. พยายาม
'
^
ควบกุมสถานการณ์ควยการประกาศกฎอ้ยการศึก ซึ่งยิ่งสร้างความโม่พอใจให้กับประชาชนจนน่า
ไปส์การชุมนุมประท้วงเป็นวงกว้าง (ภาพจาก Life )
ยามเมีอลมพัดหวน
'

ผลการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 ปรากฎว่าพรรคเสรีมนังคศิลาซึ่ง


เป็นพรรครัฐบาลได้รับการเลือกตั้งถึง 82 คนจาก 160 คน ส่วนพรรคฝ่ายค้าน เช่น
พรรคประชาธิปัตย์ ได้เพียง 28 คน พรรคฝ่ายซ้าย เช่น พรรคเสรีประชาธิปไตย
พรรคเศรษฐกร พรรคอิสระ และพรรคขบวนภารไฮด์ปาร์ค ได้รับเลือกจำนวน 23 คน
-
{ Foreign Relations of the United States 1955 1957 Vol . 22 1989, 913)
ธย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งหนังสือพิมพ์ได้รายงานความยุ่งเหยิงและการทุจริต
ในการเลือกตั้งของรัฐบาลหลายรูปแบบ เช่น การใช้ “ไพ่ไฟ’' และใช้ “ พลร่ม ” '"
ข่มขู่และเวียนการลงคะแนนเสึยงในการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้รัฐบาลและการเลือกตั้งคเงนี้
สุญเสียความชอบขรวมในสายตาสาธารณชนมาก {.พิมพ์ไทย , 27 กุมภาพันธ์ 2500)
อย่างไรก็ตาม การทุจริตในการเลือกตั้งมิใด้เกิดจากรัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียว แกนนำ
นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และนักหนังสือพิมพ์บันทึกว่า พรรคประชาธิปัตย์ก
ทุจริตในการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน โดยใช้ยุทธวิธีการ “ย้อนรอยแบบเดียวกัน” ด้วยการ
ส่งสมาซิกพรรคประชาธิป๋ตย์สวมรอยติดแหนบตราไก่เลียนแบบพรรคเสรีมนังคศิลา
ทาให้การทุจริตในการเลือกตั้งขยายตัวไนวงกว้าง อันจะส่งผลให้การเลือกตั้งคเงนั้น
เป็นโมฆะ-7
ในเดือนมีนาคม 2500 หลังการเลือกตั้งพล.ต.อ. เผ่าถูกโจมตีอย่างหนักจาก
กลุ่มรอยัลลิสต์ จอมพลสฤษดิ้ และกลุ่มปัญญาชนฝ่ายซ้ายที่ทำงานหนังสือพิมพ์
สถานทูตอังกฤษรายงานความเคลื่อนไหวของ พล.ต.อ. เผ่าว่า เขาได้เจรจาอ้อนวอน
ให้สหภาพแรงงานฝ่ายซ้ายสนับสนุนเขาเพื่อทำลายความนิยมของจอมพลสฤษดิ้
ตั้งนี้จอมพลป. และ พล.ต.อ. เผ่าเคอัห้การสนับสนุนความเคลื่อนไหวและสวัสดิการ
กับสหภาพแรงงานและกลุ่มแรงงานด่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวร่วมหนึ่งของพรรคคอมมีวนิสต์
-
แห่งประเฑศไทย (ลังศึต 2529, 198 223) การเจรจาดังกล่าวของ พล.ต อ เผ่าอาจ ..
ib
การใช้บัตรเลือกดั้งปลอม ส่วน "พลร่ม” หมายถึง กลุ่มบุคคลที่เวียนลง
“ไพ่ไฟ” หมายถึง
คะแนนไห้กับพรรคเสรีมน้งคศิลาด้วย “ไพ่ไฟ” หรอบัตรเลือกดั้งปลอมหลายค?ง
หอชดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โครงการประ:วัต็ศาสตร์บอกเล่าถนนราชดำเนิน,
ลันภาษณ์ สู่ว้ทย์ เผดีมชิต อดีตประธานนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( 2499- 2500) และ
นักข่าวของหนังสือพิมพ์ส'ยรพนิทรไนขณะนั้น, 3 มกราคม 2544.
28 NA, FO 371/136020, Whittington to Foreign Office, 20 March 1958 ; สมศักดึ้

(25444), 36-41).

221
ขุนดึก ศักดินา และพญาอินทรี

ทำผ่านสังข์ พัธโนทัย คนสนิทของจอมพลป . กับสบาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปฏิบัติ


งานในสหภาพแรงงานและกลุ่มแรงงานต่างๆที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลจอมพลป.
เนื่องจากรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติแรงงาน สนับสมุนให้มีวันแรงงาน และให้
สวัสดิการแก่คนยากจนและกรรมกรไท
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง กลุ่มรอยัลลิสต์ก็ไต้เริ่มต้นแผนการทำลายการ
เลือกดั้ง ใดยม .ร.ว. เส'นีย์ ปราโมช แกนนำของกลุ่มรอขัลลิสต์และสมาชิกคนสำคัญ
ของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลให้การเลือกดั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ*’ สถานทูต
สหรขิ :& __
รัจฯฯ เห็นว่าความเคลื่อ_ นไทวต่อต้านและการพยายามทำให้ การเลือกดั้งครั้งนี้เป็น
โมฆะนั้นเป็นความร่วมมึอกันระหว่างกลุ่มรอยัลลิสต์ พรรคประชาริปีตย์ และจอมพล
สฤษดี1้ " ความไม่พอใจของประชาชนต่อเหตุการณ์ดังกล่าวเพิ่มสูงชิ้น แม้รัฐบาล
พยายามกอบกู้สถานการณ์แล้วก็ตาม ในกลางดกของคืนวันที่ 1 มีนาคม 2500
หลักฐานจากเอกสารของไทยหลายชิ้นและเอกสารจากสหรัฐฯ รายงานว่า จอมพล ป.
เรียกประชุมนายทหารจากสามเหล่าทัพและตำรวจเพึ่อวางแผนการประกาศภาวะ
ฉุกเฉีนพล.ต.อ. เผ่าเสนอให้จับกุมกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังความวุ่นวายทางการเมือง เช่น
พระมหากษัตรีย์ รัฐมนตรี และนักการเมืองบางคน เช่น ควง อภัยวงศ์ แต่จอมพล
สฤษส์คัดค้านข้อเสนอดังกล่าว32 ต่อมาในวันรุ่งชิ้น ( 2 มีนาคม ) รัฐบาลตัดสินใจ

29
ดู ' ถามตอบพายัพ วนาสุวรรณ หัวข้อ จอมพลป. VS นายกทักชิณ ,’, ผู้ ¥ดการออนไลน์ , 31
สิงหาคม 2548, เข้าถึงเมื่อ 1 ไ กันยายน 2552, www.managGr.co.th/Politics/PoliticsQA
Qufistion.asp?QAID=5246 ไห้ข้อมูลว่า ผู้แทนของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปฎบ้ฅงานในสหภาพแรงงาน
ที่ประชุมกับพล.ฅ.อ. เผ่า ศรียานนท์ คือ ประสิทธี้ เทียนสิริ สุ'น กิจจำนง อย่างไรกี
1
ตาม สมศักคิ้
(2544ข, 39) ไห้ข้อมูลว่า สุวิทย์ เนียมสา แกนนาคนส็ากัญไนกลุ่มแรงงานมีความสนิทสนมกับสังข์
พัธโนท้ย คนสนิทจอมพลป. พิบลสงคราม ด้วยเช่นกัน
สยามนิกร 2 มีนาคม 2500 ; สยามนึกร, 4 มีนาคม 2500 รายงานว่า การประชุมระหว่างคว,
30 ' 1
I
.
7

อกัยวงค์ ม.ร:ว. เสนีย์ ปราโมช ม.ร.ว ลึกฤทธิ้ ปราโมช และพรรคประชา!ปัดย์ มีมดีว่าให้ฟ้องการ


เลือกดั้งครั้งนื!้ ห้เป็นไมฆะ โดยมีทนายความจากกลุ่มรอย้ลลิสต์ คือ พระยาอรรถการืย์นิพนธ์ พระยา
ปรีดานฤเยศรี (ฟิก พันธ์,สก) เสงี่ยม วฒิวัย และกลุ่มทนายความอกจำนวน 20 คนเข้าร่วมด็าเนินการ
I
I
:u NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Bishop to Secretary
of State, 2 March 1957.
หจช. สบ, 9, 2.3/14 เอกสารสิวนบุคคล นายเอก วสกุล ที่อง ข่าวการเลือกดั้งและวัดดั้งรัฐบาส
I
32

มีนาคม 2500 (พ. ศ. 2500) ; ไทยใหม่ t 2 มีนาคม 2500 ; สยานร้ฐ , 2 มีนาคม 2500 ; แสะคู
รายงานการประชุมสกาผู้แทนรพฏร สมัยสพญ ( ครั้งนรก ) และสมัยสามัญ ชุดที่ 2 พ.ศ , 2500

222
อามเมียล34พ้คหวน

ประกาศกฎชัยการศึกเพื่อจัดระเบียบสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น
อย่างไรกีตาม การประกาศกฎอัยการศึกนี้มืผลทำไห้จอมพลสฤษดี๋มีอำนาจสูงสุดใน
การรักษาความสงบเรียบร้อกั :
ทัน'ทที่รัฐบาลจอมพล ป. ประกาศกฎชัยการคึก กระแสความไม่พอใจเรื่องการ
เลือกตั้งและการจัดการภาวะฉุกเฉินได้ปรากฎขึ้นภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็น
ที่แรก โดยนิสิตของคณะรัฐศาสตร์เป็นแกนนำในการคัดค้านผลการเลือกตั้ง พวกเขา
ลดธงชาตลงครึ่งเสาเพื่อเป็นการประท้วงรัฐบาล เมื่อจอมพลสฤษดี้ในฐานะผู้รักษา
34

ความสงบเรียบร้อยทราบข่าวการชุมนุมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาได้เดินทางไปพบ
กลุ่มนิสิตพร้อมกล่าวให้การสนับสนุนการประท้วงว่า การเลือกตั้งนี้เฟิน “การเลือกตัง
สกปรก สกปรกด้วยกันตั้งนั้น นิสิตคนหนึ่งได้ตะโกนถามเขาว่า เมื่อการเลือกตั้ง
’,

สกปรกแล้วควรจะทำอย่างไร เขาตอบว่า “ไม่ใช่ทน้าที่ผมจะจัดการ ถ้าผมจะจัดการ


,’
ก็ต้องรัฐประหารหรือปฏิอัสิล้างให้หมดเลย มันจะแย่กันใหญ่ หรือคุณจะให้ผมทำ
กลุ่มนิสิตได้ร้องตะโกนว่า “ เอาเลย เอาเลย ” และถามเขาว่านิสิตจะเดินขบวนประท้วง
รัฐบาลได้หรือไม่ เขาตอบกลับว่า “นิสิตจะเดินขบวนก็ได้ไม่ผิด” นิสิตคนหนึ่งเรียกร้อง
ให้จอมพลสฤษดี๋คุมกันการเดนขบวน จอมพลสฤษดิ้กล่าวตอบว่า “ ตามใจคุณ คุฌ
จะเดินกันไปเดี๋ยวนี้กีไต้ แต่ผมไม่ขอเดินกับคุณ แต่จะรับรองความปลอดภัยให้ และ
ถ้าคุณจะไปทางไหนกีบอกด้วย ผมจะให้ทหารหลบไปอีกทาง” จากนั้นขบวนของนิสิต
นับพันคนได้เดินออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปยังห้องสนามหลวง35

(2506, 1032-33). พล . จ . วัลลภ โรจนวิสุทธี้ได้รายงานเรื่องดังกล่าวกับสหรัฐฯ ว่า พถ .ต .อ . เผ่า


ศรียานนท้ เคยสั่งให้ชันทิมพระมหากษัตรีย์ (NAHA, RG 59 General Records of Department of
State, Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Memorandum of Conversation Brigadier
General Wallop Rojanawisut, Colonel Edward Lansdale and Kenneth T. Young.
24 October 1957 ).
35 ราชกิจจารฺ 1บกษา เล่ม 74 , ตอนที่ 22 ( ฉบับพิเศษ 2 มีนาคม 2500) : 2- 3 ,
/
34 หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยชรรมศาสตร์, โครงการประวัติศาสตร์บอกเล่าถนนราชดำเนิน ,
สัมภาษณ์ สุ่วิทย์ เผดิมชิต , อดีตประธานนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( 2499-2500) และ
1

นักข่าว,บองหนังสือพิมพ์ สยพนิกร , 3 มกราคม 2544 . ในขณะนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่


ระหว่างกาวหยุดการบรรยายเพื่อเตรียมการสอบปลายภาค ต่อมานักศึกษาขากหลายมหาวิทยาลัยได้
เข้าร่วมในภายหลัง ; ไทรพาน , 3 มีนาคม 2500 ; สว่าง ( 2512 , 464) ; ห้าสนปีร่า } /!จรักรัฐศ 7 mร์
( พี่อชาติไพย ( 2541 , 36 ) .
35
สาร( ตรี , 3 มีนาคม 2500. ขอมพลสฤษดิ้ ธนรรัชต์ เป็นคนที่มีทักษะในการพูดดี มีศิลปะการ
'
หว่านลัอม ( อนุสรฌ์ในงานพระราชทานเพตงศทพนพสสฤษคิ ธนะรัชฅ์ 2507, 26 ).

223
ขุนศึก ศักดินา และพญาย็นทวี

ในบ่ายวันเดียวกันนั้นที่บริเวณสนามหลวงมีนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย
รวมทั้งประชาชนใต้เข้าร่วมการประท้วง ผู้ชุมนุมใต้เคลื่อนตัวไปวางพวงหรีดไว้อาลัย
แด่ประชาธิปไตยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากนั้นนิสิตจุฬาฯ ได้นำขบวนนิสิต
นักศึกษาและประชาชนเข้าพบควง อภัยวงค์ แกนนำกลุ่มรอยัลลิสด์และหัวหน้าพรรค
ประชาธิปัตย์ เพื่อร่วมการต่อล้กับรัฐบาล ( พิมพ์ไทร , 2 มีนาคม 2500) ณ จุดนี้
ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและการเตรียมแผนการอย่างเป็นระบบของกลุ่มรอยลลิสต์
และจอมพลสฤษด้เริ่มต้นขน ควงประกาศว่า “จากนี!้ ปทุกสิ่งขนอยู่กับสฤษค « 3บ่
สถานทูตสหรัฐฯ และอังกฤษตั้งข้อสังเกตตรงกันว่า การประกาศสถานการณ์
จุกเฉนหำให้จอมพลสฤษดในฐานะผู้บัญชาการทหารบกและผู้รักษาควานสงบเรียบร้อย
มีอำนาจในการปราบปรามการชุมนุมทางการเมือง แต่ปรากฎว่าเขาไม่ดำเนินการ ทว่า
กลับให้การสนับสนุนการชุมนุมทางการเมืองที่ทำให้รัฐบาลจอมพล ป. สูญเสียความ
ชอบธรรมมากยิ่งขึ้น เนขฌะที่ภาพลักษณ์ของเขาเองมีควานโดดเด่นยิ่งขึ้นทันทีใน
สายตาของนิสิตนักศึกษาและประชาชน ตรงข้ามกับ พล.ด.อ. เผ่าที่ได้กลายเป็นเป้า
ของการโจมดีอย่างหนักจากหนังสือพิมพ์และการไฮต์ปาห์พ์ 7 กลุ่มฝ่ายซ้ายวิเคราะห์ว่า
จอมพลสฤษดิ้กลายเป็นศูนย์กลางของสัญลักษณ์ในการต่อต้านรัฐบาลและสหรัฐฯ เขา
ได้รับการตอบรับจากปัญญาชน นักหนังสือพิมพ์ และนิสิตนักศึกษาฝ่ายซ้าย แล!;
เหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้จอมพลสฤษดกลายเป็น “ อัศวินม้าขาวของประชาชน'
-
(สมบูรณ์ 2500, 208 13 ; เฉลิม 2518, 115 18) -
ควรบันทึกด้วยว่า บางคนในกลุ่มรอยัลลิสต์ได้เข้าไปสอนในระดับมหาวิทยาลัย
หำให้พวกเขาสามารถจัดตั้งองค์กรเพื่อเป็นฐานการเมืองภายในมหาวิทยาลัยได้อย่าง
ไม่ยากนัก เช่น ม.ร.ว. เสนึย์ ปราโมช เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชากฎหมายในคณะ
รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไน
ช่วง!เลายทศวรรษ 2500 (เสนีย์ 2543, 104) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ม.ร.ว. เสนีย์

s6 NARA , CIA Records Search Tool ( CREST ) , Current Intelligence Bullet!


CIA-RDP79T00975A00300100001 -6, 3 May 1957, "The Situation เท Bangkok . "
37
NARA, RG 84 General Records , Thailand 1956- 1958 Entry CD 3267 Box 10
Bishop to Secretary of State , 3 March 1957 ; NA , HO 371 /129610, Gage to horei *
Office, 3 March 1957 ; หบังรอพิมพ์8บองจอมพลสฤษด ธนะร้ชฅ์ มีส่วนสำคัญในการคดคว
' '

น่าเชื่อถือของ พล . ต .อ . เผ่า ศรียานฆท้ ( NA, F 0 371 /129610, Adam to Selwyn Lloyd.


March 1957 ) ; Ockey ( 2002, 107-23 ).

224
ยามเมือลมพัดหวน

ได้เคยพยายามจัดตั้งกลุ่มนักศึกษานิติศาสตร์หัวอนุรักษนิยมเป็นฐานทางการเมืองให้
-
บกลุ่มรอยัลลิสต์ (ประจวบ 2543, 373 74) สำหรับเบื้องหลังการประท้วงของนิสิต
ก็จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น สถานทูตสหรัฐ'1 รายงานว่าม.ร.ว. เสนีย์และพระยาอรรถ-
,
-าารียนิพนธ์เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ร หลังความวุ่นวายจากการประท้วงของนิสิตนักศึกษา
:
นละประชาชนหลังการประกาศภาวะฉุกเฉิน สถานทูตอังกฤษได้รายงานว่า เกิดความ
ร่วมมือกันอย่างลับ ๆ ระหว่างกลุ่มรอยัลลิสต์กับจอมพลสฤษดึ้ในการเคลื่อนใหวเพื่อ
,
โค่นล้มรัฐบาลจอมพลป. '

สำหรับม.ร.ว. ศึกฤทธี้ ปราโมช แกนนำของกลุ่มรอยัลลิสต์ผู้มีหนังสือพิมพ์


สยามรัฐ เป็นกระบอกเสืยง เขาได้เขียนบทความใจมดีทำลายความชอบธรรมของ
รัฐบาลจอมพล ป. อย่างสมํ่าเสมอ ดังเช่น สยามรัฐ ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2500 ใน
คอลัมน์อันธพาล” เขาไต้เขียนวิจารณ์ถึงการที่บชอป ทูตสหรัฐฯ ได้เล่าให้จอมพลป.
พิงถึงเหตุการณ์การต่อต้านผลการเลอกตั้งที่ชิคาไกวำก็มีการแย่งหีบบัตรลงคะแนน
เหมือนกับที่เกิดในไทย ศึกฤทธได้เขียนว่า “ มันช่างสอนกันดีจริงวะ เพราะคบกุ๊ย
มะริกันยังงึ๋นเองถึงไต้มาเสียคน มีชื่อเสียงที่ไม่เรืยบร้อยเอาเมื่อตอนแก่จะเข้าโลง
บ.ก. หนา'ใหม่ ” (สยามรัฐ , 6 เมษายน 2500) ต่อมาตำรวจได้จับกุม ม.ร.ว. ศึกฤทธิ้

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2500 ฐานละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 134 ในข้อหาหมื่นทูต ' 1,'

แม้บิชอปจะปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับการแจ้งความจับ น.ร.ว. ศึกฤทธิ้ ปราโมช


แต่ผู้ที่แจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับม.ร.ว. ดึกฤทธิ้คือเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ41

38 NAHA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Bishop to Secretary


of State, 2 March 1957 *

39
NA, FO 371/129610* Adam to Selwyn Lloyd , 6 March 1957.
Jih
ทจช. ( 2 ) กฅ 14.3/89 เอกสารกระ:ทรวงการส่างใเร;;เทศ เรอง การดำเนินคดีเกี่ยวกับ
มทความที่ดีพินพไนหนังรอพิมพ์ที่มีการกล่าวร้ายแก่นายบิชอป เอกอัครราชทูดอเมวิกาประจำ
ประเทศไทย ( 4 เมษายน - 19 มิถนายน 2500) . ดำราจสั่งฟ้อง น .ร .ว . คึกฤทธ ปราโมช เมื่อ
5 เมษายน 1นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานหมื่นประมาททูต ตามนาตรา 134 เมื่อม
การพิจารณาคดีที่ศาณเขวาพระนครเทนืค ศาลตัดสินให้เขามึความผิดในข้อทาหมื่นประมาท ลงโทษ
จำคุก 1 เคอน ปรับ 500 บาท ต่อมาตำรวจได้อุทธรณ์คดีต่อศาล จากนั้นศาลไห้ยกโทษจำคุกและ
ปรับเปินเงินเพิยงอย่างเดียว ซึ่งเขาไม่ยอมรับและตองการส้คดีต่อไปโนชั้นฏีกา ( ๙ยาม 24
นกุนายน 2500 ; ๙ซพรฐ , 1 ธนวาคม 2500) . ภายหลังการรัฐประหาร 2500 “ คณะปฎิรัติ" สั่งการ
ให้ตำรวจและชัยการยุติการดำณนคดีกับเขา
41 สยามนกร , 4 เมษายน 2500 ;

.
-
NARA, RG 59 Central Decimal File 1955 1959 Box
3908 Bangkok to Secretary of State, 3 April 1957 ; Johnson ( 1984 , 266-67).

225
ชุนลึก ศักดินา และพญาธนทวี

การขับกุมครั้งนี้สร้างความไม่พอใจไห้กับกลุ่มรอยัลลิสต์มาก ม.ร.ว . เสน็ย์ ปราโมช


วิจารณ์รัฐบาลว่าทำตัวเหมือนเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐฯ และตำหนิบทบาทของบิชอป
ว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายไนของไทย ( สยพนกร , 4 เมษายน 2500 ) ต่อมา
จอมพล ป.ได้วิจารณ์ลซ?มรํชูว่าเป็นกระบอกเสิยงให้กับพรรคประชาธป๋ตย์ นอกจากนี้
ม .ร.ว. ศึกฤทธยงมีบทบาทในการเขียนบทความปลุกเร้าให้นิสิตนักศึกษาเดินขบวน
ประท้วงและบุกมาที่ทำเนืยบรัฐบาลอีกด้วย ( คนพีอง , 30 เมษายน 2500 อ้างถึงไน
สยามรัฐ , 3 พฤษภาคม 2500)

การกลับมาของปรีดี พนมยงค์ ลับความตื่นตระหนกของกลุ่มรอย้ลลิสต์


และความวิตกของสหรัฐฯ
หลังจากที่รัฐบาลจอมพล ป. มีนโยบายต่างประเทศที่ถอยห่างออกจากสหรัฐฯ
ด้วยการพยายามเป็ดไมตรีและการค้ากับจีน ทำมกลางกระแสการโจมดีสหรัฐฯ
และความวุ่นวายจากการเลือกตั้งซึ่งส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลอย่าง
มาก ในเดือนมีนาคม 2500 สหรัฐฯได้วางแผนปฏิบัติการต่อไทย (Outline plan of
Operations with Respect to Thailand ) ที่มีการกำหนดเบ๊าหมายเป็นพิเศษด้ง
ต่อไปนี้ ประการแรก ป้องกันมิให้ไทยพึ่งพาเศรษฐกิจจากกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์
ประการที่สอง ผลักดันให้ไทยหันกลับไปให้ความร่วนมือกับสหรัฐฯ ประการที่สาม
ผลักดันให้ไทยมีการพัฒนาเศรษฐกิจ ประการที่ร่ สนับสนุนกิจกรรมสงครามจิตวิทยา
และประการที่ห้า เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้นำใหม่ที่ประชาชนไทยนิยมชมชอบและมีความ
นิยมสหรัฐฯ เช้าส์โครงสร้างอำนาจทางการเมืองของไทย'
สำหรับแผนการนำปรดีกลับมาไทยเพื่อรอสันคดีสวรรคตนั้นพล .ต.อ. เผ่าได้
เคยกล่าวเป็นการส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯว่าสาเหตุที่รัฐบาลยนยอมไห้
ปรืดีเดินทางกลับไทยเพราะปรีดีเป็นผู้บริสุทธิ้ ที่ผ่านมาข้อกล่าวหาว่าปรีดีเกี่ยวข้อง
1

กับการสวรรคตนั้นเป็นข้อกล่าวหาเพื่อทำลายปรีดีในทางการเมือง ดังนั้น ตำรวจจี;


4,
ต้องการให้ปวีดีเดินทางกลับมาไทยเพื่อขึ้นให้การในศาลเกี่ยวกับคดีดังกล่าวใหม่ ไน
4J
Outline Plan Prepared by an เทterdepartmentaJ Committee for the Operations

Coordination Broad, 20 March 1957 —Outline Plan of Operations with Respect to


Thailand," in Foreign Relations of the United States 1955- 1957 Vol 22 ( 1989, 913-151
.

NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Magill to Secretary of


State , 7 December 1956 . 1

226
ยามเมึอลมพท้หวน

ที่สุดสัญญาณการเดินทางกลับไทยของปรืดีและการรื้อพินคดีสวรรคตก็มีความชัดเจน
มากยิ่งขึ้น ในปลายเดีอนมีนาคม 2500 ร.ต.อ. เฉียบ ชัยสงค์ ตัวแทนของปรีดี ได้
แจ้งกับ พล.ต.อ. เผ่าว่า “ นายปรีดิต้องการร่วมมือกับรัฐบาลทำงานให้กับประเทศ
ชาดร 7141 ท่าทีของร.ต .อ. เฉียบสอดคล้องกับท่าทีของ พล . ต.อ. เผ่าที่ประกาศว่า ปรีดี
สามารถเดินทางกลับมาไทยได้หากปรีดีต้องการ สถานทูตอังกฤษเห็นว่าคำให้
สัมภาษณ์ของแกนนำรัฐบาลนี้เป็นเสมือนการส่งสัญญาณรนยันการเป็นหันธมิตรกับ
กลุ่มปรีดี 4
ต่อมาเมือพูนศุข พนมยงค็า ภรรยาของ,ปรีดี เดินทางกลับถึงไทยเมอวันที่ 3
เมษายน 2500 เธอให้สัมภาษณ์ว่าปรีดีอยากกลับไทย ส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง
จอมพลป. กับปรีดีนั้น เธอกล่าวว่า ‘‘ความสัมพันธ์กับซอมพล ป. พิบูลสงครามนี้น
เราไม่มีอะไรกัน ท่านอยากให้ทุกคนร่วมมือกันช่วยเหลือประเทศชาลิ ” และปรีดี
ต้องการกลับมาอุปสมบทในโอกาส 25 พุทธศตวรรษ ( พิมพ์ไทย , 4 เมษายน 2500)
ทงนพล.ต.อ. เผ่าได้ให้สัมภาษณ์ถึงการกลับมาของพูนสุขว่าคนไทยทุกคนมีสิทธิกลับ
ประเทศ ส่วนปรืต็จะมีความผิดหรือไม่นั้นขึ้นกับเจ้าหน้าที่ หากไม่มีความผิด ปรืดีกี
มีสิทธิเต็มที่เหมือนคนไทยทุกคน สนตนดาร์ด (Standard ) หนังสือพิมพัในส่องกง
ฉบับวันที่ 9 เมษายน 2500 รายงานข่าวว่าปรืดีและพูนสุขจะกลับไทยมาล้คดีสวรรคต
( เช้า , 5 เมษายน 2500) 46
จากนั้นจอมพล ป. และพล .ต.อ. เผ่าได้ผลักดันให้แผนการนำปรีดีกลับจากจีน
มีความคืบหน้าต่อไปด้วยการสนับสนุนให้คณะศึลปีนไทยที่มีสุวัฒน์ วรดิลก อดีต
นักศึกษาธรรมศาสตร์ คณะนักกีฬาบาสเก็ตบอลจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ
คณะกรรมกรไทยในสังกัดของรัฐบาลนำโดยสังข พัธโนทัย เดินทางไปยังจีนไนเดือน
เมษายน 2500 การกระทำดังกล่าวเป็นเสมือนการส่งสัญญาณจากรัฐบาลจอมพล ป.
ถึงปรีดี ทั้งนี้ในช่วงเวลานั้นจอมพลป. ได้กล่าวอนุญาตให้ปรีดีซึ่งลี้กัยอยู่ที่จีนเดินทาง
44
NARA , RG 59 Central Decimal File 1955 - 1959 Box 3908, Secret Thailand, 21
March 1957 .
NA , FO 371/129610, Nai Pridi and His Followers, 27 March 1957 .
46 าห้จช , ( 2 ) 1 , 1/ 47 เจกศารกระทรวงการดางประเทศ เรี่จง กระทรวงต่างประเทffijอ'ไห้กระทรวง
มหาคใทยรเแทนคดคาม1ข่าว,ของนายป!ดี พนมยงค์ ขอกลับประเทศไทย และฌื)่ งนายหลุย พนมยงค์
ขอต่อหนังรจเดินทางออกนอกประเทศ (19 เมษาขน 2498 - 18 พฤษภาคม 2500) ; รักษ์ ปันยารชุน
รัรมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึง นายกรัรรมนดรี, 20 เมษายน 2500.

227
iV

สุ[วฒน้ วรดิลก หัวหน้าคณะวัฒนธรรมไทย กับโจวเอึนไหล นายกรัฐมนตรีของจีน ในงานเลยใ


V

ต้อนรับดิลปีนไทยที่เดินทางไปเยอนจีนในปี 2500 ซึ่งเป็นไปตานนไยบายเปิดไมตรีกับจีนและแผนการ


นำปรีฅทกับจากจีนของชิอมพล ป. และพล,ต.อ. เผา (กาพจาก สูผนแฝนดินโ ห: สุ jyองจนแฅง, กักบร
บรีการ 2500) ]
ธาmมีธสมพ้คหวน

กคับมาสู้คดีสวรรคตไนไทยผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์ด้วย (ณัฐพล 2551) การสร้าง


.
พันธมิตรระหว่างรัฐบาลจอมพล ป กับกลุ่มปรีดียิ่งมีความชัดเจนขึ้นเมื่อนักข่าว
หนังสือพิมพ์ถาม ร. ต.อ . เฉียบ ชัยสงค์ คนสนิทของปรีดี ว่ากลุ่มปรีดีคิดก่อการ
รัฐประหารอีกไหม เขาตอบว่า “ใครขืนคิดก็โง่เต็มที เพราะเท่ากับเปิดช่องให้
จักรวรรดินิยมต่างชาติฉวยโอกาส รัฐบาลไม่ควรเพ่งเล็งนายปรีดี แต่ควรจะให้ความ
สนใจกับความเคลื่อนไหวของพวกเจ้ามากกว่า" (สยามมิกร, 18 เมษายน 2500)
ในขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์หลายฉบับที่สนับสนุนรัฐบาลได้วิจารณ์บทบาท
ของพรรคประชาธิปัตย์และสยามรัฐ ที่โจมตีรัฐบาลตลอดเวลาว่าเป็นไปเพื่อเปิดโอกาส
ทางการเมืองให้กลุ่มรอยัลลิสต์กลับมาครองเมือง สยามรัฐ ตอบใต้ข้อกล่าวหาดังกล่าว
ด้วยการลงบทสัมภาษณ์ควง อภัยวงศ์ ที่กล่าวตอบโต้ว่า “ไม่มีเจ้าองศ์ไหนยุ่งการเมือง
เลย กรมหมื่นพิทยลาภฯ (พระองศ์เจ้าธานีนิวัต ) ก็สนใจแต่ของโบราณ สืวนพระองค์
จ้าภารนุพันธุฯก็เล่นภาพยนตร์ จะเอาเจ้าองศ์ไหนเป็นผู้น่า” (สยามรัฐ' 21 เมษายน
2500)
แผนการน่าปรืดีกลับจากจนเพื่อ'รอฟ้นคดีสวรรคต1ไต้สร้างความตนตระหนก
ไห้กับสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอขัลลิสต์ที่เป็นพันธมิตรกับจอมพลสฤษดิ้ สถานทูต
อังกฤษรายงานข่าวลับที่ได้มาว่า สถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอขัลลิสต์กับจอมพลสฤษดี้
ง่ ^ J
ด้ร่วมมือกันกำหนดแผนโต้กลับรัฐบาล โดยชัดประชุมลบขนเมอวนท 16 เมษายน
V M

2500 ไนรายงานฉบับนี้ระบุรายชื่อบุคคลที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันกษัตริย์และกลุ่ม
รอขัลลิสต์ที่เข้าร่วมวางแผนภารรัฐประหารกับจอมพถสฤษดี๋หลายคน เช่น พระองค์
เจ้าธานีนิวัต ประธานองคมนตรี ม .ร.ว. เสนีย์ ปราโมช และม.ร.ว. คึกฤทธิ้ ปราโมช
แกนน่ากลุ่มรออัถลิสต์ และได้รายงานต่อไปว่า ที่ประชุมเห็นชอบเรืองการก่อ
รัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป. แด่ขังไม่กำหนดวันเวลาที่แน่นอน สำหรับบุคคล
ที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการรัฐประหารนั้น พระองศ์เจ้าธานีนิวัตเสนอ
ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ขึ้ขาด"
สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่าพระบาทสมเดึจพระเจ้าอยู่หัวไม่พอพระทัยอย่างมาก
ที่พล , ค.อ. เผ่ามีนโยบายติดต่อกับจีนและกลุ่มฝ่ายซ้าย อีกทั้งมีความพยายามที่จะนำ
ปรีดีกลับมาไทย ทรงเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จอมพล ป. และพล.ต.อ. เผ่ามีแผนการ
ที่เป็นการคุกคามสถาบันกษัตริย์ 4* สหรัฐฯ ก็ไม่พอใจรัฐบาลจอมพลป. เช่นกัน ในปลาย

47
NA, FO 371/129610, Gage to Foreign Office, 17 April 1957.
45
“the Department of State to the Embassy in Thailand ( Bishop), 3 May 1957,”
-
in Foreign Relations of the United States 1955 1957 Vo1.22 ( 1089, 918).

229
ขุนสืก คักดนา และพญาอินทรี

เดือนเมษายน 2500 สหรัฐฯได้แส,ดงท่าทีต่อประเทศพ้นธมิตรที่หันไปค้าชายกับจีนว่า


สหรัฐฯ ไม่เคยด้องการผ่อนคลายการค้ากับจีน เพราะจะท่าให้รนค้ายุทธปจจัยต่าง ๆ
ไหลเข้ารูจีน ดังนั้น สหรัฐฯ ยังคงยืนยันนโยบายการต่อต้านจีนและการควํ่าบาตรจีน
1',
ต่อไป ต้นเดือนพฤษภาคม สถานทูตสหรัฐฯในกรูงเทพฯรายงานว่า รัฐบาลจอมพลป.
ไต้แสดงท่าทีและใช้ยุทธวิธีทางการเมืองไห้การสนับสนุนการปรับปรุงความสัมพันธ์กับ
จีนไนทางลับ แม้จอมพลป. จะแสดงออกว่าไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว แต่
สถานทูตฯไม่เชื่อ สหรัฐฯ เห็นว่าการดำเนินนโยบายเปิดไมตรีกับจีนของรัฐบาลจะท่าให้
ความน่ากลัวชองภัยคอมมิวนิสต์จีนที่จะรุกรานไทยลดลงไปมาก สถานการณ์ดังกล่าว
จะทำให้สหรัฐฯประสบกับความยากลำบากที่จะหมุนนโยบายต่างประเทศของไทยให้
กลับมาเหมือนเดิมตามทีสหรัฐฯ ต้องการ™ ในอีกฟากหนึ่งของโลกที่วอชิงตัน ดี . ซี.
โฮเวิร์ค พี. จอห์น (Howard p. John) ผู้ช่วย รมช . ต่างประเทศได้เรียกพจน์ สารสิน
ทูตไทยประจำสหรัฐฯเข้าพบเพี่อแจ้งให้ไทยทราบอย่างเป็นทางการว่าสหรัฐฯไม่ต้องการ
ให้ไทยเพิ่มความสัมพันธ์กับจีนและไม่ต้องการให้ปรืดีกลับมาไทย ’1 ’

กลางเดือนพฤษภาคม 2500 ป็ชอป ทูตสหรัฐฯ ได้'บอกเป็ร์กเลย์ เกจ (Berkeley


Gage ) ทูตอังกฤษ ว่าเขาได้รับคำสั่งจากกระทรวงการต่างประเทศที่วอชิงตันดี. ชี.
ให้เดือนรัฐบาลจอมพล ป. ว่าสหรัฐฯ ไม่พอใจการดิดต่อกับจีนและการนำปรีดีกลับมา
ไทย เนื่องจากสหรัฐฯ เห็นว่าหากปรีดีกลับมาจะทำให้เกิดป๋ญหากระทบกับเสถียรภาพ
ทางการเมืองของไทย และหากรัฐบาลของจอมพลป , ยังดำเนินการในสิ่งที่สหรัฐฯไม่
เห็นชอบ สหรัฐฯ จะมีปฎิกิริยาในทางลบต่อสิ่งที่ชะเกิดขนต่อไป - "

-
40 แ
Embargo on trade with the Peopled Republic of China, 20 April 1057, " ill
Zinner (1958, 345). I
50 NARA RG
, 59 Miscellaneous Lot Files No.60 D 50 Subject Files Relating :c
Thailand 1955-1959 Box 1, Magill to Young, Some Aspects of the Situation in
Thailand, 2 May 1957. Ifl_
11 “
the Department of State to the Embassy in Thailand (Bishop), 3 May ไ 9 r “

in Foreign Relatio?is of the United States 1955-1957 Voi 22 ( ไ 989, 917 ). \


52 NA, FO 371/
129611, Gage to Foreign Office, 15 May 1957. ข้อควานดังกล่าวบี -ท
“ United State Government would react unfavorably to any such development' fl

230
ยามเมึธลแพ้โตหวน

กวามขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับสถาบันกษัตริย์!เละกรุ่มรอยัลลิสต
สถานทูตสหรัฐฯ วิเคราะห์ว่า สาเหตุสำคัญที่สุดทผลักดันไห้รัฐบาลจอมพล ป.
คิดต่อกับจีนคือปัญหาที่เกิดขึ้นภายในการเมืองไทยและการแสวงหานโยบายต่างประเทศ
ที่เหมาะสมท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง ในช่วงเวลานั้นพล.ต.อ. เผ่าและจอมพล
สฤษดึ๋ตางกำลังแช่งขันกันเป็นทายาททางการเมืองด้วยการแสวงหาการสนับสนุนจาก
กลุ่มฝ่ายซ้ายทั้งไนกจุงเทพฯ และภาคอีสาน ไดยจอมพลสฤษดิ้แสวงหาการสนับสนุน
จากกรุ่มฝ่ายซ้ายในอีสานกับสถาบันกษัตริย์แสะกลุ่มรอย้ลลิสต์ แต่ พล.ต.อ. เผ่าข้าม 1

ใปลิดต่อกับปรีดีและจีน เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมใน


เอกาสฉลอง 25 พุทธศตวรรษ มีการปลดปล่อยแกนนำที่เคยต่อต้านรัฐบาลและผู้นำ
ารุ่ฆฝ่ายซ้ายที่เคยถูกขับคุมจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา สถานทูตสหรัฐฯ
เห็นว่าการกระทำของรัฐบาลเป็นจุดเริ่มต้นของสัญญาณความเสื่อมถอยทางการเมือง
ภายในของไทย53
ในช่วงเวลาดังกล่าว ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลจอมพล ป. กับสถาบันกษัตริย์
นละกลุ่มรอยัลลิสต์ยังคงดำเนินต่อ'ไปอย่างเข้มข้น จอมพล ป. ยอมรับว่ารัฐบาลของเขา
1

กำลังถูกใจมดีจากกลุ่มรอยลลิสต์และพระราชวงค์ที่ร่วมมือกันต่อต้านงานฉลอง
25 พุทธศตวรรษที่รัฐบาลขัดขึ้น ด้วยการที่พระมหากษัตริย์ทรงถอนตัวออกจากการ
สนับสนุนงานฉลองฯ โดยให้เหตุผลว่าพระองค์ทรงประชวรอย่างฉับพลัน ทั้งที่ก่อน
หน้านี้พระองค์ได้ยืนยันว่าจะเสด็จฯ มาร่วมงานในวันที่ 12 พฤษภาคม 2500 r"1
หนังรอพิมพ์ของฝ่ายรัฐบาล เช่น ไทยเสรี ฉบับวันที่ 17 พฤษภาคม 2500 ได้เขียน
วิจารณ์บทบาททางการเมืองของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลสิสต์ที่ไม่เข้าร่วมงาน
นิลองดังกล่าว ในขณะที่ สฆามรัฐ กระบอกเสียงของกรุ่มรอยัลลิสต!ด้พยายามชักจูง
ให้ประชาชนไม่ร่วมงานดังกล่าวด้วย ( รายงานการประชุมสภาผู้แทนรพฎร 2506,
1016 ; ไทยน้อยและกมล, 2503, 67-68) ต่อมาไทยเสรึถูกกลุ่มรอยัลลิสต์รองเรียน

the Department of State tQ the Embassy in Thailand ( Bishop), 3 May 1957 ,"
53 “

the Embassy in Thailand ( Bishop) to the Department of State, 24 May 1957," in
Foreign Helations of the United States 1955- 1957 Voi 22 ( 1989, 917- 2 ใ ) .
54
หจช. คค 0202* 1 , 1 / 2 เอก?กรกระทรวงคนนาคม เรื่อง บันทึกการประชุนคณะรัฐมนตรี ครั้งที่
1

5 /2500 ( พ .ศ. 2500) ; คูคำแปสเอกสารของสถานคูฅอังกฤษชื่อ "the King and r โดยสมศักด


เจียมธีรสฤล ที่รายงานถึงป็ญหาความขัคแย้งดังกล่าว อัางถึงใน ณ้ฐพล ( 2551 ).

231
ชุนศึก ศ้กต็นา แลรพญาธํนทา

ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากเหตุการณ์นี้ สถานทูตสหรัฐฯรายงานว่าจอมพกป.


ดูจะขมขืนมากกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มรอยัลลิสต์ที่ใช้ราชบัลลังก์
และกฎหมายที่คุ้มครองพวกเขาเป็นเกราะกำบังในการต่อสู้ทางการเมืองกับรัฐบาล"5
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2500 สัญญาณของการแดกเป็นสองขั้วทางการเมือง
ในห้วงเวลาสุดท้ายของความอยู่รอดของรัฐบาลจอมพล ป . ปรากฎอย่างชัดเจน กล่าว
คอ ขั้วแรก จอมพล ป. และพล.ต.อ. เผ่าได้ร่วมมือกับกลุ่มปรีดีเพื่อต่อสู้กับสถาบัน
กษัตริย์กับกลุ่มรอยัลลิสต์และจอมพลสฤษดิ้ ทูตอังกฤษรายงานว่าพล.ต.อ. เผ่าเปรียบ
เสมือน “ สถาปนิกทางการเมือง’, ของรัฐบาล ขณะนั้นพล .ต.อ. เผ่าไต้เริ่มรณรงค์
ต่อต้านความเคลื่อนไหวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ กลุ่มรอยัถลิสต์ และพรรค
ประชาธิปัตย์ ทูตอังกฤษเห็นว่าแผนทางการเมืองของจอมพลป. และพล , ต.อ. เผ่าเป็น
ยุทธวิธีทางการเมืองที่มีความเร่ยงอย่างมาก5'' กลางเดือนพฤษภาคม ทั้งจอมพลป .
และพล.ต.อ. เผ่ากำลังเตรียมแผนการใหม่ในการต่อต้านกลุ่มที่เป็นปรปักษ์กับรัฐบาล
ต่อไป โดยพล.ต. อ. เผ่าอยู่เบื้องหลังการลังคณะผู้แทนไปติดต่อปรีดีที่จีนเพื่อเตรียม
การไห้กลับมารอฟินคดีสวรรคตเพื่อตอบโต้ความเคลื่อนไหวของสถาบันกษัตริย์ กล่ง.
รอยัลลิสต์ และจอมพลสฤษดิ้57 ต่อมาทูตอังกฤษได้รับรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์
ออบเซอร์ฟทอร์ {Observer ) ซึ่งลงบทสัมภาษณ์ของพูนสุข พนมยงค์ ภริยาของปรีดี
กล่าวตอบข้อชักถามของนักข่าวเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ใดยเธอแนะนำนักข่าวให้!!.
ถามบุคคลสำคัญที่รู้เรื่องดังกล่าว ทูตอังกฤษบันทึกว่า ขณะนั้นหนังสือพินพ้ในไท0
ได้!ช้เริ่องสวรรคตโจมดีราชสำนักอย่างหนัก เขาเห็นว่ากรณีสวรรคตเป็นเรื่องอ่อนไห!
และสั่งห้ามเจ้าหน้าที่ของสถานทูตฯ รายงานข่าวใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสวรรคตอีก 5S
ต้นเดือนมิถุนายน 2500 แม้กระแสข่าวการกลับไทยของปริดีจะเริ่มจางหายไเ-
จากหน้าหนังสือพิมพ์แล้วก็ตาม แต่ความเคลื่อาเไทวของกลุ่มคนไทยที่เดืนทางเข้าสู่

55 "the Embassy in Thailand ( Bishop) to the Department of State, 24 May 1957,*


in Foreign Relatiotis of the United States 1955- 1957 Vol. 22 (1989, 920- 21). I
: fJ
NA, FO 371/129611, Gage to Tomlinson, 12 May 1957; ร
: NA, FO 371 /129611, Gage to Foreign Office , 15 May 1957 ; “ the Embassy in
Thailand ( Bishop) to the Department of State, 24 May 1957," in Foreign Relations
of the United States 1955- 1957 Vol. 22 (1989, 920-21 ), m
58 NA, FO 371/
129653, Whittington to Foreign Office, 15 May 1957. I

232
ทพเมีธลมพัด'หวน

จีนกลับมีความคึกคักมากขึ้น ขณะนั้นกลุ่มดีและกลุ่มฝ่ายซ้ายที่มีความสัมพันธ์กับ
ปรีดให้การสนับสนูนรัฐบาลจอมพล ป . เพิ่มขึ้น ทำให้พล.ต.อ. เผ่าเปิดการรุกต่อ
สถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอขัลลิสต์ที่ให้การสนับสนุนจอมพลสฤษดี๋มากขึ้นตามไปด้วย
สถานทูตอังกฤษได้รับรายงานข่าวที่อ}ั ไม่ยืนขันว่า พล .ต.อ. เผ่ามีแผนการทำให้เกิด
การสละราชสมบัติด้วยคดีสวรรคตและสถาปนาสาธารณรัฐขึ้น และรายงานต่ออีกว่า
หร่เงสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ พระราชวงศ์ และกองทัพได้อย่างอิสระ
โดยตำรวจมิได้ดำเนินการควบคุมไต ๆ แต่กลับให้การสนับส'นุนการวิจารณ์เหล่าim ใน
ขณะที่จอมพลสฤษดี้ขังคงรักษาความร่วมมือกับกลุ่มรอขัถลิสต์อย่างใกล้ชิด สถานทูต
อังกฤษเห็นว่าจอมพลสฤษดและกลุ่มรอขัลลิสต์นั้นล่วงรู้แผนการของจอมพล ป. และ
พล.ต.อ. เผ่าว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด '
,, '

ในต้นเดีอนมิถุนายนปีเดียวกัน ซึ่งเป็นเดือนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างปริศนาเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ณ บริเวณท้องสนามหลวงได้
มีการปราศรัยครั้งสำคัญของ “ ช้างงาแดง ”'," ผู้พยายามบอกเป็นนัยว่า “ใคร ” อยู่
ฌองหลังการสวรรคตดังกล่าว ต่อมาในกลางเดือนนั้นเอง นักข่าวได้นำการปราศรัยของ
“ช้างงาแดง ” มาถามควง อภัยวงศ์ เขาตอบข้อชักถามดังกล่าวว่า หนังสือพิมพ์ไม่ควร
เอาเรื่องดังกล่าวมาขยายความ ( ชาวไทย , 16 มิถุนายน 2500) นอกจากนี้ ในช่วง
เวลาเดียวกันใด้มีการนำบันทืกลับของพระยาศรยุทธเสนีมาเปิดเผยในหน้าหนังสือพิมพ์
เพื่อชึ!้ ห้เห็นว่ามีการสร้างพยานเท็จเพื่อปรักปรำปรืดีและพวกว่าเกี่ยวข้องกับการสวรรคต
-
ของพระมหากษัตริย์ (ประจวบ 2543, 435 36) กลุ่มรอขัลลิสต์พยายามกดดันรัฐบาล
จอมพลป. จับกุม “ช้างงาแดง ” ต่อมาตำรวจจับและปรับเงิน “ช้างงาแดง ” ด้วยความ

1
NA , FO 371 / 129611 , Adam to Tomlinson , 8 June 1957.
, jU
ซโอเอบันทึกบทบาทของ ‘‘ข้างงาแคง ,, หรือสง่า เนองนิยม ว่าเขามีบทบาททางการพองตั้งแต่
ปี 2490 ด้วยการแจกใฆปสิวทางการเมืองลึกลับหลายครั้งโนนามของ “ช้างงาแคง ” ช้างงาดV แทะ
“ Buddha 's disciples ” ต่อนาเขาถูกตำรวจจับเมอวันที่ 9 มกราคม 2492 เนองจากเป็นผูแจก
ใบปสิวที่วิจารณ์รืฐบาลหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แทะเขามีบทบาทเรืยกร้องให้จอมพล ป คีนดี
,

กับปรีดี ทั้งนกมิหลังของเขาเคยเป็นเาทหบัาที่ในสหอาชิวะกรรมกรแห่งประเทศไทยและอดีต
ข้าราชการกรมโฆษณาการ เอกสารชันนี้ให้ข้อมูลว่า สง่าเป็นสมาชิกชนชั้นกรรมาชืพหรือพรรค
คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ( NARA, RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 7251 ,
Summary of Political events in Siam January 1948). ในช่วงปี 2500 เขาเป็นสมาชิกของ
พรรคศรอาริยเมตไตรย์ของ ร . ต . อ . เฉียบ ชัยสงฅ์ คนสนิทของปรีดีด้วย

233
ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทวี

ผิดฐานละเมิดกฎหมายการใช้เครื่องขยายเสียงโดยมิได้รับอนุญาตจากทางราชการ
การคำเน้นการของรัฐบาลดังกล่าวใต้สร้างความไม่พอไจให้กลุ่มรอย้'ลลิสต์เป็นอันมาก
(ส&พรัฐ , 30 มิถุนายน 2500)
ความพยายามทอับมาเป็นพันธมิตรทางการเมืองระหว่างรัฐบาลจอมพล ป. กับ
ปริดีและกลุ่มปริดีชี่งไค้เรื่มต้นไปแล้วมีความคืบหน้าเป็นอันมาก ทำให้ปาล พนมยงคํ
ผู้เป็นบุตรชายคนโตของปรีดี ภายหลังเมื่อเขาได้รับนิรโทษกรรมแล้ว ได้มาขอลาบวชกับ
.
จอมพล ป เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2500 ที่วัคมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ้โดยจอมพลป .
ผู้เป็นมิตรเก่า ไต้ฝากข้อความผ่านปาลไปยังบดาของเขาว่า “บอกคุณพ่อของหลาน
ด้วยนะว่า ลุงอยากให้กลับนาช่วยลุงทำงานให้ชาติ ลุงคนเดียวสู้ศักดินาไม่ไหวแล้ว ”
( ไทราบวัน , 26 มิถุนายน 2500 ; ประจวบ 2543, 410 ; พูนสุข 2525, 76) ในช่วง
เวลาดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐคได้รายงานสถานการณ์การเมืองไทยว่า
มีข่าวที่ลือกันทั่วไปในสังคมว่ามื “บุคคลสำคัญอย่างมาก ” ที่ไม่มีใครคาดคิดอยู่เบื้อง
หลังการสวรรคตได้แพร่สะพัดไปทั่วสังคม61 โดย ม .ร.ว . เสนิย์ ปราโมช ได้บันทึก
เหตุการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าวว่า ควง อภัยวงศ์ เคยเล่าให้เขาพึงว่า “จอมพลป. จะ
หาเรื่องในหลวง” (เสนีย์ 2543, 104)
ต้นเดือนกรกฎาคม 2500 หนังสือพึมพ่ไนฮ่องกงชี่อ ย่องกงไทรกอร์สแตนดา m
( Hong Kong Tiger Standard ) ได้,นำคำ'ให้สัมภาษณ์'ของป'รีด'ใน ี ต้ากงเผ่า ซึ่งเป็น
หนังสือพิมพ่ไนจีนมารายงานต่อว่า ปรีดีกล่าวว่าจักรวรรดินิยมอเมริกาขัดขวางการมี
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน และเขายอมรับว่าเขาไต้ตดต่อกับบุคคลสำคัญยิ่งใน
ไทยเพื่อการเดินทางกลับมาต่อสู้คดีสวรรคตในไทย'’ ต่อมาสถานทูตอังกฤษรายงาน
"

, เ NAHA, RG 59 Entry Thailand 1955 1959 Box 3909, Memorandum


1
- of Conver-
sation Brigadier General Wallop Rojanawisut, Colonel Edward Lansdale and
Kenneth T. Young, 24 October ใ 957 .
02
หจช. 80 / 158 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง นายปรีดี พนมยงค์ ให้สัมภาษณ์
หนังสือพิมพ์เกี่ยวกับประเทศไทย ( 2500) ; Hong Kong Tiger Standard , 9 June 1957. คณะ
วัฒนธรรมไทยจำนวน 40 คน ได้เดินทางกสับมาจากจีนคอมมิวนิสต์ในเดือนกรกฎาคม 2500 โดขม
ตำรวจมาวับตัวไปสอบสวน พรรคประชาธ็ปัตซ!ด้1จมดีวัฐบาลว่า การที่รัฐบาลไม่จบกุมคณะวัฒนธรรม
ไทยเป็นการแสดงไห้เห้นว่าไทยกำดังผ่อนคลายไนการต่อต้านจนคอมมิวนิสต์ จากนั้น สุวัฒนิ
วรดิลก หัวหนัาคณะวัฒนธรรมไทยได้แถลงขาวว่า เขาได้พบกับปรีดีซึ่งมีความต้องการกสับประเทศ
ไทย และเขาได้บันทึกไว้ว่า จอมพลป . สนโจเรื่องที่เขาได้เดินทางไปจีนมาก และจะส์งคนมาบัดไห้

234
ยามเมื่อลม-พัดทวน

..
ว่า พล ด อ. เผ่ายังคงติดต่อกับปรีดีในจีนผ่านกลุ่มปรืดีไาเไทยต่อไป โดย พล.ต.อ. เผ่า
หวังที่จะนำการตัดสินคดีสวรรคตที่ผิดพลาดของศาลมาโจมตีราชสำนัก ซึ่งสํงผลให้
กลุ่มรอยัลลสต์ร่วมมือกับจอมพลสฤษดี้เพื่อโต้กลับจอมพลป. และพล .ต.อ. เผ่า 63

ปลายเดีอนกรกฎาคม คัลเลส รมว. ต่างประเทศสหรัฐฯ มิบันทึกตอบกลับถึง


สถานทูตสหรัฐฯในกรุงเทพฯ พรรณนาถึงความดกดรทางการเมืองของพล.ต.อ. เผ่า
ในขณะที่จอมพลสฤษดไต้รับความนิยมจากประชาชนมากยิ่งขน นอกจากนี้ยังได้รับ
การสนับส'นนจากกลุ่มรอยัลลิสต์และพรรคประชาธิป๋ตย์เพื่อต่อต้านแผนนำปรืดีกลับ
มาไทยของจอมพล ป. และพล.ต.อ. เผ่า,’ โดยสถานทูตอังกฤษในวอชิงตัน ดี. ซี . ได้
'1

รายงานกลับไปลอนดอนยืนยันถึงความเห็นของสหรัฐฯว่าพล.ต . อ. เผ่ากัาลังเสื่อม
ความนิยมทางการเมือง ดรงกันขามกับจอมพลสฤษดิ้ที่มีอนาคตทางการเมืองมากกว่า'’:>
.
จะเห็นได้ว่าสหรัฐฯ ไม่พอใจรัฐบาลจอมพล ป ที่พยายามถอยห่างออกจากสหรัฐฯ ด้วย
การเปิดไมตรีกับจีน และสหรัฐฯไม่เห็นด้วยกับแผนการสาธารณรัฐของจอมพล ป. และ
พล.ต.อ.เผ่า เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องการสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ให้มีส่วนสำคัญโนการ
ทำสงครามจีตวทยากับคนไทยให้ร่วมต่อต้านคอมมิวนิสต์ ดังนั้น ความต้องการของ
สหรัฐฯ จึงสอดคล้องกันพันธมิตรใหม่ระหว่างสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์กับ
. ..
จอมพลสฤษดี้ มากกว่าแผนการของจอมพลป พล.ต อ เผ่า และกลุ่มปรีดี อีกทั้ง
สหรัฐฯ มีความต้องการสนับสรเนให้กลุ่มผู้นำใหม่ที่นิยมสหรัฐฯ ก้าวขนมามีอำนาจใน
,
การเมืองไทยเพื่อตอบสนองนโยบายของสหรัฐฯ ต่อไป ,''

ไปนอนคุยกันที่บางแสนสักคืน แต่การรัฐปว!;หารของจอมพถสฤษด!ทดช้นก่อน ( สุวัฒน์ 2517 , 71 ;


New York Times , 3 August 1957 ).
:i NA, F0 371 /129611 , Adam to Selwyn Lloyd , 12 July 1957 .
j

" NARA, RG 59 Central Decimal File 1955 - 1959 Box 3908, Dulles to Bangkok ,
25 July 1957 .
0 : \TA FO 371 / 129611 , Snellgrove to Foreign Office , United States views about

,
The Prospect in Thailand, 31 July 1957.
!’ "
ij
Outline Plan Prepared by an Interdepartmental Committee for the Operations
Coordination Broad -Outline Plan of Operations With Respect to Thailand ,
20 March 1957 ,” in Foreign Relations of the United States 1955- 1957 Vol 22 ( 1989,
913-15) .

235
r

k
ริ
'

=-fe S '

..ะ-, • Jr:

การเมองสองหนัาของจอมพลสฤษล้ส่งผลไห้เขาได้รับการสนับสนนจากทั้งกลุ่มรอข้ลสิสต์และสหรัฐฯ
อีกทั้งได้รับควานนิยมจากสาธารณชนรวมทั้งฝ่ายซ์ายบางกล่มอีกด้วข ขณะทภาพลกษณของรจ
4/ ๙
!] :ฯ
4/

จอมพล ป. และพล.ต.อ. เผ่าตกตาลงอยางมาก ในภาพสฤษดั้ท่ามกลางฝูงชนที่ชุมนุมต่อต้าน “ การ


เลือกดั้งสกปรก*, (ภาพจาก Life )
บทที่ 9
การก่อคัวของ “ไตรภาคี”
ภาวะทึ่งอาณา,นิคมและการล่มสลายของประชาธิปไตยไทย

.
ความไม่พอใจของวอชิงตัน ดี. ซี ต่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
สถานการณ์การเมืองหลังการเลือกตั้ง'นั้น สหรัฐฯ เห็นว่าจอมพลสฤษด ธนะรัชต์
ได้รับความนิยมเพิ่มขน และหนังสือพิมพ์ที่เป็นกระบอกเสียงของเขาก็ใด้รับความนิยม
จากสาธารณชนมากเช่นกัน ในขณะที่ความนิยมของ พล.ต-อ. เผ่า ศรียานนท์ ดกตํ่า
สุดขีด แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากจอมพลป. พิบูลสงครามและสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรกสุ่มปรืดีเพื่อต่อต้านความเคลื่อนไทวของสถาบันกษัตริย์ กลุ่มรอยัลลิสต้ และ
จอมพลสฤษดิ้ก็ตาม 1นขณะที่จอมพลสฤษดิ้เริ่มเป็นปรปักษ์กับรัฐบาลจอมพล ป. ด้วย
การเป็นพ์นธมิตรกับสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลืสต้ที่ไม่ต้องการให้ปรืดีกลับมาไทย
เพื่อ'รอฟ้นคดีสวรรคตขึ๋นอีกครั้ง ส่วนตัวจอมพลสฤษด้เองกีต้องการมีซัยชนะเหนือ
คู่แข่งทางการเมืองของเขาคือพล.ต.อ. เผ่า นอกจากนี้ จอมพลสฤษดิ้ยังแสดงออกว่า
สนับสนุนนโยบายต่างประเทศที่เป็นกลางเพี่อให้ได้รับการสนับสบูนจากกลุ่มฝ่ายชัาย
ด้วย ต่อมาเขาตั้งพรรคสหภูมิซี่งเป็นทารรวมตัวของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาค
อีสานจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนนเขาในรัฐสภา ดัลเลส รมว. ต่างประเทศ ได้ยํ้ากับทูต
สหรัฐฯ ในไทยว่า ความช่วยเหลือทางการทหารที่สหรัฐฯ ให้กับกองทัพทำให้จอมพล
สฤษตึ๋มความเข้มแข็งทางการเมืองมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ;

-
NAHA HG 469 Entry Thailand Subject Files 1950 1957 Box 59 Dulles to Embassy
}

London and Embassy Bangkok, 21 April 1957.


ชุนดึก ศักดินา และพญาอินทรี

ในเดือนมิถุนายน 2500 สหรัฐฯ เห็นว่าฉากการเปลี่ยนผู้นำกลุ่มใหม่ในไทยเริ่ม


มีความซัดเจนขึ้น นั่นคือ ภาพของจอมพลสเเษดิ้ที่ได้รับความนิยมจากประชาชนมาก
'

ขึ้นทำให้เขากำลังก้าวขึ้นมามีอำนาจแทนจอมพลป. และพล.ต.อ. เผ่า สหรัฐฯประเมิน


ว่าทากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็มิอาจทำให้นโยบายด่างประเทศของไทยเปลี่ยน
แบบถอนรากถอนโคน แต่เห็นเพียงการผลัดเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลเท่านั้น ในช่วงเวลา J

เสียวกัน ซัใอเอประเมินสถานการณ์ของทายาททางการเมืองไทยคนต่อไปว่า ความ


นิยมของสาธารณชนที่มีต่อพล.ต.อ. เผ่ากำลังเสื่อมถอยลง ในขณะที่จอมพลสถุษดั],ด้
รับความนิยมอย่างมากนอกจากนี้ ในบันทึกการลิดต่อภายในของกระทรวงการต่าง
ประเทศสหรัฐฯที่วอชิงตันดี. ซี. ได้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจและไม่ไว้วางใจของ
สหรัฐฯที่มีต่อรัฐบาลจอมพลป.ในหลายปิที่ผ่านฆาที่รัฐบาลเริ่มมีนโยบายความสัมพันธ์
อ่อน ๆ กับจีนและพยายามอย่างยิ่งที่จะเป็นอิสระจากนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ
สหรัฐฯ จำเป็นต้องหยุดยั้งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน โดยได้ส่งสัญญาณความ
ไม่พอใจหลายครั้งผ่านพจน์ สารสิน เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐฯ และมอบหมาย
ให้บิชอป เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย แจ้งความไม่พอไจของสหรัฐฯ
ไห้กับจอมพล ป. และผู้นำคนอื่นๆในรัฐบาลรับทราบ นอกจากนี้ สหรัฐฯต้องการส่ง
คณะบุคคลไปเยือนไทยเพื่อแจ้งความไม่พอใจนี้ให้จอมพล ป ทราบโดยดรงอกด้วย .
เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่พอใจที่จอมพล ป. เล่นบทตสองหน้าด้วยการรนยอมให้พล.ต.อ.
เผ่าตดต่อกับจีนและอนณาตให้ป!ดีเดินทางกลับมาไทย ไนขณะที่อีกด้านหนึ่งจอมพล ป.
ทุเ ti

ก็ประกาศอย่างเปิดเผยยืนยันการเป็นมิตรชิดใกล้กับสหรัฐฯ และต่อด้านการมีความ
สัมพันธ์กับจีน4

" National Intelligence Rstimate - Problem Developments in Thailand , 18 June


1957/ in Foreign Relations of the United States ใ 955- 1957 Vol . 22 ( 1989 , 924).
3
NARA, CIA Records Search Tool ( CRKST), CIA- RDP85S00362 R000600010001 - 3 .
25 June 1957 , " Probable Developments in Thailand .” j
1 "
Memorandum From the Assistant Secretary of State for Far Eastern Affaire
( Robertson ) to the Secretary of State, 8 July 1957 , ” in Foreign Relations of the
United States 1955- 1957 Vol 22 (1989, 929) ,
J

238
การก่อตัวของ “ไตรภาคี"

ปีอมพลสลุษคิและกลุ่มรอยัตลิสต์กับการแสวงหาความสนับสนุนปีาก
สหรัฐฯ
ภาวะล่อแหลมต่อเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลจอมพล ป. เรีมต้นข้นเมือ
จอมพลสฤษดี้กับพระองค์เจ้าธานืนิวัต ประธานองคมนตรี และกลุ่มรอยัลลิสต์ จัดการ
ม่ระชุมลับวางแผนการรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2500 ’ วันรุ่งชัน จอมพล
'

สถูษดส่ง ร.อ . สมหวัง สารสาส เป็นตัวแทนมาหยั่งท่าทืสถานทูตสหรัฐฯ6 และแสวงหา


การสนับสนุนการรัฐประหาร ซึ่งจะผลักดันให้ตัวเขาได้เป็นนายกรัฐมนตรี แมืในทาง
เป็ดเผยจอมพลสฤษต็จะปฏิเสธความทะเยอทะยานนี้ก็ตาม นอกจากน พวกเขามีแผน
ตั้งพรรคสทภูมิชันเพื่อสนับสนุนจอมพลสฤษด้[นสภาผู้แทนราษฎร ร.อ. สมหวังแจ้ง
.
กับเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ ว่ากลุ่มทหารไม่พอใจรัฐบาลจอมพล ป และคาดว่ารัฐบาล
.
จะตั้งอยู่ได้ไม่นาน แม้พล.ต อ. เผ่าจะต่อต้านความไม่พอใจของทหาร แต่เขามั่นใจว่า
จอมพลสฤษดจะเป็นฝ่ายชนะ จากนั้นรัฐบาลใหม่จะถูกตั้งชันโดยนายพลวาว 4 5 คน -
ร. อ. สมหวังแจ้งว่าสาเหตุที่เขาต้องมาดีดต่อสถานทูตสหรัฐฯ ก็เพื่อขอการสนับสนุน
จากสหรัฐฯ เนื่องจาก “บุคคลสำคัญ ” คนหนึ่งในไทยเห็นว่าทัศนคติของสหรัฐฯ มี
ความสำคัญมากไนการรับรองการรัฐประหารและรัฐบาลใหม่ 7 ต่อมาในปลายเดือน
พฤษภาคมนั้นเอง จอนพลสฤษดิ้ได้ส่งทูตทหารและทหารคนสนิทมาพบบชอปอีก เพื่อ
แจ้งให้สถานทูตฯ ทราบว่าเขาตระหนักดีว่าจอมพล ป. และพล. ต.อ. เผ่ามีแผนการที่จะ

5 NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Bishop to Secretary of


State, 19 April 1957 . ดูรายงานการประชุมลับระหว่างจอมพลสฤษดี๋และกล่มร0ยัล่สิสต์ใน NA,
FO 371 / 129610, Gage to Foreign Office, 17 April 1957 .
6 ชิอมพลสฤษตเคยพยายามผูกไมตรีกับบิชอป
ทูตสหรัฐฯ ในต้นเดือนตุลาคม 2499 เขาเคยส่ง
จดหมายลับไปหาบิชอปเพึ่ป็ขอติดต่อเป็นการส่วนตัว และต้องการเข็ญมาสนทนากับกสุมทหารของ
เขา แต่บิชอปไม่ตอบสนองการติดต่อในทางลับของจอมพลล ฤษฅ เขาตอบปฏิเสธว่า สถานทูต
1

สหรัฐฯ ชิะติดต่อกับไทยผ่านกระทรวงการต่างประเทศและนายกรัฐมนตรีตามช่องทางที่เป็นทางการ
เ รุ ,
เท่านน หากกล่มทหารจ ะติดต่อสถานทูตสหรัฐฯไห้ดำเนินการผ่านทูคทหารเท่านั้น ในการติคต่อ
ะ £ จอมพลสฤษดส่ง
ครงน พ .จ . บุญมาก เทศบุตร เป็นผูกอจดหมายไปให้บชอป ( NARA , RG 84
General Records, Thailand 1956- 1958 Entry UD 3267 Box 106, Sarit to Bishop , 9
October 1956 ; Bishop to Sarit, 12 October 1956).
NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908 , Memorandum of Con -
versation Captain ร. Sarasas and Amos Yodes, Internal Politics, 15 April 1957 .

239
ขุนศึก ศักดีนา และพญาอินทรื

กำจัดเขาให้พ้นไปจากเส้นทางการเมือง หากจอมพล ป. และ พล.ต.อ. เผ่าเคลื่อนไหว


ต่อต้าน เขาจะชิงลงมือก่อน โดยจอมพลสฤษดี๋จะอ้างว่าการกระทำของเขาเป็นการ
ต่อต้านคอมมิวนิสต์และปกป้องกลุ่มรอยัลลิสต์กับพวกนิยมสหรัฐฯ โห้รอดพ้นจาก
แผนการของจอมพล ป. และ พล.ต.อ. เผ่าที่ดำเนินการตรงข้ามกับความต้องการ
ของสหรัฐฯ ไม่กี่วันหลังจากนั้น นิชอปได้รายงานกลับไปยังวอชิงตันดี. ชี. ว่าอังกฤษ
สนับสนูนความพยายามของจอมพลสฤษดิ้ ควง และกลุ่มรอยัลลิสต์ไนการล้มรัฐบาล
จอมพลป.8
สถานทูตอังกฤษเป็นเป้าหมายลำดับต่อไปในการขอการสนับสบุบแตนการ
รัฐประหารของจอมพลสฤษดี้ ในเดือนมิถุนายนจอมพลสฤษดิ้ส่งร, อ. สมหวัง สารสาส
เป็นตัวแทนมาขอการสนับสบุนการรัฐประหารจากทูตอังกฤษ ร.อ. สมหวังอ้างว่ากลุ่ม
ทหารของจอมพลสฤษต็ได้รับการสนับสนูนจากสามเหล่าทัพและพลเรือนเพื่อขัดขวาง
แผนการของจอมพล ป. และ พล.ด.อ. เผ่าที่ต้องการให้เกิดการสละราชย์และนำไปสู่การ
จัดตังสาธารณรัฐ แผนการรัฐประหารของพวกเขาวางตัวจอมพลสฤษดิ้เป็นนายก
รัฐมนตรี และควง อกัยวงศ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ จากนั้นร.อ.
สมหวังไต้เสนอข้อแลกเปลี่ยนกับอังกฤบว่า หากอังกฤษให้การสนับสนูนการ
รัฐประหาร รัฐบาลชุดใหม่ของพวกเขาจะเปิดโอกาสให้อังกฤษกลับเช้ามามืบทบาทใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการรนยอมให้อังกฤษมฐานะเป็นผู้ช่วยและที่ปรึกษา
รัฐบาล ในรายงานของสถานทูตอังกฤษบันทึกว่า ตัวแทนของจอมพลสฤษดิคนนั้ใด้
เคยแอบไปพบบิชอป ทูตสหรัฐฯ มาแล้ว แด่ไม่ได้รับการสนับสนูน เพราะนิชอปให้
การสนับสนูนรัฐบาลจอมพล ป. แต่ทูตอังกฤษรายงานว่า ความพยายามทำรัฐประหาร
ของจอมพลสฤษดิอาจจะได้รับการสนับสนูนจากชัสแมคไทย อันเป็นหน่วยงานของ
กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ เพราะจัสแมคไทยสนับสนูนกลุ่มทหาร แม้ว่าฝ่ายต่อต้าน
9

รัฐบาลจะเคลื่อนไหวในทางลับก็ตาม แต่สังคมก็รับรูเรื่องดังกล่าวกันอย่างกวัางขวาง

8
NARA , RG 59 Centra] Decimal File 1955- 1959 Box 3912, Tremblay to Secretary
of State, 20 May 1957 ; NARA, RG 59 Central Decimal File 1955 - 1959 Box 390S .
Bishop to Secretary of State, 29 May 1957.
' NA, FO 371 /129611 , Adam to Tomlinson, 8 June 1957. รายงานให้ข้อมูลว่า บุคคล
อนๆทีจะเข้าร่วมเป็นคณะรัฐมนตรี เช่น ม.ปี . วิวัฒนไชย เจาพระยาศรีธรรมธิเบค กรมหมื่นนราธป ร
จะเป็นรมว . ต่างประเทศ ส่วนป๋วย องกากรณ์ จะเดินทางกลับมาจากอังกฤษเพี่อรับตำแหน่งใน
คณะรัฐมนตรีชุดใหม่

240
การก่อตัวของ “ไตรภาค "

ข้นหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า ‘‘พรรคประชาธิปัตย์ พวกศักดินา และจักรวรรดินิยม


ร่วมมือกันเพึอล้มล้างรัฐบาล " อย่าง!รก็ดี ควง อภัยวงฅ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว ( ส'ยามนิกร , 9 มิสุนายน 2500)

การเมืองสองหน้าของจอมพสสฤษดิ
,
การปลุกกระแส [จมตีความสัมพันธ์ Iทย-สหรัฐฯ และการเรียกร้องให้ถอนทหาร
ขัสแมคไทยออกจากไทยในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งตั้งแต่ปลายปิ 2499 จนถึง
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2500 ที่ผ่านมานั้น รัฐบาลจอมพลป. เชื่อว่าทหารของกลุ่ม
จอมพลสฤษดิอยู่เบื้องหลังการให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายใจมตีความช่วยเหลือ
ทางการทหารที่สหรัฐฯให้กับไทย 1 , ต่อมาเมื่อจอมพลสฤษดกลายเป็นศูนย์กลางของ
การต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. และสหรัฐฯ เขาก็ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มฝ่ายซ้าย
อย่างมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เขาแสดงออกเพี่อแสวงหาการสนับสนุนทางการเมืองกับ
ความต้องการที่แท้จริงของเขานั้นมีความแตกต่างกัน เห็นได้จากเมื่อจอมพลสฤบตั้
ยี่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลว่า เขามืได้เรียกร้องให้ชัสแมคไทยถอนทหาร เพียงแต่เรียกร้อง
ให้รัฐบาลลดงบประมาณทางการทหารเท่านั้น แต่ปรากฎว่าการแถลงข่าวในที่สาธารณะ
นั้น จอมพลสฤษด็และกลุ่มทหารของเขากลับให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า พวกเขา
เรียกร้องให้จัสแมคไทยลดจำนวนเจ้าหน้าที่ในประเทศไทยลง สถานทูตสหรัฐฯ
วิเคราะห์ว่า การกระทำของสฤษดและกลุ่มทหารคือยุทธวิธีทางการเมืองเพี่อแสวงหๅ
ความนิยมจากสาธารณชนและการสนับสนุนจากเหล่านักการเมืองฝ่ๅยซ้าย ศวาน
.
เคลื่อนไหวของกลุ่มทหารบื้สร้างความไม่พอใจให้กับจอมพล ป เป็นอย่างมาก1 ,
การแสดงตนเป็นปรปักษ์กับรัฐบาลและสหรัฐฯ ของจอมพลสสุษดิ้ต่อสาธารณะ
ทำให้เขาได้รับความนิยมชมชอบจากป๋ญญๅชนและกลุ่มฝ่ายซ้ายมาก ต่อมาเขาสร้าง

10
หจบ- (3) สร 0201.13. ! '27 เสกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรีอง แถลงการณ์สำนักคณะรัฐมนตรี
เรองค่า!ช้ฃ่ายดามความตกลงว่าด้วยการช่วยเหลือทางทหารระหว่างรัฐบาลไทยกับรั J บาลสหรั£ _
อเมริกา ( 17-26 มิถุนายน 2500) บันทึกของนายใเน จาติกวนิช เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ถึง นายกรัฐมนตรี วันที่ 18 มิถุนายน 2500 ; แถลงการณ์สำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องค่าใช้จ่ายตาม
ความตกลงว่าด้วยการช่วยเหลือหางทหาร ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมรีกา วั บ ที ่ I S
มิถุนายน 2500.
NARA, RG 469 Entry Thailand Subject Files 1955- 1959 Box 59, Theodore A.
Tremblay to Secretary of State, 21 June 1957.

241
ชุนศึก สักคนา และพญาอินทวี

พันธมิตรกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสานฝ่ายซ้ายด้วยการจัดตั้งพรรคสหภูมิขึ้น
เมื่อวันที่ 21 มิถนายน 2500 เพื่อเป็นฐานการเมือง‘ของเขาในรัฐสภา เขาได้มอบหมาย
ให้สุกิจ นิมมานเหมินท้ เป็นหัวหน้าพรรค โดยมิสงวน จันทรสาขา น้องชายต่างบิดา
ของเขาเป็นเลขาธิการพรรคฯ และมีแกนนำสำคัญของพรรคคือ สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรภาคอีสานฝ่ายซ้าย เช่น ญาติ ไหวดี อารีย์ ตันติเวชกุล และสอง มารังทูล
เป้าหมายของพรรคคือการล้มรัฐบาลจอมพลป. ทำลายพล.ต.อ. เผ่า โจมดีชีโต้ และ
ต่อต้านสหรัฐฯ1 ^
แม้ว่าจอมพลสฤษดี้และกลุ่มทหารจะเล่นบทต่อต้านสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง โดย
ให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณะว่าพวกเขาสนับสนุนให้ขัสแมคใทยถอนทหารออกจากไทย
แต่ในทางลับแล้วปรากฎว่าเขาได้เผยท่าท็ที่แห้จริงแก่ พล.ต . อาร์. ซี. พาร์ทริดจ์ ( R .
c. Partridge) หัวหน้าชัสแมคไทย ว่าข้อเรียกร้องต่างๆของเขาต่อจัสแมคไทยที่
ปรากฎในที่สาธารณะนั้นไม่เป็นความจรง ดงบันทึกการสนทนาที่บ้านสี่เสาเทเวศน์ใน
กลางเดือนกรกฎาคม 2500 ที่พล.ต.พาร์ทริดจ์รายงานกลับไปยังสหรัฐฯโดยเขาถาม
จอมพลสฤษดี้ว่า “กองทัพบกต้องการให้ที่ปรีกษาทางการทหารของจัสแมคถอนตัว
ออกจากไทยหรือ ?" จอมพลสฤษดิ้ตอบว่า “ไม่ ” ต่อมานายพลแห่งกองทัพสหรัฐฯ
ถามเขาอีกว่า “ กองทัพต้องการให้ขัสแมคลดขนาดลงหรือ ?” จอมพลสฤษดิ้ไม่ตอบ
คำถามแต่กล่าวว่า "ให้มาคุยกันวันหลัง” คำถามสุดท้ายที่นายพลคนดังกล่าวถามคือ
“ทำไมจึงให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ว่าต้องการให้ขัสแมคถอนหรือลดกำลังทหารของ
สหรัฐฯในไทยลง” จอมพลสฤษดิ้ตอบว่า “ข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์เชื่อถือไม่ได้’'
บันทึกการสนทนานั้สะห้อนให้เห็นว่า สหรัฐฯ รับทราบถึงการเล่นบทการเมืองสองหน้า
ของจอมพลสฤษดิ้เพื่อหวังได้รับการสนับสนุนจากสังคม แต่มิได้ฏีความต้องการให้
สหรัฐฯ ถอนทหารจริงตามที่เขากล่าวแก่สาธารฌรแต่อย่างใด
สถานทูตอังกฤษในวอชิงตัน ดี. ชี. รายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ
เห็นว่ารัฐบาลจอมพล ป. กำลังค่อยๆปรับนโยบายต่างประเทศ เนื่องจากความจำเป็น

NARA , RG 59 Entry Thailand 1956- 195 K Box 3909, Bishop to Secretary of


State, 5 August 1957. d
11
NARA , RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3913, Memorandum for
Record Conversation between Major General R . c. Partridge and Field Marsh i.
Srisdl on 16 July 1951 ; Bishop to Secretary of State, 31 July 1957 , 1

242
การก่ยคัวของ ‘ไตรภาคี"

ทางการเมองภายใน'ที่รัฐบาลจะต้องรักษาอำนาจ และผู้นำไทยตความสถานการณ์
ระหว่างประเทศด้วยมุมมองที่ลังเลสงสัยในความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ต่อไทยในการ
ส่อต้านอิทธิพลของจีน ส่งผลให้รัฐบาลเรมเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ เห็นได้
จากการที่รัฐบาลยนยอมให้คณะผู้แทนไทยหลายคณะเดินทางไปจีน การเปิดสัมพันธ์
ทางการต้ากับจีน การรนยอมไห้ภาพยนตร์จีนเข้ามาฉายในไทย รวมทั้งการเปิดโอกาส
ให้พูนสุข พนมยงค์ ภริยาของปรีดี พนมยงฅ์ เคนทางกลับจากจีนมาไทยพร้อม
ประกาศว่าปรีต็จะกลับไทย การเพิกเฉยต่อบทบาทของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ที่กระตุ้น
ให้คนไทยต่อต้านสหรัฐฯ และซีโต้ รวมถึงเรียกร้องให้ไทยมีนโยบายต่างประเทศที่
เป็นกลาง ตลอดจนการที่รัฐบาลนิรโทษกรรมให้กับอดีตนักโทษการเมืองซึ่งส่วนใหญ่
เป็นพวกฝ่ายซ้ายและคอมมิวนิสต์ การดำเนินการทั้งหลายเหล่านี้ของรัฐบาลทำไห้
สหรัฐฯ ไม่พอใจและต้องการให้ “นโยบายต่างประเทศของไทยกลับไปสู'สิ่ ่งที่ถูกต้อง
ตามที่สหรัฐฯ ต้องการ” 1 ''

การรุกทางการเมืองของชิอมพลสฤษคิและกลุ่มรอยัลลิสต์ กับการสร้าง
พันธมิตรระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎร
ณ ห้วงเวลาของการต่อลุ(่ ทางการเมืองในช่วงปลายรัฐบาลจอมพลป ในทลาง .
เดือนสิงหาคม 2500 นั้น จอมพล ป. พยายามจำกัดฐานอำนาจทางเศรษฐกีจของ
พล.ต.อ. เผ่าและจอมพลสฤษดด้วยมดีคณะรัฐมนตรีที่ให้รัฐมนตรีทุกคนถอนตัวออก
จากธุรกิจการค้าของรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน แต่จอมพลสฤษดไม่ยอมปฏิบัติตาม
เขาได้นำกลุ่มทหารค่ายสี่เสาเทเวศน์ชึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนเขา ลาออกจากคณะ
รัฐมนตรีเรี โดยตัวเขาเองได้ลาออกจากรมว. กลาโหมเมี่อว้นที่ 20 สิงหาคม แม้เขาให้
สัมภาษณ์ปฏิเสธว่าการลาออกของเขาไม่เกี่ยวข้องกับการให้รัฐมนตรีถอนตัวออกจาก
ธุรกิจของรัฐและเอกชน แต่เกิดจากความไม่พอใจรัฐบาลเท่านั้น ส่วนจอมพลผินและ
พล.ต.อ. เผ่า แกนนำของค่ายราชครู ยนยอมถอนตัวออกจากธุรกิจ โดย พล.ต.อ. เผ่า
ประกาศถอนตัวออกจากการค้าเพื่อดำรงดำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจและ รมว. มหาดไทย

]4
NA, FO 371 /129611, A.J. de La Mare to Tomlinson, 7 July 1957 เดอ ลาแมร์ ทฅ
องกฤษประจำสหรัJ1 ได้เข้าพบต้าหนาที่ระดับสูงขอ'!กระทรวงการค่างประเทศEm5ji ที่วอช้งคันถี, ซี.
ต่อมาเขาไดฑยงานท่าทีของเจาหน้าที่เท1รฐหกลบไปยงลอนดอน ; Sneilgruve to Foreign Office,
United States views about The Prospect in Thailand, 31 July 1957.

243
ชุนศึก ศักดินา แสะพญาอินทรี

ต่อไป หลังขากนั้นกลุ่มตำรวจก็เตรียมความพร้อมเพื่อตอบโต้ความเคลื่อนไหวจาก
กลุ่มทหารของจอมพลสฤษดทันท้ ' สถานทูตสหรัฐฯ รายงานในปลายเดือนสิงหาคม
ว่าจอมพล ป . พยายามแก้ป๋ญหาการคอร์รัปชั่นที่เกิดชันกายในรัฐบาลซึ่งส่งผลกระทบ
ให้เกิดความแตกแยกภายในรัฐบาล เนื่องจากเขาต้องการจำกัดอิทธิพลของจอมพล
สฤษดิ้และควบคุม พล . ต .อ . เผ่าเพื่อสร้างความมั่นคงภายในรัฐบาล 16
ในขณะเดืยวกันกลุ่มรอยัลสืสตีได้เปิดการรุกทางการเมียงต่อรัฐบาลจอมพลป .
ด้วยการอภิปรายทั่วไปในวันที่ 26-27 เดือนสิงหาคม 2500 ใดยพรรคฝ่ายค้านที่นำ
โดยพรรคประชาธิปัฅข์เป็นผู้เสนอญัตติ ข้อกล่าวหาหนึ่งคือ รัฐบาลจอมพล ป . ไม่
สามารถรักษากฎหมายบ้านเมือง เป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและมีการหมิ่น
พระบรมเดชานุภาพเกิดชัน (เปีดอภิปรพทั่วไปเมื่อ 29 ติ'งหาคม 2500 รวน 2 วัน 2 คืน
2501 ) โดยพรรคประชาธิป๋ตย์อ้างว่าหนังสือพิมพ์ของ พล . ต .อ . เผ่าลงข้อความโจมตี
สถาบันกษัตริย์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้เงินสนับสนุนพรรคประชาชิปืดย์
จำนวน 700,000 บาท และรัฐบาลเตรียมการจับกมพระองค์ ( รายงานการประชุมสภา
-
ผู้แทนราษฎรสมัยสามัญ 2506, 1023 35 ; ไทยน้อยและกมล 2503, 67-68 )

13
0202.1 , 1/13 เอกสารกระาารวงคมนาคม เรอง บันทึกทารประชุมคณ!;รัฐมนตรี ครั้งที่
หปีช , กึค
.
23/2500 (พ.ศ. 2500) ; สารแป , 21 ส่งหาคม 2500 ; NAHA RG 50 Entry Thailand 1955-195'ง
Box 3909, Bishop to Secretary of State, 20 August 1957 ; John c , Guthrie to SecrO '

tary of State, 3 December 1957 , มดีคณะรัฐมนตรีฌี่อ 14 สิงหาคม 2500 ให้รJั มนครึถอนตา


จากองคกรธุรกิจทั้งรัฐบาลและเอกชน โดยรัฐมนฅรืที่ลาออกมีดังนี้ จอมพลผิน ธุณหะวัณ รมา.
เทษดรแสะสหกรณ์ พส,ค , ต. ละม้าย อุทยานานนท รมช. เกษตรและสหกรณ์ หล.ต.อ. เผ่า ศรียานนค์
รมา. มหาดไทย พ, อ. หลวงบุรณกรรมใกวิท รมช . มหาคไทย พล.ท. บัญญัติ เทพห้สติน ณ อยูธยา
รมา, คมนาคม ลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการขององค์กรธุรกิจและบรบัทขอ:
รัฐกว่า 20 แห่ง นช้า , 31 สงทาคม 2500) หลังสิ้นสดระยะเวลาให้รัฐมนตรีลาออกจากการค้าแล้;
จอมพล ป . สั่งการให้รัฐมนตรีและการล้าแยกกนเด็ดขาด เขาเห็นว่าตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นตัวแทน
ประชาชน ไม่ควรถู่งเกี่ยวกับการคา และสั่งการให้ทุกหน่ายงานดำเนินการแกไขกฎระเปียบทกาทน
* « a
ft
ให้รัฐมนตรีต้องตำรงตำแหน่งประธาน ผู้อำนวยการในรัฐวิสาหกิจทั้งหมด เพื่อมิไห้รัฐมนตรียูงเกี่ย; I
ทบการค้าซิก ( สยามนทรๆ ไ กันยายน 2500) ธุรกิจของค่าฃราชครูไนกิจการอุตสาหกรรม การเงน
และการค้า มีมูลค์ารวม 266 ล้านบาท ส่วนธุรกิจของค่ายสี่เสาเทเวศน์ในอุตสาหกรรม การเงิน แสะ !
การค้า มีมูลค่ารวม 305.5 ล้านบาท ( Hewison 1989 , 82 ; ลังศิต 2526, 245-53, 262-68) . I
NARA, RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Bishop to Secretary of Stata
31 August 1957 ,
I

244
การก่อตัวชลง "ไตรภาคี"

สำหรับการรับมือความเคลื่อนไหวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ กลุ่มรอยัอ-
สิสต์ และจอมพลสฤษดของรัฐบาลจอมพล ป . นั้น เทพ โชติบุชิต หัวหน้าพรรค
เศรษฐกรชึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้าย เหนว่าจอมพลป. และพล.ต . อ. เผ่ามีแผนการโต้กลับ
"
ฝ่ายศักดินา’, ด้วยการสร้างพันธมิตรกับกลุ่มแรงงาน แต่ “จักรวรรดินิยมสหรัฐฯ”
คัดด้าน ทำให้รัฐบาลอยูไนภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก รัฐบาลและกลุ่มแรงงานจงติดต่อ
กันแบบ "ได้ดิน” เขาเห็นว่ากลุ่มรอยลลสต์ต้องการกลับไปสู่การปกครองที่พวกเขามี
อำนาจแบบเดิม โดยมีพรรคประชาจิปัตย์ไห้การสารับสนุน แม้พรรคประชาธิป๋ดย์
พยายามทำตนเป็นฝ่ายค้าน แต่ค้านเพื่อใครและทำสิ่งใด ต่อไปประขาขนก็อาจจะเ
( ชาวไพ , 29 สิงหาคม 2500) ต่อมาพล.ต.อ . เผ่าไต้ร่วมมือกับสมาชิกสภาผู้แทน
รานฎรจำนวน 12-14 คนที่มาจาทพรรคเศรนฐกรและเสรีประชาธปใตยซ์งเป็นกลุ่ม,ปรีดี
เตรียมการจัดตั้งพรรคการเมืองที่เป็น “สังคมนิยมปีกขวา" ให้การสนับสนุนรัฐบาล 7
,
นอกจากประสานงานสร้างพันธมิตรกับกลุ่มแรงงานและนักการเมืองฝ่ายซ้ายแล้ว
ในด้นเดือนกันยายน 2500 ก่อนที่รัฐบาลจอมพลป. จะถูกรัฐประหารพล.ต.อ. เผ่าได้หัน
ไปหาคณะราษฎรด้วยการชักชวนสมาชิกคณะราษฎรให้กลับนาสู่การเมืองไทยอีกครั้ง
โดยเชิญพล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ้ อดีตนายกรัฐมนตรี มาร่วมสนทนาเป็นการ
ส่วนตัว หลังการสนทนาครั้งนี้พล.ร.ต . ถวัลย์กล่าวว่า การพบกันดังกล่าวเป็นเรื่อง
ส่วนตัว ไม่อาจเปืดเผยได้ แต่ไม่ใช่เรื่องการค้า (ไทรพวน, 6 กันยายน 2500) จากนั้น
พล .ต.อ. เผ่าไต้เชิญให้พล.ร.ต. ถวัลย์ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของพรรคเสรีมนํงคศิลา
ความเคลื่อนไหวในการสร้างพันธมิตรกับคณะราษฎรของรัฐบาลนี้ จอมพล ป. เองก็
เคยกล่าวว่าเขาพยายามชักชวนพล.ร.ต. ถวัลย์ให้เข้าร่วมรัฐบาลของเขาหลายครั้งแล้ว 1*
.
ต่อมาจอมพล ป. และพล.ต.อ เผ่ามีแผนที่จะชัดตั้งพรรคการเมืองขนาดเล็กเพื่อทอน
กำลังทางการเมืองของกลุ่มรอย'ลลสต์และพรรคประชา!เป้ตย์ในสภาผู้แทนราษฎรลง
โดยจอมพล ป . ให้สัมภาษณ์ว่าเขาได้ชวนพล.ร.ต. ถวัลย์ และดิเรก ขัยนาม สมาชิก
คณะราษฎรมาเข้าร่วมพรรคเสรีมนังคศิลาด้วย ( สยามนิกร , 13 กันยายน 2500 )
. .
นอกจากนี้พล ด . อ เผ่ากล่าวถึงความพยายามพื่นความสัมพันธ์กับคณะราษฎรเพื่อ

17
NARA, RG 84 Thailand 1956- 1958 Entry UD 3267 Box 106, R . G . Cleveland to
Secretary of State , 4 September 1957 .
Is
NARA , RG 59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3911 , Bishop to Secretary
of State, 10 September 1957 .

245
ขนสืก ศักดินา และพญา 0นท รึ
'

ต่อด้านทลุ่มรอยัลลิสต์ว่า แม้เขาไม่ใช่สมาชิกคณะราษฎรแต่เขาสนับสนุนจอมพล ป.
ในการต่อต้านความเคลื่อนไหวทางการเฏิองของกลุ่มรอยัลลิสต์มานานหลายปี และ
เขามีบทบาทในฐานะผู้ประสานงานติดต่อระหว่างจอมพลป. กับปรีด 1 ' 1 ยงไปกว่านั้น
พล.ต.อ. เผ่ายังพยายามพิสูจน์ความบริสุทธี๋ในคดีสวรรคตให้กับปรีดีด้วย โดยเขาไต้
เปีดเผยกับสถานทูตสหรัฐฯ ว่า “รัฐบาลไม่มีหลักฐานที่เอาผิดกับนายปรีดีในคดีที่
เกี่ยวข้องกับการสวรรคตไต้” เขากล่าวว่าที่ผ่านมาปรีดียังคงติดต่อกับ พล.ร.ต. ถวัลย์
และติเรกอยู่เสมอ ปรีดีต้องการให้มีการพิจารณาคดีของเขาใหม่และต้องการให้รัฐบาล
ออกพระราชบัญญัติที่จะทำให้คดีนั้มีความคีบหน้าอีกครั้ง 20

ดังนั้น ประเด็นการรื้อvi นคดีสวรรคตขึ้นมาใหม่จึงเป็นจุดแดกหักระหว่าง


รัฐบาลจอมพล ป. กับสถาบันกษัตริย์ กลุ่มรอยัลลิสต์ และจอมพลสฤษดิ้ หลังจากมี
กระแสข่าวว่ารัฐบาลเตรียมการจับกุมพระมหากษัตริย์ในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจใน
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปลายเตือนสงหาคม ไม่กี่วันหลังจากนั้น ในวันที่
6 กันยายน 2500 หรือราว 10 วันก่อนการรัฐประหารจะเกิดขึ้น จอมพล ป. ปฏิเสธ
ข่าวเตรียมการจับกุนพระมหากษัตริย์ และในวันเดียวกันนั้นเอง จอมพลสฤษดได็
ประกาศลาออกจากการเป็นรองหัวหน้าพรรคเสริมนังคศิลาและกล่าวว่าเขา “ไม่อดทน
กับแผนการต่อต้านพระมหากษัตริย์ ,' ของจอมพล ป. และ พล .ต.อ. เผ่า21 ต่อมา
จอมพลสฤษดิ้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการประชุมของจอมพล 4 คนที่ร่วมตกลงกันที่จะ

n NARA, KG 84 Thailand 1956-1958 Entry UD 3267 Box 106, R .G . Cleveland to


Secretary of State , 4 September ใ 957 ; NARA , RG 59 Entry Thailand 1955 -
1959 Box 3909, Eric Kocher to Robertson , Summary of Conversation with Gener -
al Phao, 4 November 1957. I
20
NARA, RG 84 Thailand 1956-1958 Entry UD 3267 Box 106, R.G Cleveland I :.
Secretary of State, 4 September 1957, ทั้งนี้ ควรบันทกด้วยว่า ก่อนหน้าที่จอมพสสฤษดิ้จะ
ทำรัรประหารเมื่อวนที่ 16 ทนยาบน 2500 ไม่นาน จอมพลป, ได้ติดต่อกับปรืดีในขีนเมื่อ‘รอฟินคเ
1

สวรรคตขึ้นมาพิจารณาโหม่ โดยมีความคบหน้าเป็นรูปธรรมมากขึ้น จอมพลป มอบหมายให้สัท


,

พธโนาทย คนเท]ทของเขา เป็นผู้ดำเนินการฝากข้อความกงทนายความ 2 คน ซึ่งเป็นผู้รบผ๊ดชอน


คดีสวรรคตไห้กับปรืดี เดินทางไปพบใ J1ดึที่ชีนใน& คอนรงหาคม 2500 หลงจากคณะทนายคท
เดินทางกลบมาไทยไนต้น!ดอนกันยายน เพิยงสองสัปดาห์'หลังจากนี้นภีเกิดการรั;ฐประหาร (สมศัโ :
2544ข, 31-35, 78) . M
\
21 ข่าวพาณัซย์ . 6
-
กันยายน 2500 ; NARA* RG 59 Entry Thailand 1955 1959 Box 190%
John c. Guthrie to Secretary' of State, 3 December 1957.

246
กาวก่อตัวของ “ ไตรภาคี"

จับคุมพระมหากษัตริย์ และปฏิเสธความเฟินไปได้ที่รัฐบาลจะเชิญพล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรง -


นาวาสวัสดิ้ กลับมาร่วมงานไนรัฐบาลอีก ( ชาวไทย , 8 กันยายน 2500)2- สำหรับ
มลกระทบจากเรื่องที่ถูกเปิดเผยในสภาผู้แทนราษฎรที่ว่า ม . ร.ว. เสนีย์ ปราโมช และ
ควง อภัยวงฅ์ รับเงิน 700,000 บาทจากพระมหากษัตริย์เพื่อให้พรรคประชาธปัตย์ใช้
.
เป็นทุนทางการเมืองนั้น ส่งผลให้ม ร. ว . เสนีย์ต้องการลาออกจากรองหัวหน้าพรรค
แค่ควงในฐานะหัวหน้าพรรคไม่อนุญาต ในช่วงเวลาดังกล่าว หนังสือพิมพ ชาวไทย
อ้างรายงานข่าวจาก สเตรทไทนส์ ( Strait Times ) ว่าจอมพลสฤษคิ้เตรียมก่อการ
รัฐประหารโดยมีแผนให้ควงเป็นนายกรัฐมนตรี ( เรื่องเดียวกัน) 23
ค้นเดีอนกันยายน 2500 เมี่อการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างรัฐบาลจอมพลป.
และกลุ่มปรีดี กับสถาบันกษัตริย์ กลุ่มรอยัลลิสต์ และจอมพลสฤษด ใกล้ถึงจุด
แตกหักนั้น ดัลเลส รมว. ด่างประเทศสหรัฐฯ ใต้แสดงท่าท้ที่แตกต่างไปจากความ
ต้องการของบิชอป ทูตสหรัฐฯในไทย โดยดัลเลสมีบันทึกถึงป็ชอป ผู้เคยเรียกร้อง —
ให้สหรัฐฯทบทวนความช่วยเหลือทุกโครงการที่ให้กับไทยหากจอมพลสฤบดี้ก้าวขึ้น
มาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ดัลเลสมีได้ตอบสนองข้อเรียกร้องของมีชอปในประเด็น
ดังกล่าว ทว่ากลับเน้นประเด็นเสถียรภาพทางการเมืองของไทยเป็นสำคัญ ว่าบิชอป
ย่อมรู้ดีว่าสหรัฐฯ ต้องการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองในไทย

แด่รัฐบาลของจอมพล ป.ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสหรัฐฯได้ อีกทั้ง
รัฐบาลไทยต้องการถอนตัวออกจากซีโต้ และมีแนวโน้มที่ขิะเชื่อมความสัมพํนัธ็ใกล้ชิด
กันจีน นอกจากนี้ ดัลเลสได้ประเมินสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองในไทยว่า
มีความเป็นไปใด้ที่จอมพลสฤษตจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ครั้งนี24้

Tl
ไนช่วงเวลาดังกล่าว มีจอมพลในกองทัพไทยอยู่ 5 คน คอ จอมพล ป . พิบูลสงคราม จอมพล
ผัน ชุณหะ วัณ จอมพลเรือหลวงยุทธศาสตร์ไกคล จอมพลอากาศฟิน รณนภากาศ ฤทธาคนี และ
,

ขอมพลสฤษดึ้ ชนะรัชส์ท จากการเปิดเผยในการประชุมสภาผู้แทนฯในปลายเดือนสิงหาคม 2500 ถึง


การประชุม 4 จอมพล เพื อ
่ จั บ ภุ ม พระมหากหั ด,
รย์เ'เน จอมพลป . ฏิได้ฟ้าร่วมประชุมด้วย ดู รายงาน
การประชุมสกาผู้นทนราษฎร ( 2506, 1023- 35).
' ส
.ส. ของพรรคลทภูมิ นายทหาร ข้าราชการ พ่อค้าบางคน !ปพบจอมพลสฤษดิ้ที่บ้านสี่เสาเทเวศน์
1

ในช่วงเช้าวันนั้น โดยกลุ่มพ่อค้าจีนนั้นนำโดยสหัส มหาคุณ นายกสมาคมพ่อค้าจีน ( สยามรัฐ , 8


กันยายน 2500).
21
NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3913, Dulles to Bangkok ,
Possibility of Field Mashat Sarit 's Accession to Power, 3 September 1957 .

247
ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

จากนั้นสหรัฐฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศมาเยือน
ไทยเพื่อโน้มน้าวให้ไทยหันกลับสู่เล้นทางที่สทรัฐฯ ต้องการ ไนต้นเดีอนกันยายน 2500
คริสเตียน เอ , เฮอร์เทอร์ (Christian A. Hertor) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และ
เจนล้ พี, รัชาร์ด (James p. Richard) เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงการต่างประเทศ
สหรัฐฯ ไต้เดินทางมาสนทนากับพระมหากษัตริย์ไทย มีรายงานบันทึกการสนทนาใน
รันนั้นว่า นับเป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้ถกเถียงปัญหาการเมืองไทยกับเจ้าหน้าที่ระดับสูง
ที่มาจากสหรัฐฯ จากนั้นเฮอร์เทอรัใด้เข้าพบจอมพลป. โดยจอมพลป. พยายามอธิบาย
ถึงป้ญหาของรัฐบาลที่ได้รับแรงกดดันจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านและฝ่ายซ้าย ตลอด
จนความเปลี่ยนแปลงระหว่างประเทศหลายประการ เฮอร์เทอร์เพียงแด่รับฟ้งสิ่งที่
จอมพล ป. พรรณนา และยืนยันว่านโขบายต่างประเทศของสหรัฐฯ คือการต่อต้านจีน 25

จะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว สหรัฐฯ เลอกที่จะให้ความสำคัญกับสถาบันกษัตริย์


มากกว่าพยายามเข้าใจปัญหาของรัฐบาล
กลางเดือนกันยายน 2500 ไม่กี่วันก่อนการรัฐประหาร สถานทูตสหรัฐฯ รายงาน
ว่าจอมพลสฤบดและกลุ่มทหารมั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสถาบันกษัตริย์และ
กลุ่มรอยัลลิสต์ รวมถีงจัสแมคไทยด้วย สถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่าความมั่นใจดังกล่าว
1

ของกลุ่มทหารถีอเปีนจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้พวกเขายกระดับการต่อต้านรัฐบาลอย่าง
คับพลันด้วยการถอนตัวออกจากพรรคเสริมนังคสลา ชึ่งถีอเป็นการแยกตัวออกจาก
.
รัฐบาลจอมพลป อย่างชัดเจน นอกจากนี้ สถานทูตสหรัฐฯรายงานต่อไปอึกว่า ภาย
ใต้รัฐบาลจอมพลป. นั้น กลุ่มรอยัลลิสฅ์มีความรู้สึก “ขมขน*’ และเป็น “ปรปักษ์ ”
กับจอมพลป . ทำให้พวกเขาตัดสินใจให้การสนับสนนจอมพลสฤษดิ้ แม้ขณะนั้นพวก
เขาจะมองจอมพลสฤษดดิวยสายตาระแวดระวังเช่นกัน เนื่องจากจอมพลสฤษดิ้เป็น
£ ร /

พันธมิตรทางการเมืองกับพวกฝ่ายซ้ายและพวกนิยมคอมมิวนิสต์- ',

25 “ the Embassy in Thailand ( Bishop ) to the Department of State* 9 September


1957 , ” in Vo1.22 ( 1989, 930-31 ) ;
Foreign Relations of the United States 1955 - 1957
NAHA , RCi 59 General Records , Entry Thailand 1955 - 1959 Box 3909 , Dulles โว
Bangkok , 25 September 1957 . ผู้ด!้ ขนยังไม่พบหลักฐานบันทึกการสนทนาร;;หว่างเฮอร์เทรร์
กบพระองค์ อย่างไรก็ตาน ควรบันทึกด้วยว่าตอนาเฮอร์เทอรั!ด้เป็นรบว . ต่างประเทศไนรัฐบาลข &1
ประธานาธบดีไอเซนฮาาร์ต่อจากคักแใสที่ถึงแก่อสัญกรรมไป โดยเขาไต้ดำรงตำแหน่ง รมว . ตำ!
ประเทศไนช่วงที่พระบาทสมเด็ขพระเจาอยู่หัวเสดึจเย่อนสหรัฐฯในปี 2503 j
NARA , KG 59 Entry Thailand 1955- 1959 Box 3909, Bishop to Secretary of
State 11 September 1957 .
7 m

248
การก่อตัวชอง "ไตรภาคี”

ต่อมาในวันที่ 10 กันยายน เพียงหกวันก่อนการรัฐประหาร จอมพลสฤษดเปีด


เกมรุกทางการเมืองด้วยการดึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลจอมพลป. ให้ถอน
คัวจากการสนับสนุนรัฐบาลเพื่อทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ ส์งผลให้จอมพล ป. เรียก
ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 1 และ 2 ของพรรคเสรีมนังคศ์ลาที่งหมดเพื่อ
ยับยั้งการลาออกไปสังกัดพรรคสหภูมิของจอนพลสฤษดิ้ โดยจอมพล ป.ให้สัมภาษณ์
กับ สยามนิกร (12 กันยายน 2500) ว่า "ขอให้เล่นการเมืองกันอย่างเปิดเผย อย่า
ใช้กำลังทำลายกัน” ในวันเดียวกันนั้น สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่าจอมพลสฤษดี๋ไต้
เรียกประชุนกลุ่มทหารของเขาและประกาศสองยุทธวิธีในการโค่นล้มรัฐบาลจอมพลป.
วิธีแรกคือ กลุ่มทหารของเขาทังหมดจะลาออกจากส. ส. ประเภท 2 เพีอกดดันรัฐบาล
ส่วนวิธที่สองนั้น หากมีความจำเป็น เขาจะใช้กำลังกำจ้ด พล.ต.อ. เผ่า- 7 ทันทีทีจอมพล
สฤษด็ประกาศทำทีแข็งกร้าวต่อรัฐบาล ควง อภัยวงศ์ แกนนำกลุ่มรอยัลลิสต์และหัวหน้า
พรรฅประชาชิป๋ดย์ ก็ประกาศสนับสนุนการลาออกจาก ส. ส.ประเภท 2 ของกลุ่มทหาร
1

เดยกล่าวว่าการกระทำดังกล่าวของทหารเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลต้องเผชิญ
กับป็ญหาเสถียรกาพทางการเมืองอย่างรุนแรง หนังสือพิมพ์ขณะนั้นรายงานว่า พรรค
ประชา!ป๋ตย่ไต้เรียกประชุมลับเตรียมความพร้อมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน
20 คน โดยไม่มิการแถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมลับครั้งนี้ ( สยามรัฐ , 12 กันยายน
2500 ; สยามรัฐ , 13 กันยายน 2500 ; สยามนิกร , 14 กันยายน 2500)
สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่า จอมพลสฤษดมั่นไจในความเป็นต่อในการต่อสู้กับ
รัฐบาลจอมพลป. จึงยกระดับการกดดันใปสู่การ “ข่มขู"่ ให้นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี
และพล.ต.อ. เผ่าลาออกภายในวันที่ 13 กันยายน 2500 แต่จอมพลป. ปฏิเสธคำขู่นั้น
และทำแค่ปรับคณะรัฐมนตรีเท่านั้น หลังจากนั้นจอมพลสฤษดึ้ได้วิจารณ์การบริหาร
งานของรัฐบาล โดยนำประเด็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและประเด็นอื่นๆที่พรรค
ประชาธิป้ตยัใด้เคยเปิดอภิปรายในสภาฯ เพื่อทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลให้กลับ
มาเป็นประเด็นสาธารณะอีกครั้ง (สารเสรี, 14 กันยายน 2500 ; ไทรายวัน, 14 กันยายน
2500) สถานทูตสหรัฐฯได้รับรายงานข่าวจากแหล่งข่าวในกองทัพไทยว่าจอมพลสฤษด
ยังไม่ตัดสินใจรัฐประหาร แต่หน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้การสั่งการของกลุ่มทหารมีการ

27
สยามนิทร, 12 กันยายน 2500 ; ข่าวพาฌิขย์ , 12 กันยายน 2500 ; NARA, KG 59 Entry
Thailand 1955-1959 Box 3909, John c. Guthrie to Secretary of State, 3 December
1957.

249
ชุนคิก ศักดินา และพญาอืนทรี

เตรียมความพร้อมแล้ว 2'' ตอนบ่ายของวันเดียวกันim กลุ่มตำรวจของพล.ต.อ. เผ่าได้


เตรียมพร้อมรับมือกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มทหารด้วยการส่งตำรวจนอกเครี่องแบบ
ไปเฝืาสังเกตการณ์ที่หน้ากองพลที่ 1 รวมทั้งเตรียมเรือและเฮลิคอปเตอร์เพี่อปฏิบัติ
การต่อต้านกลุ่มทหาร ไนขณะที่กลุ่มทหารของจอมพลสฤษดมีความเคลื่อนไหวอย่าง
คึกคัก พวกเขาประชุมกันที่หอประชุมกองทัพภาคที่ 1 ในครของวันเดียวกันนั้นเอง
การประชุมดังกล่าวนำโดยพล.ท. ประภาส จารูเสถียร สมาชิกฅณะทหารของค่าย
สี่เสาเทเวศน์ ซ์งต้องการเรียกร้องให้พล.ต.อ. เผ่าลาออกจากทุกตำแหน่ง แต่พล.จ.
1

ชาติชาย ชุณหะวัณ สมาชิกของค่ายราชครู ผู้เป็นบุตรของจอมพลผิน ชุฌหะวัณ


และน้องภรรยาของ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ โต้แย้งในที่ประชุมว่า การยื่นคำขาดต่อ
รัฐบาลเช่นนี้คือการกบฏ (ส'?รเส?, 14 กันยายน 2500 ; ไทรพวัน , 14 กันยาขน
2500 ; ผิน 2513, 109) 29 อย่างไรก็ตาม คำคัดค้านจากพล.จ. ชาติชายไม่สามารถ
ทำไห้ความต้องการของค่ายสี่เสาเทเวศน์ยุติลงได้ หลังจากนั้นจอมพลสฤษดี๋และกลุ่ม
ทหารมิใด้เชิญพล.จ. ชาติชายมาร่วมประชุมหรือไห้รับรู้ปฏิบัติการของพวกเขาอีกต่อไป
บิชอป ทูตสหรัฐค รายงานถึงสถานการณ์ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนการล่มสลายของ
รัฐบาลจอมพล ป. ว่าจอมพลสฤษตและกลุ่มรอยัลลิสด์มีแผนที่เตรียมการมาเป็น
อย่างดี3" พร้อมกันนั้นในวันที่ 13 กันยายน 2500 กลุ่มรอยัลสืสตำาเคลื่อนไหวที่ท้อง
สนามหลวงเพือสร้างกระแสความเกลียดซังรัฐบาลจอมพลป. และพล.ต.อ. เผ่าคู่ขนาน

28
NARA, KG 59 Entry Thailand 1955- 1959 Box 3909, Bishop to Secretary of State.
11 September 1957 . 1
29
ภายในค่ายสี่เสาเททศน์นั้น มึนายทหารบางคนยังคงภักดีกับค่ายราชครูอยู่ แต่ไม่กล้าเปิดเผย
ตัว นายทหารคนนี้คาดว่าเป็นพล .ต . กฤษณ์ สีวะรา เขาได้ส่งจดหมายล้บถึงพล. ด. 0 . เผ่า ศรขานนท์
ว่า “กับที่สุด กราบพี่เผ่าที่เคารพ กระผมกราบขอร้ชิง 2 ขอ ใ อย่าลาออกจากอธิบดีตำรวจเปีนอน
ขาค 2 อย่าสาออกจากเลขาธิการคณะรัฐประหาร และพรรคเสรีมบังคศิลา พี่เผ่ากรุณาเชื่อผม พาก
เด็กๆที่เป็นสมาชิกรป . [ คณะรัฐประหาร ] ยังเคารพรักพี่เผ่าอยู่ กระผมสนับสบุนพื่เผ่าแน่นอน
พ .ชิ .เกรียงโทร [อัดตะบันทน์ ] ที่มาเป็นผบ . ร . 1 รป็ .คนใหม่กเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผม และเป็น
เด็กของคุณป้าผิน กระผมเป็นคนเสนอเข้ามาเอง ฉะนั้น กระผมควบคุมได้ กรุณาอคทน การฌืฃง
ไทยเป็นอย่างนี้เอง และกระผมทราบขอรัองพี่เผ่าอย่าดื่มมากนัก เพราะสุขภาพจะทรุดโทรมและขา?
ความรอบคอบ ที่กราบมานี้ด้วยความเคารพและหวงดีจรงๆ เคารพ ก . " (เสลึยร 2541, 143- 44 ).
า° NARA , KG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Bishop to Secretary of State.

13 September 1957. m

250
การก่อตัวของ ไตวภาคี'

กันไปด้วย โดยกิตติศักดิ้ ศรีอำไพ นักไยต์ปาร้คที่พรรคประชาธิป้ตย์ให้การสนับสนุน


เด้ขึ้นเวทีปราศรัยขับไล่จอมพลป. และพล.ต.อ. เผ่า
ไม่เพียงเท่านั้น กลุ่มฝ่ายช้ายได้กลายเป็นแนวร่วมมุมกลับให้กับจอมพลสฤษด
และกลุ่มรอย้'ลลิสต์ด้วย ชวน รัตนวราหะ นักไฮฅ์ปาร์คจากพรรคแนวร่วมสังคมนิยม
ใด้ปราศรัยสนับสนุนจอมพลสฤษดิ้และวิจารณ์รัฐบาลจนทำให้ประชาชนที่มารับพีงการ
ปราศรัยที่สนามหลวงเคลื่อนตัวไปล้อมทำเนียบรัฐบาล เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจ
กับฝูงชน เมื่อพวกเขาเข้าไปในทำเนียบได้ มีการร้องตะโกนว่า “ประชาชนชนะแลัว’’
•‘ทำเนียบของเรา’’ “นี่คือบ้านของเรา’’ " เอาเผ่าไปแขวนคอ” “ จอมพล ป. ออกไป
สฤษดจงมาหาประชาชน" จากนั้นพวกเขาได้เดินทางไปพบจอมพลสฤษคี๋ที่บ้านสี่เสา
เทเวศน์ ( ทิมพ !ทย , 16 กันยายน 2500 ; สาร( ตรี , 16 กันยายน 2500) สถานทูต
สหรัฐฯประเมินว่าจอมพลสฤษดี๋ได้รับความนิยมทางการเมืองมากกว่าพล .ต . อ. เผ่า
เนื่องจากเขาได้ดำเนินการสร้างพันธมิตรทางการเมืองกับกลุ่มรอยัลลิสต์และพวกฝ่าย
ช้ายมาก่อนหน้านี้แล้ว3'
ชิากการเมืองสามเส้าสู่การเมืองสองขัว
นับตั้งแต่ราวกลางทศวรรษ 2490 ความขัดแย้งทางการเมืองไทยตั้งอยู่บนการ
แข่งขันทางการเมืองระหว่างจอมพล ป. กับกลุ่มตำรวจและกลุ่มทหาร หรือที่เรียกกัน
.
ว่าการเมืองสามเส้า โดยทั้งพล .ต.อ เผ่า ผู้นำกลุ่มตำรวจ และจอมพลสฤษดิ้ ผู้นำ
กลุ่มทหาร ต่างได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐฯซึ่งยิ่งทำให้ทั้งสองขุนศึก
มีความเข้มแข็งมากขึ้น พร้อม ๆ กับความขัดแย้งแข่งขันระหว่างกันก็เพิ่มสูงตามไปด้วย
ในตอนแรก พล.ต.อ. เผ่าแสดงท่าทีทะเยอทะยานทางการเมืองทำให้จอมพล ป.ไม่ไว้
วางไจและร่วมมือกับจอมพลสฤบดพยายามทำลายอำนาจทางการเมืองของพล.ต.อ.
เผ่าลง อย่างไรก็ตาม ต่อมาเมื่อสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์ห้าทายอำนาจทาง
การเมืองของรัฐบาล ประกอบกับจอมพถสฤษดิ้แสวงหาการสนับสนุนจากกลุ่มเหล่านี้
จอมพล ป. ก็ษันกลับมาร่วมมือกับ พล.ต.อ. เผ่ารึ๋อฟันความสัมพันธ์กับกลุ่มปรีดีเพื่อ
ต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม ส่ งผลให้ความขัดแย้งทางการเมืองไทยไนช่วงปลายทศวรรษ
2490 กลายเป็นการต่อสู้ระหว่างฟากการเมืองสองขั้ว ฟากหนึ่งคือ รัฐบาลจอมพล ป .
กลุ่มตำรวจ และกลุ่มปรืดี กับอีกฟากคือ สถาบันกษัตริย์ กลุ่มรอยัลลิสต์ และกลุ่ม

:; 1
NARA. KG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909s John c. Guthrie to Secretary
of State, 3 December 1957.

251
ขุนศึก สกดินา และพญารนทวิ

ทหาร ทั้ง‘นสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงเดือนสุดท้ายของรัฐบาล
จอมพล ป. นั้น ลรนดอนไทiJtr ( London Times) วิเคราะห์ว่า วิกฤตการณ์การเมือง
ของไทยเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างสถาบันกษัตริย์กับรัฐบาลจอมพลป. เนื่องจาก
จอมพล ป. สนับสนุนให้ปรืดีกลับจากจีนมาไทยเพื่อรึ้อพื่นคดีสวรรคตขึ้นใหม่ 32
สองวันก่อนความขัดแย้งระหว่างสองขั้วการเมืองจะเดินไปส่จุดแตกหักด้วย
การรัฐประหาร สถานทูตสหรัฐฯ ได้รายงานสถานการณ์การเมืองของไทยขณะนั้นว่า
จอมพล ป. ในฐานะผู้นำรัฐบาลได้เขาเสาพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 15 กันยายนเพื่อ
ขอร้องให้พระองค!กล่เกลี่ยความขัดแย้งของสองขุนศึกเพื่อรักษาเสถียรภาพทาง
,

การเมืองไห้กับรัฐบาลของเขาต่อไป สถานทูตสหรัฐฯ รายงานต่อไปว่า พระองค์ปฏิเสธ


ข้อเสนอดังกล่าวของจอมพลป. ต่อมาพล.ต.อ. เผ่าได้รายงานข่าวให้จอมพลป. ทราบ
ว่าจอมพลสฤษดใด้เคลื่อนย้ายหน่วยทหารเช้ามาภายในและรอบๆกรุงเทพฯ เพื่อ
เตรียมการรัฐประหารแล้ว จอมพล ป. ไม่มืฐานกำลังอื่นใดในการต่อต้านการรัฐประหาร
นอกจากการพึ่งกำลังตำรวจของ พล, ต.อ. เผ่า ในเย็นวันนั้นจอนพล ป. จึงสั่งการให้
พล.ต , อ. เผ่าเตรียมการขับกุมจอมพลสฤษดิ้และกลุ่มทหารด้วยข้อหากบฎ และไน
ตลอดคืนนั้น พล.ต.อ. เผ่าได้สั่งการให้เคลื่อนกำลังตำรวจพลร่มและตำรวจตระเวน
ชายแดนอย่างลับ ๆ เพือเตรียมการต่อต้านการรัฐประหารทีจะเกิดขึ้น33
ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดในกรุงเทพฯ สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่ามืความ
เป็นไปได้ที่จะเกิดความรุนแรงจากการปะทะกันของกองกำลังทั้งสองฝ่าย โดยท่าทีของ
จอมพลสฤษคึ๋และกลุ่มทหารไม่ต้องการประใ!ประนอมกับรัฐบาลจอมพล ป. อีกต่อไป
ในขณะที่รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเสริมนังคศึลาสนับส'นนไห้
พล.ต.อ. เผ่าขับจอมพลสฤษดและกลุ่มทหารด้วยข้อหากบฏ กลุ่มรอย้ลลิสต์และพรรค
ประชาธิปัตย์ก็ผลักดันให้จอมพลสฤษคิ้เดินหน้าแผนการรัฐประหารขับไล่รัฐบาลต่อไป3 '

12
หจช. กด 80/189 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง สรุปหัวข้อข่าวส์าคัญจากรอยเตอร์
(พ .ศ. 2500),
33 NARA, RG 59 Entry Thailand 1955- 1959 Box 3909, Eric Kocher to Robertson.
Summary of Conversation with General Phao, 4 November 1957 ; John c. Guthrie
to Secretary of State, 3 December 1957 .
34 NARA , KG 59 Entry Thailand 1955 - 1959 Box 3909, Bishop to Secretary of
I
State, 15 September 1957 .

252
กาวก่อฅวของ “ไตวภาคี ”

ในวันสุดท้ายของรัฐบาลจอมพล ป. นัน จอมพลสฤนด็เรียกร้องให้จอมพล ป.


มาพบเขาและกลุ่มทหารที่หอประชุมกองทัพบกในเช้าวันที่ 16 กันยายน 2500 แต่
จอมพลป. ปฏิเสธ เนื่องจากรู้ว่าขอมพลสฤษสัมีแผนที่จะขับตัวเขา35 เมื่อจอมพลป.
ไม่หลงกล พากเขาจึงต้องเดินทางมาพบจอมพล ป. ที่ทำเนียบรัฐบาลเอง พร้อมยืน
คำขาดให้รัฐบาลทั้งคณะลาออก แต่จอมพลป. ในฐานะนายกรัฐมนตรีขอเลื่อนการให้
.
คำตอบแก่กลุ่มทหารออกไป ในวันฐ่งขึ้นจอมพล ป ไปเช้าเฝืาพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู,หั่ วอีกครั้ง [ดยจอมพลสฤษดึ๋ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้าเฝืาดังกล่าวว่า พระองค์
จะให้ข้อคิดดีๆแก่จอมพลปำ5 เอกสารทั้งของไทยและสหรัฐฯให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
การเช้าเผ่าครั้งสำคัญก่อนการรัฐประหารจะเกิดขึ้นว่า จอมพลป. ได้ขอให้มีพระบรม
ราชโองการปลดจอมพลสฤษดี้ออกจากผู้บัญชาการทหารบก เนื่องจากเขายื่นคำขู่ให้
รัฐบาลลาออก ทั้งนี้เอกสารของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รายงานเรื่องราว
ดังกล่าวต่อรักษาการ รมว. ต่างประเทศสหรัฐฯว่า พระมหากษัตรียํไทยมีพระราชดำรัส
ให้จอมพล ป . ปรึกษาจอมพลสฤษดและกลุ่มทหารเพื่อการตัดสินใจทางการเมือง
จากนั้นทรงมีพระบรมราชวินิจชัยให้จอมพล ป. ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แต่จอมพล ป. ปฏิเสธ เนื่องจากเขาเห็นว่าพระบรมราชวินิจชัยตามวิธีการที่พระองค์
เสนอแก่เขานั้นไม่ใช่วิถีทางตามรัฐธรรมนูญ17 หลังจากเข้าเสาฯ จอมพล ป. ออกมา
ด้วยใบหน้าเคร่งขรึม นักข่าวสอบถามเขาถึงผลการเข้าเสาดังกล่าว แม้เขาปฏิเสธที่จะ
ให้รายละเอียดแก่นักข่าว แต่ดูเหมือนว่าเขาประเมินได้แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาล
ของเขา ซึงคัดสินใจที่จะต่อต้านการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ้ทันที พล.ต.อ. เผ่า
และกลุ่มตำรวจได้เข้าประชุมเตรียมแผนการกับจอมพล ป . จากนั้นเขาเรียกประชุม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ของพรรคเสรีมนังคสิลา โดยมีพล.ต.อ . เผ่า
ศรียานนท์ จอมพลผิน ชุฌหะวัณ จอมพลอากาศข้น รณนภากาศ ฤทธาคนี และ

35
NARA. RG 59 Entry Thailand 1955- 1959 Box 3909, John c Guthrie to Secretary
of State, 3 December 1957 .
NARA, RG 59 Entry Thailand 1955- 1959 Box 3909, Bishop to Secretary of State ,
16 September 1957 ; ข่าวพ!ฌชย , 17 ทนยาขน 2500 ; {ทรเตรึ , 17 กันขาขน 2500 ; mามรึฐ' ,
'

17 กันขาขน 2500.
NARA, RG 59 Entry Thailand 1955- 1959 Box 3909, Howard p. Jones to Acting
Secretary' of State ( Murphy ), 17 September 1957 ; ชาวไทย , 18 กันยายน 2500 ; “คา
^
สัมภาษณ์ของพล .ท . สุรจิต ขา ศรปี แกนน่าคณะปฏีวัต;ิ , 1น พยงค์ อเฌฤกษ ( 2502, 434).
,

253
ขุนศึก ศักดินา นละพญาอิน'ทวี

จอมพลเรือหลวงยุทธศาสตร์โกศล เข้าร่วมประชุมด้วย {สยานนิกร 17 กันยายน ,


2500 ; สารเส่รื , 17 สิงหาคม 2500 ; อนุสร(นในงานพระราชทานทพงศพ พลเรือโท
ประสงค์ พิบูลสงคราม 2546, 129) ในอีกฟากหนึ่ง จอมพลสฤษดี้และกลุ่มทหารได้
จัดประชุมกันที่กองพล 1 ในเวลา 15.00 น. พวกเขาปรึกษากันถึงแผนการตอบโต้
รัฐบาลที่สนับสมุนให้พล.ต.อ. เผ่าและกลุ่มตำรวจเตรียมการขับภุมพวกเขาในความผิด
ฐานกบฎ3*
เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. เตรียมการต่อต้านการรัฐประหารด้วยการขอมติจากที่
ประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ พล.ต . อ. เผ่าเสนอให้ใช้ตำรวจพลร่มและตำรวจตระทน
ชายแดนเป็นกำลังหลัก อย่างไรก็ตาม กลุ่มทหารสามารถจับรหัสวิทยุของกลุ่มตำรวจ
ได้และล่วงรู้ว่าพล.ต.อ. เผ่าสั่งการให้ตำรวจตระเวนชายแดนทุกค่ายและหน่วยพลร่ม
ทุกหน่วยเตรียมพร้อมรอพิงคำสั่ง สถานทูตสหรัฐฯ ได้รับวายงานจากแหล่งข่าวที่เป็น
นายทหารไทยว่า จอมพลสฤษดิ้และกลุ่มทหารล่วงรู้แผนการต่าง ๆ ของรัฐบาลและกลุ่ม
ตำรวจแล้ว เพียงแต่กลุ่มทหารรอการตัดสินใจจากจอมพลสฤษดิ้เท่านั้น59 ในกลางดึก
ของวันที่ 16 กันยายน เวลาราว 22.00 น. ที่ค่ายนเรศวร หัวหิน ซึ่งเป็นฐานของ
ตำรวจพลร่ม กองกำลังสำคัญของกลุ่มตำรวจนั้น ได้มีความเคลื่อนไหวเตรียมความ
พร้อม โดยรถแลนด์ไรทอร์ของตำรวจได้โบกธงสิเหลือง ส่งสัญญาณระดมพถที่หน้า
ตลาดฉัตรชัย มีการแจกอาวุธป็นกลประจำตัว เพิ่มเวรยามรักษาค่าย และรอพิงคำสั่ง
ให้ลงมือปฏิบัติการ (นคร 2530, 6)
สถานทูตสหรัฐฯ รายงานฉากสุดท้ายของรัฐบาลจอมพล ป. เมื่อเวลา 23.00 น.
ของวันที่ 16 กันยายนว่า จอมพลสฤษดิ้อาจก่อการรัฐประหารขึ้น โดยกลุ่มทหารใด้
สั่งการให้หน่วยทหารต่างๆเตรียมความพร้อมรอพิงคำสั่งเพื่อตอบโต้แผนการใช้กำลัง
ของพล.ต.อ. เผ่า โดยจอมพลสฤษดี้ได้รับการคุ้มกันความปลอดภัยอย่างแน่นหนาจา r

!s
พยงคํ ( 2502, 413) . การลาออกของ ส.ส. ประเภท 2 กลุ่มทหารของจอมพลสกุษส์ทำป็5
พล.ต.อ. เผ่าในฐานะเลขาธิการพรรคเสรีมนังคสีลาไม่พอไจมาก โคยพ.ส. วิเชียร ศรีมันตร ส.ส.
ปราจีนบุรี ไค้รวมสนับส'แนให้รัฐบาลจับกุม ส.ส. ประเภท 2 ซึ่งเป็นกลุ่มทหารฐานกบฎในรา*
อาณาจักร ในสถานการณ์นี้ พ.ต.อ. พุฒ บูรณสมภพ ได้สั่งการไห้ตำรวจเตรียมกำลังให้พร้อมทั;้
อาวุธและกระสุนเพื่อต่อค้านการรัฐประหาร (พุฒ 2532, 175) .
39 NARA, RG 59 Entry Thailand 1955
1
-1959 Box 3909, Bishop to Secretary of
-
State, 20 September 1957 ; พยงค์ ( 2502, 413 14). m

254
กาวก่อตัวของ “ไตรภาคี"

ททารเน็องจากเขากลัวถูกลอบสังหาร สถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่าสถานการณ์การเผชิญ


หน้าดังกล่าวนั้นพล.ต.อ. เผ่ารู้ดีว่าการต่อต้านการรัฐประหารของจอมพลสฤษดเป็น
เดิมพันที่เขาไม่มีอะไรจะเสียอีกต่อไป เนื่องจากกำลังตำรวจของเขานั้นเทียบกับกำลัง
ของกลุ่มทหารไม่ได้4"
กลางดกก่อนการรัฐประหารชะเริ่มต้นขน หนังสือหิมหํไทยและรายงานทางการ
ทูตของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ บันทึกเหตุการณ์สำคัญดังกล่าวไว้ว่า จอมพล
สฤษดิ้ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิฅต็ขจร ได้เช้าเฟิาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พร้อมกับร่างพระบรมราชโองการที่ประกาศแต่งตั้งให้จอมพล
สฤษดิ้เป็นผู้รักหาพระนครฝ่ายทหาร โดยจอมพลสฤษดใด้อธิบายเหตุผลและความ
จำเป็นให้พระองค์ทรงทราบ หลังจากที่พระองค์รับฟ้งการรายงานจากจอมพลสฤษดิ้
แล้วเสร็จ รายงานทางการทูตของสหรัฐฯ ที่รับทราบรายละเอียดจากพล , จ. วัลลภ
โรจนวิสุทธิ้ ซึ่งได้บันทึกเรื่องราวนี้ว่าพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสกับจอมพลสฤษด
หัวหน้าคณะปฏิวัติว่า
You don ’ t have to explain things. 1 know . Give me the Decrees and
let me sign them . ] have only one thing to say to you : From now on
don't do the thing you don't want the others to do. 41
จากนั้นจอมพลสฤษดิ้ได้กลับไปที่กองบัญชาการและแจ้งพระราชดำรัสดังกล่าว
ไห้กลุ่มทหารทราบ เมธเวลา 23.00 น. คณะปฏิวัติสงการให้ทหารออกยึดจุดสำคัญ
ในกรุงเทพฯ และธนบุรี แล้วการรัฐประหารครั้งสำคัญก็ได้เรื่มต้นขึ้นไนเวลานั้นเอง
(ล'ว?เส'รี, 18 กันยายน 2500)
ฌี่อกำลังของกลุ่มทหารปะทะกับกลุ่มตำรวจที่สนับสบุนรัฐบาลจอมพล ป.
ส่งผลให้ตำรวจเสียชีวิต 8 คน และทหาร 1 คน (นคร 2530, 6) 4^ ชัดเจนว่าแผนการ

40 NARA , RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Bishop to Secretary of


State, 16 September 1957 ,

41 NARA, RG 59 Entry
' Thailand 1955- 1959 Box 3909 , Memorandum of Conver-
sation Brigadier General Wallop Rojariawisut , Colonel Edward Lansdale and
Kenneth T. Young, 24 October 1957.
4 Ibid . จากหลักฐานที่รวบรวมใดั พบว่าฌี่อทหาฟูโจมป้อมตำรวจที่มักกะลัน

ทหารได้ยงตำรวจ

255
ชุนศึก ศกดินา และพญาอันทรี

ต่อต้านการรัฐประหารของรัฐบาลและกลุ่มตำรวจไม่อาจหยุดยั้งการรัฐประหารครั้งนี้ได้
ต่อมากสุ่มทหารสามารถยึดวังปารุสก์ฯ ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการของกสุ่นตำรวจและยึด
รถเกราะของตำรวจได้ 40 คัน ({ท?เสวี, 17 กันยายน 2500 ; สมบูรณ์ 2500, 22)
ในกลางดึกคืนนั้นเอง พล.ต . อ . เผ่าและะกลุ่มตำรวจได้เข้ามอบตัวกับคณะปฏิวัติ ต่อมา
เขาและพวกถูกส์งตัวออกนอกประเทศ ส่วนจอมพล ป . ได้หลบหนีการรัฐประหารออก
จากกรุงเทพฯ ไปยังชายแดนไทย -กัมพูชาที่จังหวัดดราด 4 " และแล้วการรัฐiJ ระหาร
2500 ครั้งนี้กปิดฉากผู!้ เาคนสุดท้ายที่มาจากคณะราษฎร ผู้เคยทำการเปลี่ยนแปลง
การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย และนำไปสู่
การเริ่มต้นของ “พันธมิตรใหม่ ” ระหว่างกองท้พและสถาบันกษัตริย์ กับสหรัฐฯ หรือ
กำเนิด “ ไตรภาคี” (The Tripartite) ขนไนการเมืองไทย
กล่าวใดยสรุป ในช่วงเวลาตังกล่าวสหรัฐฯ มีนโยบายต่อไทยทั้งด้านการทหาร
และเศรษฐกิจ โดยสหรัฐฯต้องการใหไทยเป็นฐานปฏิบัติการทางการทหารและสงคราม
จิตวิทยาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ต้ ตลอดจนต้องการผลักดันให้ไทยเปิดท
การล้าเสรี เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของไทย และให้ไทยเป็ดการลงทุนจากต่าง
ประเทศควบคู่ไปกับการต่อต้านคอมมิวนิสต์ร่วมกับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในสายดา
ของสหรัฐฯการดำเนินงานในช่วงท้ายของรัฐบาลจอมพลป. นั้น รัฐบาลไทยพยายาม
ถอยห่างออกจากสหรัฐฯ แต่กลับพยายามเปิดไมตรีและมึการล้ากับจีน รวมถึงเปิดรับ
วัฒนธรรมจนด้วย สหรัฐฯ จีงเห็นว่ารัฐบาลจอมพล ป . มีความย่อหย่อนในการดำเนิน
การต่อต้านคอมมิวนิสต์ อีกทั้งการที่รัฐบาลพยายามนำปรีดีกลับจากจีนมาไทยเพื่อ
ร้อvi นคดีสวรรคตและต่อต้านการเคลื่อนไหวของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์นั้น
ยิ่งไม่ตอบสนองนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่ง ปิต้องการให้ไทยมีความสัมพันธ์กับจีน แด่

ตาย 2 คน และบริเวณตู้ยามที่ราชวัตร ทหารได้ไซ้ดานปลายปืนฟ้นพลตำรวจทองหล่อ ศรกระจ่า!


เสียชีวิต (สมบูรณ์ 2500, 21 ; พิมพ์ไทย , 19 กันยายน 2500).
43 หลังพ้นจากอำนาจด้วยการรัฐประหาร 2500 ที่เกิตจาก “ ไตรภาคี " จอมพลป . พำนักที่

พนมเปญ กัมพูชา ต่อมาเขาเดินทางไปสหรัฐฯโดยหวังว่าจะใช้ชีวิตบั้นปลายที่นั่น หลังจากนั้น !ว'


อุปสมบทที่พุทธคอา อินเดีย ควรบันทึกด้วยว่า กายหลังรัฐบาลของเขาถกรัฐประหารไปแล้วระระ
หนง มีคณะทูตจากกลุ่มประเทศแองโกลแชกซอนเข้าพบเขาและเสนอว่าชะสนับสนุนให้เขากลัฆรุ
อำนาจอิกครั้ง แต่เขาปฏิเสธการสนับสนุนดังกล่าว จากนั้นเขาตัดสินใจณํ๋ายทางการเมืองอย่างถาวร
ไนญี่ปุ่นแทนที่จะเปืนสหรัฐฯตามที่ตั้งไจไวในช่วงแรก เขาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 11 มิถุน tว!
I
'

2507 ที่ญี่ปุ่น (สัมภาษณ์ นิตย์ พิบูลสงคราม, 28 กุมภาพันธ์ 2551 )

256
การก่อคัวขอ'ว “ ไตาภาดี*

‘ วงการสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ให้มีความสำคัญในการดำเนินสงครามชิตวิทยาไนไทย
นอกจาทน รฐบาลขณะนั้นได้สูญเสียความน่าเชื่อถึอจากสาธารณชนเนื่องจากปัญหา
ซี
^

ก ไรทุจริตเลือกตั้งในต้นปี 2500 รวนทั้งรัฐบาลใม่สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมือง


อามที่สหรัฐฯ ต้องการได้ ทำให้สุดท้ายแล้วสหรัฐฯ ตัดสินใจให้การสนับสนุนกลุ่มผู้าภํ
ใหม่ที่นิยมสหรัฐฯ และเป็นที่ชื่นชอบของสาธารณชนคนไทย เพื่อให้ใทยดำเนินการ
ดามนโยบายของสหรัฐฯ ต่อไปในช่วงสงครามเย็นที่กำลังทวิความฐนแรงในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บนเส้นทางของ “ ไตรภาคี” กับภาวะกึ่งอาณานิคม


วันรุ่งขนหลังการรัฐประหาร (17 กันยายน) จอมพลสฤษดิ้ให้สัมภาษณ์ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง “พอพระห้ย ” (เช้า, 18 กันยายน 2500) สถานทูต
สหรัฐฯ รายงานว่าตัวแทนของคณะปฏิวัติซึ่งประกอบด้วยกลุ่มรอยัลลิต์และนายทหาร
เช่น พระยาศรีวิสารวาจา พระยาอภิบาลราชไมตรี ( ต่อม บุนนาค ) พล.ต. อำนวย
โชยโรจน์ และพ.อ. เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ได้มาแจ้งข่าวการรัฐประหารให้สถานทูตสหรัฐฯ
และอังกฤษทราบ บิชอป ทูตสหรัฐฯ สอบถามตัวแทนคณะใ]ฏิวัดีว่า พระมหากษัตริย์
ของไทยทรงยอมรับการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลจอมพลป. หรือไม่ พระยาศรวสาร-
าาจา องคมนตรีและหัวหน้าตัวแทน ตอบว่าพระองค์ทรงยอมรับการรัฐประหารและ
1,
ทรงแต่งตั้งให้จอมพลสฤษด หัวหน้าคณะปฏิวัติ เป็นผู้รักษาพระนครแล้ว ต่อมา '

พระองค์ทรงเรียกจอมพลสฤษดเข้า tpn ตอนเที่ยงคืนในวันเดียวกันเพื่อรับทราบ


สถานการณ์ จอมพลสฤษด!ด้รายงานถึงความสำเร็จในการรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป.
ก่อนที่เขาจะถวายบังคมลานั้น สารเสรี รายงานข่าวว่า พระองค์ได้มีพระราชดำรัสกับ
จอมพลสฤษดว่า “คนไหนไม่ดี ควรไล่ออกไป ” (สารเส่ร, 19 กันยายน 2500) ชีไอเอ
วิเคราะห์การรัฐประหารครั้งนี้ว่าเกิดจากความกลัวแผนการของจอนพลป. ที่จะนำปรดี
,
กลับมาจากจีน 5 สิงคโปร์สนตนตาร์ด (Singapore Standard ) รายงานข่าวการ

44
NA, FO 371/129611, Whittington to Foreign Office, 17 September 1957 ; NARA,
RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, John c. Guthrie to Secretary of State, 3
December 1957.
45
NARA, CIA Records Search Tool (CREST), CIA-RDP79R00890 A000900010020-5,
21 September 1957, “ Thailand .”

257
ขนคึก ศักดินา และพญาอีนทริ

รัฐประหารในไทยว่า การรัฐประหารของจอมพลสฤบดิ้สำเรจลงได้เนื่องจากมีการ
ประสานกับส่วนต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด 46 ต่อมาจอมพถสฤษดประกาศไม่ให้จอมพล ป .
กลับเข้าประเทศอีก ส่วนปรีดีนั้นหากเดินทางกลับ จะถูกรัฐบาลจับดำเน้นคดี
สวรรคต 4 สำหรับคดีหมิ่นประมาทบิชอป ทูตสหรัฐฯ ของม.ร.ว. ศึกฤทธิ้ ปราโมช
ที่เกิดขนในช่วงรัฐบาลจอมพลป. นั้น คณะปฏิวัติสั่งการให้อัยการยกเลิกการฟ้องร้อง
คดีดังกล่าวต่อศาล ( ทิมหไพ , 22 กันยายน 2500 )
สำหรับท่าทึของสหรัฐฯหลังการรัฐประหารนั้น โรเบิร์ต ดี. เมอร์ฟิ (Robert
D. Murphy) รักษาการรมว . ต่างประเทศสหรัฐฯ ไต้มีบันทึกถึงบิชอป ทูตสหรัฐฯ
ประจำประเทศไทย สองวันหลังการรัฐประหารว่า สหรัฐฯ เห็นว่าการรัฐประหารครั้งน็้จะ
ทำให้พระมหากบัตริย์มีบทบาทอันโดดเด่นในการเมืองไทยเป็นอย่างมาก นอกจาก
พระองค์จะทรงเป็นประมุขชองรัฐแล้ว พระองค์อังมีพระราชภาระเป็นแกนกลางของ
ความเป็นเอกภาพและเสถียรภาพทางการเมืองภายในของไทยอีกด้วย ดังนั้น สหรัฐฯ
จะไต้ประโยชน์จากการที่พระองค์จะมีอิทธิพลทางการเมืองไทย และจากนี้ไปสหรัฐฯ
จะพัฒนาควานใกล้ชิดกับพระองค์ เนื่องจากเห็นว่าบทบาทอันไดดเด่นของพระองค์
จะกลายเป็นส่วนหนื่งของนโยบายของรัฐบาลไทยซึ่งจะมีนัยสำคัญต่อผลประโยชน์ของ
สหรัฐฯ4' สถานทูตอังกฤษรายงานว่า สิ่งที่กลุ่มผู้นำใหม่จะต้ะ องทำให้สหรัฐฯ ยอมรับ
คือการชัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ทำให้สหรัฐฯ พอใจ โดยคณะปฏิวัติรนยอมให้พระมหากษฅรย ^ (น่ /

ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเลีอกพจน์ สารสิน ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐฆนดรีในช่วงสั้นๆ


เพื่อขัดการเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากเขาเป็นคนที่พระองค์ไวัวางใจและมีความล้มพันธ์รั

46
กด 80/144 เอกสารกระ'ทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การวิเคราะห์การเมืองของประเทศไทย
หขีช.
(พ.ศ. 2500) ; Singapore Standard , 13 November 1957.
๙!รพ/รึ , 25 กันยายน 2500 ; ๙ยพรฐ , 26 กันยาขน 2500 ; NAHA, KG 59 Entry Thai -
I
-
land 1955 1959 Box 3909, Bishop เ0 Secretary of State , 6 November 1957.
'

NARA, RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Acting Secretary of Sta ไ V


( Murphy) to Bangkok, 18 September 1957. ในบันทกคงกส่าวสั่งการไท้ บชอป ทูฅสmj*
เช้าเฝืาพระองค์เพื่อแจงท์าทีของสหรัฐฯ ต่อการรัฐประหารครั้งนี้ว่า สหรัฐฯ มีความพอใจที่การ
รัฐประหารครั้งนี!้ ม่ก่อภยันตรายต่อสถาบันกบัฅริย์และราชางค์ สหรัฐฯ หวังว่ารัฐบาลใหม่จะมึ
เสถึยรภาพและส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ตึระหว่างกัน แล ะสหรัฐฯ หวังว่าไทยจะยังคงเป็นพันธมิตรใน
การต่อต้านคอมมิวนิสต์ต่อไป และไท้ควานมั่นใจกับพระมหากบัดรืย์ว่าความสัมพันธ์และ
ประโยชน์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ จะดำเนินต่อไปโดยผ่านพระองค์

258
การก่อตัวของ “ไตรภาคี”

,
ดกบสหรัฐฯ อีกทั้งยังเป็นเลขาธิการชีโต้ด้วย" " จากนั้นจอมพลสฤษดิ้ในฐานะหัวหน้า
'

คฌะปฏิวัต'ิ ใต้กล่าวยีนยันกับ พล . ต. พาร์'ทริดจ์ หัวหน้าจัสแมคไทย ว่าไทยจะอยูเคยง


i si

ข้างกับสหรัฐฯ และ'ชีโต้ต่อ ไป และความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐฯ จะต็ซ็นกว่าที่ผ่านมา


1 '

ต่อมา ลินคอล์น ไวท์ (Lincoln White ) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลง


ข่าวถงการรัฐประหารในไทยว่า การรัฐประหารครั้งนึ๋ไม่กระะทบกระเทือนต่อความช่วย
- . - .

เหลือทางการทหารของสหรัฐฯ ต่อไทย ( สารIตรี , 19 กันยายน 2500)


หลังรัฐประหาร บิชอป ทูตสหรัฐฯ ผู้เห็นใจรัฐบาลจอมพล ป . ที่ถูกรัฐประหาร
ยังคงแสดงท่าทื ใม่สนับสนุนการรัฐประหารดังกล่าวด้วยการรายงานศวามเห็น'ของทูต
1

อังกฤษในไทยกลับไปยังวอชิงตัน ดี. ซี. ว่า “กาวรัฐประหารครั้งนั้จะทำไหไทยถอยหลัง


ไปอย่างน้อยอีก 100 ปี ทำให้ประชาชนไทยไม่รู้จักโตและเป็นเหมือนเด็ก ” แม้เขา
พยาขานที่จะเตือนความจำให้กับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯถึงความเคลื่อนไหว
ที่ผ่านมาของจอมพลสฤษดิ้และกลุ่มรอยัลลิสต้ที่ได้ร่วมมือกันโจมดีสหรัฐฯ ชีโต้ และ
จัสแมคไทยก็ตาม แต่คัลเลส รมว . ต่างประเทศสหรัฐฯ ก็พยายามทำให้เขาเข้าใจมุมมอง
ของสหรัฐฯ ต่อสถานการณ์การเมืองในไทยว่า พระมหากษัตริย์ไทยจะเป็น ผู้นำทาง
การเมืองที่แท้จริง 1 นอร์แมน ยันนาห์ (Norman Hannah ) เจ้าหน้าที่ซ็ไอเอผู้ปฏิบัติ

49 NA, F0 371/129611, Whittington to Foreign Office, 21 September 1957 จอฆพล .


สฤษส์ให้สัมภาษณ์ว่า พระมหากษัตริย์'ทรงแนะนำบุคคลที่ฆีความเหมาะสมที่จะเป็นนาแกรัฐมนตริ
,

ให้กับเขา { ชาวพาพชย , 21 กันยายน 2500) ; NAKA, RG 59 Entry Thailand 1955-1959


Box 3909, Memorandum of Conversation Brigadier General Wallop Rojanawisut,
Colonel Edward Lansdale and Kenneth T. Young, 24 October 1957 ; Eric Kocher
to Robertson, Summary of Conversation with General Phao, 4 November 1957.
-
50 NARA, KG 59 Entry Thailand 1955 1959 Box 3909, Bishop to Secretary of

State, 20 September 1957, ภายหลังการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลจอมพลป. ไต้ 3 ปิ จอบพล ป.


-
ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ อาฯทรีรฟนิ }นิวสั ขณะที่เมาได้ย้ายที่ลกัยทางการเมืองจากสหรัฐฯ มาอยู่
ที่ญี่ปุ่น ถึงการรัฐประหารอีกครั้ง,ของจอมพลสฤษดึ้ในปี 2501 ว่า “รัฐบาลสฤษดเป็นเผด็จการแสะ
จะล่มส'ลายลงอิกไม่นาน หรึออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะเหมือนกับรัฐบาลอาณานิคมที่ป็กบงการโดย
.
ขาติอิน” ( “ Phibul Predicts Sarit 's Downfall " Asahi Evening News , 2 June 1960 ;
หจช . [2] กต 2.1/314 เอก?กรกระทรวงการต่างประ:เทศ เรอง รายงานข่าวการเคลื่อนไหวจอมพลป.
พิบูลสงคราม [18 มิถูนาขน 2502 - 17 มีธุนายน 2503]) . ดู “ เย้องหลังการรัฐประหาร 2501 ที่
,
สหรัฐฯ มีบทบาทอยู่เย้องหลังเพี่อทำให้ไทยห้าวเข้าสู่ ยุคแห่งการพัฒนา ” และการปกครองแบบ
เผด็จการทหาร ใน กุลลดา (2550)
51
NARA, RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Bishop to Secretary of State,

259
ในศึก ศักดินา และพญาอินทรี

งานไนฐานะเลขานุการโทของสถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่าการรัฐประหารครั้งนี้เป็นการ
เปีดโอกาสให้กลุ่มรอยัลลิสต์กลับมาเล่นบทสำคัญในการเมืองไทยอีกครั้ง เขาเห็นว่าการ
รัฐประหารครั้งนี้เปีนเหมือนการผ่องถ่ายอำนาจจากกลุ่มหนึ่งโปยังอีกกลุ่มหนึ่ง,
ส่วน
'
2

สถานทูตอังกฤษรายงานว่า สถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสด์มิได้เป็นเพียงผู้
สังเกตการณ์การรัฐประหารเท่านั้น แต่เป็นตัวแสดงหนึ่งด้วย พระองคเจาธานนวด
๙ ร
53 /

ประธานองคมนตรี ได้กล่าวอับสถานทูตอังกฤษเป็นการส่วนตัวว่า “ การรัฐประหาร


ครั้งนี้คือสิ่งที่พวกรอยลลิสต์ต้องการ ’ ต่อมาสถานทูตสหรัฐฯวายงานว่า พระองค์เจา
,
54

ธานีนิวัตต้องการให้พระมหากษัตริย์เพิ่มบทบาทในทางการเมืองในฐานะผู้ให้คำปรึกษา
แก่รัฐบาลพจน์ สารสิน และทรงกล่าวด้วยว่า กลุ่มรอยัลสิสต์ต้องการให้พระมหากษัตริย์
ทรงมีบทบาทในการเมืองไทยอย่างถาวร และกลุ่มรอยัลลิสต์ต้องการให้สหรัฐฯให้ความ
ช่วยเหลือและมีมิตรภาพแก่รัฐบาลไทยเช่นเดิม สถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่าบทบาทของ
พระองค์เจ้าธานีนิวัตเพิ่มสูงขึ้นหลังการรัฐประหาร จากเดิมที่ทรงอยู่แต่เนี้องหลัง
การเมืองไทย55
หลังการจัดตั้งรัฐบาลพจน์ สารสิน สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยตั้ง
ข้อสังเกตถึงความแข็งแกร่งทางการเมืองของกลุ่มรอยัลลิสฅ์ที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก I
พระมหากษัตริย์ของไทยมีบทบาทเป็นผู้นำของกลุ่มรอยัลลิสต์โดยมีแกนนำสำคัญ เช่น
พระองค์เจ้าธานีนิวัต ประธานองคมนตรี พระยาศรีวิสารวาจา องคมนตรี ม.ร.ว. เสนีย์
ปราโมช และม.ร.ว. คึกฤทชิ ปราโมช เป็นต้น ต่อมาฌี่อพระยาศรีวิสารวาจาออก
เดินทางไปประชุมโรตารีสากล สถานทูตสหรัฐฯ เห็นว่าบทบาทของพระยาศรีวิสารวาจา
ที่เกิดขึ้นภายนอกประเทศเป็นไปเพื่อสร้างการสนับสนุนและการยอมรับให้กับการ
รัฐประหารและรัฐบาลพจน์5'’

23 September 1957 ; Bishop to Secretary of State, 27 September 1957 ; Dulles to Bang-


kok, Preliminary Estimate Reading Current Situation in Thailand, 3 October 1957.
NARA, RG 59 Entry Thailand ใ 955-1959 Box 3909, Hannah to Holland Bush -

^
32

ner Thai Prognostications, 17 September 1957.


? i
โ:i
NA, FO 371/129612, Whittington to Selwyn Hoyd, 22 September 1957.
54 NA, FO 371/129611, Whittington
to Foreign Office, 21 September 1957. ข้อควาบ
ดังกลาวมีว่า “The Coup is just that the Royalist wanted ” m
.า.า
NARA, RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909 , Bishop to Secretary of
State, 1 October 19571 m
,!
NARA, RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Bishop to Secretary of
1
l

State, 3 October 1957,

260
กาวก่อตัวของ “ไตวภาคี”

กลุ่มรอยัลลืสตํไม่เพียงให้การสนับสนูนการรัฐประหารและการชัดตั้งรัฐบาลพจน์
สารสิน เท่านั้น แต่ได้พยายามขยายการควบคุมการเมืองมากชันด้วย ต้นเดือนตุลาคม
2500 สถานทูตสหรัฐฯ รายงานว่า พระองค์เจ้าธานีนิวัตแจ้งว่าพระมหากษัตริย์มีพระ
ทชประสงค์ให้พระยาศรีวิสารวาจาร่วมงานกับรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดชันหลังการเลือกตั้ง
นปลายปื 2500 แต่ทรง ม่ต้องการถูกวิจารณ์ว่ากระทำการขัดรัฐธรรมนูญ สำหรับ
1

ความสนพระทัยในการเมืองของพระมหากษัตริย์นั้น พระองค์เจ้าธานีนิวัตแจ้งกับ
สถานทูตฯ ว่าพระองค์มิได้มีลักษณะชัอายเหมือนดังก่อนอีกแล้ว 57
ณ จุดนี้ การเมืองสองหน้าของจอมพลสฤษดิ้เริ่มปรากฎให้เห็นชัดเจน กล่าว
คือ หลังจากที่จอมพลสฤษดี้ใช้ประเด็นการใจมตีสหรัฐฯ จนได้รับการสนับสนูนจาก
สาธารณชนอย่างมากจนนำไปสู่การยอมรับการรัฐประหารครั้งนี้ แต่ต่อมาคณะปฏิวัติ
ได้สงการให้หนังสีอพิมพ์ยุติการโจมตีสหรัฐฯ เนื่องจากไม่ต้องการให้กระทบความ
สัมพันธระหว่างไทยกับสหรัฐฯ อีกต่อไป ( การเป็อง , 5 ตุลาคม 2500) สำหรับผล
ประโยชน์ที่พวกเขาได้รับหลังการรัฐประหารนั้น นิตรสาร การเมือง ( 30 ตุลาคม 2500)
รายงานข่าวว่า มีการโอนเงินอย่างลับ ๆ เข้าบัญชีของผูมีอำนาจในคณะปฏิวัติชื่อบัญชี
;
“หนูมาน" และบัญชี “ ลุ ครีพ ” บัญชีละ 150 ล้านบาท ,''' นอกจากนี้ ทูตอังกฤษยัง
'

ตั้งข้อสังเกตในเวลาต่อมาว่า หลังการรัฐประหารความช่วยเหลือทางการทหารจาก
ผ่านชัสแมคไทยยังคงดำเนินต่อไปราวกับไม่มีอะไรเกิดชัน"'’
สำหรับทัศนะของปัญญาชนฝ่ายซ้ายจำนวนหนึ่ง เช่น สุพจน์ ด่านตระกล ผู้ —

เคยต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. จนถูกจับกุม แต่ต่อมารัฐบาลนิรโทษกรรมความผีดไห้และ
.
ได้ร่วมงานกับจอมพลป ในการสร้างกระแสให้ใทยถอยห่างออกจากสหรัฐฯ วิเคราะห์
ว่า สาเหตุที่จอมพล ป. ถูกรัฐประหาร เนื่องจากจอมพล ป. ต้องการให้ไทยหลุดออก
จากการครอบงำของสหรัฐฯ เขาเห็นว่าสหรัฐฯให้การสนับสนุนจอมพลสฤษดิ้ก่อนการ
รัฐประหารเพื่อล้มรัฐบาลจอมพลป. ที่ได้เริ่มต้นเปีดความสัมพนธ์กับจีน และเพื่อทำให้
ไทยหันกลับมามีนโยบายต่างประเทศตามสหรัฐฯ ดังเดิม (สุพจน์ 2516, 28 29) สํวน -
ประจวบ อัมพะเศวต ปัญญาชนฝ่ายซ้ายอีกคนหนึ่งเห็นว่า รัฐบาลจอมพลป. เคยมี

57 NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3912 , Bishop to Secretary of


State, 8 October 1957 . ข้อความดังกล่าวมีว่า “ King no longer as shy as he had been ”
5S ควรบันทกต้วยว่า สัญลักษณ์ประจำตัวจอมพลสฤษดศึอ หนมานทาวเป็นดาาเปีนเดือน
59
NA. FO 371/136020, Whittington to Foreign Office , 20 March 1958-

261
ขุนคิท ศักดินา และพญาอินทรี

นโยบายต่างประเทศใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ซี่งสร้างความพอใจให้สหรัฐฯ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง


แต่ต่อมาเมื่อรัฐบาลไม่ดำเนินการตามความต้องการ สหรัฐฯจึง “ไฟเขียว ” ให้ทำการ
รัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลลง (ประจวบ 2543, 399, 450 )
การรัฐประหารล้มรัฐบาลจอมพล ป. ส่งผลให้ชะตากรรมของบิชอป ทูตสหรัฐฯ
ที่สนับสนุนรัฐบาลจอมพลป. มีความพลิกผันน็เนอย่างมาก กล่าวคือ ท่าทีของบิชอป
ในรายงานของเขาที่เขียนกลับไปยังวอชิงตัน ตี. ซี. ยังคงใจมดีการรัฐประหารครั้งนี้ต่อไป
ทำให้ไม่นานหลังจากนั้นกระทรวงการต่างประะเทศสหรัฐฯ ตัดสินใจหาทูตคนใหม่ที่
สามารถทำงานกับกลุ่มผันำใหม่ของไทยที่สหรัฐฯให้การสนับสนุนได้ กระทรวงการ
ต่างประเทศที่วอชิงตันดึ. ชี. จึงมีคำสั่งย้ายป็ชอปกลับไปวอชิงตัน ดี. ซี. แล้วส่ง ยู .
อเล็กซิส จอห์นสัน (บ. Alexis Johnson ) มาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ
ประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยจอห์นลันได้บันทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้ว่า สาเหตุที
บิชอปถูกย้ายเพราะเขาไม่สามารถทำงานตอบสนองนโยบายของกระ;ทรวงการต่าง
-
ประเทศที่มีต่อไทยหลังการรัฐประหารได้ (Johnson 1984, 266 67) 60 ต่อมาบิชอป
ได้ทำหนังสือขอลาออกจากกระทรวงการด่างประเทศสหรัฐฯ61 จอห์นสัน ทูตสหรัฐฯ
คนใหม่ ประเม่นว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ หลังการรัฐประหาร 2500 ยัง
คงไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากในไทยยังคงมีการต่อต้านสหรัฐฯจากกลุ่มฝ่ายซ้ายต่อเนื่อง

60
จอหนสันบันทึกเพิมเต็มว่า สหรัฐฯ เห็นว่าไทยเป็นพันธมิตรสำกัญในเอเชียดะวันออกเอียงไ ,รฺ
แด่ขฌะนั้นความสัมพันธ์ใทยกับสหรัฐฯ กำลังเสื่อมลงและเดินไปสู่ทางด้น แต่บขอปไม่สามารถทำงาน
ร่วมกับรัฐบาลใหม่ ราชสำนัก กลุ่มรอย้ลลิสฅ์ และคณะทหารของจอมพลสฤษดได้ อีกทั้งบิชอปม็
ความขัดแย้งกับ ม . ร . ว . คกฤทธิ้ ปราโมช ซึ่งเป็นเจ้าของ flowJJ และเป็นพระสหายของพร;
มหากบัฅริย์ ชงทรงให้การสนับสนน เป็นเหตุให้บชอปต้องถูกย้ายกลับสหรัฐฯ ควรบันทึกด้วยว่า
จอห์นสันเป็นทูตสหรัฐฯ ที่ประสานงานการเสด็จประพาสวอชิงตัน ดี , ชี. ของพระมหากบัตรีย์ในปิ
2503 ซึ่งการประพาสดังกล่าวสร้างความมั่นใจให้กับทั้งสองฝ่ายในการตำเนนนใยบๅยต่างปร;;เทศ
ร่วมกันต่อไปตลอดช่วงสงครามเย็น
The Dwight D . Eisenhower F.ibrary , White House Central Files, Office
-
Files 1953 1961 OF 8 F Ambassador and
Minister, OlOrge V. Allen Box 134, Bishop
to The President, 15 November 1957 . บิชอปมีความสัมพันจํทดีกับจอมพล ป . เขาไต้เคยเล่า
เรื่องต่างๆเกี่ยวกับฟ้องหลังการรัฐปรร;หาร 2500 ให้ขีรวัสส์ ปันขารชุน บุตรีของจอมพลป . ทราบ
หลังถาออกจากกระทรวงการด่างประเทศ เขายึดอาชีพเป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัยเล็ก ๆ แห่งหนึ่งใน
สหรัฐฯ และแม้จะท้นตำแหน่งไปแลัว เมื่อเขามีโอกาสมาเย็อนไทย เขามักมาเยี่ยมบุตรีของจอมพล L .

เสมอ (สัมภาษณ์ จึรวัสส์ ปันยารชุน, 13 กันยายน 2552)

262
ทารกอตัวของ "ไตรภาคี,,

จากรัฐบาลชุดเก่าอยู่ม้าง อย่างไรก็ตาม ไทยรโอกาสที่จะพัฒนาเศรษฐกิจได้ และ


รัฐบาลพจน์ สารสิน ให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างเข้มแข็งกว่า
รัฐบาลที่ผ่านมา และเขาเห็นว่าสถาบันกษัตริย์มีเอกภาพและมีเสถียรภาพ'' ท่าทีของ"

ทูตสหรัฐฯ นั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับนโยบายของสหรัฐฯ ที่ต้องการพัฒนาความ


สัมพันธ์อันใกล้ชิดกัมผู้นำทางการเมืองกลุ่มใหม่มากยิ่งขึ้น โดยพ.อ. เอ็ดเวรด๙ £1

แลนส์เดล ( Edward Lansdale) ผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหม ได้กล่าวกับคณะผู้แทนของ


คณะปฏิวัติที่ถูกส่งมาสร้างความเข้าใจให้กับสหรัฐฯ ภายหลังการรัฐประหาร 2500 ว่า
“สหรัฐฯ ตระหนักดีถีงความสำคัญของพระมหากษัตริย์และศาสนาที่มืต่อวิถีชีวิตของ
คนไทย แม้สหรัฐฯ จะไม่สามารถมีนโยบายต่างประเทศโดยตรงต่อศาสนาได้ แต่สหรัฐฯ
จะสนับส'นุน'พระมหากษัตริย์ของไทย 4163
ด้วยเหตุนั้การรัฐประหาร 2500 จึงเป็นการปิดฉากผู้นำคนสุดท้ายที่มาจาก
คณะราษฎรและโอกาสที่ไทยจะถอยห่างออกจากการแทรกแซงกิจการภายในโดยสหรัฐฯ
การรัฐประหารดังกล่าวทำให้ไทยยังเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมของสหรัฐฯ ต่อไป ทั้งยัง
เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองระบอบเผด็จการทหารเต็มรูปแบบในช่วงเวลาต่อมา
นอกจากนนั้ในมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับสหรัฐฯไนช่วงสงครามเย็น
นั้น จากเต็มที่ไทยเป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญไม่มากนักในนโยบายต่าง
ประเทศของสหรัฐฯ ถึงตอนนั้ใทยถูกทำให้กลายเป็นฐานปฏิบัติการทางการทหารที่มี
ความสำคัญยิ่งในการต่อด้านคอมมิวนิสต์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตาม
ความต้องการของสหรัฐฯโดยสิ่งเหล่านั้จะส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการเมืองภายใน
และนโยบายต่างประเทศของไทยตลอดสองทศวรรษในช่วงสงครามเย็น

62 NARA , RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3913, บ. Alexis Johnson to Sec-


retary of State, 28 July 1958 . ต่อมาส'หรัฐฯ ผลักคันให้กณ:!ปฏีว้ดปราบปรามปัญญาชนฝ่าย
'ซ้ายอย่างรุนแรง ดู ๅคลดา ( 2550) . การปราบปรามอย่างรุนแรงชองรัฐบาลสฤษดี้และถนอมตาม
ความต้องการของสหรัฐฯ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด "เหตุการณ์เสืยงปืนแตท ” ในปี 2508 อ้น'นำไป
สู่สงครามภายในประเทศอย่างยาวนาน
61 NARA, RG 59 Entry Thailand 1955 1959 Box 3909, Memorandum of Conversation
-
Brigadier General Wallop Kojanawisut, Colonel Edward Lansdale and Kenneth T.
Young, 24 October 1957.

263
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่ห้วภมิพลอดุลยเดชเส'ด็จเยือนสหรัฐอเมริกาไนปี 2503 สามปิหลังการ
รัฐประหาร 2500 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสัมพ้นธภาพทางอำนาจนบบ "ไตรภาคี" ระหว่างสถาบัน
กษัตริย์ กองษัพ แล ะสหรัฐอเมริกา ที่ย์งผลให้ไทยเข้าปูการปกครองระบอบเผด็จการทหาร!?!-
รูปแบบ และตกอยู่ใต้สภาวะกื่งอาณานกมของสหรัฐฯในยูคสงครามเย็น (ภาพจาก Life )
บทที่ 10
บทสรุป

การสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่สองมีได้!ปีนเพียงจุดเริ่มต้นของการ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจระดับโลกจากอังกฤษในฐานะเจ้าจักรวรรดิไปสู่สหรัฐฯ
เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจภายในการเมืองไทยด้วย
กล่าวคือ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซ์งเป็นตัวแทนอำนาจของคณะราษฎรและม
บทบาทแข็งขันในการปราบปรามกลุ่มรอยัลลิสต์ที่ต่อต้านการปฏิวัต 2475 ต้องล้มลง
จากควานร่วมมือกันระหว่างกลุ่มปรีดีกับกลุ่มรอยัลลิสต์!นนามของขบวนการเสรีไทย
สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้กลุ่มรอยัลลิสต์สามารถพลิกพีนกลับมามืบทบาททาง
การเมืองอึกครั้งฌี่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง พวกรอยัถลิสต์ใต้รับการปลดปล่อย
จากการลงทัณฑ์เพราะข้อตกลงระหว่างกลุ่มปรีดีกับกลุ่มรอยัลลิสต์ขณะที่ร่วมมือกัน
ในขบวนการเสรีไทย อย่างไรก็ตาม ความอับข้องใจที่ยังมือย่อย่างเตมเปียมของพวก
เขาและบรรยากาศการเมืองที่เป็ดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ทำให้ต่อมากลุ่นปรีดีและ
กลุ่มรอยัลลิสต์กลายมาเป็นคู่ปรปักษ์สำคัญในการชิงชัยทางการเมือง การสวรรคตของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้กลายเป็นจุดพลิกผันอย่างยิ่งต่ออำนาจ
ทางการเมืองของใ!รีดีและรัฐบาลของเขา กลุ่มรอยัลลิสต์และพรรคประชาธิปัตยัใช้
ประเด็นดังกล่าวโจมตีปรีดีและขยายข่าวลือในสังคมเพื่อบ่อนทำลายความน่าเชอถือ
ของรัฐบาล เมื่อประกอบกับความไม่พอใจของกลุ่มจอมพล ป. ซึ่งสูญเสียเกียรดิคูมิไป
ในสงครามที่ผ่านมา ต้องการกลับเข้าสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง จึงนำไปสู่การเกิดขึ้นของ
,
"พันธมิตรใหม่” ระหว่างกลุ่มรอยัลลิสต์กับกลุ่มจอมพล ป. ทำ ให้'ปรีดีและกลุ่ม'ของเขา
ชุนคึก ศกคนา และพญาอินทรี

ถูกกำจัดออกไปจากอำนาจทางการเมืองอย่างไม่ยากนักด้วยการใช้กำลังในการ
รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ไดยสทรัฐฯ มิได้มีนโยบายช่วยเหลือปรีดืผู้เป็นมิตร
เก่าในช่วงสงครามโลกให้กลับเข้าสู่อำนาจอีก จากนั้นจอมพลป . ได้ก้าวเข้ามารับ
ตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐประหารด้วยการรับรองของกรมขุนชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จ
ราชการแทนพระองค์ในเวลานั้น ซึ่งลงนามประกาศ'ใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2490 แต่เพียง
ผู้เดียวอย่างรวดเร็ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่มพระราชอำนาจให้กับสถาบันกษัตริย์อย่าง
ไม่เคยมีมาก่อนหลังการปฏิวัติ 2475
การกลับคืนสู่อำนาจของกลุ่มจอมพล ป. ในครั้งนี้อยู่ภายใต้การชิงไหวชิงพริบ
โดยในเบื้องแรกกลุ่มจอมพล ป. ยอมให้กลุ่มรอบัลลิสต์และพรรคประชาชิป๋ตย์ออกหน้"
ในการขัดตั้งรัฐบาล ทำให้กลุ่มรอบัลลิสต์สบโอกาสทำหน้าที่สถาปนิกทางการเมืองใน
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 เพื่อวางกติกาการเมืองที่กลุ่มตนเองไต้ประโยชน์ เช่น
การเพิ่มพระราชอำนาจทางการเมืองให้กับสถาบันกษัตริย์และกลุ่มตน ขณะที่ก็กีดกัน
I กลุ่มจอมพล ป. ให้ออกไปจากการเมืองด้วย กติกาทางการเมืองเช่นนี้สร้างความไม่
พอใจให้กับกลุ่มจอมพลป. เป็นอย่างมาก เมอประกอบกับกลุ่มรอบัลลิสต์ที่นำโดยควง
อกัยวงศ์ และม .ร.ว. เสนีย์ ปราโมช มีแผนการใหญ่ที่จะมีอิทธิพลเหนือราชสำนัก
จอมพล ป. จงขัดขวางแผนการดังกล่าวด้วยการบังคับให้ควงและคฒะรัฐมนตรีของเขา
ลาออกในต้นเดือนเมษายน 2491 จากนั้นจอมพลป. ได้ก้าวขนมาเป็นนายกรัฐมนตรี
แทน
ท่ามกลางความขัดแย้งหลายระดับจากกลุ่มต่อต้านรัฐบาลหลายกลุ่มทั้งภายใน
และภายนอกทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลจอมพล ป. สั่นคลอน เขาจีงพยายามสร้าง
พันธมิตรกับกลุ่มปรีดีเพื่อต่อล้กับกลุ่มรอบัลลิสต์แต่ไม่เป็นผล เนื่องจากปรืดีและกลู่เ-
ของเขาตัดสินใจก่อการรัฐประหารแต่ประสบความล้มเหลว ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำใ
ปรีดีสูญเสียแกนน่าของเขาไปหลายคน ในเวลาต่อมารัฐบาลจอมพล ป. บังต้องเผชินิ
^
I หน้ากับการต่อต้านหลายครั้ง ทำให้ต้องพยายามปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพ
ให้มีความทันสมัยด้วยการซื้อจากต่างประเทศและสํงผู้แทนไปเจรจาขอความช่วยเหลือ
ทางการทหารจากสหรัฐฯ แด่ขณะนั้นสหรัฐฯไม่มืทีทำจะให้ความช่วยเหลือทางอาวุธ
แก่รัฐบาลจอมพล ป. อย่างใรก็ตาม ในช่วงด้นทศวรรษ 2490 ชัยชนะของกองทัพ
เหมาเจ๋อตงเหนือจีนทำให้สหรัฐฯ เกิดความวิตกกังวลถึงสถานการณ์ในจีนและเณชีธ
เป็นอย่างยิ่ง จึงต้องการสนับสนูนงบประมาณทางทารทหารแก่ประเทศที่อยู่ในภูมิภาค
เอเชยที่สหรัฐฯมองว่ามีกัยคอมมิวนิสต์ เมธบริบทการเมืองระหว่างประเทศเอออำนว'

266
บทสรุป

รัฐบาลจอมพล ป. ก็สบโอกาสขอรับการสนับสนูนทางการทหารจากสหรัฐฯ ด้วยการอ้าง


ภัยคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯ จึงเริ่มมีชิทชิพลเหนือการตัดสินใจของไทยมากซ้นด้วยการ
แลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการทหาร โดยสหรัฐฯ ต้องการให้รัฐบาลไทยรับรอง
รัฐบาลเบาได้ตามที่สหรัฐฯ ต้องการ ไม่นานหลังจากนั้นไทยได้ร่วมลงนามในข้อตกลง
ด้านความช่วยเหลือทางการทหาร ซี่งทำให้ไทยตกอยู่ในสภาวะกึ่งอาณานิคมของ
สหรัฐฯ และเมื่อสงครามเกาหลีปะทุซ้น รัฐบาลไทยก็ประกาศให้การสนับสนุนด้วยการ
ส่งกองทัพไทยเข้าร่วมสงครามเกาหลี นโยบายดังกล่าวสร้างความพอใจให้กับสหรัฐฯ
เป็นอย่างมาก
ความช่วยเหลือทางการทหารที่สหรัฐฯให้แก่ไทยนั้นตำเนินการผ่านกระทรวง
กถาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และซีไอเอ เพื่อปรับปรุงกองทัพไทยรวมทั้งตำรวจ
ให้มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ท้นสมัยไนการปราบปรามการต่อต้านจากกลุ่มการเมืองภายใน
ได้อย่างไม่ยากนัก ความช่วยเหลือทางอาวุธจากสหรัฐฯไม่เพียงมีส่วนทำให้รัฐบาล
จอมพล ป. สามารถรักษาเสถียรภาพด้วยการปราบปรามกลุ่มปรปักษ์ทางการเมืองลง
อย่างง่ายดายเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การแข่งขันทางการเมืองที่ทวีความเข้มข้นมากซ้น
ระหว่างจอมพลสฤษดิ้ ธนะรัชต์ ในฐานะผู้นำกองทัพ กับ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
ในฐานะผู้นำกลุ่มตำรวจภายไนรัฐบาล
ความล้มเหลวหลายครั้งของกลุ่มปรีดีในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลจอมพลป.
ทำให้กลุ่มของเขาอ่อนกำลังลงและหมดโอกาสในการกลับเข้าสู่เวทีกาวเมือง ในขณะที่
กลุ่มรอยัลลิสต์แม้จะประสบความล้มเหลวในการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองกลับคืนมา
แต่ด้วยรัฐธรรมนูญฉบับ 24922 และการครองเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาทั้งวุฒิสภาและ
สภาผู้แทนราษฎร ทำให้กลุ่มรอยัลลิสต์ยังคงมีฐานกำลังในการต่อสู้ทางการเมืองกับ
รัฐบาลต่อไปได้ ช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างรัฐบาลจอมพล ป. กับ
กลุ่มรอยัถลิสต์ ทั้งนี้จอมพลป, ในฐานะผู้นำรัฐบาลตระหนักดีถึงฐานอำนาจของกลุ่ม
รอยัลลิสฅ์ที่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 ในที่สุดเขาและกลุ่มของเขา
จึงทำการรัฐประหารเพื่อยุติรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเมื่อปลายเดีอนพฤศจึกายน 2494
เพียงใม่กึ่วันก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจะเสด็จนิวัตพระนคร
การรัฐประหารครั้งนี้สร้างความไม่พอใจให้กับสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์เป็น
อย่างมาก แม้ต่อมๆรัฐบาลและสถาบันกษัตริย์จะมีการประนีประนอมกัน แต่รัฐบาล
ไม่ยินยอมให้นำรัฐธรรมนูญฉบับที่ถูกล้มล้างไปกลับมาใช้อีก การรัฐใ ) ระหาร 2494 จึง
ถือได้ว่าเป็นการแตกสลายของ “พันธมิตรใหม่ ”

267
ขุนสก ศักดินา และพญารนทๆ

เมื่อสงครามเกาหลีลุดิลงชั่วคราว (ปี 2496) ติดตามด้วยความพ่ายแพ้ของ


ฝรั่งเศสที่เคียนเบียนฟู {ปี 2497 ) ทำให้รัฐบาลจอมพล ป. เริ่มไม่แน่ใจในความ
ปลอดภัยของไทย เพราะเห็นว่านโยบายการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของสหรัฐฯ ไม่เป็นผล
จอมพลป. จึงคิดปรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยก้มสหรัฐฯเสียใหม่ แม้ที่ผ่านมาความ
ช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐฯ จะทำให้รัฐบาลจอมพล ป. มีเสถียรภาพทางการเมือง
มากขึ้นก็ตาม แต่ขณะเคียวกันกีมีส่วนสำคัญในการสร้างปัญหาความขัดแย้งระหว่าง
จอมพลสฤษดกบ พล.ต.อ. เผ่าที่แข่งขันกันเพื่อช่วงชิงตำแหน่งผู้นำทางการเมืองไทย
ด้วย ทั้งสองคนต่างพยายามแสวงหาการสนับสนุนจากสหรัฐฯ อย่างต่อเนี่องด้วยการ
เดินทางไปขอความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐฯ ระหว่างปี 2497- 2498 เพื่อ
เสริมสร้างฐานกำลังของตนให้มีความเข้มแข็งเหนือกว่าคู่แข่ง
ความไม่ชัดเจนของผู้ชนะในสงครามเกาหลีและความพ่ายแพ้ของกองพัพ
ฝรั่งเศสในสงครามเคียนเบียนฟู ส่งผลให้สหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี
ไอเซนฮาวร์ปรับเปลี่ยนนโยบายต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทยใหม่ให้มีความ
เข้มข้นขืน เนืองจากสหรัฐฯ วิตกถึงภาวะสุญญากาศทางการเมืองระหว่างประเทศใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามทฤษฎีโดมิ !น อันจะทำให้สหรัฐฯสูญเสียเขต
อิทธิพลในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไป ด้วยเหตุนี้สหรัฐฯจึงต้องการสร้างไทย
ให้กลายเป็นป้อมปราการของการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สหรัฐฯ อนุมัติแผนสงครามจิตวิทยาที่มุ่งปรับเปลี่ยนความคิดของคนไทยให้หวาดกลัว
ภัยคอมมิวนิสต์ที่จะคุกคามสถาบันกษัตริย์ จารีตประเพณี และเอกราชของไทยให้
ลันไป โดยหวังว่าจะทำให้คนไทยร่วมมือกับสหรัฐฯ และทำให้การต่อต้านคอมมิวนิสต์
บรรลุผล
นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่เข้มข้นของสหรัฐฯ อำนวยโอกาสให้สถาบัน
<^ ^ ' ะกลุ่มรอยัลลืสด์ปรับเปลี่ยนแนวทางในการต่อสู้ทางการเมืองใหม่ด้วยการ
กษฅรยแล๕

ร่วมมือกับสหรัฐฯ เพื่อต่อต้านคอมมวนิสฅ์ พร้อมทั้งแสวงหาการสนับสนุนจาก


ประชาชนภายในประเทศ สำหรับการแสวงหาความร่วมมือจากสหรัฐฯนั้น เห็นใต้
จากการที่พระมหากษัตริย์ใต้แสดงความใกล้ชิดสนิทสนมกับเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ
อีกทั้งต่อมาในกลางปี 2497 พระยาศรีวิสารวาจา องคมนตรี ยังเดินทางไปพบกับ
ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ที่ทำเนียบขาว วอชิงตันดี. ชี. ในฐานะทูตส่วนพระองค์
จากนั้นไม่นานกลุ่มรอยัลสีสต์ไต้ผลักดันโครงการสนับสนุนให้พระองค์มีฐานะเป็น
เสมือนแกนนำของกลุ่มรอยัลลีสต์และประชาชนทั้งมวล ด้วยโครงการเสด็จเขี่ย;.

268
บท ศๅป

ประชาชนในภูมิภาคในปลายปี 2498 เพื่อแสวงหาความร่วมมือไนการทำสงคราม


จิตวิทยาต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งทำให้พระองค์ได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นยัน
มาก ส่งผลให้พระองค์เริ่มมีอำนาจทางการเมืองมากขนจนพร้อมที่จะท้าทายอำนาจ
ของรัฐบาลไดในเวลาต่อมา
ความไม่แน่ใจในสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศของจอมพล ป - ยังคง
ดำรงอย่ยู่ แม้ต่อมาสหรัฐฯ จะจัดตั้งซีโต้ขื้นก็ตาม และรัฐบาลจอมพล ป. ก็แสดงความ
กระดือรือร้นในการเข้าร่วมองค์กรดังกล่าว อีกทั้งจอมพล ป. ยังเดินทางไปกระชมไมตรี
กับสหรัฐฯในเดือนเมษายน 2498 อีกด้วย แต่ในอีกด้านหนึ่งรัฐบาลกลับส่งผู้แทน
เข้าร่วมการประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝืกใฝ่ฝ่ายใดที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย และ
ในเวลาต่อมาจอมพล ป. และ พล.ต.อ. เผ่ายังไต้ดำเนินการในทางลับเพื่อเปีดไมตรีกับ
จนพร้อมทั้งเปีดการค้ากับจีนด้วย ทำให้สินค้าและวัฒนธรรมจีนหลั่งไหลเข้าสู่ไทย ซง
สร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ความพยายามสร้างประชาธิปไตยขึ้น
ในไทยของจอมพล ป , ภายหลังการเดินทางเยือนต่างประเทศมืเบ๊าหมายเพื่อหำให้เขา
หลุดท้นจากการพึ่งพีงอำนาจของจอนพลสฤษดิ้และพล .ต.อ. เผ่า และเป็นการกำหนด
อนาคตของกลุ่มการเมืองต่างๆที่จะเข้าควบคุมพิศทางของการเมืองไทยต่อไปอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้กลุ่มการเมืองต่าง ๆ จึงเข้าชิงชัยทางการเมืองกันอย่างเข้มข้น ดังเช่นจอมพล
สฤษดแสวงทาการสนับสนุนจากสถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์ ส่วนในอีกด้านหนึ่ง
จอมพล ป. และ พล.ต.อ. เผ่าก็ห้นไปแสวงหาการสนับสนุนจากกลุ่มปรีดีด้วยการ
สนับสนูนให้ปรีดีเดินทางกลับจากจีนนาไทย
อย่างไรก็ตาม ในสายตาของสหรัฐฯ การที่รัฐบาลจอมพลป . ดำเนินนโยบาย
นั้น แต่ยังมีผลทำให้
เปีดไมตรีกับจีนนั้นถือได้ว่าไม่เพียงถอยห่างออกจากสหรัฐฯเท่านน
แผนสงครามจิตวิทยาที่สหรัฐฯมุ่งสร้างความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ให้กับคนไทยไม่
ประสบความสำเร็จอีกด้วย นอกจากนี้ การที่รัฐบาลพยายามนำปรีดืกลับมาไทยย่อม
ส่งผลกระทบต่อแผนสงครามจิตวิทยาที่สหรัฐฯวางแผนไว้ แม้ว่าภายหลังการเลือกตั้ง
รัฐบาลจะะเป็นผู้มีชัยไนการเลือกตั้งก็ตาม แต่ทั้งจอมพล ป. และพล.ต.อ. เผ่าต่างไม่ได้
รับความนิยมจากประชาชนอีกต่อไป ในสายตาของสหรัฐฯ แนวทางการต่อด้ทางการ
เมืองของจอมพล ป. และพล.ต.อ. เผ่ามีแนวโน้มทำให้การเมืองไทยไร้เสถียรภาพและ
ตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้สหรัฐฯ จึงตัดสินใจให้การสนับสนุน
กลุ่มการเมือง'ใหม่ที่มีผลประโยชน์สอดคล้องกับสหรัฐฯ ให้ก้าวขึ้นมานีอำนาจแทนเพื่อ
1

ดำเนินการตามนโยบายที่สหรัฐฯ ต้องการต่อไป ไม่นานหลังจากนัน ควานขัดแย้ง

269
ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

ทางการเมืองระหว่างสองฝ่ายใต้เดนไปสู่จุดแตกหักใน!ทดุการณ์รัฐปรู3;ทๅรัใก่นอ้น
รัฐบาลจอมพล ป. เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 และเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตัวของ
พันธมิตรใหม่ระหว่างสหรัฐฯ สถาบันกษัตริย์ และกองทัพ หรือ “อำนาจไตรภาคี’'
(Triangle of Power ) อันเป็นโครงสร้างอำนาจทางการเมืองที่สำคัญตลอดช่วงสงคราม
เย็นในประเทศไทย
ดังบัน การรัฐประหาร 2500 จึงทำให้บรรยากาศการเมืองแบบประชาธิปไตย
ที่ก่อตัวขึ้นในสมัยรัฐบาลจอนพล ป, สลายหายไป และนำไทยไปสู่การปกครองระบอบ
เผด็จการทหารเต็มรูปแบบในสมัยจอมพลสฤนดี้และสมัยล่อมาอย่างปราศจากข้อกังขา
อีกทั้งอังถือเป็นจุดเริ่มต้นของส้มพันธภาพทางอำนาจแนบ “ไตรภาคี” ช็งครอบงำ
การเมืองไทยอย่างยาวนาน ทั้งน็้การรัฐประหารครั้งนั้นเป็นความร่วมมือกันของตัวแสดง
ภายในกับภายนอก ชึ่งมีผลทำให้ไทยตกอยู่ภายใต้สภาวะกึ่งอาณานิคมของสหรัฐฯใน
ยุคสงครามเย็น อันเห็นได้จากการที่สหรัฐฯ สามารถเปลี่ยนให้ไทยกลายเป็นฐานทัพ
ของสหรัฐฯ เพื่อบรรลุการเข้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้านของไทยใน
อึนโดจีน ซึ่งไม่แต่เพียงทำไห้เกิดความสูญเสียและปัญหาที่ยืดเยื้อยาวนานแก่ประเทศ
เพื่อนบ้านเท่านั้น แต่อังเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งในการเมืองไทยภายใต้รัฐบาล
เผด็จการทหารและรัฐบาลพลเรือนอำนาจนิยมกว่าสองทศวรรษต่อมา อีกทั้งส่งผล
สะเทือนอย่างลึกซึ้งต่อสำนึกร่วมในตัวตนของคนไทย ส้มพันธภาพทางอำนาจใเ.
การเมืองไทย และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสำคัญที่สุด
ช่วงห'นงในประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย

270
ประวัติผู้ เข็ขน

ใจจริ}- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับสอง จากคณะ


รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับรางวัล “ทุนคูรพล ” ในฐานะที่ได้
คะแนนสูงสุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ด้วยวิทยานิพนธ์ดีมากเรื่อง “ การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพลป. พิบูล -
-
สงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ . 2491 2500) ”
ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
มีผลงานหนังสือเล่ม ขอปีนใปีในปีนอันเหลือเชื่อ : ความเคลี่อนไหวของ
-
ขบวนการปีฏิปีกษ์ปีฏิวัตสยาม (พ.ศ. 2475 2500 ) (ฟ้าเดียวกัน, 2556) , กบฎบวรเดช :
เบื้องแรกปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม 2475 (มติชน, 2560) 1 ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผน
สร้างชาตไทยสมัยคฌะราบฎร (มดีชน, 2563) มีบทความอีกหลายชิ้นที่เกี่ยวกับ
-
ประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยเฉพาะในช่วงปิ 2475 2500 ตีพิมพ์ไนวา? สาร
ปีาเดียวกัน ย่าน รัฐศาสตร์สาร ทิลป วัฒนธรรม จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์
ฯลฯ เคยนำเสนอบทความในการสัมมนาเรื่อง “ Royal Charisma, Military and
Future of Democracy in Thailand " ณ มหาวิทยาลัยโคเปนเยเกน เดนมาร์ก เมือ
ปี 2550 'ชงต่อมาตีพิมพ์ใน Seren Ivarsson and Lotte Isager, eds. Saying the
Unpayable: Monarchy and Democracy in Thailand (Copenhagen ะ NIAS
Press, 2010)
ขนลึก ท้กลินา พญาอินทรี

องค์ปาฐก “ปาฐกถาจำถอง ดาวเรือง เรื่องภมิทัศน์ของการปฏิวัติไนประวัติ-


ศาสตร์การเมืองไทย ปี 2554” วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
และ ปาฐกถาปรืดี พนมยงฅ์ปี 2556 เรื่อง “ชีวประวัติของพลเมืองไทย : กำเนิด
พัฒนาการและอุปสรรคกับการกิจการปกป็องประชาธิปไตยไทย ( 2475-ป้จๅเบัน) ”
สถาบันปรีดี พนมยงฅ์
นกวิชัยรับเชิญ University of Wisconsin - Madison , USA ; Graduated
School of Asian and African Studies* University of Kyoto ; Center of South-
east Asian Studies, University of Kyoto, Japan

274
บรรณานุกรม

ภาษาไทย
เอกสารกองบรรณสาร กระทรวงการด่างประเทศ
-
กองบรรณสาร กระทรวงการต่างประเทศ. [ 0402-344 202-511-0002 ขอความเห็นชอบ
ในการแต่งตั้งนายจอห์น อี . เพอรีฟอย เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำ
ประเทศไทย วรรณไวทยากร ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี 31 มกราคม 2498.
. 1 0402 - 344 - 202 - 511-0005 ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งนายวิลเลิยม เจ.
โดโนแวน เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย : พจน์ สารสิน ถึง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 28 มิถุนายน 2496, วรรณไวทยากร ถึง
เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน 2 มิถุนายน 2496 ถวายสาส์น 4 กันยายน 2496.
- -
. 1 1102-344 202 522-9401 กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กองอเมริกาเหนือ การ
แต่งตั้งกงสุลใหญ่กิตติมศ้กดิ้ ณ เมืองไมอามี สหรัฐอเมริกา 2494-2522, นายวรการ-
บญชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี 16
ธันวาคม 2493
. I 1102-344-301-401-9301 ไทยขอความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทธภัณฑ์จากสหรัฐฯ
2493-2494, พจน์ สารสิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 1 สิงหาคม

— เพื่อร่วมรบในสงครามเกาหลื
2492
- - - -
. I 1105 344 301 401 9301 ไทยขอความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทธภัณฑ์จากสหรัฐฯ
2493-2494 , วรการบัญชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศ ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี 26 กรกฎาคม 2493.
รุนศึก ศักดินา และพญารนทา

เอกสารหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
.
หจช. ( 2) กต 1.1 5/19 เอกสารกระหรวงภารต่างประเทศ เรื่อง สาส์นของรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการต่างประเทศอเมริกันเกี่ยวกับการค้ากับสาธารณรัฐประะชาชนจีน (9
มิถุนายน - 3 สงหาคม 2499) : แถลงการฌเรื่องนโยบายการค้าระหว่างประเทศ
สำนักนายกรัฐมนตรี วันที่ 2 ใ มิถุนายน 2499. โทรเลขลับเฉพาะจากแมิ'กซ ดับลิว
ป็ชอป เอกอัครราชทูตอฌรีกัน ถึง จอมพลป. นายกรัฐมนตรี วันที่ 25 มิถุนายน
.
2499 หนังสือจาก ป่น จาสิกวนิข เลขาธิการคฌะรัฐมนตรีฝ่ายการเมิอง ถึง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 2 สิงหาคม 2499 .
. ( 2) กต 1.1.6/ 21 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง คำตอบกระทู้ถามของ
นายอารีย์ ตันติเวชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราบฎร เรื่องการมรณะกรรมนาย จอห์น
-
อี . ฟิวรีพ่อย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย (23 31 สิงหาคม
2498) .
( 2 ) กต 1.1 /48 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การเจรจา'ขอเพิ่มการให้ 1

ความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ( 25 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม 2498 ) บันทึก


เอกอัครราชทูตอเมริกันได้มาเฝืาเสด็จในกรม ๚ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง
ประเทศ วันที่ 28 กรกฎาคม 2498.
. (2) กต 1, 2/24 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรือง สรุปข่าวในประเทศประจำ
-
สัปดาห์ของกรมประชาส้มพันธ์ ระหว่างวันที่ 4 ธันวาคม 2498 2 กันยายน 2499
(11 ธันวาคม 2498 - 2 กันยายน 2499) .
. (2) กด 14.3.3/8 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การกักตัวสินค้าไปยัง
ตินแคนคอมมิวนิสต์ ( 22 เมษายน 2497 - 17 พฤษกาคม 2499) .
. (2) กต 14.3/26 เอก?กรกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์
เข้าพบบุคคลสำคัญของสหรัฐอเมริกา (4-14 พฤศจิกายน 2497 ) รายงานการ
สนทนาของพล.ด. อ. เผ่า ศรีบานนท วันที่ 10 พฤศจิกายน 2497.
. (2 ) กต 14 , 3/ 76 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง หนังสือพิมพ์กล่าวหาว่า

หนังสือจากแมกซ์ ดับลิว. บิชอป ถึง


-
ยูชิสช่วยหาเสียงให้พรรคฝ่ายค้าน (13 ธันวาคม 2499 13 กุมภาพันธ์ 2500 )
นายวรการบัญชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การด่างประเทศ วันที่ 12 ธันวาคม 2499.
. (2 ) กต 14.3/89 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่องการดำเนินคดีเกี่ยวกับ
บทความที่ตีพิมพ์ไนหนังสือพิมพ์ที่มีการกล่าวร้ายแก่นายบิชอป เอกอัครราชทู ส
อเมริกาประจำประเทศไทย ( 4 เมษายน - 19 มิถุนายน 2500) .
. ( 2 ) กต 2, 1/ 314 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง รายงานข่าวการ
-
เคลื่อนไหวจอมพลป. พิบูลสงคราม (18 มิถุนายน 2502 17 มิถุนายน 2503) .

276
บวรณานุกวม

หจช. ( 2 ) สร 0201.89/10 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรือง การสนับสมุนสันติภาพของ


คอมมูนิสต์ ( 23 พฤศจกายน 2493 - 13 มีนาคม 2496) ทนังสือกระทรวงการต่าง
ประเทศ นายารการบัญชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึงเลขาธิการ
คณะรัฐมนตรี รันที่ 29 พฤศจกายน 2495.
1 ( 2) สร 0201.96/3 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแพร่ข่าวเกี่ยวด้วยการ
ที่อเมริกาช่วยเหลือทางการทหารแก่ไทย ( 21 เมษายน - 9 พฤษภาคม 2493) .
. ( 2 ) สร 0201.96/8 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้อดกลงเกี่ยวด้วยการ
ช่วยเหลือทางการทหารแก่ประเทศไทยของสหรัฐอเมริกา (6 กันยายน 2493 - 28
กรกฎาคม 2498) .
. (3) สร 0201.13.1/2 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขออา'}ธจากอเมริกา หรือ
-
เรื่องอเมริกาให้อา'}8แก่ประเทศไทย ( 21 พฤษภาคม 2492 20 เมษายน 2497 ) :
โทรเลขจาก เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
ต่างประเทศ วันที่ 30 กันยายน 2492 . หนังสือกระทรวงการต่างประเทศ นายเขมชาติ
บุณยรัตพันธุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึง นายกรัฐมนตรี วันที่
26 กันยาขน 2493. หนังสือกระทรวงการต่างประเทศ นายวรการบัญชา รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึง นายกรัฐมนตรี รันที่ 11 เมษายน 2493. หนังสือ
กระทรวงการต่างประเทศ พจน์ สารสิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ถึง นายกรัฐมนตรี 21 พฤษภาคม 2492. หนังสือกระทรวงการต่างประเทศ พจน์
สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึง นายกรัฐมนตรี 15 ตุลาคม
2492.
. (3) สร 0201.13. 1/ 27 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แถลงการณ์สำนักคณะ
รัฐมนตรี เรื่องค่าไซ้จ่ายตามความตกลงว่าด้วยการช่วยเหลือทางทหารระหว่างรัฐบาล
ไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา (17-26 มิถุนายน 2500) : แถลงการณ์สำนักคณะรัฐมนตรี
เรื่องค่าใช้จ่ายตามความตกลงว่าด้วยการช่วยเหลือทางทหาร ระหว่างรัฐบาลไทยกับ
รัฐบาลสหรัฐอเมริกา วันที่ 18 มิถุนายน 2500. บันทึกของนายป่น จาติกวนิช
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ถึง นายกรัฐมนตรี วันที่ 18 มิถุนายน 2500.
. (3) สร 0201.14/14 เอกสารสำนักนายทรัฐมนตรี เรื่อง ช้างชาวด่างประเทศเป็น
ครูฟิกหัดตำรวจร่ม (21 ธันวาคม 2496 - 18 มกราคม 2502) หนังสือจาก พล.ต.อ.
เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
วันที่ 15 ตุลาคม 2496.
. (3) สร 0201,15/ 5 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การจัดคณะทูตทหารไป
-
วอชิงตัน (30 มิถุนายน 10 สิงหาคม 2497) .
. ( 3) สร 0201.16/ 9 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ทูตอเมริกันประจำ
ประเทศไทย ( 30 ธันวาคม 2496 - 14 กุมภาท้นช์ 2501) .

217
ชุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

หจช . (3) สร 0201.17/16 เอกสารสีานักนายกรัฐมนครี ส์อง การพบปะสนทนาทางราชการ


ในสหรัฐฯ ของนายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ (19 - 30 สิงหาคม 2498) บันทึก
การสนทนาระหว่างรัฐมนตรีเผ่า นายพจน์ สารสิน และน.อ. สิทธิ เศวตศิลา กับ
นายฮอลลิสเตอร์ ( Hollister ) หัวหน้า ICA และทิเชเจอร์รัล ลอเร์นส์ ( Fitzgerald
I.orenz) 12 สิงหาคม 2498 เวลา 10-10.30 น.
. (3) สร 0201.20.1.1/16 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง นายกฯ (จอมพลป. )
ใปเยือนอเมริกา พ.ศ, 2498 (ข่าวตอนเยี่ยมอเมริกา) (11 เมษายน - 15 พฤษภาคม
2498) .
. (3) สร 0201.20.1.1/20 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รายงานการเดินทาง
ไปปฏิบัติราชการต่างประเทศ'ของนายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ (25 สิงหาคม
17 กันยายน 2498 ) หนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรี พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
-
อธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นดิน ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง วันที่
17 กันยายน 2498.
. (3) สร 0201.20.1.1/8 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเดินทางไปต่าง
ประเทศของ นายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ( เพื่อเยี่ยมเยียนบุคคลสำคัญของ
ประเทศต่างๆ มีอาทิ อังกฤษ อเมริกา ฝรังเศส เดนมาร์ก อิตาลี) เพื่อติดต่อเจรจา
เกียวกับภาระกิจสำคัญอันเป็นประ!ยชน์แก่ประเทศร(ๅติบางประการ ( 29 ตุลาคม
2497-7 เมษายน 2498) : บันทึกการพบและสนทนากับนายคัลเลศ รัฐมนตรีว่าการ
.
กระทรวงการต่างประเทศอเมริกัน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2497 รายงานเดินทาง
ฉบับที่ 3 พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 7
พฤศจิกายน 2497. รายงานเดินทางฉบับที่ 5 พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ถึง เลขาธิการ
คณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง วันที่ 16 พฤศจิกายน 2497.
. (3 ) สร 0201.21.3/101 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง นายอัลแลน คับลิว
.
คัลเลส ผู้อำนวยการองค์การซี.ไอ.เอ ( 8-11 กันยายน 2499) .
. ( 3) สร 0201.21.3/58 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง นายจอห์น ฟ่อสเตอร์
คัลเลส รัฐมนตรีว่าการด่างประเทศอเมริกันเดินทางมาเยี่ยมประเทศไทย ( 20
มกราคม - 15 มีนาคม 2499) วิทยุสารประจำวันของกรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 15
มีนาคม 2499. ฒ
. (3) สร 0201.21.3/89 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รองประธานาธิบดีแห่ง
สหรัฐอเมริกาจะมากรุงเทพฯ (4-10 กรกฎาคม 2499) วิทยุสารประจำวันของกรม
ประชาสัมพันธ์ ฉบับที่ 154 วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2499.
. (3) สร 0201.21/10 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง เอกอัครราชทูตอเมริกัน
และบุตรชายคนเลกถึงแก่กรรมโดยอุปัทวเหตุ ( 12 สิงหาคม - 28 ตุลาคม 2498 ) .

278
บรรณานุกรม

•1 จช . (3) สร 0201.23/ 10 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรีอง ห้องสมุดหนังสือสำหรับต่อ


ต้านคอมมิวนิสต (26 กันยายน - 22 พฤศจิกายน 2498 ) หนังสือจากหลวงวิเชียร
แพทยาคม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง วันที่
22 พฤศจิกายน 2498.
. ( 3 ) สร 0201.23/10 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรียง ห้องสมุดหนังสือสำหรับ
-
ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ( 26 กันยายน 22 พฤศจิกายน 2498) บัน'ทึก'ข้อความ นาย
บุฌย์ เจริญไชย รักษาการในตำแหน่งรองอธิบดี กรมประนวลราชการแผ่นดีน ฝ่าย
ต่างประเทศ ถึง เลชาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง วันที่ 26 กันยายน 2498.
- (3) สร 0201.23/21 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรีอง การฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับ
คอมมิวนิสต์ หรือนโยบายควบคุมหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์จินแดง (การสนทนา
ระหว่างเอกอัครราชทูต ณ กรงวอชิงตัน กับผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ สหรัฐ-
-
อเมริกา ) ( 24 พฤษภาคม 14 สิงหาคม 2500) : โทรเลขที่ 51/ 2500 พจน์ สารสิน
เอกอัครราชทูต เทยประจำสหรัฐอเมริกา กง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
ว้นท 16 พฤษภาคม 2500. หนังสือจากรักษ์ ปนยารชุน รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการต่างประเทศ ถึง จอมพลป. นายกรัฐมนตรี วันที่ 3 มิถุนายน 2500.
หนังสือลับจาก Max พ. Bishop ถึง รักษ์ ปันยารชุน 29 พฤษภาคม 2500.
. (3) สร 0201.45/42 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การลดรายการสินค้าที่ไทย
ห้ามส่งไปประเทศจนคอมมิวนิสต์ และแถลงการณ์เรื่องนโยบายการค้าระหว่าง
ประเทศ (15 กุมภาพันธ์ 2499 - 26 กุมภาพันธ์ 2500)
-. (3) สร 0201.45/51 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การควบคุมองค์การของ
รัฐ และบริษัทในความควบคุมของรัฐ ( 20 ตุลาคม 2498 - 15 สิงหาคม 2500 )
หนังสือจากสุนทร หงส์ลดารมค์ เลขาธิการสภาเศรษฐกิจแห่งชาดิ ถึงเลขาธิการคณะ
รัฐมนตรีฝ่ายการเมือง วันที่ 20 ตุลาคม 2498.
. กค 0301.9/8 เอกสารกระทรวงการคลัง เรื่อง ขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก
รัฐบาลสหรัฐอเมริกา (9 พฤศจิกายน 2497 - 14 ธันวาคม 2498) : จดหมายจาก
จอห์น อี . เทียวริฟ่อย เอกอัครราชทูตอเมริกันประจำประเทศไทย ถึง จอมพล
อากาศพ้น รณนภากาศ ฤทธาคน็ วันที่ 30 มิถุนายน 2498. หนังสือจาก พล.ต.อ.
เผ่า ศรียานนท์ อธิบดกรมประมวลราชการแผ่นดิน กึง นายกรัฐมนตรี วันที่ 22
ตุลาคม 2498.
. กต 73.7.1/77 เอกสารกระทรวงการด่างประเทศ เรื่อง การประชุมหัวหน้าคณะทฅ
อเมริกันในตะวันออกไกลที่กรุงเทพฯ (DK. JESSUP) มืการใปเที่ยวบางปะอินรวม
อยู่ด้วย (พ.ศ . 2492-2493) ไปรษณีย์อากาศจากพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองคเจา
๙ ' ร
/

วรรณไวทยากร เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ


ต่างประเทศ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2492.

279
ชุนคิก ศักดินา และพญาธนทรี

หจ'ช. กต 73.7 .1/87 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรือง คณะสำราจอเมริกันเดินทางมา


'

ประเทศไทย (พ.ศ. 2493) หนังสือเลขที่ 84 Stanton เอกอัครราชทูตอเมริกัน ถึง


นาขวรการบัญชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 9 สงหาคม 2493.
— กค 80/ 29 เอกสารกระทรวงการด่างประเทศ เรื่อง บทความเกี่ยวกับประเทศไทย
ในหนังสือพิมพ์ THE TIMES (พ.ศ. 2493) . 1
.กต 80/144 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การวิเคราะห์การพีองของ
ประเทศไทย (พ.ศ. 2500) . I
. กต 80/158 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง นายปรีดึ พนมยงค์ ให้
สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เกี่ยวกับประเทศไทย (2500 ) . I
. กด 80/189 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง สรุปห้าข้อข่าวสำคัญจากรอย
เดอร์ (พ. ศ. 2500)
. กด 81.35/42 เอกสารกระทรวงการด่างประเทศ เรื่อง สำนักข่าวอเมริกันขอตั้ง I1
สาขาที่อุบล อุดร โคราช และลำปาง (พ.ศ. 2497 ) : บันทึกจากหม่อมเจ้าดีสกฤทธี้
jI
II
กฤดากร อธิบดีกรมอุโรปและอเมริกา ถึง รัฐมนตรีว่าการฯ ต่างประเทศ วันที่ 17
.
กุมภาพันธ์ 2497 หนังสือกระทรวงการต่างประเทศ กรมหมื่นนราชิปพงฅ์ประพันธ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึง นายกรัฐมนตรี วันที่ 30 มกราคม
2497. หนังสือสับจากหลวงชำนาญอักษร เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหารถึง I
]
II
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 11 กุมทาพันธ์ 2497. สำเนาบันทึก
ช่วยจำ ( Aide Memoire ) ของโดโนแวน เอกอัครราชทูตอเมริกัน วันที่ 29
มกราคม 2497.
. กต 81.35/50 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง ตั้งนายพลโดโนแวนเป็นที่ 1
-
ปรีกษาสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ (พ. ศ. 2497 2498) หนังสือกระทรวงการคลังจาก II
เภา บริกัณฑ์ยุทธกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศ วันที่ 21 มกราคม 2498 .
. กต 87/46 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง บันทึกการสนทนา (พ.ศ. 2499)
บันทึกการสนทนาระหว่างเสด็จในกรมฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการด่างประเทศ I
กับนายแอนชูคสั ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตอเมริกัน วันที่ 13 มิกุนายน 2499. 1
. คด 0202.1.1/13 เอกสารกระทรวงคมนาคม เรื่อง บันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี 1
ครั้งที่ 23/2500 (พ.ศ. 2500) .
. คค 0202.1.1/ 2 เอกสารกระทรวงคมนาคม เรื่อง บันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี I
ครั้งที่ 5/2500 (พ.ศ, 2500) .
. คค 0202.1.1/5 เอกสารกระทรวงคมนาคม เรื่อง บันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี
ครั้งที่ 8/2500 (พ.ศ. 2500) .
I

280
บรรณานุกรม

หจช . บก สูงสุด 1 668 เอกรกรกใ)งบัญชาการทหารสูงสุด เรื่อง พ .ร . บ . ป้องกันการ


กระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ . ศ . 2495 (13-21 พฤศจิกายน 2495 ).
. บก สูงสุด 7 / 5 เอกสารกองบัญชาการทหารสูงสุด เรื่อง รวมเรื่องเกี่ยวกับยศทหาร
เช่น กฎหมาย ข้อบังคับการแต่งตัว ข่าวเกี่ยวกับการแต่งตั้งทหาร ฯลฯ (5 กุมภาพันธ์
2495 - 5 เมษายน 2500) บันทึกย่อรายงานการประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 3 วันที่
27 เมษายน 2497 .
. บก สูงสุด 7 /6 เอกสารกองบัญชาการทหารสูงสุด เรื่อง รวมเรื่องเกี่ยวกับการ
ประชาสัมพันธ์ ให้ข่าวและการลื่อสารต่างๆ (19 ตุลาคม 2497 - 18 เมษายน 2500)
รายงานการประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 6/2499 13 มิถุนายน 2499.
. มท. 0201.2 .1.23/41 เอกสารสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คำสั่งของ
รัฐมนตรีว่าการทระทรวงมหาดไทย (จอมพลป . พิบูลสงคราม ) เรื่องอำนาจในการ
ออกข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการใช้กำลังตำรวจเคลื่อนย้ายและเตรียม
พร้อม (พ. ศ. 2498).
. มท . 0201.2 . 1 / 375 เอกสารสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โครงการ
ศึกษาอบรมระเบียบวิธีและการปฏิบัติงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม (พ . ศ. 2496)
สำเนาคำเชีญชวน ใบสบัครโครงการศึกษาอบรมระเบียบวิธี แคะการปฏิบัติงานวิจัย
ทางวิทยาศาสตร์สังคม จากนายคูเชียน เอ็ม แสืงค์ ผู้อำนวยการสถานวิจัย ม .
คอร์ฒล กรุงเทพฯ ถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย วันที่ 30 พฤศจิกายน 2496 .
. มท . 0201.2. 1/571 เอกสารสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แผนปฏิรูป
การปกครอง (พ .ศ. 2498).
. มท . 0201.7/ 17 เอกสารสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กรมตำรวจแจ้ง
ว่า เนื่องจากกรมตำรวจได้ตั้งกองตำรวจรักษาดินแดนขึ้นใหม่จึงขอให้นำเรื่องเสนอ
รัฐมนตรีว่าการด้วย (พ . ศ. 2495 ).
. สบ . 5.1 .1.2/ ไ เอกสารส่วนบุคคล ม .ล. ปีน มาลากุล เรื่อง รายงานการประชุมกลุ่ม
ประเทศเอเชีย -อัฟ่ริกา (พ .ศ. 2495-2504) ภาคผนวก สรุปผลการประชุม อัฟ่โฟร-
เอเชี่ยน ครั้งที่ 1 ที่เมืองบันดง ประเทศอิน !ดนึเชีย วันที่ 18 เมษายน 2498.
. สบ . 9.2 . 3/8 เอกสารส่วนบุคคล นายเอก วีสกุล เรื่อง ภาพข่าว เหตุการณ์ สังคม

เศรษฐกิจการเมือง , ข่าวรัฐประหารปี 2490 (พ .ศ. 2488-2491 ).


. สบ . 9.2 . 3.14 เอกสารส่วนบุคคล นายเอก วีสกุล เรื่อง ข่าวการเลือกตั้งและจัด
ตั้งรัฐบาล มืนาคม 2500 (พ .ศ. 2500).

บทความ หนังสัอ วิทยานิพนธ์ และเอกสารอื่นๆ


40 ปี คชด. 6 พฤษภาคม 2536 . 2536. กรุงเทพฯ ะ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน.

281
ชุนศึก ศักดินา และพญาอีนทวี

กฎนัดรปาชีพิศ สนธิสัญญาการใ1องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ พิธีสารต่อทัพสนธิสัญญา


การป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย และประมวลสนธิสัญญาแลรอ yสัญญาระหว่าง
ประเทศบางฉบับ . 2497 . พระนคร : พระจันทร์.
กนด์ธีร์ ศุภมงคล. 2537. การวิเทโศบายของไทย ระหว่างปีพุทธสักราช 2483 ถึง 2495 .
กรุงเทพฯ : โพสต์พับลิชชิ่ง.
กมล เข็มทอง. 2493. ส่อเมโกนแดน๙วรรค . พระนคร : ศัลป'ชัย.
กมล จันทรสร. 2500. วิธีกำสัดนักการเมืองชั่วจากหนังส่อพิมพ์ประชาธิปไตย ฉบับวันเกดที่
24 มกราคม 2500 . พระนคร ะ ประชาธีปไตย ,
กรุณา กุศลาสัย. 2532. ชีวิตทึ่รถึอกไม่ได้ : สัตชีวประวัติของผู้ทีเกิดในแผ่นตินไทยคนหนึ่ง.
กรุงเทพฯ: แมคาผาง.
1 o

. 2545. คฌรทูฅใต้ดินสู่ป้กกิ่ง. กรุงเทพฯ ; สุขภาพใปี.


กาจ กาจสงคราม, พล.ท. 2492ก. เรื่องของวันชาติ 2492 . พระนคร : รัฐภักดี.
.
. 2492ข. สารคดีสับ คดีปฎิวัตรประเทศไทย 2492 พระนคร : รัฐภักดี.
. 2492ค. สารคดี เรื่อง กำสังและกำนาจของประ{ทศชาติ. พระนคร ะ รัฐภักดี.
. 2492ง. สารคดี เรื่อง สถานการฌ์ของผุ้ลืมตัว. พระนคร : รัฐภักดี.
— ' 2492จ. สารคดี ส่าเนาจดหมาอของ 'อมตชน’ กับเรีองความตอบประเล็น เรื่อง
.
เกี่ยวกับประเทศชาติและคฌะรัฐประหาร 8 พ.อ. 2490 พระนคร : รัฐภักดี.
กาญจนะ ประกาศ'รุผิสาร, พ.อ. 2546. ทหารจีนคณะชาติ ก๊กมืนตั๋ง ลกค้างทางภาคเหปีอ
ประเทศไทอ. กรุงเทพฯ ะ สยามรัตน์พรึ้นดํ่ง. ฐ
กิตติคักดิ้ ศรีอำไพ. 2529. ประชาธิปไตยศพ พล.ต.อ. เผ่า ศรีอานนท์ . กรุงเทพฯ : กิตติ
คักดิ้ ศรีอำไพ.
กิตติคักด อุไรวงศ์. 2552. “ความเป็นมา(เละป๋ญหาสถานะของส์านักงานทรัพย์สินส่วนพระ
มหากษัตริย.์ ” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กุลลดา เกษบุญชู มด. 2517. “ธนาคารโลกกับพัฒนาการเศรษฐกิจของไทย.” วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาความส้มพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. -
, 2550 การเมืองไทยในอุคสฤษดึ้ ถนอม ภาอได้โครงสร้างอำนาจโลก. กรุงเทพ'
กองทุน!]ริดี พนมยงศ์ มูลนิธิ 50 ปีธนาคารแห่งประเทศไทย.
. 2552. ความขัดแยงทางการเมืองของไทย : ข้ามไปใบัพ์นพลวัตกายใน. กรุงเทพฯ
มูลนิธิ 14 ตุลา. 1
2562. ระบอบสมบูรพาญาส่ทธิราชย : วิวัฒนาการรัฐไทย. นนทบุรี ะ ฟ้าเดียวกัน
กูเชนโก, อึเกอร์. 2497 . ม่านเหล็ก หรือ กายโนวงการจารกรรมของสตาลน ( The from
.
Curtain ). แปล ชนะ ชาญเดชา พระนคร : นครไทย.
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. 2551. “การเมองว่าด้วยการต่อล้ทางชนชั้นในประเทศไทยจาก หา,,
2535-พ.ศ. 2549." วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรรK
มหาวิทยาลัย. V

282
บราณานุทาน

เกงกิจ กิติเรียงลาภ . 2559. “มานุษยวิทยาชักรวรรดิ ; การประดิษเ ’หมู่บ้านชนบท , และ


กำเนิดมานุษยวิทยาในยุคสงครามเย็น /, รายงานวิชัยเสนอสำนักงานกองทุนสนับสนุน


การวจย.
^พ

. 2561. แผนที่สร้างช } ติ . กรุงเทพฯ : Illumination.


'

เกรียงศักดิ้ พิศนาคะ. 2517. เถือกตั้งสทปรก. กรุงเทพฯ ะ เอเชยการพิมพ์.

— .
เกียรติ (สละ ลิขิตกุล) 2493ก. ชิน!ซก. พระนคร : ชัยฤทธิ.้
. 2493ข, พงนารดารการฒืรง. พระนคร : เกียรติลักที.่
ข้ออังกับว่าด้วยการจัดการพรรคเสพนังคดีลา แลรกำหนดน!พาซ ’,นองพรรค ท.ศ. 2498
กับพระราชอัญญัติพรรคการเป้อง พ.ศ. 2498. 2499. พระนคร : ประชาช่าง.

-
ข้าพเจ้าถูกสั่งเนรเทศ .• เอกสารแพวกับกรฌีสั่งเนรเทศ บรรณาธการและผู้พิมพ์ ผู้ใมน (นา
x
V อ mนังสือทินพ์ฉวนหมินเป้า. 2494. พระนคร ; จฮง แช่ชั่ว กับเกยงตง แช่โง้ว.
ข่าว!ฆษฌาการ. 2490. ปีที่ 10, ฉบับที่ 11 (พฤศจิกายน) .
คนช่ใวอิสสระ. 2500. เบื้องหกังคดีเถือด ตุคอัศวินผยอง. พระนคร : อักษรบริการ.
ความดกลงว่าด้วยกาามช่วยเหลือทางการทหารระหว่างรัฐบาลแท่งประเทศ!ทยกับรัฐบาต
สหรัฐอเนร้า17 ตงนาม ฌ กรุ'}เหพ! ' วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2493. 2493. พระนคร :
พระจันทร์ .
แคล้ว นรปติ. 2500. เยี่ยมปักกิ่ง . พระนคร : อักษรวัต]นา.
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านจิตวิทยา (Psychological Strategy Board ). 2544. “ แผน
ยุทธศาสตร์ด้านจิตวิทยาของสหรัฐอเมริกาต่อชาวไทยในเอเชียตะวันออกเรยงใต้."
-
ปัาเดียวกัน ปีที่ 9, ฉบับที่ 2 (เมษายน มิกุนายน ) : 135-66.
โฆษณาการ, กรม. 2483. ประมวลคำปราศรัยและตุrumพจน์ของนายกรัฐมนดรี. พระนคร :
พานชสุภผล.
จงกล ไกรฤกษ์, ร.ท. 2517. ติลปะการเถือกตั้ง , พระนคร ; ประพันธ์สาฅ์'น.
.
. 2546. อยู่อย่างเถือ : อันทึก'ชีวิตนักฅ่อถืทางการเมืองยุคบุกเบิก ( 2475-2500 )
เชียงใหม่ : The Knowledge Center.
จันทรา บูรณฤกษ์ และปิยนาถ บุนนาค. 2521. “ การศึกษาผลกระทบทางการพองจาก
-
ความสัมพันธ์ไทย สหรัฐอเมริกา (พ.ศ . 2463- 2506 ) . ” รายงานการวจยทุน
รัชดาภิเษกสมโภช ฐพาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จารึก ชมพูพล. 2500. อันทกจากบางขวาง , พระนคร : สหบรรณ.
.
. 2501. สูรสรกาพ พระนคร : สหบรรณ.
I

จำลอง รทธะรงค์. 2492. ละครการเมือง . พระนคร ะ สหอุปกรณ์การพิมพ์.


จิระ วิชิตสงคราม . พล.อ . 2497 ก . “ การช่วยเหลือทางการทหารของสหรัฐอเมริกา. ”
กลาโหม ปีที่ 1, ฉบับที่ 1 (มกราคม) : 74 76.-

283
ชุนศึก ศักดินา และ;พญาอินทรี

ขิระ วิชิตสงคราม. พล.อ. 2497U. “นโยบายป้องกันประเทศสหรัฐอเมริกา,” กสาโหม ปีที่ 1,


ฉบับที่ 4 (เมษายน) : 29-30.
จุ'พาพร เอื้อรักสกุล . 2529. “ กรณีมายาเกวซ : ศึกษาการตัตสืนนโยบายในภาวะ
วิกฤตการณ์ .’’ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ใจ อื้งภากรณ์ , สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ. 2544. อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการ
เปลี่ซนแปลง . กรุงเทพฯ ; คณะกรรมการรับรู้และสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม
2519.
เฉลิม มลิลา. 2518. “รัฐประหาร พ.ศ . 2500 ใน!เระเทศไทย.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร
มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสดร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฉียบ อัมพุนันทน์, ร.ต. อ. 2501. มทาวิทซาลัซของข้าพเจ้า . พระนคร : ไทยสัมพันธ์.
ชวน รัตนวราหะ. 2518. ก่อนทึาสาง. กรุงเทพฯ : สหมิดรการพิมพ์.
ชอมสกี, นอม. 2544. อเมริกา อเมริกา อเมริกา. แปล ภัควดี วีระภาสพงษ์. กรุงเทพฯ :
มูลนิธิโกมลคีมทอง .
.
ชัยยงฅ์ ปฎ'พิมพาคม, พล.ต.ท. 2522. อธิบดีตำรวจสมัยหนึ่ง กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.
.
ชาญวิทธ์ เกษตรศึร.ิ 2535. 2475 การปฎวัดีชองสยาม กรุงเทพฯ ะ ประพันธ์สาสัน.
. 2543. 2475 การปฎิวัดีสยาม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์แล:
มนุษยศาสตร์.
ชาญวิทย์ เกษตรศึริ และคณะ, บ.ก. 2540. บันทึกการสัมมนาจอมm ป. พิบูลสงคราม ทบ
การเมืองไทยสมัยใหม่ . กรุงเทพฯ ะ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ชาญวิทย์ เกษตรศึริ และธำรงศักดิ้ เพชรเลิศอนันต์ , บ.ก. 2544 ปริดี พนมยงค์ แสะ 4
รัฐมนตริรสาน + 1, กรุงเทพฯ ; มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์. I
ชาตรี ประกีดนนทการ. 2548. คฌะราษฎรฉลองรัฐธรรมนูญ : ประวัดีศาสตร์การเมืองหลัง
2475 ฝานสกาป้ตยกรรม “อำนาจ ". กรุงเทพฯ : มต็ชน. a
-
. 2552. กึลปะ สถาปัตยกรรมคฌะราษฎร: ส้ญสกษฌํทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์.
กรุงเทพฯ : มติชน.
-
ชาตรี ฤทธารมย์. 2517. “นโยบายต่างประเทศของประเทศไทย (2488 2497) .” วิทยานิพนธ์
ปริญญามทาบัณฑิต สาขาการระหว่างประเทศและการทูต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัอ.
ชาติชาย มุกสง. 2557. “ 2475 กับการปฏิวัติรสชาติอาหาร : จากกินเพื่ออยู่สู่กินเพี่อชาติแสะ
การต่อลัทางวัฒนธรรมของรสชาติในสังคมไทยร่วมสมัย. ” ใน จาก 100 ปี ร.ศ. 130
กึง 80 ปีประชาธิปไตย , บรรณาธิการ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และทพาพร ตันติสุนพร,
-
155 213. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา.

284
บารณานุกรม

ชาย ไชยกาล, พ.อ. 2496 . สแดนเสรึ ( Leap to Freedom ). พระนคร : หอวทยาการ.


ชีวิตและงานของหลวงสุๅ/ มนัยประดิษฐ์ (พิมพ์แพในงานครบรอบหกสิบปีๆ.เองหลวงสุ yมนัย
ประดิบฐ ). 2507. พระนคร ะ ห้องภาพสุวรรณ.
ชีวิตและงานของอารึย์ ลีวีระ. 2506. พระนคร : ไทยพณิชการ.
ชุมพล โลหะชาละ, พล.ต.ท. 2516. "หนีไปกับจอมพล.’, ใน เบื้องแรกประชาธิปตัซ :
บนทึกควานทรงจา ของผอยในเหตุการณ์สมัย พ.ศ. 2475- 2500 , 562 - 67 .
กรุงเทพฯ : สมาคมบักข่าวแท่งประเทศไทย .
ชุมสาย เชยวัต. 2538. "บทบาททางการเมืองของพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ พ.ศ. 2490-
2500." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มทาวิทยาลัย.
เชตึ มณีน้อย. 2526. “ ต้อยๆตามกันมากว่า 30 ปี. ', ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลีงศพ
เฉลีมวฒิ โฆรต ฌ mpดมกฎกบตริซารพ 19 ปีนาคม 2526 . กรุงเทพฯ ะ
ธรรมดา.
-้ , 2522. รวมบทความสัมมนาของนิลีตว่าด้วยความส้มพนธ์ระทวีๅงประ[ทศ.
ไชยวัฒน์ คํคำชุ
กรุงเทพฯ : ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
, บ . ก . 2540. ญีปนทึกบา . กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
. 2549. นโยบายต่างประเทศพี่ปน : ความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลง .
tj 4

กรูงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


1ชยันต รัชชกล. 2560. อาณานิคมสมมูรณาญาดิทธิราชย์ ; การก่อรูปรัฐไทซ(ท่า'V ใหม่จาก
.
ศักดินานิยมสู่ทุนนิยมรอมนอก แปล พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์. กรุงเทพฯ : อ่าน.
ซัลวาดอริ, บัสสิโม
' .2498. ประวัตลัทธิคอมมิวนิสต์ป้จจุมัน ( The Rise of Modern Com-
.
munism ). แปล ประจิด พัธนะพันธ์ พระนทร : วิระธรรม.
.
ซิสสโตรี,่ ฟราน. 2497 พระทุท!โศาสนาตอมลัทธิม๊ากชิสม. พระนคร : มหามกุฎราช-
.
วิทยาลัย
ณรงค์ไตรวัฒน์. 2517. ฒื้องหลังการเมืองยุคทมิฬ . กรูงเทพฯ : อุดมศึกษา.
ณัฐพล ใจจริง. 2544-2545. “วิวาทะท) องหนังสือ ‘เค้าโครงการณ์เศรษฐกิจฯ' และ ‘พระบรม
ราชวินิจชัยฯ’ กับการเมืองของการผลิดชํ้า.“ จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ 6
(มิถุนายน-พฤษภาคม) : 2- 22.
. 2547. “ 555 กับ My Country Thailand : ความเคลื่อนไหวทางการเมือง ความ
คิดทางเศรษฐกิจและประวัดิศาสตร์นิพนธ์แบมชาตินิยมวิพากษ์ของพระศารสๅสน์
พลขันธ์.” รัฐศาสตรัส'าร 25 (1) : 254-327 .

285
’ขุนฟิก ค้กคึนา และพญาชนทรี

ณัฐพถ ใจจรง. 2547-2548. “เดือน บุนนาค กับ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง.”


ๅเลสารหอจตหมายเหตุธรรมศาลตร์ 8 (มิถุนายน-พฤษภาคม) : 50 63.
.
- ,
- 2548 “ การรื อ
้ สร้ า ง 2475 : ฝ็ น จริ ง ของนั ก อุ ด มคดี ‘น
' าเงิ น ’
แท้ .’ ศลปวัฒนธรรม
ปีทื่ 27, ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) : 78 117. -
. 2549-2550 . '‘มองคดีการลบชื่อนักศึกษากรณี ‘กบฎลันตภาพ , ผ่านเอกสาร
ศาสตราจารย์วิจิตร สุลิตานนท์.” พสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ 10 (มิถุนายน-
พฤษภาคม) : 57 67. -
-
• 2550ก . “ การปฏิวัติ 2475 และ ‘รอยัลลสต ' : การเมืองไทยกับ *

พันธุ.," รัฐศาสตร์£กร 28 (1) : 263-352.


ระบอบกลาย

. 2550ข. “ความชอบด้วยระบอบ ะ วิวาทะว่าด้วยอำนาจของ ‘รัฐฐาธิป้ตย์’ ในคำ


(มกราคม ) : 76 101. -
-
อธิบายกฎหมายรัฐธรรมบูญ ( 2475 2500) .” ติรปวัฒนธรรม ใเที่ 28, ฉบับที่ 3

. 2551. “ความลัมพันธัใทย-จีนกับความขัดแย้งทางการเมือง : การทูตใด้ติน (พ.ศ.


2498-2500) ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม.” รัฐศาสฅร์สาร ปีที่ 29 (ฉบับ
พิเศษ ) : 29-80 .
, 2553. “ จากสงครามจีตวิทยาแบบอเมริกันสู่การสร้างสัญลักษณ์แห่งชาติภายใต้เงา
อินทรีย์ . ” การสัมมนาวิชาการ สงครามเย็นในประเทศไทย วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553
อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
.
. 2556ก ขรฝ็นใฝในกินบันเหลือเชอ : ความเคลื่อนไหวชองขบวนการปฏิปักษ์
-
ปฏิวัติสยาม ( พ. ศ. 2475 2500 ). นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน.
.
. 2556ข “พระบารมีปกเกล้าใต้เงาอินทรี.” ใน ขอกินไกิไนกินบัพหลือเพ , 289 -
339. นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน.
. 2559. กบฏบวมดข : เบองนรกปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม 2475. กรุงเทพฯ ะ มติชน.
อ่มุ้รุวุฒิ สุทธิสงคราม . ม.ป.ป. นายควง อภัยวงศ ภับพรรคประชาริปัตษ์. กรุงเทพฯ : เรีอง
คิลป็.
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. 2546. การเมืองสลงกิงไขง : การรวมกลุ่มทางการเมืองของ ส.ส.
รสาน -
พ.ศ. 2476 2494 . กรุงเทพฯ: มติขน.
.
ดำริห์ ปัทมะศึร.ิ 2491. บันทึกความจำและกรฌีสวรรคต พระนคร : สุรีย์รัตน์.
ถนอม กิตติขจร, จอมพล. 2516. “ คำไว้อาลัยแด่คุณป๋า จอมพล ผัน ชุณหะวัณ.” ใน
รนสร(นไนงานพระราชทานเพลงศพ จอมพลกิน ชุณหะวัณ ณ วัดพระศรีมหาธาตุ
วันที่ 7 พqyกาคม 2516. กรุงเทพฯ ะ อรุณการพิมพ์ .
.
ถนอมจิตต์ มีชื่น. 2531 . “จอมพลป พิบูลสงครามกับงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (พ.ศ.
.
2495-2500) ” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.

286
บรรณานุกรม

“ถามตอบพายัพ วนาสุวรรณ หัวข้อ จอมพลป. VS นายกทักชิณ.” ผู้จัดการออนไตน , 3]


. .
สงหาคม 2548, เข้าถึงเมื่อ 11 กันยายน 2552, www maaager co.th/Politics/
PoliticsQAQuestion .asp?QAID= 5246,
แถมสุ,บ นุ่มนนท์. 2514. “การเจรจาทางการทูตระหว่างไทยกับอังกฤษ ค.ศ. 1900-1909.”
ใน ชุมนุมบทความทางวิชาการสวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ในโอกาสทพระๆ!นมพครบ 80 พรรษาบริบูรรร์ 25 สิงหาคม 2514 กรูงเทพฯ : .
โครงการตำรากังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมกังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
. 2521. “จอมพล ป. พิบูลสงครามกับการสร้างชาต็." วารสารประวัติศาสตร์ ใ!ที่ 3,
ฉบับที่ 2 (พฤษกาคม-กังหาคม ) : 14-31.
. 2524ก. การเมืองและการต่างประเทศไนประวัติศาสตร์ไทย. กรูงเทพฯ : ไทยวัฒนา
_____ พานิช.
252411. “ขบวนการต่อต้านอเมริกันสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม. ” ใน รวม
บทความประวัติศาสตร์ 2 (มกราคม) : 50-83.
, 2525. ความสัมพันธ์ระหว่างไทย -สหวัฐอเมริกาภพหลังสงครามโลกครั้งที่สอง .
กรุงเทพฯ : สมาคมกังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
. 2528ก. การทูตไทยสมัยวัตนโกสินทร์ . กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
252811. "เมื่ออเมริกันศึกษาประวัติศาสตร์เมืองไทย . ” ใน การทูตไทยสมัยรัตน-
โกสินทร์ , 57-66. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
.
. 2539.50 ปี พรรคประชาธิปีตย์กับการเมืองไทย ม.ป.ท : ม.ป.พ. .
.
ทหารเก่า {สละ ลิขิตกุล) . 2521 เบึ๊องหน้า -พองหลัง พรรคประชาธิป็ตย (ลับเฉพาะ ไม่ -
.
เอยมีการเป็ดเผย ) กรุงเทพฯ : การะเวก .
ทองใบ ทองเปาด์. 2517 . คอมมีวนิสตลาดยาว. กรุงเทพฯ : คนหนุ่ม.
หักษ์ เฉลิมเตียรณ. 2526 , การเมืองระบบพ่อขุนทูปกัมศ์แบบเผด็จการ แปล พรรณ์ .
.
ฉัตรพลรักท์ และม,ร ว. ประกายทอง สิริสุข, กรุงเทพฯ ; มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
หักน์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา , พล .ต.ต. 2536 . “ บันทึกความทรงจำ.’ ใน 40 ปี ตชด 6 .
พฤษภาคม 2536 . กรุงเทพฯ : กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน.
หักท์ เสนิวงศ์ณอยุธยา, พ.อ. 2496. รนโดจีน : รัฐสมทบชองสหภาพฝรั่งเศส. พระนคร :
การพิมพ์ ทหารผ่านศึก .
เทนเนี่ยน, มาร์ก เอ. 2497. ประตูมีตา (Out Secret in Safe ). แปล ประจิต พันธนะพ้นปี.
พระนคร : ประเสริฐศึลปี .
เทอดเกียรติ และเอกซเรย์. 2493. ปทานุกรมการเมือง . พระนคร : รัชดารมท์.
เทียน ประทีปเสน. 2507. จอมพลป. ขุนด็กผู้ไร้ ,แผ่นติน. กรุงเทพฯ: พัฒนาการพิมพ์ .
. .
เทียมจันทร์ อาแหวว 2521 ‘บทบาททางการเมืองและการปกครองของจอนพลป, พิบูล-
'

สงคราม (พ. ศ. 2475-2487 ) .” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

-
JMK -

287
ชุนศึก ศกคนา และพญายืนทรื

ไทยน้อย (เสลา เรขะรุจิ ) . 2492. จลาจล 2492 . พระนคร ะ โอเตียนสโต!


.
. 2494. กบฎ 29 มกุม? พระนคร ะ โอเตียนสโต!
. 2513. 25 คดีกบฎ . พระนคร ะ ประมวลสาสัน.
ไทยน้อย (เสลา เรขทู่ชิ) และกมล ปีนทรสร, 2503. วอเตอรัสูของจอบพลแปลก. พระนคร ะ
แพร่พิทยาและโอเตียนสโต!
.
ธงชัย วินิจจะถูล 2544. “ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม : จากยุคอาณานิคมอำพรางสู่
ราชาชาตินิยมใหม่ หรือลัทธิเสด็จพ่อของกระภมพีไทยในปัจจุบัน. ” ศลปวัฒนรรรบ
ใเที่ 23, ฉบับที่ 1 (พฤศจิกายน) : 56-65.
. 2547. “ชัยชนะของเสรีประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง.” ใน
ft
ธรรมศาลด!และการเบืองเรื่อง } ,(พ, บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกมตรติร,ิ 33-63,
กรูงเทพฯ ะ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ .
.
. 2548. ข้ามใบ้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ๆลาคม กรุงเทพฯ: มูลนิธิ 14 ตุลา
อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา.
. 2550ก. “ข้ามไม่พ้นประชาธิปไตยหลัง 14 ตุลา ะ ประชาธิปไตยแบบใสสะอาดของ
อภิชนกับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549. ” ใน รัฐประบาร 19 กันยา : รัฐประบาร
เพี่อระบอบประชาธิปไตยลันป็พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข , 30-57, กรุงเทพฯ :
ฟ้าเดียวกัน.
. 2550ข. “ความทรงจำ ภาพสะท้อน และความเงียบในหมู่ฝ่ายขวาหลังการสังหารหมู่
6 ตุลา (Memories, Reflections and Silence among the Right-Wingers after
the October 6 Massacre). ” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
, 2556 ก , กำเนิดสยาบจากแผนพี่ : ประวัติศาลตพูปีกายาของชาติ . กรุงเทพฯ :
โครงการจัดพิมห์คบไพ่และอ่าน.
. 2556ข. ประชาธิปไตยพี่ปีกษัตริย์อยู่เบนรการ{ปีรง : ว่าด้วยประวัติศาลตร์การฒืรง
ไทยลมัยใหม่ . นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน . J
|
. 2558. 6 ตุลา ลีบไม่ได้จำไปตง : ว่าด้วย 6 ตุลา 2519. นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน.
.
. 2559ก กนไทย/คนอื่น : ว่าด้วยคนอื่นของควาบเป็นไทย. นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน.
. 2559ข. “คนอื่น'ในผนต็นตน : การเดินทางกับการจำแนกชาติพันธุของสยามตาม
กิ'นฐาน ระหว่าง พ.ศ. 2428-2453. ” ใน คนไทย/คนอื่น : ว่าด้วยคนอื่นของควพ
เป็นไทย , 5-35. นนทบุรี ะ ฟ้าเดียวกัน.
.
. 2559ค 1ฉบบน้าราชาชาดีนิยม : ว่าด้วยประวัติศาลตร์ไทย. นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน
. 2559ง. "ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม : จากยุคอาณานิคมอำพรางสู่ราชา
ชาตินิยมใหม่ หรึอลัทธิเสด็จพ่อของกระฎมฟ้ไทยในปัจจุบัน.” ใน โฉมหนาราชา
-
=*
ชาตนยม
ะ รฺเ
- .
: ว่าด้วยประวัติศาลดรไทย , 5 19 . นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน J

288
บรรณานุกวม

.
ธงชัย วินิจจะกูล 2559จ “กาวะอย่างไรหนอที่เรียกว่าศิวิไลซ์ะ เมื่อชนชั้นนำสยามสมัย
รัชกาลที่ 5 แสวงหาสถานะของตนเองผ่านการเดินทางแล!;พิพิธภัณฑ์ทั้งในและนอก
-
ประเทศ." ไน คนไทย/คนอื่น : ว่าด้วยคนอื่นของความiปีนไทร, 37 90. นนทบุรี :
ฟ้าเดียวกัน.
. 2559ฉ. “ สกาวะอาณานิคมของสยามและกำเนิดประวัติศาสตร์ชาติไทย." ใน
โฉมทน้าราชาชาตินิยม : ว่าด้วยประวัติศาสตรไทย , 21-53. นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน.
. 2562 “ภูมทัศน์ของอดีตที่เปลี่ยนไป ะ ประวัติศาสตร์ชุดใหม่ในประเทศไทยหลัง 14
ตุลา.” ใน ออกนอกขนบประวัติศาสตร์ไทย : ว่าด้วยประวัติศาสตร์นอกขนบนละ
วิธิวทยาทางเลือก , 17-49. นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน.
ธานินทร์ กรัยวิเชียร. 2519- พระมหากมัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย , กรุงเทพฯ : กรม
วิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
ธานื สุขเกษม. 2525. “ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน : วิเคราะห์
แนวนโยบายต่างประเทศของไทยที่มืต่อจีน พ.ศ. 2492-2515.” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร-
มหาบัณฑิต สาขาการระหว่างประเทศและการทูต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
.
ธำรงศักด เพชรเรศอนันต์. 2543. 2475 และ 1 ปีหลังการปฏิวัติ กรุงเทพฯ ะ สถาบันเอเชีย
ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย -
ศาสตร์.
. 2544. "แนวความคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจของม.ร.ว. ลึกฤทธิ้ ปราโมช สมัย
เป็นนายกรัฐมนตรี.” รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทูนสนับสนุนการวิจัย .
ธิบดี. 2493. จดหมายเหคูประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของสยามใหม่. พระนคร : ดารากร.
นคร ศรีวาณิช, พล.ต.ต. 2530. กำเนิดพลร่มไทย . กรุงเทพฯ ะ กองบรรณาธิการนิตยสาร
ใล่ห์เงิน.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ . 2532. ‘ระบอบรัฐนิยม จอมพลป.พิบูลสงคราม : การก่อรูปของ
แนวความคิดและความหมายทางการเมือง.” รัฐศาสตร์สาร ปืที่ 14, ฉบับที่ 1
-
(กันยายน เมษายน) : 228-74.
. 2535. การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์


และมนุษยศาสตร์.
. 2542. 'วิชารัฐศาสตร์ไทยในบริบทของประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางการ
-
เมือง.’' รัฐศาสตร์สาร 21 (1 ) : 23 76.
. 2546. ความคิด ความร นละอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475. กรุงเทพฯ ะ
ฟ้าเดียวกัน.
นงลักษณ์ ลิ้มคิริ, พ.อ. หญิง. 2549. ความสัมพันธ์ญี่ปุน-ไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จาก
งานค้นคว้าวิจัยของนักวิชาการญื่ปัน-ตะวันตก-ไทย : บทสำรวจสถานภาพแห่งความรู .
กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

289
ชุนศึก ศักดินา แตะพญาอินทรี

นราชิปพงศ์ประพันธ์ , กรนหมื่น ('พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร) . 2483. “คุฌานุสรณ์พระข้ยะ


มหาราช.” ใน ชุมนูมพระนิพนธ์ . พระนคร : ประชาชาติ .
. 2486. ประวัตการทูฅไทอ . พระนคร : อดม.
. 2488 . ความรู้ทั่วไปในการต่างประIทศ . พระนคร : สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่ง
ประเทศไทย .
. 2489- “วิเทโศบายของสยาม.” (พิมพ์ครั้งแรก ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติ 3 ตุลาคม
.
2475) , ใน 0มาศตแท่งสยาม พระนคร ะ บรรณกิจ .
. 2490. ภารกิจของทูตไนวอชิงตัน อารยะธรรมอเมร์กัน. พระนคร ะ ทอวิทยาการ.
. 2518. “พบจูเอนไลที่บันตุง.” ต!ราญรมย์ 25.
นริศ จรัสจรรยาวงศ์. 2561 , “‘หลอมนิกาย’ มหาลัง‘ฆกรรมคณะราษฎรอุปสมบทพระยา
พหลฯ พ .ศ. 2488. ” สีลปวัต/ มธรรม ปีที่ 39, ฉบับที่ 8 (มิถุนายน) : 108-29.
.
นายฉันทนา (มาลัย ชูพินิจ) . 2489. X.O Group : เรื่อรภพในขบวนการเต!ปีทอ. พระนคร :
ไทยพานิช วรรธนะวิบูลย์ และจำลองสาร.
นายประชาธิป๋ตย์. 2511. กลวิธีหาเสียงเลือกตั้ง. พระนคร : มิตรนราการพิมพ์.
นายเมือง เดิมชิ่อเถื่อน ( ถวิล อุดล) . 2491. กบฎนปงแอกอสานในคตีเตียง ศิริขันธ์ .
พระนคร : ประเสริฐอักษร.
นพกรัฐมนตืป.หี ัสัมกาบพนก่ผู้แทนหนังลือพิมพ์และผู้สี่อข่าวต่างประเทศ. 2498. พระนคร ะ
มหาดไทย.
นายรำ (รำพรรณ พุกกะเจียม) . 2500. ไม่'มี'เสียงหัวเราะจากภาคอ(ทน. พระนคร ะ ชัยฤทธ.
นิติศาสตร์รับศตวรรบใหม่ . 2500. พระนคร ะ คณะกรรมการชัดทำวารสารนิติศาสตร์ .
เนตร เขมะโยธิน, พล.ต. 2495. ไอเซนราวร์ . พระนคร : โชคชัยเทเวศร์.
.
. 2499ก. งานใต้ตินของหันเอกโยธี พระนคร ะ ธนะการพิมพ์.
. 2499ข. ชีวิตนพพล. พระนคร : ผดุงศึกษา.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. 2549. รัฐธรรมนูญสกาปนา : ชีวิตและชะตากรรมของประชาธีปไตอ
ในวัฒนธรรมไทอ. กรุงเทพฯ : วิภาษา. 1
บุณฑริกา บูรณะบุตร. 2534. “บทบาททางการเมืองของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดี.้ '
วิทยานิพนธ์อักษรศาสดรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จุพาลงกรรนมหาวิทยาลัย.
เบค, เอฟ และดับบลิว กอดิน. 2496. แดงรุแดง ( Russian Purge and the Extraction
of Confession). แปล เลอสรร ธรรมพิขา. พระนคร : สหชาติ .
. .
ประจวบ ทองอุไร 2500 สิ้นยุคม่ด . พระนคร : อักษรบริการ.
ประจวบ อัมพะเศวต. 2543. พลิกแผ่นตีนประวัติการเมืองไทย 24 มิถุนายน 2475- 14
ตุลาคม 2516. กรุงเทพฯ ะ สุขภาพใจ.
ประจักษ์ ก้องกิรติ. 2548. และแสัวความเคสิ้อนไหวก็ปรากฎ : การเมืองวัฒนธรรมของ
นักสีกบาและป็ญญาชนก่อน 14 ตุลา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

290
บรรณานุกรฺม

ประดาป พิบู ft สงคราม. 2517. ‘•ชี.ไอ.เอ, ” สราญรมย์ 24 : 324-34.


ประทีป สายเสน, 2532. กบฏวังหลวงกับสถานะของปรดี พนมองค์ . กรุงเทพฯ ะ อักษร
สาล้น.
ประภัสสร เทพชาตรี. 2543. นโยบายต่างประเทศไทยจากยุควิกฤตเศรษฐกิจส่สหัสวรรม
ใหม่. กรุงเทพฯ : จุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประล้ทธิ้ กาญจนวัฒน์. 2490. เจียงไคเช็ค : ประมุขของจีนใหม่ . พระนคร : รุ่งนคร.
ประสิทธี้ ลุลิตานนท์. 2542. จดหมายเหตุแห่งอดีต ( อนุสรฌ็ในงานพระราชทานดินผ่งศพ).
กรุงเทพฯ: โพสต์หับลิชชิ่ง .
ประเสริฐ ป๋ทมะสุคนธ. 2517. รัฐสกาไทยในรอนสี่รบสองปี ( 2485- 2517 ). พระนคร :
ชุมนุมช่าง.
ปราการ กลิ่นฟ้ง. 2551. "การเสด็จพระราชดำเนินห้องที่ต่างชังทวัคของพระบาทสมเด็จ
-
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอฅูลยเดช พ.ศ. 2493 2530. ” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหา
บัฌฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. 2560. "การชัดการงมประมาณและทรัพย์สินส่านพระมหากษัตริย์หลังการปฏิวัติ : ศึกษา
=
กรณองกฤษและสยาม
< ! (พ
.’ ดีาเดียวกันใ}ที่ 15, ฉบับ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม ) : 65-82,
.
ปรีดี พนมยงค. 2517 “คำนิยม.” ใน พุทธปรัชญาประยุกต์. กรุงเทพฯ : ประชักษัการพิมพ์.
.
. 2529. ขวิดผันผวนของข้าพเจ้าและ 21 ปีที่ลื้กัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน กรุงเทพฯ :
เทียนวรรณ.
. 2544. ช็วประวัดีย่ตของนายปรีดี พนมยงค์. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการศึกษา
วิจัยและประมวลผลงานของศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์.
.
ปรืดี หงษ์สต้น 2555-2556. “มองงานนิลองรัฐธรรมนูญในแง่การเมืองวัฒนธรรมหลังการ
ปฏิวัติ 2475.” จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ 16 (มิกุนายน - พฤษภาคม ) :
-
122 39.
ปลาทอง (ประจวบ ทองอุไร) . 2508. พรรคการพองไทย . กรุงเทพฯ ะ ก้าวหน้า.
.
ปากเหล็ก. 2502. ปฏิวัติ ( Revolution ) พระนคร ะ ป,ร .
ปิยบุตร แสงกนกกุล. 2559. รัฐธรรมนูญ : ประวัติขอความคิด อำนาจสถาปนา พสะการ
'

เปลี่ยนผ่าน. นนทบุรี : พิาเดียวกัน.


เปีดอภิปรายทั่วไปเมื่อ 29 สิงหาคม 2500 รวม 2 วัน 2 คืน โดยพรรคประชาริปัดค์ และ
กล่มสหภูมิในที่สุดต้องปฏิวัติ. 2501. พระนคร : ประยูร.
แปลก พินูลสงคราม, จอมพล. 2498. นายกรัฐมนตรีให้ส้มกาษถ่ร์แก่ผู้แทนหนังสือพิมพ์และ
ผู'้ สื่อข่าวต่างประเทศ . พระนคร : กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย.
, 2505 . “ คำปราศรัย เรื่องแนวนโยบายของรัฐบาล 4 กุมภาพันธ์ 2500 ณ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์." ใน ประวัติศาสตร์ไทยในระบอบประชาริปไตย 20 ปี ,
466-67. พระนคร : เกษมบรรณากิจ.

291
ขุนศึก ศักดินา และพญาธํนทวี

ผิน ชุฌหะวัณ, จอมพล. 2513. ชีวิตกับเหลุการณ์ พระนคร : ประเสริฐลิ1ริ.


.
ผิวบุศย์ อยู่พรหม 2490. ปทานุกรมคำแผลงอเมริกัน ( American Slang ). พระนคร ะ
ไอเดียนสโตร์.
เผ่า ศรียานนท์ , พล. ต.อ. 2513. “ชีวิตในด่างแดน." ใน อนุสรณ์ พล. ศ .อ.เผ่า ศรียานนท์
mo
วันถึงแก่อนิจกรรมครบ 10 ปี 21 พฤศจิ น 2513. พระนคร : ไทยสงเคราะห์ไทย.
. 2516. “ เหตุการณ์ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง.” ใน เบองแรท!hzช 7ธปต้ย :
บันทึกกวามทรงขำพองผู้อยู่โนเหตุการณ์ศมัย พ.ศ. 2475-2500 , 122-239. กรุงเทพฯ:
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย.
พยงค์ อรุณฤกษ์. 2502. ยุคปฎิวัติ. พระนคร : มานิตย์ ชีนตระกูล .
พวงทอง ภวัครพันธุ. 2549. สงครามทยดนาม : สงครามกับความจริงของ “รัฐไหย’’.
กรุงเทพฯ ะ คบไฟ .
. 2561. การต่างประเทศไทยในยุคสงครามพน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พอพันธ์ อุยยานนท์ , 2549. “ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุน
.
ทางธุรกิจ.'’ โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว ศ. ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร เรื่อง โครงสร้าง
และพลวัตทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
หัฒนชาติ เกริกฤทธสะท้าน. 2519. ยอดอัศวิน พล.ต.ส. เผ่า ฟรียานนท์. 3 เล่ม. กรุงเทพฯ :
ประมวลสาส์น.
.
พ้นเมือง. 2493 สยามนำหนา. พระนคร ะ อุดม.
พันศักดิ้ วิญญรัตน์. 2517. “CIA ข่าวจากสกลนคร : ของฝากถึงสภาความมั่นคงแห่งชาติ . ,,
-
สังคมศาสดร์ปริทัศน์ปีที่ 12, ฉบับที่ 2 (คุมภาพันธ์ ) : 14 27.
.
พิทยลาภพฤฒิยากร, กรมหมื่น. 2512 เจ็ดรอบอายุกรมหมี่นพิทยลพพฤฒิยากร. พระนคร :
พระจันทร์.
. 2517. อัดตชีวประวัติ . พระนคร : ดรณสาร.
.
พุฒ บูรณสมภพ, พ.ต.อ . 2532 , 13 ปี กับมุรุมเหล็กแห่งเอเชีย กรุงเทพฯ : พี.วาทิน
หับลเคชั่น.
. ม.ป.ป. ชัยชนะและความพ่ายแพ้‘นองมุรุมเหล็กแห่งเอเชีย. กรุงเทพฯ: ศูนย์รวม
ข่าวเอกลักษณ์.
.
พูนสุข พนมยงค์. 2525 “ชีวิตของลูกปาล. ” ใน อนุสรณ์นายปาล พนมยงท์. กรุงเทพฯ :
อมรินทร์การพิมห์.
พูนสุขพนมยงท์. 2545. 101 1เรีด-ี 90 พูนมุข. กรุงเทพฯ : ลลิตา สุดา สุปรีดา ดุษฎี วาผี.
เพ็ญศรี ดุ๊ก. 2527. การต่างประเทศกับเอกราชและอำนาจธรปไต0V องไทย ( ตั้งแต่สมัย
.
รัชกาลที่ 4 ถึงสินสมัยรัฐบาลจอมพลป พิบูลสงคราม). กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการ
พิมพ์.

292
บรรณานุกรม
' '

ไพศาล มาลาพันธ์ (ใสว มาสยเวช ) . 2528 . บันทึกนักโทแการเมีอง . กรุงเทพฯ ะ ลันติธรรม.


.
ฟ่รีเพรสส์. 2493. I นรพศหกวงกท พระนคร ะ สหกิจ.
.
ชื้เน รณนภากาศ ฤทราคนี, จอมพลอากาศ. 2516 “คำไว้อาลัย แด่ ฯพณฯ จอมพล, พล
เรือเอก, พลอากาศเอก ผน ชุณทะวัณ.,' ใน อนุลรฌ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
.
จอมพลกิน รุ'ณหะวัฌ ณ วัดพระศรีมหาธาตุ วันที 7 พฤษภาคม 2516 กรุงเทพฯ :
อรุณการพิมพ์.
. 2527. ความทรงจำ ,นองข้าพเจ้า ทีระลึกครบรอน 85 ปี 21 กุมภาพันธ์ 2527 .
กรุงเทพฯ ะ ม.ป.พ.
ภูธร ภูมะธน. 2521. “ศาลพิเศท พ , ศ. 2476 พ.ศ . 2478 และ พ.ศ. 2481." วิทยานิพนธ์
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มทาวิทยาลัย.
ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. 2495. “บันทึกพระราชวิจารณ์ เรื่องร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเดิม พ.ศ. 2495, 17 มกราคม 2495. ” ใน
-
คำอธิบายรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2475 95, ภาค 2, 257-59. พระนคร : ชูสิน.
. 2492. “(สำเนา) พระราชหัดถเลขาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมพลอดุลยเดช
ถึงจอมพลป. พิบูลสงคราม วันที่ 25 พฤศจิกายน 2490.” ใน ปฏิวัติรัฐประหาร และ
กบฏจลาจลในลมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย , 245-48. พระนคร : รัฐภักดี.
. .
มนัส จารุภา 2502 เมื่อข้าพเจ้าจี้จอมพล . พระนคร ะ แพร่พิทยา.
มนูญ มาคะสิระ. 2529. “ การรักษาอำนาจทางการเมืองของจอมพลป . พิบูลสงครามระหว่าง
พ.ศ . 2491-2500." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มาลาปาร์เต, คูร์สิโอ. 2500. เทคนครัฐประหาร. แปล จินดา จีนตนเสรี. พระนคร ; เกวียน
ทอง.
มุกดา เอนกลาภากิจ. 2542. "รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492. ” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
แมลงหวี่ (ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ) . 2491. เบองหลังประวัติศาสตร์ เล่ม 1 พระนคร :
.
.

สหอุปกรณ์การพิมพ์
มอฟ่แฟิท, แอ็บบ็อต ใลว์. 2520. แผ่นตินพระจอมเกราง. แปล นิจ ทองใสกิต. กรุงเทพฯ :
สมาคมลังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ยวด เลิศฤทธ. 2538. “ระลึกถึงมือกฎหมายคณะรัฐประทาร 2490. ” ใน อนูส'รล่เในงาน
พระราชทานเพลิงศทนายเชมชาติ บุฌยรัตพันธุ พ เมรุวัดธาตุทอง วันที 25
กุมภาพันธ์ 2538 . กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
เยน, มาเรีย. 2500. เหตุเกิดทีเปตา หรือ ชวิตบัททึกษามหาวิทยาลัยจืนระบอบคอมมีวนิศต์.
แปล ป. ศานติ. พระนคร : อุณากรรณ.

2
‘ 93
ชุนศึก ศักดินา น.ละพญาอินทร์

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ. 2532. กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย : บท


.
วิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์การเปีอง พ.ศ. 2475-2530 กรุงเทพฯ ะ สมาคม
สังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและ ,นอบังคับการประชุมแสะการปรึทบาV องสทาพู้นทน .
.. .
ราษฎร พ ศ 2495 2499. พระนคร : สำนักงานเลขาธการสภาผู้แทนราษฎร.
ราชกิจจา y เบกบา เล่ม 64, ตอนที่ 56 (ฉบับพิเศษ 22 พฤศจิกายน 2490) : 1 7.
ราชกิจจานุเบกบา เล่ม 66, ตอนที่ 17 ( ฉะบับพิเศษ 23 มีนาคม 2492) : 1-80.
-
ราชกิจจา y เบกบา เล่ม 66, ตอนที่ 15 (ฉบับพิเศษ 8 มีนาคม 2495) : 1 -40. '

ราชกิจจานุฌกบา เล่ม 74, ตอนที่ 22 (ฉบับพิเศษ 2 มีนาคม 2500) : 2 3. -


ราเชนทร์ วัตณปรีชากุล. ม.ป .ป. ชืวิตกๆรต่อสู้ จองนักหมังล่ art 1เพัท'ึ น่าตนใจ . กรุงเทพฯ :
1

ศูนย์รวมข่าวเอกลักษณ์.
รายงานการดูงานไนต่างประเทศของ พส.ต.อ. พระทนิจชนคติและ.คณะ 2496, พระนคร : .
ส. การพิมพ์ .
รายงานการประชุมๅศ์ง่สกา สมัยสาบัญ ชุดที่ 2 พ.ศ. 2494 . 2495. พระนคร : อำพลวิทยา.
รายงานการประชุมศกาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ พ.ศ. 2493 เล่ม ไ . 2497. พระนคร :
รุ่งเรืองธรรม.
รายงานการประชุมสภากู้แทนราษฎร สมัยสามัญ ( กรั้งแรก ) เพะสมัยสามัญ ชุดที่ 2 พ.ศ.
2500. 2506. พระนคร : รวมชิตร'ใทย .
.
รายงานการประชุมสกาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญพ.ศ. 2496 . 2499 พระนคร : เสนาการพิมพ์.
.
โรงเรียนสงครามจิตวิทยา. 2497. หลักและป.ฏิมัติของลัทธิคอมมิวนิสต์' พระนคร : อุดม.
ลมูล อคิพขัคฆ. 2499. ร่อนไปปารีสกับนายควง อกัยวงศ์. พระนคร ะ คลังวิทยา.
.
ละเอียด พิบูลสงคราม, ท่านผู้หญิง 2516. "บันทึกความทรงจำ." ใน เนองแรกประ'ชาธิปต้ย :
มันทึกความทรงจำของผู้อยู่ในเหตุการอ่เสมัย พ.ศ. 2475-2500. กรุงเทพฯ : สมาคม
นักข่าวแห่งประเทศใทย.
ไลน์บาร์เกอร์, พอล เอ็ม. เอ. ( Paul M . A . 2507. ศงครพจิตวิทยา ( Psy
Linebarger) . -
chological Warfare ). แปล ประเวศ ศรีพิพัฒน์. พระนคร : วีรธรรม.
-
วรรณไว หัธไนทัย. 2519. hวเกินไหล ผู้ปปีกสัมพันธ์ไทย จิน. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์.
วิจิตร วิชัยสาร. 2516. “รัฐบาลไทยในสมัยนายทวี บุณยเกตุเป็นนายกรัฐมนตรี ( 31
ลังหาคม - 16 กันยายน 2488) .” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ
ปกครอง จุ,พาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย ประสังสิต . 2492. ปฏิวัติรัฐประหาร และกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห
ประ(ทศไทย . พระนคร : รัฐภักดี.
..
. 2498. เบ็้องหสังการสวรรคต ร 8 พระนคร : ธรรมเสวี
..
วิเทศกรณีย์. 2505. เมื่อ , จอมพลป. ลี้กัย. พระนคร : พิบูลย์การพิมพ์.

294
บรวณานุกรม

วิวัฒน์ คติธรรมนิตย์. 2539. กบฏสันติกาพ . กรูงเทพฯ : คบไฟ.


วิระ สมบูรณ์. 2541. ความไปรู้ไร้พรมแดน : บางบทสำรวจ!นดินแดนความคิดทางสังคม.
กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.
ศรัญญ เทพสงเคราะห์. 2555. “ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองศ์ในระบอบใหม่ พ.ศ . 2478 -
94 : ที่มา แบบแผน และการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ.” ติaป -
าฒนธรรม ห์ที่ 33, ฉบับที่ 9 (กรกฎาคม) : 72-101.
— . 2556ก, “การฌืองว่าด้วยอนุสาวรีย์พระปกเกล้าฯ กันแนวคิดกษัตริย์นักประชาธิปไตย
หลังการรัฐประหาร พ.ศ . 2494. ” ติลปวัต!นธรรม ปีที่ 35, ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) :
-
104 27.
. 2556U . “อนุสาวรีย์ปราบกบฎกับการรำลึกวีรชนผู้พิหักห์การปฏิวัติ 2475.” ติลบั-
ว!'ต!นธรรม ปีที่ 34, ฉบับที่ 12 (ตุลาคม) : 112 - 29 ,
. 2561. ''มองสำนึกพลเมืองยุคคณะราษฎรผ่านอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญในลีสาน.” ติลนั -
-
วฒนธรรม บัที่ 39, ฉบับที่ 8 (มิถุนายน) : 74 105.
ศราวุฒิ วิสาพรม. 2559. ราษฎรสามัญนสงวันปฏิวัติ 2475 . กรุงเทพฯ : ฆติชน.
ศรีวิสารวาจา, พระยา. 2511. “ The Revolution of 1932.” ใน อนูสรณืไนทารพระราชทาน
เพตงศพ พันเอก พระยาศรีวิสารวทา ฌ เมร'หน้าพลับพลาอิสรียากรฌ์ วัดเหพติริน
ทราวาส 8 มิถุนายน 2511 . พระนคร : พระจันทร์.
-
.
คิรี พงศหัต. 2488. ธรรมนูญองค์การใลก พระนคร : ไทยเขษม.
.
ศิวะ รณชิต (สุวัฒน์ วรดิลก) 2521, จดหมายจากลาดยาว . กรุงเทพฯ : บพ้ธการพิมพ์.
.
ศุภกาญจน์ ตันตราภรณ์ 2542. “รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง ะ ศึกษารัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2490. ” วิทยานิพนธ์ปริญtin มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ศุภมิตร ปีติพัฒน์. 2550. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : พัฒนาการแสะความน้าวหน้า1นอง
องค์ความรู้ . กรุงเทพฯ ะ คณะกรรมภารสภาวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และ
รัฐประศาสนศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิชัยแห่งชาติ.
สุภสวัสดิ้วงศ์สนิท สวัสดีวัตน, ม,จ. 2543. 1 ศตวรรษ ดุกสวัสลี.้ กรุงเทพฯ : อมรินทร์
พริ้นติ้งแอนดํพับลิชชั่ง.
ส.เจริญจรัมพร (เสิยง ศรีขันธ์ ) . 2492. ปรัชญาการเมืองสมัยปัจจุบัน ( Modern Political
Philosophies ), พระนคร ะ อุทัย.
ส.เทพโยธิน. 2494. จลาจลปักษ์ไต้. พระนคร ะ บรรณาคาร.
สเตอร์น, เฟ่ร็ดเดอริค มาดิน. 2496. วงไพบูลย์ประชาธปไตย (Capitalism in America :
.
A Classless Society/ แปล ทูนิกา พระนคร : คาปราพิมพการ .

295
^
ขุนสืก ศกดืนา แล พญา 0นทรี

สแตนดัน, เอ็ดวัน เอฟ. 2504. " ความกดดันฃองคอมมิวนิสด้โนประเทศไทย ใน พ.ศ ,


2492-2496." รัฏฐากิรักษ์ ใ}กึ่ 3, ฉบับที่ 1 (บกราคม) .
สมบูรณ์ วรพงษ. 2500, ยึฅรัฐ Inet : รัฐประหาร 16 ก้นยายน ล้มรัฐบาลพิบูลฯ. พระนคร :
เจริญธรรม.
. 2527. บนเสันทางหนังสือพิมพ์ กรุงเทพฯ: เพี่อนชีวิต.
สมศักดิ้ เจียมชิรสกูล. 2544ก. “จุดเปลี่ยน 2500 ะ เผ่า สฤษด นถะพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
ประเทศไทย.” ใน ประวัตศา๙ฅ{ที่เพิ่งสร้าง. 36-41. กรุงเทพฯ : 6 ตุลาราสก ,
—-
0

. 2544U . ประวัติศาสด{ที่ 1เพิ่งสร้าง. กรุงเทพฯ ะ 6 ตุลารำลึก.


2548ก. “50 ปีการประหารชีวิด 17 กุมภาพันธ์ 2498.” พ์าเดียวกัน ปีที่ 3, ฉบับ
ที่ 2 (เมษายน-มิกุนายน) ะ 64-80.
. 2548ข. “หลัง 14 ตุลา," พ์าเดียวกัน ปีที่ 3, ฉบับที 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) : 168-71.
. 2549. “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากบัดริย์คึลอะไร,” พ์าเดียวกัน ปีที่ 4, ฉบับ
-
ที 1 (มกราคม มีนาคม ) : 69- 73 .
. 2552ก. “ข้อมูลใหม่ กรณีสวรรคต : หลวงธำรงระบุซัดผลการสอบสวน ใครคือผู้
-
ต้องสงสัยที่แท้ขิริง.” พ์าเดียวกัน ปีที่ 7, ฉบับที 3 (กรกฎาคม กันยายน) : 60-73.
. 2552ข ‘'บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอน เกี่ยวกับกรณีสวรรคตและข่าวลึอเรอง
1

แผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช." ท้าเดียวกัน ปีที่ 7, ฉบับที่ 3 ( กรกฎาคม


กันยายน) : 74-83.
. 2552ค. “ว่าด้วยจดหมายเปิดเผยความลับกรณีสวรรคตของ ‘ปรืด’ี ที่เพิ่งเผยแพร่.'
« ๙ =
ท้าเดียวกัน ปีที่ 7, ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2552 ) : 84-93 .
สมศกด นลนพคุณ. 2527. “ปัญหาเศรษฐกิจของไทยหลังสงคราม!สกครั้งที่ 2 และการแกัเข
.
ของรัฐบาล ตั้งแต่ พ.ศ. 2488-2498 ” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
ประวัติศาสตร์เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมิธ, นิอัล และแบลึก คล้าก. 2489. สยาม-เมืองใสัดีน. แปล เอก วีรสกุล. พระนคร
ประชามิตร-สุภาพบุรุษ . J
สมุทร สุรักขกะ. 2507. 26 การปฏิวัติไทยและรัฐประหาร สนัย 2489 ถึง 2507 . พระนคร ะ
สื่อการพิมพ์.
สรศักตั้ งามขจรกุลกิจ. 2535. ขบวนการเสัรีไทยกับความขัดแย้งทางการเมืองกายในประเทศ
.
ไทย ระหว่างพ.ศ. 2481-2492 กรุงเทพฯ : สกาบันเอเชียศึกษา.
. 2555. เสัรึไทย : ตำนานใหม่ของพวนการเสรีไทย เรื่องราวของการต่อสู้เพิ C
เอกราช สันติภาพและประชาธใเไตยอย่างแท้จริง . กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. J
สร้อยมุกข์ ยงชัยยะกมล . 2544. “นโยบายต่างประเทศไทยของรัฐบาลจอมพล ป. พบุ ? -

296
บวรณ- ไนุกรม

ส,งคราม ต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน ( 1948-1957) ." วิทยานิพนธ์ปริญญามหา


บัณฑิต สาขาวิชาความฒพันธ์ระหว่างประเทศ ทาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
'

คณะรัฐศาสดริ จุฬาสงกรณ์มหาวิทยาลัย ,
^
ส ปข้ออภปรายของพรรคประชาธิปัดย์ในญัฅฒปีดอภิปรายทวใปในนhบพของรัฐมาสดาม
ร้ฐธรรมนูญ มาตรา 34 . 2490 . พระนคร : ขมศรี.
สละ ลิขิตกุล. 2518. ฅืทฤทธึ๋ขนศาa . กรุงเทพฯ : ก้าวหน้าการพิมพ์.
.
สว่าง ลานเหลือ 2512 , 37 ปีแห่งการปฏว้'ด. กรุงเทพฯ : นิดยสารพระเพลิง-อาชญากรรม,
สังข์ พ้ธไนทัย. 2497. ขจิตเปลี่ยน. พระนคร : คลงวทยา.
4/ a

. 2499. ความนึกในทรงขัง . พระนคร ะ คลงวทยา.


V A

.
. 2525. “อ่านเบื้องหลังสถาปนาสัมพันธ์ไทย-จีน '’ ประ hนชัย 26 (กรกฎาคม) .
.
สังวรยทธกิจ (สังวร สุวรรณชีพ ) , พล.ร.ต. หลวง. 2516 “ เกิดมาแล้วต้องเป็นไปดามกรรม
คือ กฎแห่งธรรมชาติ.’’ ไน อนุสรรน'งานพระราขทานเพลิงศพ พตเรือตรี หตวง '

^
สังารฆ์ทุทeกิร ฒ เม วัดธาตุทอง 29 ธันวาคม 2516 . กรุงเทพฯ ะ ชวนพิมพ์.
-
ลังสัต พิริยะรังสรรค์ , 2526, ทุนนิยมรฺเนนางไทย ท.ศ. 2475 2503. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์’.
. 2529. ประวัติการต่อ$ของกรรมกรไทย. กรุงเทพฯ ะ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย .
สัมพันธ์ ขันธชวนะ, ร.ท. 2490. 30 วันในกรงเหล็ก . พระนคร : เกียรติสักด.
. 2493. สามสิบวันในกรงเหส็ก. พระนคร : เกียรติสักด.
สำนักวิจัยและพัฒนา และคณะศึลปศาสตร์ วิทยาลัยเกริก. 2528. ค(นะราษฎรในประวัติ
ศาสตร์ไทย . กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนา และคณะคิลปศาสตร์ วิทยาลัยเกริก.
-
สิทธิ เศวตศิลา, พล.อ.อ. 2536. “บันทึกความทรงจำ .” ใน 40 ปี ตชด. 6 พฤษภาคม 2536 .
กรุงเทพฯ ะ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน.
สิริ เปรม?ตต์. 2492. เบื้อง'หลังชีวิต 8 นายกรัฐมนตรีไทย . พระนคร ะ คิริลักษร.
. 2505. ประวัตศาสตร์ไทยในระมอบประชาธิปไตย 30 ปี. พระนคร ะ เกษมบรรณา
กิจ.
. 2521. ชีวิตแตะงานของพลเรีสต?รเว้ลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ.้ กรุงเทพฯ ะ บำรุงนุทูลกิจ.
สิรินทร์ หัธโนทัย. 2538 . มุกมังกร. แปล บุญรัตน์ อภิชาตไตรสรณ์ , กรุงเทพฯ ะ เดอะเนชั่น.
สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร. 2521. “ บทบาททางการพองของนายควง อสัยวงค์ ตั้งแต่การ
-
เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 2491.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
แผนกประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริลักษณ์ จันทรวงคํ ทาคาฮาชี คัทซยูกิ และสมสักด เจียมธีรสกุล. กึ่งศตวรรษ ขบวนการ
สันติภาพ . กรุงเทพฯ ะ ศูนย์ไทย -เอเชียศึกษา สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยรังสิต และ
ชมรมศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยวาเซดะ.

297
ชุนดิก ศักดินา และพญาอนทรื

สูกัญญา ดีระวนิช. 2526. หนังสือทิมฟไทย จากปฏิวัติ 2475 ปูปฏิวัติ 2516 . กรุงเทพฯ :


ไทยวัฒนาพานิช.
สุชิน ตันติกุล. 2517. “ ผลสะท้อนทางการเมืองรัฐประหาร 2490. ” วิทยานิพนธ์รัฐศาสดร
มหาบัณฑิต สาขาการปกครอง จุพาลงกรถ่เมหาวิทยาลัย .
สุดา กาเดอร์ . 2516. ‘‘กบฏแมนอัตตัน." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการ
ปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธาชัย ยมประเสริฐ, 2532. “ การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ด่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พีบู
สงคราม พ . ศ . 2491- 2500." วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมทาบัณฑิต สาขา
ประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. 2534. แผนชงชาติไทย. กรุงเทพฯ ะ สมาพันธ์.
, บ.ก. 2536. 60 ปีประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ ะ คณะกรรมการ 60 ปีประชาธิปไตย .
. 2550ก. ฐานะทางประวัติศาสตร์ของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 . ” ไน
รัฐประหาร 19 กันยายน : รัฐประหารเพี่อระบอบประชาธิปไตยอันปีพระมหากษัตริร์
-
ทรงเป็นประมุช , 203 28. กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน. J
. 2550ข. แผนชงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อตานรัฐสมัยจอมพอป. พิบูลสงคราม
ครั้งทีสยง (ท.ศ. 2491-2500). กรุงเทพฯ ะ 6 ตุลารำลึก.
'
a
. 2551. สายธารประวัติศาตดรัประชาธิปไตยไทย . กรุงเทพฯ : พี.เพรส.
สุนทร หงส์ลดารมย์. 2498. “ความช่วยเหลึอทางเศรษฐกิจและวิทยาการของสหรัฐฯ.” สราญ
รมย์ 5 , 1
สุเนตร ชุตินธรานนท์ . 2555. “ คำนำ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา." ใน เสรีไทร :
ตำนานใหม่ของชบวนการเสรีไทย เรื่องราวของการต่อสู้เพี่อเอกราช สันติคาทนท
.
ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬ!ลงกรณ์มหาวิทยาลัร.
สุพจน์ แจ้งเร็ว , 2545. “ คดียึดพระราชทรัพย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ. ” กิลปวัฒนธ ;:
-
ปีที่ 23, ชิบับที่ 8 (มิสุนายน) : 63 80. 9
สุพจน์ ด่านตระกูล. 2516. ทนายจำเป็น . กรุงเทพฯ ; ประจักน์การพิมพ์.
. 2537. เหพุเกิดที่กิริราช . นนทบุรี : สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม.
]
j
. 2546. 80 ปี สุพจน์ ด่านตระกูล. นนทบุรี : สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม. J
.
สุเพ็ญ ศึริคูฌ. 2518. “ กบฏวังหลวง ( 26 กุมภาพันธ์ 2492 ) . ” วิทยานิพนธ์ปริญญ 11 »
บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภัทร สุคนธาภิรมย์, ร.ท. 2517. พุทธปรัชญาประสุกตํ. กรุงเทพฯ : ประจักน์การพิมพ์.
I
สุภัทรดิส ดิศกุล, ม.จ., แปล. 2508. พระบาทสมเด็จพระจอมเกท้าเจ้ากรุงสยาม tKa
Mongkut of Siam ). พระนคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สุรพล จุลละพราหมณ์ , พ.ต.ท., แปล. 2500. สงครามเย็น ( War of Wits ) พระ . uJ
ผดุงศึลป๋ , *

298
บทณานุกรม

สุลักษณ์ คิวรักษ์. 2528 . เรื่องกรมททยตากพฤฒยากร ตามทัศนะ’ชรงส. สิวรักษ์ , กรุงเทพฯ ะ


มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป.
สุวัฒน์ วรดิลก. 2517. ชีวิตไนกวามทรงจ้า . กรุงเทพฯ : กลุ่มวรรณกรรมเพื่อชีวิต.
.
. 2521 ไต้ดาวแดง คนสรงคุก . กรุงเทพฯ : ลายสือไทย.
สุริชช พ้นธเศรษฐ. 2491. ชุมนุมนพกรัฐมนตรีอังกฤษ. พระนคร : สมัยนิยม.
.
สุวิมล รุ่งเจริญ 2526. “บทบาทของนักหนังสือพิมพ์ในการเมืองไทยระหว่าง พ.ศ. 2490-
2501 ." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จุทาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสด็จฯเยี่ยมราษฎร. 2532. กรุงเทพฯ : สำนักพระราชวัง.
เสถียร จันทีมาธร. 2532. ‘เทติชาย ชุณหะวัล! ทหาร ‘นัก' ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : แปลน
พับลิชชิ่ง .
. 2541. ชาติชาย ชุล!หะวัฌ ทหาร 'นัก’ ประชาธิปไตย . กรุงเทพฯ : มติชน.
เสถียร จันทีมาธร และขรรค์ชัย นูนปาน. 2526. กรงทัพบกกับประเทศไทย. กรุงเทพฯ ะ
มติชน.
เสนาะ รักธรรม. พล.ร.ท., บ.ก. 2516. ความเป็นมาแต่หนหลังของจอมพลเริอ หลวง
ยุทธศาสตปีกศถ. กรุงเทพฯ: บำรุงนุกูลกิจ.
เสนืย์ ปราโมช, ม.ร.ว. 2492. ติงมงกุฎไนฐานะทรงเป็นนักนติศาสตร์ พระนคร : สทอุปกรณ์
การพิมพ์.
. 2496. ต้านคอมมิวนิสต์ส่วนตัว. พระนคร : สหอุปกรณ์การพิมพ์ .
. 2543. ชีวลิขิต . กรุงเทพฯ ะ ทีพยวดี ปราโมช.
เสวดร เปียมพงศ์สานต์. 2522 . “ เสวตร เปียมพงศ์สานด.’’ โน บันทึก 25 นักการเมือง
วิเคราะห์การเลิอกตั้งในไทย , บรรณาธิการ ใหม่ รักหมู่ และธวัชชัย ไพจิตร, 588-612.
กรุงเทพฯ ะ นพรัตน์.
. 2546. ชีวิตการเมือง. กรุงเทพฯ : ครอบครัวเปียมพงศ์สานค์ ,
หยุด แสงอุทัย. 2494. “ เค้านโยบายของคณะพรรคสหชีพ. ” ใน พรรคการเมือง . พระนคร ะ
โอเคียนสโต!
. 2495. คาอธิบายรัฐธรรมนูญ ‘คุทธศักราช 2475-95. พระนคร ะ ชูลัน.
หลักการและนโยบายชองชุมนุมธรรมาธิปีตย . 2490. พระนคร ะ สหการพานิช.
หลุย คีรีวัต. 2492. “จอมพลในทัศนะของหถูย คีรีวัต.” ใน จอมพลไนทัศนะ ยองข้าพเจ้า.
1

พระนคร : ไอเดียนสโคร์.
. 2493. ประชาธิปไตย 17 ปี. พระนคร : โอเตียนสโต!
หลูชวดง ( Liu Shaw Tong). 2497. เรื่องจริงจากแดนจีนยุคไหม่ แหวกม่านไม }ฝ (Out of
Hed China ). แปล ประจิต พ้ธนะพันธ์. พระนคร ะ ประเสริฐลัน.
หัตถีรงษ์ ราชา . 2499. แดนมิตรของปริด.ี พระนคร : คิลป็อักษร.

2.9.9
ขนคึก ศักดินา และพญาอินทรี

ห้าสิบปีร่วมใจรักรัฐศาสตร์เพื่อชาติไทย . 2541. กรุงฌพฯ : คณะกรรมการจัดงานกึ่งศตวรรษ


รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
.
แทลมสน (เสลา เรขะรุจิ ) . 2492. บุทบรมพมาน พระนคร ะ สหกิจ .
องค์การจัดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (อีซีเอ : ECA ) . 2494. การช่วยเหลือเศรษฐก่จ
ประเทศไทยจากสหรัฐอเมริกา. พระนคร ะ ประชาช่าง.
.
อนันต์ พิบูลสงคราม, พล.ต. 2540 จอมพล ป. พิบุลสงคราม . 2 เล่ม. กรุงเทพฯ : ตระถูล
พิบูลสงคราม.
อบูชา อชิรเสนา. 2559 . “ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย.”
วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
อนุสร(นพล.ต.อ . เผ่า ศรัยานนท์วันถึงแก่อนิจกรรมครบ พ ปี 21 พฤศจิกายน 2513.
2513. พระนคร : ไทยสงเคราะห์ไทย.
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศฬ จอมพลเรือหลวงยุทธศาสตร์ ]กศถ a เมรุหห้าพลับพลา
อิศยาภรณ์วัตเทพสิรินทราวาส 14 มิถุนายน 2519. 2519. กรุงเทพฯ : น.อ. แสวง
บุญยัง (ร.น.) และคนอี่นๆ .
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ เฉลิมวุฒ โฆมีต (น เมรุวัดมกุฎกห้ตรัยาราม 19 มีนาคม
2526 . 2526. กรุงเทพฯ ะ โรงพิมพ์ธรรมดา . ]
อนุสรณ์งานพระราชทานเพสิงศพ ดร. โชติ คุ้มพันธุ. 2514. พระนคร ะ ม.ป.พ.
อนุสรณ์ไนงานพระราชทานเพลิงศพ นายจำลอง ธนะโสก(น (น วัดมกุฎกบัตริยาราม 27
มีนาคม 2527 . 2527. กรุงเทพฯ ะ วรวุฒิการพิมพ์.
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายเลียง ไชยกาล ฌ เมรุวัตพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
18 สิงหาคม 2529. 2529 . กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายศักดิ ไทยวัฒห้ ฌ วัดพระศริมหาธาตุวรมหาพ ! :- '

30 มิถุนายน 2544 . 2544. กรุงเทพฯ ; อมรโปรดัก. ]


อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกจิระ วิชิตสงคราม ฌ เมรุหห้าพลับพลารศ่ริยากรณ์
วัดเทพสิรินทราวาส 26 ธันวาคม 2522 . 2522 . กรุงเทพฯ : ดำรงการพิมพ์.
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ จอมพลสฤษดี้ ธนะรัชต์ ฆ เมรุหน้าพลับพลพิศริยากรณ์
วัดเทพสิรินทราวาส 17 มีนาคม 2507. 2507. พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี ,
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายฉัตร บุฌยสิริชัย ฌ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัด
.
พระศริมหาธาตุ 5 พฤศจิกายน 2533 2533. กรุงเทพฯ ะ สุขภาพใจ.
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายประหยัด ศ. นาคะนาท (น เแาปนสคานกองทัพอากๆศ
I
วัดพระศรืมหาธาตุวรมหาวิหาร 22 กรกฎาคม 2545. 2545. กรุงเทพฯ ะ พินนี
พับลิชชิ่ง.
,
อนุสรณ์ฌาปนกิจศพ นายสอง มารังทูล อดีต ส.ส. บุรีรัมย์และอดีตหัวหน้าพรรคไทยรวมไ }าย
ฌ พาปนสถาน วัดกุกใสภฌ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ วันเสาร์ที่ 2 <ง
เมษายน 2521. 2517. กรุงเทพฯ: ประจักษ์การพิมพ์.

300
บรรณานุกรม

อนุส'รณ์นายปาล พนมยงค์. 2525. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์ .


อนุสรณ์โนงานณาปนกิจศพ นพไสว พรหนมิ ณ เมรุวัดนกุฎกษ์ตริยาราม ใ กุมกาพันธ์
2526 . 2526. สระบุรี ะ ไรงพิมพ์ปากเพรียว.
อนุศร {นไนงานพระราชทานเพลิงศพ จอมทลผ็น ชุฌหะวัณ ฌ วัตพระศรมหาธาตุ 7
พฤษภาคม 2516. 25ใ6. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
อนุสรราไนงานพระราชทานเพลิงศพ ดร. ทองเปรว ชรภูม ณ เมรุวัดเทพทีรีนทราวาส 22
.
พฤษภาคม 2506 2506. พระนคร : กรมสรรพสามิต.
อนุสรร fluงานพระราชทานเพลิงศพ ดร. รักษ์ ปันยารชุน 5 กุมภาพันธ์ 2550 . 2550.
กรุงเทพฯ : อมรินทร์พ'รนด้งแอนด์พับลิช'ชิ่ง.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เทพ โชต urn ณ เมรุวัดมกุฎกษัตรียาราม 26 ตุลาคม
2517. 2517. กรุงเทพฯ : บพิธ .
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเขมชาติ นุณยรัตพันธ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง 25
.
กุมภาพันธ์ 2538 2538. กรุงเทพฯ ะ ม.ป.พ.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทกาจ กาจสงคราม (เทียน เก่งระดมยง ) ณ เมรุ
หน้าพสันพลาลิศร๊ยากรณ์วัคเทพลิรีนทราวาส 20 เมษายน 2510. 2510. กรุงเทพฯ :
กรมการทหารสื่อสาร.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี หลวงสังวรยุทธกิจ พ เมรุวัตธาตุทอง 27
ธันวาคม 2516.2516. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์ .
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือไหเฉลิม สถิรถาวร ณ เมรุวัดเทพลิรีนทราวาส
27 ปีนาคม 2512 . 2512. กรุงเทพฯ : กรมสารบรรณทหารเรือ.
อนุสรณ์ไนงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือใทประสงค์ พิบูลสงคราม ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ
.
5 กุมภาพันธ์ 2546 2546. กรุงเทพฯ: ฆ.ป.พ.
อนุสรณ์ไนงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกมังกร พรหมโยธี ณ เมรุหน้าพลันพลาอ็ศรืยพรณ์
วัดเทพศิรีนทราวาส 29 มิกุนพน 2509. 2509. พระนคร: กรมสรรพสามิต .
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยาศรืว็สารวาจา ณ เมรุหน้าพสับพลา
อิศริยากรณ์วัดเทพลิรินทราวาส 8 มิถุนายน 2511. 2511. พระนคร : สำนักทำเนียบ
นายกรัฐมนตรี .
อนุสรณ์ไนงานพระราชทานเพลิงศพ พันพกช่วง เขางศักดึ๊สงคราม ณ เมรุหน้าพลับพลา
อิศริยากรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 18 มิถุนายน 2505- 2505. กรุงเทพฯ : กรม
ชลประทาน.
อนุสรณ์ไนงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์รอง ศยามานนที ณ เมรุวัดธาตุทอง 18
.
ลิงหาคม 2528 2528. กรุงเทพฯ ะ จุ'พาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุสรณ์ไนงานพระราชทานเพลิงศพ นายทองอิน ภูรีพัตเน้ และนางสาวอรทัย ภูรืพัฒษ์ ธิดา
ณ เมรุวัดมกุฎกษัตรียาราม 9 พฤษกาคม 2505. 2505. พระนคร ะ ม.ป.พ.

301
ชุนสืท ศักดินา และพญาอินฑรี

อนุสรฌ์ไนงานพระราชทานเพรงศพ นายใหญ่ ศาตซาต ณ เมรุวัดธาตุทอง 4 ม่ถุนายน


2526 . 2526. กรุงเทพฯ ะ เรืองชัยการพิมพ์ .
อนุสร{นในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีหลวงวีทัพนโยธิน ( วีรวัฒน้ วีทัพนโยธิน) 01
ฌาปนสถานกองทัพบท วัตโสมนัสวิหาร 28 นทราทน 2512 . 2512. พระนคร : กรม
แผนททหาร.
อนุสรพ์ไนงานพระราชทาน! พลงศพ พลโทบัญญัติ เทพบัสติน ฌ อยุธยา ณ เมรุหน้า
พลับพลพิศริยากรฌ์ วัดเทพติรีนทราวาสร พฤศรทพน 2519. 2519. กรุงเทพฯ :
คุรุสภาลาดพร้าว.
อนุสรฌ็โนงานพระราชเพลิงศพ พระยาโทร!วฌิกมนตรี ( วีสุทธิ้ โท an 01ก ) ฌ เมรุหน้า
พลับพลพิศริยากรฌ์วัดเทพสิรินทราวาส 21 มีนาคม 2516 . 2516 . กรุงเทพฯ :
ศูนย์การพิมพ์.
II
อนุสรฌไนงานพระราชเพลิงศพ พลเรือเอกสินธ์ กมลนาวีน £11 พรุหน้าพลับพลพิศริยากm
.
วัดเทพสิรินทราวาส 15 ธันวาคม 2519 2519. พระนคร : กรมสารบรรณทหารเรือ.
อนุสรถ!พระราชทานเพลิงศพ ร้อยโทรงกล โกรฤกษ์ ฌ เมรุวัดมกุฎกบัตริยาราม 15 มกราคม
2513. 2513. พระนคร : ศูนย์การพิมพ์.
อรัญญ์ พรหมชมพู (อุดม ศรีสุวรรณ) . 2493. ไทยกึ่งเมืองขน. พระนคร : อุทัย.
อานันท์ กๆญจนพันธ์ . 2538. “บทบาทของนักวิจัยและทุนวิจัยอเมริกันในการสร้างกระบวบ
ทัศน์ต้านไทยศึกบา.’ ใน บทบาทของต่างประเทศในการสร้างรงคความรู้ทึ่เกี่ยวข้อง
กับประเทศไทย , 308-47. กรุงเทพฯ ะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อารย ภรมย์. 2524. เบื้องหลังการสถาปนาส้มพันพาพยุคใหม่ ไทย-รน. กรุงเทพฯ ะ มิตรนรา
ซิ

การพิมพ์.
อำรุง สกุลรัตนะ, พล.ด.ด. 2526. ใครว่า อดร. เผ่า ไม่ติ. กรุงเทพฯ ะ กิจสยามการพิมพ์ .
อิปเปอร, เอลิเนอร์ . 2497. 11 ปี โนค่ายนักโทษไชทยฅ ( Eleven years in Soviet !>rison เ.
.
แปล ขนะ ชาญเดชา พระนคร : นครไทย.
. .
อิศรเดช เดชาวุธ 2491 เบื้องหลังชีวิตนายบัริติพนมยงค์ . พระนคร : บริษัทร่วมอาชีพ
.
อุกฤษฏ์ ปัทมนันน์. 2526. “สหรัฐอเมริกากับนโยบายเศรษฐกิจ (1960-1970) .’’ วิทยานพไ ร์'

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุพวลงกรณ์มหาวิทยาล้ธ.


เอกชเรส์
1 . 2511, นายควง อกัยวงษ์อติดนายกรัฐมนตรี 4 สมัย . พระนคร : บันดาลสาสน.
แอนเดอรสน๔
^ , ณเนติกท์. 2553.
*
เมกระรก
.- วรรถ!กรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน.
กรุงเทพฯ: อ่าน. 9
. .
2558ก “บ้านเมืองเราถึงแดง : แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของการรัฐประห!

เดียวกัน
-
6 ตุลาคม.’' ไน สิกษารัฐไทย ย้อนสภาวะไทยสิกหา , 57 107. นนทบุรี : ih ,
1

302
1ภวณานุกรม

.
แอนเดอร์ส์น เบเนดึกพ์ . 2558ข. ‘‘ศึกษารัฐไทt วิพากษีโทยศึกษา ’* ใน ดึก!ทรัฐไทย รอน
-
สภาวะไทซดึกษ ?, 3 54. นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน
'
.
แอลเล็น, เฟรีดเดอริค ลูอิส. 2497 . อเมริกันรุดหนัา ; การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไนสหรัฐ-
อเมริกาในรอบกึ่งศตวรรษ 1900- 1950 ( The Big Change ). แปล มัส่โคเกียน.
พระนคร : คาปรา.
โอกใชากิ, เซา!โกะ. 2535. มหายุทธศาสตร์กัเหรับการป้องกันประเทศของญื่ย์น ( A Grand
.
Strategy for Japanese Defense ). แปล ไชยวัตณ คํ้าชู และคณะ ก]งเทพฯ ะ ศูนย์
ญี่ปุ่นศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
.
รันเตอร์, เอ็ดวาร์ด. 2494 . การล้างสมองในจีนแดง พิวยอร์ค : แวนการ์ดอินคอร์ปอเรชั่น.
ทเบอร์คอร์น, ไทเรล. 2560. การปฏิวัติที่ถูกตัดตอน : ชาวนา นักปกบา แตะความรุนแรง
.
ในmmหมือ'ของไทอ แปล เบญจรัตน์ แช่ฉั่ว และพงษเลิศ พงนัวนานต์. นนทบุรี :
1

ฟ้าเดียวกัน.
เฮอร์บลอคมองดูคอมมิวนิสต์ . ม.ป.ป. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

หนังสือพิมพ์
การเมิอง , 5 ตุลาคม 2500.
การเมิอง, 30 ตุลาคม 2500.
เกยรติกักที,่ 20 กุมภาพันธ์ 2492 .
เกียรติกักที,่ 12 มกราคม 2493.
เกียรติกักที,่ 22 เมษายน 2493
ข่าวพาณิชย , 20 กรกฎาคม 2497.
ข่าวพาณิชร, 29 ธันวาคม 2497 .
ข่าวพาณิชย , 25 กรกฎาคม 2499.
ข่าวพาณิชย์ , 6 กันยายน 2500.
ข่าวพาณิชย์ , 12 กันยายน 2500.
ข่าวพาณิชย์ , 17 กันยายน 2500.
ข่าวพาณิชย์ 21 กันยายน 2500.
คนเมือง , 30 เมษายน 2500.
ชาติไทย , 20 พฤศขิกายน 2490.
ชาวไทย , 20 ตุลาคม 2494.
ชาวไทย , 18 มกราคม 2498 .
ชาวไทย , 10 มกราคม 2499.
ชาวไทย , 14 กรกฎาคม 2499.

303
ชุนศึก ศึกดีนา และพญากินทวี

ชาวไทย , 29 สิงทาคม 2500.


ชาวไทย , 8 กันยายน 2500.
ชาวไทย , 16 มิถุนายน 2500.
ชาวไทย , 18 กันยายน 2500.
.
เช้า , 26 มิถุนายน 2497
เช้า , 13 ธันวาคม 2497.
เช้า , 22 ธันวาคม 2497.
เช้า , 4 พฤษภาคม 2498.
เช้า , 2 ถุมภาพันธ์ 2499.
เช้า , 5 เมษายน 2500.
เช้า , 30 สิงทาคม 2500.
เช้า , 8 กันยายน 2500.
เช้า , 18 กันยายน 2500.
เดลิเมล์ , 21 กรกฎาคม 2493.
เดลิเมล์ , 3 ธันวาคม 2499.
เทรดไทย , 13 กรกฎาคม 2497 .
เทอดไทย , 1 กันยายน 2497.
ไทยประเทศ , 11 มกราคม 2493.
ไทยใหม่, 16 มกราคม 2498.
ไทยใหม่ , 27 พฤศจิกายน 2498.
ไทยใหม่ , 16 พฤศจิกายน 2490.
ใทรายวัน, 26 มิถุนายน 2500.
ไทรายวัน , 6 กันยายน 2500.
ไทรายวัน, 14 กันยายม 2500.
ธรรมาธิป็ตล์ , 24 กุมภาพันธ์ 2493.
นครสาร, 10 พฤศจิกายน 2490.
นครสาร , 27 เมษายน 2491.
นครสาร, 1 พฤศจิกายน 2492.
แนวหนา , 15 กุมภาพันธ์ 2493.
ประขากร, 11 พฤศจิกายน 2490.
ประขากร , 12 พฤศจิกายน 2490.
ประชากร, 25 พฤศจิกายน 2490.
ประชาธิปไตย , 10 พฤศจิกายน 2490.

304
บราณานุm ม

ประชาธิปไตย , 14 มกราคม 2493.


ประชาธิปไตย , 20 มกราคม 2493
ประชาธิปไตย , 30 ธันวาคม 2497.
ประชาธิปไตย , 31 ธันวาคม 2497.
ประชาธิปไตย , 15 กุมภาพันธ์ 2498.
ประชาธิปไตย , 15 ธันวาคม 2498.
ประชาธิปไตย , 22 เมษายน 2499.
ประชาธิปไตย , 5 พฤษภาคม 2499.
พิมพ์ไทย , 19 ธันวาคม 2487 .
พิมพ์ไทย , 19 ธันวาคม 2498 .
พิมพ์ไทย , 5 กุมภาพันธ์ 2499.
.
พิมพ์ไทย , 27 กุมภาพันธ์ 2500
พิมพ์ไทย
'
, 2 มนาคม 2500.
พิมพ์ไทย , 4 เมษายน 2500.
พิมพ์ไทย , 16 กันยายน 2500.
พิมพ์ไทย , 22 กันยายน 2500.
ศรีก p , 11 ธันวาคม 2497.
ศรีก f ง , 21 กรกฎาคม 2499
ส'ย?มนิกร, 11 พฤศจิกายน 2490,
ศยามนิกร , 4 กรกฎาคม 2497.
สยามนิกร , 19 ธันวาคม 2497
สยามนิกร , 10 พฤศจิกายน 2498 .
สยามนิกร , 26 เมษายน 2498.
สยามนิกร , 11 มิถุนายน 2498.
สยามนิกร , 24 มิถุนายน 2498.
สยามนิกร, 4 ธันวาคม 2498.
สยามนิทร, 15 มกราคม 2499.
สยามนิกร, 4 มกราคม 2499.
สยามนิกร, 31 มกราคม 2499.
สยามนิกร, 18 กุมกาพันธ์ 2499.
สยามนิกร, 16 มิถุนายน 2499.
สยามนิทร , 9 กรกฎาคม 2499.
สยามนิกร, 12 สีงหาคม 2499 .

305
ขุนศึก ศักดินๆ และพญาอีนทรี

,
สอามนิทร 12 สิงหาคม 2499.
สอพนิกร , 24 ก้นยายน 2499.
สอพนิกร , 2 มีนาคม 2500 .
สอามนิกร, 4 มีนาคม 2500.
สอามนิกร, 4 เมษายน 2500.
สอามนิกร, 18 เมษายน 2500.
สอามนิกร, 9 มิถุนายน 2500.
สอามนิกร, 1 กันยายน 2500.
สอามนิกร, 12 กันยายน 2500.
สอามนิกร, 13 กันยายน 2500.
สอามนิกร, 14 กันยายน 2500.
สอามนิกร, 17 กันยายน 2500.
สยามรัฐ , 24 กันยายน 2497.
สอามรัฐ, 22 มกราคม 2498.
สอามรัฐ , 28 เมษายน 2498.
สอามรัฐ , 16 กรกฎาคม 2498.
สยามรัฐ , 6 กุมภาพันธ์ 2500,
สอามรัฐ, 2 มีนาคม 2500.
สยามรัฐ , 6 เมษายน 2500.
สอามรัฐ , 21 เมษายน 2500.
สอามรัฐ , 3 พฤษภาคม 2500.
สอามรัฐ, 24 มิถุนายน 2500.
สอามรัฐ, 30 มิถุนายน 2500.
สยามรัฐ, 8 กันยายน 2500 .
สยามรัฐ , 12 กันยายน 2500,
สยามรัฐ , 13 กันยายน 2500.
สยามรัฐ , 17 กันยายน 2500.
สยามรัฐ , 26 กันยายน 2500.
สยามรัฐ, 1 ธันวาคม 2500.
สัจจา , 10 พฤศจิกายน 2490.
สัจจา , 15 พฤศจิกายน 2490.
สัจจา , 17 พฤศจิกายน 2490.
สัจจา , 20 พฤศจิกายน 2490.

306
บรรณานุกรม

สพกลาง , 14 มกราคม 2493.


สวนส?, 28 กรกฎาคม 2497.
.
สารพ/ริ , 30 มิกุนายน 2498
,
สาณที 12 ธันวาคม 2498 .
สารเสรี , 14 ธันวาคม 2498.
สวนส,ร, 18 ธันวาคม 2498.
สารเสรี , 19 ธันวาคม 2498.
สารเสรี, 20 ธันวาคม 2498.
สารเสรี, 30 ธันวาคม 2498.
สารเสรี, 17 สิงหาคม 2500 ,
สารเสรี, 21 สิงหาคม 2500 .
สารเสรี , 14 กันยายน 2500.
สารเสรี, 16 กันยายน 2500.
สารเสรี, 17 กันยายน 2500.
สารเสรี, 18 กันยายน 2500.
สวนส'?, 19 กันยายน 2500.
สวนส?, 25 กันยายน 2500 .
เสรีคพ , 12 พฤศจิกายน 2490.
เสรีภาพ , 15 พฤศจิกายน 2490.
เสรีภาพ , 25 พฤศจิกายน 2490.
เสรีภาพ , 4 ธันวาคม 2490.
เสียงไทย , 1 พฤศจิกายน 2492.
เสียงไทย , 19 มกราคม 2493.
เสียงไทย , 23 กุมภาพันธ์ 2493 .
เสียงไทย , 26 เมนายน 2493 .
หลักไชย , 23 เมนายน 2493.
หลักเมอง, 17 มกราคม 2493.

สัมภาษณ์
ขีรวัสส์ ปันยารชุน, 20 มีนาคม, 21 เมษายน, 22 มิฤนายน 2551 และ 13 กันยายน 2552,
นิตย์ พิบูลสงคราม, 28 กุมภาพันธ์ 2551 .

307
สิก ศกดีนา และพญาอนทา

ภาษาต่างประเทศ

เอกสารหอจดหมาณหตฺแห่งชาติสหร้เ[อเมริกา
( National Archives and Records Administration )
NARA. CIA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP67-00059A000500080009-9,
17 May 1948 . “ Review of the World Situation. ”
. CIA Records Search Tool (CREST), C1A-RDP75-00149R000600300030- 3,
15 August 1955. “ Probe Envoy * ร Death Ride , "
. CIA Records Search Tool ( CREST). CIA-RDP78-01617A005800020001- 2,

1 April 1946 - 29 June 1946 . “ Premier Move to Restrain .Army /


. CIA Records Search Tool (CREST) . CIA-RDP78-01617A005800020009-4,
4 July 1946 . “ Political Crisis Subside . ”
CIA Records Search Tool (CREST) . CIA-RDP78-Q1617A005900030003-8,
10 January 1947 . " Request for บ,N. Intervention Returned to Indochinese
Nationalists ”
. CIA Records Search Tool (CREST ) . CIA- RDP78-01617A006100020023-4,
4 December 1950, “ Reported Plan for Coup. ”
. CIA Records Search Tool (CREST) CIA-RDP79-01082A 000100010020-7,
,

11 - 17 May 1948 . “ Intelligence Highlights . ”


— —. CIA Records Search Tool ( CREST). CIA-RDF 79-G 1082A000100020021-5.
16-23 February 1949 . “ National emergency Declaration Believed Cover
for Domestic Unrest . ”
. CIA Records Search Tool ( CREST ) . CIA-RDP79-01082AO00100020022-4,
9- 15 February 1949. “Intelligence Highlights no. 39. ”
. CIA Records Search Tool ( CREST). CIA- RDP 79- 01082A000100020022- 4.

9- 15 February 1949 . “ Phibul Paves Way for Pridi Reconciliation. ”


. CIA Records Search Tool ( CREST). CIA-RDP79-01090A000500010009-7 .
7- 13 September 1948. “ The Chinese National Government Regards Siam
with Increasing Disfavor. 11
i
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP79R0089OAOOO 100080021 - 5,
9 September 1953. “Thailand . ” 1
—— . CIA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP79R00890A000300050008- L
5 August 1954 . “Peiping Sponcers Thailand Ex-Premier/ 1

308
บTa ณานุทาม

NAHA. CIA Records Search Tool (CREST ). CTA-RDP79R00890A000900010020 5,


21 September 1957. “Thailand /
-
. CIA Records Search Tool (CREST). CtA-HDP79S01011A001000070010-11
19 May 1953. “ NIE-96 : Thailand ’s Ability to Withstand Communist Pres-
sure or Attacks /
-
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA RDP79T00975A000500340001 8,
23 January 1952 . ‘‘Reports of Political Unrest in Thailand Continue /
-
. CIA Records Search Tool (CREST). C1 A-RDP79TOG975A000600110001 -2,
7 March 1952, “ Political Showdown in Thailand Reportedly Imminent /

. CIA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP79T00975A000900470001-0,
6 December 1952. “Thai Premier Concerned over Communist Activities ."
—— . CLA Records Search Tool (CREST). CIA RDP79T00975A001600530001 5,
- -
25 July 1954. “ Communists Pleased with ‘ Neutralization Campaign in
7

Southeast Asia. ' 1

CIA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP79TOD975AOO1600530001-5,


25 July 1954. “ Thailand May Look to Communist China as Market for
Surplus Rice. ”
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA- RDP79T00975A001800560001-0,
5 January 1955. “ Invitees Initially Wary' of Asian -African Conference."
— -—. CIA Records Search Tool (CREST). C1A-RDP79T00975A00200015000ใ 2,
26 April 1955. “ Thai foreign Minister Reported to Have Become More
»

Neutralist at Bandung. ”
- -
-
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA RDP79T00975A002300130001 1,
29 November 1955 . “ Political Show down in Bangkok May Be Near."
— . CIA Records Search Tool (CREST). C1A-RDP79T01146A000100040001 7,
5 March 1951. “ Pridi -Phibul Negotiations /
-
— — -
, CiA Records Search Tool ( CREST ). CIA RDP79T01146A000100080001-3,

9 March 1950. “Coup Attempt Possibly in Progress."


. CIA Records Search Tool (CREST). CIA RDP79T01146A000200010001-9,
-
28 April 1951 . “General Kach’s Return Rumored /
— . CIA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP79T01146 A000500260001 9,
16 November 1951. “Sarit’s Position Enhanced.”
-
-
. CIA Records Search Tool ( CREST), CIA RDP79T01146A000600190001 6,
18 December 1951 . “ King Reported Prepared to Abdicated , ”
-

309
ชุนดึก ศกดึนา และพญาอินทรี

NAHA. CIA Records Search Tool (CREST), C1A-RDP79T01146A000600200001-4,


19 December 1951. "1947 Coup Group Gains Complete Dominance of
Government. ”
-
CIA Records Search Tool (CREST). CIA RDP79T01146A000700010001-4,
2 January 1952. “Split in ruling Clique Presages Early Coup in Thailand. ”
1

. CIA Records Search Tuol (CREST). CIA-RDP79T01 ใ 46A001200230001-4,


10 September 1952 . “General Phao Reportedly Negotiating with Former
Thai Army Leaders."
-
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA RDP79T01146A0O1300150001 2, -
13 October 1952. “ Phao Denies Thai Police Knew of Departure of Peiping
Delegates,"
1CFA Records Search Tool (CREST ). C1A-RDP80R 01443R 000100300007-2,
13 August 1953. “ NSC Briefing Thailand . ”
- -
-
. CIA Records Search Too! (CREST). CIA RDP80R01443R0O0300010010 8,

—— 4 August 1954. “ Probable Post Geneva Communist Policy . ”


-. CIA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP82 -00457R000100410004 - 5.
13 November 1946. " Internal Politics."
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA- RDFS 2-OO 457ROOO 20O150009- 8.
17 December 1946. "Alleged Responsibility for Plot to Overthrow. ”
. CIA Records Search Too! (CREST). CIA-RDP82-00457R00020G470008-4.
7 January 1947. " Attack on Government by Prn-Phibun Element."
- , CIA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP82-00457R000600330001-2,
27 May 1947. “ Notes on Current Situation.” A
-
. CIA Records Search Too] (CREST). CIA‘RDP82 00457 R000800350009 (X -
12 August 1947 . “ Prospective Changes [ท Government." I
. CLA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP82-00457 R001000270005-0.
22 October 1947. “ Activities of Royalist Group in Thailand," I
; CIA Records Search Tool ( CREST). CIA-RDP82 -00457 R001000270007 - ft
21 October 1947. “ Possible Political Developments," i
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP82 -00457 R001000520003-4,
30 October 1947. “The Political Situation . "
— - -
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA RDP82 00457 R001000650008- ว์ .
4 November 1947. “ Free Thai View on Ho Chi Minh." m

310
บรรณานุกรม

NARA. CIA Records Search Tool (CREST). CLA-RDP82-00457 R001000680005-5,



5 November ไ 947. “ The Political Situation View of Nai Tieng Sirikhan.”
— . CIA Records Search Too! (CREST) . CIA- RDP82-00457R 001600460010-7,
28 June 1948. “ Colonel Phao Sriyanon Possible Trip to the United States
^

for Arms Purchases. ”


— -
CIA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP82 00457 R002100340008 7 ,
,

ไ December 1948. “ Operational Plans of the Abortive Counter Coup


-
d ’ Etat Group"
— . -
— . CIA Records Search Tool (CREST) CIA-RDP82 00457R 002400490004 2,
4 March 1949 . “Siamese Requests for Arms through Willis H . Bird. ”
-
. - -
CIA Records Search Tool (CREST). CIA RDP82 00457R 002 500140001 2, -
15 March ใ 949. “Taction Involved in Political Maneuvering in Connection
with the Draft Constitution and the Amnesty Bill ”
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA RDP82-00457 R002600450003 5,
- -
25 April 1949. " Political Activities Resultant on the 26 February Coup. ”
- -
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA RDP82 00457R002600450004 4,
25 April 1949. “ Added Information Concerning the Murder of the
-
-
Ex Minister , '
1

- -
CIA Records Search Tool (CREST). CIA RDP82 00457r002600450006 2,
1
-
25 April 1949. “ Additional Information Concerning the 26 February
1949.”
.
. CIA Records Search Too) (CREST) C1A-RDP82-00457R002700370010-5,
.
4 May 1949 “ Participation of Former United States Navy Ship in the
Attempted 26 February Coup.”
'

.
. CIA Records Search Tool ( CREST) CIA-RDP82-00457 R002800780003 7, -
20 June 1949. “Opposition to M.c. Pridithepong Devakul ”
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA-RDP82-00457 R 003300290006-5,
22 September 1949. “Communist Strategy and Tactics in Thailand. ”
. CIA Records Search Tool (CREST). CLVRDP82 -00457 R 004000600004-1,
27 December 1949. “ Current Political Crisis in Thailand . ”
- -
. CIA Records Search Tool ( CREST). CIA RDF82 00457 R006100010001 6, -
17 October 1950. “ Coup Plans by Thai Navy Group. ”
. - -
CIA Records Search Tool (CREST) CIA RDP82 00457 R008000720001 7,
6 July 1951 . “Seizure of Premier Phibul by the Thai Navy."
-

311
ชุนคิก ศเกคินา และพญาอินทรี

NARA. CIA Records Search Tool ( CREST) . CIA -RDP82-00457 R008300700tn ()-6 ,
16 August 1951 . "Departure of Lt. Gen . Phao Sriyanon for Europe and
England . ”
. CIA Records Search Tool (CREST). CIA- RDP82 -00457 R009400250011 - 3 ,
27 November 1951 , "Possible Coup d ’ Etat . ” I
I
. CIA Records Search Tool ( CREST) CIA- RDP85S00362R000600010001 - 3,
,

25 June 1957 . “ Probable Developments in Thailand /’ 1


—-—. RG 319 Entry 57, Sgd Cowen Military Attache Bangkok to CSCiID Wash -
,

ington D. C., 28 January 1950.


. RG 469 Entry Thailand Subject Files 1950- 1954 Box 35 , Donovan to
Secretary of State, 22 July 1954 , fl
. RG 469 Entry Thailand Subject Files 1950-1957 Box 59, Dulles to Em
I
*

bassy London and Embassy Bangkok , 21 April 1957 .


. RG 469 Entry Thailand Subject Files 1950 - 1957 Box 7 , Charles N .
Spinks to Secretary of State, 6 October 1952,
RG 469 Entry Thailand Subject Files 1950- 1957 Box 7 , Conversation
I
with General Sarit Thanarat m
RG 469 Entry Thailand Subject Files 1950-1957 Box 7 , Memorandum
of Conversation with General Sarit, General Thanom and Colonel Gerald
พ David- MAAG , 4 October 1952 .
,

——— . RG 469 Entry Thailand Subject Fites 1955-1959 Box 59, Theodore A.
Tremblay to Secretary of State, 21 June 1957 ,
. RG 469 Mission to Thailand 1950-1954, Entry 1385 Box 7 , บ. ร , Policy

in Thailand, 7 August 1951 .


'
a
II
. RG 469 Mission to Thailand 1950-1954, Entry 1385 Box 7, “ Brief Polit-
I
ical Survey of Thailand , ” 20 November 1950. I
. RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Alexander McDonald
to Campbell, 12 February 1946 . fl
— RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Major Arkadej Bi] £ > -
,

endrayodhin to Gentleman of the Foreign Relations Washington D.C., 16 1


September 1945. I
. RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Memorandum of Con-
versation Kumut Chandruang, K . p. Landon, " Developing Political Part} X I
Bangkok , ” 6 February' 1946 .

312
บรรณานุกรม

NAKA . RG 59 Central Decimal File 1945 -1949 Box 7250, Memorandum of Con-
versation Phibun and Stanton, 1 March 1949 .
——. KG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Stanton to Secretary
of State : 6 July 1946 . ร July 1946 . 16 November 1947 . 18 December
1947 . 25 November 1947 .
— . RG 59 Central Decimal File 1945 1949 Box 7250, Stanton to Secretary
*

of State, “ Death of the King of Siam / ’ 13 June 1946 .


. RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 7250, Stanton to Secretary

of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period


31 July - 15 August 1946 . ”
. RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 7250, Stanton to Secretary
of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period
16-31 August 1946. ”
. RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 7250, Stanton to Secretary

of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period


1 -15 April 1947."
. RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 7250, Stanton to Secretary
of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period
1-15 November 1947 . ”
? . RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Yost to Secretary of
State : 26 April 1946 . 6 June 1946 . 11 June 1946 . 18 June 1946 . 28
June 1946 . 3 July 1946 . 30 July 1946 .
———. RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Yost to Secretary of
State, “ Footnotes on the King’s Death, " 14 June 1946 .
— . RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7250, Yost to Secretary of
State , “ Khuang Aphaiwong Cabinet/’ 6 February 1946 .
. RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251 , Bangkok to Secretary
of State, 7 October 1948.
RG 59 Centra] Decimal File 1945 - 1949 Box 7251 , Hannah to Secretary
of State, 14 December 1949.
. RG 59 Central Decimal File 1945 - 1949 Box 7251 , Hannah to Secretary of
State, “View of a Pridi Supporter OE1 Political Event in Thailand-Summary
of Paper on Thai Political Development written by a Supporter of Pridi
Phanomvong / 30 December 1949 .
7

313
จุนสืก ศักฅนา และพญาอินทรี

NARA. RG 59 Central Decimal File 1945- 1949 Box 7251 , Landon to Butterworth,
20 February 1948.
-
RG 59 Central Decimal File 1945 1949 Box 7251, Landon to Butter -
worth, “ Assassination of King Ananda, " 22 April 1948,
. RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, Memorandum of Con-
versation Howard Palmer and Kenneth p , handon , 21 December 1947 .
. -
RG 59 Central Decimal File 1945 1949 Box 7251 , Memorandum of Con-
versation James Thompson and R .H. Bushner, 12 August 1949 ,
—- RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, Memorandum of Con-
versation Prince Rangslt and Stanton, 10 March 1948 . 9 April 1948 .
—— — . RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, Memorandum of Com
versation Thamrong Nawasawat and Edwind F, Stanton , 31 March 1948,
——— , RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251 , Reed to Butterworth.
“ Political Intervention of Pridi Banomyong, ” 30 September 1948.

—. -
RG 59 Centra ] Decimal File 1945 1949 Box 7251 , Reed to Butterworth.
“ Siam Politics, ” 9 February 1949. 1
-
. RG 59 Central Decimal File 1945 1949 Box 7251, Stanton to Secretary
of State : 10 October 1947. 5 February 1948 . 17 February 1948 , 7
. .
April 1948 8 April 1948 9 February 1948. 8 February 1949 , 9 February
1949. 11 February 1949,
-
. RG 59 Central Decimal File 1945 1949 Box 7251, Stanton to Secretary
of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period
-
1 15 December 1947.”
—— —. RG 59 Centra ] Decimal File 1945-1949 Box 7251 , Stanton to Secretary
of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period
1-15 February 1948, ” fl
—— R G 59 Centra ] Decimal File 1945-1949 Box 7251, Stanton to Secretary
of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period
-
1 15 January 1948."
RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, Stanton to Secretary
of State, “ Fortnightly Summary of Political Event in Siam for the Period
16- 29 February' 1948, " J
, -
RG 59 Central Decimal File 1945 1949 Box 7251, Stanton to Secretary

314
บวรณานุกรม

of State, ‘Torinightly Summary of Political Event in Siam for the Period


ใ 6-31 January 1948."
NARA. RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, Stanton to Secretary
of State, “ Political Survey of the Frist Six Months of the Phibun Regime
May-October 1948, ” 22 November 1948.
——— . RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, Yost to Secretary of
State, 24 November 1945.
—. RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, “ Forthnigtly Summary
of Political Events of Siam for the Period 1-15 April 1948."
——
— . RG 59 Central Decimal File 1945-1949 Box 7251, “Fortnightly Summary
of Political Event in Siam for the Period 15-31 December 1947 /’
-
. RG 59 Central Decimal File 1945 1949 Box 7251, "Summary' of Political
events in Siam January 1948."
. HG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 3913, Peurifoy to Secretary
of State, 21 March 1955.
RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 3913, Pibulsonggram to
Peurifoy, 13 April 1955.
. RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4185, Bangkok to Secretary
of State, “Monthly Political Report for August-September 1952,” 27 October
1952.
. RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4185, Bangkok to Secretary
of State, “ Monthly Political Report for March 1952,” 21 April 1952.
-
. RG 59 Central Decimal File 1950 1954 Box 4185, Bushner to Secretary
of State , “ Attempted Coup d ’Etat of 22- 30 June and its Aftermath , " 19
September 1951.
. RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4185, Memorandum of Con -
versation, Nai Sang Pathanotai, N. R , Hannah, 8 March 1951,
-
RG 59 Central Decimal File 1950 1954 Box 4185, Memorandum of Con -
versation General Phao, Major Thana Posayanon and N . B , Hannah ,
1

“ Recent Attempted Coup d ’ Etat, ” 16 July 1951.


. RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4185, Memorandum of Con -
versation Luang Sukhum Naipradit, Nai Charoon Suepsaeng and N , B .
Hannah , “ Recent Attempted Coup,” 7 August 1951.

315
ชุนศึก ดักคันา และพญาอนทว

NARA . RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4185. Memorandum of Con -


versation Nai Sang Pathanotai and N. B, Hannah, “ 29 November 1951
Coup d ’ Ftat," 11 December 1951.
. RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4185, Memorandum of Con -
versation Nai Sang Pathanotai and N. B . Hannah , “ King, Constitution ,
Phibun and Coup Group,"' 7 March 1951,
. -
RG 59 Central Decimal File 1950 ใ 954 Box 4185, Memorandum of Con-
versation Nai Tiang Sirikhan and Robert. Anderson , “ Internal Political
Situation , *’ 31 March 1952.
-
. RG 59 Central Decimal File 1950 1954 Box 4185, Memorandum of Con-
versation Nai Tiang Sirikhan and Robert Anderson, “ Internal Political
Situation," 9 October 1952.
. RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4185, Turner to Secretary
of State, 30 November 1951*
1 RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4187, Donovan to Secretary
of State, 17 October 1953.
-
. KG 59 Central Decimal File 1950 1954 Box 4187, Memorandum of Con-
versation , Kukrit Pramote, George M. Widney, 29 April 1954.
. RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4187, Memorandum of Con -
versation, Nai Kwaung, Pierson M , Hall, 12 May 1954,
-
. RG 59 Central Decimal File 1950 1954 Box 4187, Memorandum of Con-
versation, Phya Srivisarn , George M, Widney, 1 September 1953.
—— RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4188, Donovan to Secretary
of State, 8 May 1954.
1

. RG 59 Central Decimal File 1950- 1954 Box 4189, “ แถลงการณ์ขบวนการ

— ถูชาติ ฉะบับที่ 7," 24 มิถุนายน 2495,


-
, RG 59 Central Decimal File 1950 1954 Box 4190, Acheson to Bangkok ,
12 April 1950*
— . RG 59 Centra! Decimal File 1950-1954 Box 4190, Donovan to Secretary
of State, 8 January 1954. i
. RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4190 , Hverett F, Drumright
to Murphy, “ Presentation of the King of Thailand ' s Photograph to the
President," 21 May 1954.

316
บรรณานุกรม

-
NARA. RG 59 Centra ] Decimal File 1950 1954 Box 4190, Lacy to Rusk, "Thai-
land Military Aid Program, ” 25 July 1950*
RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4190, Memorandum of Con-
if

versation, General Donovan Philip พ. Bonsai Director PSA Lieut. William


Vanderheuvel Aid to Ambassador Donovan K . p. Landon Officer in
Charge Thai and Malayan Affaires PSA, 4 January 1954.
-
. RG 59 Central Decimal File 1950 1954 Box 4190, Memorandum of Con -
versation Nai Sang Pathanotai and N . B. Hannah, 24 March 1952.
. RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4190, R , B, Anderson to
Sarit, 19 July 1954.
. RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4190, Stanton to Secretary

— of State, 4 May 1950.


—- RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 4190, Turner to Secretary
1

of State, 3 December 1951.


— . RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 5625, Memorandum of Con-
versation Phin, E . O ’Connor and R. H . Bushner, 24 July 1951.

-— . RG 59 Central Decimal File 1950-1954 Box 5625, Peurifoy to Secretary
of State, 22 December 1954.
. RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Anschuetz to Secretary
of State ; 1 December 1955 , 20 September 1955. 27 August 1955. 8
September 1955.
, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Bangkok to Secretary

of State, Thailand’s Hyde Park-Thc Phramane Ground Orations, 4 January


1956.
— . RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Bishop to Secretary
of State : 19 April 1957, 29 May 1957.

. RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908 , Dulles to Bangkok , 23
May 1956.
—. RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Dulles to Bangkok,
Relationship between General Phao and Prime Minister Phibun. 20 October
1955.
. RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Hoover ( Acting of
Secretary of State) to Bangkok , 4 August 1956.

377
ชุนลึก คักดนา นละพญาอินทรี

NARA . RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Rax 3908, Magill to Secretary of


State, Indication of Relaxation in Political Tensions, 10 February 1956.
— RG 59 Centra ] Decimal File 1955-1959 Box 3908 , Magill to Secretary of
State, Phibun-The New Look , 24 August 1955.
. RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908, Magill to Secretary' of
State, Report of Thai Contracts with The Chinese Communist, 21 March
1956 ,
. RG 59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3908 , Magill to Secretary of
State, Thai Students Re-emerge as a Significant Political Force ?, 5 Oc-
tober 1955 . j
. RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3908 , Memorandum of Con -
versation, Phya Srivisam Vacha, Robert N. Magill, "The Current Political
Situation /' 12 October 1955.
— . RG 59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3908 , Memorandum of Con-
versation Captain ร . Sarasas and Amos Yodes, Internal Politics , 15
April 1957 . ]
. RG 59 Central Decimal File 1955^1959 Box 3908, Peurifoy to Secretary
of State : 4 August 1955 . 6 August 1955, 1

. RG 59 Central Decimal File 1955 - 1959 Box 3911 , Bishop to Secretary


of State, 10 September 1957.

I
. RG 59 Central Decimal File 1955 - 1959 Box 3912 , Bishop to Secretary
of State, 8 October 1957 .
—— . KG 59 Central Decimal File 1955 -1959 Box 3912, Tremblay to Secretan
of State, 20 May 1957 .
— . RG 59 Central Decimal File 1955- 1959 Box 3913, Anschutz to Secretan
of State, 29 April 1955. j
— . RG 59 Central Decimal File 1955 - 1959 Box 3913, Bishop to Secretan
of State, 31 July 1957 . 1
. RG 59 Central Decimal File 1955 -1959 Box 3913, Dulles to Bangkok,
Possibility of Field Masha] Sarit’s Acession to Power, 3 September 1957.

, RG 59 Central Decimal File 1955 - 1959 Box 3913 , Memorandum for

Record conversation between Major General R . c . Partridge and Field


Marshal Srisdi on 16 July 1951 . ]

318
บรรณานุกรม

NARA. RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3913, Robert N . Magil 3 to


Secretary of Slate, Press Criticism of บ.ร. Aid Program, 11 January 1956.
. RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Box 3913, Robert N. Magill to
Secretary of State, Rockwood H . Foster to Young, 23 January 1956.
. RG 59 Central Decimal File 1955-1959 Entry Thailand 1955-1959
Box 3910, Harry Conover to Secretary of State : 20 September 1955. 23
*

September 1955. 30 September 1955.


— . RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Acting Secretary of State
(Murphy) to Bangkok, 18 September 1957 .
— -
RG 59 Entry Thailand 1955 1959 Box 3909, Bishop to Secretary' of State :
20 August 1957. 31 August 1957 . 11 September 1957. 13 September
.
1957 15 September 1957. 16 September 1957 . 20 September 1957 . 23
September 1957. 27 September 1957. 1 October 1957. 6 November 1957.
. RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Dulles to Bangkok. Prelim-
inary estimate reading current situation in Thailand, 3 October 1957.
—— -
- RG 59 Entry Thailand 1955 1959 Box 3909, Eric Kocher to Robertson,
Summary of Conversation with General Phao, 4 November 1957.
——
- *
-
. KG 59 Entry Thailand 1955 1959 Box 3909, Hannah to Holland Bush -
ner, Thai Prognostications, 17 September 1957.
. RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Howard p. Jones to Acting
Secretary of State (Murphy ), 17 September 1957.
—— -
R G 59 Entry Thailand 1955 1959 Box 3909, John C, Guthrie to Secre-
tary of State, 3 December 1957 .
— -
. RG 59 Entry Thailand 1955 1959 Box 3909, Memorandum of conversa
tion Brigadier General Wallop Kojanawisut, Colonel Edward Eansdale and
-
Kenneth T. Young, 24 October 1957.
. RG 59 Entry Thailand 1955-1959 Box 3913, IT Alexis Johnson to Sec-
retary of State, 28 July 1958.
-
. RG 59 Entry Thailand 1956 1958 Box 3909, Bishop to Secretary of
State, 5 August 1957.
. RG 59 General Records, Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Dulles to
Bangkok , 25 September 1957 .
. RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal File

319
ขนคิก คักดนา และพญาอินทรื

1950-1954 Box 4184, Memorandum of Conversation Nai Khuang and


Hannah, " Attempted Coup d ’ Etat 29- 31 June 1951, ” 9 July 1951.
NARA. RG 59 General Records of Department of State, Central Decimal File
1950- 1954 Box 4184, Memorandum of Conversation Nai Tula Bunnag
and Hannah, “ Current Thai Political Potting," 26 April 1951.
* KG 59 General Records of Department of State, Central Decimal File
1950-1954 Box 4184, Memorandum of Conversation p. Phibunsonggram
and Stanton , “ Corruption in Army and Government service, ” 16 June
1950.
. RG 59 General Records of Department of State, Central Decimal File
-
1950 1954 Box 4184, R . H. Bushner to Secretary of State, “Current Thai
Political Potting, " 26 April 1951.
. RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal File
1950 1954 Box 4184 , William T. Turner to Department of State, “ Political
-
Report for December 1950 and January 1951," 21 February 1951.
. RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal File
1950-1954 Box 4184, William T. Turner to Secretary of State, Monthly
Political Report for May 1950, 15 June 1950.
. RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal File
1950-1954 Box 4184, William T. Turner to Secretary of State, “ Political
Report for December 1950 and January 1951, " 21 February 1951 .
. RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal File
1950-1954 Box 4184, William T. Turner to Secretary of State, “ Political
Report for November 1950, ” 26 December 1950.
. RG 59 General Records of Department of State, Central Decimal File
1950-1954 Box 4186, Memorandum of Conversation General Phao and
Hannah, “ Current Politics," 16 August 1952 .
— RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal File
1950-1954 Box 4188, Bangkok to Secretary of Stat, 4 December 1954 .
1 RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal File
1950-1954 Box 4188 , Tunner to Secretary of State, 8 December 1951.
RG 59 General Records of Department of State , Central Decimal File
1955-1959 Box 3908, Duiles to Peurifoy, 28 July 1955. I

320
บรรEนานุกรม

XARA. RG 59 General Records of Department of State, Central Decimal File


1955-1959 Box 3908, Hoover (Acting of Secretary of State) to Bangkok,
4 August 1956.
. RG 59 General Records of Department of State, Entry Thailand 1955-1959
Box 3909, Memorandum of Conversation Brigadier General Wallop Rojanaw -
.
isut Colonel Edward Lansdale and Kenneth T. Young, 24 October 1957.
. RG 59 General Records of The Department of State, Central Decimal
-
File 1955-1959 Entry Thailand 1955 1959 Box 3910, Ansehuetz to Sec-
retary of State, 17 September 1955 .
. RG 59 Record of Division of Research 2 Far East 1946-1952, Lot 58
d 245 Box 2, “SWNCC Second Phase Study on Siam, ” 29 May 1947.
. RG 84 Box 1, Top Secret General Records 1947-1958, Memorandum
from Norbert L. Anschuetz to John Jarman , Chinese Communist Trade
with Thailand, 26 April 1954),
. RG 84 Box 1, Top Secret Genera ] Records 1947-1958, Memorandum G .
B. Erskine to Donovan, 6 April 1954.
. RG 84 Box 2, Top Secret General Record 1947-1958, National Policy
Approved on 20 August 1954 in Connection with a Review of บ- ร. Policy
toward the Far East .
-
RG 84 Box 2, Top Secret General Record 1947 1958, Statement of Policy
by the National Security Council on United States Objectives and Courses
of Action with Respect to Southeast Asia, 1954.
. RG 84 Box 6 Top Secret General Records 1947-1958, Acheson to Amer-
ican Embassy Bangkok, 4 February 1949.
— RG 84 Box 6 Top Secret General Records 1947-1958, Stanton to Secretary
of State : 15 February 1950. 27 February 1950. 13 February 1950.
——— -
. RG 84 Box 6 Top Secret General Records 1947 1958, Webb to American
Embassy Bangkok, 7 March 1950.
. RG 84 General Record , Thailand 1956-1958 Entry UD 3267 Box 112,
D. H . Rochlen to The Ambassador, Change in Ownership of Sri Krung
and Liberty Newspapers, 4 January 1957.
, RG 84 General Records, Thailand 1945-1953, Entry UD 3267 Box 93,
R . H. Bushner to Political Section, " Public Opinion regarding 29 November
Coup," 11 December 1951 .

321
ขุนดึท คักตีนา และพญาอนทรี
1

NARA. RG 84 General Records, Thailand า 945-1953, Entry UD 3267 Box 93, R.


H. Bushncr to Political Section , "Thai Reaction to Coup d’Etat,” 11 July
1951;
, -
RG 84 General Records, Thailand 1945 1953, Entry' UD 3267 Box 99,
Colonel D , พ. Stonecliffe to Secretary of Defense. "Thailand -Military
Significance 29 November 1951 Coup d ’Etat," 4 January 1952 .
'

. RG 84 General Records, Thailand 1956-1958 Entry UD 3267 Box 106,


Bishop to Sarit, 12 October 1956.
-
. RG 84 General Records, Thailand 1956 1958 Entry' UD 3267 Box 106,
Sarit to Bishop, 9 October 1956.
, RG 84 Thailand 1956-1958 Entry' UD 3267 Box 106, K . G. Cleveland to

——— Secretary of State, 4 September 1957.


-. RG 84 Top Secret General Records 1947-1958 Box 3, Hensel to Dulles,

4 February 1955.

เอกสารหอฝับฺดประธานาธิบดีไอเซนaาวร์ (The Dwight D. P.ismhowRr Library')


-
The Dwight D . Eisenhower Library. John Foster Dulles Paper 1951 1959, Per -
sonnel Series Box 1, Robertson to Secretary of State, Possible designation
of General William Donovan as Ambassador to Thailand , 2 June 1953 .
—— —. OCB Central File Series, OCB 091 Thailand , Landon to Kenneth T.
Young, Conversation with Thai Ambassador Sarasin and Kenneth p.
Landon, 9 February 1956.
— -
. Paper as President of United States 1953 1961 ( Ann Whitman file )
Box 4, NSC summery of discussion, Potential Political Difficulties for the
United States inherent in Supplying Arms to the Thai National Police
and Army, 20 December 1954.
. Paper as President of United States 1953-1961 ( Ann Whitman file)
Box 4 NSC summery of discussion, Minutes of the 143 rd Meeting of the

— National Security Council , 6 May 1953.


- Paper as President of United States 1953-1961 (Ann Whitman flipi
Box 4 NSC summery of discussion, National Intelligence Estimate Resist-
ance of Thailand , Burma, and Malaya to Communist Pressures in the
Event of a Communist Victory in Indochina เท 1951 , 15 March 1951 .

322
บรรณานุกรม

The Dwight D . Hisenhower Library. Paper of John Foster Dulles 1951-1959,


White House Memorandum Series Box 1, Memorandum of Conversation
with The President, 4 April 1955.
. Papers as President ไ 953-196 ไ ( Ann Whitman tile), International Series
Box 48, File Thailand ( 3), Dulles’ร Memorandum for The President, Vis-
it of p. Phibulsonggram, 2 May 1955.
-—— . White House Central Files, Office Files 1953-1961 OF 8 F Ambassador
and Minister, Gorge V. Allen Box 134, Bishop to The President, 15 No-
vember 1957.
1White House Office, National Security Council Staff : Paper 1948-1961,
OCB Central File Series Box 55, National Security Council : Progress Re-
port on Future United States economic Assistance For Asia by The


Operations Coordinating Board ( No.5506), 7 December 1955.
. White House Office, National Security Council Staff : Paper 1948-1961,
OCB Central File Series Box 55, National Security Council : Progress Re-
port on United States Objective and Courses of Action with Respect to
Southeast Asia by The Operations Coordinating Board ( No . 5405), 21
December 1955.
-
.White House Office, National Security Council Staff : Papers, 1948 1961,
Operations Coordinating Board Central File Service Box 2, Memorandum
-
for James ร. Lay, Jr. Hxecutivc Secretary National Security Council, Special
Report on Thailand , 12 July 1954.
—— . White House Office, National Security Council Staff : Papers, 1948-1961,
Operations Coordinating Board Central File Service Box 2, “Thailand ะ All
American Dilemma ." October 1954.

Operations Coordinating Board Central File Service Box so, Memorandum


-
—— - wrhite House Office, National Security Council Staff : Papers, 1948 1961,

for The Operations Coordinating Board Assistants, “ Progress Report on


Southeast Asia ( NSC 5405 AND portion of NSC 5429/5)," 2 December 1955.
, White House Office, National Security Council Staff : Papers, 1953-1961,

Psychological Strategy Board Central Files Series Box 16, Summary of


Department of State Revision of PSB-D 23, 24 July 1953
-
. White House Office, National Security Council Staff : Papers 1948 1961,

323
ชุนคิก ศักดินา และพญาอินทรี

Operations Coordinating Board Central File Service Box 2, Analysis of


International Security in Thailand and Recommended Action, 4 January
1956.
-
The Dwight D. Eisenhower Library. White House Office, National Security Coun -
-
cil Staff : Papers 1948 1961, Operations Coordinating Board Central File
Service Box 2, Special Report to The National Security Council 1954.
_White House Office, Office of the Special Assistant for National Security
Affaire : Record, 1952-1961 NSC Series, Briefing Notes Subseries Box 16,
File : Southeast Asia (1953-1961), บ-ร. Psychological Strategy based on
Thailand, 8 September 1953.
. White House Office, Office of the Special Assistant for National Security'
-
Affaire : Record 1952 1961 NSC Series, Briefing Notes Subseries Box 16,
- - -
File : Southeast Asia (1953 1961), Memorandum for General Smith Chair
-
man of Operations Coordinating Board from Robert Cutler Special Assis-
tant to the President, 10 September 1953.
. White House Office, Office of the special Assistant for National Security
-
Affaire : Record 1952 1961 NSC Series, Briefing Notes รนbseries Box 16,
-
File : Southeast Asia (1953 1961), Memorandum for General Cutler from
พ. B. Smith , 11 September 1953.

^ ^
ห้องสมุดร้ สภาสห อเมรุกา (Library of Congress )
Library of Congress. CK3100007533, 20 December 1954, Potential Political Dif
7

ficulties for the United States Inherent in Supplying Arms to the Thai
-
National Police and Army.
. CK3100297663, October 1954, Thailand : An American Dilemma.
เอกสารหอจดหมายเหคุแห์งชาดรงกฤษ (The Nationaal Archives)
NA. CO 537/7115, Whittington to Foreign Office, 26 February 1951.
. CO 54462 /3, Thompson to Foreign Office, 29 November 1949.
— —. FFO0 371371//101168
101166, Wallinger to Foreign Office, 10 March 1952 .
.
, Chancery to Foreign Office, 21 July 1952.
. FO 371/101168, Wallinger to Foreign office : 27 November 1952
I.
28
November 1952.

324
บรรณานุกรม

NA. FO 371/101168, Whittington to Foreign Office , ใ 3 November 1952.


. FO 371 /106884, Wallinger to Foreign Office, 19 December 1954.
FO 371/106890, Whitteridge to Foreign Office, 10 July 1953*

. FO 371/106890, Whitteridge to Foreign Office, Annual Review ; Report

— on the general situation in Thailand for 1955, 3 January 1956.


. FO 371/112261, Wallinger to Foreign Office, Annual Report on Thailand
for 1953, 18 January 1954.
— FO 371/112262, Gage to Foreign Office, 21 August 1954 .
. FO 371 /112262 , Wallinger to Foreign Office, "Annual Report on Thai-
land for 1953, ” 4 November 1952-
FO 371/117338, Gage to Foreign Office, 2 August 1955.
— . FO 371 /1 17338, W'hitteridge to Foreign Office, 11 August 1955.
— . FO 371/117346, Gage to Tomlinson, 27 July 1955.
. FO 371/117346, Whitteridge to Foreign Office, 6 August 1955.
. FO 371/117360, Gage to Tomlinson, 29 April 1955.
, FO 371/123645. Thai Nationals Visiting China, 22 February 1956
. FO 371/129610, Gage to Foreign Office, 17 April 1957.

— FO 371/129611, A.J. de La Mare to Tomlinson, 7 July 1957.


. FO 371/129611, Adam to Tomlinson, 8 June 1957.
. FO 371/129611, Whittington to Foreign Office ; 17 September 1957. 21
September 1957.
. FO 371/129612, Whittington to Selwyn Lloyd , 22 September 1957.
. FO 371/136020, Whittington to Foreign Office, 20 March 1958.
—— F O 371/76277, Thompson to Foreign Office, 6 December 1949.
. FO 371/76281 , Thompson to Foreign Office : 21 February 1949. 25
February 1949.
. FO 371/84348, Thompson to Mr. Bevin , ” Siam : Annual Review for
1949,” 10 May 1950.
. FO 371 /84352, Far Eastern Department to U.K. High Commissioner in
Canada, Australia, New Zealand , India, Pakistan, Ceylon, 14 December
1950-

—- . FO 371/ 92954, Whittington to Foreign Office, 28 February 1951.
. FO 371/92956, Whittington to Foreign Office, “Siam : Political Summary,”
13 July 1951.

325
ชุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

NA. F0 371/92957, Foreign office to December 1951


Bangkok , 4 .

— . FO 371/92957 , Murray to Foreign Office, “ Coup d ’ Etat in Siam /’ 3 De-


cember 1951 .
a FO 371/92957 , Wallinger to Foreign Office : 30 November 1951. 5 De-
cember 1951. 7 December 1951.
. FO 371/92957, Wallinger to Foreign Office, "Coup cFHtat in Siam, '’ 5

— December 1951.
. FO 628/ 79, Minutes, 1 July 1951,

บทความ ทนงสือ วิทยานิพนธ์ และ!อกเท!อื่นๆ


Adulvasak Soonthornrojana. 1986. " The Rise of United States-Thai Rela -
tions, 1945-1954.” Doctoral Dissertation, University of Arkon.
Aldrich , Richard J. 1993. The Key to the South : Britain, the United States,
and Thailand during the Approach of the Pacific War, 1929- 1942 .

—— Kuala Lumpur : Oxford University Press.


.. 2000a . Intelligence and the War against Japan : Britain, America
and the Politics of Secret Service, Cambridge : Cambridge University
Press.
— . 2000b . “ Legacies of Secret Service : Renegade SOE and the Karen
Struggle in Burma, 1948-1950.” In The Clandestine Cold War in Asia.
1945-1965 : Western Intelligence, Propaganda and Special Operation.
edited by Richard J . Aldrich, Gary D. Rawnsley and Ming-Yeh T.
Rawnsley. London : Frank Class.
Anderson , Benedict R.O’G. 1977. “Withdrawal symptoms : Social and Cultural
Aspects of the October 6 Coup. ” Bulletin of Concerned Asian Scholars
9 (3) : 13-30
— . 1979. “The Studies of the Thai State : The State of Thai Studies." In
The Study of Thailand , edited by Elizier B.Ayal. Athens. Ohio ะ Ohio

— —— University Center for International Studies Southeast Asia Program.


. 1985 . “ Introduction." In In The Mirror , edited by Benedict R . O G
Anderson and Ruchira Mendiones. Bangkok ะ Duang Kamol.
'

Anderson, David L. 1991. Trapped by Success : The Eisenhower Administra-


tion and Vietnam . 1953-1961. New York : Columbia University Pres -

326
บรรณานุกรม

Anuson Chinvanno . 1992. Thailand’ร Politics toward Chaina, 1949- 1954 .


Oxford : St Antony’s College.
Apichat Chinwanno. 1985 , “ Thailand’s Search lor Protection : The Making of
the Alliance with the United States, 1947-1954.” Doctoral Dissertation
Oxford University.
-
Bartholomew Feis, Dixee K . 2001 . "The Man on The Ground : The OSS in
-
Vietnam , 1944 1945." Doctoral Dissertation The Ohio State University .
Batson , Benjamin A. 1984. The End of the Absolute Monarchy in Siam. Sin-
gapore : Oxford University Press.
Bell. Peter F. 1982 . “Western Conceptions of Thai Society : The Politics of
American Scholarship." Journal of Contemporary Asia 12 (1) : 61 74.-
Bernstein , Barton J. 1972. Politics and Policies of the Truman Administration.
Chicago : Quadrangle Books.
Bogart, Leo. 1976. Premises for Propaganda : The United States Information
Agency’s operating Assumptions in the Cold War . New York : Free
Press.
Borden, William. 1984. The Pacific Alliance : United States Foreign Economic
Policy and Japanese lYade Recovery 1947- 1955 . London : University
4

of Wisconsin Press.
Bowie, Katherine A. 1997. Rituals of National Loyalty : The Village Scout
Movement in Thailand . New York : Columbia University.
Braiiey, N. J . 1986. Thailand and the Fall of Singapore : A Frustrated Asian
Revolution . Boulder : Westview Press.
Brown, Anthony Cave . 1982 . The Last Hero : Wild Bill Donovan. New York :
Vintage Books.
Busynkl, Leszek. 1983. SEATO: The Failure of an Alliance Strategy . Singapore :
Singapore University Press.
Caldwell, บ Alexander. 1974. American Economic Aid to Thailand . London :
Lexington Books.
Chaiwat Khamchoo and E. Bruce Reynolds , eds. 1988. Thai-Japanese Rela
tions in Historical Perspective . Bangkok : innomedia .
-
Chaiyan Rajchagool . 1994. The Rise and Fall of Thai Absolute Monarchy :
Foundation of The Modern Thai State from Feudalism to Peripheral
Capitalism. Bangkok : White Lotus.

327
ชุนลึก ศักดินา และพญาอินทวี

Chalong Soontravanioh. 2002. "The Small Arms Industry in Thailand and the
Asian Crisis/' In Hegemony, Technocracy, Networks, edited by Takeshi
Hamashita and Takashi Shiraishi. Kyoto : The Networks *

Charivat Santaputra . 1985. Thai Foreign Policy. Bangkok : Chareon Wit Press.
Chatri Ritharom . 1976. “The Making of the Thai- U.s . military alliance and
the SEATO Treaty of 1954 : A Study in Thai Decision- Making." Doc
toral Dissertation, Claremmont Graduate School.
-
Chomsky, Noam , and Edward ร, Herman , 1979 The Washington Connection
,

and Third World Fascism : the Political Economy of Human Right


.
Volume I Boston ะ South End Press ,
Chomsky, N., H . ZiniL, L. Nadear, et aL 1997 . The Cold War and the Univer-
sity : loward an Intellectual History of the Postwar Tears , New York :
New Press.
Chula Chakrabongse. 1960. Lord of Life. London : Alwin Redman Limited.
Coast, John. 1953, Some Aspects of Siamese Politics, New York : Institute of
Pacific Relations.
Damrong Rachanuphap, Prince . 1926-1927. “The Introduction of Western
Culture in Siam.” Journal of Siam Society 20 :89-100
. 1962. Miscellaneous Articles : Written for the Journal of Siam Soci-
ety . Bangkok : The Siam Society.
Darling, Frank c. 1965. Thailand and the United States. Washington D.C. :
Public Affaires Press.
Dhani Nivat, Prince. 1946. “The Old Siamese Conception of the Monarchy, ”
Journal of Siam Society 36 ( 2 ) : 91-106.
— 1954. "The Reign of King Chulalongkorn ," Journal of World History
2 : 46-66.
——- . 1969. Collected Articles, Bangkok : The Siam Society.
Dunne, Matthew' พ. 2003. "A Cold War State of Mind : Cultural Constructions
of Brainwashing in The 1950s.” Doctoral Dissertation, Brown University .
Eisenhower, Dwight D. 1963. Mandate for Change , 1953- 1956 . New York :
Doubleday & Company.
Ferrara, Federico. 2012. “The Legend of King Prajadhipok : Tall Tales and
Stubborn Facts on the Seventh Reign in Siam." Journal of Southeast
-
Asian Studies 43 (1) : 4 31. 1

328
ฃวิวิณานุทวิม

Fifield, R. H , 1972 . Americans in Southeast Asia : The Hoots of Commitment .


New York : Thomas Y. Crowell.
Fine, Herbert A. 1965. “The Liquidation of World War il in Thailand.” Pacific
Historical Review 34 ( 1 ) : 65-82 .
Fineman, Daniel M . 1997 . A Special Relationship : The United States and
Military Government in Thailand , 1947- 1958, Honolulu : University of
Hawaii Press.
Flood, R. Thadeus. 1976, The United States and the Military Coup in Thailand :
A Background Study , California ะ Indochina Resource Center,
l ord , Eugene. 2017 . Cold War Monies ; Buddhism and American s Secret '

Strategy in Southeast Asia. New Haven : Yale University Press.


Foreign Relations of the United States 1948 Voi 6 . 1974. Washington D.c. ะ
Government Printing Office.
Foreign Relations of the United States 1949 Vol 1. 1976a. Washington D.c. ะ
Government Printing Office.
Foreign Relations of the United States 1950 Vol . 6 . 1976 b. Washington D . c. :
Government Printing Office.
Foreign Relations of the United States 1952- 1954 Vol 12 , 1987, Washington
D .C. : Government Printing Office,
-
Foreign Relations of the United States 1955 1957 Vol 22. 1989. Washington
D.C. : Government Printing Office,
Classman , Jim. 2004. Thailand at the Margins New York : Oxford University
,

Press.

— . 2005. “The New Imperialism ? On Continuity and Change in US For -
eign Policy." Environment and Planning 37 ( A) : 1527-44 .
Goscha , Christopher E . 1999 Thailand and the Southeast Asian Networks
,

of the Vietnamese Revolution, 1885- 1954 . Richmond : Curzon.


Griswold, A. B . 1961. King Mongkut of Siam. New York : The Asia Soceity .
Hall, D. G. E. 1968. A History of South East Asia . London : Macmillan ,
Handley, Paul M . 2006 . The King Never Smiles : A Biography of Thailand' s
Bhumibol Adulyadej. Yale University Press.
Harrison , Rachel V., and Peter Jackson. 2011 . The Ambiguous Allure of the
West : Traces of the Colonial in Thailand . Hong Kong : University of
Hong Kong.

329
ฃุนดึท ศกดินา และพญาอินฑรื

Hayes, Samuel p. 1950a. “Point Four in United States Foreign Policy.” Annuals
of the American Academy of Political and Social Science 268
(March ) : 27- 35.
. 1950b. "The United States Point Four Program,” The Milbank Memorial
Fund Quarterly 28 ( 3) : 263-72 .
Herring, George c 2008. From Colony to Supperpower . New York : Oxford
,

University Press.
Herzfetd , Michael. 2002 . “ The Absent Presence : Discourses of Crypto-Colo-
nialism.” South Atlantic Quarterly 101 : 899-926.
Hess, Gary R. 1972. “ Franklin Rosevelt and Indochina ." The Journal of Amer-
ican History 59 (2 ) : 353-68.
Hewison, Kevin . 1989. Bankers and Bureaucrats Capital and the Role of the
State in Thailand. Connecticut : Yale University.
. 1997 . “The Monarchy and Democratization. ” In Political Change in
Thailand : Democracy and Paticipation , edited by Kevin Hewison, 58-
74 . London : Routledge.
. 2015. “ Thailand : Contestation over Elections. Sovereignty and Rep-
resentation.” Representation 51 (1) : 51-62.
Hogan , Michael J ., and Thomas G. Patterson . 1991. Explaning the History of
American Foreign Relation. Cambridge : Cambridge University Press.
Hunter, Edward. 1951 . Brain Washing in Red China : The Calculated De-
struction of Men'ร Minds. New York : Vanguard Press.
Hyun, Sinae. 2014. “ Indigenizing the Cold War : Nation- Building by the Border
Patrol Police. 1945-1980.” Ph. D . Dissertation University of Wisconsin-
Madison.
Jackson, Peter . 2011. “ The Ambiguities of Semicolonial Power in Thailand . "
In The Ambiguous Allure of the West : Traces of the Colonial in Thai -
land , edited by Rachel Harrison and Peter Jackson , 37- 56. Hong
Kong : University of Hong Kong,
Jain , R, K, ed . 1984 , Chaina and Thailand, 1949-1983. New Delhi : Radiant
Publishers.
Johnson, บ. Alexis . 1984. The Right Hand of Power , New Jersey : Prentice-
Hall .

330
บารณานุกาม

Johnson, บ. Alexis. 2001. “The King and Us : Representation of Monarchy in


Thailand and the Case of Anna and the King.” International Journal
-
of Cultural Studies 4 ( 2 ) : 201 18.
Jory , Patrick . 2011. “Thai Historical Writing. ” [ ท The Oxford History of
Historical Writing . Volume 5 : 1945 to the Present\ edited by Axel
Schneinder and Daniel Woolf, 529-58 . Oxford University Press.
Kahin . George McT. 1955. The Asian-African Conference Bandung Indonesia

—— April 1955. Ithaca. New York : Cornell University Press.


. 1986. Intervention : How American Become Involved in Vietnam. New
York ะ Alfred A. Knopf.
Kasian Tejapira. 2001. Commodifying Marxism : The Formation of Modern
Thai Radical Culture: 1927-1958 . Kyoto : Kyoto University Press.
Keyes, Charles F . 1967. Jsan: Regionalism in Northeastern Thailand . Data
paper no.65, Southeast Asia Program Department of Asian Studies.
New York : Cornell University.
-
Kobkua Suwannathat Pain. 1994. Politics and National Interests : Negotiations
for the Settlement of the Franco-Siamese Territorial
Tokyo : Sophia University.
-
Dispute 1945

—-—
1947.
.
. ใ 995 Thailand ' s Durable Premier : Phibun through Three Decades
1932-1957. Kuala Lumpur : Oxford University' Press.
. 2003. Kingr Country and Constitution : Thailand 's Political Develop-
ment 1932-2000 . New York : Routledge Curzon .
Kullada Kesboonchoo Mead . 2003. "A Revisionist History of Thai-U .s. Rela-
tion . ” Asian Review 16 : 45-67 .
. 2004. The Rise and Decline of Thai Absolutism . New' York : Routledge
Curzon.
Landon, Kenneth Perry. 1968. Siam in Transition : A Brief Survey of Culture
Trends in the Five Years since the Revolution of 1932. New York :
Greenwood Press.
Lifton, Robert jay, ed. 1970. America and the Asian Revolutions. New York :
Trans-action Books.
Likhit Dhiravegin. 1985. Thai Politics : Selected Aspects of Development and
Change. Bangkok : TRI -Sciences Publishing House.

331
จุนศึก ศกคนา และพญาอินทรี

Lobe, Thomas . 1977 . United States National Security Policy and Aid to the
Thailand Police. Monograph Series in World Affaires . Colorado ะ Uni-
versity of Denver.
Lobe, Thomas, and David Morell. 1978. “ Thailand 's Border Patrol Police :
Paramilitary Political Power." In Supplemental Military Forces : Re-
serve, Militarias, Auxiliaries edited by Louis A. Zurcher and Gwyn
Harries Jenkins, ไ 53-78. Berverly Hiiis and London : SAGE.
9

Lockhart, Bruce McFarland. 1990 . “ Monarchy in Siam and Vietnam , 1925-


1946." Doctoral Dissertation Cornell University.
MacDonald , Alexander. 1950. Bangkok Editor . New York : The Macmillan
Company.
Mahmud , Nik Anuar Nik. 1998- The November 1947 Coup : Britain, Pihul
Songgram and the Coup Selangor Darul Ehasan ; Center for Educa
1
-
tional Technology Universiti Kebangsaan Malaysia .
Manich Jumsai, M . L. 1970 . History of Anglo - Thai Relations. Bangkok :
Chalermnit.
McCoy, Alfred พ. 1973. The Politics of Heroin in Southeast Asia New York :
,

Harper and Row.


— 2006
. . A Question of Torture : CIA Interrogation from the Cold War
New York : Metropolitan Books.
to the War on Terror .
Mehden , Fred von der and Fred พ. Riggs. 1967. Evaluation of the VSO :
Interviews with VSO and Villagers. Bangkok : IJSOM .
Moffat, Abbot Low. 1961. Mongkut, the King of Siam. Ithaca , New York :
Cornell University Press.
Morell, David and Chai-anan Samudavanija. 1981. Political Conflict in Thai-
land : Reform, Reaction, Revolution. Cambridge, Massachusette : Oel-
geschlager, Gunn & Main Publishers. -M
Namngern Boonpiam , 1979 . “ Anglo-Thai Relations. 1825-1855 : A Study in
Changing of Foreign Policies . ” Doctoral dissertation University of
Nebraska - Lincoln.
Nattapoll Chaiching, 2010, “The Monarch and the Royalist Movement in Modem
Thai Politics, 1932-1957." In. Saying the Unsayable : Monarchy and
Democracy in Thailand , edited by Soren Ivarsson and Lotte Isager.
147-78. Copenhagen : NIAS Press.

332
บรรณานุกรม

Neher, Arlene Becker, 1980. “ Prelude to Alliance : The Expansion of Ameri-


can Economic Interest in Thailand During The 1940s / Doctoral dis-
sertation Northern Illinois Univeristy.
Neon Snidvongs. 1961 . “ The development of Siam ’ร Relations with Britain
-
and France in the Reign of King Mongkut. 1851 1868/ Doctoral
dissertation University of London .
Nuecterlein, Donald E. 1967. Thailand and the Struggle for Southeast Asia.
New York ะ Cornell University Press.
Ockey, James. 2002. “Civil Society and Street Politics in Historical Perspective.”
In Reforming Thai Politics , edited by Duncan McCargo , 107 - 23.
Copenhagen : Nodic Institution of Asian Studies.
Osgood , Kenneth A. 2001. “Total Cold War : บ.ร. Propaganda in the Free
World 1953-1960," Doctoral Dissertation University of California Santa
Barbara.
Paterson, Thomas G . 1972. "The Quest for Peace and Prosperity : Interna-
tional Trade, Communism , and the Marshall Plan." In Politics and
Policies of the Truman Administration , edited by Barton J . Bernstein,
78-112. Chicago : Quadrangle Books.
Peleggi, Maurizio. 2002. Lord of the Things : The Fashioning of the Siamese
Monarchy’s Modern Image . Honolulu : University of HawaFi Press.
. 2016. “ Excavating Southeast Asia ' ร Prehistory in the Cold War :
American Archaeology in Neocolonial Thailand / Journal of Social
Archaeology 16 (1) : 94-111.
Phillips, Matthew'. 2017. Thailand in the Cold War . London and New' York :
Routledge.
Praagh, David Van , 1996. Thailand’ร Struggle for Democracy: The Life and
Time of M.R. Seni Pramoj. New York : Holmes and Meier.
Randolph, R. Sean. 1986. The United State and Thailand : Alliance Dynam-
ics, 1950-1985, Berkeley : Institution of East Asian Studies University
of California.
Ray , Jayanta Kumar . 1972. Portraits of Thai Politics. New Delhi : Orient
Langman.
-
Reus Smit, Christian , 2004 . American Power and World Order. Cambridge :
Polity Press.

333
ชุนคึก คักคนา และพญาอนทรี

Reynolds, E. Bruce. 1984 . "Thailand and The Southeast Asia League." Paper
presented at the International Conference on Thai Studies in Bang-
kok . 22-24 August 1984.
——— . 1992. "The opening Wedge : The OSS in Thailand/’ In The Secrets
War : The Office of Strategic Services in World War II , edited by
-
George c. Chalou, 328 50. Washington D C. : National Archives and
Record Administration.
— . 2005. Thailand' s Secret War : The Free Thai OSS, and SOE during
World War II . Cambridge : Cambridge University Press.
Riggs, Fred พ. 1967. Thailand : The Modernization of A bureaucratic Polity .
Honolulu : East-West Center.
Rist, Gilbert 1999. The History of Development : From Western Origins to
Global Faith. London : Zed Books.
Robin, R . 2001. The Making of the Cold War Enemy : Culture and Politics in
the Military-Intellectual Complex , Princeton : Princeton University Press.
Rong Syamananda . 1963. An Outline of Thai History . Bangkok : Chulalong-
korn University.
Rositzke, Harry. 1988. The CIA' s Secret Operations Espionage, Counterespi-
.
onage, and Covert Action London : Westview Press.
Scott, Peter Dale. 1972. The War Conspiracy : The Secret Road to the Second
Indochina War. New York : The Bobbs-Merrill.
Sean, Randolph. R . 1986. The United State and Thailand : Alliance Dynamics,
1950-1985 . Berkeley : Institution of East Asian Studies University of
California.
Sears, Laurie J. 1993. "The Contingency of Autonomous History." In Auton-
omous Histories Particular Truths, edited by Laurie J. Sears, 3- 35.
Wisconsin : Center for Southeast Asian Studies University of Wiscon-
sin .
Selected. Documents of The Bandung Conference Texts of Selected Speeches
and Final Communique of The Asian-African Conference Bandung
Indonesia 18-24 April ไ 955 . 1955. New York : Institution of Pacihc
1

Relations.
Seni Pramoj, M. R . 1950 . “ King Mongkut as a Legislator." Journal of Siam
Society 38 (1 ) ะ 32-66-

334
บรรณานุกรม

Seni Pramoj, and Kukrit Pramoj, M.R , 19611 "The King of Siam Speaks , * In
Mongkut, the King of Siam. Ithaca, New York : Cornell University Press.
— 1987. A King of Siam Speaks. Bangkok : The Siam Society.
Somsak Jeamteerasakul. 1993. “The Communist Movement in Thailand /’
Doctoral Dissertaion Monash University .
Sorasak Ngamcaehonkulkid , 2005. “ The Seri Thai Movement : The First
Alliance against Military Authoritarianism in Modern Thai Politics , "
Doctoral Dissertation University of Wisconsin- Madison,
Soravis Jayanama. 2003, “ Rethinking the Cold War and the American Empire.”
-
Asian Review 16 : ใ 43
Special Study Mission to Southeast Asia and the Pacific Report by Walter
H . Judd 7 Minnesota; Marguerite Stitt Church, Illinois; E, Ross Adair;
Indiana; Clement J . Zablocki, Wisconsin, 29 January 1954 for the use
of the Committee on Foreign Affairs . 1954 . Washington D .c : United
,

States Government Printing Office.


Stanton, Edwin F. 1956. Brief Authority : Excursion of a Common Man in an
Uncommon World . New York ะ Harper & Brothers Publishers.
Stowe, Judith A, 1991. Siam Becomes Thailand : A Story of Intrigue. London :
Hurst & Company.
Suchit Bunborigkarn. 1987 , "Political Institution and Processes.” In Govern-
ment and Politics of Thailand , edited by Somsakdi Xuto , 41-74. Sin -
gapore : Oxford University Press.
Surachart Bamrungsuk . 1988. United States Foreign Policy and Thailand
Military Rule 1947- 1977 . Bangkok : Duang KamoL
Tamada, Yoshifumi. 1994. “ Political Implication of Phibun ’s Cultural Policy,
1938-1941.” Final report submitted to the National Research Council
of Thailand.
Tan, Mitchell, 2018. “ Confronting Communism : Sang Phattanothai and Thai-
land’ร Dynamic Relationship with the Cold War World , 1948-1957.”
Sojourn : Journal of Social Issues in Southeast Asia 33 (1 ) : 59-115.
Tarling, Nicholas. 1992. “ Ah -Ah ะ Britain and the Bandung Conference of
1955. ” Journal of Southeast Asian Studies 23 (1) : 74-111.
. 1996. " Britain and the Coup 1947 in Siam.” Paper presented to

335
ขนลึก ศักดินา และพญาอินทรี

International Association of Historians of Asia. Chulalongkorn Univer-


sity Bangkok. 20- 24 May 1996.
rarling, Nicholas. 2005. Britain, Southeast Asia and the Impact of Korean
War. Singapore : Singapore University Press.
Perwiel, Barend Jan . 1980. Field Marshal Plaek Phibun Songkhram . St Lucia :
University of Queensland Press.
Thak Chaloemtiarana, ed . 1978. Thai Politics 1932- 1957 . Bangkok : The
Social Science Association of Thailand .
- 1979. Thailand : The Politics of Despotic Paternalism. Bangkok :
Thammasat University Press.
Thamsook Numnonda. 1978. "Phibunsongkhram ’s Thai Nation-Building Pro-
-
gram during the Japanese Military Presence, 1941 1945/ Journal of
Southeast Asian Studies 9 ( 2) : 234-47 ,
Thanavi Chotpradit. 2018. “Countering Royalism with Constitutionalism : The
People’s Party’s Visual Culture after the Bowaradet Rebellion.” South
Fast Asia Research 26 (3) : 235-55.
Thanet Aphornsuvan. "The United States and the Coming of the Coup of
1947 in Siam." Journal of the Siam Society 75 : 187-214.
The Pentagon Papers. 1971. New York : The New York Times.
Theoharis, Athan . 1972. “ The Rhetoric of Politics : Foreign Policy, Internal
Security and Domestic Politics in the Truman Era / In Politics and
Policies of the Truman Administration, edited by Barton J . Bernstein.
196- 241. Chicago : Quadrangle Books.
Thongchai WinichakuL 1994. Siam mapped : A History of the Geo- Body of a
Nation. Honolulu : University of Hawai'i Press.
. 1995a. Siam mapped : A History of the Geo-Body of a Nation. Chiang
Mai : Silkworm books.
, 1995 b . " The Changing Landscape of the Past : New Histones in Thai
-
land since 1973/ Journal of Southeast Asian Studies 26 (1) : 99-114.
—. 2003. “ Writing at the Interstices ะ Southeast Asian Historians and Post
National Histories in Southeast Asia / In New Terrains in Southeast
Asia History edited by Abu Talib Alimad and Tan Liok Ee, 3- 29 .
9

Singapore : Singapore University Press.

336
บ11 ณาา.เกรม

Thongcbai Winichakul. 2006. “Siam ’ร Colonial Conditions and the Birth of


Thai History, ” Paper presented to the Conference on “Unraveling the
Myths of Southeast Asia Historiography” In honor of Professor Barond
Jan Terwiel, 24-26 November 2006.
. 2008. "Toppling Democracy.” Journal of Contemporary Asia 38, no. l
(February ) : 11-37 .
——
- . 2011 , "Siam’ร Colonial Conditions and the Birth of Thai History ." In
Unraveling Myths in Southeast Asian Historiography , edited by Volker
-
Grabowsky, 23 45, the volume in honor of Bass Terwiel . Bangkok :
River Books.
Truman. Harry ร. 1965. Years of Trial and Hope, 1946 - 1952. Vol. 2. New
York : A Signet Book .
-
Vanida Troiigyounggoon Tuttle. 1982 . “Thai American Relations. 1950-1954.”
Doctoral Dissertation, Washington States University.
Vella, Walter F. 1955, The Impact of the West on Government in Thailand .
Berkeley : University of California Press.
Wilson , Constance M . 1970. “State and Society in the Reign of Mongkut,
1851-1868 : Thailand on the Eve of Modernization , ” Doctoral Disser-
tation, Cornell University.
Wilson, David A. 1962a. Political Tradition and Political Change in Thailand .
S.L ะ The Rand Corporation ,
—— Press.
. 1962 b. Politics in Thailand . Ithaca, New York : Cornell University

—— 1968
——— ",

1970
. Trip for s\ACT to Thailand . Bangkok : USOM ,
, The United States and the Future of
Praeger Publishers.
Thailand . New York ะ

Wilson , David A.s Fred Von der Mehden, and Paul Trescou. 1970. Thinking
about ARD. S. L ะ USOM .
Wise, David , and Thomas B . Ross. 1974. The Invisible Government . New
York : Vintage Books.
Wiwrat Mungkandi . 1975. “ In Search of Security : Thailand and The United
States, 1945-1950.” Doctoral Dissertation, Harvard University.
. “The Security Syndrome. 1941-1975. ” In A Century and A Half of

337
จุนดิก ศักดินา แระพญาอินทรี
1

Thai Americcin Relations , edited


- by Wiwat Mungkandi and William
Warren , 59-141, Bangkok : Chulalongkorn University.
Wyatt, David K. 1984 . Thailand : .4 Short History , Bangkok : Thai Watana
Panich.
Zinner, Paul E ., ed . 1958. Documents on American Foreign Relations 1957.
New York ะ Council on foreign relation.

หนงสีอพิมพ
Asahi Evening News9 2 June 1960
Bangkok Post 10 November 1947.
9

Bangkok Post , 11 November 1947,


Bangkok Post 9 13 November 1947.
,
Evening News 22 April 1955,
Hong Kong Tiger Standard , 9 June ใ 957.
Newsweek , 21 November 1955.
New York Times 19 November 1955.
1

New York Times , 18 May 1956.


New York Times , 26 August 1956.
New York Times, 21 September 1956.
New York Times 29 January 1957.
9

New York Times, 3 August 1957.


Singapore Standard 13 November 1957.
1

The Economist 6 November 1954 .


9

United Press, 5 May 1955.

338
นามานุกรม

ทฤษณ๙ *สวะรา, พ.อ . ( 2457 - 2519 ) หนึ่งในทหารค่ายสี่เสาเทเวศน์ของจอมพลสฤษดิ้


3!

ชินะรัชต์ ที่เติบโตมาจากกองพลที่ 1 แต่กฤษณ์ยังคงจงรักภักดีกับค่ายราชครู


กาชิสงคราม, หลวง (เทียน เก่งระดมยิง ) (2446-2510) สมาชิกคณะราษฎรสายทหาร อดีด
เสรึไทย เข้าร่วมคณะหู[้ ประหาร 2490 ในฐานะนายทหารนอกราชการ อีกฐานะหนึ่ง
หลวงกาจสงครามคือเป็นพ่อตาของหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศึร จักรพันธ์ เชื้อพระวงศ์
คนสำคัญที่กล้ชิดกับในหลวงรัชกาลที่ 9 หลวงกาจสงครามมีบทบาทสำคัญในการ
ผลักคันรัฐธรรมนูญ 2490 หรือที่เรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” หลังรัฐประหาร
2490 หลวงกาชิสงครามมีบทบาทโดดเด่น ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ทว่าต่อมาเขา
ขัดแย้งอย่างรุนแรงกับจอมพลผิน ชุณหะวัณ จึงถูกเนรเทศออกจากประเทศไทย
-
กัาน จำนงคูมิทท , พ .ท. ( 2446 2507) สมาชิกคณะราษฎรสายทหาร เป็นหนึ่งในคณะ
รัฐประหาร 2490 และเป็น 1 ใน 4 นายทหารที่ไปจี้ให้ควง อภัยวงศ์ ลาออกจาก
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2491
กิตติคักดิ้ ศรีอำไพ กายหลังจากจอมพลป. พิบูลสงครามเปิดให้มีการไฮต์ปาร์ค กิคติศักดิ้
ศรีอำไพ นักไฮด์ปาร้คที่กลุ่มรอยัลลิสต์ให้การสนับสนูน ได้ชื้นปราศรัยเรียกร้องให้
ประชาชนสนับสนูนรัฐธรรมนูญฉบับ 2492
ควง อภัยวงศ์, พ.ต. (หลวงโกวิทอภัยวงศ์ ) ( 2445-2511) สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน
ชื่งร่วมการปฏิวัติสยาม 2475 ควง อภัยวงศ์เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาล
พระยาพหลพลพยุหเสนาและรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลังจากรัฐบาลจอมพล
ป. พิบูลสงครามถูกล้มในปื 2487 ภายใต้การนำของปรีดี พนมยงศ์ ควงได้ชื้นเป็น
นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 และลาออกหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด เขากลับมา
ขน3ก ศกดินา และพญาอนทรื

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งช่วงสั้นๆในปี 2489 แล้วลาออกหลังจากขัดแย้ง


กับปรีดี หลังจากนันควงกึเปลี่ยนไปอยู่กับฝ่ายรอยัลลิสต์ เมื่อมีการจัดตั้งพรรค
ปรร;ชาธิป๋ตย้ ควงใด้เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก หลังรัฐประหาร 2490 ควงขึ้นมาเป็น
นายกรัฐมนตรี แต่ก็ถูกจี้ใหัออกจากดำแหน่งเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2491 เพื่อให้
จอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หลังจากนั้นพรรคประชาชิป๋ตย์
นละควงได้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. โดยทำทุกวิถีทางร่วมกับรอยัล-
ลิสต์'ที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาเพีอทำลายรัฐบาล จนนำไปสู่การรัฐประหาร 2494
ต่อมาเมือมีการเลือกตั้ง 2495 พรรคประชาชิป๋ตย์ภายได้การน้าของควงกัโต้บอยคอต
การเลือกตั้ง พรรคประชาชิปัตย์กลับมาลงเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนกุมกาพันธ์ 2500
แสกแพเลอกตั้ง ทำให้พรรคประชาชิปัตย์ฟ้องร้องให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ
1 C#ร>

ซึ่งนำไปสู่การรัฐประหาร 2500 ในเวลาต่อมา


คึกฤทชิ ปราโมช, ม.ร.ว. ( 2454-2539) นักหนังสือพิมพ์ที่ประกาศตัวว่า “ข้าพเจ้าเป็น
รอยะลิสต์ " เขาเป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้าและพรรคประชาชิป๋ตข์ ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง
หนังสือพิมพ์ ffll มรัฐ อีกด้วย คึกฤทธี่มทลายบทบาททั้งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
นักเซียน นักการเมือง คลอดปีนผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับราชสำนัก สำหรับกรณีสวรรคต
คึกฤทธเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการกระพือข่าวลือเกี่ยวกับปรีดึ พนมขงต์ ว่า
เกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต ซึ่งนำไปสู่การรัฐประหาร 2490 และเขาเป็นหนึ่งในผู้เขียน
“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม" ร่วมกับฝ่ายรอยัลลิสต์คนอนๆ
จอหนสัน, ยู. อเลกชิศ (บ. Alexis Johnson ) (2451 2540) เอกอ้ครราชทูตสหรัฐฯประชำ
-
ประเทศไทย ( 2501-2504 ) จอหนสันถูกส่งมาแทนบิชอปเนื่องจากสหรัฐค เห็นว่า
ไทยเป็นพันธมิตรสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ขณะนั้นความสัมพันธ์ใทยกับ
สหรัฐฯ กำลังเสื่อมลงและเดินไปสู่ทางตัน เพราะบิชอปไม่สามารถทำงานร่วมกับ
รัฐบาลใหม่ ราชสำนัก กลุ่มรอยัลลิสต์ และคณะทหารของจอมพลสฤษดได้ อีกทั้ง
บิชอปมีความขัดแย้งกับ ม.ร.ว. ถึกกุทธิ้ ปราโมช ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ รพพรัฐ
และเป็นพระสหายของพระมหากษัตริย์ จอห์นสันทำหน้าที่ประสานงานการเสด็จ
ประพาสสหรัฐฯ ของพระมหากษัตริย์ในปี 2503 ซึ่งการประพาสดังกล่าวได้สร้าง
ความมัน]ปีให้กับทั้งสองฝ่ายในการดำเนินนโยบายต่างประเทศร่วมกันต่อไปตลอด
ช่วงสงครามเย็น
-
จักรพันธ์เพ็ญคิริ จักรพันธ์, หม่อมเจ้า (2452 2536) เป็นพระไอรสในพระเจ้าวรวงฅ์เธอ
กรมหมื่นอนูวัตน์จาตุรนต์ และหม่อมจำรัส จักรพันธ์ ณ อยุธยา สำเร็จการศึกษาด้าน
เกษตรศาสตรและเริมเข้ารับราชการที่กระทรวงเกษตร หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศึริ
สมรสกับวิภา เก่งระดมยิง บุตรสาวของหลวงกาจสงคราม (เทียน เก่งระดมรง) เมื่อ
ปี 2484 ในการรัฐประหาร 2490 หม่อนเจ้าจักรพันธ์เพ็ญคิริมีบทบาทสำคัญเป็นผู้

340
นามานุกรม

แทนคณะรัฐประหารเดินทางไปกราบบังคมทูลสถานการฌให้กับพระบาทสมเด็จ
พระเช้าอยู่หัวทรงทราบที่สวิตเซอร์แลนด์ และมบทบาทสำคัญในการช่วยงานของ
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ชนถึงชีพิตักษัยในตำแหน่งองคมนตรี
ชารุบุตร เรองสุวรรณ (2483-2527 ) เป็น ส.ส. ขอนแก่นมาตั้งแต่ปี 2489 ในช่วงสงครามใลก
ครั้งที่สอง เขาใต้ร่วมขบวนการเสรีไทยและมีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวในสกา
ผู้แทนราษฎรผ่านพรรคเสรีประชาธิปไตยในสายปรีดี พนมยงคํ ในช่วงปลายทศวรรษ
2490 เขาไค้ร่วมมือกับเผ่า ศรียานนท์ ต่อต้านผ่ายรอยัลลิสด์
-
จีรวัสส์ ปันยารชุน ( 2464 2560 ) บุตรสาวของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมรสกับรักษั
ปันยารชุน รมว. ต่างประเทศในรัฐบาลของจอมพลป, พิบูลสงคราม จีรวัสส์มีความ
ใกล้ชิดกับบิชอป เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ช้งโด้มีการติดต่อ
รับส่งข่าวสารกัน
-
ขุมกฎพงษ์บริหัตร, พระเจ้าวรวงศเธอ พระองค์เจ้า ( 2447 2502) เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่
เนสมเด็จพระเช้าบรมวงต์เธอ เจ้าฟิาบริพัตรสุ1ชุมพันธุ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
และหม่อมเจ้าประสงค์สม (ราชสกุลเดิมไชยันต์ ) หลังปฏิวัติ 2475 ได้ลาออกขาก
กระทรวงพระคลังมหาสมบัดิเพื่อตามครอบครัวไปประทัทั'บยังเมืองบันดุง เกาะชวา
ต่อมารัชกาลที่ 9 ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระ!จ้าวรวงฅ์เธอ พระองคเจ่๔ น*
-
าจุมภฎ
พงษับริพัตร ในฐานะตัวแทนสายบริพัตร ซึ่งเป็นล่ำดับที่ 2 ของการครองราชย์ ชื่อ
ของพระองค์เช้าขุมภฏพงท์บริพัตรไต้รับการคาดหมายว่าจะขนมาแทนสายมห้ดล
ตั้งแต่ข่าวลือเรือง ร. 8 สละราชย์ในปี 2488 หรือหลังกรณีสวรรคตของ ร. 8 ททรง
ไต้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวนพฤดีกรรมในการที่ ร. 8 เสด็จสวรรคต
-
โขวเอินไหล ( 2441 2519 ) ผู้นำสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นนายกรัฐมนตรีของ
สาธารณรัฐประชาขนจีนตั้งแต่ปี 2492 ชื่อของโจวเอินใหลเป็นที่ร'ู้ ชักของรัฐบาลไทย
เมื่อกรมหมื่นนราธิปพงค์ประพันธ์ รมว. ต่างประเทศ เป็นตัวแทนไปประชุมกลุ่ม
ประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนืเซย (18-24 เมษายน 2498 )
ในเวทีเดียวกันนั้น ใจวเอินไหลไค้แสดงท่าทีที่เป็นมิตรกับประเทศไทย พร้อมทั้งได้
เชิญคณะผู้แทนไทยไปเยือนจีน จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของ
จอมพล ป. และการส่งทูตลับไปจีน
เฉียบ ชัยสงค์, ร.ต.อ. ( 2459-2504 ) นายตำรวจผู้ดิดตามปรีดี พนมยงค์ ที่หนใปพร้อมกัน
หลังกบฎวังหลวงในปี 2492 ต่อมาเมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามมีนโยบาย
จับมือกับปรีดีในการต่อด้านอำนาจของฝ่ายรอยัลลิสต์ เฉียบได้เป็นตัวแทนปรีดี
กลับเขัามาไทยเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2499 โดย พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ในฐานะ
อธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้ดำเนินการไห้เขากลับเข้าไทยได้ เฉียบก่อตั้งพรรคศรีอารย-
เมตไตรยและลงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 แด่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

341
จุนศึก ศักดินา
,
นละพญาอินทรี

ชัยนาทนเรนทร, สมเด็จพระ!จ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ( 2428 - 2494 ) พระราชโอรสองศ์


ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระจลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารคา ม .ร.ว . เนอง
( ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์ ) เนองจากมารดาถึงแก่อนิจกรรม 11 วันหลังประสูติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงให้สมเด็จพระศรีสารินทีราบรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเลี้ยงดูปีนเป็นคนที่ใกล้ชดราชสกุลมหิดลในเวลาต่อมไ ใน
รัฐบาลจอมพล ป . ยุคแรก พระองศ์มีล้วนร่วมอยู่ในกลุ่มกบฏ ทำให้ถูกคุมชังที่
เกาะตะรุเตาและถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ้ ต่อมาเมื่อมีการร่วมมือกันระหว่าง
ปรีดีกับกลุ่มรอยัลลิสต์จนล้มรัฐบาลจอมพล ป . สำเร็จ ได้มีการปล่อยตัวและคืน
ฐานันดรสัทดี้ตามเดิมเมื่อ'ปี 2487 ในสมัยรัฐบาลควง อภัยวงศ์ สำหรับกรณีสวรรคต
ร. 8 พระองศ์ตัดค้านการที่แพทย์และเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาชันสูตรพระศพ ต่อมา
พระองศ์เป็นบู้สำเร็จราชการแทนพระองศ์ตามรัฐธรรมนูญ 2489 แต่เมื่อเกิด
รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองศ์เพียงหนึ่งเดียว
ในสามคนที่ลงนามรับรองการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2490 เมื่อเกิดการเคลื่อนไหว
เพี่อเปลี่ยนสายราชสกุลการครองราชย์ พระองศ์ทรงยืนเคียงข้างราชสกุลมหิดล
พระองศ์ลื่นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2494 เป็นพระราชไอรสพระองศ์สุดท้ายใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีอายุยืนยาวที่สุด
ชิด มั่นศ์ลป็ สินาคโยธารักษ์, พล .ท . ( 2439 - 2532) ในปี 2487 ได้รับการแต่งตั้งเป็น
รัฐมนตรีในรัฐบาลควง อภัยวงศ์ ต่อมาดำรงตำแหน่ง รมว . กลาโหมในรัฐบาลทวี
นูณยเกตุ และเสนิย์ ปราโมช หลังรัฐประหาร 2490 เข้ารับตำแหน่งรมว . มหาดไทย
ในรัฐบาลควง อภัยวงศ์ ก่อนจะลาออกไปหลังจากควงโตนบีบให้ลาออกในปี 2491
ในฐานะตัวแทนกลุ่มรอยัลลิสต์ รายงานซีไอเอแจ้งว่า พล .ท . ชิต มั่นสิลป็ มีชี่อจะ
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้งในกบฏเสนาธิการในปี 2491 กบฏแมนฮัดดัน 2494
และความพยายามล้มรัฐบาลจอมพลป . พิบูลสงครามภายหลังในหลวงรัชกาลที่ 9
เสด็จนิวัตพระนครในปิ 2494 แต่ทั้ง 3 เหตุการณ์ไม่ประสบผลสำเร็จ
ดัลเลส, จอห์น เอฟ . ( John F. Dulles) ( 2431 -2502) รมว .ต่างประเทศสหรัฐฯ ภายใต้
ประธานาธิบดีไอเชนราวร์ ( 2496- 2502) ดัลเลสเป็นคนสำคัญในช่วงด้นยุคสงคราม
เย็นที่สนับสนูนท่าทีแข็งกร้าวต่อด้านคอมมิวนิสต์ทั้วโลก เขาเห็นว่าต้องเพมการ
สนับสนูนทางการทหารแก่ไทย เพราะไทยเป็นจุดยุทธศาสตร่สำคัญในการต่อต้าน
การขยายตัวชองคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉยงใต้ ส่งผลให้ประธานาธิบดี
ไอเชนฮาวร์อนุมัติแผนการสนับสนูนทางการทหารอย่างเร่งด่วนแก่ไทยด้วยการส่ง
เสนาธิการทหารผาสนับสนูนการฟิก การใช้อาวุธ และเร่งให้การสนับสนูนอาวุธ
'

ยุทโธปกรณ์ ไนเดือนกุมภาพันธ์ 2498 ดัลเลสเข้าพบจอมพล ป . เพื่อผลักดันแนวคิด


ในการพัฒนาเศรษฐกิจและขอให้รัฐบาลไทยทบทวนกฎระเบียบเพื่อดึงดูดการลงทุน

342
นามานุกรม

จากพรัฐฯ แต่จอมพล ปาม่แสดงท่าท่ตอบรับแด่อย่างใด นอทจาทนั้น สัลเลศยังไม่


เท็นด้วยอย่างยิ่งกับนโยบายของจอมพล ป. ที่จะเปิดการค้าขายกับจีน จนนำไปสู่ข้อ
1

สังเกตว่าไทย!ริ่มดีตัวออกห่างจากสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม 2499 เขาเดินทางมาไทย


อีกครั้งและไต้เข้าเฝ็าในหลวงรัชกาลที่ 9 และกระตุ้นให้พระองค์ตระหนกถงความ
สำคัญของบทบาทพระมหากษัต’รย้ในการต่อฐ้กับคอมมิวนิสต์ เมื่อเกิดรัฐประหาร
2500 ดัลเลสแสคงทาทีที่นตกด่างไปจากความต้องการของบิชอป ทูตสหรัฐฯ โดย
เขามองว่าการที่สฤษดใด้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ โดย
เฉพาะเรื่องเสถียรภาพทางการเมือง แสะเขายังเชื่อด้วยว่าพระมหากษัตริย์ไทยจะเป็น
ผู้นำทางการเมืองที่แท้จริง
-
ด้ลเลส, อลเลน เวลช์ ( Allen Welsh Dulles) ( 2436 2512) นักการทูตและนกกฎหมายชาว
อเมริกันที่กลายมาเป็นผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการคับ (ซีไอเอ) คนแรกที่เป็นพลเรือน
ในช่วงด้นสงครามเย็น คัลเลน เวลซ์ ดัณลสในฐานะหัวหน้าสำนักขาวกรองกลางอยู่
เบองหลังการรัฐประหารของอิหร่านในปี 2496 และการรัฐประหารในกัวเตมาลาใน
ปี 2497 เมื่อเผ่าเดินทางไปวอชงดัน ด . ซี . เพื่อพบประธานาธิบดีไอเซนฮาวรั
เผ่าก็ได้เข้าพบเขาด้วย เพื่อขอให้สหรัฐฯ เพิ่มความช่วยเหลือและเขาก็สนับสนูน
เมื่อจอมพล ป. เริ่มเปิดสัมพันธ์กับจีนในเคอนพฤศจิกายน 2498 เขารายงานไปยัง
วอชิงตัน ด. ซี. ว่ารัฐบาลจอมพล ป . กำลังทบทวนนใยบายการต่อด้านคอมมิวนิสต์
สิเรก ช้ขนาน (2447- 2510) หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรในการปฏิวัตสยาม และเป็นเสรีไทย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากนั้นร่วมก่อตงพรรคแนวรัฐธรรมนูญ โดย
สมาชิกส่วนใหญมาจากขบวนการเสรีไทยและคณะราษฎรที่สนับสนูนปรดี พนมยงฅ์
เมื่อเกิดรัฐประหาร 2490 ชื่อของดิเรกในฐานะนักการเมืองกลุ่มปรีดีก็ถูกลดบทบาท
ลง แสะปรากฎชื่อดิเรกอีกหลายครั้งเมื่อเกิดความพยายามก่อรัฐประหาร ทั้งกบฏ
เสนาธิการปื 2491 และกบฎวังหลวงปี 2492 หลังจากนั้นเขาดำรงตำแหน่งคณบดี
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชื่อของดิเรกกลับมาปรากฏอีกครั้งเมื่อ
รัฐบาลจอมพลป. พยายามสรรับสนูนพรรคการเมืองต่างๆทั้งแด่ปี 2499 เป็นต้นมา
เพื่อลักับพรรคนิยมเจ้าอย์างพรรคประชาธิป๋ฅย์
โดไนแวน, วิลเลียม เซิ . (William J . Donovan ) ( 2426- 2502 ) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ
ประจ้าประเทศไทย ( สิงหาคม 2496-สิงหาคม 2497 ) เคยเป็นที่ปรืกษาเอกคัฅร-
ทชทูตสหรัฐฯประจำประเทศญปุน เคยเข้าไปสืบราชการลับในรัสเซียหลังการปฏิวัติ
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประธานาธิบดีรูสกลท์สํงเขาไปยูโรปเพื่อสืบราชการ
อับจากนาซี ในประเทศไทย ไตโนแวนเป็นหัวหน้าหน่วยโอเอสเอส (OSS ) ไนช่วง
สงครามโลกครั้งที่สอง และนความสัมพันธ์อันดีคับปริติ พนมยงคํ ต่อมาต้นเดือน
สิงหาคม 2496 สภาความมนคงสหรัฐฯได้อนุมติให้ใช้แผนสงครามจิตวิทยาใน

343
ชุนคึก ศักดินา และพญาอินทรื

ประเทศไทย (บ.ร. Psychological Strategy' based on Thailand) โดยไคในแวน


เป็นผู้รเริ่มในการเสนอแผน ภารกิจคือการสราว “ ป้อมปราการ’, (Bastion of
resistance ) ในการต่อด้านคอมมิวนิ๗) ของสหรัฐฯ ประจำภูมิภาคขึ้นในไทยใดย
ให้เขาตำเนินงานร์วมกับหลายหน่วยงานของสทรัฐฯ แม้ว่าในชี่วงเริ่มต้นรัฐบาล
จอมพล ป. พิบูลสงครามจะไม่ยอมรับโดโนแวนเนื่องจากเขๅมืควๅมไกล้ชิดกันปริดี

-
แด่ทังหมดกิตกลงกัน ใต้เพราะเป้าหมายพี่แท้จริงคือการด้านคอมมิวนิสต้ร่วมกัน
ตลอดระยะเวลาที่ไดโนนวนดำรงตำแหน่งทดสหรัฐ ! ประจำไทย เขาตำเนินการ
- ,
ตอใเสนองต่อความต้องการของสหรัฐ ! เป็นอย่างดี เขาเรียกรองให้สหรัฐฯไห้การ
สนบสนุนทางการทหารแกไทยให้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการผลักดันให้ซีไอเอขยาย
กลไกในไทยอย่างกว้างขวาง จากนั้นmไต้ใช้วิธสมัยใหม่ทางการเมึองและการทหาร
ในการปราบปรามการก่อกบฏและการต่อต้านคอมมิวนิ ๗!,ทไยในแล ดๅมขๅยแคน-
ของไทย ในช่วงทีเขาปฎบัดีหน้าที่บูดสหรัฐฯ เขาริเริ่มงานหลายอย่าง เช่น การจดตั้ง
หม่บานการทหาร การใช้สื่อสารมวลชนสมัยใหม่ทำสงครามขิดวิทยา การให้การ
สน้บสมุนอาวุธสมัยใหม่ เครื่องบินไอพ่น และเรือเร็วให้กับกองทัพและตำรวจ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งการฟิกอบรมให้กับตำรวจ และการจัดตั้งการขำวทางการทหารขึ้น
ในประเทศไทย โคโนแวนขอลาออกจากตำแหน่งหลังฝรั่งเสสพ่ๅยแห้ที่สมรภฏิ
เดียนเบยนพ่
เตียง ศึริขันธ์ ( 2452- 2495) ส.ส. สกลนคร 5 สมัย ฉายา "ขุนพลคูพาน ” หนึ่ง,ใน “สี่เสือ
อีสาน" รืวมกับทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (อุบลราชขานิ) ถวิล อุดล (ร้อยเอีด ) และ
จำลอง ดาวเรือง ( มหาสารคาม) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเตยงเป็นห้วหน้า
ขบวนการเสริไทยภาคอีสาน หลังสงครามไลทครั้งที่สองเขารวบรวมน้กการเมืองตั้ง
พรรคสหชีพ ซึ่งเป็นแนวร่วมกับปริดี พนมยงค เมื่อเกิดรัฐประหาร 2490 เตึยง
ร่วมกับ ส. ส. พรรคสหชีพจัดตั้ง " คฉเะพลเมืองใหม่ ” เพื่อต่อด้านรัฐประหารและ
ทำการแจกใบปลาตั้งในกรุงเทพฯ แสะภาคอีสาน จึงถูกจับตาในเรื่องการแบ่งแยกต็น
แคน ซึ่งนำมาสู่การลังหาร 4 รัฐมนตริในเดือนมึนาคม 2492 เตียงรอคมาได้และลง
เลือกตังในปิ 2495 พล.ต. อ . เผ่า ศรืยานนท้ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กันมาก่อนขอไห้เตียง
ร่วมเป็นพันธมิตรเพือต้านกลุ่มนิยมเจ้า พร้อมๆกับที่จอมพลสฤบด ธนะรัชต้ ซึ่ง
,
ต้องการทำแนวร่วมกับฝ่ายซ้ายก็ดีดต อเตียงเข้ามาอีกทางด้วย ต่อมาไนเดือน
ขันวาคม 2495 มืคนพบศพของเคียงที่กาญจนบุรี ซึ่งมีผู้สงสัยว่าเป็นการกระทำของ
พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ คู่แข่งของจอมพลสฤษด ธนะรัชต
ถนอม กิตฅขจร, จอมพล ( 2454- 2547) สมาชิกคฒะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 เป็น
นายทหารผู้หนึ่งที่จอมพลสฤบด ธนะรัชตํ ไว้ใจมาก ขนิเะเดึยวกันก็เที่ยวดองเป็น
ญาติกับจอมพลประกาส จารุเสถียร เพราะบุตรชายคือ พ.ล, ณรงค์ กิตดิขจร แต่งงาน

344
นามานุกรม

กับสุภาพร จารุเสถียร ลูกสาวของจอมพลประภาส จารุเสถียร ถนอมดำรงตำแหน่ง


รมช. กลาโหมในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อมาเขาร่วมกับจอมพลสฤษด
รัฐประหารรัฐบาลจอมพลป. เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 และดำรงดำแหน่งนายก
รัฐมนตรีขัดตาทัพระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2501 จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2501
ก่อนจะมารับด่าแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังจอมพลสฤษดิ้ถึงแก่อสัญกรรมใน
เดือนขันวาคม 2506
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ,้ พล.ร.ต. (หลวงธำรงนาวาลวัสด) ( 2444-2531) สมาชิกคณะราษฎร
เป็นคนอยุธยาบ้านเดียวกับปรืดี พนมยงค์ เป็นห,นงในคณะรัฐมนตรีรัฐบาลพระยา
พหลพลพยุหเสนา และได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลให้เป็นหาหน้าคณะเดินทาง
ไปกราบบังคมทูลเชิญพระวรวงฅ์เธอ พระองค์เจาอานันทมหิดล ที่ประหับอยู่ ณ
ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เสดืจขึ้นครองราชย์ ไนช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเขามี
บทบาทไนฐานะเสรีไทยด้วย ต่อมาเป็น รมว. ยุติธรรมในสมัยรัฐบาลปรีดี พนมยงค์
เมื่อปรีดีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลวงธำรงฯ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคน
ต่อมา เมื่อเกิดรัฐประหาร 2490 ทั้งปรีดีและหลวงธำรงฯ พยายามที่จะต่อต้านทั้ง
.
ก่อนและหลังการรัฐประหารแต่ไม่สำเร็จ ช่วงปลายรัฐบาลจอมพล ป มีการติดต่อให้
หลวงธำรงฯ มาช่วยงานพรรคเสรีมน้งคติลาของจอมพล ป. อีกครั้งเพื่อต่อต้านกลุ่ม
รอย้ลสิสด์
ไถง สุวรรณหัต (2449-2535) เป็นนักการเมืองยุคบุกเบิกของพรรคประชาชิป้คย์ ในการ
เถีอกตั้งสิงหาคม 2489 ไถงขัดแย้งกับพระยาศรีวิสารวาจาเพราะทั้งคู่ต้องการลง
สมัครรับเลือกตั้งในเขตเดียวกัน ในระหว่างการปราศรัยที่วงเวียนเล็กทั้นมีระเบิดลง
ทำให้ใถงได้รับบาดแบสาหัสจนต้องตัดขา และพรรคประชาธิปัตย์ก็ใช้กรณีดังกล่าว
มาหาเสียงโดยกล่าวหาว่าปริดี พนมยงค์ อยู่เบื้องหลัง จนพรรคประชาธป็ตย์ชนะ
เลือกตั้งในจั,งหวัดพระนคร แต่ก็ยังแพ้เมื่อรวมทั้งประเทศ หลังจากนั้นไถงก็ถือเป็น
ดาวไสืด์ปารคของพรรคประชาชิปัตย์และปราศรัยทำลายความชอนธรรมของรัฐบาล
จอมพล ป. พิบูลสงครามจนน่าไปสู่รัฐประหาร 2500
-
ทรุนมน, แฮรัรี เอส ( Harry ร. Truman ) ( 2427 2515) ภายหลังอสัญกรรมของ
ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ อย่างลับพลันในเดือนเมษายน 2488 รอง
ประธานาธิบดีฑรูแมนขึ้นดำรงตำแหน่งแทน และต่อมาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง
เป็นประธานาธิบดี ( 2488- 2496) นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯในสมัยทเแมน
เปลี่ยนจากการต่อต้านอาณานิคมไปสู่การพยายามแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ขจัด
อุปสรรคทางการค้าและการด้อยความเจริญ เขาแถลงต่อสภาคองเกรสว่าจะให้ความ
สำกัญกับเรองเศรษฐกิจเป็นลำดับแรกเพื่อรักษาสันติภาพไห้กับโลก ต่อมา'ในเดีอ'น
ตุลาคม 2490 ทรูแมนประกาศว่าสหรัฐฯ ต้องการแสวงทา “ สันติภาพและความ

345
ชุนลึก ศักดินา แสะพญาอินทรี

มั่งคั่ง” ด้วยการป้องกันการปฏิวัติมิให้เกดขนในโลก ซึ่งกีคีอการต่อต้านคอมมิวนิสต์


มั่นเอง อย่างไรก็ตาม ทรูแมนให้การสนับสนุนผ่รั่งเศสไนการกลับมาครองอินโดจีน
อีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งขัดกับแนวทางของปรีดีที่สนับสบุนเอกราชใน
อิน!ดจีน ซึงนำไปสู่การที่สหรัฐฯ กัดค้านแนวคิดในการจัดตั้งส้นนิบาตเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ตามข้อเสนอของเวียคมินห้ หลังรัฐประหาร 2490 นโยบายของรัฐบาล
ทรูแมนซึงไม่เป็นมิตรกับปรืดีและกสุ่มของเขาอีกต่อไป ภายใต้บริบทใหม่ในช่วงแรก
เริมของสงครามเย็นนัน สหรัฐฯ ต้องการให้ไทยยอมรับระเบียบการเงินระหว่าง
ประเทศที่มิสกุลดอลลาร์เป็นหลักเพื่อลดอิทธิพลของอังกกุบและสกุลเงินปอนศ์ใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพยายามผลักดันให้ไทยกลายเป็นแหล่ง
ทรัพยากรและเป็นตลาดรองรับสินค้าจากประเทศอุตสาหกรรม เมอรัฐบาลจอมพล
ป. ให้การรับรองรัฐบาลเบาใดในปี 2493 ทฐแมนจึงไต้อนุมัต็ความช่วยเหลือทางการ
ทหารในรูปอาวุธให้กับกองทัพไทยมูลค่า 10 ล้านดอลลาร์ในทางลับท้นท และเมื่อ
รัฐบาลส่งทหารไทย 4,000 นายเข้าร่วมสงครามเกาหลีก็ยิ่งสร้างความประทับใจไห้
ประธานาธิบดีทรูแมนเป็นอย่างมาก นอกจากนั้น ในปี 2494 ทรูแมนได้ตั้งคณะ
กรรมการยูทใงิศาสฅรด้านซิฅวิทยๅ (The Psychological Strategy Board : PSB )
มีหน้าที่ประสานงานวางแบนและจัดทำข่าวโฆบณาชวนเชื่อให้กับรัฐบาล หน่วยงาน
นี้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้อำนวยการข็ใอเอ T
ทวี จุลละทรัพย์, น.อ. ( 2457-2539 ) อดีตเสริไทย หลังรัฐประหาร 2490 ทวีเริ่มต้นทำงาน
กับพล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์โดยร่วมอยู่ในคณะที่ไปเจรจากับในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้
เข้าร่วมงานฉลองรัฐธรรมนูญ 2475 ฉบับแกไข 2495 หลังจากที่พระองคมทาททฃะ !
-
๕^= I =t ง่

ไม่เข้าร่วม ต่อมาทวีร่วมคณะของจอมพลสกุบตั้ ธนะรัชด์ ท้J ใปเยอนอเมริกาในปี


2497 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการทหารเพื่มเดิม ซึ่งในครั้งนั้นไต้เข้าพบ
ประธานาธิบดีไอเซนอาวร์ด้วข
ทวี ตะเวฑิกุล ( 2451-2492 ) ลูกศิษย์ใกล้ชิดและเป็นที่ไว้วางใจของปรีดี พนมยงค ในช่วง
สงครามโลกครั้งที่สองเขาเป็นเสรีไทยในประเทศ หลังสงครามสิ้นอุดเป็นรัฐมนตรีใน
รัฐบาลทวี บุณยเกตุ และรมว. คลังในรัฐบาลม.ร .ว . เสนีย์ ปราโมช ยุคแรก หลัง
จากบัน'ได้ร่วมกับประสืทธิ้ ลุลิตานนท์ ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ทวม
บทบาทสำคัญในเหตุการณ์กบฏวังหลวงในเดือนกุมกาพันธ์ 2492 เขาซึงถูกจับตาย
ทวี บุณยเกตุ (2447-2514) สมาชิกคณะราษฎร ร่วมปฏิวัติสยาม 2475 และเป็นเสรีไทยใน
ประเทศ ต่อมาเป็นรมว. ศึกษาธิการในรัฐบาลควง อภัยวงศ์ สมัยแรก เป็นผู้ลงนาม
รับสนองพระราชโองการโนการประกาศพระราชโองการว่าสงครามกับสหราชอาณาจักร
และสหรัฐอเมริกาเป็นโมฆะเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2488 ทวีชันมาเป็นนายกรัฐมนตรี
หลังจากควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน
2490 เขานี้ภัยออกไปใช้ชีวีตที่ปีาโง ชื่อของทวี บุฌยเกตุ ปรากฎไนเอกสารซีไอเอ

346
นามานุกรม

ที่รายงานการก่อกบฎเสน!ชิการในปี 2491 ว่าทวีจะเป็น รมว. เกษตร หากการ


'

รัฐประหารสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ทวีกีได้กลับมาเมืองไทยหลังปี 2500


-
ทหาร ขำหิรัญ, พล.ร.ต. ( 2444 2524 ) เดิมขื่อทองหล่อ ขำหิรัญ หนึ่งไนคณะราษฎรสาย
ทหารเรือในการปฏิวัติสยาม 2475 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีใน
รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ และเป็นเสรีไทยสายทหารเรือคนสำคัญ ในเหตุการณ์กบฎ
วังหลวง 2492 พล.ร.ค. ทหารได้เข้าร่วมก่อกบฎ โดยเป็นผู้นำกองกำลังทหารเรือ
และนาวิกโยชินจากชลบุรีเข้าสู่พระนคร ทว่าก่อการไม่สำเร็จ ต่อมาเขายังเป็นผู้ริเริ่ม
กบฎแมนฮัตตัน 2494 แต่ก็ลัมเหลาอีก หลังจากนั้นกองทัพเรือก็ถูกลดบทบาทลง
และพล.ร.ต. ทหารถูกปลดออกจากกองทัพเรือ
ทองอินทร์ ภูริท้ฒน์ ( 2449-2492 ) ส.ส. อุบลราชธานีตั้งแต่การเลือกตั้งสมัยแรกไนปี 2476
‘ ดาวสภา ,, ต่อมาได้มีการรวม
เป็นผู้มีบทบาทไดคเด่นในสภา หลายคนเรียกเขาว่า
กส่มนักการเมืองอีสานคนสำคัญ เช่น เตียง คิรีขันธ์ (สกลนคร) จำลอง ดาวเรือง
(มหาสารคาม ) ถวิล อุดล (ร้อยเอ็ด) เขามีบทบาทเป็นแนวร่วมคับปรีดี พนมยงค์
ะ "
ตงแตตน1
แล ะเป็นเสรีไทยสายอีสานโนช่วงสงครามไลกครั้งที่สอง ต่อมาได้เป็น
รัฐมนตรีอีกหลายสมัย และะร่วมก่อตั้งพรรคสหซีพในปี 2489 หลังรัฐประหาร 2490
ทองอินทร์และพวกประกาศต่อด้านรัฐประหารและถูกขับตามองอย่าง'ใกล้'ชิด หลัง
กบฏวังหลวงในเดีอนกุมภาพันธ์ 2492 ทองอินทร์และพวกรวม 4 คนถูกจับคดีกบฎ
แบ่งแยกดินแดน และถูกสังหารระหว่างถูกควบคุมตัวในวันที่ 4 มีนาคม 2492
. -
เทวฤทธิ้หันลึก, พล.อ.ท หลวง (กาพย์ หัตตานนท์ ) ( 2437 2508) ผู้บัญชาการทหาร
อากาศระหว่างปี 2486-2492 ได้ร่วมงานกับขบวนการเสรีไทย ในช่วงรัฐบาลควง
อภัยวงศ์ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงเทวฤทธพันลึกยังคงดำรงตำแหน่ง
ผู้บัญชาการทหารอากาศ ขนกระทั่งกลางเดือนธันวาคม 2492 มีข่าวว่ากองทัพเรือ
และกองทัพอากาศมีแผนการรัฐประหาร รัฐบาลจอมพล ป. จงปลด พล.อ.ท. หลวง
เทวฤทธิ้พันลึกจากผู้บัญชาการทหารอากาศ
ธนา โปษยานนท์, พ.ค.ท. หนึ่งในนายตำรวจคนสนิทของพล.ต.อ. เผ่า ศรืยานนท์ ที่ร่วมคณะ
ไปเจรจาครั้งสำคัญ เช่น ในเดือนลึงหาคม 2494 เผ่าเป็นตัวแทนรัฐบาลขอมพลป.
ใปกราบบังคมทูลในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2492
รวมถึงบทบาทของผู้สำเร็จราชการฯ และ “กลมรอยัลลสต',และในปี 2497 พล.ต.อ.
เผ่า ศรียานนท์ และคณะเดืนทางไปยุโรป สหรัฐฯ และได้เข้าพบประธานาธิบดี
ไอเชนฮาวร์
ธานีนิวัต กรมหมื่นพิทขลาภพฤฒยากร, พระวรวงศ์เธอ พระองศ์เจ้า (หม่อมเจ้าธานีนิวัต
ใสณกุล) (2428-2518) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒ-
ธาคา กับหม่อมเอม (สกุลเดิม กุณฑลจินดา ) เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการตั้งแต่
ปี 2470 ถึงการปฏิวัติสยาม 2475 ระหว่างที่คณะราษฎรเรืองอำนาจ (2475- 2489)

347
ขุนคิก อักตินา และพญาอินทรี

พระองค์เช้าธานีนิวัตไค้ปลีกคัวออกจากการเมืองมาทำงานวิชาการโดย tปีนนายก
สยาม E'เมาคม ขณะเดียวกันพระองค์ยังมีความใกล้ชิดกับสมเด็จพระศรีสวรินทีราบรม
ราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และกรมขุนชัยนาทนเรนทร เพื่อนร่วมโรงเรียนราช -
ทุมาร ช่วงที่กรมขุนชัยนาทฯ ถูกจับทุม ( 2481-2487 ) พระองค์เจ้าธานีนิวัดถวาย
การดูแลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จึงนับได้ว่าเป็นคนที่ใกล้ชิดสายสกุลมหิดล
มากที่สุด หลังรัชกาลที่ 7 สละราชย์ พระองค์ถูกวางสถานะให้เป็นพระอาจารย์
ตระเตรียม “ยุวกษัตริย’์ ’ (สมเด็จพระเจ้าอยู่ห้วสานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และสมเด็จ
พระเช้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอตุลยเดช ) เพื่อให้ทรงเป็นเจ้านายตามแบบแผนราช-
ประเพณี พระองค์คือผู้นำทางภูมิปัญญาคนสำคัญของกลุ่มกษัตริย์นิยมในสมัย
รัชกาลที่ 9 โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทประธานองคมนตรี (2495-2517) พระองค์
ชื่นชมการรัฐประหาร 8 พฤศขิกายน 2490 เป็นอย่างมาก ในเอกสารการทูตสหรัฐฯ
และอังกฤษรายงานว่ามืการประชุมลับเพื่อก่อการรัฐประหาร 2500 พระองค์ได้เข้า
ร่วมประชุมกับจอมพลสฤษดึ๊ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ม.ร.ว. ศึกฤทธิ้ ปราโมช ฯลฯ
นราธิปพงค์ประพันธ, พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมี่น ( 2434-2519 ) พระโอรสในพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ กรมพระนราชิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อมหลวงต่วนศรี (มนตรีกุล ) วรวรรณ
เริ่มรับราชการที่สถานทูตไทย ณ กรุงปารีส ต่อมาได้เป็นองคมนตรีในรัชกาลพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากการต่างประเทศแล้วทรงมีความสามารถไน
การบัญญัติศัพท์ หลังการปฏิวัติสยาม 2475 พระองค์ได้ช่วยงานรัฐบาลของระบอบ
ใหม่ ภายหลังจอมพล ป. ทำรัฐประหาร 2494 พระองค์ได้รับตำแหน่ง รมว ต่าง .
ประเทศ (2495-2501) บทบาทสำคัญคือการเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการ
าเระชุมเอเชีย-แอฟริกา ณ เมืองบันตุง อินโดนีเซีย (18-24 เมษายน 2498) ในเวที
นั้นเองพระองค์ได้พบกับโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจึน
อย่างไม่เป็นทางการและนำมาสู่การเริ่มต้นเปิดสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสอง
ประเทศ
-
น้อม เกตุนุติ , พ.อ. (2441 2513 ) สมาชิกคณะราษฎรสายทหารบก ร่วมเป็นคณะรัฐมนตรี
ทั้งไนรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม และควง อภัยวงศ์ รวมทั้งเป็นสมาชิกคณะ
รัฐประหาร 2490
นักขัตรมงคล, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักข้ตรมงคล กิดีบากร I
( 2441-2496) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กับ
หม่อมเจ้าอัปษรสมาน เริ่มรับราชการทหาร แต่เมื่อมีการปฏิวัติสยาม 2475 ทรงออก
จากทหารประจำการมาเป็นนายทหารกองหนุน แล้วย้ายไปรับราชการไนกระทรวง
การต่างประเทศ าเระจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน อีกสองปีด่อมา
ทรงลาออกจากตำแหน่งและเสด็จกลับประเทศไทย ระหว่างนั้ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ

348
*
นา ว่านุกรม

หลายแขนง เช่น ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ และวรรณคดี ทรงเป็นพระราชา{นก


โนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตั้ พระบรมราชินีนาถ ภายหลังจากมีพระราชพิธิอกิเษก
สมรสในเดือนเมษายน 2493 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลได้รับการสถาปนาพระอิส่ริย -
ศกสัขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองศ์เจ้านักขัดรมงคล และดำรงตำแหน่งองคมนตรี
ในปี 2493 พระองศ์เคยไห้คำปรึกษาแก่ในหลวงรัชกาลที่ 9
นายวรการบัญชา, พ.อ. (บุญเกิด สุตันตานนท์ ) เป็น ส.ส. เชียงรายตั้งแต่ปี 2480 และเลือก
อยู่ฝ่ายจอมพล ป. พิบูลสงคราม ร่วมในคณะรัฐประหาร 2490 ดำรงตำแหน่งรมว ,
-
ต่างประเทศ (2493 2494) ในช่วงเวลาพิรัฐบาลจอมพล ป. เริมขอรับความช่วยเหลอ
จากสหรัฐอเมริกาและเกิดสงครามเกาหลี ซื่งประเทศไทยเข้าใปเกี่ยวข้องโดยตรง ใน
เหตุการณ์กบฎแมนฮัตคันเมื่อเดือนมิถุนายน 2494 นายวรการบัญชาเป็นผู้รับสนอง
พระบรมราชโองการให้ประกาศกฎอัยการศึกในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี
นกสัน, ริชาร์ต (Richard Nixon) ( 2456-2537) รองประธานาธิบดีในสมัยประธานาธิบดี
ดไวต์ ด . ไอเซนฮาวร์ ที่ถูกส่งมาเจรจากับประเทศไทย เพื่อให้!ทยเป็น “ป้อม
,

ปราการ,’ ในการต่อด้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค เมื่อรัฐบาลจอมพล ป . เริ่มเปิด


สัมพันธ์กัมชีน นิภลันได้เดินทางมาเยอนไทยและพบกับขอมพล ป. เขาได้ยาว่ไ “ไทย
จะเป็นกลางไม่ได้ " ต่อมานิกสันได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่
-
37 ( 2512 2517)
-
เนตร เขมะโยธิน, พล.ต. (2452 2528) ปราบกบฎบวรเดชร่วมกับจอมพลป. พิบูลสงคราม
ต่อมาเข้าเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารบกและไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศส ใช!ช่วง
สงครามโลกครั้งที่สองเขาทำงานใต้ดินให้กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลังสงครามโลก
ครั้งที่สองเนตรเป็นคนหนึ่งที่เห็นด้วยกับแนวทางของปรีดี พนมยงศ์ ดังนั้น เมื่อ
เกิดรัฐประหาร 2490 เขาและเพื่อนทหารจำนวนหนึ่งจึงไม่เห็นด้วยและคดจะก่อ
รัฐประหาร แต่ถูกจับเสียก่อน จึงกลายเป็นกบฎเสนาธิการในเดือนตุลาคม 2491
เขาถูกจำคุกเป็นเวลา 3 ปี หลังออกจากคุก เนตรได้ทำงานที่หนังสือพิมพ์ สารI สวั
ของจอมพลสฤษตั้ ที่ตั้งขนเมื่อปี 2497 และมิบทบาทสำคัญในการโจมดีรัฐบาล
จอมพลป.พิบูลสงครามและ พล.ด.อ. เผ่า ศรียานนท์ จนนำไปสู่รัฐประหาร 2500
ต่อมาเขาได้เข้าร่วมรัฐบาลถนอม กิตติขจร ในปี 2501
-
บรรจงศักดี้ ชีพเป็นสุข, พ.ต.อ. ( 2492) อดีดผู้บังคับการตำรวจสันติบาล เคยร่วมงานกับ
ใเรีดึ พนมยงศ์ ในขบวนการเสรีไทย หลังรัฐประหาร 2490 ถูกจับตาเป็นพิเศษ
เอกสารซีไอเอระบุว่าบรรจงคักดิ้เป็นตัวแทนของปรืดีไนการเคลี่ธนไหวโค่นคณะ
รัฐประหาร 2490 ทั้งกรณกบฏเสนาธิการ 2491 และกบฎวังหลวง 2492 โดยใน
ครั้งนั้นวิทยุทหารเรือประกาศขัคตั้งรัฐบาลและประกาศให้พ.ต.อ. บรรจงคักด็ดำรง
ตำแหน่งผู้บังคับการสันติบาลแทน พ. ต.ท . ละม้าย อุทยานานนท์ ส่งผลให้พ.ต.ท.

349
ชุนศึก ศักคนา และพญาอีนทรี

บรรจงศักส์ถูกสังหารในเวลาต่อมาโดยกลุ่มนายตำรวจของเผ่า ศรียานนท์ เช่นเดียว


กับทวี ดะเวท้กุล
บิชอป, แมกซี วอลโด (Max Waklo Bishop) ( 2451- 2537 ) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำ
ประเทศไทย (ธันวาคม 2498 - ธันวาคม 2500 ) จบการศึกษาค้านปรัชญาจาก
มหาวิทยาลัยชิคาโก เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้ากิจการเอเชียตะวันออกเฉียงเหนอ
( 2491 - 2492) มารับตำแหน่งต่อทกพิวริฟอย แม้ป็ชอปยังยืดมนนโยบายต่อต้าน
จีนอย่างแข็งกร้าว แต่ก็มีความสนิทสนมกับจอมพลป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
เขาฟิองร้อง ม.ร.ว. คึกฤทธิ้ ปราโมช แกนน่าของกลุ่มรออัลลึสด้ ที่เชียนวิจารณ์ถึง
การที่เขาสนิทสนมกับจอมพลป. ชินทำให้ตำรวจดำเนินคดีกับน.ร.ว. คึกกุทธิ้ ซึ่ง
สร้างความไม่พอใจไห้กับกลุ่มรอยัลลิสต์เฮนอย่างมาก ขฒะเดียวกัน จอมพลสฤษดิ้
กีพยายามผูกไมตรีกับป็ชอป แต่ป็ชอปไม่ตอบสนองการดีดต่อในทางลับของจอมพล
สฤษด นอกจากนั้นยังเรียกร้องให้สหรัฐฯ ทบทวนความช่วยเหลือหากจอมพลสถุษคิ้
ก้าวขนมาเปีนนายกรัฐมนตรีโดยการรัฐประหาร แต่ทางวอชิงตันดี. ซี. กลับเห็นว่า
ประเด็นเสถียรภาพทางการเมืองของไทยเปีนเรี่องสำคัญกว่า ดังนั้น เมื่อเกิด
รัฐประหารจริง สหรัฐฯ จึงสนับสนุนจอมพลสฤษดี้ พร้อมๆกับสถาบันกษัตริย์ก็
ให้การรับรอง ขณะที่ป็ชอปยังคงไจมดีการรัฐประหารต่อใปผ่ 1
านรายงานที่สํง'ไปยัง
วอชิงตัน ดี. ซี. กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จึงตัดสินใจหาทูตคนใหม่ที่สามารถ
ทำงานกับกลุ่มผู้น่าใหม่ของไทยที่สหรัฐฯให้การสนับสนุนได้ บิชอปถูกย้ายกลับไป
วอชิงตัน ดี. ซี, ซึ่งส่งผลให้เขาลาออกในเวลาต่อมา
เบิร์ด, วีลลิส ( Willis Bird) ( 2452 - 2534 ) อดีตเจ้าหน้าที่โอเอสเอส เคยร่วมงานกับ
ขบวนการเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและต่อมายังคงปฎิบัสิงานอยู่ในไทย
แม้ว่าเริมต้นเบิร์ดจะไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 2490 และการกลับสู'่ อำนาจของ
จอมพลป . พิบูลสงคราม แต่ในระดับนโยบายเขาก็ต้องทำดามวอชิงตันดี. ซี . ที่
สนับสนุนให้รัฐบาลจอมพล ป. มีความเข้มแข็งเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ เมื่อสงคราม
เกาหถีปะทุขึ้นในเดือนมิถุนายน 2493 เบิร์ดเปีนผู้ประสานความร่วมมือระหว่าง
ซีไอเอกับกองทัพและตำรวจไทย ผ่านการจัดตั้งบริษัทเช้าห์อีสเอเชียซัพพลาย
(South East Asia Supplies) หรือซีชัพพลาย ซึ่งเป็นบริษัทบังหน้าเพื่อขนสั่งอาวุธ
ให้แก่กองทัพกักมินตั๋งในจีนตอนใต้และให้การสนับสบุนตำรวจไทย รวมทังการ
ปราบปรามกบฎแมนสัตตันที่ประสบความสำเร็จก็เพราะะอาวุธที่ไต้รับจากสหรัฐฯ
ผ่านซีซัพพลายเช่นกัน
ป. พิบูลสงคราม, จอมพล (2440-2507) ผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎรกับปรีดี พนมยงต์ และพวก
นำมาสู'่การปฎิวัสิสยาม 2475 จอมพลป. พิบูลสงครามมีบทบาทโดดเด่นภายหลัง
การปราบปรามฝ่ายรอยัลลิสต์ในเหตุการณ์กบฏึบวรเดชในเดือนตุลาคม 2476 จน

350
นามานุกรม

ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2481 ช่วงที่เป็นนายกรัฐมนดรสมัยแรก จอมพลป.


ร่วมมือกับปรีดีพยายามสร้างอุดมการณ์ใหม่ของชาติไทย แต่เมื่อเกิดสงครามโลก
รJ
ครงทสอง จอมพลป. ในฐานะนายกรัฐมนตรียีนเถียงข้างญี่ปุ่นและประกาศสงคราม
กับฝ่ายส้มพันธมิตร ขณะที่ปรีตืก่อตั้งขบวนการเสรีไทยต่อต้านฌี่ป่น และจับมือกับ
นักการพ้องตลอดจนฝ่ายรอยัลลิสต์จนกระทีทัง่ ล้มรัฐบาลจอมพล ป. สำเร็จไนเตือน
tJ 4

กรกฎาคม 2487 หลังสงครามโลกครั้งที่สองจอมพล ป. ตกเป็นอาชญากรสงคราม


แต่รอดมาได้ ทว่าก็หลูคออกจากเส้นทางการเมืองไป จนเมื่อฝ่ายรอยัลลิสต์และ
กองทัพบกร่วมมือกันก่อรัฐประหาร 2490 จอมพลป. จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น
ผู้บัญชาการทหารแห่งชาติและดำรงตำแหน่งผู'้บัญชาการทหารบกจนถึงวนที่ 15
'

พฤษภาคม 2491 โดยมีควง อภัยวงศ เป็นนายกรัฐมนตรี จนถึงวันที่ 6 เมษายน


2491 คณะรัฐประหารได้บังคับนายควงลงจากตำแหน่งและให้จอมพล ป. เป็นนายก
รัฐมนตรีอกครั้ง การเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ของจอมพลป. นั้นไม่ได้มีความ
มันคงเหมือนดังยุคแรก ต้องอาศัยการถ่วงดุลอำนาจระหว่างสองค่ายการเมืองคือ
พล.ต. อ. เผ่า ศ,รียานนท์ กับจอมพลสฤษตั้ ธนะรัชต์ พร้อมๆกับการเป็นพันธมีตร
กับสหรัฐอเมริกา ขณะเสียวกันมีความพยายามทำรัฐประหารปอยครั้งมาก แต่
จอมพล ป. ก็รอดมาได้ทุกครั้ง อีกทั้งยังต้องต่อสู้กับกสุ่มรอยัลลิสฅ์ที่อาศัยรัฐธรรมนูญ
2492 และวุฒิสภาไนการบ่อนหำลายรัฐบาล จนนำมาสู่การรัฐประหาร 2494 เพื่อฉีก
รัฐธรรมนูญของฝ่ายรอยัลลิสต์และกระซับอำนาจเข้าสู่คณะรัฐประหารอกครั้งหนง แต่
ความขัดแย้งระหว่างจอมพล ป . กับจอมพลสทุษดและฝ่ายรอยัลลิสต์หาได้ปีบลงไม่
มีคลื่นใต้นํ้าตลอดเวลาชนทำไห้จอมพล ป. ต้องเล่นการเมืองหลายหน้า ในช่วงท้าย
จอมพล ป. (ชดความส้มพันธ์กับจีน จนทำไห้สหรัฐฯ ไม่พอใจและสนับสบุนไห้จอมพล
สฤษสิทำการรัฐประหาร 2500 เป็นการปีดฉากการเมืองไทยของจอมพล ป ก่อนที่ .
เขาจะเสียชีวิตไนประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2507
-
ประกอบนิติสาร, หลวง (ประกอบ บุณยัษฐิติ) ( 2444 2513) เป็นวุฒสมาชิกจากรัฐธรรมนูญ
2490 และเป็น 1 ใน 9 นักกฎหมายที่ร่างรัฐธรรมนูญ 2492 เพื่อไห้พระมหากษัตริย์
มีพระราชอำนาจทางการพอง และทำให้กลุ่มรอยัลลิสฅ์มีความได้เปรียบเหนือกลุ่ม
การพ้องลื่น ๆ รวมทั้งมีบทบาทในการเคลื่อนไหวในรัฐสภาเพื่อล้มรัฐบาลจอมพลป.
พิบูสงครามและคณะรัฐประหารด้วย
ประจวบ อัมพะเศวต ผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองและปัญญาชน
ฝ่ายซ้ายในทศวรรษ 2490 ในช่วงแรกเขามีปีคยีนต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูล-
สงครามที่มีนโยบายตามสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อจอมพล ป. เปลี่ยนจุดยีน ประขวบก็
เปลี่ยนมาสนับสนนจอมพล ป.
ประเทือง ธรรมสาลี ส.ส. ศรีสะเกษ ในการเลือกตั้ง 2492 เขาเป็นผู้วิจารณ์บทบาทของ
สมาชิกวุฒสภาว่าไม่มีความจำเป็น ไม่ได้เป็นตัวแทนประชาชน ไม่มีประโยชน์

351
ชุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

-
ประมาณ อด(รกสาร, พ. ต. (2456 2553) จบโรงเรียนนายร้อย จปร. รับราชการเฟินนายทหาวิ
ปินใหญ่ กองทัพบก ลพบุรี ต่อมาแต่งงานกับเจรีญ ชุณหะวัณ ลูกสาวของจอมพล
ผัน ชุณหะวัณ และเป็นคู่เขยกับพล.ต.อ. เผ่า ศรียานนห์ เป็นพี่เขยชองพล.ต.ชาดชาย
ชุณหะวัณ ประมาณร่วมอยู่ในคณะรัฐประหาร 2490 เป็นนักการเมืองคนสำกัญ๚อง
ค่ายราชคร โดยคำรงตำแหน่ง รมช. คมนาคม และ รมช , อุตสาหกรรมในรัฐบาล
ชิอมพลป. พิบูลสงครามด้วย หลังจากจอมพลสฤบดทำรัฐประหาร 2500 ประมาณ
ต้องออกไปทำธุรกิจส่วนตัว
-
ประหยัด ศ. นาคะนาท (2457 2545) เดิมชื่อ “ประหยัดศรี” เปลี่ยนชื่อตัวเป็น “ประหยัด ศ.”
ในอุครัฐนิยมสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม เริ่มเขียนหนังสือในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ
รพวัน ปี 2477 ใช้นามปากกาว่า “นายรำคาญ '' ต่อมาย้ายไปค่าย สบานรัฐ ของ
คึกสุทธิ ปราโมช ประหยัดเขียนโจมดีจอมพลป. แต่ไม่โจมดีจอมพลสสุษดิ้ ไม่ต่อต้าน
สหรัฐฯ และเขียนแนวชื่นชมสถาบันกษัตริย์
ประยูร กมรมนตรี, พล.ท. (2440-2525) หนึ่งในผู้ก่อดั้งคณะราษฎร หลังปฏิวัติสยาม 2475
ประยูรไต้รับแต่งดั้งเป็นคณะกรรมการราษฎร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีกหลาย
กระทรวงและทำงานร่วมกับจอมพล ป. พิบูลสงครามตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
หลังจากนั้นประยูรหลุดออกจากวงจรอำนาจพร้อมจอมพล ป. หลังสงครามโลกครั้ง
ที่สองประยูรพยายามเอาจอมพล ป. กลับมา โดยซอหนังสือพิมพ์ ศรีกรุง เพี่อใช้
เป็นกระบอกเสยงเรียกร้องให้จอมพล ป, กลับสู่การเมือง รามทั้งได้จัดดั้งพรรค
ธรรมาธิป๋คย์โดยมีจอมพล ป. เป็นหัวหน้าพรรคด้วย เขากลับมาร่วมรัฐบาลจอมพล ป.
อุค 2 โดยรับตำแหน่ง รมว. สาธารณสุขในปื 2497 เป็นตำแหน่งสุดท้าย
-
ปริลี พนมยงด้ (2443 2526) มันสมองของคณะราษฎร ผู้ก่อดั้งคณะราษฎรร่วมกับจอมพล
ป. พิบูลสงครามจนนำมาสู่การปฏิวัติสยาม 2475 ในยุคแรกปริดีร่วมกับจอมพลป.
ในการสร้างอุดมการณ์รัฐไหม่ แต่เมอเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งคู่แยกกันเนื่องจาก
I
จอมพล ป. เลือกข้างญีปุ่นและฝ่ายอักษะ ขณะที่ปรีดืก่อดั้งขบวนการเสรีไทยต่อต้าน
ญี่ปุ่นและเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา รวมทั้งกลับไปศึนดีกับกลุ่มรอยัลลิสต์
จนนำมาสู่การล้มรัฐบาลจอมพลป. ในเดึอนกรกฎาคม 2487 หลังจากนั้นปริดีทกลาย
เป็นผู้มือิทธิพลสูงสุดในการเมืองไทย จนก้าวเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2489
แต่ไม่นานก็เกิดกรณีสวรรคต 9 มิสุนายน 2489 ปรืต็แสดงความรับผิดชอบด้วย
การลาออก แล้วให้หลวงธำรงนาวาสวัสส์เป็นนายกรัฐมนตรีคนส่อมา อย่างไรก็ตาม
ฝ่ายรอยัลลืสตํใช้กรณีสวรรคตเล่นงานปรีดีจนนำมาสู่การรัฐประหาร 2490 เอกสาร
ซีไอเอรายงานว่าในช่วงแรกปรีดีพยายามสร้างพันธมิตรกับกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
กลุ่มทหารเรือ ทหารบกบางส่วน แม้กระทั่งฝ่ายรอยัลลิสต์เพื่อล้มจอมพล ป. แต่ก็ !
'

ล้มเหลว คามมาด้วยการถูกปราบปรานอย่างหนัก ส่วนจอมพลป. ในช่วงหลังเมื่อ

352
น'เบานุกาม
'

เผชิญกับการรุกของฝ่ายรอยัลลิสต์ก็พยายามทำแนวร่วมกับปรีดี จนนำมาสู่ความ
ร่วมมือกันในช่วงปลายทศวรรษ 2490 ที่ปรีดีจะกลับมาสัคดีสวรรคตในเมืองไทย
และจับมือกับจอมพล ป. ในการต่อสู้กับฝ่ายรอยัลลิสด แต่ทุกอย่างก็สายเกินไปเมื่อ
จอมพลสฤษดิ้ ธนะรัชต์ ร่วมมือกับฝ่ายรอยัลลิสต์โดยการสนับสนุนของสหรัฐฯ
ทำการรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 ซึ่งนอกจากจะชดนากการเมืองของจอมพลป.
แล้ว ก็ยังปิดฉากการเมืองของปรืดี พนมยงค์ ด้วย
ฝ็น ชุฌหะวัณ, จอมพล (2434- 2516) อดีตเพื่อนร่วมรุ่นในโรงเรียนนายร้อยกับจอมพล ป.
อดีตนายทหารที่ไปรบที่เชียงลุงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ถูกปลดภายหลัง
สงคราม ซึ่งสร้างความเจ็บชํ้านั้าใจไห้กับผืนและนายทหารจำนวนมาก หลังเกิดกรณี
สวรรคต ผืนได้จับมือกับฝ่ายรอยัลลิสต์โจมต็ปรีดี พนมยงต์ และรัฐบาลว่าปกปิด
ข้อเท็จจริงกรณีสวรรคตและปัญหาข้าวยากหมากแพง ปีนนำไปสู่การรัฐประหาร 2490
-
หลังรัฐประหารผืนดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกระทว่างปื 2491 2497 พร้อม ๆ
กับดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ผืนในฐานะหัวหน้าค่ายราชครู มีลูกชายคือ
ชาติชาย ชุณหะวัณ และลูกเขย ได้แก่ เผ่า ศรียานนท์ และประมาณ อดิเรกสาร ที่
มีบทบาททางการเมืองควบคู่ไปด้วย ผืนสูญเสัยการควบคุมกองทัพบกเมื่อเกษียณ
อายุราชการในปี 2497 แห้ซะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี แต่แทบไม่มีบทบาท
ทางการเมืองอะไรมากนัก จนรัฐบาลจอมพลป. ถูกรัฐประหารในปี 2500
!
เผ่า ศรียานนท์, พล.ต.อ. 2452-2503) อดีตนักเรียนนายร้อยผู้เคยรับ และรับฟ้งกบฏเก็กเหมง
ในจีนและในไทยจากสมาชิกกบฏ ร.ศ. 130 ในวงเหล้าเมื่อครั้งที่พวกเขาพ้นโทษทำให้
มีความคิดทางการเมีอง อดีตนายทหารติดตามจอมพลป. พิบูลสงคราม ร่วมในการ
ปราบปรามกบฏบวรเดช ตุลาคม 2476 เมื่อจอมพลป. หมดจากอำนาจในปี 2487
เผ่าออกจากราชการ หลังจากนั้นเผ่ากลับมาร่วมคณะรัฐประหารอีกครั้งในเดือน
พฤศจิกายน 2490 เผ่าย้ายมารับราชการที่กรมตำรวจติดยศพลตำรวจตรีเมื่อปี 2491
อีกบทบาทหนึ่งของเผ่าคือเป็นลูกเขยของผืน ชุณหะวัณ เนึ่องจากสมรสกับอุดมลักษณ์
ถูกสาวของผืน เผ่าจึงเป็นตัวแทนของค่ายราชครูในการด่อส้กับสฤษดิ้ ธนะรัชต์
กรมตำรวจในสมัยเผ่ามีบทบาทสำคัญเนื่องจากได้รับการสนับสนุนทั้งงบประมาณและ
อาวุธจากสหรัฐอฒรีกาในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันเผ่าก็ใช้ทรัพยากร
ดังกล่าวในการสร้างอิทธิพลให้กับตนเอง จนกระทั้งได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรม
ตำรวจในปี 2494 นอกจากนั้น เขายังมีความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐฯ และในช่วงหลัง
ของทศวรรษ 2490 เมื่อฝ่ายรอยัลลิสต์ปีบมือกับสฤษดี้ในการโค่นรัฐบาลจอมพล ป .
เผ่ายังเป็นตัวเชื่อมให้ปรีดี พนมยงค์ กับจอมพลป. กลับมาร่วมต่อสักับฝ่ายรอยัลลิสต์
อีกด้วย นอกจากนั้น ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจ เผ่ากุมความลับเกี่ยวกับกรณีสวรรคต
ของรัชกาลที่ 8 ไว้ด้วย โดยหวังว่าปีะเป็นเครื่องมือสำคัญในการหยุดฝ่ายรอยัลลิสต์

353
ขุนศก ศักดินา และ:พญาอินทรี

แต่เมือเกิดรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 เผ่า ศรียานนห์ ก็ถูกเนรเทศออกจาก


ประเทศไทยไปอยู่สาตเชอรีแลนด์และจบชีวิตที่นั่น
. -
พจน์ เกกะนันทน์, พ ต.ต. (2457 2536) นายตำรวจที่อยู่ในกลุ่มที่เดินทางไปกับ พล.ต.ท.
เผ่า ศรียๆนนท์โนเดือนสิงหาคม 2494 เพี่อเจรจาแท้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าง
รัฐบาลจอมพล ป. กับผู้สำเร็จราชการฯ และกลุ่มรอยัลลืสด์ที่เมืองโล‘ชาน ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2492 ต่อมาพจน์ได้เป็นอธิบดี
-
กรมตำรวจ (2517 2518)
พจน์ สารสิน ( 2448-2543) เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเป็น รมช. ต่างประเทศในรัฐบาล
จอมพลป. พิบูลสงครามยุค 2 ตั้งแต่ปี 2495 พจน์ได้รับการแต่งตั้งให้ตำรงตำแหน่ง
เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี. ซี. สหรัฐอเมริกา และทำหน้าที่ผู้แทน
ประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ ต่อมาเมื่อมีการท่อตั้งองค์การสนธิสัญญา
ป้องกันถูมีภาคเอเชียคะวันออกเอียงได้ (ซีโต้ ) พจน์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไป
คนแรก เมื่อเกิดรัฐประหาร 16 กันยายรเ 2500 พจน์ไต้รับเลอกไห้เป็นนายกรัฐมนตรี
เนื่องจากเขาเป็นฅนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไว้วางใจและมีความสัมพันธ์ที่ดึกับสหรัฐฯ
อีกทั้งอังเป็นเลขาธิการซีโต้ด้วย พจน์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการ
เลือกตั้งธันวาคม 2500
พิวริฟ่อย, จอห์น อี. (John E. Peurifoy) (2440-2498) จบการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ
จากมหาวิทยาลัยอเมริกัน และกฎหมายระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยจอรีจ
วอชิงตัน รับราชการในกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่ปี 2471 เคยเป็นเอกอัคร
ราชทูตประจำกรีซ (2493) กัวเตมาลา (2496) เป็นนักการทูตสายเหยี่ยวที่มีบทบาท
-
สำกัญในการปฏิบัติงานร่วมกับซีไอเอในการโค่นล้มรัฐบาลกูชแมนในกัวเตมาลา
จนได้รับฉายาว่า “Smiling Jack ” ต่อมาย้ายมาดำรงตำแหน่งทูตประจำประเทศไทย
พิวริฟ่อยซึงเป็นนักการทูตสายเหยี่ยวเหมือนไดในแวน ซื่งสอดคล้องกับนโยบายของ
สหรัฐฯ นอกจากนั้น พิวริฟอยอังมีจุดยืนชัดเจนในการสนับสนูนจอมพลป. โดยได้
ปฏิเสธแผนการที่ พล.ต.อ. เผ่าจะขจัด พล.อ. สฤษดี้ก่อนที่จอมพล ป.จะเดินทางกลับ
จากสหรัฐฯ อย่างไรก็ดาม พิวริฟ่อยเห็นว่าสหรัฐฯ ต้องให้ความช่วยเหลือทั้งกลุ่ม
ทหารและกลุ่มตำรวจตาม'บอตกลงที่เรียกว่า “Sarit and Phao” หลังจากนั้นไม่นาน
พิวรีฟ่อยเสิยชีวิตกะทันหันด้วยอุบัติเหตุทางรถยนด์หลังกลับจากชมการกระโดดร่ม
ของตำรวจพลร่มที่ค่ายนเรศวร หัวหิน
พึ่ง ศรีขันทรี (2450-2535) จบโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมและเป็นหนื่งใน
ลูกศิษย์ของปรีดี พนมยงค์ ประกอบอาชีพทนายความ เป็นส.ส. อุตรดิดถ์ครั้งแรก
ใน?ใ 2480 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองพึ่งเข้าร่วมขบวนการเสรีไทยในประเทศ
ต่อมาได้รับเลือกเป็นประชานสภาผู้แทนราษฎร แม้ว่าจะเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน
2490 ในฐานะประธานสภาฯ พึ่งพยายามทำการเปีดประชุมสภาขึ้นในวันที่ 12

354
นามานุกรม

พฤศจิกายน แด่ไม่สำเร็จ จนทหารต้องนำตัวออกไป นอกจากนี้ พึ่งยังได้วิจารณ์ถึง


ความเหนาะสมของพระราชหัตถเลขาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ถึงคณะรัฐประหาร
2490 ควย
เพทาย ใชสินุชิต แกนนำหักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์แล!;การฌือง ส.ส. ธนบุรี
ช่วงปี 2492-2500 เป็นหนึ่งในนักการเมืองฝ่ายซ้ายที่โจมตีรัฐบาลจอมพล ป. พิบูล-
สงครามอย่างหนัก และเป็นกลุ่มที่จอมพลสฤษด ธนะรัชต์ ให้การสนับสนุนท่อน
รัฐประหาร 2500 ด้วย
ฟอง สิทธิธรรม ( 2447- 2524) ส.ส. อุบลราขธานี 7 สมัย สังกัดพรรคประชาธิป้ดย์ แต่เป็น
นักการเมืองคนหนึ่งที่คัดด้านร่างรัฐธรรมผูญ 2492 ที่เพิ่มอำนาจให้กับสถาบัน
กษัตริยั
-
ฟัน รณนภากาศ ฤทธาคนี, จอมพลอากาศ (2443 2530) ผู้บัญชาการทหารอากาศ (2492 -
-
2500) ร่วมรัฐบาลจอมพลป . ทลายครั้ง เป็น รมว. คมนาคม (2494 2498) รอง
-
นายกรัฐมนตรี (2498 2500) ร่วมเป็นคณะกรรมการนเรศวรที่รับความช่วยเหลือทั้ง
เงินและอาวุธจากซีไอเอผ่านบริษัทซีช้พพลาย เป็นนายทหารที่อยู่เคยงข้างจอมพล ป.
และมีส่วนร่วมในความพยายามต่อต้านรัฐประหาร 2500 แต่ไม่สำเร็จ
ภาณุพันธุยุคล, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองศ์เจ้า (2453-2538) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ เจ้าฟิายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองศ์เจ้าเฉลิมเขครมงฅล เป็นผู้ที่มีโอกาสขึ้นครองราชย์เป็นลำดับที่ 3 ส่อจาก
พระองศ์เจ้าจุมภฎศ พระองศ์เจ้าภาณุพันธุำ จัดตั้งบริษัทสหอุปกรณ์การพิมพ์ขนและ
ทรงเป็นเจ้าของหนังสิอพิมพ์หลายฉบับ เช่น เกียรติศัทด และ ประชาธิปไตย ซี่งมี
บทบาทสำคัญในการโจมดีปรีดี พนมยงศ์ และรัฐบาล ทรงสนับสนุนรัฐประหาร 8
พฤศจิกายน 2490 เต็มตัว ในรายงานของสถานทูตสหรัฐรระบุว่า ศวามพยายาม
ก่อกบฏเสนาธิการในเดือนตุลาคม 2491 ทั้นมีกลุ่มรอยัลลิสต์เข้าร่วม และหนึ่งใน
นั้นดือพระองศ์เจ้าภาณุพันธุฯ
-
ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2470 2559) พระราชสมภพที่รัฐเพสซา
ชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นพระราชนัดดา
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี
พระพันวิสสาชัยยกาเจ้า ถือเป็นสายมหิดลท้ครองราชย์ต่อจากพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลภายหลังกรณี{กรรคต 9 มิถุนายน 2489 หลังจากครอง
ราชย์แล้วได้กลับไปศึกษาต่อที่สวิตเชอร์ แลนด์ แล้วกลับมาเมืองไทยไนปื 2493 เพึ่อ
ร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 8 พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
กับหม่อมราชวงศ์ส! ิ ภิฅิ้ กิฅิยากร และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จากนั้นกลับไป
ศึกษาต่ออีกครั้ง พระองศ์กลับมาประเทศไทยเป็นการถาวรปลายปี 2494 คณะ

355
รุนศึก สักดินา และพญาอินทรี

รัฐประหารที่นำโดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ ซีกรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 ทิ้ง เพื่อนำ


รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 มาแก้ไขเพื่อใช้แทน ขึ้ง นเหตุการณ์ครั้งนั้น
'

พระองค์ต้องยินยอมตามความต้องการของคณะรัฐประหาร ต่อมาสงครามเย็นทวี
ความเข้มข้นมากขึ้น ประกอบกับรัฐบาลสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงนโยบาย หันมาดำเนิน
แผนสงครามจิตวีทยาต่อต้านคอมมิวนิสต์โดยผลักดันให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็น
แกนกลางในการต่อสืกับทยคุกคามคอมมิวนิสต์ สํงผลให้บทบาทของสถาบันพระมหา -
กษัตริย์มีความสำคัญเพิ่มขึ้น
มนัส จารูภา, น.ต. ( 2460-2516) ร่วมกับน.อ. อานนท์ ปุณฑริกาภา จับกุมตัวจอมพล ป.
พิบูลสงครามในพิธีมอบเรือ‘รุดสันดอนชื่อ “ แมนสัตตัน" เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน
2494 ทั้งนี้น.ต. มนัสเป็นนายทหารเรือคนสนิทของ พล.ร.ต. ผัน นาวาวิจิต ผู้ให้การ
สนับสนุนปรีดี พนมองค์ แต่แผนดังกล่าวล้มเหลว ปฏิบัติการดังกล่าวถูกเรืยกต่อ
มาว่า “กบฏแมนสัตตัน”
-
มังกร พรหมโยธี, พล.อ. ( 2439 2509) เป็นนายทหารกลุ่มจอมพลป. พิบูลงคราม เป็นรมว.
กลาโหมและมหาดไทยสมัยรัฐบาลจอมพลป. ยุคแรก ต่อมาเมื่อมีการรัฐประหาร
2490 ก็กลับมาร่วนงานกับจอมพล ป. อีกครั้งไนตำแหน่ง รมว. ศึกษาธิการและ
มหาดไทย พล.อ.มังกรมักจะเป็นตัวแทนของจอมพลป . ในการสร้างพันธมิตรกับ
กลุ่มต่าง ๆ ตลอดสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรื
-
แมคใดนัลต์ , อเล็กซานเดอร์ (Alexander MacDonald ) (2451 2543) อดีตเจ้าหน้าที่
โอเอสเอสที่ปฎิบัติการร่วมกับเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีความสนิทสนม
กับปรีดี พนมยงค์ หลังสงครามแมคโดนั, ลต์กลับมาร่วมเป็ดสถานทูตสหรัฐ"1 อีกครั้ง
เขาเคยเป็นมักหนังสือพิมพ์มาก่อนและได้ซักชวนนายประสืทชี้ ถุลตานนท์ ร่วมกัน
ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ในเดือนสืงหาคม 2489 โดยแมคโดนัลต์เป็น
บรรณาธิการบริหารคนแรก เขาจึงเป็นคนหนึ่งที่รับรู้ความเคลื่อนใหวทางการเมิอง
ของทกฝ่าย
ยุทธศาสตร์โกศล, จอมพลเรือ หลวง (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) (2448-2518) มีความ
ใกล้ชิดกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ( 2494
2500 ) ระหว่างนั้นกีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้วยในช่วงปี 2494 - 2500 ก่อน
-
.
รัฐประหาร 2500 มีกระแสข่าวตึงเครียดว่ารัฐบาลจอมพลป พิบูลสงครามเตรียมจับ
พระมหากษัตริย์ และมีการประชุมของจอมพล 4 คน ขึ้งมีชี่อของจอมพลเรือหลวง
ยุทธศาสตร์โกศลด้วย หลังรัฐประหาร 2500 ชื่อของหลวงยุทธศาสตร์โกศลก็หายไป
จากการเมืองไทย
.
เยอน ประภาวัต, พ.ต.อ ( 2455 2517 ) หนึ่งใน 13 อัศวินแหวนเพชรของ พล.ต. อ. เผ่า
-
ศรียานนพ์ และเป็นนายตำรวจที่ติดตามเผ่าไปเจรจากับในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เมือง
ไลชาน ประเทศสวีตเซอร์แลนด้ ในปี 2494

356
นามานุกรม

-
รักษ์ ปันยารชุน, พ.ค. ( 2457 2550 ) บุตรชายคนโตของพระยาปรีชานุสาสน์ ( เส!ญ
ปันยารชุน) กับคุณหญิงปฤกษ์ รักษ์เข้าทำงานเป็นนายทหารอยู่ที่กรมพระธรรมนูญ
กระทรวงกลาโหม แต่งงานกับจีรวัสสั พิบูลสงคราม บุตรสาวจอมพล ป โนปี 2488.
ต่อมาในปี 2489 เขาลาออกมาหำธุรกิจ จากนั้นในปี 2498 จึงเข้าสู่วงการการเมอง
เป็น รมข. ต่างประเทศในรัฐบาลจอมพล ป. และลงสมัครรับเลอกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร
จังหวัดพระนครสังกัดพรรคเสรีมนังคศิลาในการเสือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ 2500 แต่
ไม่ได้รับเลือกตั้ง บทบาททางการเมืองของรักษ์จบลงพร้อมกับการรัฐประหาร 2500
ละม้าย อุทยานานนท์, พ.ท. ( 2451 - 2507) สมาชิกคณะรัฐประหาร 2490 และเป็นหนึ่งใน
ตัวแทนคณะรัฐประหาร 2490 ที่ไป “ จี้” ควง อภัยวงศ์ ให้ลงจากตำแหน่งนายก
รัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2491 เข้าร่วมเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลจอมพล ป. สองสมัย
และเป็น ส. ส. ชัยนาทสังกัดพรรคเสรีมบังคศิลาในการเลือกตั้งเดึอนกุมภาพันธ์ 2500
ภายหลังรัฐประหาร 2500 เขาก็หมดอำนาจลง
-
เลียง ไชยกาล (2445 2529) ส.ส. อุบลราชธานี มีบทบาทไตดเด่นในการอภิปรายในสภา
ต่อมาได้เข้าสังกัดพรรคก้าวหน้าของ ม.ร.ว .คึกฤทธ ปราโมช และร่วมก่อตั้งพรรค
ประชาธปัตย์เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2489 หลังรัฐประหาร 2490 เลียงเป็นรัฐมนตรีทั้ง
ในรัฐบาลควง อภัยวงศ์ และรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม ต่อมาเขาออกมาตั้ง
พรรคของตัวเองชือพรรคประชาชน นอกจากนั้น ในการอภิปรายรัฐธรรมนูญ 2492
เลียงเป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยและอภิปรายอย่างรุนแรงว่า “ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ
ประชาธิปไตย มันเป็นรัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์”
เลื่อน บัวสุวรรณ ( 2455-2499) นักธุรกิจผู้เป็นนายทุนและผู้จัดการทางการเมืองให้กับค่าย
ราชครู และเป็นผู้ออกทุนให้กับคณะทูตลับที่เดินทางไปจึนในปี 2498 ต่อมาเขาเสีย
ชีวิตจากอุบัติเหตุทางเครื่องบิน
เลื่อน พงษ์โสภณ ( 2439-2519) ส.ส. นครราชสีมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นตัวแทนของ
พรรคประชาธิปัตย็ไนการประสานกับกลุ้มของจอมพล ป. พิบูลสงครามไนการวางแผน
ก่อรัฐประหาร 2490 และมีส่วนร่วมในการร่าง “รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” 2490 ร่วมกับ
ฝ่ายทหารและรอยัลลิสต์ด้วย
-
แลนดอน, เคนเนท พึ. ( Kenneth p. Landon) (2443 2536) เข้ามาประเทศไทยครั้งแรก
ในปี 2470 ในฐานะมิชชันนารี ก่อนที่จะเดินทางกลับสหรัฐา เพี่อศึกษาต่อในระดับ
ปริญญาเอกทึ่มหาริทยาลัยชิคาโก ในปี 2482 เขาได้เขียนหนังสือ Siam in Transi-
tion : A Brief Survey of Cultural trends in Five Years since the Revolution
of 1932 ( สำทพระเแทฒนธรรมในช่วง 5 ปีหสั }ปฏิวัติ 2475 ) ในช่วงสงครามโลก
ครั้งที่สอง แลนดอนได้รับการว่าจางในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ของโอเอสเอส เข้าประจำตำแหน่งเจาหน้าที่โต๊ะการเมืองประจำประเทศไทย และ
ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในที่สุด เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง

357
จุนศึก ศักดินา และพญารนทา

สิ้นสุดลง เขาถูกส่,งมาเปิดที่ทำการสถานทูตสหรัฐฯ อีกตรั้งหลังสงคราม แลนดอน


เป็นผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์การเมืองไทยของวอชิงตัน สิ. ซี.
วิจิตร ลุลิตานนห์ ( 2440-2530) เดินเป็นผู้พิพากษา หลังปฏิวัติ 2475 เป็นหัวหน้าแผนก
ในกองกฤษฎีกาของคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลับวิชาธรรม-
อาสตร์และการเมือง เขาตำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัย ในช่วงสงครามโลก
ครั้งที่สองเป็นหัวหน้าศูนย์บัญชาการของขบวนการเสรีไทย เป็น รมว. คลังในรัฐบาล
หลวงธำรงฯ จนถูกรัฐประหาร 2490 และมีบทบาทในการก่อกบฏวังหลวงในเดือน
กุมภาพันธ์ 2492 แต่ล้มเหลว หลังจากนั้นเขาเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนเกษียณ
-
วิวัฒนไชย, พระวรวงส์เธอ พระองค์เจ้า (หม่อมเจ้าวิวัต!น1ใชย ใชยนต์ ) (2442 2503) โอรส
ในพระเจ้าบรมวงศเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหา
สมบัติ กับหม่อมส้วน เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนแรก ( 2485-2489)
เป็นแกนนำคนหนึ่งไนกลุ่มรอบัลลิสต์ เข้ารับตำแหน่ง รมว. คลังในรัฐบาลควง
..
อภัยวงศ หลังรัฐประหาร 2490 แม้รัฐบาลควงจะถูกจี้ให้ออกไป แต่ม จ วิวัตเนไชย
ก็อยู่ต่ออีกช่วงสั้นๆก่อนจะลาออกเพราะขัคแย้งกับรัฐบาล ม.จ. วิวัฒนไชยได้รับการ
สถาปนาเป็นพระวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าวิวัตณไชย ในปี 2493 และได้รับโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นองคมนตรีโนปี 2495 ตราบจนสิ้นพระชนม้
-
ศรยุทธเสนิ, พล.ร.ต. พระยา (กระแส ประวาหะนาวิน) (2431 2505) อดีตประธานสภา
ผู้แทนราษฎรและประธานพฤฒิสภา เคยก่อตั้งพรรคกสิกรเมื่อปี 2490 หลัง
รัฐประหาร 2490 ก็หมดบทบาทลง จนกระทั่งมีความพยายามรอพื่นคดีสวรรคตไน
ปี 2500 มีข่าวว่าเขาจะน่าบันทึกลับมาเปิดเผยเพื่อชื้ให้เห็นว่ามีการสร้างพยานเท็จ
เพื่อปรักปรำปรืดี
ศราภัยพิพัฒ, น.อ. พระยา (เลื่อน ศราภัยวานิช) ( 2432-2511) นักหนังสือพิมพ์ นักโทษ
การเมืองเกาะตะรุเตา ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิป้ตยืใน'ปี 2489 และเป็น ส.ส. ของ
พรรค เป็น รมว. ศึกษาธิการไนรัฐบาลควง อภัยวงค์ หลังรัฐประหาร 2490
ศรีธรรมาธิเบศ, เจ้าพระยา (จิตร ณ สงขลา ) ( 2428-2519) ผู้พิพากษาและองคมนตรีใน
รัชกาลที่ 6 เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมในสมัยรัชกาลที่ 7 ในฐานะขุนนางชั้นผู้ใหญ่
หลังปฏิวัติสยาม 2475 พระองค์ก็ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตลอดมา และร่วมก่อตั้ง
พรรคประชาธิป้ตย์เมื่อ 6 เมษายน 2489 หลังรัฐประหาร 2490 ดำรงตำแหน่ง
ประธานวุฒิสภาและเป็น 1 ใน 9 ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2492 หรือรัฐธรรมนูญรอบัลลิสต์
ชื่อของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิฌศในฐานะแคนติเดตนายกรัฐมนตรีปรากฎสองครั้งคอ
หลังรัฐธรรมนูญ 2492 ประกาศใช้ และหลังในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จนิวัตพระนคร
ในปี 2494 เพื่อจะแทนที่จอมพลป . พิบูลสงคราม แต่ก็ล้มเหลวทั้งสองครั้ง ในปี
2495 ได้รับโปรดเกล้า"เ ให้เป็นองคมนตรี

358
นามานุกรม

-
ศรีวิสารวาจา, พ.อ. พระยา (เทียนเลยง สุนตระ na ) (2439 2511) ดำรงตำแหน่งปลัดทูล
ฉลอง'ในกระทรวงการต่างประเทศ1ขณะที่มีอายุเพียง 32 ปี ในปี 2474 รัชกาลที่ 7
' .
ปรดเกล้าฯให้,พระยาศรีวิสารวาจาและนายเรมอนต์ ปี สดีเวนส์ (Raymond B.
Stevens) ที'่ปรกษากระทรวงการต่างประเทศ ร่างรัฐธรรมนูญที่ใช้ชื่อว่า “ An Outline
of Changes in the Form of Government" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการ
ประชุมพิจารณาต่อ หลังปฏิวัติสยาม 2475 ดำรงตำแหน่ง รฆว. ต่างประเทศใน
รัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา แต่เมื่อมีความขัดแย้งกับคณะราษฏรในกรณีกบฏ
บวรเดช พระยาศรีวิสารวาจาจึงออกจากวงการเมืองไปประกอบอาชีพนักกฎหมาย
แล้วกลับมาสู่เวทีการเมืองอกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และเปีน ส.ส. พระนคร
สังกัดพรรคประชาธิป้ตย!,บปี 2489 หลังรัฐประหาร 2490 ร่วมรัฐบาลควง อภัยวงศ์
.
เป็นรมว ต่างประเทศ แด่ก็หลุดจากตำแหน่งหลังจากนายควงโดนจออกจากดำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีในปี 2491 อย่างไรก็ตามยังดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกดามรัฐธรรมนูญ
2492 เมื่อมีการรัฐประหาร 2494 พระยาศรืวิสารวาจาไปดำรงคำแหน่งองคมนตรี
ระหว่างนั้นเป็นผู้แทนพระองค์เคนทางไปพบประธานาธิบดีไอเชนอาวร์ทวอชิงตันดี. ซี.
ในเดือนพฤษภาคม 2497 ชี่งรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงครามขณะนั้นไม่ทราบเรื่อง
นี่เป็นก้าวสำคัญที่ทำให้สถาบันกบัตริย้กับสหรัฐอเมริกากระชับความสัมพันธ์กันมากขน
จนเป็นพันธมิตรใหม่
ศุภสวัสดื้วงศ์สนิท สวัสดีวัตน, พ.ท. หม่อมเจ้า ( 2443- 2510 ) เป็นพระโอรส!นสมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดีวัดนวิดีษฎ์ กับหม่อมราชวงศ์เสงี่ยม สวัสดีวัตน
(ราชสกุลเตึม สนิทวงศ์ ) เป็นพระเชษฐาต่างพระมารคาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพ-
พรรณี พระบรมราชินี ทรงเป็นราชองครักษ์ให้พระปกเกล้าฯ ภายหลังกบฏบวรเดช
ทรงพำนักไนอังกฤษ เดิมหม่อมเจ้าคุภสวัสด็๋ฯเคลื่อนไหวอยู่ในกลุ่มรอยัลลิสต์ ต่อมา
เมื่อเกิดสงครามใลกครั้งที่สอง ปรีดี พนมยงค์ ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยเพอต่อต้าน
ญี่ปุ่นและร่วมมือกับกลุ่มรอบัลลิสต์ทั้งไนและต่างประเทศ โดยที่ในอังกฤษหม่อมเจ้า
ศุภสวัสดี้ฯ เป็นแกนนำคนสำคัญ ต่อมาทรงมีความใกล้ชิดกับปรืดี เมื่อเกิดกรณี
สวรรคต หม่อมเจ้าศุภสวัสดึ๋ฯ เป็นพระราชวงศ์เพืยงไม่ที่พระองค์ที่เห็นไจปรึดีและ
ไม่เห็นด้วยที่ไช้กรณีสวรรคตมาเล่นงานทางการเมือง เมื่อเกิดรัฐประหาร 2490
หม่อมเจ้าคุภสวัสดึ๋ฯในฐานะผู้แทนประเทศไทยประจำสหประชาชาติทรงขอลาออก
จากค่าแหน่ง โดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถร่วมงานกับรัฐบาลใหม่ไต้และทรงประกาศ
ว่ารัฐบาลชุดเก่ายังคงดำรงอยู่ หลังจากนั้นบทบาทของพระองค์ก็ลดน้อยลง
สงวน จันทรสาขา ( 2461 -2515 ) เป็นน้องชายด่างบิดาของจอมพลสฤษดิ้ ธนะรัชต์ ในการ
เลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ 2500 สงวนได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส. นครพนมสังกัดพรรค
เสรีมนังคดีลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่หลังจากนั้นเขาไต้รับมอบหมายซาก

1159
ขุนคิก ศักดินา และ:พญาอินทวิ

จอมพลสฤษดิ้ให้ใปดั้งพรรคสทภูมิ โดยมีสุกิปี if
นิมมานเหมินท์ เนห้วหน้าพรรค
และเขาเป็นเลขาธิการพรรค
สทน จูฑะเตมีย์ (หลวงนฤเบศร์มานิต) ( 2427- 2523) สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน เข้า
ร่วม ครม. รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา เข้าร่วมขบวนการเสรืไทยในประเทศช่วง
สงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงครามเป็นสมาชิกพฤฒิสกาในปี 2489 และได้เป็น
รมว . อุดสาหกรรมในรัฐบาลปรีดี พนมยงสั ไนปี 2489 หลังรัฐประหาร 2490 สงวน
ยังเป็นตัวแทนของปรีดีในการประชูมกับกลุ่มต่าง ๆ ในการต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป .
พิบูลสงคราม
สงวน ตุลารักษ์ (2445- 2538 ) สมาชิกคณะราษฎรที่ร่วมปฏิวัติสยาม 2475 และมิบทบาท
สำคัญในขบวนการเสรีไทยไนประเทศ เข้าร่วมรัฐบาลทวี บุณยเกตุ ดำรงตำแหน่ง
รัฐมนตรี และร่วมรัฐบาล ม .ร .ว . เสนีย์ ปราโมช ต่อมาดั้งพรรคสทชีพ แด่ไม่ได้รับ
เลือกดั้ง ในสมัยรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดั้ สงวนดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทุด
ไทยคนแรกประจำนครนานทีงเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2489 เมื่อมีการรัฐประหาร
8 พฤศจิกายน 2490 สงวนวิจารณ์การรัฐประหารอย่างรุนแรงและประกาศไม่ยอมรับ
คำลังจากคณะรัฐประหาร โดยเขายืนยันว่ารัฐบาลเก่ายังคำรงอยู่ในไทยและขอลี้ภัย
อยู่ในประเทศจีน ระหว่างนั้นเขาพยายามช่วยเหลือปรีดีในการล้มรัฐบาลจอมพล ป.
พิบูลสงคราม แต่ล้มเหลว จนช่วงปลายสมัยรัฐบาลจอมพล ป. เมื่อมิความพยายาม
เป็ดความสัมพันธ์กับจีนและ'รอฟินกรณีสวรรคต สงวนกีได้กลับเมืองไทยอีกครั้ง แต่
รัฐบาลจอมพล ป . กีถูกรัฐประหารเสยก่อน สงวนติดคุกหลังจอมพลสฤษดิ้ทำ
รัฐประหาร 2501 และกวาดล้างปฏีป้กษ์ทางการเมือง
-
สแตนตัน, เอ็ดวิน เอฟ . ( Edwin F. Stanton) (2444 2511 ) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา
ประจำประเทศไทยคนแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ( 2488- 2496) เมื่อเกิด
รัฐประหาร 2490 สแตนดันไม่เห็นด้วยและวิจารณ์ว่าเป็นการหมุนเวลาถอยหลัง ทั้ง
ยังปฏิเสธที่จะรับรองการรัฐประหารด้วย อย่างไรก็ตาม ต่อมาสแตนตันได้กลับมา
สนับสนุนรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม อันเป็นผลมาจากการรับรองรัฐบาลเบาได้
1
,
ของเวียดนาม ใต้และการเข้าร่วมสงครามเกาหลีเคียง'ข้างสหรัฐฯ ของรัฐบาลจอมพล ป.
พร้อมกันนั้นเขากีได้วิจารณ์กลุ่มรอยัลลิสฅ์ว่าสนใจแต่เพียงผลประโยชน์จากการ
ยึดกุมอำนาจทางการเมืองภายใต้กติกาที่ตนออกแบบขึ้นและเพื่อมีอำนาจได้อย่าง
มั่นคง นอกจากนี้ สแตนตันยังชื่นชมรัฐบาลจอมพล ป . ที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่าง
จริงจังเมื่อมีการออก พ .ร.บ . {เองกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์และจับกุมฝ่าย
ซ้ายในกรณีกบฎสันติภาพในปี 2495 สแตนตันอำลาตำแหน่งในปี 2496 ซึ่งเขาไต้
บันทึกเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ในงานเลี้ยงอำลาตำแหน่งว่า พระองค์ทรงสนใจ
ความช่วยเหลือจากสหรัฐค ที่ให้กับไทยมาก

360
นามานุกรม

สฤษดิ้ ธนะรัชต์ , จอนพล (2451-2506) สมาชิกคณะรัฐประหาร 2490 ขณะนั้นยศพันเอก


ดำรงตำแหน่งผู'้ บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองคั ซึ่งเป็นหน่วยคุมกำลังพล
สฤษตั้มีบทบาทอย่างสูงภายหลังเข้าปราบปรามกบฏวังหลวงและกบฏแมนรัตดัน
สฤษสัส่งกัดค่ายสี่เสาเทเวศน์ที่แข่งข้, นกับค่ายราชฅรูของ พล.ต.อ. เห่า ศรียานนท์
อธิบดีกรมตำรวจ สฤษดั้ขนเป็นผู้บัญชาการทหารบกเมื่อเดอนมิลุนายน 2497
แทนที่จอมพสผิน ชุณหะวัณ ซึ่งถือว่าเป็นการคุมกำลังทหารอย่างเบ็ดเสร็จ ในทาง
การเมืองสฤษดิ้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐอเมริกา สถาบันกษัตริย์ และเตรอข่าย
นักการเมืองฝ่ายซ้าย สฤษดเป็นเช้าของหนังสือพิมพ์ สารเสรี ซึ่งเป็นที่รวมของ
นักเขียนฝ่ายซ้ายที่มีบทบาทในการใจมสิจอมพล ป. เผ่า และสหรัฐอเมริกา จนทำให้
สฤษดั้ได้รับความนิยมอย่างสูง ไดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการเถือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์
2500 สุดท้ายสฤษดั้ใด้ทำการรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามในวันที่
16 กันยายน 2500 ถือเป็นการปิดชากการเมืองสามเส้าและเป็นการเปิดยุคใหม่ของ
การเมืองไทย
-
สวัสดั้ สวัสดิ้รณชัย สวัสดีเกียรติ, พล.ท. (2442 2495) หนึ่งในคณะรัฐประหาร 2490 และ
เป็นตัวแทนคณะรัฐประหารไปจี้ควง อภัยวงศ์ ออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 เมษายน
2491 เขาร่วมคณะรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงครามทุกครั้งจนเสียชีวิตในปิ 2496
สอ เสกบุตร (2445-2513) อดีตนักโทษการเมืองเกาะตะแตา ผู้เชี่ยวชาญการทำพจนานุกรม
อังกฤษ-ไทย หลังจากได้รับอภัยใทษ สอ เสถบุตร เข้าร่วมกับกลุ่มรอยัลลิสต์ โดย
ร่วมกับ ม.ร.ว. คึกฤทจี้ ปราโมช จัดดั้งพรรคก้าวหนัา มีวัตลุประสงศ์เพี่อต่อด้าน
ปรีดี พนมยงค์ และพวก ต่อมาได้รับเลือกเป็น ส.ส. ธนบุรี เขต 1 และย้ายเข้าร่วม
พรรคประชาธิป๋ฅย์หสังรัฐประหาร 2490
5
สังข์ พัธโนทัย ( 2458-2529) จากข้าราชการกรมโฆษณาการที่จัดรายการนายมั่น นายคง
อันมีอิทธิพลไนสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามยุคแรก กลายเป็นคนสนิทคนหนึ่ง
ของจอมพล ป. และถูกจับในข้อหาอาชญากรสงครามด้วยกัน ภายหลังจอมพล ป.
พิบูลสงครามกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง สังข์ก็มาช่วยงานด้านหนังสือพิมพ์
แรงงาน นักคึกษา ฝ่ายซ้าย ตลอดจนพคท. นอกจากนั้น สังข์ยังสนใจเรื่องจีนและ
มสวนแนะนำการเปลี่ยนนโยบายมาเป็นมิตรกับปีนมากจี้นภายหลังการประชุมที่บันตุง
^ t

ใน!] 2500 สังข์เป็นตัวแทนคณะกรรมกรไทยเดินทางไปเยือนจีนด้วยI รวมทั้งช่วย


ประสานงานกับปรีดี พนมยงท์ ในการกลับมาสู้คดีสวรรคต หลังรัฐประหาร 2501
สังข์คือหนึ่งในปัญญาชนนักหนังสือพิมพ์ที่ถูกจอมพลสฤษดั้ชังลืม จนกระทั้งปี 2508
จึงได้ออกจากคุก
-
สังวร สุวรรณชีพ, พล.ร , ต. (หลวงสังวรยุทธกิจ) (2444 2516) สมาชิกคณะราษฎรสายทหาร
เรือในการปฏิวัติสยาม 2475 ต่อมาร่วมรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงครามยุคแรก แต่
ขณะเดียวกันก็ร่วนมือกับปรืดีในการตั้งขบวนการเสรีไทยด้วย ไนวันรัฐประหาร

361
วิเนสึก ศกดีนา และพญาอีนทรี

8 พฤศจีกายน 2490 หลวงสังวรคูทธกิจดำรงตำแหน่งรกษาการอธิบดีกรมฅำรวจ


เอกสารสถานทุฅสหรัฐฯ รายงานว่าหลังรัฐประหาร 2490 เขาเป็นตังแทนปรืดีในการ
ประชุมนละติดฅ่อลับกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งฏีส่วนในความพยายามก่อกบฏเสนๅธิกาง
( ตุลาคม 2491 ) กบฏวงหลวง ( 2492) แต่ล้มเหลว หลังจากนนหลวงสังวรยุทธกิจ
ก็ออกจากการเมือง
สัพ™ร กฤดากร, หม่อมเจ้า ( 2426-2514) พระโอรสในพระเจ้าบรมวงฅ์เธอ กรมพระนเรศ
รวรฤทชิ กับหม่อมสุภาพ กฤดากร น้องชายหม่อมเจ้าบวรเดช ถูกกล่าวหาว่าร่วม
กบฏและถูกจองจำที่เกาะตะรุเตา ก่อนจะได้รับอภัยโทษในป็ 2487 หลังรัฐประหาร
2490 ร่วมรัฐบาลควง อภัยวงคํ ในตำแหน่ง รมว. เทษดร
สินธุ กมลนาวิน, พล .ร.นิ , (หลวงสืนธุสงครามชัย ) ( 2444 -2519) สมาชกคณะราษฎรสาย
ทหารเรือ ดำรงตำแหน่งรัฐมนฅรึหลายกระทรวง รวมทั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย
-
เกษตรศาสดรคนแรก ( 2486 2488) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรืออย่าง
-
ยาวนาน (2481 2494) พล.ร.อ. สืนธ์เป็นหัวหน้าพรรคนาวินในกองทพเรือ ซึ่งไม่
นิยมทั้งจอมพลป. พิบูลสงคราม และปรีลึ พนมยงค์ แต่ต้องการให้กองทัพเรือขื้น
นาฏีอำนาจแทนคณะรัฐประหารหรือทหารบก เขามีส่วนสนับสนุนกบฏแมนสัตดันใน
ปี 2494 แต่ล้มเหลว ส่งผลไพ้ถูกา!ลดออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ
สุกิจ นิมมานเหมนท์ ( 2449- 2519 ) สมาชักพฤฒสภา และเป็น ส. ส. เชียงใหม่ในปี 2491
สุกิจสนิทกับจอมพลสฤษด ธนะรัชด เมื่อสฤษดทั้งพรรคสหคูมิไนปี 2500 ได้มอบ
หมายให้สุกจเป็นหัวหน้าพรรค
สุพจน์ ด่านตระกูล (2466-2552) น้กหนังสือพิมพ์ เช้าร่วมขบวนการเสรีไทย หลังรัฐประหาร
2490 สุพจน์และเพื่อนต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามอย่างต่อเนื่อง ต่อมา
ถูกจับในคดีกบฏสันติภาพ 10 พฤศจกพน 2495 แต่ภายหลังจอมพลป. เปลี่ยน
1

-
นโยบายให้การสน้บสบุนหนังสือพิมพ์ ฝ่ายซ้ายใจมดีฝ่าย รอยลลิสฅ์ แล สหรัฐฯ โดย
ในปี 2499 จอมพลป . ให้การสนับสนุนทุนขัดทั้งหนังสือพิมพ์ ประชาศักคึ้และรับ
อดีตนักโทษการเมืองกรณี “กบฏสันติภาพ,, เข้าทำงาน ซึ่งสุพจน์ก็เป็นหนื่งในทั้น
สุภัทร สุคนธาภิ'รมย์ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง อดีตเสรีไทย
'

ผู้มีความใกล้ชิดปรีคึ พนมยงคๆ เป็นผู้หนึ่งที่อย่ฌองหลังกบฏแมนสัตตัน


สุรัฒน์ วรดึลก (2466-2550) อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เข้า
วงการหนังสือพิมพ์ในปี 2489 ทำงานเป็นนักข่าวของหนังสือพิมพ์ เอกราช ของ
รศรา อมันตคุล ก่อนเริ่มเขียนเรองสั้น สุวัฒน์โด่งดังจากการเขียนบทละครให้คณะ
ศวารมยันำไปทำเป็นละครเวที ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสุง เมื่อรัฐบาลจอมพลป.
ต้องการเปิดสมพันธ์กับจน ก็ส่งคณะวัฒนธรรมไทยจำนวน 40 คนไปเยือนจีน โดย
มืสุวัฒน์เป็นหัวหน้าคณะ นอกจากนน ณั้ สุวัฒน์ยังไคพมกับปรืดีซึ่งมึความต้องการ

362
นามานุกรม

กลับประเทศไทย แต่แผนทั้งหมดล้มลงเมื่อมีการรัฐประหาร 2500 ใดย1รอมพล


,

สฤษดิ้ ธนะรัชต์ และเมื่อสฤษดรัฐประหารอีกครั้งใน'ปี 2501 สุวัฒน์ก็ถูกขับข้อหา


หมิ่นพระบทแดชานุกาพและถูกคุมขังเป็นเวลา 4 ปี
สุวิชช พันธเศรบฐ (2450- 2525) ส.ส. เชียงใหม่ เป็นผู้ ร่วมก่อดั้งพรรคประชาธิปัตย์ เป็น
'

1 ใน 9 ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2492 หรือฉบับรอยัลลิสต์


-
อดุล อดุลเดชจรัส, พล.ด.อ (บัตร พึ่งพระคุณ) (2437 2512 ) สมาชิกคณะราบฎร ในปี
2479 เข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ ต่อมา'ในปี 2480 เริ่มมารับตำแหน่งทางการ
เมืองเป็นรมช. มหาดไทย มีบทบาทสำคัญในขบวนการเสรีไทยในประเทศ เมิ่อพ้น
จากตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจในปื 2489 ได้มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
ก่อนรัฐประหาร 2490 ปรีดีเตรียมผลักดันให้พล.ต.อ. อดุลขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
เนื่องจากเคยต่อสู้กับฝ่ายรอยัลลิสต์มาก่อน แต่เกิดรัฐประหารเสียก่อน หลัง
รัฐประหารพล.ต.อ. อดุลได้ไปคำรงตำแหน่งกฌะอภิรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน
2490 รวมทั้งเป็นองคมนตรีหลังรัฐธรรมนูญ 2492 บังคับใช้ อย่างไรกีตาม พล.ต.อ.
อดุลยังมีบทบาทในทางลับด้วย ดังรายงานของซีไอเอที่ระบุว่า มีชื่อของพล.ต.อ.
อดุลเกี่ยวข้องกับความพยายามทำรัฐประหารในกรณีกบฏเสนาธิการในเดีอนตุลาคม
2491 และความพยายามอีกครั้งในปลายปี 2492
อรรถการีย์นิพนธ์ , พระยา (สิทธิ จุณฌานนท) ( 2438-2520) อธิบดีกรมอัยการไนปี 2484
เข้าร่วมรัฐบาลเสนีย์ ปราใมช หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นหนื่งในกลุ่มรอยัลลิสต์
ที่เข้าไปร่างรัฐธรรมนูญ 2490 หรือฉบับได้ตุ่ม และรัฐธรรมนูญ 2492 หรือฉบับ
รอยัลลิสต์ หลังจากนั้นได้เป็นวุฒิสภา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนกลุ่มรอยัลลิสตีไนการ
วิจารณ์รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และร่วมเป็นทนายในการฟ้องให้การเลือกตั้ง
26 กุมภาพันธ์ 2500 เป็นโมฆะ
อรรถกิตติกำจร, ทลวง (อรรถกิตติ พนมยงต์) ( 2450-2500) น้องชายต่างมารดาของปรดี
พนมยงค์ เป็นสมาชิกคณะราบฎร อดีตนักการทูต เข้าร่วมรัฐบาลหลวงธำรงนาว เ
สวัสคึ๋ในตำแหน่ง รมว. ต่างประเทศ มีบทบาทสำคัญในความพยายามขัดตั้งสันนิบาต

-
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังรัฐประหาร 2490 หลวงอรรถกิตติกำจรยังทำหน้าที่เป็น
ตัวแทน!เรืดีในการประชุมร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ ในความพยายามล้มรัฐบาลจอมพล ป.
พิบูลสงคราม
อรรณพ พุกประยูร, พ.ต.อ. หนึ่งใน 4 อัศวินแหวนเพชรวุ่นแรกของพล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
หนึ่งในกลุ่มนายตำรวจที่ร่วมเดินทางกับ พล,ต.อ. เผ่าไปเจรจากับในหลวงรัชกาลที่ 9
ที่กรุงโลซาน สวิตเซอร์แลนต์ ในเดือนตุลาคม 2494
อานนท์ ปุณฑ่ริกาภา, น.อ. (2453-2528) หนึ่งใน 2 นายทหารเรือที่ปฏิบัติการจี้จอมพล ป.
พิบูลสงครามในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตต้น 2494

363

* *
ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

อารีย์ ตันติเวชกุล ส.ส. นครราชสีมาสังกัดพรรคชาติสังคมของจอมพลสฤษดิ้ ธนะรัชต์ มี


บทบาทสำคัญในสภาผู้แทนราษฎรในการโจมติจอมพลป. พิบูลสงคราม พล.ต.อ. เผ่า
ศรียานนท์ รวมทั้งบทบาทของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทข
อารีย ถวิระ ( 2456-2496 ) นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้อำนวยการบริษัทไทยพาณิชย์
เจ้าของกิจการหารังสีอพิมพ์ สยามนิกร และ พิมพ์ใทย อารีย์ถูกจับตามองจาก
สหรัฐอเมริกาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เขาถูกจับทุมพร้อมกับนักหนังสือพิมพ์อีกหลาย
คนเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2495 ในคดีกบฏสันติกาพ และได้รับการปล่อยตัวเมื่อ
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2496 ต่อมาวันที่ 9 มีนาคม 2496 อารีย์ถูกรงเสียชีวิตท่ามกลาง
ข่าวลือว่าเป็นคำสั่งจาก พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
ไอเซนธาวร์, ดใวต์ ดี. (Dwight D. Eisenhower) (2433-2512) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
( 20 มกราคม 2496 - 20 มกราคม 2504) นายพลท้าดาวในกองทัพสหรัฐฯ และทำ
หน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายสัมพ้นธมิตรในทวิปยุโรปในช่วงสงครามโลก
ครั้งที่สอง นโยบายหลักของไอเซนทวร์คือการหยุดการขยายอิทธิพลของสหภาพ
ไซทขต ไอเชนฮาวร์เป็นผู้เผยแพร่ทฤษฏีโดมโน จิงมีนโยบายที่เข้มข้นและมุ่งตรง
ต่อประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านความช่วยเหลือทางการทหาร
และการดำเนินสงครามจิตวิทยาในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯ ภายใต้การนำ
ของไอเซนฮาวร์จึงเป็นช่วงที่ซีไอเอมีบทบาทอย่างมากในการดำเนินสงครามจิตวิทยา
การปฏิบัติการลับ การจัดตั้งกองกำลังกึ่งทหารเพื่อทำสงครามกองโจร การโฆษณา
ชวนเชื่อ การดำเนินการทางภารเมืองทั่วโลกเพื่อป้องกันมิให้เกิดทฤษฏีโคมิโนตาม
ที่สหรัฐฯวิตก สำหรับไทยนั้น สหรัฐฯ ให้ความสนใจไทยในฐานะพื้นที่ยุทธศาสตร์
สำคัญในภูมิภาค สหรัฐฯจึงต้องการสร้างไทยให้กลายเป็น “ป้อมปราการ” ของการ
ต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐฯ อนุมัติแผนสงคราม
จิตวิทยาที่มุ่งปรับเปลี่ยนความคิดของคนไทยให้หวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์ที่จะ
คุกคามสถาบันกษัตริย์ จารีตประเพณี และเอกราชของไทยไห้ส้นไป โดยหวังว่าจะ
ทำให้คนไทยร่วมมือกับสหรัฐฯ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ ผู้นำไทยทุกคนก็
ต้องไปพบไอเซนฮาวร์ที่กรุงวอชิงตันดี. ซี. ทั้งสฤษดี้ (2497 ) เผ่า ( 2497 ) และ
จอมพลป. (2498) รวมทั้งพระยาศรีวิสารวาจาในฐานะตัวแทนของในหลวงรัชกาล
ที่ 9 (2497)
คันนาห์ , นอร์แมน เอช . ( Norman H . Hannah) เจ้าหน้าที่ชีไอเอผู้ปฏิบัติงานในฐานะ
เลขานุการโทของสถานทูตสหรัฐฯเมื่อครั้งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรองกงสุลสหรัฐฯ
ประจำเชี่ยงไฮ้ เขาปฏิเสธการอนุญาตให้ปรดีเดนทางเข้าสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสัญญาฌว่า
ท่าทีของสหรัฐฯ ต่อปรีดีเปลี่ยนไปหลังรัฐประหาร 2490 นอกจากนี้ คันนาหยังสนิท
สนมกับ พล. ต.อ. เผ่า และสนับสนุนให้ตำรวจจับภริยาและบุตรชายของปรีคในกรณี
กบฏสันติภาพเมื่อปี 2495 อีกด้วย

364
ดรรชนี

ก กาปี กาจสงทราม, พล.ท., 51, 59ท ,


ก้กมินตัง, 34ท14, 49ท48, 74, 78-79, 86, 100-101, 106-7
-
88 89, 94, 96 สารคดีรกลับ เรื่องสถานะการณ์ของ
กฎอยการลึก, 109 , 223 ผู้ลมตน, ทนังสือ, 99, 102
กบฎแมนรดต้น, 106-11, 153 ก้าน จำนงกมิเวท, พ.ท , , 59ท
-
กบฎวงหลวง, 76ท28, 78 79, 106, 215 16 - การด้งทารรัฐมนตร 4 คน, 79, 81ท44 , 186
กบฎด้นสภาพ, 65nl 1, 123ท95, 201ท78, การปฏิรูปที่ตึน, 87, 154, 163
204 การเมืองสามเด้า, 251
กบฏเสนา? การ, 75, 76ท28, 122ท89 การเลือกด้ง, 32, 62, 172, 258, 261
กรมประมวทราชการแผ่นสิน, 139, 160, ปี 2488, 32ท9
181 ปี 2489, 36, 45, 51ท52
กลุ่มประเทศไม่ฝืกใฝ่ฝ่ายโค (Non-Aligned ปี 2491, 67, 72
-
Movement : NAM ), 170 71, 174, ปี 2495, 120, 121ท87
219, 269 และดู บันตุง -
ปี 2500, 167, 196, 209 14, 216,
-
กระทิงแดง, กลุ่ม, 12 13 - - -
218 19, 221 23, 225 26, 237, 257 ,
. -
กรืฟฟิน, อา! 0 ลเลน ( R. Allen Grif 269
fin), 93 การวิก จกรพ้นธุ, น.จ., 29ท6
กฤษณิ สวะรา, พล.อ., 250ท29 กรณีสวรรคต, 42, 46-47, 51ท53, 70 , 232
กอกบัดรัย์ สวัสดีวัตน, ม.จ., 29ท6 การสืบด้นฅฅางคํ, 29, 31, 36, 37ท22
กองพล 94, 96 แสะดู ก๊กมีนด้ง กิตินัดดา กัติยากร, ม.ปี ., 29ท6
ชุนลึก กักดนา และพญาอินทวิ

กิตติศกค ศรีอำไพ, 188, 190, 251 กับรัฐประหาร 2490, 49-51, 53-54, 60


! .
กิทมอ วิลเลืขม เอ็น. (Maj Gen William กับรัฐประหาร 2500, 240- 41, 247, 249
N. Gillmore), 133, 141 คืนอิสระให้สำนักทรัพย์สินฯ, 67
กงอาณานิคม, สภาวะ, 3-4, 10, 15, 17, .
ตั้งคณะกรรมการร่างรธน 2492, 74
267, 270 ตั้งพรรคประชาชิป้ฅย์, 34
กบุท จันทร์เรอง, 34ฑ14, 201ท79 ถูกจี้ให้ลงจากอำนาจ, 73, 88, 103,
กลลดา เกษบุญชู มด, 16, 18 153, 266
กูซแมน, จาไคโบ อาร์เบนซ์ (Jacobo Arbenz ที่ปรึกษาของ ร. 9, 163-64
Guzman ), 142 นิรโทษกรรมรอยลสิสฅ์ , 29
เก่งกิจ กิต็เรียงลาก, 18 บ่อนทำลายปรืด,ี 32, 35-36 , 44-45,
เกจ, บาร์กลีย (Sir Berkeley Gage), 230 46ฑ 43, 219
เกรย์, กอร์ดอน (Gordon Grey), 179 แผนทำลายผลการเลือกตั้ง 2500, 222 ,
224
ข แผนเปลี่ยนสาธกไรสืบสันตติวงศ์, 70-72
ขบวนการกู้ชาติ, 4 , 24 , 123-24 รัฐบาล -หลังรัฐประหาร 2490, 62-66,
'

ขบวนการชาตินิยม, 24, 55-56, 91 85 -


ขบวนการนักศึกษา, 12 , 225 26 - เรียกร้อง รธน, 2492 กลับมาใช้ใหม่ , 190,
-
ขบวนการสันติภาพ , 123 25 212

-
ขบวนการเสรีไทย, 4, 25-26, 28 30, 32 - 35, อ้างพระปรมาภิไธยในการหาเลียง, 213
56, 75, 79, 155, 201ท7ร, 265 ความตกลงสมบุรฟ้แบบ ( Formal Agreement
ข้อตกลงเบรตติ'นวดสั ( Bretton Woods for the Termination of the State of
System ), 23 War between Siam and the United
เขมชาติ บุณขรัตพันธุ, 61 ท2, 99 Kingdom and India), 27, 73
ความทรงจำบาดแผล, 17, 19
ค คอร์ไครัน, ทอมมื (Tommy Corcoran), 94
คงฤทชิศึกษากร, ขุน, 60 กัดเลอร์, โรเบิร์ต ( Robert Cutler), 130
คณะกรรมการนเรศวร, 138 ศึกฤทธ ปราโมช, ม.ร.ว., 260, 43ท33,
-
คณะปฏิวัติ 2500, 225ท40, 255 59, 261, 46ท43, 66ทไ 2
263 กับรัฐประหาร 2490, 60, 64
คณะพลเมืองใหม่, 63 กับรัฐประหาร 2500, 229
คฒะวัฒนธรรมไทย, 234ท62 คดหมิ่นประมาทบิชอป, 225, 258,
ควง อภัยวงศ์, 26, 33ท111 118, 211, 222, 262ท60
229, 233-34 ต่อต้านรัฐบาลจอมพลป. 202, 203ท81,
1

กับกบฎแมนจัฅกัน, 107-9
,
210, 226
กับกบฎเสนาชิการ, 75ท27-28 ตั้งพรรคอ้าวหน้า , 31

366
คราชนื

ทำลายปรืด1ี 53 226, 230-31, 235, 238, 243,


แผนเปลี่ยนสายการสืบสนตตวงค์, 70 -
247 48, 256- 57, 261 , 269
แผนสร้างความนิยมให้กับสถาบันฯ, -
พรรคคอมมวนสต , 89, 94, 169
162-63 รับรองการรัฐประหาร 2490, 62
แผนทำลายผลการเลอกฅั้ง รับรองรัฐบาลโชีซิมนท์, 90
2500, 222 ท30 สนับสนุนกบฎวังหลวง, 78
ร่วมดั้งพรรคประชาธิปัฅย์, 34 สนับสนุนกลุ่มประเทศไม่ฟิกไฝ่ฝ่ายได,
คูซมุค, วอณตอร์ พื , (Walter p, Knz- 170-71
muk), 96ท26, 138ท30 สนับสนุนเวิขดมืนท์ , 127
และดู กกมินดั้ง ; คณะวัฒนธรรมไทย ;
ฆ โจาเอ็นไหล ; แผนกลับไทย ใน ปรึดี ;
โฆษณาชวนเชื่อ, 128, 134, 136-37, เทมาเจ๋อตง
149-50, 158-61 ขีนคณะชาติ , 5, 127 แทะดู ก๊กมึนดั้ง
ซิรวัสส์ ปืนธารชุน1 262ท61
จ จรดนัข กิฅยากร , ฆ .ซิ., 29ท6
จงกล ไกรฤกษ์, ร,ท., 31 จุมภฎพงษ์บริพัตร, พระองณ์จ๋า, 36, 42,
จรูญ สืบแสง, 51ท52 -
44 45, 53, 70
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 6, จุลซิอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระ, 6,
9, 10ท11, 16 11-13, 15 16 -
จอหน, โฮเวิร์ค พี. ( Howard p. John ), 230 เจสสป, ฟิลลิบ่ ซี . ( Phillip c. Jessup), 86,
จอท์นสน, ยู . ชิเลกซิส ( บ. Alexis John- 90-91, 93
son), 262 แจคสัน, ซี . ดี. (C. [) . Jackson), 130
จอห์นสน, สินดอน เบนสั ( Lyndon Raines โซิวเอ็นไหล, 175-76, 191
Johnson), 94ท23 ใจ อื๊งภากรฌ์, 19
จักรพันธ์เพ็ญสริ จักรพันธ์ , ม . จ., 61
ขันทวาร์าฅย์ (นามปากกา ) , 42 ฉ
จา Iบุตร เรืองสุวรรณ, 105ท49, 216
!
จ๋าเนียร วาสนะสมรท พ.ค. ค 75ท28 ^
เฉลิมขัย ซิา วัสตร์, พ.อ., 257
เฉยบ ขัยสงค์ (ขัมพนันทน์ ) , ร.ต.อ ,
,

จำลอง ดาวเรือง , 34ท13, 63 215-16, 227, 229


ชิน,

-
กรรมกร ก่อความไม่สงบ, 35
ทำทึเป็นมิตรต่อไทย , 175-76

ชม แสงเงิน, 215
ทูตลับจากไทย , 193, 195, 211 ชมพู อรรถจนดา, พ.ด.อ. , 201 ท79
เปิดความสัมพันธ์กับ-, 18, 191 -92, ชวน รัดนวราหะ, 188-89, 251
196-200, 205-7 , 212, 215, 219, ชะตากรรม‘บองราชะ, หนังสือ, 161

367
ชุนศึก สักคนา แคะพญาอนทรี

ชัยนาทนเรนทร สนเด็จพระเจ้าบรนวงศ์เธอ
1 169-70, 173, 175-76, 183, 198, 206,
กรมพระยา 242-43, 247, 271
กับรัฐประหาร 2490, 66 ซีบัลค, วิณลยม เจ. (William J. Sebald ),
ขัดแย้งกับรัฐบาลจอมพลป., 103 197
สัคค้านการแต่งตั้งจอมพล ป. เป็นนายกฯ,
72-73 ญ
ต่อค้านปฏึวัต 2475, 54 ญาด ไหวดี, 242
ไม่เห็นต้วยกับภารประกาศภาวะฉกเฉน, ญี่ปุ่น, 4, 6, 23, 26, 28, 49, 55, 57, 65,
77 -
86 87, 197, 213
ไม่อบุญาคให้ขันสตรพลิกศพ ร. 8, 38
ลงนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2490, 60, ณ
63, 266 ณัฐพล ใจจรง, 18
สนับสนูนราชสกุลมหดล, 31
ช้างงาแดง (นามแฝง ) , 233 ค
ซาฅชาย ชุณหะวัณ, พล จ , , 60ท, 89แ6,
1 ดัลเลส, จอห์น เอฟ. (John F.
142ท35, 250 Dulles), 145ท42, 217ท16, 219
ชำนาญอรรถยุทธ์, หล.ร.ด. หลวง, 138ท29 เขาเสา ร. 9, 166
ชํค มั่นสิลปื สินาดโยธารักษ์, พล.ท., 75, เข้าพบจอมพลป , , 173, 198
76ท28, 107ท, 113
ชีค, เจฟเฟอร์สัน เออร์เนส ( Ernest
-
ปฏิกิริยาเมื่อโทยค้ากับขิน, 199 200
ปฏิกิริยาเรื่องปรืดีจะกลับไทย , 215
Jefferson Cheek ), 96
ชื่น ระวิวรรณ, 82
-
พล.ค.อ. เผ่าเข้าพน , 144 , 179
วิเคราะห์การเมืองไทย, 177, 181-82,
เชอรัลี่, แจ้ค (Jack Shirley), 179-80 210, 235
แช่ม พรหมยงสั, 216 สนับสนูนทางการทหารแก่ไทย, 128- 29
ไชย้นต์ รัชชกูล 16
1 สนับสนูนสถาบันกษัตริย,์ 259
สนับสนูนสฤษค, 237, 247
ฃ ดัลเลส, ลัลเลน เวลข์ (Allen Welsh
ชัน หงอก ทัน, 122
ชิมเมนน์, โรเป็ร์ต เอช. ( Robert H ,
-
Dulles), 138, 144 45, 150, 192
ดึลกฤทชิ้ กฤดากร ม.จ., 174ทไ 5
-
1

Zimmemn ), 138 n 30 ดิเรก ขัยนาม, 75, 245 46


ซีซับพลาย ( เชัาท์อึสค้ เอเชีย ซัพพลาย เดช สนิทวงศ์, ม.ล., 66ท
— South East Asia Supplies), 94,
96-97,ใ 38
เดขนเบียนฟ, 135, 142, 151, 169, 191,
268
ซีใต้ (องศ์การสนธสัญญาป้องสันภูมิภาคเอเชีย เดึอน นูนนาค, 33เไ13
ตะวันออกเฉียงใด้ Southeast Asia โดโนแวน, วิลเลิยม เจ. (William J.
-
Treaty Organization : SEATO), 151 52, Donovan ), 62n, 130ท9, 137ท28, 142

368
สรรขนิ
'

กับท่าท่สหรัฐฯ ต๋อปรึด, 64, 130 โครงการข้อที่ส,ี่ 85, 90


ที่ปรึกษารัฐบาลไทย, 145-46 ดั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านฃฅวิทยา,
ทูตสายเทm A
ว, 144 149ท
ยุทธวิธึปัอมปราการ, 131-35, 151 สนับสนุนฝรั่งเศสในอนโตชีน, 55
สนับสนนเผ่า, 140, 184 ทฤษฏีการพัฒนาการเมอง ( Political
เสนอแนวคิดใช้สถาบันกษัตริย์ในแผน Development), 10-11, 14
- -
สงครามชีตริทยา, 155 56, 158 59, ทฤษฏีความท้นสมัยทางการเมือง ( Political
164 Modernization), 10-11, 14
และคู คฌะกรรมการนเรศวร ทฤษฏีโคมโน, 127- 29, 135, 169, 171,
268
ต ทวน วิชัยขัทคะ, พ.อ , , 77ท36
14 ตุลา 2516, 12, 14, 19 ทวี จุลละทรัพย์, น.อ., 119ท82, 142ท35
6 ตุลา 2519, 12, 14, 19 ทวี คะเาท้กล, 79, 81
ตัน, มิตเชล ( Mitchell Tan), 18
ตำรวจตระเวนชายแดน, 19, 96-97, 109,
-
ทวี บุณยเกตุ, 26 27, 75ท27
137, 158
..
ทหาร ขำหิรัญ, พล ร ด ,, 75ท 28, 79,
ตำรวจพลร่ม, 109, 138-40, 158
-
105 7ท, 196ท64
ทองอยู่ พุฒพัฒน์, 188
ลุลย์ บุนนาค, 108ท55
ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ 34ท13, 63
เดีขง สรขันธ, 34ท13, 63, 101, 105,
-
7

ทนืมสัน, เจฟฟ่รึย์ (Geoffrey Thomp


-
121 124 son ), 48, 64
ไต๋ ปาณิกบตร, 34
ทอมสัน, เจมส์ (James Thomson), 25,
ไดรภาคี, 237, 256, 270
35แ, 105
ทูตลบ, 193, 195, 211

ถนอม กิดตขจร, จปีนพล, 12 , 59ฑ, เทพ โชติบุชีส , 188, 245
138ท29, 255 เทพวิทูร1 พร!;ยา, 67ท14
ถวัลย์ ชำรงนาวาสวัสด, พล.ร.ต., 26, เทย์เลอร์, เฌกซ์เวลล์ ( Maxwell Tay-
33ท12 , 46, 52 , 62, 71, 75ท28, lor), 179
99-100, 245-47 เทาธุทธิพนแก5 พล.อ ท, หลาง, 101
1
8

ถวิล อุดล, 33ถใ 3 เทอร์เนอร์, วิลเสียม (William Turner), no


ไถง สุวรรณท้ฅ, 45, 188 เท่ยม ขัยนนท์, 34

ท ธ
ทม ชีดรวิมล, พล.ด.จ, 81ท44 ชงชัย วินิจจะทูล, 15, 19
ท3แมน, แชรี เอส. (Harry ร. Tru- ชนา ใปษยานนท์, พ.ด ,ท., 113ท 70,
-
man), 24 25, 65, 88, 92-93, 97 144ท38

369
ขุนดีก ศักดินา และพญาอินทรี

ธรรมศาสตร์และการเมือง, มหาวิทยาลัยวิชา, นิรันดรชัย, ร.ท. ขุน, 49ท48, 72ท20


160, 187, 224 ณดร เขมะโยธิน, พล.ต., 75ท28, 200ท80
ธานึนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (ม.จ. เนลลส, จอรจ (George NelJis), 78, 79ท4 ใ
ธานึนิวัต โสณกุล ) , พระวรวงค์เธอ เนห์รู, ชวาหะร์ลาล ( Jawaharlal Neh -
พระองคเจา
๙ V
, 6ท, 113 ru), 170
กับกบฏแมนฮัตดัน, 107-8
กับรัฐประหาร 2500, 229, 239, 260-61
โนร์แลนด์, วิลเลียม (William F. Known
land ), 135
-
,
การต่อสู้ทางการเมืองแบบใหม่, 153,
159 บ
คณะกรรมการสืบสวนกรณีสวรรคตะ 42 บรรจงศักดิ้ ชีพเป็นธุ[ข, พ. ต.อ., 75ท28, 81
1

โจมต็ปรีดึกรณีสวรรคต, 38, 40 บริพัตร, ราชสกุล, 36, 70


ไม่พอใจรัฐประหาร 2494, 114, 116, บัญญัด เทพหัสดิน ณ นืยูธยา, พล.ท., 59ท,
118-19 114, 121, 244ท15
บันลุง, เมือง (การประชุมกลุ่มประเทศ

นราธิปพงฅ์ประพันธ์ (ม.จ.วรรณไวทยากร
- —
เอเชีย นอฟ่วิกา Bundling Confer
ence), 170-71, 174-76, 191, 207,
-
วรวรรณ) , พระเจ้าวรวงค์เธอ กรมหมื่น, 219, 269
ทิชอป, แมกซ์ ( Max Bishop), 138, 180,
-
49ท48, 89, 174 76, 193, 240ท9
182, 195, 200, 213, 217, 230, 238,
นฤเบศร์มานิด, หลวง, 72ท20, 75ท28
250, 257, 258n 48
นโยบายเป็นกลาง, 175, 200, 210
!
คดีความกับคกฤท 225-26, 258
นลราชสวัจน์ (ทองดึ วณิคพันธ์ ) , พระยา,
37ท22 !
ไม่สนับสบุนสฤษ 239-40, 247
ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร 2500, 259,
นวพล, กลุ่ม, 13
262
น้อม เกตุนส , พ.อ., 59ท
บุญมาก เทศบุตร, พ.อ., 239ท6
นักชัตรมงคล กิด็ยากร, ม.จ., 113ท70 บุญยัง สันธนะวิทย์ , 190
นักโทษการเมือง, 31, 50, 52, 60, 66, บุรณกรรมไกวิท, หลวง, 244ท15
204, 243 เบอร์คีย,์ รส'1'ชลล เอส. (Russell ร.
นิกสัน, วิชารด ( Richard Nixon ), 135, 200 Berkey), 90ท10
นิตยสาร
1ทมส (Times), 99 -
เบาไดํ, จักรพรรดิ, 89 92, 98, 267
เบิรด, วิลลิส (Willis Bird ), 25, 61ท5, 88ท,
นิดศาสตร์รับศตวรรษใหม่ , 218
สยามสมาคม, 6ท
-
93 94, 96, 109
โบวิ, แคทเธอรน ( Katherine A. Bowie), 18
นิทัศนาธร จรประวัติ พ.ต.ม.จ., 62, 89ท6
1

นิมิตรมงคล นวรัตน์, ม.ร .ว 31 ป


-
นิรโทษกรรม, 30 31, า 95, 201ท78, 204, ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 12,
215, 231, 243, 18, 68

370
ดรรชนื

ประกอบนิติสาร, หลวง, 67ท14, 102 ขนเสนนายกฯ, 35


ประจวบ อมพะเศวต, 261 คืนดีกับจอมพลป,, 210, 247, 251
ประจกษ์ ก้องกิรด, 18 ตั้งพรรคการเมือง, 33
ประชาชิปไฅย ถูกใลัร้ายกรณสวรรคค, 38, 40-47,
ความพยายามสร้าง-ของจอมพล ป- , 52-55
167, 169, 182, 187, 210, 216, ปลดปย่อยรอยัลลสฅ์, 30-31
218, 269, 270 แผนกลับไทย, 195, 211-12, 214 19, -
^มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข, 68
และค ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย โน
-
226 27, 229-35, 238, 243, 252,
256-58, 269
ราชาชาตินิยม แผนยึดอำนาจคืน, 77-79, 105-8
ประเทีอง ธรรมสาลี , 103 แผนตั้งรัฐบาลพลัดถี่น, 63-64
ประพนธ์ บุนนาค, 144ท38 ลัมเหลวไนการกลับส่เวทีการเมือง, 83,
ประภาศ วัฒนสาร, 75แ27
ประภาส จารุเสถียร, พล.ท., 59ท, 250
-
110 11, 265-67
ยบขบวนการเสรไทย , 32
ประมาณ อติเรกสาร, พ.ด. 59ท สนับสนุนควงเป็นนายก, 29
ประยูร ภมรมนตรี, พล.ท., 48, 49ก 4ร, สนับสบุนเวิยคมนห์, 56
72 ท20 สหรัฐฯ เลกสนับสมุน, 57, 62, 65
ประยูร อภัยวงศ์, 43ท35
เสนอ ร. 9 เป็นผู้สืบลันฅติวงศ์ , 37 ท22
ประวัติศาสศร์นิพนธ
และด กบฎเฌนลัดด้น ; กบฎวังหลาง ;
^ แนวใหม่, 14, ไ 9
กบฎเสนาชิการ ; กรณีสวรรคต ;
-
- ฒบราชาชาตินิยม, 5, 9 11, 15-17
ขบวนการเสรีไทย ; พรรคแนว
- แบบราชาชาตินิยมประชาธิปไตย , 12,
14 ร้ซธรรมนูญ ; พรรคสหชีพ ; รัฐประหาร
2490 ; ลันนิบาดเอเชียตะวันออกเฉียงไต้
-
~ยุคสงครามเย็น, 3 4 , 8
ป๋วย อึ้งภากรณี, 144 ท38, 174ท15, 240ท9
ประศาสน์พิทยายูทธ , พล.ท. พระ 72ท20
ปาล พนมยงฅ์ , 234
1

ประสิทธ เทียนคิร,ี 222ท29


ประสืทธี้ สุลีตานนท์ 79ถ41 เปเลา) ชิ เมา'ริซโอ (Maurlzio Peleggi )* 17
7

-
ประเสรีฐ กุดบรรทด, ร• อ > 61 ท 2

ประเสริฐศภมาตรา , ขุน, ใ 87
ประหยัด ศ. นาคะนาท , 202 ผัน นาวาวจด, พล.ร.ต., 108ภ54
ปรีชารณเสฏจ์ , ร. อ. ขุน, 59ท ผืน ชุณหะวัณ, จอมพล, 92ภใ 5, 173, 250
ปรีดานฤเบศร้ (ฟ้ก พันธุฟิก) , พระยา, การประชุม 4 จอมพล, 247 ท22
222ท30 แกนน่าคณะรัฐประหาร 2490, 51, 59ถ,
ปรติเทพย์พงษ์ เทวกุล, ม.จ., 100 60ก, 61, 63, 79ท43
ปรดี พนมยงศ์ ท้าทายจอมพลป., 180 81 -
กับการเมืองในราชสำนัก, 36- 37 -
ขัด แย้ง กับค่ายสี่เสาเท เวศน์, 120 21

371
ชุนลึก สักดินา และพญาอินทรี

ขัดแย้งกับพส.ท. กาจ, 99-102, 106 แผนนำปรีสิกลับไทย, 211-12, 214-16,


1

เตรียมต่อต้านรัฐปวะหาว 2500, 253 - -


219, 226 27, 229, 231 32, 23$,
ถอนตัวออกจากธุรกิจ, 243, 244ท15 246
ปราบกบฏแมนรัตดัน, 107, 109 แผนสาจารณรัฐ, 233, 235, 240
ส่งทูตลบไปจน, 195 ยอมถอนตัวจากการค้า, 243, 244แ15
หัาหน้าคณะรัฐประหาร 2494, 114, 116 สนับสนนการเปิดการค้ากับจีน, 191,
-
ผูสำเร็จราชการ , 103-5, 112 13 193, 195-96, 269
-
คณะ ชั่วคราว , 37ท22, 60, 73 สร้างฟันธนตรกับฝ่ายซ้าย , 245
เสนอไหขับกุมกนัดริน้ 222: 223ท32,
และด ชัยนาทนเรนทร ; ธานีนิวัด ; ปรีดี
พนมยงค์ 244
เผด็จการทหาร, ระบอบ, ] ], 14, 17-18, และดู การสังหารอดีตรัฐมนตรี 4 คน ;
259n50, 263, 270 ชิเรยนยิดเป้า ; ทูตลับ
เผ่า ศรีขานนท์, พล.ต.อ., 103, 173,
-
249 50, 77 ท36, 114ท72, 118, ฝ
ฝรั่งเศส, 24, 96ท25, 144, 152
119ท82
กับการเสยชีวิตของพวริฟ่อย, 180 ข้อพพาทไทย- ฝรั่งเศส, 55-56, 73
แกนนำคณะรัฐประหาร 2490, 59ท, แพทเคียนเบียนฟู, 142, 151, 169,
191, 268
60ท, 71, 72ท20
ความสัมฟันธ์กับเตืยง, 101, 105, -
สหรัฐฯสนับสมุน , 89-90, 93, 127 28, -
135
และดู สนธสัญญาไทย- ฝรั่งเศส
120- 22
แข่งขัไเกบสฤษด้, 110, 171, 177-78, ฝ่ายซ้าย
181-82, 201 -2, 209, 221 , 237, กับเผา, 122, 221, 229, 233, 245
239, 242, 251, 267-6$ กับรัฐบาลจอมพลป., 164 , 186, 213
เข้าเฝืา ร. 9 ที่ไลซาน, 112-13 กับเวทไฮด์ปาร์ค, 188, 201
จบกุมกาจ, 102
โจมดีศกดินา, 172, 210 *
กับส ) ษด, 224, 237, 241-42, 251
ความเป็นอื่น, 12
ใช้นสพ. โจมดืสหรัฐฯ, 204 ไต้รับนีรโทษกรรม, 231, 243
-
เดึนทางไปสหรัฐฯ, 141, 144 46 179 ต่อต้านสหรัฐฯ, 202-4, 206, 262
ใต้รับการสนับส,บุนจากซ็ไอเอ, 137-40
ต่อต้านรัฐประหาร 2500, 252-56
-
นักศึกษา , 49, 11511, 218
พรรคการเมือง'-, 210, 219, 221 , 248
ต่อด้านขบวนการสันติภาพ, 123-25 เหตุการณ์เสยงปีนแดก , 263ท62
ปราบกบฎวังหลวง, 79 และคู ขบวนการกู้ชาติ ; ขบวนการ
ปราบกบฏแมนรัตตัน, 106-7 สันติกาพ
เป็นเป้าไจมต็ในเวทไสด์ปาร์ค, 186,
188-90, 224, พ
ท้าทายจอนพลป., 183-84 พจน์ เกกะบันทน์, พ.ค. ค 113ท70

372
ด7รชนื

-
พจน์ สารสิน3 89 90, 92ท16, 129, 131,
152 ท6, 183, 197, 206, 217, 230,
พรรคนาวิน3 106,108
1

พระราชกำหนดคุ้มครองความสงบสุข
238, 258, 260 61, 263 - 2490, 63
พร มะสิทอง3 50ท49 พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแท่ผู้กระทำความ
พรรคการเนือง ผีดฐานกบฎและจลาจล พ.ศ . 2488, 30
กษครยนยม, 70, 82 พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็น
คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท. ) , คอมมิวนิสต์ พ.ศ . 2495, 124, 195, 218
124, 221, 233 พลสินธวาณฅก์, พล.ร.ต. หลวง, 79ท43
ชาตินิยม, 216 พวงทอง ภวัครพันธุ, 19
ธรรมาธิบีตย์ , 48 พันศ้กด้ วิเศษภักดี, พ.ฅ.อ., 201ท?9, 212
แนวรัฐธรรมนูญ, 32ท9, 33, 36, 50, พาร์ทรีดจ์, อา!ซี . ( R .c. Partridge ), 242 ,
100 259
ประชาธิปไตย, 102 !
พาอัมเมอ วิณลืยม (William Palmer), 25
-
ประชาธิป๋ฅย์, 42, 62, 70, 82 83, 99, 1
พาสัมเ:มอ โสวาร์ด (Howard Palmer), 25
-
101 4, 106 , 188, 214, 218, พิชิต วิชัยธนพ้ตณ, ร .ต.ท., 144ท38
221- 22, 232, 235, 241
กับรัฐประหาร 2500, 245, 252
-
พิชิตธุรการ, พ ต.อ. หลวง, 81 ก 44
พินิจชนกดี (ด่าน ยกเซีง หรือเชื้อ อินทรทฅ) ,
a
การกอตงพรรค
f
-, 34-36 พระ, 34
ใจมดีปรีด, 38, 41, 44-46, 53-54 พิวัรฟ่อย, จอห์น 0 . ( John E. Peuri-
ชนะเลือกตั้ง 2491, 67-68 -
foy), 142, 144 45ท42, 173-74,
นโยบายรัอฟินรัฐธรรมนูญ 2492, -
177 80
190, 212 พีร์ นูนนาค, 188

สนับสนูนจอมพล ป. กลบสิอำนาจ
-
ร . 9 สนับสนูนเงินให้ , 244, 247 พึ่ง ศรีจันทร์, 61ท3
พูฒ นูรฌสมภพ, พ, ต.อ 113ท70, 202ท79,
-
1

50 52, 60, 266 212, 254ท38


อัางพระปรมาภิไธยในการทาเสียง 1 พูนสุข พนมยงฅ์, 123ท95, 227, 232, 243
210, 213 เพทาย ไชตินูชิต, 188
และ?! คาง อภัยวงศ์ ; เสนีย์ ปราโมช เพิ่ม วงศ์'ทองเหลือ, ใ 88
ศรีอารียเมดไตรย์ , 233ถ60 เพียร ราชธรรมนิเทศ 67ฑ14
1
7

เศรษจกร , 210, 221, 245 เพื่อไทยเป็นไท, ภาพยนตร์, 161


สหชพ, 33, 35-36, 49-50, 100
สหกมิ , 237, 239, 242, 247ท23, 249 ฟ
สาธารณรัฐ 54 7 ฟอง สิทธิธรรม, 82
เสรีประชาธิป" ดย , 210, 216, 221, 245 ฟ่อร์ด, ยูจน ( Eugene Ford ), 19
เสรีมบังคสิลา* 209, 216, 221, 245 ฟิลลิปส์ , นมทธิว ( Matthew Phillips), 18
พรรคนาวิกโยธิน, 104ฑ46, 106-107 ใฟ่น์แมน, แดเนยล ( Daniel Fineman ) , 18

373
ขนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

ภ เมอร์ฟิ 7 โทบิร์ฅ แดเนียล ( Robert Danial


ภาคนับ จกรพันธุ, ม ร.ว., 62
, Murphy ), 258
ภาณหัน(ยุคล, พระองค์เจา, 34, 36, 42, เมาทแบตเทน, , หลูยศ์ ( Louis Mounthat-
43ท33, 52 - 53, 60, 75ท28, 229 ten ), 26, 28
ภีศเดช รัชน, ม.จ., 29ก6 แมคคาฟฟ่ร,ี่ ฮืว ( Hugh McCaffrey), 179
ภูมิพลอตุลยเดช , พระบาทสมเด็จ แมคโดนัลด์ , ณลึก'ชานเดอร์ (Alexander
พระเจ้าอม่หัว, 71, 248ก 25 MacDonald ), 25, 71, 105
ความดึงเครียดกับปรืดี, 41, 46
โครงการเสด็จชนบท, 163-67, 214 ย
ต่อต้านรัฐบาลจอมพลป., 153, 253 ยุคล, ราชสกุล, 36
ถูกกล่าวหาว่าสนับสนนพรรฅ ยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) ,
ประชาชิปัตย์, 210, 244 จอมพลเรือ หลวง, 119ท82, 247ท22,
ท่าทีต่อรัฐธรรมนูญ 2492, 112-13 254
ท่าทีต่อรัฐธรรมนูญ 2475, 116, 118 เย่ห์, เค. ซี. ( K. c. Yeh ), 78ถ37
ท่าทีต่อรัฐธรรมนูญ 2475 แกไข เยื้อน ประภาวัต, พ.ต,ท., 113ท70
2495, 119 ไยสต์, ชารีลส์ ดับบฐ. ( Charles พ.
นวัตพระนคร, 111, 115 Yost), 25, 32ท10, 40
พอใจรัฐประทาร 2490, 61 ไยสท์, ปืเฅอร์ ( Peter Joust), 96ท26
ไม่พอใจแผนนำปรีดีกลับไทย , 229
ไม่พอใจรัฐประหาร 2494, 267 ร
สนับสมุนรัฐประหาร 2500, 255, 257 รณนกากาศ (ข็น ฤทธาคนี) , จอมพลอากาศ
สรัางพันธมิตรกับสหรัฐฯ, 154- 55 ขุน, 92แ15, 119ท82, 138ท 29,
รบลันคดีวงฅ์, 37ท22 179ท29, 247ถ22, 253
แล?ดู กรณีสวรรคต รวม วงศ์หันธ, 50ท49
รวย อภัยวงศ์, พ.ท., 75ท28
น ร็อกเกอร์, โรว ( Rheu Rocker), 96ท26
24 มิถุนา 2475 ( การปฏิวัต็ 2475) , 11, 14 ระบบขุมนาง, 172
^ .
มนัส จา ภา , น ด., 107-108ท54
มนู อมาตบกุล, 174ท15
ระบบราชการ, 11, 100, 154, 172 , 214
รักตประจิตธรรมจำรัส, พระยา, 60 ท
มหิคล, ราชสกุล, 29, 31, 36, 38, 44, 66, รักษ์ ปันยารขุน, 207
70 รังชิยากร อาภากร, ม.จ., 79ท43
มังกร พรหมโยชิ , พล.ท., 72 ท20, 101 รัฐธรรมนูญ, 214, 216
มานวราชเสรี (ปลอด วิเชยร ณ สงขลา ) , รัฐธรรมนูญ 10 ชันวาคม พ.ศ . 2475, 74,
พระยา, 37แ22 81, 114-16, 118, 153, 190
เมลบ, จอทน เอฟ. ( John F* MeLby ), 97 รัฐธรรมนูญ พ.ศ . 2489, 35, 45, 60

374
ค'3รชนี

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490, 51ท53, 60 62 , - แรดฟอร์ด, อาเธอร์ (Arthur Radford), 141


74, 152, 266
รัฐธรรมนูญ พ.ศ . 2492 (รัฐธรรมนูญ
โรเบร์ฅลัน, วอสเตอร์ ( Walter Robert
son), 144, 206
-
-
รอย้'ลลิสต์ ) , 67 68, 70, 73 74 , 76, - โร'ว์, เจมส์ (James Rowe), 94ฑ23
-
81 83, 100, 102-5, 111 16, 118, -
-
152 53, 182, 188, 190, 212, 267 ล
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 แก้ไข 2495,
118-19, 121, 154
.
สะม้าย อุทยานานนท์, พล.ต.ท , 59ท,
72 ท20, 244ท15
รัฐประหาร ลัดพลีธรรมประคัลภ, พระยา, 60ท
แผน-ของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ,
ลัทธิคอมมวนิสฟ้, 23
-
101
แผน ของพระองคเจาจุ

มภฎ, 44-45
1/ ลัทธิหลงใหลเจ้า ( Hyper-royalism), 12
แผน-ของพล.ท.กาจ, 102 ลูกเสือชาวม้าน, 18
รัฐประหาร 2490, 6, 26, 51-52, เลียง ไชยกาล, 34, 43ท35, 44, 82
-
54-57, 59 66, 70-71, 73, 77, S3, เลื่อน บัวสุวรรณ, 195ฑ62
เลื่อน พงษ์โสภณ, 51ท52 , 60-61ท2
85, 88, 100, 266
รัฐประหาร 2494, 267 แลนคธน, เคนเนท พี. (Kenneth P .
รัฐประหาร 2500, 229, 235ท62, Landon ), 25, 71 , 184
239-40, 245-49, 252-63, 270 แลนส์เคล, เธึดเวิร์ด (Edward Lans-
วงจรการ , 11 -
และคู กบฎนมนรัตคัน ; กบฎวิงหลวง ;
dale), 263
แลมเบิร์ฅ, แสืร์รึ ( Harry Lambert ), 138n 30
กบฎเสนาชิการ แลร์ , เจมส์ วิลเลียม (James William
รัตนธิบั หลวง, 174ท15 Lair), 96
ราชครู, ค่าย, 99, 106, 120 22, 173, - ไลเดคเกอร์ , เคอร์ต เฉฟ, ( Kurt F.
180-81, 186 , 190, 195, 243, 244ท15, Leidecker), 205
250
ราชาชาตินิยม, 5-6, 9-11, 15 17 - ว
~เประชาธิปไตย, 12, 14, 18 วรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์ ) , 100,
ร็าไพพรรฌี, สมเด็จพระนางเจ้า พระบรม
1

ราชนิ, 28, 29ก6, 29ท7, 31, 37ท22, 193


40, 53 วัตเนา อศวิภักดี, 174ท15
ริชารด, เจมส์ พี. (James Prioleau วัลลภ โรจนวิสุทธิ,้ พล. อ., 13, 223ท32,
Richards), 248 255
ริคจ์เวย์, เพทธิว บ. ( Matthew R Ridg - วิจิตร สุลีดานนท์ , 79
way), 141 วิจิตรวาทการ, หลวง, 47
รูสเวลห์, แฟรงกรน ดี. (Franklin D. วิชิต รัตนภาบุ, พ.ด.ค, , 113ท70
Roosevelt), 24, 130แ9 วิเชียร ศรืบันฅร, พ. ต.อ ., 254ท38

375
ชุนคิก คักคินา และพญาอ้นทรี

วิเชียรนาวา , พล.ร.ต. หลวง, 142 ท35 ศักดินา, ระบบ, 172, 211, 234, 241, 245
วิเชียรนพทยาคม, หลวง , 174ท15 ศภสวัสด้วงฅ์สนีท สวัสดิวัตน, น.ซิ ,, 29ท6,
วิทผูปีกกิ่ง, 125, 195, 212
วิทธุเสียงอเมริกา (Voire of America), 142,
-
30, 36, 38, 40, 46ท42 43, 63

146, 175 ส
วินก, ริชาร์ด ฟาน ( Richard Van Win
kee), 96 n 26
- สงครามเกาหล, 93, 97-98, 123, 127, 169,
191, 199ฑ73, 267-68
วิวัฒนไชย (ม.จ , วิวัฒนไชย ไชยนต์) , สงครามจดวิทยา, 13, 91, 127
พระองคเท, 66ท, 213, 240ท9 -

กับลักษณะประซิำชาตไทย 7 8
เวิยดมนห์, 24 , 56, 89. 96ท 25, 104ท46,
1

กับสถาบันกษัตริย์ , 18, 156, 158, 162,


127-29, 135 164, 166, 214, 235, 257, 268-69
ไวท์, ลนคอลน (Lincoln White), 259 แผน-ในไทย, 130- 33, 135, 150-52,
155, 205-6, 226, 256
ศ ไรงเรียนรักษาความปลอดภัย , 141ท34
ศรยุฑธเสน ( กระแส ประวาหะนาวิน) , พระยา, และคู สำนักข่าวสารอเมริกัน ( US3S) ใน
233
สหรั;รฯ
ศรานุขิต (สมบูรณ ศราบุช้ค) , พล.ต. หลวง 1
สงครามนอกแบบ (unconventi กภ at
75ท28
ศรากัยพิพัฒ ( เสื่อน ศราภัยวาน้ช ) , พระยา,
warfare ), 97, 138
66ท สงครามเย็ น , -
3 5, 7-13, ใ 7- 20, 57, 65,
ศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชดี) , พระยา , 74, 85-86, 149, 152ท6, 159, 170ท4,
102
257 , 262]ไ60, 263, 270
ศรีธรรมาธิฌศ ( จดร ณ สงขลา) เจาพระยา, สงวน จันทรสาขา, 242
1

33- 34, 67เใ14, 82, 113 สงวน จูๆทะเดมีย์ , 37ท22


ศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระ สงวน ตุลารักษ์ 35, 64, 78ท37
1

(พระบรมราชชนนีพันปืหลวง) 29 1
สงวน เขิราภา, พล.ร .ต., 108
ศรีวิสารวาจา ( เท้ยนเลยง ลูนตระกล ) , พระยา, สง่า เนื่องนิยม คู ช้างงาแดง
32ท, 33, 45, 66ท, 211, 213, 261 สแดนดัน, เอ็ดวิน เอฟ. ( Edwin F.
กับรัฐประหาร 2500, 257, 260 Stanton ), 25, 71, 90-92, 101n 41,
แผนโค์นรัฐบาลจอมพลป., 153 130, 155
วิเทโศบายของสถาบันฯ ต่อสหรัฐฯ, 154, กรณีจัดตั้งองค์กรลันนิบาตเอเชียตะวัน
158, 162, 164, 166, 268 ออกเฉียงใต้, 56
สภาร่างรัฐธรรมนญ 2492, 67ท14, ความเห็นต่อรัฐธรรมนญ 2492, 68, 70
104ท46 ความเห็นต่อรัฐบาลจอมพลป., 74, 99,
ศรีสวรืนทราบรมราชเทวิ, สมเด็จพระ{พระพัน- 124-25, 128, 207
วัสสาอัยยิกาเจ้า ) , 29 ความเห็นต่อรัฐประหาร 2490, 61

376
คราชนื
1

พบปริส,ิ 40-41, 44 สฤษด้ ใณะรัชฅ์, จอมพล, 79, 101 2, "

ไม่พอใจที่ซีไอเอไห้ความชวยเหสือทางลับ 114ท72, ทรท79, 138ท29, 193, 219,


แก่ตำรวจไทย , 97, 110 กับรัฐประหาร 2500, 229, 248-49,
-
สแดสเสน, ฮาไรลด์ ชิ (Harold E , Stas- -
252 55, 257, 270
กับเวทีพปาร์ค, 186, 189-90, 201
sen ), 144
สถาบันกษัตริย์, 31, 50, 216, 218-19, การเมืองสองหน้าต่อสหรัฐฯ, 202 , 204,
258ภ48, 263 -
241 42, 261
กับแผนสงครามจิตวิทยาของสหรัฐฯ, 7, แข่งขนกับเผ่าและความา?ว 0 เหลอจาก
13, 18, 156, 158-59, 162 , 165, -
ล'ทวิฐฯ, 110, 120-21, 139 41, 146,
167, 215, 257, 268 -
171, 177-78, 181 83, 209, 221,
-
กับรัฐธรรมนูญ 2490 และ 2492, 60 61, 267-68
คณะรัฐประหาร 2490, 59ท
-
66-68, 76, 81 82, 112 , 152, 266
-
หนึ่งในไตรภาคี, 237 40, 257-59
กับรัฐประหาร 2490, 59
ปราบปรามฝ่ายซ้าย, 263ท62
กับรัฐประหาร 2500, 229, 260
เป็นพันธมิตรกับสถาบันกษัตริย์, 232-33,
ต่อต้านจอมพลป-, 73, 153-54
พันธมิตรกับสฤษด้, 120, 231- 33, 235, -
235, 243 47, 269
-
237, 245-48, 251 52, 269
แผนล้มผลการเสือกด้ง 2500, 222 25 -
สร้างพันธมิตรกับฝ่ายซ้าย, 122, 188,
ไม่พอใจรัฐประหาร 2494, 267 231, 251
สนับสนูนพรรคประชาธิบืฅย์, 210, และ?! พรรคสหคูมี ; สารเสรื
-
213 14, 244 สละ ลิขิตกล1 202-3ท81
สร้างพันธมิตรกับสหรัฐฯ, 154-55 สลับ ลดาวัลย์, ม-ร- ว., 187
และ?! ไตรภาคี ; ราชาชาตินิยม ; ลัทธิ สวัสด สวัสด้รณชัย สวัสดีเกียรด, พ - อ 59ท
1

หลงใทลเซีา
สดีน, ชาร์ล (Charie Steen ), 96
-
สวิฟ่ท้ , อีเบน เอฟ. ( Ebon F Swift), 138
สหภาพไซฝ็อต, 73, 90, 128ท3, 170ก4
สนธสัญญา สหภาพแรงงาน, 221 22 -
- -
ไทย ฝรั่งเศส 137, 140
1

-
-เบาวัริง, 15 16
สหประชาชาติ (United Nation : UN ), 4,
24, 49, 56, 74, 171, 198, 199n 73
สนิท ธนะจันทร์ , 212ภ7 สหรัฐอเมริกา
สมบรณ์ ศริธร, 34 กระทรวงกลาโทม ( United States
สมบรโนาญาสัทธิราชย์ , ระบอบ, 5, 11, Military Survey Team ), รท, 96n 26,
15-17, 28, 31, 34 , 44 , 256 97-98, 124, 128, 132, 136,
สมทวัง สารสาส, ร-อ., 239-40 -
140 41, 156, 240, 267
สมีซ, วอลเดอร์ เบนเดล ( Walter Bendell กองทีพ!รอสหรัฐฯ (The State-War- Navy
Smith ), 128, 131, 141, 156 Coordinating Committee :
สนูทร สุรักชกะ, 212 SWNCC), 51, 64

377
ชุนศึก ศ้กดนา แสะพญาอินทรี

คณะกรรมการประสานปฏิบัติการ สำนักงานพัฒนาระหวางชาติ ( Agency


(Operations Coordinating Board ะ for International Development :
-
OCB), 149 50 AID), 160n 26
คณะการมการธุทธศาสตร์ด้านจิฅๅทยา สำนักสารสนเทศของสหรัฐอเมรีกๅ
(The Psychological Strategy Hoard ; (United States Information Agency :
PSB), 149n US IA), 132
วัสแมคไทย (Joint United Stales สงค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา
Military Advisory Group, Thailand : ( United States Operations Mission ะ
JUSMAGTHA1), 98n 30, 136, USOM), 8n
ใ 41ท34, 177, 240-42, 248, 259, โอเอสเนืส ( the US Office of Strategic
261 Services : OSS), 24, 27 n3, 78
บรรษทคารเนก (Carnegie Corpora- และดู สงครามซิควิทยา
tion ), รท สหัส มหาคุณ, 247ท23
บรรษัทแรนค ( Rand Corporation ), รท สอ เสถบุตร, 31
บริษัทแคท แอร ( Civil Air Transport : สอง มารังกูส, 193, 242
CAT หรือ Air America ), 94 สังข์ ทรไนทย, 113ท70, 115ท74, 176,
มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller 218, 222, 227, 246แ20
Foundation), รท สังคมบิยม, 31, 33, 34ภ13, 48-49, 57,
มูลนิธิเอเชย (Asia Foundation ), รก, 70, 202, 212, 218, 245
9ท10, 19 สังวร สุวรรณซิพ, พส.ร.ค., 72ท20, 75ก28,
1

แมค ( United States Military Assis- 79


tance Advisory Group : MAAG), 98 สันนิบาตเอเชยคะวันออกเฉยงโต้, องค์การ 7

สกาความมนคงแห่งชาติสหรัฐฯ 56, 57ท, 65


( National Security Council ะ สัมฟันธ์ ข้นชิชวนะ ( คาหมอหลอ) , ร .ท.,
NSC), 88, 127, 132, 134, 136 37, - 42ท33, 43ท 36, 70ท17
150, 152 , 166, 190, 196 สัมฤทธสุขุมวาท, พ.ต.ต. หลวง, 75ท 28
สำนักข์าวกรองกลาง ( Central Intelli - สาธารณรัฐ , แผนการ 40, 46, 54, 61,
-
3

gence Agency : CIA), 9nl 0, 13, 116, 215 16, 233, 235, 240
19, 30, 93-94, 96-97, 109, สามารถ ชลาบุเคราะห่, ส.ต. อ., ใ 44ท38
123n95, 128, 132, 134, 136-38, สารสาสน์ประพันธ์ (ชน จาเวัสตรื) พระ,
-
5

140-42, 150, 156, 158, 177 78, 107ท


183, 267 สำนักงานทรัพย์สินสํวนพระมหากษัตริย์ 677

สำนักข่าวสารอเมริกัน {United States สิทธิพร กฤดากร, ม.จ., 66ท



Information Service : USIS ยูซีส) ,
145n 42, 150, 158-62, 160n 26,
สินธ์ กมลนาวิน, พล ร- . อ. 92 ท15, 106
1 1

สี่เสาเทเวศน์ , คาย, 120, 181, 243,


165, 205-6 244ท15, 250

378
ดรรชนี

สุ,กิจ น้ฆมานเหมนท์ , 242 โสภณกราไดข สวัสดีวัตน, ม.จ., 53


-
สุ[ตสาย หัสดีน, พล ต., 13
สูทข สุทธิสารรณกร, พล.ท., 142 ท35
ใสว พรหมมี, 43ท33
ไสว ไสวแสนยากร , พ.อ., 59ท
สูธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกยรด) , พระ1
37ท 22 ห
สู่ น กิจจำนง, 222 ท 29
1
หนวยพลรีม ( Parachute Battalion), 139-
สูนิตย์ ป๋ณยวณิช, พ.ต. ต., 144ท38
. 40, 180, 254
สูพจน์ ด่านตระกล, 201ท 78, 204, 261 หนังสีอพืมพ
สูกัทร สุคนธไภิรมย์ , 108ท54 2500, 201
สูรณรงค์ ( ธงโชย ไชดิกเสถียร ) , พ.อ , หลวง, กงหวอปอ, 201ท78
62, ร9ท6 การเมือง, 261
สุรีย์ ทองาานึช , 124 เกยรดิศกต, 42ท33, 48, 92ท20,
!
สุวรรณ เพีญจันท พ.อ., 60ท 201ท78
สูวฒน์ วรดิลก, 227 , 234ท62 ข่าวด่วน, 43ท33
สูวิชช พนธเศรษร , 67ท14 ข่าวพาณิชย์, 213
สูวิทย์ เนยมสา, 222ท 29 -
ชาวไทย, 201 2 ท79 , 213, 247
สูวิทย์ บวรวัฒนา, 174ท 15 เช้า, 201
เสงี่ยม วุฒิวัย , 222ฑ30 ชิเรยนรดเป้า (Shih Chien Jih
เสนาะ พานิชเจรีญ, 50ท50 Pao), 191, 201, 204
เสน็ย์ ปราโมช, ม.ร.ว., 6ฑ 4 , 26 - 27 , 32- 33, ดิอีโคโนมิสต์ (The Economist), 146
66ท12 , 118, 121 , 234 , 247, 260 !
เคสีเม 214
กับกบฎแมนฮตตน, 107[ไ ต้ากงเผ่า 234
1

กับรขิประหาร 2500, 229 เทอฅไทย , 170


โจมดีปรืด,ี 35 ท18 , 38 , 40- 41 , 44, 47 !
ไทย ๗ 201, 212, 231
ต่อด้านผลการเลอกดั้ง 2500, 222, ไทรายวัน, 202,
224- 26 ไทรายสัปดาห์, 202
แผนเปลี่ยนสายการสืบสนตตวงค์ , 70, ธรรมาชปัคย์ , 104, 201
266 นิวยอร์กไทมส์ (New York Times), 62,
รีวมชัดดั้งพรรคประชาธิปัตย์, 34 93, 193, 204-5, 219
รีางรี'ฐธรรมนูญ 2490 และ 2492, 60, บางกอกทวิบูน (Bangkok Trib-
67ทใ 4 une), 104 , 201
วิเทโศบายของสถาบันฯ ค่อสหรซิฯ1 154 บางกอกโพสต์ , 105
เสวี โกมลภูมิ, 174ท15 บางกอกรายวัน, 203ท81
เสียงสาปจากไถกันต์, ภาพขนด 160! ประชาสักดั้, 201, 204
แสวง ตุงคะบรรหาร, 201ท ประชาธิปไตย, 42ท33, 202

379
ขนสก ศกดนา และพญาอินทรี

เผ่าไทย, 201 อ
พิมพ์ใทย, 145ท 42 , 178, 203 -
องคมนตรี, 68, 72, 103- 4, 118, 158 59,
มหาชน, 48 162, 164, 166, 211, 213, 229, 239,
ไฆอามีเดลินิวส์ ( Miami Daily 257, 260, 268
News), 150 อดุล อดุลเดชจรัส, พล อ 43, 52, 54-55,
1

ลอนดอน'โทมส์ ( London Times), 252 75ท28, 101ท41

^
ศรีก ง, 48
สเฅรทไทมส์ (Strait Times), 247
อนันต์ พิบูลสงคราม, พล.ต,, ใ42ท35
อภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) , พระยา, 257
สแดนคารีด (Standard ), 227, อเมรีกันบุวัตร ( American Era), 5
สยามนิกร, 203, 210, 213, 249 อรรณพ พุกประยูร, พ.ด.ต., 113ท70
อรรถการืย์นิพนธ์, พระยา, 61ท2, 67ท14,
-
สยามรัฐ, 201ท78, 202, 210, 225 26,
102, 222ท30
,

229, 231, 262ท60


สยามใหม่, 201ท78 อรรถกิฅดีกำจร (อรรถกิฅฅ พนมยงค ) ,
ส้ซจา, 48, 61 หลวง, 57ท, 64, 75
องกฤษ, 4, 6, 16, 24- 29, 36, 38, 40, 45,
-
สารเสรี, 178, 202 4, 257
- -
48 49, 61 62 , 64, 67, 86, 125, 240,
สงคโปรีสนตนคารีด (Singapore
265
Standard ), 257
และดู ความตกลงสมบูรณ์แบบ
-
เสถืขรภาพ, 201, 203 4
อชเชอสน, ถีน จึ . ( Dean G , Acheson ), 86 -
เสรีไทย , 201, 212
87, 92
เสียงชาวใต้, 201 อันดับ รองเดช, 50ท49
เสียงไทย, 92 อัมพร สุวรรณบล, 193, 196ท64
ออบเชอรีฟเวอรี (Observer ), 232 อัศาราชทรงศึร,ี พระยา, 33
ล่องกงไทเกฟิรีศแตนดารีด ( Hong Kong อานนท้ ปุณฑ'รีกากา, น.อ., 107
Tiger Standard ). 234 อานันทมหืดล, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,
ไสด์ปารีครายช้กษ์, 201
ทมนพร!:บรมเดชาบุภาพ, ข้อทา, 232, 244,
-
29, 31. 36-37, 40 41, 43, 61, 63,
66, 233, 265
249 และดู กรณีสวรรคต
หอุค แสงอุทัย, 67ท14 อามาส, คารอส คาสฅลใล (Carlos Castil -
หลักปัญฃศึก, 17On 4, 174
หลัก 6 ประการ, 31, 33
-
lo Armas) , 142
อารืย์ ตันติเวชกุล, 242
หลีมี่, นายพล, 94 อาร่ย ลว่ระ,122
หถูข ครวด, 60 อำนวย ไชยโรจน์, พล.ค., 257
หัด ดาวเรือง, มหา , 206ท86 อินไคจีน, 24, 55-56, 73, 79ท41, 89, 91,
เหมาเจอตง, 86, 193, 266 93, 127, 129, 135-37, 144, 169,
ใหญ์ ศรีตชาติ, 34
1
191, 270

380
ดรวชนื

อีเดน แอนโทนี (Anthony Eden ), 144


1

คูน,ุ 170 sel), 141, 165


-
เฮนเซล, เอช . สดรูฟ่ ( H. Stmve Hen

คูณมอร์ จูเน็ยรี, ดัณฟรด ซ , ( Alfred C. เฮนเดอรี, เจมส์ ( James Mender), 160


Ulmer Jr.), 138n 30 เฮถณวล, พอล ไลโอเนส เอ็ดวารีด ( Paul
เออร์สกน, กราฟ่ส์ ป็. (Graves B. Lionel Edward Helliwell), 94
Erskine ), 97, 136, 138, 179 เฮอรีเทอรี, คาสเตยน เอ. (Christian A.
แอน}กทด้, นอรีแมน (Norman
'

Herter), 248
Anschuetz), 182-83, 192 แฮงสั, ฐเซียน เอ็ม. (Lucian M.
แอนเคอรีสัน, เบเนดทท์ ( Benedict Hank ), 151
Anderson ), 5, 13 ไธด์ปาร์ค, 186, 188-90, 201 , 205ท 224,
นอนเดลร์สัน, โรเป้รีด บ. (Robert B. 25 ใ
Anderson), 142, ! 44 โฮจีมินห์, 56, 90, 93
ไอเซนฮาวรี, ดใวต์ ดี. (Dwight D.
Eisenhower), 145ภ42, 146, 161 P
จอมพล ป. เขาพบ, 171 Pax .Americana, 4
นโยบายต่อด้านคอมมวนสต, 127 31, - Pax Britanica, 16
- -
135 36, 149 50, 152, 268
นโยบายเศรบฐกจต่อไทย, ใ 96, 198
เผ่าเข้าพบ, 144, 146
พระยาศรีวิลทรวาจาเข้าพบ, 158, 162,
164
สนับสนุนสถาบันกษต่ริย , 156, 165
สฤบดิ้เข้าพบ, 141
3

ฮยอน, ชเน (Simie Hyun ), 19


ดันเดอร์, เอ็ดวารีด ( Edward Hunter )
ลัางสมองในจีนแดง, พนังสีอ, 150
ดันนาท้, นอรีแมน เอช . ( Norman H .
Hannah), 65, 1ไ 3ท70, 123, 259
ฮาเบอร์คอรีน, ไทเรส (ไ yrell
1

Haberkorn ), 19
ฮพ์ท, จอห์น นอล. (John L.
Hart ), 96n 26, 137, 140
ฮูกอร์ จูเนีขร์, เสือร์ฌิร์'ต ( Herbert Hoover
Jr.), 206

381

También podría gustarte